โรคทางเดินหายใจ

ระบบทางเดินหายใจ มีส่วนสำคัญในการทำงานตามปกติของร่างกาย ดังนั้น คุณจึงควรเรียนรู้วิธีการรักษาสุขภาพของระบบทางเดินหายใจของคุณให้แข็งแรง ห่างไกลจากความเจ็บป่วย เรียนรู้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รวมถึง โรคทางเดินหายใจ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคทางเดินหายใจ

น้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุด ทำอย่างไรจึงจะหาย

น้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด เป็นอาการที่ร่างกายมีของเหลวเป็นน้ำใส ๆ ไหลออกมาทางจมูกตลอดเวลา เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคภูมิแพ้อากาศ ไข้หวัด รักษาให้หายได้โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้หรือบางรายอาจต้องรับประทานยาเพื่อรักษาอาการ หาก น้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุด เป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือนภาวะสุขภาพที่ต้องระวัง เช่น โรคริดสีดวงจมูก โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษา [embed-health-tool-bmi] น้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุด เกิดจากอะไร อาการน้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้ สาเหตุจากโรคภูมิแพ้ (Allergy) เป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าปกติ เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด นอกจากนี้ ยังอาจก่อให้เกิดอาการร่วมอื่น ๆ เช่น จาม ไอเรื้อรัง คันและระคายเคืองบริเวณตาหรือคอ สาเหตุจากโรคอื่น ๆ ยกตัวอย่าง เช่น โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง เกิดจากการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือมีอาการแพ้อย่างรุนแรง จนทำให้มีอาการปวด คัดจมูก น้ำมูกไหล หายใจติดขัด มีเสมหะข้นเหนียว ปวดใบหน้าบริเวณหน้าผาก หัวตา หู […]

สำรวจ โรคทางเดินหายใจ

ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

วิธีรักษาโรคซาร์คอยโดซิส ก่อนเสี่ยงเป็นโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา

โรคซาร์คอยโดซิส เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ และระบบภูมิคุ้มกันทำงานอ่อนแอลง จนส่งผลให้เกิดการอักเสบขึ้น ที่สำคัญยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมาได้อีกด้วย ดังนั้น วันนี้ บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ วิธีรักษาโรคซาร์คอยโดซิส พร้อมภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เพื่อให้คุณตระหนัก และหันมาดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น ก่อนจะต้องทนอยู่กับโรคดังกล่าวอย่างทรมานตลอดชีวิต ภาวะแทรกซ้อนจาก โรคซาร์คอยโดซิส  โรคซาร์คอยโดซิส ที่เกิดจากกลุ่มการรวมตัวก่อให้เกิดเซลล์อักเสบ ไม่ใช่แค่เพิ่มความเสี่ยงโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา แต่โรคนี้ยังอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ส่งผลเสียต่ออวัยวะภายในของคุณได้อีกด้วย ดังนี้ ทำลายปอด เนื่องจากกลุ่มเซลล์อักเสบสามารถทำให้รอบ ๆ ปอด หรือปอดของคุณมีพังผืดติดเกาะ ส่งผลให้หายใจลำบาก ทั้งยังทำให้ความดันในปอดเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย สุขภาพตาเสื่อมสภาพ การอักเสบที่เกิดขึ้นกับดวงตาของคุณ อาจทำให้เรตินาในดวงตาเสียหาย จนเข้าสู่ภาวะต้อกระจก ต้อหิน หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด การทำงานของหัวใจผิดปกติ หากกลุ่มเซลล์อักเสบพัฒนาตัวเป็นโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมาแล้ว อาจเข้าไปขวางระบบการไหลเวียนของเลือด และการเต้นของหัวใจ จนสามารถส่งผลให้คุณเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวาย หรือเสียชีวิตได้ ทำลายระบบประสาท ถึงจะมีผู้ป่วยส่วนน้อยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนนี้ แต่คุณก็ประมาทไม่ได้ เพราะหากเซลล์อักเสบ จนส่งผลให้สมองอักเสบตามไปด้วย ก็อาจส่งผลให้ร่างกายของคุณได้รับผลกระทบที่รุนแรงตามมา เช่น อัมพาต ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคซาร์คอยโดซิส ส่วนใหญ่ผู้ที่มักเป็น โรคซาร์คอยโดซิส มักอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 20-40 ปี รวมถึงผู้ที่มีเชื้อสายแอฟริกัน หรือยุโรป แต่โรคนี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกชาติพันธุ์ หากสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติของสภาวะ โรคซาร์คอยโดซิส […]


โรคหอบหืด

โรคหอบหืดตอนกลางคืน มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง ที่คุณควรสังเกต

หากขณะที่คุณกำลังนอนพักผ่อนอย่างสบายอารมณ์ในยามดึก จู่ ๆ กลับมาอาการหายใจไม่ออกแทรกขึ้นมา จนขัดขวางการนอนหลับของคุณ นั่งอาจเป็นสัญญาณของ โรคหอบหืดตอนกลางคืน ได้ แต่นอกจากอาการหายใจไม่ออกแล้ว จะมีสัญญาณเตือนอื่น ๆ อย่างไรอีกบ้างนั้น ติดตามในบทความ Hello คุณหมอ นี้ไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ โรคหอบหืดตอนกลางคืน คืออะไร หอบหืดตอนกลางคืน (Nighttime Asthma) เป็นภาวะที่เกิดจากระบบทางเดินหายใจอักเสบ เนื่องจากสารก่อภูมิแพ้ และปัจจัยต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิที่หนาวเย็น ไรฝุ่น ขนสัตว์ หรืออาจเป็นอาการของผู้เป็น โรคหอบหืด มาแต่เดิม โรคหอบหืดในตอนกลางคืนนี้จะส่งผลเสียต่อการทำงานของปอด และทำให้ประสิทธิภาพการนอนหลับของคุณแย่ลง ทำให้มีอาการพักผ่อนไม่เพียงพอ และอ่อนแรงในยามเช้า มีงานวิจัยหนึ่งที่พบว่า หนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตในผู้ป่วย โรคหอบหืด อาจความเกี่ยวข้องกับหอบหืดตอนกลางคืน เนื่องจากโรคนี้อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบากในขณะนอนหลับ จนสุดท้ายก็อาจหยุดหายใจขณะหลับได้โดยไม่รู้ตัว สัญญาณเตือนของโรคหอบหืดตอนกลางคืน อาการของโรคหอบหืดตอนกลางคืน เหล่านี้ อาจคล้ายคลึงกับ โรคหอบหืด ทั่วไป แต่อาจมีอาการแย่ลงเมื่อเข้าสู่ช่วงยามดึก อาการไอ หายใจไม่ออก หายใจถี่ เจ็บหน้าอก แต่หากมีสัญญาณ เช่น อาการละเมอ หยุดหายใจขณะหลับ และรู้สึกถึงพฤติกกรรมการนอนผิดปกติอื่น ๆ ที่ต่างจากเดิม ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น พร้อมแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที เพื่อให้แพทย์หาวิธีรักษาอย่างเหมาะสมลำดับถัดไป วิธีป้องกันการเกิดโรคหอบหืดตอนกลางคืน นอกจากรับประทานยาบรรเทาอาการตามที่แพทย์กำหนดแล้ว […]


โรคถุงลมโป่งพอง

5 พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง

คนส่วนใหญ่มักคิดว่า โรคถุงลมโป่งพอง มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ เพียงอย่างเดียว แต่แท้จริงแล้ว ยังมีอีกหลาย พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาดูกันว่า โรคถุงลมโป่งพองเกิดจากสาเหตุและปัจจัยใดบ้าง เราจะได้ป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี ถุงลมโป่งพอง (Emphysema) คืออะไร ถุงลมโป่งพอง (Emphysema) เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังชนิดหนึ่ง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease : COPD) เกิดจากการอักเสบบริเวณถุงลมปอด  ผนังด้านในถุงลมจึงอ่อนตัวและแตกออกกลายเป็นถุงลมขนาดใหญ่แทนที่จะเป็นถุงลมขนาดเล็ก ๆ จำนวนมาก ทำให้ปอดแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายได้น้อยลง หรือมีปริมาณออกซิเจนค้างอยู่ในปอดมากกว่าปกติ  อย่างไรก็ตาม โรคถุงลมโป่งพองมักพบในเพศชายที่มีอายุระหว่าง 40-60 ปี ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก หายใจถี่ และอาการไอ เป็นต้น  5 พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง  พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง มีดังต่อไปนี้ สูบบุหรี่  บุหรี่เป็นสาเหตุหลักของโรคถุงลมโป่งพอง อายุ โดยส่วนใหญ๋มักพบในเพศชายที่มีอายุระหว่าง 40-60 ปี  การสัมผัสกับควันบุหรี่ การสัมผัสหรือสูดดมควันบุหรี่ (โดยที่ไม่สูบบุหรี่เอง) อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคถุงลมโป่งพอง สูดดมควันและฝุ่นละออง  หากเราหายใจเอาควันและฝุ่นละออง  เช่น ฝุ่นละอองจากเมล็ดฝ้าย หรือสารเคมีในเหมืองแร่ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพองได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไป การสัมผัสกับมลภาวะในที่ร่มและกลางแจ้ง การหายใจเอามลพิษ เช่น ควันจากเชื้อเพลิง ควันจากท่อไอเสียรถ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง สัญญาณเตือนโรคถุงลมโป่งพอง    โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมีอาการไอ […]


โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

4 พฤติกรรมเสี่ยงโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ที่คุณไม่ควรละเลย

โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง เป็นหนึ่งในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่อาจทำให้ปอดเสียหายได้ เราลองมาเช็กกันดูดีกว่าค่ะว่า คุณมี พฤติกรรมเสี่ยงโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือไม่ หากมี จะได้รีบได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้อย่างทันท่วงที ว่าแต่พฤติกรรมเสี่ยงเกิดโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง 4 พฤติกรรมที่ว่าจะมีอะไรบ้าง แล้วคุณจะลดความเสี่ยงโรคนี้ได้อย่างไร Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณแล้วค่ะ 4 พฤติกรรมเสี่ยงโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากระบบทางเดินหายใจและปอดเกิดการระคายเคืองติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ทำให้มีเสลด และเกิดอาการไอเรื้อรังต่อเนื่อง (ไอทุกวัน ติดต่อกัน 3 เดือนขึ้นไป) และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก โรคนี้มักพบในผู้ที่มี พฤติกรรมเสี่ยงโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ดังต่อไปนี้ สูบบุหรี่หรือสูดดมควันบุหรี่บ่อย ๆ การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุอันดับ 1 ของโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ผู้ที่สูบบุหรี่หรืออยู่ร่วมกับผู้ที่สูบบุหรี่บ่อย ๆ มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง 90% โดยส่วนใหญ่มักพบในเพศชายที่มีอายุระหว่าง 44-65 ปี  มีภูมิต้านทานโรคต่ำ ผู้ที่มีสุขภาพร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วยบ่อย เช่น ไข้หวัด หรือจากภาวะเรื้อรังต่าง […]


โรคปอดบวม

ประเภทของโรคปอดบวม และภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่ควรระวัง

เนื่องจากปอดเป็นอวัยวะภายในสำคัญที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ โดยการช่วยแปรเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซออกซิเจน เพื่อลำเลียงนำก๊าซบริสุทธิ์เข้าสู่เลือด แต่เมื่อใดที่ปอดคุณเกิดทำงานผิดปกติ หรือเสี่ยงเข้าสู่ โรคปอดบวม ต้องพึงระวังไว้ให้ดี เพราะโรคปอดบวมนี้ยังถูกแบ่งออกได้อีกหลายประเภทด้วยกัน แต่จะมีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหนนั้น ติดตามได้ในบทความของ Hello คุณหมอกันค่ะ โรคปอดบวมส่งผลให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนอะไรได้บ้าง ส่วนใหญ่ผู้ที่เป็น โรคปอดบวม มักตอบสนองต่อการรักษาได้ดี แต่หากเป็นกรณีที่มีความรุนแรงมากนัก นอกจากจะเจ็บปวดกับอาการที่เกิดขึ้นแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้อีกด้วย ดังนี้ ระบบหายใจล้มเหลว เมื่อปอดของคุณอักเสบ และบวมขึ้นอาจส่งผลเสียต่อระบบหายใจทำให้คุณหายใจลำบากได้ บางกรณีแพทย์จึงจำเป็นต้องมีการใส่เครื่องช่วยหายใจร่วม ฝีในปอด ฝีที่เกิดขึ้นอาจมีหนองอยู่บริเวณรอบ ๆ ปอดร่วมด้วย เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมแพทย์มักนิยมใช้ยาปฏิชีวนะในระยะแรก หากร่างกายคุณยังไม่มีการตอบสนอง ก็อาจต้องใช้วิธีผ่าตัด เพื่อทำการระบายหนองออก ติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด เมื่อแบคทีเรียจากปอดเข้าสู่กระแสเลือด อาจทำให้เชื้อเหล่านี้ถูกแพร่กระจายเข้าไปทำลายยังส่วนต่าง ๆ จนอาจทำให้ระบบการทำงานอื่น ๆ นั้น เกิดล้มเหลวไปด้วยได้ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ โรคปอดบวมสามารถส่งผลให้มีการสะสมของเหลวในระหว่างเนื้อเยื่อ จนเสี่ยงต่อการติดเชื้อขึ้น และจำเป็นต้องทำการผ่าตัดออกอย่างเร่งด่วน เพื่อความปลอดภัย 5 ประเภทของโรคปอดบวม ที่ควรรู้ไว้ การจำแนก ประเภทของโรคปอดบวม ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่คุณนั้นเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อมาก รวมไปถึงการมีเชื้อแบคทีเรีย และไวรัสบางชนิดเข้าสู่ทางเดินหายใจ โดยสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ 1.โรคปอดบวมที่ได้รับจากโรงพยาบาล โดยคุณอาจได้รับเชื้อแบคทีเรียในช่วงระหว่างการรักษาตัว และอาจได้รับจากอุปกรณ์การรักา เช่น เครื่องช่วยหายใจ 2.โรคปอดบวมที่เกิดจากชุมชน เนื่องจากชุมชนที่คุณพักอาศัย อาจมีแบคทีเรีย ไวรัส จำนวนมาก เมื่อมีการสูดหายใจเข้าไป และระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถกำจัดออกไปได้ ก็สามารถส่งผลให้คุณได้รับเชื้อลงสู่ปอดจนเป็นโรคปอดบวมนั่นเอง 3.โรคปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรีย คุณสามารถรับเชื้อนี้ส่งต่อกันได้จากการไอ […]


โรคปอดบวม

โรคปอดบวมจากการสำลัก มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง

โรคปอดบวมจากการสำลัก เป็นหนึ่งในโรคปอดบวมที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ ที่ทุกคนอาจยังไม่คุ้นเคยกันมากนัก ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำสัญญาณเตือนเบื้องต้น ที่คุณควรทราบมาฝากให้ได้ลองนำไปเช็กตนเองพร้อม ๆ กันค่ะ โรคปอดบวมจากการสำลัก คืออะไร โรคปอดบวมจากการสำลัก เป็นโรคปอดบวมอีกประเภทที่เกิดจากการติดเชื้อที่ปอด และทางเดินหายใจ โดยเกิดการสำลักขึ้นเมื่อคุณมีการรับประทานอาหาร หรือดื่มของเหลวเข้าไป แต่แทนที่อาหารเหล่านี้จะถูกลำเลียงเข้าสู่หลอดอาหารลงกระเพาะ กลับเข้าไปในช่องปอด หรือทางเดินหายใจแทน ถึงจะดูเหมือนเป็นการสำลักอาหารธรรมดา แต่ขณะเดียวกันก็อาจมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้คุณเสียชีวิตได้ เนื่องจากการสะสมของแบคทีเรียในอาหารเป็นพาหะที่ส่งผลให้เกิดโรคปอดบวม หากไม่เข้าขอรับรักษาจากแพทย์ ก็สามารถทำให้คุณเผชิญกับอาการที่แย่ลงเรื่อย ๆ ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็น โรคปอดบวมจากการสำลัก ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคปอดบวมจากการสำลักนั้น อาจมาจากปัจจัยการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ รวมไปถึงสภาวะสุขภาพอื่น ๆ ดังนี้ โรคหลอดเลือดสมอง โรคสมองเสื่อม ความผิดปกติในการกลืนอาหาร โรคปอด การรับรู้ สติปัญญาผิดปกติ มีปัญหาเกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต โรคทางระบบประสาทบางชนิด กรดไหลย้อน ผู้ป่วยที่ผ่านการฉายรังสีบริเวณศีรษะ และคอ สัญญาณเตือนของโรคปอดบวมจากการสำลัก คุณควรมีการสังเกตอาการตนเองร่วมว่ากำลังเผชิญกับอาการ ดังต่อไปนี้ อยู่หรือไม่ เพื่อความปลอดภัย และเข้ารับการตรวจได้อย่างเท่าทัน เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ไข้ขึ้นสูง เหงื่ออกมากจนเกินไป สีผิวเปลี่ยนแปลงเป็นสีฟ้าซีด ไอแบบมีเสมหะ ลมหายใจมีกลิ่น หากกรณีที่คุณมีไข้ พร้อมกับหายใจไม่ออก และมีอาการหนาวสั่นร่วม คุณควรรีบเข้าพบคุณหมอในทันที ไม่ควรรออาการให้หายไปเอง เพราะบางครั้งอาการเหล่านี้อาจทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนส่งผลอันตรายต่อปอดได้มากขึ้น วิธีรักษา โรคปอดบวมจากการสำลัก ในการรักษาโรคปอดบวมจากการสำลักอาจแตกต่างกันออกไปตามแต่ละภาวะสุขภาพ และอาการที่เกิดขึ้นของแต่ละบุคคล หากมีอาการที่ไม่รุนแรงมากนัก แพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะตามอาการ  พร้อมมีการทดสอบการกลืนอาหารว่ามีความเสี่ยงต่อการสำลักอีกหรือไม่ อีกทั้งแพทย์ยังอาจใช้การเอ็กซเรย์บริเวณหน้าอก การตรวจเม็ดเลือด การกล้องทางหลอดลม (Bronchoscopy) แต่สำหรับผู้ที่อยู่ในอาการรุนแรง แพทย์อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือการให้ออกซิเจนเสริม […]


วัณโรค

ทำความรู้จักกับ วัณโรคแฝง ภัยร้ายที่มักไม่แสดงอาการ

เรียกได้ว่าระยะแรกของอาการวัณโรคแฝงแทบจะไม่ค่อยแสดงออกมาให้คุณได้เห็นอย่างชัดเจนเท่าไหร่นัก แต่ก็ไม่สามารถเพิกเฉยได้ เพราะอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะภายในโดยไม่รู้ตัว วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอพาทุกคนไปร่วมรู้จัก วัณโรคแฝง พร้อมวิธีรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนเกิดอาการรุนแรงแก่ร่างกายในวงกว้างมาฝากกัน วัณโรคแฝง คืออะไร วัณโรคแฝง หรือ วัณโรคระยะแฝง (Latent Tuberculosis Infection) เป็นวัณโรคที่เกิดจากการได้รับเชื้อแบคทีเรีย โดยผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อมักไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมา แต่ไม่ต้องเป็นกังวลใจไปเพราะระบบภูมิคุ้มกันของคุณจะทำหน้าที่เป็นเครื่องขัดขวางอันดับแรกในการป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียทำการแพร่กระจายไปยังบุคคลรอบข้าง ที่สำคัญผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35-65 ปี และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หากเป็นวัณโรคแฝงโดยไม่รู้ตัว และมักเพิกเฉยต่อการเข้ารับการตรวจสุขภาพของตนเองอย่างเป็นประจำ เชื้อแบคทีเรียอยู่ในร่างกายเป็นเวลานานนั้น ก็อาจส่งผลให้ตับคุณเกิดความเสียหาย และเสี่ยงเป็นวัณโรคแบบเต็มตัวที่ก่อให้เกิดปัญหารุนแรงตามมาได้ในภายหลัง เทคนิคการวินิจฉัย วัณโรคแฝง แพทย์อาจเลือกใช้เทคนิคเป็นการตรวจเลือดมาใช้ในขั้นตอนแรกก่อนรับการรักษา เนื่องจากการตรวจเลือดจะสามารถทำให้แพทย์ทราบได้ว่าคุณเป็นวัณโรค หรือวัณโรคระยะแฝงตัวอยู่ อีกทั้งการทดสอบนี้ยังตรวจเช็กได้อีกด้วยว่าระบบภูมิคุ้มกันของคุณมีปฏิกิริยาอย่างไรกับแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดวัณโรคแฝงตัวนี้ ในบางกรณีนอกจากการตรวจเลือด คุณอาจได้รับการตรวจร่างกายเพิ่มเติมด้วยการใช้ CT scan ที่จะช่วยบ่งบอกได้ว่าแบคทีเรียที่คุณได้รับเข้าสู่ปอดของคุณแล้วหรือไม่ โดยจะเผยให้เห็นเป็นจุดสีขาว ๆ อยู่ล้อมรอบของปอด วิธีรักษาวัณโรคแฝง หากคุณได้รับการทดสอบแล้วพบว่าตนเองนั้นกำลังป่วยเป็นวัณโรคแฝง แพทย์ส่วนใหญ่มักจะแนะนำการรักษาด้วยการให้ยาสเตียรอยด์ เคมีบำบัด เข้ามาช่วยในระยะยาว เพื่อทำการยับยั้งก่อนเชื้อแบคทีเรียจะส่งผลอันตราย นอกจากนี้ยังแพทย์ยังจำเป็นต้องให้ยา ไรแฟมพิซิน (Rifampicin) ไอโซไนอาซิด (Isoniazid) มาร่วมรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3-6 เดือนด้วยกัน ตามการพัฒนาการวัณโรคในแต่ละบุคคล แต่ถึงอย่างไรคุณควรพูดคุยถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับแพทย์ก่อนรับยาร่วมด้วย เพราะไอโซไนอาซิด (Isoniazid) สามารถทำให้เส้นปลายประสาทได้รับความเสียหาย […]


โรคหอบหืด

ประเภทของหอบหืด กับวิธีการป้องกัน และรักษาเบื้องต้น ที่คุณควรรู้

โรคหอบหืด เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ โดยอาจมาจากสาเหตุของโรคภูมิแพ้เป็นหลัก จนเกิดอาการแพ้เรื้อรังส่งผลให้เป็นโรคหอบหืด หรือหลอดลบตีบแคบตามมาในที่สุด แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่า โรคหอบหืด นี้ยังถูกแบ่งออกอีกหลายชนิดด้วยกัน ที่วันนี้ Hello คุณหมอ จะพามารู้จักกับ ประเภทของหอบหืด ที่ผู้คนส่วนใหญ่มักประสบ เพื่อรู้ให้เท่าทันถึงอาการ และวิธีการรักษา 5 ประเภทของหอบหืด มีอะไรบ้าง โรคหอบหืด ถือว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด ได้กับทุกช่วงวัย รวมถึงผู้ที่มีประวัติทางสุขภาพเกี่ยวข้องกับอาการแพ้อยู่แต่เดิมเช่น แพ้ขนสัตว์ แพ้อากาศ แพ้ละอองเกสร เป็นต้น โดยสามารถแบ่งแยกออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ ดังนี้ โรคหอบหืดจากการทำงาน ส่วนมากผู้ที่เป็นหอบหืดประเภทนี้มักประกอบอาชีพที่สุ่มเสี่ยงต่อสารก่อให้เกิดภูมิแพ้เช่น โรงงานที่สัมผัสปะปนสารเคมี โลหะ ตะกั่ว และไม้ เกษตรกร สัตวแพทย์ เป็นต้น โดนจะส่งผลให้คุณมีอาการแพ้  โพรงจมูกบวม มีน้ำมูก จนเข้าไปปิดกันช่องทางเดินหายใจ วิธีการรักษา อาการดังกล่าวข้างต้นที่เกิดขึ้น ปกติแล้วจะหายไปได้เองภายในไม่กี่ชั่วโมง แต่หากกรณีที่คุณมีอาการรุนแรงขึ้นอาจต้องเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ พร้อมรับประทานยาตามคำแนะนำ จนกว่าคุณจะรู้สึกว่ามีอาการที่ดีขึ้น หรือรับประทานจนกว่าจะครบระยะเวลาที่แพทย์กำหนด โรคหอบหืดตามฤดูกาล สามารถเกิดขึ้นได้ในบางสภาวะตามสภาพอากาศที่ร่างกายคุณมีการตอบสนอง แต่ส่วนใหญ่แล้วมักเจอผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดประเภทนี้ในช่วงฤดูหนาวได้มากกว่า พร้อมกับมีไข้เล็กน้อย หรือเป็นไข้หวัดร่วมด้วย วิธีการรักษา แพทย์อาจต้องมีการตรวจร่างกายว่าคุณมีอาการใดบ้าง พร้อมกับให้ยารักาตามอาการ และให้คำแนะนำเพิ่มเติมถึงการดูแลสุขภาพตนเอง เช่น ฤดูหนาวคุณควรสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกายด้วยการสวมใส่เสื้อผ้าหนา […]


โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา

โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา ส่งผลเสียต่อปอดได้อย่างไร

ถึงแม้ผู้คนส่วนใหญ่จะรู้จัก หรือเคยได้ยินมาบ้างแล้วเกี่ยวกับ โรคปอดอักเสบ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงมีโรคปอดอักเสบอีกประเภทที่สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพปอดของคุณได้ไม่แพ้กัน โดยวันนี้ Hello คุณหมอ จึงขออาสาพาทุกคนมารู้จักกับ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา เพื่อให้คุณนำไปสังเกตอาการเบื้องต้น พร้อมรับการรักษาได้อย่างเท่าทัน เมื่อรู้สึกว่าตนเองกำลังเสี่ยงอยู่ในเกณฑ์อาการผิดปกติ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา ส่งผลเสียอย่างไรต่อปอด  โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา (Lung Granuloma) เป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่มีลักษณะการจับตัวเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์เล็ก ๆ จนส่งผลให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงไม่สามารถปกป้องร่างกาย หรือกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา ทำให้เชื้อแบคทีเรีย และไวรัสต่าง ๆ เริ่มเข้ามารุกรานทำลายเนื้อเยื่อผิวหนัง ต่อมน้ำเหลือง ตับ ลำไส้ จนไปถึงกระเพาะอาหาร แต่อาจเกิดความเสียหายไม่เท่าปอด เพราะเมื่อใดที่ปอดมีการติดเชื้อจนอักเสบ และมีอาการปอดบวมร่วม ก็อาจทำให้เกิดผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง จนถึงขั้นเสียชีวิตลงได้ อาการของโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา เนื่องจากเป็นโรคประเภทเดียวกับ โรคปอดอักเสบ ปอดบวมทั่วไป จึงทำให้ผู้คนส่วนใหญ่มักมีอาการ ดังต่อไปนี้ ที่ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ถึงอย่างไรหากคุณพบอาการใดอาการหนึ่งที่ผิดปกติขึ้นไม่ว่าจะระดับรุนแรงหรือไม่ก็ตาม ควรเข้ารับการรักษาในทันทีจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด มีไข้ หนาวสั่น เจ็บหน้าอก เมื่อคุณหายใจเข้า และหายใจออก น้ำมูกไหล ต่อมน้ำเหลืองมีอาการบวม และรู้สึกเจ็บ คันระคายเคืองบริเวณผิวหนัง ผื่นแดง และบวม เนื้อเยื่อในช่องปากมีอาการบวมแดง อาเจียน ท้องร่วง บางครั้งอาจมีอุจาระเป็นเลือด หนองบริเวณทวารหนัก ไอแห้ง วิธีรักษาโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา การรักษาส่วนใหญ่แพทย์จะทำการพิจารณาจากอาการที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญ ดังนั้นคุณจึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงอาการที่คุณเป็นอยู่ เพื่อให้แพทย์นำไปวิเคราะห์เลือกหนทางการรักษาที่เหมาะสมด้วยเทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้ ควบคุมการติดเชื้อด้วยยาปฏิชีวนะ ยกตัวอย่างยา ซัลฟาเมทอกซาโซล (Sulfamethoxazole) และไทรเมโทพริม (Trimethoprim) ที่อาจจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน […]


โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ภัยใกล้ตัว ที่ไม่ควรมองข้าม

โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic Bronchitis) เป็นอีกหนึ่งโรคทางระบบทางเดินหายใจที่พบได้บ่อย โดยมีสาเหตุมาจากมลภาวะทางอากาศและพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการไอ น้ำมูกไหล หายใจลำบาก เป็นต้น บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงนำข้อมูลความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับโรค หลอดลมอักเสบเรื้อรัง มาให้ผู้อ่านได้ศึกษาและทำความเข้าใจถึงโรคดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะได้รับมือกับโรคได้อย่างทันท่วงที  โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) คืออะไร โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุหลอดลม ทำให้เยื่อบุหลอดลมบวม และกระตุ้นให้ร่างกายผลิตเสมหะเข้าไปในท่อหลอดลมมากขึ้นกว่าปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการไอ มีเสมหะ หายใจลำบาก เป็นต้น  ถึงแม้ว่าโรค หลอดลมอักเสบเรื้อรัง จะไม่ส่งผลอันตรายต่อร่างกายเท่าใดนักในผู้ป่วยครั้งแรก (ผู้ป่วยบางรายมีอาการปอดบวมได้) แต่หากหลอดลมเกิดการอักเสบหลายครั้งซ้ำ ๆ อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง มีดังต่อไปนี้ ควันบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่หรือผู้ที่อยู่ร่วมกับผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ภูมิต้านทานต่ำ เช่น เป็นหวัดหรือมีภาวะเรื้อรังที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง  มลภาวะทางอากาศ  การสัมผัสกับ ฝุ่น ควัน สารเคมี อาจทำให้เกิดการระคายเคียงในปอด ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดลมอักเสบ กรดไหลย้อน อาการเสียดท้องอย่างรุนแรงซ้ำ ๆ อาจทำให้คอเกิดการระคายเคือง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไป 5 สัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่าคุณเข้าข่ายเป็นโรค […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม