โภชนาการเพื่อสุขภาพ

"You are what you eat" อาหารที่คุณรับประทาน มีความสำคัญอย่างมาก ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการเพื่อสุขภาพ อยู่มากมาย ดังนั้น การแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม

สมุนไพรลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะสารสกัดในสมุนไพรบางชนิดอาจช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เพื่อความปลอดภัยควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคทุกครั้ง  [embed-health-tool-bmi] สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม ขมิ้นชัน สรรพคุณ สารเคอร์คูมิน (Curcumin) ในขมิ้นชันมีสรรพคุณช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ระบบการเผาผลาญภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมุนไพรขมิ้นชันจึงเป็นอีกกนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ผลข้างเคียง หากรับประทานขมิ้นชันในปริมาณสูงติดต่อกัน อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน  ขิง สรรพคุณ สารซิงเจอโรน ((Zingerone) ในขิงเป็นสารประกอบที่มีรสชาติเผ็ดร้อน อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้สามารถควบคุมปริมาณในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม ผลข้างเคียง ขิงเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้  แนะนำรับประทานไม่เกินวันละ 4 กรัม และในสตรีมีครรภ์ไม่เกินวันละ 1 กรัม  ส้มแขก สรรพคุณ หลายคนมักรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากส้มแขก เนื่องจากส้มแขกมีกรดมีกรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric Acid: HCA) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการเผาผลาญไขมันภายในร่างกาย และยังมีสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้รู้สึกหิวน้อยลง  ผลข้างเคียง เวียนศีรษะ ปากแห้ง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย  เม็ดแมงลัก สรรพคุณ เม็ดแมงลักเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก […]

หมวดหมู่ โภชนาการเพื่อสุขภาพ เพิ่มเติม

สูตรอาหารเพื่อสุขภาพ

สำรวจ โภชนาการเพื่อสุขภาพ

ข้อมูลโภชนาการ

น้ำมันปลา ประโยชน์ ผลข้างเคียง

น้ำมันปลา อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 จากอาหารที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้ ประกอบด้วย กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (DHA) และกรดไอโคซาเพนตาอีโนอิก (EPA) ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่มี ประโยชน์ ช่วยปรับปรุงการทำงานของกล้ามเนื้อ อวัยวะส่วนต่าง ๆ และกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้น้ำมันปลาจะให้สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป ก็อาจส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร เช่น ท้องร่วง ปวดท้อง น้ำมันปลา คืออะไร น้ำมันปลา คือ แหล่งสารอาหารของกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่เป็นส่วนหนึ่งของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนมีส่วนช่วยลดอาการอักเสบ ป้องกันการทำลายหลอดเลือดทั่วทั้งร่างกาย โดยโอเมก้า 3 ส่วนใหญ่อยู่ในปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาเทราท์ หอยแมลงภู่ หอยนางรม ปู พืชตระกูลถั่ว วอลนัท เมล็ดเจีย เมล็ดแฟลกซ์ รวมถึงน้ำมันคาโนลา ที่มีกรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก (ALA) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่อยู่ในกลุ่มโอเมก้า 3 เช่นเดียวกัน ปัจจุบัน น้ำมันปลามีในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบรรจุในแคปซูล ซอฟเจล ยาเม็ด เพื่อให้ผู้บริโภคสะดวกต่อการรับประทานมากขึ้น ประโยชน์ของน้ำมันปลา ประโยชน์ของน้ำมันปลา มีดังนี้ 1.ปรับปรุงสุขภาพหัวใจ เนื่องจาก น้ำมันปลามีกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่อาจช่วยลดการอักเสบของหลอดเลือดบริเวณหัวใจและหลอดเลือดสมอง […]


ข้อมูลโภชนาการ

สารอาหาร และปริมาณที่ควรได้รับ

สารอาหาร เป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการในทุกวันและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากขาดสารอาหารหรือได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพออาจส่งผลต่อระบบการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ซึ่งสารอาหารที่จำเป็นมีด้วยกัน 6 ชนิด คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน น้ำ วิตามินและแร่ธาตุ โดยปริมาณของสารอาหารแต่ละชนิดอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเพศและอายุของบุคคลด้วย สารอาหาร คืออะไร สารอาหาร คือ อาหารที่ให้พลังงานและเป็นสิ่งจำเป็นที่ร่างกายต้องการเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต การเจริญเติบโตของร่างกายและการสืบพันธุ์ โดยแบ่งเป็นสารอาหารหลัก (Macronutrients) และสารอาหารรอง (Micronutrients) ที่ให้พลังงานช่วยหล่อเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกาย รวมถึงสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวของกับระบบการทำงานอื่น ๆ เช่น การสร้างพลังงาน การย่อยสารอาหาร หากขาดสารอาหารหรือได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ก็อาจส่งผลต่อระบบการทำงานในร่างกายโดยรวมได้ สารอาหารมีอะไรบ้าง สารอาหารแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สารอาหารหลักและสารอาหารรอง ดังนี้ สารอาหารหลัก สารอาหารหลัก คือ สารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายในปริมาณมาก แบ่งเป็น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และน้ำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสารอาหารที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนเพื่อใช้เป็นพลังงานให้กับเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย โปรตีน โปรตีนเป็นสารอาหารหลักที่เซลล์ต้องการใช้เป็นพลังงานและช่วยเสริมสร้างส่วนต่าง ๆ  ของร่างกาย เนื่องจากโปรตีนมีส่วนช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต พัฒนากล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนัง และผม ช่วยสร้างแอนติบอดีและฮอร์โมน […]


โรคอ้วน

5 วิธี ลดน้ำหนัก เพื่อสุขภาพที่ดี

การลดน้ำหนัก ช่วยปรับสมดุลของระบบการทำงานในร่างกาย ป้องกันภาวะสุขภาพ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด คอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่หากลดน้ำหนักเร็วเกินไปด้วยวิธีการอดอาหาร กินยาลดความอ้วน อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้ร่างกายขาดน้ำ เกิดภาวะทุพโภชนาการ และอาจทำให้ลดน้ำหนักไม่สำเร็จในระยะยาว ดังนั้น การลดน้ำหนักอย่างถูกวิธีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้สุขภาพดีได้อย่างยั่งยืน ลดน้ำหนัก ดีต่อสุขภาพอย่างไร การลดน้ำหนักที่ดีต่อสุขภาพควรเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอและค่อยเป็นค่อยไป อาจเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น เพราะการลดน้ำหนักนั้นมีข้อดีต่อสุขภาพหลายประการ ดังนี้ ช่วยให้ข้อต่อแข็งแรงขึ้น ไขมันส่วนเกินและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอาจสร้างแรงกด ส่งผลให้ข้อต่ออักเสบ การลดน้ำหนักจึงอาจช่วยบรรเทาอาการอักเสบได้ ลดความเสี่ยงมะเร็ง ผู้ที่มีน้ำหนักเกินอาจมีระดับของฮอร์โมนบางชนิดที่ทำให้เกิดมะเร็งได้ เช่น เอสโตรเจน อินซูลิน แอนโดรเจน การลดน้ำหนักจึงอาจช่วยลดระดับฮอร์โมนเหล่านั้น และลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ลดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การลดน้ำหนักควบคู่กับควบคุมอาหาร อาจช่วยป้องกันเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ และสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานอยู่แล้ว การลดน้ำหนักอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ ลดระดับไขมันเลว การออกกำลังกายอาจช่วยลดระดับไขมันเลว หรือคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ในร่างกายได้ และการควบคุมอาหารระหว่างลดน้ำหนักอาจเพิ่มไขมันดี หรือคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ช่วยลดโอกาสเกิดโรคหัวใจ หัวใจวาย […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

5 วิธีลดพุง เพื่อหน้าท้องแบนราบและสุขภาพที่ดี

ภาวะอ้วนลงพุงเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย มักเกิดจากการรับประทานอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย ไม่ออกกำลังกาย และอาจเกิดจากภาวะสุขภาพหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทำให้มีไขมันส่วนเกินสะสมที่หน้าท้อง และเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง การลดพุงจึงเป็นวิธีลดน้ำหนักที่จะช่วยควบคุมไขมัน ปรับสมดุลการเผาผลาญ และเพิ่มความมั่นใจในรูปร่างได้อีกด้วย สาเหตุของอ้วนลงพุง อ้วนลงพุงอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้ การรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันปริมาณมาก อาจส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้ การพยายามลดความอ้วนด้วยวิธีรับประทานอาหารน้อยเกินไป เช่น  กิน  กินจุบกินจิบระหว่างวัน กินอาหารไม่ครบทุกมื้อ โดยเฉพาะไม่รับประทานอาหารเช้าซึ่งเป็นมื้อที่สำคัญ อาจส่งผลทำให้ร่างกายหิวมากขึ้น อาจทำให้ต้องการรับประทานอาหารเพิ่มขึ้น  รับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง และอาจเพิ่มปริมาณอาหารในตอนเย็น อาจส่งผลต่อการเพิ่มไขมันหน้าท้องได้เช่นกัน ปริมาณการออกกำลังกาย การไม่ออกกำลังกายหรือออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นน้อยเกินไป อาจส่งผลให้ไขมันส่วนเกินที่ไม่ได้รับการเผาผลาญสะสมที่หน้าท้องได้ ความเครียด ความเครียดอาจทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลที่กระตุ้นความอยากอาหารและส่งผลต่อระบบเผาผลาญ ทำให้รับประทานอาหารมากขึ้นและอาจมีแนวโน้มเลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น อาหารที่มีน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตสูงเพื่อคลายความเครียด การนอนหลับ การนอนหลับไม่เพียงพออาจส่งผลต่อความสมดุลของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ฮอร์โมนควบคุมความหิว ทำให้อยากอาหารมากขึ้นและรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นด้วย พันธุกรรม ในบางคนยีนอาจมีส่วนทำให้อ้วนลงพุง ถึงแม้ว่าจะมีการออกกำลังกายหรือควบคุมอาหารอย่างถูกต้อง ซึ่งยีนอาจส่งผลต่อระบบเผาผลาญ เช่น การสะสมไขมันในร่างกาย การเผาผลาญที่ช้าลง หรืออาจส่งผลต่อพฤติกรรม เช่น นิสัยรับประทานอาหารปริมาณมาก ไม่ชอบออกกำลังกายและขยับตัว ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ งานวิจัยระบุว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจเพิ่มน้ำหนักตัวได้ และการสูบบุหรี่อาจมีส่วนทำให้ระบบเผาผลาญทำงานผิดปกติ ผู้สูบบุหรี่อาจมีดัชนี้มวลกายต่ำลงแต่มีหน้าท้องที่ใหญ่กว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จัดอาจดันไขมันเข้าไปที่ส่วนกลางลำตัว […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

IF คือ อะไร ทำแล้วลดน้ำหนักได้จริงไหม

IF หรือ Intermittent Fasting คือ การลดน้ำหนักแบบจำกัดช่วงเวลารับประทานอาหาร วิธีนี้อาจช่วยควบคุมระดับแคลอรี ระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต เสริมสร้างการทำงานของสุขภาพหัวใจให้มีประสิทธิภาพได้ด้วย แต่ก็อาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพ เช่น คลื่นไส้ ปวดศีรษะ เนื่องจากร่างกายยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับระยะเวลาที่อดอาหารได้ [embed-health-tool-bmi] If คือ การลดน้ำแบบใด  การลดน้ำหนักแบบ IF หรือ Intermittent Fasting คือการจำกัดช่วงเวลาที่สามารถรับประทานอาหารได้ หรือการรับประทานอาหารตามแผนเวลาที่คุณหมอกำหนดเท่านั้น ตามที่ Mark Mattson,Ph.D.นักประสาทวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Johns Hopkins University ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการอดอาหารเป็นเวลา 25 ปี พบว่าร่างกายของมนุษย์มีวิวัฒนาการที่อาจทำให้ดำรงชีวิตได้ แม้จะอดอาหารเป็นเวลาหลายชั่วโมง หลายวัน หรือนานกว่านั้น เห็นได้จากที่มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งยังไม่รู้จักทำฟาร์ม และต้องใช้เวลานานกว่าจะล่าสัตว์ หรือเก็บพืชมารับประทานได้ ยังคงเจริญเติบโต หรือมีชีวิตอยู่รอดมาโดยไม่รับประทานอาหารเป็นเวลาหลายวัน กรมการแพทย์ทางเลือกแห่งประเทศไทย แบ่งวิธีรับประทานอาหารแบบ IF ออกเป็น 6 วิธี ดังนี้ อดอาหารแบบ 16/8 คืองดรับประทานอาหารเป็นเวลา 16 ชั่วโมง และรับประทานอาหารได้เป็นเวลา 8 ชั่วโมง […]


ข้อมูลโภชนาการ

คาร์โบไฮเดรตมีอะไรบ้าง กินอย่างไรให้สุขภาพดี

คาร์โบไฮเดรต เป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายมีแรงสำหรับประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หากร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตน้อยเกินไป อาจทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ขาดพลังงาน และอาจทำให้เป็นลมหมดสติได้ การทราบว่า คาร์โบไฮเดรตมีอะไรบ้าง และสามารถหาคาร์โบไฮเดรตได้จากที่ไหนบ้าง อาจช่วยให้ร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตอย่างเพียงพอ [embed-health-tool-”bmi”] คาร์โบไฮเดรต คืออะไร  คาร์โบไฮเดรต คือ สารอาหารหลักชนิดหนึ่งซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย คาร์โบไฮเดรตจะให้น้ำตาลกลูโคสซึ่งสามารถแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานให้ใช้ในการทำงาน การออกกำลังกาย และกิจกรรมอื่น ๆ คาร์โบไฮเดรตส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยเฉพาะอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล ใยอาหารหรือไฟเบอร์  อย่างไรก็ตาม อาหารที่ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรตอาจมีคุณค่าทางอาหารและประโยชน์ต่อร่างกายแตกต่างกันไป  คาร์โบไฮเดรตมีอะไรบ้าง อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมีอะไรบ้าง คาร์โบไฮเดรตสามารถแยกออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ แป้ง เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน สามารถแบ่งออกเป็นอีก 2 ชนิดย่อย ได้แก่ ชนิดขัดสีและชนิดไม่ขัดสี โดยชนิดที่ผ่านกระบวนการขัดสี เช่น ข้าวขาว ขนมปัง เส้นพาสต้า สามารถเพิ่มพลังงานที่ดีให้กับร่างกาย แต่อาจมีวิตามินและแร่ธาตุในปริมาณน้อย และหากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้พลังงานเปลี่ยนเป็นน้ำตาลและสะสมภายในร่างกาย จนส่งผลให้เป็นโรคอ้วนได้ ส่วนชนิดไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต โฮลวีท โฮลเกรน มีคุณค่าทางสารอาหาร และให้คุณค่าทางโภชนาการมากกว่าชนิดขัดสี ไฟเบอร์ หรือใยอาหารจากพืช […]


ข้อมูลโภชนาการ

อาหาร 5 หมู่ และสารอาหารสำคัญต่อร่างกาย

อาหาร 5 หมู่ คือกลุ่มอาหารพื้นฐานที่ร่างกายควรได้รับ เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตและเพิ่มพลังงานนำไปดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังอาจช่วยป้องกันอาการเจ็บป่วยได้หากรับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-”bmr”] อาหาร 5 หมู่ มีอะไรบ้าง อาหาร 5 หมู่ ที่ร่างกายควรได้รับ มีดังนี้ 1. คาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรต หรืออาหารประเภทแป้ง เช่น มันฝรั่ง ขนมปัง ข้าว พาสต้า เป็นแหล่งของสารอาหารที่ให้พลังงาน ทั้งไฟเบอร์ แคลเซียม ธาตุเหล็ก และวิตามินสำคัญต่อร่างกาย หากร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตไม่เพียงพอในแต่ละวัน ก็อาจส่งผลให้ร่างกายอ่อนแรง ปวดศีรษะ ขาดน้ำ และอารมณ์แปรปรวนได้ คาร์โบไฮเดรตจะให้แคลอรีน้อยกว่าไขมันครึ่งหนึ่ง อาหารในแต่ละมื้อควรมีสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตเพียง 1 ใน 3 นอกจากนี้ หากต้องการให้ดีต่อสุขภาพอาจสามารถเลือกเป็นข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท หรือซีเรียลโฮเกรน คาร์โบไฮเดรตแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว คืออาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปโดยอาจกำจัดสารอาหารออกไป เช่น ข้าวและขนมปังสีขาว พาสต้า อีกทั้งยังสามารถย่อยได้เร็วทำให้มีความอิ่มระยะสั้น หิวบ่อย นำไปสู่การรับประทานอาหารมากขึ้น จนส่งผลให้ทำระดับน้ำตาลในเลือดอาจพุ่งขึ้นสูงและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคเบาหวาน […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

วิธีลดน้ำหนัก และประโยชน์ของการลดน้ำหนัก

วิธีลดน้ำหนัก อาจสามารถทำได้ด้วยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการลดน้ำหนักด้วยวิธีทางการแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถลดน้ำหนักได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพร่างกาย และเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ปลอดภัยจากโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ [embed-health-tool-bmi] ประโยชน์การลดน้ำหนัก  ประโยชน์ของการลดน้ำหนัก หรือควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คืออาจสามารถช่วยให้สุขภาพแข็งแรง และลดความเสี่ยงจากภาวะทางสุขภาพ ดังต่อไปนี้ ข้ออักเสบ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้เพิ่มแรงกดทับในส่วนของข้อเข่าและข้อต่อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อีกทั้งร่างกายอาจปล่อยไซโตไคน์ (cytokines) ที่สามารถทำลายเนื้อเยื่อรวมถึงบริเวณข้อต่อ ดังนั้น การลดน้ำหนักจึงอาจช่วยคลายแรงกดทับ ลดไขมัน และลดความเสี่ยงเป็นโรคข้ออักเสบได้ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 การลดน้ำหนักอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และห่างไกลจากโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้มากขึ้น คอเลสเตอรอล หากร่างกายมีคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี และไตรกลีเซอไรด์สูงอาจส่งผลให้มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ง่ายขึ้น การลดน้ำหนักอาจช่วยกำจัดไขมันส่วนเกิน และคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีออกไปได้ โรคความดันโลหิตสูง ยิ่งน้ำหนักตัวมาก ก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่ผนังหลอดเลือดอาจหนาตัวมากขึ้น และอาจส่งผลให้หลอดเลือดที่เชื่อมโยงกับหัวใจ รวมไปถึงหัวใจทำงานหนักขึ้น จนอาจนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง การลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหาร หรือเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพอาจเป็นวิธีที่ช่วยได้ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินอาจส่งผลให้เนื้อเยื่อปิดกั้นทางเดินหายใจ นำไปสู่อาการหายใจลำบาก โดยเฉพาะช่วงเวลาการนอนหลับ การลดน้ำหนักจึงอาจเป็นทางออกที่อาจช่วยบรรเทาอาการหยุดหายใจขณะหลับได้ ในบางกรณี คุณหมออาจให้ใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจร่วมด้วย เพื่อป้องกันการหยุดหายใจขณะนอนหลับ วิธีลดน้ำหนัก ผู้ที่อยากลดหนักอาจต้องการให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้ ผู้ที่ลดน้ำหนักอย่างค่อยเป็นค่อยไปประมาณ 0.5-1 […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

อาหารบำรุงกระดูก มีอะไรบ้าง

อาหารบำรุงกระดูก อาจช่วยในการสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อ อาหารบำรุงกระดูกอย่าง แคลเซียม วิตามินดี และแมกนีเซียม อาจมีส่วนช่วยในการเพิ่มความหนาแน่น ความแข็งแรง และมวลกระดูกให้มากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้โครงสร้างโดยรวมของร่างกายให้แข็งแรง สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ การดำเนินชีวิตในประจำวัน และป้องกันโรคทางกระดูกต่าง ๆ เช่น กระดูกพรุน ข้อเข่าเสื่อม  กระดูก สำคัญอย่างไร กระดูก คือ เนื้อเยื่อที่ประกอบขึ้นเป็นโครงกระดูกของร่างกาย โดยโครงสร้างภายในกระดูกมีลักษณะคล้ายรวงผึ้ง สำหรับเด็กมีกระดูกประมาณ 300 ชิ้น เพราะกระดูกอ่อนยังไม่ติดกัน สำหรับผู้ใหญ่มีกระดูกทั้งหมด 206 ชิ้น กระดูกมีหน้าที่หลายอย่าง เช่น ช่วยในการเคลื่อนไหวร่างกาย ช่วยป้องกันไม่ให้อวัยวะสำคัญ เช่น สมอง ปอด หัวใจ ได้รับอันตราย ช่วยรองรับอวัยวะต่าง ๆ ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นที่เก็บสะสมแร่ธาตุแคลเซียมในร่างกาย และภายในกระดูกมีไขกระดูกที่ทำหน้าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือด กระดูกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยกระดูกเก่าจะเสื่อมสภาพและสลายไป และร่างกายจะสร้างกระดูกใหม่ขึ้นมาแทนที่ บุคคลที่อายุน้อยกว่า 30 ปี ร่างกายอาจสร้างมวลกระดูกใหม่ได้เร็วกว่า ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อกระดูก ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อสุขภาพกระดูก เช่น เพศ ผู้หญิงมีความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากมีเนื้อเยื่อกระดูกน้อยกว่า อายุ […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารบำรุงตับ และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

อาหารบำรุงตับ เป็นอาหารที่อาจช่วยปรับสมดุลและเสริมสร้างการทำงานของตับให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ การเปลี่ยนมารับประทานอาหารที่ดีต่อตับ อาจช่วยปกป้องตับจากสารพิษ ไขมัน แป้ง ซึ่งส่งผลทำให้ตับทำงานหนักและอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคตับและมะเร็งตับได้ [embed-health-tool-”bmi”] อาหารบำรุงตับ ที่ควรรับประทาน กาแฟ มีงานวิจัยหนึ่งระบุว่า กาแฟ อาจช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์ตับ ในการกำจัดสารก่อมะเร็งในร่างกาย นอกจากนี้การดื่มกาแฟทุกวันอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคตับเรื้อรัง ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งตับ และปัญหาตับอื่น ๆ เช่น โรคไขมันพอกตับ (Non-alcoholic fatty liver disease :NAFLD) ชาเขียว งานวิจัยหนึ่งระบุว่า ชาเขียวอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า คาเทชิน (Catechins) ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งตับ และมะเร็งบางชนิด ทั้งนี้การดื่มชาเขียวแท้จากธรรมชาติ อาจส่งผลดีต่อสุขภาพมากกว่าสารสกัดจากชาเขียว หรือชาเขียวแปรรูป เพราะการสกัดหรือการแปรรูปอาจทำลายคุณประโยชน์ในชาเขียวได้ ถั่ว ถั่ว อุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัว วิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระ สารเหล่านี้อาจช่วยบำรุงตับให้แข็งแรง และมีงานวิจัยระบุว่า อาจช่วยป้องกันโรคไขมันพอกตับได้ และลดการอักเสบได้อีกด้วย ข้าวโอ๊ต งานวิจัยหนึ่งระบุว่า ข้าวโอ๊ต มีเบต้ากลูแคน (Beta-glucans) สูง และมีเส้นใยอาหารที่ช่วยในการย่อย ช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินและไขมันหน้าท้อง ซึ่งอาจทำให้ตับทำงานได้ดีขึ้นและช่วยป้องกันโรคตับได้ นอกจากนี้เบต้ากลูแคนยังมีฤทธิ์ช่วยปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันการอักเสบ และช่วยป้องกันโรคอ้วนและโรคเบาหวานได้อีกด้วย ควรรับประทานข้าวโอ๊ตเต็มเมล็ดที่ไม่ผ่านการแปรรูป เพราะข้าวโอ๊ตแปรรูปอาจเติมแป้ง หรือน้ำตาลที่ส่งผลเสียต่อตับได้ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น บลูเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน