พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

การเติบโตและพัฒนาการในวัยเรียน

ของเล่น เด็ก โต ส่งเสริมพัฒนาการลูกให้เรียนรู้ไวตั้งแต่เด็กจนโต

ตั้งแต่เล็กจนโต ของเล่นมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็ก เด็กแต่ละวัยจะมีการเล่นหรือของเล่นที่เหมาะสมแตกต่างกันไป ของเล่นไม่เพียงทำให้เด็กรู้สึกสนุกเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ พัฒนาทักษะตั้งแต่วัยเยาว์ พ่อแม่จึงควรเลือกของเล่นให้เหมาะกับช่วงวัย เช่น ของเล่นเด็กเล็ก ของเล่น เด็ก โต เพราะพฤติกรรมการเล่นของเด็กจะพัฒนาตามวุฒิภาวะ ความพร้อมทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา [embed-health-tool-vaccination-tool] พฤติกรรมการเล่นของเด็กแต่ละช่วงวัย การเล่นจะช่วยกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสในร่างกายของลูก จึงควรทราบถึงพฤติกรรมการเล่นของเด็กแต่ละช่วงวัย เพื่อพิจารณาเลือกของเล่นให้เหมาะว่า ของเล่นประเภทไหนสำหรับเด็กเล็ก หรือเป็นของเล่นเด็กโต ให้ทุกการเล่นของลูกได้พัฒนาร่างกาย จิตใจ และอารมณ์  พฤติกรรมการเล่นของเด็กแรกเกิดถึง 1 ปี เด็กวัยแรกเกิดถึง 3 เดือน จะเริ่มมีพัฒนาการด้านประสาทสัมผัสการมองเห็นและการได้ยินในช่วงแรกของชีวิต จึงเหมาะกับของเล่นที่มีสีสันสดใส มีเสียง และเคลื่อนไหวได้ การแขวนของเล่นสีสดใสที่มีเสียงแกว่งไปมา จะช่วยให้เด็กกรอกตามอง สังเกตความเคลื่อนไหว และได้ยินเสียงไปด้วย ต่อมาเด็กจะสามารถใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวได้ เริ่มบังคับกล้ามเนื้อได้ และชอบคว้าของเล่นเข้าปาก จึงควรเลือกของเล่นที่ปลอดภัย สามารถนำเข้าปากได้ ไม่อันตราย และไม่ควรมีขนาดเล็กเพื่อป้องกันไม่ให้ติดคอหรือสำลัก พฤติกรรมการเล่นของเด็กช่วงวัย 1-2 ปี เด็กวัยนี้เริ่มเกาะเดินได้ จึงควรได้ฝึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ อีกทั้งเป็นช่วงวัยที่ชอบเรียนรู้ สนุกกับอะไรใหม่ ๆ ผู้ใหญ่จึงควรอยู่ใกล้ชิดขณะที่เด็กเล่นของเล่นเพื่อความปลอดภัย […]


เด็กทารก

พัฒนาการ เด็ก 5 เดือน และวิธีเสริมพัฒนาการเด็กอย่างเหมาะสม

เด็ก 5 เดือน เป็นช่วงวัยที่มีการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด น้ำหนักจะเพิ่มมากขึ้น เด็กจะตัวใหญ่ขึ้น มีพัฒนาการทางกายภาพและการเคลื่อนไหว รวมถึงพัฒนาการในด้านอื่น ๆ ที่ชัดเจนมากขึ้น การเรียนรู้ถึง พัฒนาการ เด็ก 5 เดือน และวิธีเสริมพัฒนาการเด็กในวัยนี้อย่างเหมาะสม จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์สมวัย [embed-health-tool-bmi] พัฒนาการ เด็ก 5 เดือน มีอะไรบ้าง พัฒนาการทั่วไปของเด็กอายุ 5 เดือน อาจมีดังต่อไปนี้ พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม สามารถแสดงอารมณ์ได้หลากหลายขึ้น เช่น ยิ้มเมื่อมีความสุข เบ้ปากเมื่อไม่สบายตัว หัวเราะชอบใจ รู้สึกตื่นตัวเมื่อมีคนเข้ามาใกล้ ยิ้มแย้มเมื่อได้อยู่กับคนหรือเมื่อมีคนสนใจ จำหน้าคุณพ่อคุณแม่หรือคนในบ้านได้ พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร สามารถพูดอ้อแอ้ตามประสาทารกและอาจมีบางคำที่เริ่มฟังเหมือนคำพูดจริง ๆ มีการนำเสียงพยัญชนะและสระมาผสมเข้าด้วยกัน เช่น “มา-มา” แต่ยังอาจไม่เข้าใจความหมายของคำ และยังไม่รู้ว่าหมายถึงบุคคลใด แต่ถึงอย่างนั้นก็อาจหันศีรษะไปตามเสียงเรียกชื่อหรือคำสั่งง่าย ๆ ได้ เช่น คำว่า “ไม่” สามารถแสดงท่าทาง เคลื่อนไหวร่างกาย ใช้เสียงต่าง ๆ ในการสื่อสารเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ เช่น ร้องไห้เมื่อถูกขัดใจ ปัดมือออกเมื่อไม่อยากกินอาหาร ส่งเสียงเรียกให้คนเข้ามาหา ชูแขนให้อุ้ม พัฒนาการด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว […]


โภชนาการสำหรับทารก

อาหารเด็ก7เดือน ที่ช่วยเสริมสุขภาพและพัฒนาการ

นมแม่เป็นแหล่งพลังงานและสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเด็ก 7 เดือน อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ อาหารเด็ก7เดือน ที่เป็นอาหารประเภทอื่นเสริมด้วยได้ โดยอาจให้เด็ก 7 เดือนกินธัญพืช พืชหัว ผักใบเขียว ผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากนมวัว ไข่สุก เนื้อปลา ที่บดหรือปั่นจนละเอียดและเคี้ยวง่าย ในปริมาณน้อย วันละ 2-3 ครั้ง ซึ่งอาจเสริมสร้างโภชนาการและช่วยให้ทารกมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย [embed-health-tool-child-growth-chart] เด็ก7เดือน กินอาหารแข็งได้หรือยัง อาหารแข็ง (Solid Food) เป็นอาหารที่ผ่านการบดจนละเอียดเพื่อช่วยให้ย่อยได้ง่าย เหมาะกับระบบย่อยอาหารของเด็กที่ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยทั่วไปจะเป็นผักและผลไม้บด เนื้อสัตว์บด ธัญพืชบด เป็นต้น บางครั้งอาจผสมกับนมแม่เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและช่วยให้เด็กกินได้สะดวกขึ้น คุณพ่อคุณแม่สามารถให้เด็กเริ่มกินอาหารแข็งได้เมื่อเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายของเด็กเริ่มต้องการพลังงานมากขึ้นและจำเป็นต้องได้รับสารอาหารอื่น ๆ นอกเหนือไปจากนมแม่ในการเจริญเติบโต ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรให้กินนมแม่ในปริมาณเท่าเดิมควบคู่ไปด้วย ไม่ควรหยุดให้นมแม่โดยทันที เนื่องจากนมแม่ยังคงเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้ เด็ก 7 เดือน ถือเป็นวัยที่กินอาหารแข็งได้แล้ว และหากให้เด็กเริ่มกินอาหารแข็งตั้งแต่อายุ 6 เดือน ในตอนนี้เด็กก็จะคุ้นเคยกับการกินอาหารแข็งบ้างแล้ว แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่บดหรือปั่นอาหารให้ละเอียด เด็กจะได้กินง่ายขึ้นและช่วยให้ย่อยง่ายด้วย โดยควรให้เด็ก 7 เดือนกินอาหารแข็งครั้งละครึ่งถ้วย […]


เด็กทารก

ผ้าอ้อมเด็กแรกเกิด เลือกแบบไหนดี และวิธีป้องกันผื่นผ้าอ้อม

ผ้าอ้อม เด็ก แรก เกิด สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ ผ้าอ้อมแบบผ้า และผ้าอ้อมสำเร็จรูป หลายบ้านมักเลือกใช้ผ้าอ้อมเด็กแรกเกิดทั้ง 2 ประเภทสลับกันไปตามความสะดวก เช่น ใส่ผ้าอ้อมแบบผ้าในตอนกลางวันแล้วใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปในตอนกลางคืน ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาวิธีเปลี่ยนผ้าอ้อมที่ถูกต้อง เพราะอาจช่วยป้องกันการเกิดผื่นผ้าอ้อมได้ [embed-health-tool-baby-poop-tool] ผ้าอ้อม เด็ก แรก เกิด ควรเลือกอย่างไร การเลือกใช้ผ้าอ้อมเด็กแรกเกิดอาจพิจารณาจากข้อดีและข้อเสียของผ้าอ้อมแต่ละประเภท ดังนี้ ผ้าอ้อมเด็กแรกเกิดแบบผ้า (Cloth diaper) ผ้าอ้อมเด็กแรกเกิดแบบผ้า เช่น ผ้าอ้อมผ้าสาลู ผ้าอ้อมหนังไก่ (ทำจากผ้าสำลีกับผ้าสาลู) สามารถระบายอากาศได้ดีและไม่ทำให้ผิวระคายเคือง ทั้งยังเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากผ้าอ้อมเด็กแรกเกิดแบบผ้าสามารถซักให้สะอาดและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ข้อดี อ่อนโยนต่อผิวเด็กที่บอบบาง ระบายอากาศได้ดี ลดการเกิดผื่นผ้าอ้อม มีชนิดของเนื้อผ้าให้เลือกเยอะ ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าแบบใช้แล้วทิ้ง สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก ข้อเสีย ซึมเปื้อนได้ง่าย อาจต้องใช้กางเกงหรือแผ่นรองซับ ต้องซักผ้าอ้อมเป็นประจำทุกวัน ไม่สะดวกเมื่อต้องเดินทาง ผ้าอ้อมเด็กแรกเกิดแบบสำเร็จรูป (Disposable diaper) หรือผ้าอ้อมเด็กแบบใช้แล้วทิ้ง เป็นผ้าอ้อมเด็กที่มีคุณสมบัติดูดซับของเสียได้ดี มีทั้งแบบเทปกาวและแบบกางเกง สำหรับเด็กแรกเกิด คุณพ่อคุณแม่อาจเลือกใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปแบบเทปกาวที่มีราคาถูกกว่าเนื่องจากเด็กในวัยนี้จะขับถ่ายบ่อย โดยเฉพาะหลังกินนมทุกครั้ง ทำให้อาจต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมประมาณ 10 ครั้ง/วัน […]


เด็กทารก

ทารก 2 เดือน และการเสริมพัฒนาการอย่างสร้างสรรค์

ทารก 2 เดือน เป็นวัยที่เริ่มแสดงลักษณะนิสัยให้คุณพ่อคุณแม่เห็นมากขึ้น คุณแม่จะเริ่มสังเกตได้ว่าลูกชอบหรือไม่ชอบอะไร จะนอนหลับ ขับถ่าย หรือรู้สึกหิวช่วงไหน โดยทั่วไป ทารกวัยนี้จะเริ่มตื่นในตอนกลางวันมากขึ้น เปิดโอกาสให้คุณพ่อคุณแม่ได้สื่อสารกับทารกมากขึ้น อีกทั้งทารก 2 เดือนยังสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ราบรื่นขึ้น เริ่มแสดงกิริยาเพื่อสื่อสารกับคนรอบข้าง คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยเสริมพัฒนาการของทารก 2 เดือนได้ด้วยการใช้เวลาพูดคุย เปิดเพลงกล่อมเบา ๆ เล่านิทานให้ฟังก่อนนอน เป็นต้น [embed-health-tool-child-growth-chart] ทารก 2 เดือน และพัฒนาการที่ควรรู้ พัฒนาการทั่วไปของทารก 2 เดือน อาจมีดังต่อไปนี้ พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม มีท่าทางสงบลงเมื่อถูกอุ้มและมีคนพูดคุยด้วย ยิ้มแย้มเมื่อมีคนพูดคุยด้วยหรือยิ้มให้ แสดงอาการดีใจเมื่อมีคนเดินเข้าไปหา ชอบมองใบหน้าของคุณพ่อคุณแม่ พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ตื่นตัวเมื่อได้ยินเสียงและหันไปหาต้นเสียง ส่งเสียงอ้อแอ้ แทนที่จะร้องไห้เพียงอย่างเดียว แสดงออกทางสีหน้าและท่าทางเพื่อพยายามบอกความต้องการของตัวเอง พัฒนาการด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ยกศีรษะเมื่ออยู่ในท่านอนคว่ำ ขยับแขนขาทั้งสองข้างไปมาได้อย่างราบรื่น คลายมือออกได้ เอื้อมมือไปจับใบหน้าของคนที่เอาหน้ามาใกล้ ๆ แกว่งมือไปทางวัตถุ พัฒนาการด้านสติปัญญา เริ่มมองตามคนและวัตถุ เริ่มงอแงหรือหงุดหงิดเมื่อรู้สึกเบื่อหน่าย ให้ความสนใจกับใบหน้าที่เห็น สัญญาณความผิดปกติใน ทารก 2 เดือน ตามปกติแล้ว พัฒนาการของทารกแต่ละคนจะแตกต่างกันไป และอาจพัฒนาได้ช้าเร็วไม่เท่ากันแม้จะอยู่ในวัยเดียวกัน อย่างไรก็ตาม หากทารก 2 เดือน มีความผิดปกติต่อไปนี้ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ครีมกันแดดเด็ก แบบไหนกันแดดได้ดี และปลอดภัยต่อลูกน้อย

การใช้ครีมกันแดดเป็นประจำทุกวันเพื่อปกป้องผิวจากรังสียูวี เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก ๆ ที่มีผิวบอบบาง เมื่อเด็กอายุเกิน 6 เดือน คุณพ่อคุณแม่ควรทา ครีมกันแดดเด็ก ซึ่งมีส่วนประกอบที่อ่อนโยนต่อผิวเด็ก และควรสอนให้เด็ก ๆ ทาครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน และทาซ้ำทุก ๆ 2 ชั่วโมง เพื่อให้ครีมกันแดดสามารถช่วยปกป้องผิวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ [embed-health-tool-child-growth-chart] ครีมกันแดดเด็ก ควรเลือกแบบไหน การสัมผัสแสงแดดโดยตรง อาจทำให้ผิวหนังได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต หรือรังสียูวี (Ultraviolet หรือ UV) ซึ่งประกอบไปด้วยรังสียูวีเอ (UVA) ที่มีส่วนสร้างความเสียหายให้กับผิว อาจทำให้ผิวเกิดริ้วรอย จุดด่างดำ และความหมองคล้ำ และรังสียูวีบี (UVB) ที่ทำให้ผิวชั้นนอกไหม้แดด กระตุ้นการสร้างเมลานินใหม่เป็นสีน้ำตาล ทำให้ผิวดูหมองคล้ำ ทั้งยังทำลายดีเอ็นเอใต้ผิวหนัง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง สำหรับการป้องกันผิวของลูกน้อยจากแสงแดดอย่างมีประสิทธิภาพ คุณพ่อคุณแม่ควรเลือก ครีมกันแดดเด็ก ที่มีซิงค์ออกไซด์ (Zinc oxide) หรือ ไททาเนียมไดออกไซด์ (Titanium dioxide หรือ TiO2) เป็นส่วนประกอบ เนื่องจากมีความสามารถในการเป็นเกราะป้องกันแสงแดดและสะท้อนแสงแดด ทั้งยังเป็นสารที่อ่อนโยนต่อผิวและไม่ทำให้ผิวเด็กที่บอบบางระคายเคือง นอกจากนี้ ควรเลือกครีมกันแดดเด็กที่มีค่าเอสพีเอฟ (SPF) […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ห้องนอนเด็ก และการสร้างบรรยากาศการนอนที่ดีให้กับลูกน้อย

เด็ก ๆ มักใช้เวลาอยู่ในห้องนอนมากที่สุด โดยเฉพาะในเวลากลางคืน คุณพ่อคุณแม่จึงควรจัดเตรียม ห้องนอนเด็ก ให้เหมาะสมสำหรับเป็นพื้นที่พักผ่อนและมีความปลอดภัยในการอยู่อาศัย เช่น เลือกเปลหรือเตียงที่เหมาะกับวัยของเด็ก หลีกเลี่ยงการใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีเหลี่ยมมุมแหลมคม ยึดตู้เสื้อผ้าเข้ากับผนังห้อง จัดไฟให้เหมาะสม ทั้งยังควรจัดตารางการนอนและกำหนดกิจวัตรก่อนนอนให้กับเด็ก เพื่อให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายและสามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ [embed-health-tool-child-growth-chart] เด็ก ๆ ควรนอนวันละกี่ชั่วโมง การนอนหลับให้เพียงพอเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เด็ก ๆ เจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมบูรณ์สมวัย โดยเฉพาะการนอนหลับพักผ่อนในตอนกลางคืนซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ต่อมใต้สมองหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) หรือฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโตที่ทำหน้าที่เสริมสร้างการเจริญเติบโตของกระดูกและอวัยวะต่าง ๆ และช่วยให้เด็กสูงตามวัยที่เหมาะสม มูลนิธิการนอนหลับแห่งชาติ (National Sleep Foundation) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ระบุเวลาที่เหมาะสมในการนอนของเด็กแต่ละช่วงวัยไว้ ดังนี้ เด็กอายุ 3-5 ปี ควรนอนหลับอย่างน้อย 11-13 ชั่วโมง/วัน เด็กอายุ 5-9 ปี ควรนอนหลับอย่างน้อย 10-11 ชั่วโมง/วัน เด็กอายุ 10-14 ปี ควรนอนหลับอย่างน้อย 9 ชั่วโมง - 9 ชั่วโมง 45 นาที/วัน เด็กอายุ 15-17 […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ลูก ไม่อยากไปโรงเรียน เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร

ลูก ไม่อยากไปโรงเรียน บางครั้งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การกลั่นแกล้ง ความรุนแรง ความพิการ ฐานะครอบครัว ปัญหาสุขภาพ ซึ่งวิธีการพูดคุยกับลูกและค้นหาสาเหตุของปัญหา อาจเป็นวิธีที่จะช่วยให้ลูกอยากไปโรงเรียนมากขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูก ไม่อยากไปโรงเรียน หากลูกมีความรู้สึกไม่อยากไปโรงเรียนอาจแสดงอาการบางอย่าง เพื่อเป็นการต่อต้านการไปโรงเรียน ดังนี้ ร้องไห้ แสดงอารมณ์ฉุนเฉียว ตะโกนหรือกรีดร้อง ซ่อนหรือขังตัวเองไว้ในห้องคนเดียว ลูกปฏิเสธที่จะลุกจากเตียง ออกจากห้อง หรือแต่งตัวไปโรงเรียน ขอร้องหรืออ้อนวอนว่าไม่อยากไปโรงเรียน ลูกอาจโกหกว่าปวดเมื่อยหรือป่วยก่อนไปโรงเรียน ลูกแสดงความกลัวและความวิตกกังวลอย่างมากเมื่อต้องไปโรงเรียน ลูกเริ่มมีปัญหาในการนอนหลับ ลูกอาจขู่จะทำร้ายตัวเอง ลูกร้องไห้ในโรงเรียน สาเหตุที่ลูก ไม่อยากไปโรงเรียน สาเหตุที่ทำให้ลูกไม่อยากไปโรงเรียนที่พบได้บ่อย อาจมีดังนี้ การกลั่นแกล้งและความรุนแรงในโรงเรียน เป็นสิ่งรุนแรงที่สามารถกระทบจิตใจเด็ก ทำให้เด็กรู้สึกหวาดกลัวที่จะไปโรงเรียน รู้สึกว่าโรงเรียนไม่ใช่สถานที่ที่ปลอดภัยอีกต่อไป ฐานะทางครอบครัว เด็กบางคนที่มีฐานะทางครอบครัวไม่ดี อาจไม่ได้รับการสนับสนุนเรื่องอุปกรณ์การเรียน เสื้อผ้า หรือสิ่งอื่น ๆ ซึ่งอาจทำให้เด็กรู้สึกแตกต่างจากเพื่อนในโรงเรียน รวมทั้งอาจถูกกลั่นแกล้งและล้อเลียนถึงฐานะทางบ้านด้วย ความพิการ ความพิการไม่ใช่ปัญหาในการเรียนหนังสือหรือการใช้ชีวิต แต่บางครั้งอาจทำให้เด็กถูกล้อเลียนหรือถูกกลั่นแกล้งจากเพื่อนภายในโรงเรียนจนส่งผลกระทบต่อจิตใจจนทำให้ไม่อยากไปโรงเรียน ปัญหากับครู เด็กบางคนอาจมีปัญหากับครูในบางเรื่อง เช่น การลงโทษที่รุนแรง ความก้าวร้าว ผลการเรียน  หากวันไหนมีวิชาที่ต้องเรียนกับครูคนนี้เด็กอาจไม่อยากไปโรงเรียนได้ ผลการเรียนไม่ดี เด็กทุกคนมีความสามารถที่ไม่เท่ากัน ดังนั้น เด็กบางคนจึงอาจมีผลการเรียนในบางวิชาที่อ่อนกว่าเพื่อนคนอื่น […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด มีอะไรบ้าง และการกระตุ้นให้ลูกพูดสำคัญอย่างไร

ลูกเริ่มเรียนรู้และพัฒนาทักษะทางภาษากับการพูดตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งจะเริ่มเรียนรู้และเลียนแบบจากคุณพ่อคุณแม่และคนรอบข้าง โดย วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด อาจทำได้หลายวิธี แต่ควรเป็นวิธีที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุด้วย [embed-health-tool-due-date] ความสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการพูดของลูก ทารกเริ่มเรียนรู้ทักษะด้านการฟังและการพูดตั้งแต่แรกเกิด โดยจะเริ่มเรียนรู้จากการฟังเสียงคุณพ่อคุณแม่และคนรอบข้าง ทำความเข้าใจกับภาษา จากนั้นจะเริ่มสื่อสารด้วยการเปล่งเสียงแต่ไม่ใช้คำพูด ซึ่งการฝึกทักษะด้านภาษาและกระตุ้นให้ลูกพูดจึงมีความสำคัญอย่างมากในการดำเนินชีวิตของลูกในอนาคต ดังนี้ ช่วยให้ลูกสามารถเข้าเรียนและทำกิจกรรมในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี เพราะเด็กที่มีทักษะการพูดและการใช้ภาษาที่ดีจะสามารถทำความเข้าใจกับความรู้ในห้องเรียนได้ดี และยังสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เพราะเมื่อลูกพูดได้คล่องจะช่วยให้ลูกสามารถสื่อสารกับเพื่อนหรือคนรอบข้างได้อย่างมั่นใจ ช่วยให้เด็กสามารถสื่อสารความต้องการได้ดี เมื่อลูกมีความต้องการ หรือต้องการปฏิเสธบางอย่าง การพูดเป็นสิ่งที่จะสามารถสื่อสารได้ตรงประเด็นมากที่สุด ช่วยให้เด็กผูกมิตรกับคนรอบข้างได้ การพูดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการผูกมิตรกับเพื่อนและคนรอบข้าง ช่วยให้เด็กเข้าใจโลกรอบตัว เพราะเมื่อลูกมีความเข้าใจในทักษะทางภาษาและการพูดมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งช่วยให้ลูกพัฒนาความรู้รอบตัวได้มากเท่านั้น วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด วิธีกระตุ้นให้ลูกพูดอาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ การเป็นตัวอย่างที่ดี ลูกสามารถเรียนรู้ทักษะทางภาษาและการพูดได้ดีที่สุดจากการสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่และคนรอบข้างจึงควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการพูด เช่น พูดเป็นคำหรือประโยคอย่างช้า ๆ ชัดเจน และใจเย็น ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับวัยของลูก พูดพร้อมกับสบตาลูกทุกครั้ง พูดประโยคเดิมซ้ำ ๆ บ่อย ๆ จะช่วยย้ำเตือนให้ลูกจำได้เร็วขึ้น พูดประโยคเดิมซ้ำ ๆ หากลูกพูดผิดก็พูดแก้ไขคำเดิมเรื่อย ๆ จากนั้นให้ขยายไปเป็นคำอื่น ๆ มากขึ้น พูดอธิบายและแสดงความคิดเห็นในที่สิ่งที่ตัวเองหรือลูกกำลังทำ ตั้งใจฟังเมื่อลูกพูด และอดทนเมื่อลูกพูดช้าหรือพูดผิด […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม