backup og meta

ระวัง! ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน รักษาไม่ทัน อันตรายถึงชีวิต

ระวัง! ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน รักษาไม่ทัน อันตรายถึงชีวิต

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นอีกหนึ่งภาวะร้ายแรงที่ส่งผลให้ผู้คนเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากความเครียดและพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว บทความนี้ Hello คุณหมอจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน กัน รู้ก่อน ป้องกันไว้ เพื่อที่เราจะได้รักษาได้ทันท่วงที

ทำความรู้จักภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Coronary)

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Coronary) เกิดจาก การอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ เลือดจึงไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ ส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียน เจ็บหน้าอก วิงเวียนศีรษะจะเป็นลม บางรายอาจร้ายแรงถึงขั้นภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน เเละเสียชีวิตในที่สุด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมักเกิดจากการสะสมของไขมันหลายชนิดบนผนังหลอดเลือด เมื่อเกิดการสะสมมาก ๆ จะส่งผลให้เกิดการปริแตกในผนังหลอดเลือด หากลิ่มเลือดอุดกั้นบางส่วนทำให้เลือดไม่สามารถลำเลียงไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้ 

อย่างไรก็ตาม ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมีลักษณะคล้ายกับโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ และส่วนใหญ่มักเกิดกับบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยง ดังต่อไปนี้

5 สัญญาณเตือนภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือเฉียบพลัน

หากคุณมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงนั่น อาจเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่า คุณเข้าข่ายเป็นภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือเฉียบพลัน รวมถึงอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  • มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
  • อาหารไม่ย่อย
  • รู้สึกกระสับกระส่ายหรือวิตกกังวล
  • เหงื่อออกอย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • รู้สึกเหนื่อยล้าผิดปกติ 

5 วิธีป้องกัน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ กล่าวว่า เราสามารถลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไขมันจากเนื้อสัตว์ เนย อาหารฟาสต์ฟู้ด นมที่ไม่พร่องไขมัน
  • ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ จะช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
  • ควบคุมอาหาร เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ทานผักและผลไม้ให้มากขึ้นในแต่ละมื้อ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และงดครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
  • ทำจิตใจให้แจ่มใส หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด อาจหากิจกรรมนันทนาการ เพื่อเสริมสร้างอารมณ์ เช่น วาดรูป ปลูกต้นไม้ นั่งสมาธิ เป็นต้น

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Acute Coronary Syndrome. https://www.heart.org/en/health-topics/heart-attack/about-heart-attacks/acute-coronary-syndrome. Accessed March 31, 2021

Acute coronary syndrome. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/acute-coronary-syndrome/symptoms-causes/syc-20352136. Accessed March 31, 2021

Acute Coronary Syndrome. https://www.heart.org/en/health-topics/heart-attack/about-heart-attacks/acute-coronary-syndrome. Accessed March 31, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/07/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) สามารถเกิดขึ้นได้จาก สาเหตุใด

สัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือด รู้เร็ว รับมือได้



เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 29/07/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา