โรคทางเดินหายใจ

ระบบทางเดินหายใจ มีส่วนสำคัญในการทำงานตามปกติของร่างกาย ดังนั้น คุณจึงควรเรียนรู้วิธีการรักษาสุขภาพของระบบทางเดินหายใจของคุณให้แข็งแรง ห่างไกลจากความเจ็บป่วย เรียนรู้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รวมถึง โรคทางเดินหายใจ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคทางเดินหายใจ

น้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุด ทำอย่างไรจึงจะหาย

น้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด เป็นอาการที่ร่างกายมีของเหลวเป็นน้ำใส ๆ ไหลออกมาทางจมูกตลอดเวลา เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคภูมิแพ้อากาศ ไข้หวัด รักษาให้หายได้โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้หรือบางรายอาจต้องรับประทานยาเพื่อรักษาอาการ หาก น้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุด เป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือนภาวะสุขภาพที่ต้องระวัง เช่น โรคริดสีดวงจมูก โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษา [embed-health-tool-bmi] น้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุด เกิดจากอะไร อาการน้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้ สาเหตุจากโรคภูมิแพ้ (Allergy) เป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าปกติ เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด นอกจากนี้ ยังอาจก่อให้เกิดอาการร่วมอื่น ๆ เช่น จาม ไอเรื้อรัง คันและระคายเคืองบริเวณตาหรือคอ สาเหตุจากโรคอื่น ๆ ยกตัวอย่าง เช่น โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง เกิดจากการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือมีอาการแพ้อย่างรุนแรง จนทำให้มีอาการปวด คัดจมูก น้ำมูกไหล หายใจติดขัด มีเสมหะข้นเหนียว ปวดใบหน้าบริเวณหน้าผาก หัวตา หู […]

สำรวจ โรคทางเดินหายใจ

โรคหอบหืด

5 สารอาหาร มีประโยชน์ สำหรับผู้ป่วย โรคหอบหืด

โรคหอบหืด มีสาเหตุมาจากสารระคายเคืองต่าง ๆ เข้าไปยังช่องทางเดินหายใจส่งผลให้เกิดภูมิแพ้ มีการผลิตน้ำมูกเพิ่มในปริมาณมากจนอุดตัน หายใจลำบาก เพื่อช่วยบรรเทาอาการของหอบหืดลง ควรหมั่นดูแลตนเอง และเลือกรับประทาน สารอาหาร ที่เหมาะสม สารอาหาร สำหรับผู้ป่วย โรคหอบหืด จากหลักฐานการศึกษาพบว่าผู้ที่รับประทานอาหาร หรือวิตามิน ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ อาจช่วยให้บรรเทาอาการของโรคหอบหืดลง และปกป้องเซลล์ที่ได้รับความเสียหาย ที่สำคัญการที่ร่างกายได้รับสารอาหารที่ดีเพียงพอต่อวัน อาจทำให้ร่างกายสามารถสู้กับเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจก่อนจะเกิดอาการของ หอบหืด ในระดับรุนแรงขึ้น สารอาหารที่อาจเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด มีดังนี้ โคลีน (Choline) โคลีน เป็นสารอาหารที่คล้ายกับวิตามินบี โดยจะพบได้ในเนื้อสัตว์ ปลา ถั่ว ผัก และไข่ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ดี ลดอาการบวมอักเสบ นอกจากในรูปแบบของอาหาร โคลีนยังเป็นส่วนประกอบที่นำมาใช้ทำเป็นยาพ่นผ่านช่องปาก ขยายหลอดลม และบรรเทาอาการที่ผู้ป่วยโรคหอบหืดเป็นได้ อย่างไรก็ตามโคลีนยังอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น อาการท้องร่วง อาเจียน เหงื่อออกมาก ควรปรึกษาหมอก่อนรับประทาน แมกนีเซียม (Magnesium) แมกนีเซียม คือแร่ธาตุที่สำคัญมีส่วนช่วยเสริมสร้างกระดูกในร่างกายให้แข็งแรง แต่นอกจากจะช่วยบำรุงกระดูก แมกนีเซียมยังช่วยให้กล้ามเนื้อหลอดลมผ่อนคลาย ขยายทางเดินหายใจให้อากาศไหลเข้า และไหลออกจากปอดได้สะดวกขึ้น อีกทั้งยังอาจช่วยบรรเทาอาการหอบหืดเฉียบพลันได้ และอาจปลอดภัยสำหรับผู้ที่รับประทานในปริมาณน้อยกว่า 350 มิลลิกรัมต่อวัน ถึงอย่างไรควรคำนึงถึงผลข้างเคียงที่อาจตามมาร่วม เช่น อาการท้องร่วง […]


โรคปอดบวม

โรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย (Bacterial Pneumonia)

โรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย หรือโรคปอดบวมจากแบคทีเรีย เป็นโรคที่สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงขึ้นได้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรัง ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดฝีในปอด หายใจลำบาก รวมถึงเกิดการสะสมของแบคทีเรียภายในกระแสเลือดจนลุกลามไปทำลายอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย คำจำกัดความโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย คืออะไร โรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย คือการอักเสบของปอดที่ติดเชื้อ ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยที่สุดมีชื่อเรียกว่านิวโมคอคคัส (Streptococcus pneumoniae) หากพื้นฐานสุขภาพค่อนข้างแข็งแรงเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวนี้อาจจะอยู่เพียงบริเวณระบบทางเดินหายใจส่วนบน หรือลำคอ และไม่ก่อให้เกิดอันตรายรุนแรงใด ๆ แต่หากผู้ที่ได้รับเชื้อมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ แบคทีเรียก็อาจลงไปยังระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง คือบริเวณปอดได้ อาการอาการของ โรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย ตามที่สมาคมโรคปอดแห่งสหรัฐอเมริกา (American Lung Association) ได้ระบุอาการทั่วไปของโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย ได้แก่ มีไข้สูง หนาวสั่น อาการไอ และเสมหะสีเหลือง สีเขียว หรือเสมหะปะปนกับเลือด รู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติ ความอยากอาหารลดลง หรือเบื่ออาหาร หายใจลำบาก โดยเฉพาะเวลาเคลื่อนไหวบ่อย ๆ เจ็บหน้าอกรุนแรง หรือรู้สึกเหมือนมีอะไรทิ่มหน้าอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอาการไอร่วม อาการข้างต้นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จากข้อมูลของสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (American Academy of Pediatrics) ระบุเพิ่มเติมว่าทารก และเด็กช่วงวัยหัดเดินอาจมีอาการร้องไห้กว่าปกติ มีสีผิวที่ซีด หากพบอาการดังกล่าวควรเข้ารับการรักษาจากคุณหมอในทันที เพื่อความปลอดภัย สาเหตุสาเหตุของ โรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย นสาเหตุที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคปอดอักเสบ เนื่องจากปอดมีการติดเชื้อแบคทีเรียส่งผลให้ถุงลมในปอดเกิดการติดเชื้อ จนได้รับความเสียหายทำให้การทำงานของปอด และถุงลมผิดปกติ จนกระทบต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิจนเข้าสู่กระแสเลือดไปหล่อเลี้ยงตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย   ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของ โรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเสี่ยงเป็นโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย […]


ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A แตกต่างจาก ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B อย่างไร

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A และ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B เป็นสายพันธุ์ที่พบบ่อยในโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นการติดเชื้อทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ทุกช่วงวัย แต่อาจพบมากและมีอาการรุนแรงในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี บุคคลที่มีประวัติเป็นโรคหอบหืด โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป และสตรีตั้งครรภ์ ดังนั้น จึงควรศึกษาความแตกต่างระหว่างไข้หวัดใหญ่ทั้ง 2 สายพันธุ์ รวมถึงอาการและวิธีการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-heart-rate] ความแตกต่างของ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A และ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A และ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B มีความแตกต่างกัน คือ โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A เป็นสายพันธุ์ที่รุนแรงมากกว่า สามารถกลายพันธุ์และก่อให้เกิดการติดเชื้อในวงกว้าง และสามารถก่อให้เกิดการแพร่เชื้อได้ทั้งในคน และในสัตว์ เช่น หมู นก เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ ยังแบ่งออกเป็นชนิดย่อย โดยตรวจได้จากไกลโคโปรตีนรอบของเชื้อไวรัส (Surface glycoprotein) ซึ่งประกอบด้วย ฮีแมกกูตินิน (Hemagglutinin : H) ซึ่งมีทำหน้าที่ในการจับกับตัวรับ (Receptor) […]


โรคถุงลมโป่งพอง

โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema)

โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) เป็นภาวะหนึ่งที่อาจนำพาไปสู่เกิดโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ และส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากมาย เช่น ปอดยุบตัว เกิดรูขนาดใหญ่ในปอด เพิ่มความดันในหลอดเลือดแดงของหัวใจและปอดเพิ่มมากขึ้น หากไม่เข้ารีบรักษาอาจหายใจลำบาก ไอเรื้อรัง รวมไปถึงสุขภาพทางเดินหายใจเสียหายอย่างหนักได้ คำจำกัดความโรคถุงลมโป่งพอง คืออะไร โรคถุงลมโป่งพอง คือหนึ่งในโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โดยโดยจะส่งผลให้ถุงลมเสียความยืดหยุ่น อาจทำให้เยื่อบุของถุงลมได้รับความเสียหาย และแตกตัวออกจนเกิดช่องว่างภายใน ทำให้ปอดมีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้น้อยลง และขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายได้ยากขึ้น อาการอาการของ โรคถุงลมโป่งพอง อาการของ ถุงลมโป่งพอง มักแตกต่างกันออกไป โดยอาการที่พบบ่อยที่สุด มีดังนี้ ไอบ่อยและต่อเนื่อง หายใจตื้น มีเสมหะปริมาณมาก แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ในรายที่มีอาการเรื้อรัง อาจมีอาการดังต่อไปนี้ หายใจมีเสียงหวีด ปอดติดเชื้อ น้ำหนักลดลงจากอาการไม่อยากอาหาร หรือเบื่ออาหาร รู้สึกเหนื่อยล้าง่าย ริมฝีปากเปลี่ยนเป็นสีซีดเนื่องจากขาดออกซิเจน สาเหตุสาเหตุของโรคถุงลมโป่งพอง สาเหตุที่ทำให้ ถุงลมโป่งพอง และเกิดการระคายเคืองในช่องทางเดินหายใจเป็นเวลานาน มีดังต่อไปนี้ การสูบบุหรี่ หรือสูดดมควันบุหรี่ มลพิษทางอากาศ ฝุ่น สารเคมี ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของโรคถุงลมโป่งพอง แม้ว่าความเสียหายของถุงลมจะเกิดจากภาวะต่าง ๆ รอบตัว และบางคนอาจไม่เผยอาการใด ๆ แต่จะมีอาการชัดขึ้นในอายุ 40-60 ปี หรือเข้าสู่ช่วงวัยผู้สูงอายุ และอาการจะมีการพัฒนาที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน และรุนแรงมากขึ้นตามมา โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องมาแทบทั้งชีวิต อีกทั้งการที่ร่างกายขาดเอนไซม์ Alpha 1-antitrypsin (AAT) ซึ่งเป็นโปรตีนในเม็ดเลือดโดยมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เซลล์เม็ดเลือดขาวทำลายเนื้อเยื่อ ก็อาจนำไปสู่การทำลายปอดได้ การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยโรคถุงลมโป่งพอง การวินิจฉัยโรคถุงลมโป่งพอง ที่คุณหมอใช้ เพื่อประเมินหาสาเหตุก่อนการรักษา มีดังนี้ การเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ […]


โรคหอบหืด

ผู้ป่วย โรคหอบหืด สามารถฉีด วัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่

โรคหอบหืด (Asthma) เป็นหนึ่งในโรคทางเดินหายใจ ที่มีสาเหตุมาจากการระคายเคืองของสารก่อภูมิแพ้ จนก่อให้เกิดมีอาการหอบหืดขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น หลอดลมตีบ ปอดบวม และปอดหยุดการทำงานได้ อีกทั้งในปัจจุบันยังมีมีการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบกับระบบทางเดินหายใจโดยตรง ผู้เป็นโรคหอบหืด จึงควรระมัดระวังตนเอง และเข้ารับการฉีด วัคซีนโควิด-19 ซึ่งอาจมีส่วนช่วยในการป้องกันจากเชื้อไวรัส ป้องกันการเกิดอาการเจ็บป่วยที่รุนแรง หรือเสียชีวิตได้ ความเชื่อมโยงของ โรคหอบหืด และ โควิด-19 หอบหืด เป็นโรคที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ รูจมูก โพรงจมูก ปาก คอ กล่องเสียง และระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ หลอดลม หลอดลมภายในปอด หลอดลมฝอย ถุงลม ปอด เนื่องจากบางคนอาจได้มีการติดเชื้อจากไวรัส จนทำให้มีอาการแน่นหน้าอก และหายใจลำบาก ผู้ป่วยโรคหอบหืด ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจต่าง ๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ดังนั้น เมื่อมีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้ป่วยโรคหอบหืดอาจได้รับความเสี่ยงในการติดเชื้อและกระตุ้นอาการหอบหืดในระดับรุนแรงขึ้น ตามข้อมูลของวารสารสมาคมการแพทย์แห่งประเทศแคนนาดา แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคหอบหืดในระดับปานกลาง และรุนแรง อาจส่งผลให้มีอาการหอบหืดที่แย่ลงในระหว่างการติดเชื้อโควิด-19 ถึงอย่างไรความสัมพันธ์ของระหว่างทั้ง 2 โรค อาจต้องทำการศึกษาต่อไปว่าจะส่งผลเสียต่อสุขภาพมากน้อยเพียงใด […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ประเภทของไซนัสอักเสบ มีอะไรบ้าง แตกต่างกันอย่างไร

ไซนัสอักเสบ เป็นโรคที่สามารถก่อให้เกิดอาการรุนแรงไม่น้อยไปกว่าโรคทางเดินระบบหายใจอื่น ๆ ทำให้คุณคัดจมูก มีปัญหาด้านการได้กลิ่น และในที่สุดอาจทำให้เนื้อเยื่อโพรงจมูกของคุณอักเสบได้ อีกทั้งโรคไซนัสยังแบ่งออกเป็นอีกหลายประเภทด้วยกัน ที่วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวม ประเภทของไซนัสอักเสบ มาฝากให้ทุกคนได้ศึกษา เพื่อป้องกันตนเองได้อย่างเท่าทัน ไซนัสอักเสบ เกิดจากอะไร ไซนัสอักเสบ เกิดได้จากหลากหลายปัจจัยด้วยกัน แต่ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยที่สุดนั้นคงเป็น การติดเชื้อไวรัสที่เข้าไปกระตุ้นให้คุณเกิดอาการแพ้ และผลิตเมือกของเหลวในโพรงจมูกออกมาจำนวนมากจนเกิดการอุดตัน และเป็น ไซนัสอักเสบ ได้นั่นเอง ส่วนใหญ่ผู้ที่เสี่ยงเป็นไซนัสอักเสบมักมีประวัติการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจมาก่อน เช่น โรคภูมิแพ้ตามฤดูกาล ไข้หวัด ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อีกทั้งสำหรับผู้ที่ได้รับควันพิษอยู่บ่อยครั้ง และมีร่างกายที่ไวต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละออง หรือขนสัตว์ ก็สามารถนำพาไปสู่ ไซนัสอักเสบ ได้เช่นเดียวกัน ประเภทของไซนัสอักเสบ มีอะไรบ้าง ไซนัสอักเสบ แต่ละประเภทมีอาการที่ค่อนข้างคล้ายกัน เช่น น้ำมูกไหล อาการไอ คัดจมูก เหนื่อยล้า รู้สึกปวดบริเวณใบหน้า แต่อาจต่างกันที่ระยะเวลาที่คุณเป็น โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1.ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน (Acute sinusitis) ช่วงแรกจะทำให้คุณรู้สึกเหมือนตนเองเป็นไข้หวัดแบบปกติ แต่อาจมีระยะเวลาที่ยาวนานกว่าประมาณ 2-4 สัปดาห์ หรือกายไปได้เองภายใน 7-10 วัน 2.ไซนัสอักเสบกึ่งเฉียบพลัน […]


โรคหอบหืด

5 ผลไม้สำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด ที่ควรรับประทานบรรเทาอาการหอบหืด

ถึงแม้ผลไม้แทบทุกชนิดจะให้สารอาหาร และวิตามินจากธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเรา แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคหอบหืดแล้วก็อาจรับประทานผลไม้ได้เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น วันนี้บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอนำ ผลไม้สำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด ที่สามารถรับประทานได้อย่างหายกังวลใจ มาฝากกันค่ะ [embed-health-tool-bmr] สารอาหารในผลไม้ ที่ผู้ป่วยโรคหอบหืดควรได้รับ ผลไม้ประกอบด้วยวิตามิน และใยอาหารมากมายที่คอยช่วงเสริมสร้างระบบภูมิคุ้ม หรือบรรเทาอาการรุนแรงในโรคหอบหืด สารอาหารต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ อาจช่วยคุณได้ วิตามินดี จากหลักฐานชิ้นหนึ่งพบว่าพบวิตามินดีสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดอาการรุนแรงในโรคหอบหืดได้ และยังส่งเสริมการทำงานของปอดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมช่วยลดการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนอย่างไข้หวัดได้ ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดีที่คุณหารับประทานได้ง่าย ๆ นั้น ได้แก่ ไข่แดง เห็ด ปลาแซลมอน ปลาทูน่า เป็นต้น วิตามินซี เป็นที่ทราบกันดีว่าวิตามินซีมีส่วนช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับสารแปลกปลอมที่อาจเข้ามาทำลายเนื้อเยื่อ มากไปกว่านั้นยังช่วยปรับปรุงการทำงานของปอด และควบคุมอาการของโรคหอบหืดได้ โดยส่วนใหญ่วิตามินซีมักมาจากผลไม้รสเปรี้ยว และผัก  ฟลาโวนอยด์ ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีบทบาทสำคัญช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราทำงานได้ดีขึ้น พร้อมลดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่อาจทำลายเซลล์ต่าง ๆ ได้ ส่วนใหญ่ฟลาโวนอยด์มักอยู่ในผักผลไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น แอปเปิ้ล ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ องุ่น รวมไปถึงชาเขียว และชาดำ 5 ผลไม้สำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด มีอะไรบ้าง ถึงแม้ว่าจะมีอาหารบางชนิดที่ช่วยลดอาการของโรคหอบหืดได้ แต่ก็อาจได้รับไขมัน หรือสารอาหารต่าง ๆ ที่ไม่ดีต่อร่างกายจนก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ […]


โรคปอดบวม

โรคปอดอักเสบ และ โรคหอบหืด มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

โรคปอดอักเสบ และ โรคหอบหืด เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ ที่อาจก่อให้เกิดอาการบางอย่างขึ้น เช่น อาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีไข้  ไอ ทั้งนี้ทั้งสองโรคมีสาเหตุ และการรักษาที่แตกต่างกัน หากไม่เร่งรักษา หรือขอรับการตรวจอย่างเท่าทัน ก็อาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้เมื่อมีแบคทีเรีย หรือไวรัสเกิดซ้ำภายในปอดอีกครั้ง ทำความรู้จักกับ โรคปอดอักเสบ และ โรคหอบหืด โรคปอดอักเสบ (Pneumonia) คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสที่อาจทำให้ปอด และถุงลมในปอดติดเชื้อเต็มไปด้วยหนอง ทำให้หายใจลำบาก และระดับออกซิเจนในเลือดลดลง โดยโรคนี้อาจมีความรุนแรงตั้งแต่ระดับเบา ปานกลาง และอันตรายถึงแก่ชีวิต ซึ่งจะส่งผลร้ายแรงที่สุดในเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ รวมถึงผู้ที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ โรคปอดอักเสบแบ่งออกเป็น 4 ประเภท โดยแต่ละประเภทจะถูกจำแนกตามแหล่งที่ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อ ได้แก่ ปอดอักเสบจากแหล่งชุมชน เป็นโรคปอดอักเสบที่พบบ่อยที่สุด มีสาเหตุมาจาก แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส รวมถึงโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดในปัจจุบัน ปอดอักเสบจากโรงพยาบาล ผู้ป่วยอาจเป็นโรคปอดอักเสบระหว่างการรักษาตัวที่โรงพยาบาล เนื่องจากแบคทีเรียบางชนิดที่ผู้ป่วยได้รับอาจมีปฏิกิริยาการดื้อยา ปอดอักเสบจากสถาน หรือหน่วยงานด้านสุขภาพ อาจมีความคล้ายคลึงกับปอดอักเสบจากโรงพยาบาล แต่ประเภทนี้จะรวมไปถึงแหล่งสถานที่ที่รับดูแล […]


โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา

สาเหตุของโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา อาการ และการรักษา

โรคปอดอักเสบเสบแบบแกรนูโลมา (Lung Granuloma) เกิดขึ้นได้ต่อเมื่อก้อนเนื้อแกรนูโลมาที่อยู่ภายในปอดเกิดอักเสบ ซึ่งมีสาเหตุจากหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น การอักเสบของปอดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส และการที่แกรนูโลมาปรากฏเป็นก้อนเนื้อก็เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ทำปฏิกิริยาการป้องกันกับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา ซึ่งจะพบเจอก้อนเนื้อได้ต่อเมื่อเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดด้วยวิธีเอ็กซเรย์ โดยอาจสังเกตได้จากอาการหายใจสั้น เจ็บหน้าอก และมีไข้ เป็นตัวบ่งชี้ สาเหตุของโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา สาเหตุของ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา ได้แก่ 1. โรคซาร์คอยโดซิส (sarcoidosis) เป็นโรคที่เกิดจากกลุ่มเซลล์อักเสบขนาดเล็กที่รวมกันเป็นก้อนเนื้อ หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า แกรนูโลมา (Granulomas) ที่พบบ่อยในปอด และต่อมน้ำเหลือง รวมถึงอวัยวะอื่น ๆ เช่น ดวงตา ผิวหนัง หัวใจ สาเหตุของโรคซาร์คอยโดซิสยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าอาจเกิดจากภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อสิ่งผิดปกติในร่างกายต่อเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา สารเคมี โรคซาร์คอยโดซิสไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ในกรณีที่ไม่รุนแรงนี้ก็อาจหายไปได้เอง แต่หากรุนแรง และปล่อยไว้นาน อาจทำให้อวัยวะนั้น ๆ เกิดความเสียหายได้ อย่างไรก็ตามหากมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นจากโรคซาร์คอยโดซิส เช่น ไอแห้ง ปวดตามข้อต่อ ปวดตา แผลตามผิวหนัง และหายใจลำบาก ควรเข้ารับการรักษาจากคุณหมอทันที เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น 2. วัณโรค (Tuberculosis) วัณโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งชื่อว่าไมโครแบคทีเรียม […]


โรคปอดบวม

สาเหตุของปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส อาการ และการวินิจฉัยโรค

ปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส เป็นโรคปอดติดเชื้อที่ส่งผลให้ปอด และถุงลมอักเสบ จนเกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ สาเหตุของปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส มีหลายประการ ซึ่งหากทราบสาเหตุหรือประเภทของไวรัส ก็อาจทำให้ได้รับการรักษาอย่างตรงจุด นอกจากนี้เพื่อความปลอดภัยควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม และไข้หวัดใหญ่ให้ครบตามกำหนด เพราะอาจช่วยบรรเทาอาการรุนแรงของ ปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส ได้ สาเหตุของปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสที่ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อในปอด จนปอดอักเสบ มีดังต่อไปนี้ ไวรัสโควิด-19 (COVID-19) เป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ถูกพบครั้งแรกในปีพ.ศ. 2563 แต่อาจไม่ทราบที่มาอย่างแน่ชัด เนื่องจากไวรัสชนิดนี้สามารถติดเชื้อได้ทั้งในคน และสัตว์ ที่อาจส่งผลให้ระบบทางเดินหายใจล้มเหลวได้ ซึ่งไวรัสโควิด-19 มีการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนรอบนอกไวรัสได้ตลอดเวลา จึงทำให้มีโควิด-19 หลากหลายสายพันธุ์ โดยในปัจจุบันในประเทศไทยพบแล้วทั้งหมด 5 สายพันธุ์ ได้แก่ อู่ฮั่น (Serine) ที่พบครั้งแรกในประเทศจีน เมืองอู่ฮั่น และเข้ามาแพร่ระบาดในประเทศไทยเมื่อช่วงเดือนมกราคม พ.ศ.2563 เบต้า (Beta) พบครั้งแรกที่ประเทศแอฟริกาใต้ และแพร่กระจายเข้าสู่ประเทศไทย เมื่อช่วงเดือนมกราคม พ.ศ.2564 อัลฟา (Alpha) พบครั้งแรกในสหราชอาณาจักร และเข้าสู่ประเทศไทย เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2564 ที่อาจสามารถแพร่กระจายง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น 40-70% แกมมา (Gamma) เป็นสายพันธุ์ที่พบครั้งแรกในประเทศบราซิล และเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2564 ที่อาจส่งผลให้เกิดอาการรุนแรงกว่าเดิม และลดภูมิคุ้มกันลงได้ เดลต้า (Delta) พบครั้งแรกในประเทศอินเดีย […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม