backup og meta

นอนหลับยาก อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ในการนอนหลับ มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

นอนหลับยาก อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ในการนอนหลับ มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

การนอนหลับถือเป็นสิ่งที่คนทุกเพศทุกวัยจะต้องทำเป็นกิจวัตรประจำวัน เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนและซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ แต่สำหรับบางคนแล้วอาจ นอนหลับยาก อาจเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันไป แล้วเมื่อเกิดอาการนอนหลับยากขึ้น ควรจะต้องรักษาอย่างไร เพื่อให้การนอนหลับมีประสิทธิภาพมากที่สุด ทาง Hello คุณหมอ ได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน

นอนหลับยาก ปัญหาสำคัญในการนอนหลับ

การนอนหลับยาก คือ การที่คุณมีปัญหาการนอนหลับในตอนกลางคืน ซึ่งมันอาจเป็นเรื่องที่ยากที่คุณจะหลับหรือตื่นหลาย ๆ ครั้งตลอดทั้งคืน ความยากลำบากในการนอนหลับ อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของคุณ การขาดการนอนหลับอาจทำให้คุณปวดหัวบ่อย ๆ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิ

คนส่วนใหญ่มักจะต้องประสบปัญหาในการนอนหลับยากในช่วงหนึ่งของชีวิต บางคนอาจรู้สึกสดชื่นหลังจากได้นอนหลับเพียง 6-7 ชั่วโมง แต่อย่างไรก็ตามผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ต้องการการนอนหลับประมาณ 8 ชั่วโมงทุกคืน เพื่อให้รู้สึกว่าได้พักผ่อน สัญญาณของความยากลำบากในการนอนหลับ อาจรวมถึงการตื่นเช้าเกินไป การไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระหว่างวัน จนอาจส่งผลให้ปวดหัวบ่อย หงุดหงิด อ่อนเพลียในตอนกลางวัน

การนอนหลับยากนั้นอาจจะทำให้คุณตื่นตลอดทั้งคืน หรือใช้เวลาหลายชั่วโมงเพื่อที่จะทำให้ตัวเองหลับได้ นอกจากนี้ การนอนหลับยาก ยังอาจทำให้คุณมีพลังงานต่ำในระหว่างวัน หรือมีรอยคล้ำใต้ตาอย่างเห็นได้ชัด

สาเหตุของ การนอนหลับยาก มีอะไรบ้าง

สำหรับสาเหตุของการนอนหลับยากนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประการ นอกจากนั้น การนอนหลับยากในผู้ใหญ่ และการนอนหลับยากในทารกก็จะแตกต่างกันออกไป ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

การนอนหลับยากในผู้ใหญ่

การนอนหลับยากในผู้ใหญ่นั้นมีสาเหตุหลายประการที่ทำให้นอนไม่หลับ รวมถึงพฤติกรรมการนอน การเลือกใช้ชีวิต และเงื่อนไขทางการแพทย์ สาเหตุบางอย่างอาจจะเป็นเรื่องเพียงเล็กน้อย และอาจจะดีขึ้นเมื่อคุณดูแลตัวเอง ในขณะที่สาเหตุอื่น ๆ อาจทำให้คุณต้องไปพบคุณหมอ

สาเหตุของการนอนหลับยากนั้นอาจรวมไปถึงเรื่องของอายุที่มากขึ้น การถูกกระตุ้นมากเกินไปก่อนเข้านอน เช่น การดูโทรทัศน์ เล่นวิดีโอเกมส์ หรือออกกำลังกาย นอกจากนั้น ยังอาจรวมไปถึงการบริโภคคาเฟอีนที่มากเกินไป เสียงรบกวน ห้องนอนที่ไม่สบายตัว หรือรู้สึกตื่นเต้น

การนอนมากเกินไปในระหว่างวัน การไม่โดนแสงแดด การปัสสาวะบ่อย ความเจ็บปวดทางร่างกาย อาการเจ็ตแล็ก (Jet Lag) และยาบางชนิดที่ต้องสั่งโดยแพทย์อาจเป็นสาเหตุของการนอนหลับยากได้ สำหรับหลาย ๆ คน ความเครียด กังวล ซึมเศร้า หรือตารางการทำงาน อาจส่งผลต่อการนอนหลับ สำหรับคนอื่น ๆ ปัญหาการนอนหลับยาก อาจเกิดจากความผิดปกติของการนอนหลับ เช่น การนอนไม่หลับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome หรือ RLS)

การนอนหลับยากในทารก

การนอนหลับยากอาจเกิดขึ้นในทารก ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติที่ทารกแรกเกิดจะต้องตื่นหลายครั้งตลอดทั้งคืน อย่างไรก็ตาม ทารกส่วนใหญ่จะเริ่มนอนหลับตลอดทั้งคืนหลังจากอายุ 6 เดือน หากทารกที่มีอายุมากแสดงอาการนอนหลับยาก นั่นอาจเป็นสัญญาณว่า พวกเขากำลังมีฟันงอกขึ้นมา ป่วย หิว มีปัญหาเกี่ยวกับแก๊ส หรือระบบย่อยอาหาร

การนอนหลับยาก สามารถรักษาได้อย่างไรบ้าง

การนอนหลับยากนั้นสามารถรักษาได้ด้วยหลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์  การทานยาที่ช่วยในเรื่องของการนอนหลับ หรือการรักษาตามสภาพอาการที่เกิดขึ้น ซึ่งแต่ละวิธีมีรายละเอียด ดังนี้

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์

วิธีการรักษาการนอนหลับยากจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้นอนหลับยาก ในบางกรณีการเยียวยาที่บ้านหรือการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ง่าย ๆ ก็สามารถปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับของคุณได้ คุณอาจจะต้องหลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีนและแอลกอฮอล์อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน

การจำกัดการงีบตอนกลางวันไว้ที่ 30 นาที หรือไม่งีบเลยถ้าสามารถทำได้จะเป็นการดีต่อการนอนหลับในตอนกลางคืน การทำให้ห้องนอนของคุณมืดและเย็นก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยทำให้คุณนอนหลับได้ คุณควรพยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่กระตุ้นร่างกายก่อนนอน และพยายามนอนหลับให้ได้ 7-8 ชั่วโมงในแต่ละคืน การฟังเพลงผ่อนคลายและอาบน้ำร้อนก่อนนอน ก็อาจช่วยรักษาการนอนหลับยากได้เช่นกัน นอกจากนั้น การจัดตารางการนอนให้สม่ำเสมอ ก็เป็นเรื่องที่ควรทำเช่นกัน

การใช้ยาที่ช่วยในเรื่องของการนอนหลับ (Sleeping aids)

บางคนอาจจัดการกับการนอนหลับยาก ด้วยการซื้อยาที่ช่วยในเรื่องของการนอนหลับแบบที่ไม่ต้องมีใบสั่งยามาทาน อย่างไรก็ตาม การทานยาที่ช่วยในเรื่องของการนอนหลับอาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนในตอนกลางวันได้หากคุณนอนไม่เต็ม 7-8 ชั่วโมง นอกจากนี้ ไม่ควรใช้ยาเหล่านี้เป็นประจำทุกวัน เพราะมันจะทำให้คุณต้องพึ่งพายาเหล่านี้ไปตลอด ที่สำคัญอย่าลืมอ่านคำแนะนำให้ดี และรับประทานยาตามคำแนะนำที่ระบุไว้

การรักษาตามสภาพอาการที่เกิดขึ้น

หากการนอนหลับยากหรือความผิดปกติของการนอนหลับ ทำให้คุณมีปัญหาต่อการใช้ชีวิตประจำวัน คุณควรจะต้องได้รับการรักษาอาการที่เป็นอยู่ ตัวอย่างเช่น หากการนอนหลับยากของคุณได้รับผลกระทบมาจากโรควิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้า แพทย์ของคุณอาจจะสั่งจ่ายยาต้านความวิตกกังวล หรือยากล่อมประสาท เพื่อช่วยให้คุณรับมือกับความกังวล ความเครียด และความรู้สึกสิ้นหวัง

หากคุณไม่ยอมรักษาอาการนอนหลับยากที่เกิดขึ้น มันอาจทำให้เกิดปัญหาการนอนหลับเรื้อรัง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคุณ การตอบสนองเวลาขับรถอาจลดลง ซึ่งความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุก็จะเพิ่มมากขึ้น คุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีอาจลดประสิทธิภาพในการทำงาน หรือการเรียน นอกจากนี้ยังอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณอ่อนแอลง จนทำให้เป็นหวัดและเจ็บป่วยมากขึ้น ดังนั้น ถ้าคุณกำลังมีอาการนอนหลับยาก คุณควรจะต้องไปพบกับคุณหมอ เพื่อพูดคุยถึงปัญหาในการนอนหลับ เพื่อให้แพทย์ของคุณช่วยแนะนำวิธีการรักษาต่าง ๆ ที่เหมาะสม

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What You Should Know About Difficulty Sleeping. https://www.healthline.com/health/sleeping-difficulty. Accessed January 04, 2021

How Much Sleep Do I Need?. https://www.cdc.gov/sleep/about_sleep/how_much_sleep.html. Accessed January 04, 2021

Insomnia – Overview and Facts. http://sleepeducation.org/essentials-in-sleep/insomnia. Accessed January 04, 2021

Insomnia. https://stanfordhealthcare.org/medical-conditions/sleep/insomnia.html. Accessed January 04, 2021

Insomnia. https://www.sleepfoundation.org/insomnia. Accessed January 04, 2021

When Do Babies Sleep Through the Night?. https://www.sleepfoundation.org/baby-sleep/when-do-babies-sleep-through-night. Accessed January 04, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/01/2021

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

นอนไม่หลับ วิตามินและแร่ธาตุ เหล่านี้อาจจะช่วยได้

จัดการอย่างไรกับอาการ นอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดนิ่ง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 05/01/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา