โภชนาการเพื่อสุขภาพ

"You are what you eat" อาหารที่คุณรับประทาน มีความสำคัญอย่างมาก ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการเพื่อสุขภาพ อยู่มากมาย ดังนั้น การแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม

สมุนไพรลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะสารสกัดในสมุนไพรบางชนิดอาจช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เพื่อความปลอดภัยควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคทุกครั้ง  [embed-health-tool-bmi] สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม ขมิ้นชัน สรรพคุณ สารเคอร์คูมิน (Curcumin) ในขมิ้นชันมีสรรพคุณช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ระบบการเผาผลาญภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมุนไพรขมิ้นชันจึงเป็นอีกกนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ผลข้างเคียง หากรับประทานขมิ้นชันในปริมาณสูงติดต่อกัน อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน  ขิง สรรพคุณ สารซิงเจอโรน ((Zingerone) ในขิงเป็นสารประกอบที่มีรสชาติเผ็ดร้อน อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้สามารถควบคุมปริมาณในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม ผลข้างเคียง ขิงเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้  แนะนำรับประทานไม่เกินวันละ 4 กรัม และในสตรีมีครรภ์ไม่เกินวันละ 1 กรัม  ส้มแขก สรรพคุณ หลายคนมักรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากส้มแขก เนื่องจากส้มแขกมีกรดมีกรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric Acid: HCA) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการเผาผลาญไขมันภายในร่างกาย และยังมีสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้รู้สึกหิวน้อยลง  ผลข้างเคียง เวียนศีรษะ ปากแห้ง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย  เม็ดแมงลัก สรรพคุณ เม็ดแมงลักเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก […]

หมวดหมู่ โภชนาการเพื่อสุขภาพ เพิ่มเติม

สูตรอาหารเพื่อสุขภาพ

สำรวจ โภชนาการเพื่อสุขภาพ

ข้อมูลโภชนาการ

ปลาแซลมอน ประโยชน์ และความเสี่ยง

ปลาแซลมอน เป็นหนึ่งในอาหารที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันและเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน กรดไขมันโอเมก้า 3 วิตามิน แร่ธาตุ ที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่บางครั้งการรับประทานปลาแซลมอนมากเกินไป อาจทำให้ได้รับสารปรอทที่ก่อให้เกิดอันตรายกระทบต่อสุขภาพ เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง การมองเห็นเปลี่ยนแปลง อารมณ์แปรปรวน ปัญหาด้านความจำ ก่อนเลือกซื้อรับประทานควรศึกษาสารอาหาร ประโยชน์ และข้อควรระวังของปลาแซลมอน เพื่อความปลอดภัย สารอาหารในปลาแซลมอน ปลาแซลมอน ประกอบไปด้วยสารอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ วิตามินบี 12  วิตามินบี 12 หรือโคบาลามิน (Cobalamin) เป็นวิตามินละลายน้ำเช่นเดียวกับวิตามินบีอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ปรับปรุงการทำงานของเส้นประสาท และส่งเสริมการทำงานของเมแทบอลิซึมที่ช่วยเปลี่ยนแปลงสารอาหารเป็นพลังงาน หากร่างกายขาดวิตามินบี 12  อาจนำไปสู่ภาวะโลหิตจาง เหนื่อยล้าง่าย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เส้นประสาทถูกทำลาย อารมณ์แปรปรวน และกระบวนการย่อยอาหารทำงานผิดปกติไม่อาจดูดซึมสารอาหารสำคัญได้ วิตามินบี 6 วิตามินบี 6 หรือไพริดอกซิน (Pyridoxine) ที่มีส่วนช่วยบำรุงระบบประสาทและพัฒนาการสมอง อีกทั้งยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันมีการทำงานในการต้านเชื้อโรค เชื้อไวรัสได้ดีขึ้น ผู้ที่ร่างกายขาดวิตามินบี 6 อาจเกิดขึ้นต่อเมื่อร่างกายขาดวิตามินบีชนิดอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น วิตามินบี 12 กรดโฟลิก ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะร่างกายขาดสารอาหารระดับรุนแรง เสี่ยงเป็นโรคโลหิตจาง ภาวะซึมเศร้า […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

กินยังไงให้ผอม และสุขภาพดี

กินยังไงให้ผอม และดีต่อสุขภาพ อาจเป็คำถาที่หลายคนสงสัย โดยการเลือกอาหารที่ให้พลังงานและแคลอรี่ต่ำจึงเป็นเป้าหมายสำคัญของการลดและควบคุมน้ำหนัก ควรแบ่งการกินอาหารออกเป็นมื้อเล็ก ๆ  6 มื้อ ไม่ควรละเลยอาหารเช้าซึ่งเป็นมื้อสำคัญที่ให้พลังงานตลอดทั้งวันและช่วยให้อิ่มนานมากขึ้น ไม่ควรอดอาหารเพื่อลดน้ำหนักแต่ควรจัดสรรทั้งเวลาและประเภทของอาหารให้เหมาะสมในแต่ละมื้อ จะช่วยลดความรู้สึกหิวโหยระหว่างวันและส่งผลให้ผอมลงได้ [embed-health-tool-bmr] กินยังไงให้ผอม การกินอาหารอาจเกี่ยวข้องกับการลดน้ำหนักหรือการควบคุมน้ำหนัก เนื่องจาก การกินอาหารในแต่ละมื้ออาจมีปริมาณแคลอรี่ที่ส่งผลต่อน้ำหนัก ดังนั้น การจัดมื้ออาหารและการเลือกประเภทอาหารให้เหมาะสมอาจช่วยให้ผอมลงได้ การกินอาหาร 6 มื้อต่อวันอาจช่วยให้ผอมลง การกินอาหารมื้อเล็ก ๆ ตลอดทั้งวันอาจช่วยลดความอยากอาหาร และยังส่งผลดีต่อสุขภาพช่วยให้ระบบเผาผลาญทำงานอยู่ตลอดเวลา ทำให้ลดความหิวและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่การกินอาหารแบบแบ่งเป็น 6 มื้อ/วัน อาจไม่ช่วยเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี่และไขมันที่สะสมในร่างกาย ดังนั้น การกินอาหารแบบแบ่งเป็น 6 มื้อควรควบคู่ไปกับการเลือกประเภทอาหารด้วย เพื่อไม่เพิ่มเป็นแคลอรี่สะสมในร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถเผาผลาญแคลอรี่ในแต่ละวันดียิ่งขึ้นส่งผลให้ผอมลงได้ ถึงแม้ว่า การกินอาหารแบบแบ่งเป็น 6 มื้อ อาจไม่ช่วยเร่งการเผาผลาญ แต่สามารช่วยควบคุมความหิวได้ ทำให้ท้องไม่ว่างเกินไปในระหว่างรออาหารมื้อถัดไป แต่หากปล่อยให้ท้องว่างอาจทำให้หิวมากขึ้น และมีแนวโน้มจะกินอาหารมากเกินไป เนื่องจาก เมื่อร่างกายไม่ได้รับอาหารประมาณ 3 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลง เมื่อผ่านไป 4 ชั่วโมง ร่างกายจะเริ่มย่อยอาหารในร่างกาย และเมื่อผ่านไปอีก 5 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลงมากขึ้นส่งผลให้ร่างกายรู้สึกหิว และต้องการกินอาหารจำนวนมากเพื่อเพิ่มพลังงาน สำหรับการกินอาหารมื้อสุดท้ายไม่ควรเกิน 6 […]


ข้อมูลโภชนาการ

ธัญพืช ประโยชน์จากธรรมชาติ

ธัญพืช อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ โปรตีน สารต้านอนุมูลอิสระ และไฟเบอร์ ธัญพืชไม่ขัดสี มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น ช่วยเสริมการย่อยอาหาร ลดความเสี่ยงโรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และมะเร็งบางชนิด ในขณะที่ธัญพืชที่ผ่านการขัดสีอาจสูญเสียสารอาหารบางชนิด และอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ เบาหวาน และโรคอ้วนได้หากรับประทานมากเกินไป ธัญพืช คืออะไร ธัญพืช คือ พืชจำพวกหญ้าตระกูล Poaceae ที่เก็บเกี่ยวเฉพาะเมล็ดเพื่อนำมาประกอบอาหาร เช่น ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ธัญพืชไม่ขัดสี (Whole Grains) และธัญพืชขัดสี (Refined Grains) ธัญพืชอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไฟเบอร์ วิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ ที่อาจมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคเบาหวานประเภทที่ 2 มะเร็งบางชนิด และกระตุ้นระบบย่อยอาหาร ประเภทของธัญพืช ธัญพืชไม่ขัดสี ธัญพืชไม่ขัดสีหรือธัญพืชเต็มเมล็ด เป็นสารอาหารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในสัดส่วนที่เหมาะสม เมื่อนำไปปรุงจนสุกเพื่อประกอบอาหารก็อาจยังคงรักษาสารอาหารไว้ครบถ้วน ประกอบด้วย […]


ข้อมูลโภชนาการ

แครอท ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

แครอท เป็นผักที่อุดมไปด้วยสารอาหารจำพวกวิตามิน แร่ธาตุ เส้นใย และสารต้านอนุมูลอิสระหลากหลายชนิดที่อาจช่วยบำรุงสายตา กระดูก ระบบภูมิคุ้มกัน ลดคอเลสเตอรอล และอาจช่วยป้องกันโรคหัวใจ เบาหวาน และมะเร็งบางชนิด การรับประทานแครอทในปริมาณที่เหมาะสมและผ่านการปรุงอย่างถูกวิธีอาจเพิ่มประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น ประโยชน์ของแครอท ปริมาณการบริโภคแครอทที่เหมาะสมต่อวัน อยู่ที่ประมาณครึ่งถ้วย โดยให้พลังงาน 25 แคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 6 กรัม โปรตีน 0.5 กรัม ไฟเบอร์ 2 กรัม น้ำตาล 3 กรัม ให้วิตามินและแร่ธาตุต่อความต้องการของร่างกาย 1 วัน ได้แก่ วิตามินเอ 73% วิตามินซี 5% วิตามินเค 9% โพแทสเซียมและไฟเบอร์ 8% แคลเซียมและธาตุเหล็ก 2% นอกจากนี้ แครอทยังมีสารประกอบอื่น ๆ ที่ให้ประโยชน์ช่วยต้านอนุมูลอิสระส่งผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงการเจ็บป่วย เช่น โรคหัวใจ สุขภาพกระดูกและตา ความดันโลหิต และโรคมะเร็งบางชนิด สารประกอบหลักที่พบในแครอท ดังนี้ เบต้าแคโรทีน (Beta carotene) […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

อาหารคนป่วย ที่ช่วยฟื้นฟูสุขภาพ มีอะไรบ้าง

อาหารคนป่วย เป็นอาหารที่ช่วยฟื้นฟูสุขภาพของผู้ที่เจ็บป่วย เป็นโรค ผ่านการผ่าตัด หรือเข้ารับการรักษาปัญหาสุขภาพ จึงควรอุดมไปด้วยสารอาหารที่หลากหลาย เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน น้ำ ซึ่งเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการเพื่อเพิ่มระดับพลังงาน ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย และส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค [embed-health-tool-bmi] อาหารคนป่วย สำคัญอย่างไร อาหารคนป่วย มีความสำคัญต่อร่างกายเพราะสารอาหารทำหน้าที่ให้พลังงานกับเซลล์และเนื้อเยื่อ ช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อ และทดแทนสารอาหารที่สูญเสียไป เมื่อร่างกายเจ็บป่วยจากการติดเชื้อหรือได้รับบาดเจ็บมักจะลดความอยากอาหารลง แต่ร่างกายยังคงต้องการสารอาหารเพิ่มเติม เนื่องจาก คนป่วยบางคนลำไส้อาจดูดซึมสารอาหารได้ไม่ดี หรือบางคนร่างกายใช้สารอาหารได้เร็วกกว่าปกติ เช่น ใช้ในการซ่อมแซมระบบภูมิคุ้มกัน หากคนป่วยรับประทานอาหารไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการได้ เพราะไขมันและกล้ามเนื้อในร่างกายจะถูกย่อยสลายกลายเป็นพลังงาน เพื่อทดแทนสารอาหารที่ขาดหายไป จึงอาจทำให้คนป่วยน้ำหนักลดลง ขาดสารอาหาร ระบบภูมิคุ้มกันแย่ลง อาจทำให้ไม่สามารถต่อสู้กับการติดเชื้อ นอกจากนี้ คนป่วยอาจสูญเสียน้ำปริมาณมากในระหว่างมีไข้หรือท้องเสีย อาหารคนป่วยที่มีคุณค่าสารอาหารครบถ้วนและน้ำดื่มที่เพียงพอจึงสำคัญต่อการฟื้นฟูร่างกายจากการเจ็บป่วย อาหารคนป่วย หากป่วยนานกว่า 2-3 วัน ผู้ป่วยควรได้รับสารอาหารที่หลากหลาย เพื่อช่วยฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันและป้องกันภาวะขาดสารอาหาร และควรแบ่งมื้ออาหารของผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ดังนี้ ให้อาหารอ่อนกับคนป่วยในปริมาณน้อยบ่อยครั้งตามต้องการ โดยเฉพาะหากผู้ป่วยไม่รู้สึกหิว เช่น ข้าวต้ม กล้วยบด หรือซุป ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากขึ้น ทุก 1-2 ชั่วโมง เช่น น้ำเปล่า น้ำผลไม้สด น้ำมะพร้าว […]


ข้อมูลโภชนาการ

น้ำมันรำข้าว ดีต่อสุขภาพอย่างไร

น้ำมันรำข้าว เป็นแหล่งไขมันไม่อิ่มตัวที่อุดมไปด้วยวิตามินอีและวิตามินเค อาจมีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลและปรับสมดุลน้ำตาลในเลือด ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคเบาหวานประเภท 2 นอกจากนี้ ยังอาจมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เช่น ต้านอนุมูลอิสระและการอักเสบ อาจช่วยต้านมะเร็ง ลดกลิ่นปาก การรับประทานน้ำมันรำข้าวทดแทนน้ำมันชนิดอื่นจึงอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพได้ ประโยชน์น้ำมันรำข้าว น้ำมันรำข้าวสกัดจากรำข้าวหรือแกลบของเมล็ดข้าว มีรสชาติเฉพาะที่เป็นเอกกลักษณ์ มีจุดเดือดสูงจึงดีต่อการปรุงอาหารที่ต้องใช้ความร้อนสูง น้ำมันรำข้าว 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 14 มิลลิกรัม ประกอบด้วยปริมาณ 120 แคลอรี่ และไขมัน 14 กรัม อุดมไปด้วยวิตามินอีและวิตามินเค เป็นแหล่งไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ที่อาจมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคเบาหวานประเภท 2 นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านอื่น ๆ ดังนี้ ลดคอเลสเตอรอล สำหรับผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูง ควรใช้น้ำมันรำข้าวปรุงอาหารทดแทนน้ำมันชนิดอื่น จากการศึกษา น้ำมันรำข้าวส่งผลให้ความเข้มข้นของไขมันเลว (LDL) และคอเลสเตอรอลรวมลดลง ซึ่งอาจช่วยป้องกันและควบคุมโรคหลอดเลือดหัวใจได้ จึงควรรับประทานน้ำมันรำข้าวประมาณ 4.8 กรัม/วัน เพื่อช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ปรับสมดุลน้ำตาลในเลือด น้ำมันรำข้าวอาจช่วยลดการดื้อต่ออินซูลินและปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิด 2 จากการศึกษา การผสมน้ำมันรำข้าว 80% และน้ำมันงา 20% อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารได้ เมื่อผ่านไป 4 […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

หิวบ่อยเกิดจากอะไร และวิธีลดความหิว

หิว เป็นการส่งสัญญาณทางสรีรวิทยาเมื่อร่างกายไม่ได้รับอาหารมาระยะเวลาหนึ่ง เพื่อรักษาระดับพลังงานให้สมดุล โดยมีฮอร์โมนสำคัญคือ ฮอร์โมนเกรลิน และฮอร์โมนเลปติน ที่ช่วยกระตุ้นความอยากอาหารและยับยั้งความหิว ในบางคนอาจมีอาการหิวบ่อยกว่าปกติซึ่งอาจเกิดจากภาวะสุขภาพ หรือการใช้ยาบางชนิด การรู้ถึงสาเหตุและเคล็ดลับลดความหิวอาจช่วยให้รับประทานอาหารได้น้อยลงและอิ่มนานขึ้น [embed-health-tool-”bmr”] หิว เกิดจากอะไร ความหิวเป็นสัญญาณของร่างกายที่ทำให้รู้ว่าร่างกายกำลังต้องการอาหารและพลังงาน มักเกี่ยวข้องกับสมอง ระบบประสาท ตับอ่อน กระเพาะอาหาร และส่วนอื่น ๆ ของลำไส้ โดยความหิวจะเกิดขึ้นจาก 2 ฮอร์โมนหลัก คือ ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร และฮอร์โมนเลปติน (Leptin) ช่วยยับยั้งความหิว การทำงานของฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิด จะเกิดขึ้นอย่างสอดคล้องกัน เมื่อร่างกายไม่ได้รับอาหารมาระยะหนึ่ง กระเพาะอาหารและระบบทางเดินอาหารจะผลิตฮอร์โมนเกรลิน  (Ghrelin) ช่วยกระตุ้นความอยากอาหารขึ้น จนบางครั้งอาจเกิดเสียงท้องร้องที่เกิดจากก๊าซในลำไส้หรือการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นสัญญาณว่ามีน้ำตาลในเลือดต่ำ และร่างกายต้องการอาหาร เมื่อได้ร่างกายได้รับอาหารอย่างเพียงพอเซลล์ไขมันจะหลั่งฮอร์โมนเลปตินออกมาเพื่อส่งสัญญาณให้สมองและยับยั้งความหิว ความหิวกับความอยากอาหาร ต่างกันอย่างไร ความหิวเป็นเรื่องปกติทางสรีรวิทยา ร่างกายจะส่งสัญญาณความหิวเพื่อรักษาระดับพลังงานให้สมดุล แต่ความอยากอาหารเป็นเพียงความต้องการที่จะรับประทานอาหารเท่านั้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากความเครียด ความโกรธ ความเศร้า หรือได้กลิ่นหอมของอาหาร นอกจากนี้ ความอยากอาหารอาจเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากความเคยชิน เช่น รู้สึกอยากรับประทานอาหารในเวลาเดิมทุกวันถึงแม้ว่าจะไม่รู้สึกหิว ทำไมถึงหิวบ่อย อาการหิวบ่อยหรือหิวตลอดเวลาอาจเกิดขึ้นจากภาวะสุขภาพ การตั้งครรภ์ หรือการใช้ยาบางชนิด ที่อาจส่งผลต่อการหลังฮอร์โมนความหิว ดังนี้ การควบคุมอาหารมากเกินไป หากลดน้ำหนักอย่างผิดวิธีหรือควบคุมอาหารมากเกินไป […]


ข้อมูลโภชนาการ

ประโยชน์ของอะโวคาโด และข้อควรระวังในการบริโภค

อะโวคาโด เป็นผลไม้ที่มีเนื้อคล้ายกับเนยและมีเมล็ดอยู่ตรงกลางผล อุดมไปด้วย ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวที่ดีต่อสุขภาพ และสารอาหาร เช่น วิตามิน แร่ธาตุ ประโยชน์ของอะโวคาโด อาจช่วยปรับความสมดุลของร่างกาย ลดระดับคอเลสเตอรอลที่เพิ่มความเสี่ยงในการก่อให้เกิดโรคหัวใจ ปัญหาทางสายตา เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง แต่สำหรับผู้ที่แพ้ผลไม้ชนิดนี้อาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงและรับประทานผลไม้ชนิดอื่นทดแทน โดยขอคำแนะนำจากคุณหมอถึงการรับประทานผลไม้เพื่อบำรุงสุขภาพอย่างเหมาะสม สารอาหารในอะโวคาโด สารอาหารในอะโวคาโด มีดังนี้ โพแทสเซียม โพแทสเซียม เป็นแร่ธาตุกลุ่มอิเล็กโทรไลต์ (Electrolytes) ที่สำคัญต่อร่างกาย ซึ่งมีส่วนช่วยควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ ลดความเสี่ยงการเกิดความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคข้ออักเสบ ปรับปรุงการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ หากร่างกายมีปริมาณมีระดับโพแทสเซียมต่ำ อาจก่อให้เกิดอาการท้องผูก ใจสั่น กล้ามเนื้ออ่อนแรงและกระตุก เหนื่อยล้าง่าย  วิตามินบี 6 วิตามินบี 6 หรือที่เรียกว่า ไพริดอกซิน (Pyridoxine) เป็นวิตามินรูปแบบโคเอนไซม์ที่ช่วยสลายโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน อีกทั้งยังเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อระบบประสาทและสมอง ช่วยปรับปรุงระบบการไหลเวียนดเลือดให้ดีขึ้น สนับสนุนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง และช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเนื้องอก หากร่างกายขาดวิตามินบี 6 อาจส่งผลให้เหนื่อยง่าย เสี่ยงต่อภาวะโลหิตจาง ปัญหาสุขภาพผิว ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ การทำงานของลำไส้ผิดปกติ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว  เป็นไขมันที่อยู่ในอาหารที่สามารถพบได้มากในอะโวคาโดมีส่วนช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลที่ดีในเลือด ลดความเสี่ยงของอาการหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งต่างจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ เช่น เนื้อแดง อาหารทอด เนื่องจาก […]


ข้อมูลโภชนาการ

โปรตีน ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

โปรตีน เป็นสารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำนวนมากที่จำเป็นต่อร่างกาย โปรตีนมีส่วนช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมเนื้อเยื่อ เซลล์ และอวัยวะภายใน รวมถึงบำรุงกระดูก เล็บ ผิวหนัง เส้นผม ส่วนใหญ่โปรตีนอยู่ในอาหารที่รับประทานเป็นประจำทุกวัน เช่น เนื้อสัตว์ ธัญพืช แต่ถึงแม้โปรตีนจะมี ประโยชน์ แต่หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและมะเร็งลำไส้ได้ โปรตีนคืออะไร โปรตีน คือ สารอาหารสำคัญที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำนวนมาก ส่วนใหญ่อยู่ในธัญพืช ถั่ว ไข่ ปลา ไก่ คอตเตจชีส เห็ด เป็นต้น เมื่อโปรตีนจากอาหารที่รับประทานถูกย่อยสลาย แต่กรดอะมิโนอาจคงเหลืออยู่ในร่างกาย เพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ปรับปรุงการทำงานของตับ ซึ่งกรดอะมิโนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีด้วยกันทั้งหมด 20 ชนิด แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กรดอะมิโนจำเป็น คือ กรดอะมิโนจากอาหารที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้ ประกอบด้วย 9 ชนิด ได้แก่ วาลีน (Valine) ฮิสทิดีน (Histidine) ฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) ไอโซลิวซีน (Isoleucine) ไลซีน (Lysine) ลิวซีน […]


โรคอ้วน

คนอ้วน มีสาเหตุมาจากอะไร

คนอ้วน หรือผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน สามารถคำนวณได้จากค่าดัชนีมวลกาย ด้วยการนำน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารกับ ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลัง 2 หากผลลัพธ์ออกมาสูงกว่า 30.0 ก็อาจเป็นไปได้ว่ากำลังเสี่ยงเป็นโรคอ้วน หรือวัดจากรอบเอวซึ่งหากผู้หญิงมีรอบเอวมากกว่า 35 นิ้ว และผู้ชายมีรอบเอวมากกว่า 40 นิ้ว ก็อาจมีความหมายว่าเสี่ยงเป็นโรคอ้วนได้เช่นเดียวกัน อีกทั้งอาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็งบางชนิด [embed-health-tool-”bmi”] สาเหตุที่ทำให้คนอ้วน  สาเหตุที่ทำให้ คนอ้วน ส่วนใหญ่เกิดจากร่างกายสะสมแคลอรีจากอาหารที่รับประทานมากเกินไปและไม่ได้เผาผลาญพลังงานส่วนเกินออก ด้วยการออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ ส่งผลให้แคลอรีในร่างกายแปรเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมอยู่ตามเซลล์เนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ปริมาณมาก ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น และอาจหรือเสี่ยงเป็นโรคอ้วนได้ในอนาคต กรรมพันธุ์ก็อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วน บางครอบครัวอาจมีการถ่ายทอดยีนเดี่ยวที่อาจทำให้เกิดโรคอ้วนได้ เรียกว่า โรคอ้วนที่เกิดจากยีนเดี่ยว (Monogenic obesity) ซึ่งอาจทำให้ลดความอ้วนได้ยาก โรคเรื้อรัง เช่น กลุ่มอาการรังไข่มีถุงน้ำหลายใบ กลุ่มอาการคุชชิ่ง (Cushing) กลุ่มอาการพราเดอร์-วิลลี่ (Prader-Willi Syndrome) โรคข้ออักเสบ รวมถึงยาบางชนิดอย่างสเตียรอยด์ ยากล่อมประสาท ยาต้านอาการชัก ยารักษาโรคเบาหวาน ยาเบต้าบล็อกเกอร์ เป็นต้น ก็อาจส่งผลข้างเคียงทำให้น้ำหนักเพิ่มหรืออ้วนขึ้นได้เช่นกัน เพราะโรคหรือยาเหล่านี้อาจทำให้ร่างกายเสียความสมดุลของพลังงาน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน