สุขภาพผิว

ผิวหนัง คืออวัยวะภายนอกที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในร่างกาย ผิวหนังนั้นมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย ทั้งเป็นเกราะป้องกันจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ หรือช่วยควบคุมอุณภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ เป็นต้น เรียนรู้เกี่ยวกับการมี สุขภาพผิว ที่ดี และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย เพื่อการปกป้องดูแลผิวของคุณให้ดียิ่งขึ้น ได้ที่นี่

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพผิว

วิธีรักษาสะเก็ดเงินที่เล็บ ง่าย ๆ ด้วยตัวคุณเอง

โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ เป็นโรคทางผิวหนังที่เกิดจากเซลล์แบ่งตัวเร็วผิดปกติ ทำให้ใต้เล็บหนาตัวขึ้น เล็บจึงฉีกขาดได้ง่าย บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำเสนอ วิธีรักษาสะเก็ดเงินที่เล็บ มาให้ทุกคนได้ศึกษากันค่ะ จะมีวิธีการดูแลและรักษาอย่างไรบ้าง มาดูพร้อมกันเลย สะเก็ดเงินที่เล็บ (Nail psoriasis) สะเก็ดเงินที่เล็บ (Nail psoriasis) เป็นโรคเรื้อรังของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ใต้ผิวหนังเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยปกติเซลล์ผิวหนังจะสร้างขึ้นใหม่ทุก ๆ 28-30 วัน แต่เมื่อเป็นโรคสะเก็ดเงิน เซลล์ผิวหนังจะผลัดเซลล์ผิวเร็วขึ้นทุก ๆ 3-4 วัน ส่งผลให้ผิวหนังงอกจากโคนเล็บหน้าขึ้น โดยเล็บจะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันไป เช่น เล็บเป็นหลุม สีเล็บเปลี่ยน เล็บเปิด ลักษณะอาการของโรคสะเก็ดเงินที่เล็บ ลักษณะอาการของโรคสะเก็ดเงินที่เล็บ จะแตกต่างกันไป โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ เกิดรอยสีขาวบนเล็บ เล็บบิดเบี้ยว เล็บแตก เล็บฉีกง่าย เล็บเปิด มีรอยบุ๋มบนเล็บ เลือดใต้เล็บ เล็บเป็นหลุม เล็บฉีกขาดได้ง่าย ผิวหนังใต้เล็บหนาขึ้น วิธีรักษาสะเก็ดเงินที่เล็บ  วิธีรักษาสะเก็ดเงินที่เล็บ มีด้วยกันหลากหลายวิธีทั้งทางด้านแผนปัจจุบันและแผนทางเลือก โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ การรักษาแผนปัจจุบัน โดยการใช้ยา ชนิดใช้ภายนอก ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เป็นยาชนิดใช้ภายนอกที่ช่วยบรรเทาอาการสะเก็ดเงิน ลดการอักเสบ เช่น ขี้ผึ้ง […]

หมวดหมู่ สุขภาพผิว เพิ่มเติม

การดูแลเล็บ

สำรวจ สุขภาพผิว

การดูแลและทำความสะอาดผิว

ผิวแห้งมาก เกิดจากอะไร ควรดูแลผิวตัวเองอย่างไร

ผิวแห้งมาก เป็นอาการทางผิวหนังที่อาจเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้น สภาพอากาศหนาวและมีลมแรง โรคผิวหนัง พันธุกรรม โดยทั่วไปสามารถรักษาได้ด้วยการทามอยส์เจอไรเซอร์และยาบรรเทาอาการคันและอักเสบจากโรคผิวหนัง ร่วมกับการดูแลตัวเองด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น ทาครีมกันแดด ไม่อาบน้ำนานเกินไป หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารระคายเคืองผิว ทั้งนี้ หากดูแลตัวเองเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอาการผิวแห้งมากอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ผิวแห้งมาก เกิดจากอะไร อาการผิวแห้งมากมักเกิดจากการขาดความชุ่มชื้นในชั้นผิว ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น อายุ ต่อมน้ำมันที่ผลิตน้ำมันเพื่อช่วยให้ผิวชุ่มชื้นจะทำงานน้อยลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ทำให้ไขมันและคอลลาเจนที่เป็นส่วนประกอบของชั้นผิวลดลงไปด้วย ผิวจึงบางลงและแห้งขึ้นตามธรรมชาติ โดยผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีอาจมีปัญหานี้ได้มากกว่าคนที่อายุน้อยกว่า สภาพอากาศ การอยู่อาศัยในพื้นที่ที่มีลมแรง พื้นที่อากาศหนาว อาจทำให้ผิวขาดน้ำและแห้งมากได้ โดยเฉพาะในฤดูหนาวที่ความชื้นในอากาศจะลดลง ส่งผลให้ผิวหนังสูญเสียน้ำมากกว่าปกติและทำให้ผิวแห้งได้ง่าย ภาวะสุขภาพและพันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีสภาพผิวแห้ง ก็อาจทำให้ผิวแห้งรุนแรงมากกว่าคนทั่วไปได้ นอกจากนี้ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอย่างโรคผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema) โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic dermatitis) โรคเบาหวาน โรคภูมิแพ้ โรคไต ก็อาจพบปัญหานี้ได้เช่นกัน อาชีพ หากประกอบอาชีพที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี ทำงานกลางแจ้งและสัมผัสแสงแดดเป็นเวลานาน หรือต้องล้างมือบ่อยครั้ง ก็อาจทำให้มีปัญหาผิวแห้งมากได้ อาการผิวแห้งมาก เป็นอย่างไร อาการผิวแห้งมากของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ภาวะสุขภาพ อายุ […]


สุขภาพผิว

แสบหน้า เกิดจากอะไร สาเหตุและวิธีแก้อาการแสบหน้า

อาการ แสบหน้า เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม เช่น สภาพอากาศ ความร้อนจากแสงแดด การเปลี่ยนครีมบำรุงผิวหน้า การเลือกใช้เครื่องสำอาง รวมไปถึงปัจจัยด้านสุขภาพและโรคต่าง ๆ ล้วนมีผลให้เกิดความรู้สึกแสบร้อนบนใบหน้าขึ้นมาได้ ดังนั้น จึงควรรู้จักสังเกตอาการหรือเข้าพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างเหมาะสม  [embed-health-tool-heart-rate] อาการ แสบหน้า เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ  แสบหน้าจากแสงแดดและอากาศร้อน สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการแสบหน้า หรือแสบร้อนผิว ในเมืองไทย คือ แสงแดดและอุณหภูมิที่สูง โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน แม้ว่าแสงแดดจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างวิตามินดี แต่ในช่วงเวลา 10.00-15.00 น. เป็นช่วงที่แสงแดดจัด อาจทำร้ายผิวพรรณได้ เพราะในแสงแดดมีรังสียูวี ทำให้เกิดอันตรายต่อผิวหนัง เมื่อต้องเจอกับแสงแดดจัดเป็นระยะเวลานาน ซึ่งแสงอัลตราไวโอเลต หรือ UV ประกอบด้วย ยูวีเอ (UVA) ความยาวคลื่น 320-400 นาโนเมตร มีช่วงคลื่นที่ยาวกว่าจึงทะลุถึงชั้นหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้ ซึ่งอาจกระตุ้นการสร้างเมลานิน ส่งผลให้เกิดผิวคล้ำแดดและเป็นฝ้ากระได้   ยูวีบี (UVB) ความยาวคลื่น 290-320 นาโนเมตร อาจส่งผลให้ผิวเกรียมแดด ทำให้ผิวหนังอักเสบ บวมแดง แสบหน้า อาจบวมพองปวดแสบร้อน เมื่อผิวไหม้แห้งกร้าน […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

งูสวัดเกิดจากอะไร วิธีป้องกันโรคงูสวัด ทำได้อย่างไร

โรคงูสวัดเป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก อาการปวดมักรุนแรงและเจ็บปวดได้หลายแบบ งูสวัดเกิดจากอะไร ความจริงแล้วโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อว่า ไวรัสวาริเซลลา (Varicella Virus) ซึ่งเป็นเชื้อเดียวกับโรคสุกใสหรือโรคอีสุกอีใส อีกทั้งเป็นไวรัสที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับไวรัสเริมติดต่อได้ง่ายเหมือนโรคสุกใส แต่โรคนี้ก็ยังมีวิธีรักษาและลดความรุนแรงของโรคงูสวัดได้ด้วย  [embed-health-tool-heart-rate] งูสวัดเกิดจากอะไร  โรคงูสวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา ติดต่อทางการหายใจเอาเชื้อไวรัสเข้าไปภายในร่างกาย หรือสัมผัสน้ำเหลืองที่แผล เมื่อติดเชื้อครั้งแรกจะเป็นโรคอีสุกอีใส จนได้รับการรักษาโรคอีสุกอีใส เมื่อหายดีแล้ว ไวรัสไม่ได้หายไปแต่เชื้อไวรัสจะหลบซ่อนอยู่ในปมประสาท ไม่ได้แสดงอาการอะไร จนกระทั่งสุขภาพแย่ลง ภูมิต้านทานต่อไวรัสลดลง ไวรัสจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวน โดยอาจมีปัจจัยเสี่ยงมาจากพฤติกรรมและการใช้ชีวิต เช่น ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย อ่อนเพลีย มีความเครียด โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน และผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้ยาเคมีบำบัด  อาการของโรคงูสวัด อาการที่พบได้บ่อยของโรคงูสวัดมีดังนี้ ปวดแสบปวดร้อนที่บริเวณผิวหนัง  ผื่นแดง มีตุ่มน้ำในลักษณะเป็นกลุ่ม เรียงตัวตามแนวเส้นประสาท ตุ่มน้ำสามารถกลายเป็นตุ่มหนองและแตกเป็นแผล หรือเป็นสะเก็ด และอาจมีแผลเป็นได้  เมื่ออาการทางผิวหนังหายแล้ว จะเกิดอาการปวด โดยอาการแทรกซ้อนของงูสวัด คือ ปวดเส้นประสาท  อาการปวดเกิดขึ้นได้ทั้งก่อนมีผื่น หรือแม้แต่ตอนผื่นหายแล้ว ลักษณะการปวดจะแตกต่างกันไป ในบางรายจะปวดแสบปวดร้อน คล้ายเข็มแทงหรือมีดกรีดบนร่างกาย บางรายมีอาการคัน หรือชาได้ ภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น ติดเชื้อแบคทีเรีย ตาอักเสบ หรือภาวะแทรกซ้อนทางหู กล้ามเนื้ออ่อนแรง วิธีรักษาโรคงูสวัด เนื่องจากสาเหตุของโรคงูสวัดคือ […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

หนังศีรษะแห้ง ลอก ใช้อะไรดี และควรดูแลหนังศีรษะอย่างไร

ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหนังศีรษะและเส้นผม อาจสงสัยว่า หนังศีรษะแห้ง ลอก ใช้อะไรดี โดยทั่วไป แนะนำให้ผู้ที่มีปัญหานี้ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่มีส่วนประกอบของซิงค์ ไพริไธโอน กรดซาลิไซลิก คีโตโคนาโซล ซีลีเนียมซัลไฟด์ ที่ช่วยลดปริมาณเชื้อราบนหนังศีรษะ ลดการหลุดลอกของหนังศีรษะที่เกิดจากรังแค ร่วมกับการดูแลหนังศีรษะอย่างถูกวิธี เช่น สระผมด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงการเข้านอนโดยที่ผมผมยังเปียกอยู่ [embed-health-tool-bmi] หนังศีรษะแห้ง ลอก เกิดจากอะไร หนังศีรษะแห้ง ลอก อาจเกิดขึ้นเมื่อผิวหนังสูญเสียน้ำหรือความชุ่มชื้นมากเกินไป จนทำให้มีอาการแห้ง ลอก คัน นอกจากนี้ยังอาจเกิดหนังศีรษะบริเวณนั้นระคายเคืองจนลอกออกเป็นแผ่นหรือเป็นรังแค ซึ่งเกิดจากได้จากหลายปัจจัยดังต่อไปนี้ สระผมบ่อยเกินไป การสระผมทุกวันอาจชะล้างน้ำมันธรรมชาติบนหนังศีรษะที่ช่วยให้หนังศีรษะชุ่มชื้น จนทำให้หนังศีรษะแห้งลอก ทั้งยังอาจทำให้เส้นผมเปราะและขาดได้ง่าย ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมบางชนิด เช่น แชมพูที่มีส่วนผสมของน้ำหอมหรือแอลกอฮอล์ สเปรย์เซตผม เจลใส่ผม น้ำยาย้อมผม อาจทำให้หนังศีรษะระคายเคืองจนเกิดผื่นแพ้สัมผัส (Contact dermatitis) ที่ทำให้หนังศีรษะแห้งลอก แดง คัน เป็นรังแค อากาศเปลี่ยนแปลง ในฤดูหนาวหรือช่วงที่อากาศแห้ง ความชื้นในอากาศลดลง จะส่งผลให้ผิวหนังทั่วร่างกายรวมไปถึงหนังศีรษะแห้ง นอกจากนี้ การใช้ไดร์เป่าผมหรือหนังศีรษะสัมผัสกับความร้อนโดยตรงยังอาจทำให้หนังศีรษะแห้งลอกได้ โรคผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema) เป็นภาวะผิวหนังอักเสบที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การแพ้สัมผัส การระคายเคืองจนเกิดผื่นที่เป็นสะเก็ดขุย […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

เชื้อรา ที่ขาหนีบผู้หญิง รักษาให้หายขาดอย่างไร

เชื้อรา ที่ขาหนีบผู้หญิง เป็นโรคผิวหนังที่พบได้ทั่วไป อาจทำให้เกิดผื่นแดงลักษณะเป็นวง ๆ มีขอบนูนชัดเจนและเป็นขุยขึ้นกระจายบนผิวหนัง ร่วมกับมีอาการคันและระคายเคือง และอาการอาจลุกลามไปยังผิวหนังส่วนอื่น ๆ เช่น อวัยวะเพศ ต้นขาด้านใน ก้น จนอาจก่อให้เกิดความอึดอัดรำคาญจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ เชื้อราที่ขาหนีบผู้หญิงมักรักษาได้ด้วยการทายาต้านเชื้อราวันละ 1-2 ครั้งติดต่อกันทุกวัน ส่วนใหญ่แล้วเมื่อทายาประมาณ 2-3 สัปดาห์ อาการทางผิวหนังจะค่อย ๆ หายไปในที่สุด แต่หากดูแลเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติมและรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] เชื้อรา ที่ขาหนีบผู้หญิง คืออะไร เชื้อรา ที่ขาหนีบผู้หญิงเป็นเชื้อราในกลุ่มเดอมาโทไฟท์ (Dermatophytes) ที่พบบ่อยที่สุดคือ ทริโคไฟตอน รูบรัม (Trichophyton rubrum) และเอพิเดอร์โมไฟตอน ฟลอกโคซัม (Epidermophyton floccosum) เชื้อรากลุ่มนี้เป็นสาเหตุของโรคสังคัง (Jock itch หรือ Tinea cruris) ซึ่งเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ผ่านการสัมผัสเชื้อโดยตรงและการสัมผัสกับพื้นผิวหรือของใช้ที่มีเชื้อติดอยู่ เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า หมอน ผ้าปูที่นอน เชื้อรา ที่ขาหนีบผู้หญิงมักพบในวัยรุ่นและผู้ใหญ่มากกว่าเด็กและผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบเขตร้อนชื้น เชื้อราจะอาศัยอยู่บนผิวหนังและกินเคราตินซึ่งเป็นส่วนประกอบของผิวหนังชั้นนอก ผม […]


สุขภาพผิว

ส้นเท้าแตกเกิดจาก อะไร และบรรเทาอาการได้อย่างไรบ้าง

อาการส้นเท้าแตก คือ ภาวะที่ผิวหนังบริเวณขอบส้นเท้าแห้ง แข็ง และหนาขึ้น และเกิดเป็นรอยแตก เป็นปัญหาผิวหนังที่พบได้ทั่วไป ส้นเท้าแตกเกิดจาก ผิวหนังบริเวณส้นเท้าขาดความชุ่มชื้น เนื่องจากอายุที่มากขึ้น การไม่บำรุงผิวบริเวณส้นเท้า การบาดเจ็บที่เท้า เป็นต้น อาการนี้ส่วนใหญ่มักไม่เป็นอันตราย แต่หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ดูแลรักษา อาจทำให้ผิวหนังหนาขึ้น แตกจนเป็นร่องลึก ผิวหนังแยกเป็นแผ่น จนถึงขั้นเลือดออก และอาจทำให้เจ็บเมื่อทิ้งน้ำหนักลงที่ส้นเท้าและในขณะเดิน จึงควรดูแลส้นเท้าด้วยวิธีที่เหมาะสมเป็นประจำ เช่น สวมถุงเท้าและรองเท้าแตะในบ้าน ทามอยส์เจอร์ไรเซอร์บำรุงส้นเท้า สวมรองเท้าที่เหมาะกับสรีระเท้า เพราะอาจช่วยป้องกันส้นเท้าแตก และช่วยบรรเทาอาการที่เป็นอยู่ได้ [embed-health-tool-bmi] ส้นเท้าแตกเกิดจาก อะไร ส้นเท้าแตกเป็นภาวะที่ผิวหนังกำพร้าบริเวณส้นเท้าเกิดรอยแตกเนื่องจากผิวหนังแห้งกร้านและขาดความชุ่มชื้น เมื่อลูบแล้วอาจรู้สึกเหมือนสัมผัสเหมือนกระดาษทราย อาจเกิดจากปัจจัยต่อไปนี้ อายุมากขึ้น กระบวนการผลัดเซลล์ผิวจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายจะผลิตคอลลาเจน อีลาสติน และน้ำมันเคลือบผิวได้น้อยลง ทำให้ผิวหนังบริเวณส้นเท้าและส่วนอื่น ๆ ของร่างกายแห้งและขาดน้ำได้ง่าย การบาดเจ็บที่ส้นเท้า เมื่อผิวหนังบริเวณส้นเท้าถูกเสียดสีซ้ำ ๆ อาจทำให้ผิวหนังหนาขึ้นและขาดความชุ่มชื้น และการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้น เช่น อยู่ในสภาพอากาศแห้งเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้ส้นเท้าแตกได้ ผิวหนังขาดการดูแล หลายคนอาจไม่ได้ทาครีมบำรุงหรือมอยส์เจอร์ไรเซอร์ผิวบริเวณส้นเท้าให้ผิวชุ่มชื้นเหมือนกับผิวหน้าและผิวกาย ไม่สวมถุงเท้าและเดินเท้าเปล่าเป็นประจำ หรือสวมรองเท้าที่ไม่ได้รองรับน้ำหนักอย่างเหมาะสม จนอาจทำให้ส้นเท้าแห้งและแตกได้ ภาวะสุขภาพบางประการ เช่น โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (Atopic […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

ไขข้อสงสัยทำไม ทาครีมแล้วแสบหน้า และวิธีเลือกครีมให้เหมาะกับผิว

ทาครีมแล้วแสบหน้า ส่วนใหญ่เกิดจากการระคายเคือง การแพ้สารบางชนิดในครีมทาหน้า สภาพผิวแห้งและผิวอ่อนแอ ส่งผลให้เกิดอาการแสบหน้า บวม แดง คัน เป็นผื่น หรือบางคนอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นแผลถลอก ผิวลอก ดังนั้น จึงควรเลือกครีมทาหน้าให้เหมาะกับผิว และควรทดสอบความระคายหรือหรืออาการแพ้ก่อนเริ่มใช้ครีมกับใบหน้า [embed-health-tool-bmr] ทาครีมแล้วแสบหน้า เกิดจากอะไร ปัญหาทาครีมแล้วแสบหน้าส่วนใหญ่อาจเกิดจาก 3 สาเหตุ ดังนี้ การระคายเคือง เป็นอาการทางผิวหนังที่พบบ่อยที่สุดในผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ซึ่งการระคายเคืองอาจทำให้เกิดอาการแสบร้อน ผิวแดง คันและมีรอยแดงเกิดขึ้นบริเวณใบหน้า อาจจะเกิดจากสารเคมีประเภทแอลกอฮอล์ กรดต่างๆที่ผสมลงไป การแพ้ เป็นอาการแพ้ส่วนผสมบางชนิดในครีมทาผิว เช่น น้ำหอม ที่อาจทำให้เกิดรอยแดง แสบ บวม คัน หรือเกิดผื่นแดงลอก มีน้ำเหลืองได้ สภาพผิว โดยเฉพาะหากปล่อยให้ผิวแห้ง อ่อนแอ หรือผิวหนังอักเสบจากการดูแลผิวไม่ดี ไม่ว่าจะใช้ครีมตัวเก่าที่เคยใช้อยู่ในปัจจุบัน หรือใช้ครีมตัวไหนก็ตามก็อาจทำให้เกิดอาการแสบหน้าได้ วิธีเลือกครีมให้เหมาะกับผิว การเลือกครีมให้เหมาะกับผิวอาจช่วยป้องกันอาการแสบหน้าได้ ซึ่งวิธีการเลือกครีมอาจทำได้ ดังนี้ สังเกตตัวเอง ควรหมั่นสังเกตตัวเอง ตรวจสอบสภาพผิวและจดบันทึกว่ามีอาการแพ้สารในครีมชนิดไหนบ้าง เพื่อป้องกันการซื้อครีมที่มีสารที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ เลือกครีมให้เหมาะกับสภาพผิว ควรตรวจสอบสภาพผิวของตัวเองว่ามีลักษณะแบบไหน เช่น ผิวแห้ง ควรเลือกใช้ครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันและให้ความชุ่มชื้นสูง เพื่อช่วยลดผิวแห้ง ลอก เป็นขุย […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

ครีมกันแดดทาหน้า ประโยชน์และปริมาณที่ควรใช้

การใช้ ครีมกันแดดทาหน้า ถือเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนในลงสกินแคร์ที่มีความสำคัญ เนื่องจากครีมกันแดดทาหน้าจะช่วยปกป้องผิวจากการทำร้ายของรังสียูวี ครีมกันแดดบางสูตรยังช่วยลดความมันบนในหน้าและป้องกันการเกิดสิวได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ควรใช้ครีมกันแดดทาหน้าในปริมาณที่เหมาะสมและควรทาซ้ำตลอดทั้งวัน เพื่อให้ครีมกันแดดสามารถปกป้องผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] ครีมกันแดดทาหน้า มีประโยชน์อย่างไร ครีมกันแดดทาหน้ามีประโยชน์ต่อสุขภาพผิวอย่างมาก เพราะช่วยปกป้องผิวจากการทำร้ายของรังสียูวี ซึ่งช่วยป้องกันผิวแก่ก่อนวัย ริ้วรอย ความเหี่ยวย่น จุดด่างดำ ผิวหมองคล้ำไม่สม่ำเสมอ ผิวอักเสบ ผิวไหม้ ลอก แสบแดง และยังอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนังที่เกิดจากการทำร้ายของรังสียูวีเอได้อีกด้วย ครีมกันแดดทาหน้า ควรทาบ่อยแค่ไหน แม้ว่าจะไม่ได้ออกนอกบ้าน หรือในวันนั้นไม่มีแสงแดดก็ควรใช้ครีมกันแดดทาหน้าเป็นประจำทุกวัน เพราะรังสียูวีไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแต่สามารถทะลุผ่านก้อนเมฆ กระจก หรือผ้าม่านมาทำร้ายผิวได้ นอกจากนี้ ควรทาครีมกันแดดประมาณ 15 นาที ก่อนออกจากบ้านเพื่อให้ครีมกันแดดซึมเข้าผิวอย่างเต็มที่ และควรใช้ครีมกันแดดทาหน้าซ้ำทุก ๆ 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะเมื่อยู่กลางแจ้ง เหงื่อออก หรือหลังจากว่ายน้ำ ปริมาณครีมกันแดดทาหน้าที่เหมาะสม หลายคนอาจยังสงสัยว่า ควรใช้ครีมกันแดดทาหน้าในปริมาณเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม และเพื่อการปกป้องที่ดีที่สุด ซึ่งในทางทฤษฎีควรใช้ครีมกันแดดทาหน้าในปริมาณ 2 มิลลิกรัม/ตารางเซนติเมตร ซึ่งหมายความว่าควรใช้ครีมกันแดดทาหน้าประมาณ 1 กรัม/การใช้ 1 ครั้ง โดยควรทาให้ทั่วทั้งใบหน้า ลำคอ และหู เพื่อการปกป้องอย่างครอบคลุม นอกจากนี้ บางคนอาจเข้าใจผิดว่าการใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารกันแดดอาจช่วยป้องกันรังสียูวีได้ แต่ความจริงแล้วสารกันแดดในเครื่องสำอางมีปริมาณไม่เพียงพอที่จะช่วยปกป้องผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงยังจำเป็นที่จะต้องใช้ครีมกันแดดทาหน้าเพื่อการปกป้องที่ดีที่สุด ครีมกันแดดทาหน้าควรทาก่อนหรือหลังสกินแคร์ตัวอื่น โดยทั่วไปครีมกันแดดทาหน้าสามารถทาในขั้นตอนไหนก็ได้ แล้วแต่ความพึงพอใจของบุคคล […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

ครีมกันแดดทาตัว ช่วยป้องกันผิวได้อย่างไร และวิธีเลือกอย่างเหมาะสม

รู้หรือไม่ว่า ครีมกันแดดทาตัว มีความสำคัญต่อสุขภาพผิวอย่างมาก เพราะครีมกันแดดสามารถช่วยปกป้องผิวจากการทำร้ายของรังสียูวีที่เป็นสาเหตุของริ้วรอย ความเหี่ยวย่น จุดด่างดำ ความหมองคล้ำ และมะเร็งผิวหนัง ดังนั้น จึงควรทาครีมกันแดดเป็นประจำทุกวันในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อการปกป้องผิวอย่างมีประสิทธิภาพ [embed-health-tool-bmr] ทำไมต้องใช้ ครีมกันแดดทาตัว ครีมกันแดดประกอบด้วยสารกันแดดที่อาจช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวีเอและยูวีบีที่อาจทำให้เกิดปัญหาผิวและเป็นอันตรายต่อผิวหนัง เช่น ผิวไหม้แดด ริ้วร้อย ความเหี่ยวย่น ผิวหนังอักเสบ ผิวแดง แสบร้อนจากแดดเผา ความหมองคล้ำ ผิวไม่สม่ำเสมอ ซึ่งปัญหาผิวเหล่านี้อาจเกิดจากคอลลาเจนและอิลาสติน (Elastin) ใต้ผิวหนังถูกทำลายจากแสงแดด และลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนัง การใช้ครีมกันแดดทาตัวอยู่เสมอจึงอาจช่วยปกป้องคอลลาเจนและอิลาสตินที่ให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นกับผิวหนัง ซึ่งอาจช่วยให้ผิวหนังมีสุขภาพดีและชะลอปัญหาผิวก่อนวัยได้นอกจากนี้ ยังอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนังที่เกิดจากการสัมผัสกับแสงแดดที่มีรังสียูวีเอเป็นเวลานาน จนเซลล์ผิวหนังอักเสบและพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็ง ครีมกันแดดทาตัว ควรเลือกอย่างไร การเลือกครีมกันแดดให้เหมาะกับสภาพผิวและกิจกรรมของแต่ละคนอาจช่วยให้ครีมกันแดดสามารถปกป้องผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการเลือกครีมกันแดดทาตัวอาจทำได้ ดังนี้ เลือกครีมกันแดดที่ระบุว่าป้องกันรังสียูวีเอและยูวีบี เนื่องจากรังสียูวีบีเป็นสาเหตุของผิวไหม้แดด ความหมองคล้ำ และจุดด่างดำ ส่วนยูวีเอเป็นสาเหตุของฝ้าแดด ผิวแก่ก่อนวัย และมะเร็งผิวหนัง ซึ่งการเลือกครีมกันแดดที่มีสารป้องกันรังสียูวีอย่างครอบคลุมจึงอาจช่วยปกป้องผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เลือกครีมกันแดดที่มี SPF สูง โดยเฉพาะในปัจจุบันที่แดดแรงมาก จึงควรเลือกครีมกันแดดทาตัวที่มี SPF 50 ขึ้นไป เพื่อการปกป้องอย่างมีประสิทธิภาพ เลือกครีมกันแดดกันน้ำและกันเหงื่อ โดยมีอายุการใช้งานในการทา 1 ครั้ง ประมาณ 40-80 นาที […]


สุขภาพผิว

แชมพู รักษา เชื้อรา ใช้เมื่อไร มีผลข้างเคียงอย่างไร

แชมพู รักษา เชื้อรา เป็นผลิตภัณฑ์รักษาการติดเชื้อราที่หนังศีรษะ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคผิวหนังอย่างกลาก เกลื้อน และผื่นแพ้ต่อมไขมัน ทั้งนี้ การสระผมด้วยแชมพูรักษาเชื้อรา อาจส่งผลให้หนังศีรษะมีอาการระคายเคืองหรือเป็นตุ่มคล้ายสิวได้ ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง [embed-health-tool-bmi] แชมพู รักษา เชื้อรา ใช้เมื่อไร แชมพูรักษาเชื้อรา เป็นผลิตภัณฑ์ที่มียาต้านเชื้อราอย่างคีโตโคนาโซลเป็นส่วนผสม ในอัตรา 1-2 เปอร์เซ็นต์ ผลิตภัณฑ์นี้มักใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อแคนดิดา (Candida) บริเวณศีรษะ รวมถึงการเป็นโรคกลาก เกลื้อน หรือผื่นแพ้ต่อมไขมันในบริเวณเดียวกัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อรากลุ่มมาลาสซีเซีย (Malassezia) ทั้งนี้ อาการที่เป็นสัญญาณของการติดเชื้อรารูปแบบต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้ การติดเชื้อแคนดิดา ตุ่มแดง คัน หนังศีรษะเป็นสีขาว ลอก หนังศีรษะบางส่วนนุ่มและชื้น ผมร่วง โรคกลาก ผื่นวงแหวนบนศีรษะ ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ จนเห็นหนังศีรษะ ก้อนกลัดหนองบนหนังศีรษะ โรคเกลื้อน ผื่นวงกลมสีออกขาวหรือสีเข้มกว่าหนังศีรษะส่วนอื่น ๆ หนังศีรษะคัน ลอก โรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน หนังศีรษะลอก อักเสบ รังแค แชมพู รักษา เชื้อรา ใช้อย่างไร การใช้แชมพูรักษาเชื้อรา มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ ใช้น้ำสะอาดล้างเส้นผมและหนังศีรษะให้ทั่ว ชโลมแชมพูลงบนศีรษะ ตามที่คุณหมอแนะนำหรือตามที่ฉลากผลิตภัณฑ์ระบุไว้ นวดผมและหนังศีรษะเบา […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน