โรคทางเดินหายใจ

ระบบทางเดินหายใจ มีส่วนสำคัญในการทำงานตามปกติของร่างกาย ดังนั้น คุณจึงควรเรียนรู้วิธีการรักษาสุขภาพของระบบทางเดินหายใจของคุณให้แข็งแรง ห่างไกลจากความเจ็บป่วย เรียนรู้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รวมถึง โรคทางเดินหายใจ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคทางเดินหายใจ

น้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุด ทำอย่างไรจึงจะหาย

น้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด เป็นอาการที่ร่างกายมีของเหลวเป็นน้ำใส ๆ ไหลออกมาทางจมูกตลอดเวลา เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคภูมิแพ้อากาศ ไข้หวัด รักษาให้หายได้โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้หรือบางรายอาจต้องรับประทานยาเพื่อรักษาอาการ หาก น้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุด เป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือนภาวะสุขภาพที่ต้องระวัง เช่น โรคริดสีดวงจมูก โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษา [embed-health-tool-bmi] น้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุด เกิดจากอะไร อาการน้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้ สาเหตุจากโรคภูมิแพ้ (Allergy) เป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าปกติ เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด นอกจากนี้ ยังอาจก่อให้เกิดอาการร่วมอื่น ๆ เช่น จาม ไอเรื้อรัง คันและระคายเคืองบริเวณตาหรือคอ สาเหตุจากโรคอื่น ๆ ยกตัวอย่าง เช่น โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง เกิดจากการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือมีอาการแพ้อย่างรุนแรง จนทำให้มีอาการปวด คัดจมูก น้ำมูกไหล หายใจติดขัด มีเสมหะข้นเหนียว ปวดใบหน้าบริเวณหน้าผาก หัวตา หู […]

สำรวจ โรคทางเดินหายใจ

ไข้หวัด

ไข้ สาเหตุ อาการ การรักษา และวิธีป้องกัน

ไข้ เป็นอาการที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าปกติ มักสูงกว่าหรือเท่ากับ 37.2 องศาเซลเซียส ซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ส่วนใหญ่แล้วเมื่อรับประทานยาลดไข้อย่างพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นอนพักผ่อน ดื่มน้ำมาก ๆ หรือเช็ดตัวมักทำให้ไข้ลดลงภายใน 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ไข้อาจเป็นอาการของโรคต่าง ๆ เช่น โรคโควิด-19 โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก หากมีไข้สูง ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ผื่นขึ้นตามตัว เจ็บหน้าอก ควรรีบไปพบคุณหมอ เพื่อตรวจหาโรคหรือความผิดปกติที่เป็นสาเหตุของไข้ ซึ่งเมื่อรักษาหายแล้วก็จะทำให้ไข้หายตามไปด้วย [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ ไข้ คืออะไร ไข้ คือ ภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น เกิดจากการที่ร่างกายทำปฏิกิริยาต่อเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย วิธีวัดไข้และเกณฑ์การวัดไข้ หากต้องการทราบว่ามีไข้หรือไม่ สามารถวัดอุณหภูมิด้วยปรอทหรืออุปกรณ์วัดไข้ได้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนี้ วัดไข้ทางรักแร้ ผู้ที่มีไข้คือ ร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าหรือเท่ากับ 37.2 องศาเซลเซียส วัดไข้ทางปาก ผู้ที่มีไข้คือ ร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าหรือเท่ากับ 37.8 องศาเซลเซียส วัดไข้ทางหู ผู้ที่มีไข้คือ ร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าหรือเท่ากับ […]


โรคปอดบวม

Pneumonia (ปอดอักเสบ) เกิดจากอะไร และใครคือกลุ่มเสี่ยง

Pneumonia คือ โรคปอดอักเสบ หรือโรคปอดบวม เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย รา หรือไวรัสที่ถุงลม ซึ่งอาจเกิดขึ้นที่ปอดข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้างก็ได้ โดยปอดของผู้ติดเชื้อมักมีของเหลวหรือหนอง ทำให้หายใจลำบาก ไอ และมีไข้ ทั้งนี้ โรคปอดอักเสบอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นทารก คนชรา หรือมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาการอาการของ Pneumonia โรคปอดอักเสบมักแสดงอาการอย่างรวดเร็วในช่วง 24 ถึง 48 ชั่วโมงหลังจากการติดเชื้อ หรืออาจแสดงหลังจากการติดเชื้อหลายวัน โดยอาการที่พบบ่อย มีดังนี้ ไอแห้งหรือไอมีเสมหะ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจเต้นแรง ไข้สูง ไม่อยากอาหาร เหงื่อออกมากและตัวสั่น นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ โดยเฉพาะเด็ก คนชรา หรือผู้ป่วยที่มีโรคอยู่ก่อนแล้ว เช่น เบาหวาน อาจพบอาการแทรกซ้อนดังต่อไปนี้ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ (Pleuritis) หรือ การอักเสบของเนื้อเยื่อที่หุ้มรอบปอดทั้ง 2 ข้าง โดยผู้ป่วยจะเจ็บหน้าอก อาการอาจแย่ลงเมื่อหายใจ ไอ หรือจาม นอกจากนี้ อาการเยื่อหุ้มปอดอักเสบยังอาจนำไปสู่ภาวะการหายใจล้มเหลวได้ ฝีในปอด (Lung Abscess) เป็นอาการที่พบได้ยาก มักพบในผู้ป่วยซึ่งป่วยเป็นโรคอื่นก่อนแล้ว หรือผู้มีประวัติโรคพิษสุราเรื้อรัง ภาวะเลือดมีแบคทีเรีย (Bacteremia) หรือโลหิตเป็นพิษ เนื่องจากมีแบคทีเรียในเลือด โดยปกติ […]


ไข้หวัด

น้ำมูกใส เกิดจากอะไร และวิธีบรรเทาอาการน้ำมูกไหลที่ควรรู้

น้ำมูก คือ เมือกที่ผลิตจากต่อมสร้างน้ำมูกในเยื่อบุจมูก มีหน้าที่ช่วยคงความชุ่มชื้นให้กับโพรงจมูกและไซนัส ทั้งยังช่วยดักจับและป้องกันไม่ให้เชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่นละออง แบคทีเรีย ไวรัส เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจผ่านทางโพรงจมูกได้ หากภายในจมูกแห้งอาจทำให้ร่างกายเสี่ยงติดเชื้อได้มากขึ้น ร่างกายสามารถผลิตน้ำมูกได้วันละประมาณ 2 ลิตร และน้ำมูกที่ไหลออกมาส่วนใหญ่มักมีลักษณะเป็น น้ำมูกใส ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากไข้หวัด หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ อย่างไรก็ตาม การทราบสาเหตุที่ทำให้มีน้ำมูกใส อาจช่วยให้สามารถหาวิธีลดน้ำมูก และบรรเทาอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นพร้อมกันได้อย่างตรงจุดยิ่งขึ้น [embed-health-tool-bmi] น้ำมูกใส เกิดจากอะไร น้ำมูกที่สีใส มักประกอบด้วยน้ำ แอนติบอดี โปรตีน และเกลือ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัด เพราะเมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายผ่านทางโพรงจมูก อาจกระตุ้นให้เยื่อบุจมูกอักเสบ จนมีน้ำมูกใส ๆ ไหลออกมา แต่น้ำมูกใสก็อาจเป็นสัญญาณของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ได้เช่นกัน เนื่องจากเมื่อสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ละอองเกสร เข้าสู่โพรงจมูก อาจไปกระตุ้นให้มีการหลั่งสารเคมีที่ชื่อว่า ฮิสตามีน (Histamine) ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ เช่น มีผื่นคัน เยื่อตาอักเสบ เยื่อบุจมูกอักเสบ จาม คัดจมูก รวมถึงกระตุ้นให้ต่อมสร้างน้ำมูกผลิตน้ำมูกใส ๆ […]


ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ อาการ เป็นอย่างไร และควรรับมืออย่างไร

ไข้หวัดใหญ่ เป็นการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza) ในระบบทางเดินหายใจ เมื่อเป็น ไข้หวัดใหญ่ อาการ ที่มักพบ เช่น ไข้สูง น้ำมูกไหล ไอ จาม ปวดศีรษะ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ปอดอักเสบ ในบางรายอาจมีอาการคล้ายคลึงกับไข้หวัดธรรมดา แต่โดยปกติแล้วอาการของไข้หวัดใหญ่มักจะรุนแรงกว่า และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม การดูแลตนเองให้มีสุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ และฉีดวัคซีน ไข้หวัดใหญ่ ประจำปีอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค หรือลดความรุนแรงของอาการได้ [embed-health-tool-heart-rate] ไข้หวัดใหญ่ คืออะไร ไข้หวัดใหญ่ (Flu หรือ Influenza) เป็นการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซาที่ระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่จมูก ลำคอ ไปจนถึงปอด เมื่อเป็นแล้วอาจมีทั้งอาการไม่รุนแรงมาก เช่น ปวดศีรษะ มีน้ำมูก หนาวสั่น ปวดเมื่อยตัว มีไข้สูง ไปจนถึงอาการที่รุนแรง เช่น หายใจลำบาก ปอดอักเสบ ไข้หวัดใหญ่สามารถแพร่สู่ผู้อื่นได้ผ่านทางการไอหรือจาม หรือหากมือไปสัมผัสโดนสิ่งของต่าง ๆ ที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสแล้วไปสัมผัสกับบริเวณใบหน้า ดวงตา ปาก หรือจมูก ก็อาจทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้ ไข้หวัดใหญ่ อาการ […]


โรคทางเดินหายใจ

หายใจไม่เต็มปอด อาการ สาเหตุ และการรักษา

หายใจไม่เต็มปอด หมายถึง อาการหายใจลำบาก หายใจสั้น ๆ มีทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ ทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ เช่น การสำลัก โรคปอด โรคหอบหืด หัวใจวาย ความวิตกกังวล อาการหายใจไม่เต็มปอดอาจทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จนทำให้รู้สึกอึดอัด หายใจไม่ออก และแน่นหน้าอก การรักษาอาการหายใจไม่เต็มปอดอาจขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ การเรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุและปัจจัยเสี่ยง อาจสามารถช่วยป้องกันอาการหายใจไม่เต็มปอดได้ [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ หายใจไม่เต็มปอด คืออะไร หายใจไม่เต็มปอด หายใจไม่อิ่ม หรือ หายใจไม่ทั่วท้อง หมายถึง อาการที่ไม่สามารถหายใจเข้าลึก ๆ ให้เต็มปอดได้ มีอาการหายใจสั้น หรือหายใจลำบาก จนทำให้รู้สึกอึดอัด หายใจไม่ออก สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง  โดยปกติคนเราจะมีอัตราการหายใจขณะพัก (อัตราการหายใจขณะผ่อนคลาย สงบ แต่ยังรู้ตัว) ประมาณ 10-15 ครั้ง/นาที หากมีการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น เดิน วิ่ง อาจทำให้อัตราการหายใจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ก็ไม่ควรมีอาการหายใจไม่เต็มปอด อาการหายใจไม่เต็มปอดมักจะเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคหอบหืด อาการแพ้ ภาวะหัวใจวาย ความวิตกกังวล หากสังเกตพบอาการหายใจไม่เต็มปอด […]


โรคทางเดินหายใจ

หวัดลงคอ อาการ สาเหตุ การรักษา

หวัดลงคอ เป็นอาการหนึ่งที่อาจเกิดจากไข้หวัด และปัจจัยต่าง ๆ ที่เข้าไปกระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองในทางเดินหายใจ และทำให้ร่างกายผลิตน้ำมูกออกมา หากน้ำมูกตกค้างและไหลกลับลงคอ อาจนำไปสู่อาการหวัดลงคอ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีเสมหะอุดตัน คัดจมูก น้ำมูกไหล [embed-health-tool-vaccination-tool] คำจำกัดความ หวัดลงคอ คืออะไร หวัดลงคอ คือ อาการที่เกิดจากการกระบวนการทำงานของร่างกาย ปกติกระเพาะอาหารและลำไส้จะผลิตสารคัดหลั่งขึ้นมาในทางเดินหายใจและลำคอ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในทางเดินหายใจและเพื่อช่วยดักจับเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หากทางเดินหายใจเกิดการระคายเคืองเนื่องจากการติดเชื้อ ไข้หวัด สารก่อภูมิแพ้ และสารระคายเคือง ก็อาจส่งผลให้ร่างกายผลิตน้ำมูกเยอะขึ้น ซึ่งหากมีปริมาณมากเกินไป น้ำมูกอาจไหลกลับเข้าสู่ลำคอ กลายเป็นอาการหวัดลงคอได้ อาการ อาการหวัดลงคอ ผู้ป่วยที่มีอาการหวัดลงคอ สังเกตได้ดังนี้ อาการไอ และอาจไอบ่อยในช่วงกลางคืน เสียงแหบ เจ็บคอ รู้สึกเหมือนมีบางอย่างติดอยู่ภายในลำคอ เสมหะอุดตัน อาการไม่สบายอื่น ๆ จากไข้หวัด สารก่อภูมิแพ้ เช่น คันตา น้ำตาไหล คัดจมูก น้ำมูกไหล คันปาก คอ และหู สาเหตุ สาเหตุหวัดลงคอ สาเหตุที่ส่งผลให้หวัดลงคอ เกิดจากร่างกายผลิตสารคัดหลั่งเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ลำคอและในโพรงจมูก เพื่อดักจับสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ เช่น เชื้อไวรัส แบคทีเรียจากไข้หวัด สารก่อภูมิแพ้ เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีปฏิกิริยาเพื่อขจัดสิ่งเหล่านี้ออกไป ผ่านรูปแบบการไอ จาม […]


ไข้หวัด

อาการหนาวสั่น สาเหตุ การรักษาและการป้องกัน

อาการหนาวสั่น เกิดจากการหดและคลายของกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความอบอุ่นตามธรรมชาติของร่างกาย หรืออาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่ต่อต้านการติดเชื้อ ซึ่งอาการหนาวสั่นอาจมาพร้อมกับอาการไข้ หรือไม่มีไข้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการ เช่น การติดเชื้อ ไข้หวัดใหญ่ หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ [embed-health-tool-bmi] อาการหนาวสั่น คืออะไร อาการหนาวสั่น คือ การตอบสนองของกล้ามเนื้อในร่างกายที่หดและคลายตัว เพื่อเพิ่มอุณภูมิในร่างกายให้สูงและอบอุ่นขึ้น หรืออาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อไวรัสและเชื้อโรคอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่อาการหนาวสั่นมักสังเกตได้จากอาการตัวสั่น ปากสั่นจนฟันกระทบ ขนลุก และอาจมาพร้อมกับ ไข้สูง หนาวสั่น แต่บางสาเหตุอาจไม่มีไข้ร่วมด้วย สาเหตุของ อาการหนาวสั่น อาการหนาวสั่น อาจส่งผลให้มีอาการแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยสาเหตุที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้ การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อโรคอื่น ๆ การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อโรคอื่น ๆ อาจทำให้เกิดอาการหนาวสั่นได้ ซึ่งเป็นการตอบสนองของร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันเข้าทำลายเชื้อไวรัสก่อโรคต่าง ๆ ได้รวดเร็วและดียิ่งขึ้น ซึ่งอาการหนาวสั่นจาการติดเชื้ออาจพบบ่อยในผู้ที่เป็นโรคปอดอักเสบติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และโรคมาลาเรีย อาการที่พบได้ มักมีดังนี้ มีไข้ หนาวสั่น คัดจมูก ไอ เจ็บคอ ปากเป็นแผล หายใจถี่ คอแข็ง ปวดท้อง ท้องเสีย เจ็บปวดหรือแสบเมื่อปัสสาวะ มีจุดแดงบนผิวหนังและเจ็บปวด การติดเชื้อที่เกิดจากนิ่วในไต นิ่วในไต คือ […]


ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ สาเหตุ อาการ และการรักษาที่ควรรู้

ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส สามารถแพร่กระจายติดต่อผ่านการสัมผัสกับละอองสารคัดหลั่งจากการไอ จาม หรือสูดลมหายใจนำอากาศที่มีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย จนนำไปสู่การล้มป่วย ผู้ที่เป็นไข้หวัดใหญ่อาจรักษาให้หายเองได้ แต่สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ คำจำกัดความ ไข้หวัดใหญ่ คืออะไร ไข้หวัดใหญ่ คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza) เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ เช่น จมูก คอ และอาจลุกลามลงไปยังปอด ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย แต่อาจพบได้บ่อยในทารก เด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ รวมถึงผู้ที่มีประวัติโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต  ไวรัสไข้หวัดใหญ่แบ่งออกเป็น 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ (Influenza A) เป็นสายพันธุ์ที่รุนแรงและอาจแพร่เชื้อได้ในวงกว้างทั้งในคน และในสัตว์ เช่น หมู นก โดยอาจจำแนกได้จากไกลโคโปรตีนรอบเชื้อไวรัส ซึ่งประกอบด้วย ฮีแมกกูตินิน (Hemagglutinin : H) ซึ่งมีทำหน้าที่ในการจับกับตัวรับ (Receptor) บนเซลล์ของร่างกาย ส่งผลให้เชื้อเข้าสู่เซลล์ได้โดยตรง […]


ไข้หวัด

สมุนไพรแก้หวัด ที่หาได้ง่าย ๆ ใกล้ตัว

ไข้หวัด เป็นโรคทั่วไปที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำปฏิกิริยากับเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่เข้ามาในร่างกาย จึงส่งผลให้มีไข้ หนาวสั่น คัดจมูก ไอ และปวดกล้ามเนื้อ วิธีรักษาคือการดูแลตนเอง ดื่มน้ำให้มาก ๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ นอกจากนั้น ยังมีการใช้ สมุนไพรแก้หวัด ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการได้ อย่างไรก็ดี ควรปรึกษาคุณหมอก่อนใช้สมุนไพรแก้หวัด เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น [embed-health-tool-heart-rate] สมุนไพรแก้หวัด มีอะไรบ้าง สมุนไพรแก้หวัด ที่อาจช่วยบรรเทาอาการ และหาได้ใกล้ตัว มีดังต่อไปนี้ ฟ้าทะลายโจร ฟ้าทะลายโจร เป็นสมุนไพรที่อาจมีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นด่านแรกในร่างกายที่ต้องเผชิญกับไวรัส หรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ ฟ้าทะลายโจรยังอาจช่วยกระตุ้นให้ม้ามผลิตลิมโฟไซต์ หรือเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีบทบาทสำคัญในการต้านเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคหวัด รวมทั้งอาจช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ งานวิจัยชิ้นหนึ่ง  ศึกษาเกี่ยวกับ การใช้ฟ้าทะลายโจรเพื่อบรรเทาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจในเด็กและผู้ใหญ่ เผยแพร่ในวารสาร PLoS One พ.ศ. 2560 ระบุว่า ฟ้ะลายโจร มีประโยชน์และปลอดภัยต่อการใช้บรรเทาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยเป็นสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพและมีส่วนช่วยให้ใช้ยาฆ่าเชื้อเพื่อบรรเทาอาการติดเชื้อในจำนวนที่ลดลง อย่างไรก็ตาม เด็ก สตรีมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง ผู้มีภาวะเลือดออกผิดปกติ และผู้ที่วางแผนเข้ารับการผ่าตัด ไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจรในระยะยาว และควรระวังผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล มีผื่น อาเจียน […]


โรคทางเดินหายใจ

พังผืดในปอด

พังผืดในปอด หมายถึง แผลเป็นภายในปอดที่เริ่มแข็งตัวขึ้นจนก่อให้เกิดพังผืด โดยอาจมีระดับความรุนแรงของอาการต่างกันตามแต่ละบุคคล หากพบว่า มีอาการหายใจถี่อย่างรุนแรงเป็นเวลาหลายวัน ควรรีบเข้ารับการรักษาก่อนระบบทางเดินหายใจเสียหาย คำจำกัดความพังผืดในปอด คืออะไร พังผืดในปอด คือ โรคปอดที่เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อของปอดได้รับความเสียหาย จนเกิดแผลภายในปอด หากปล่อยทิ้งเนื้อเยื่อโดยรอบอาจเริ่มแข็งตัวเป็นพังผืด ซึ่งอาจส่งผลให้ปอดมีขนาดเล็กลง นำไปสู่อาการหายใจลำบาก และทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลง อาการอาการของพังผืดในปอด อาการของพังผืดในปอดที่พบได้บ่อย มีดังนี้ หายใจลำบาก หายใจตื้น โดยเฉพาะขณะทำกิจกรรม หรือใช้แรงมาก ไอแห้งเรื้อรัง ไม่มีเสมหะ เหนื่อยล้า อ่อนแรง ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ และข้อต่อ ความอยากอาหารลดลง เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง นิ้วปุ้ม หรืออาการปลายนิ้วมือนิ้วเท้าขยายตัวออกจนมีลักษณะคล้ายไม้กระบอง สาเหตุสาเหตุของ พังผืดในปอด สาเหตุที่ทำให้เกิดแผลในปอด จนกลายเป็นพังผืด อาจมาจากโรคเรื้อรังต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคลูปัส หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคปอดบวม กล้ามเนื้ออักเสบ โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแบบผสม (Mixed connective tissue disease) โรคซาร์คอยโดซิส โรคผิวหนังแข็งเฉพาะที่ มลภาวะทางอากาศ การรักษาโรคด้วยรังสี และยาบางชนิด ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของพังผืดในปอด ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดพังผืดภายในปอด อาจมีดังต่อไปนี้ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่นละออง ฝุ่นจากโลหะ สารซิลิกอน แร่ใยหิน ละอองจากถ่านหิน มูลสัตว์ ผลจากการรักษาโรคด้วยรังสีและยา เช่น เคมีบำบัด ยากำจัดเซลล์มะเร็ง ยารักษาโรคหัวใจ ยาต้านการอักเสบ ยาปฏิชีวนะบางชนิด ปัจจัยเสี่ยงเรื่องการสูบบุหรี่ และอาชีพที่พบสารเคมีเป็นประจำ การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยพังผืดในปอด คุณหมออาจซักถามประวัติเกี่ยวกับโรคประจำตัว และอาการที่เป็น จากนั้นก็อาจตรวจการทำงานของปอดขณะหายใจโดยใช้อุปกรณ์ การฟังเสียงทางการแพทย์ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม