ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

ร่างกายของคนเราโดยเฉพาะกล้ามเนื้อและข้อต่อถือเป็นเรื่องที่ควรต้องได้รับการใส่ใจ เพราะมันสามารถสึกกร่อนไปตามอายุที่เพิ่มขึ้นได้ จึงทำให้เกิดอาการปวดข้อ ปวดหลัง การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและกระดูกอื่น ๆ ซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและการใช้ชีวิตประจำวัน ทาง Hello คุณหมอเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องเหล่านี้ จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก เอาไว้ให้ทุกคนได้ศึกษาข้อมูล

เรื่องเด่นประจำหมวด

ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

วัณโรคกระดูก โรคที่พบบ่อยในคนไทย วิธีป้องกันทำได้อย่างไร

วัณโรคกระดูก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนไทย สามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้ โดยเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายจะซึมผ่านกระแสเลือด ลุกลามไปยังอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงกระดูก แต่วัณโรคกระดูกก็ยังสามารถป้องกันและรักษาได้ จึงควรพบแพทย์ให้เร็ว เมื่อรู้สึกว่าร่างกายกำลังผิดปกติ [embed-health-tool-bmr] สาเหตุของ วัณโรคกระดูก วัณโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis เชื้อนี้ทนอยู่ในอากาศและสิ่งแวดล้อมได้นาน สามารถติดต่อได้ง่ายไปยังบุคคลอื่น ด้วยการสูดเอาละอองเสมหะของผู้ป่วยวัณโรคที่ไอ จาม หรือหายใจรด เข้าไปในร่างกาย ติดต่อได้จากการรับประทานอาหารที่มีภาชนะใส่อาหารปนเปื้อนเชื้อวัณโรค  เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายทางปอด จะทำให้ปอดเกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งเชื้อจะซึมผ่านกระแสเลือดแล้วเข้าทำลายอวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง สมอง ไต และกระดูก  อันตรายจากวัณโรคกระดูก วัณโรคกระดูกทำให้กระดูกเกิดการเปลี่ยนแปลง พบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น  กระดูกยุบตัว  หลังโก่งงอ  มีหนองหรือเศษกระดูก  หมอนรองกระดูกเคลื่อน  และเมื่อเข้าสู่ไขสันหลังจะเกิดการกดทับประสาทที่ไขสันหลังทำให้เป็นอัมพาตที่ขาได้ อาการของวัณโรคกระดูก  ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตนเองกำลังเป็นวัณโรคกระดูก เพราะอาการเบื้องต้นจะเป็นอาการปวดหลัง จนกระทั่งร่างกายเริ่มปวดมากจึงมาพบแพทย์ สำหรับสัญญาณเตือน วัณโรคกระดูก ที่ควรระวัง มีดังนี้ มีอาการปวดเมื่อยตามตัวช่วง 1-2 สัปดาห์แรก  อาการปวดจะไม่หาย และมีอาการหนักมากขึ้นเมื่อผ่านไป 1 เดือน มีไข้ต่ำ ๆ ช่วงเย็น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หากมีการกดทับระบบประสาทจะส่งผลอื่น ๆ […]

หมวดหมู่ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก เพิ่มเติม

สำรวจ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

ปวดส้นเท้า (Heel Pain)

คำจำกัดความเท้าและข้อเท้าของคุณสร้างขึ้นมาจากกระดูก 26 ชิ้น ข้อต่อ 33 ชิ้น และมากกว่า 100 เส้นเอ็น ส้นเท้าเป็นกระดูกที่ใหญ่ที่สุดในเท้าของคุณ ถ้าคุณใช้งานมากเกินไป หรือทำให้เท้าของคุณนั้นบาดเจ็บ คุณอาจกำลังประสบกับอาการ ปวดส้นเท้า  (Heel Pain) อาการเจ็บปวดมักจะปรากฎใต้ส้นเท้าหรือด้านหลังเท้า ตรงส่วนที่เอ็นร้อยหวายเชื่อมกับกระดูกส้นเท้า บางครั้งมันยังส่งผลกระทบไปยังด้านข้างของส้นเท้า อาการปวดที่ปรากฎใต้ส้นเท้านั้นเรียกว่า โรครองช้ำ (plantar fascitis) โรคนี้เป็นสาเหตุที่พบได้ประจำของอาการเจ็บส้นเท้า อาการปวดหลังส้นเท้านั้นคือ เอ็นร้อยหวายอักเสบ อาการเจ็บยังสามารถส่งผลไปที่ข้างเท้าด้านในและด้านนอกของเท้าและส้นเท้า ในหลายๆ กรณี อาการเจ็บปวดไม่ได้เกิดขึ้นจากอาการบาดเจ็บ ในตอนแรก มันมักจะเจ็บเบาๆ แต่อาการอาจรุนแรงขึ้นได้ และบางครั้งก็ใช้งานไม่ได้ อาการนี้มันจะหายได้เองโดยที่ไม่ต้องรักษา แต่บางครั้ง มันก็อาจจะเรื้อรังได้ ปวดส้นเท้าเป็นอาการที่พบบ่อยแค่ไหน อาการปวดส้นเท้าเป็นปัญหาที่เกิดกับเท้าที่พบได้ทั่วไป แต่สามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของคุณ โปรดปรึกษากับหมอของคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการปวดส้นเท้านั้นจะรู้สึกเจ็บปวดใต้ส้นเท้า หรืออาจจะแค่ด้านหลังส้นเท้า อย่างใดอย่างหนึ่ง อาการปวดโดยปกตินั้นจะเริ่มจากอาการเจ็บปวดเล็กๆ น้อยๆ โดยไม่มีบาดแผลตรงส่วนที่ติดเชื้อ แต่มันจะแสดงอาการบ่อยครั้งเมื่อสวมใส่รองเท้าส้นแบนราบ ในหลายกรณี อาการปวดจะอยู่บริเวณใต้เท้า ไปยังส่วนหน้าของเท้า ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ปวดส้นเท้า เมื่อไหร่ที่เราควรไปหาหมอ คุณควรปรึกษาแพทย์ของคุณถ้าหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ อาการเจ็บปวดนั้นถึงขั้นรุนแรง อาการเจ็บปวดนั้นเกิดขึ้นแบบฉับพลัน คุณมีรอยแดงตรงส้นเท้า คุณมีอาการบวมตรงส้นเท้า คุณไม่สามารถเดินได้เนื่องจากคุณมีอาการปวดส้นเท้า ถ้าคุณหรือคนใกล้ตัว มีสัญญาณหรืออาการอะไรก็ตามที่เหมือนอาการตามด้านบน หรือหากคุณมีคำถามอะไรก็ตาม ได้โปรดปรึกษากับหมอ เพราะร่างกายของทุกคนแตกต่างกัน จึงเป็นการดีที่สุดเสมอในการปรึกษากับแพทย์ ว่าควรรักษาอาการอย่างไร สาเหตุอาการปวดส้นเท้าไม่เพียงแต่จะเกิดจากการบาดเจ็บเพียงตำแหน่งเดียว อย่างข้อเท้าพลิกข้อเท้าแพลงหรือหกล้ม แต่ยังมาจากความเครียดสะสมและการบวมของส้นเท้า โรครองช้ำ โรครองช้ำมักจะปรากฏเมื่อมีแรงกดลงบนเท้ามากเกินไป จนสร้างความเสียหายต่อเส้นเอ็นฝ่าเท้า […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน