การดูแลตัวเองหลังคลอด

แม้ว่าจะผ่านช่วงเวลาแห่งการคลอดไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณแม่จะควรหยุดดูแลตัวเอง เพราะ การดูแลตัวเองหลังคลอด ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กับการดูแลขณะตั้งครรภ์เลยทีเดียว เรียนรู้ข้อมูลสุขภาพดี ๆ เกี่ยวกับ การดูแลตัวเองหลังคลอด สำหรับคุณแม่ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

การดูแลตัวเองหลังคลอด

‘ผมร่วงหลังคลอด’ ปัญหากวนใจคุณแม่ แต่รับมือได้!

นอกจากจะต้องเหนื่อยกับการเลี้ยงลูกน้อยที่เพิ่งคลอดแล้ว เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ คนโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่กำลังหนักใจกับปัญหา ‘ผมร่วงหลังคลอด’ เพราะแค่ใช้มือสางผมเบาๆ ผมก็ร่วงหลุดออกมาเต็มฝ่ามือกันเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ต้องเผชิญกับปัญหาผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ แล้วอาการดังกล่าวจะหายไปหรือไม่ และจะรับมืออย่างไรดี? ตามมาค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กันในบทความนี้ได้เลย   ผมร่วงหลังคลอด เกิดจากอะไร?  ปกติแล้วคนเราจะมีเส้นผมทั้งศีรษะประมาณ 80,000 - 120,000 เส้น และผมจะหลุดร่วงประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน แต่ในช่วงหลังคลอดนั้นคุณแม่อาจต้องเผชิญกับภาวะผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน โดยสาเหตุของอาการผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผมของคนเราจะมีการหลุดร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มจำนวนขึ้นส่งผลให้ผมร่วงลดลง อย่างไรก็ตาม หลังคลอดลูกแล้วระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะค่อยๆ ลดลงเพื่อกลับเข้าสู่ระดับปกติ ส่งผลให้เส้นผมที่หยุดร่วงไปหลายเดือนก่อนหน้านี้กลับมาร่วงอีกครั้ง เป็นเหตุผลว่าทำไมจำนวนของเส้นผมที่ร่วงหลังคลอดจึงดูเยอะผิดปกตินั่นเอง   อาการผมร่วงหลังคลอด มักเกิดขึ้นตอนไหน?  โดยทั่วไปแล้วคุณแม่จะเริ่มสังเกตุอาการผมร่วงช่วงประมาณ 3 เดือนหลังคลอด ซึ่งอาจพบว่ามีผมหลุดร่วงออกมาจำนวนมากตอนหวีผมหรือตอนสระผม อย่างไรก็ตาม อาการผมร่วงหลังคลอดนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยอาการจะค่อยๆ ทุเลาลงและจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายในระยะเวลา 1 ปีหลังคลอด ดังนั้น คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกและเกิดอาการผมร่วงไม่ต้องวิตกกังวล ทั้งนี้ หากพบว่าอาการผมร่วงยังไม่หายไปหลังจากคลอดลูกมานานแล้วกว่า 1 ปี ควรนัดหมายปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาการผมร่วงที่นานติดต่อกันอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่างเช่น การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ภาวะขาดธาตุเหล็ก หรือโรคทางต่อมไทรอยด์ เป็นต้น วิธีรับมือกับอาการผมร่วงหลังคลอด แม้ว่าอาการผมร่วงหลังคลอดจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปได้เอง แต่หากคุณแม่รู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจ สามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ด้วยวิธีต่อไปนี้  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

สำรวจ การดูแลตัวเองหลังคลอด

การดูแลตัวเองหลังคลอด

การดูแล แผลผ่าคลอด ให้ปลอดภัย ไร้แผลเป็น

การผ่าคลอด คือการผ่าตัดบริเวณหน้าท้องส่วนล่างเพื่อนำทารกออกมาจากท้องคุณแม่ ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งหากคุณแม่ไม่ต้องการหรือไม่สามารถคลอดบุตรแบบธรรมชาติได้  หลังจากผ่าคลอดเสร็จสิ้น คุณแม่ควรดูแล แผลผ่าคลอด ตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด ด้วยการทำความสะอาดแผลอย่างถูกวิธี และไม่ควรเคลื่อนไหวร่างกายมากเพราะอาจส่งผลให้แผลเปิด เสี่ยงการติดเชื้อได้ง่าย [embed-health-tool-due-date] ลักษณะของแผลผ่าคลอด แผลผ่าคลอด มีลักษณะเป็นรอยแผลยาวแนวนอนบริเวณหน้าท้องส่วนล่าง หรือแนวตั้งจากสะดือถึงหน้าท้องส่วนล่าง ซึ่งอาจมีความยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร สาเหตุที่คุณหมอจำเป็นต้องกรีดแผลยาวเพื่อจะได้นำทารกออกจากท้องคุณแม่ได้ง่ายขึ้น แผลผ่าคลอดอาจใช้เวลาประมาณ 6-10 สัปดาห์กว่าจะหาย หรือในบางกรณีอาจนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับว่าดูแลและทำความสะอาดแผลได้ถูกต้องตามคำแนะนำของคุณหมอหรือไม่ แผลผ่าคลอดถือเป็นแผลผ่าตัดขนาดใหญ่ที่อาจเสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย คุณแม่จึงควรสังเกตอาการผิดปกติเป็นประจำ หากแผลแย่ลงหรือมีอาการอื่น ๆ ควรรีบเข้าพบคุณหมอทันที ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าคลอด ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังผ่าคลอด อาจมีดังนี้ เลือดออกจากช่องคลอด เป็นภาวะปกติที่อาจมีเลือดออกบริเวณมดลูก ควรใช้ผ้าอนามัยเพื่อป้องกันเลือดซึมเปื้อนเสื้อผ้า และควรหลีกเลี่ยงการใส่ผ้าอนามัยแบบสอดในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังคลอด เพราะอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ กรณีที่มีเลือดออกรุนแรงอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อทำให้เลือดหยุดไหล การติดเชื้อ การติดเชื้อทั่วไปอาจส่งผลให้คุณแม่เกิดอาการเจ็บปวด แผลบวม มีรอยแดง และมีหนองไหล แต่หากเกิดการติดเชื้อในเยื่อบุมดลูก อาจมีไข้ขึ้น ปวดท้อง มีตกขาวและเลือดออกทางช่องคลอด แต่ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อแบบใดก็ควรรับการตรวจจากคุณหมอทันที เพราะอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงขึ้นได้ อาการปวด คุณแม่อาจรู้สึกปวดบริเวณแผลผ่าคลอด โดยเฉพาะเมื่อแผลได้รับแรงสั่นสะเทือนจากการหัวเราะ การไอ เป็นต้น ลิ่มเลือดอุดตัน เป็นอาการที่พบได้ยาก แต่อาจส่งผลให้คุณแม่บางคนมีลิ่มเลือดอุดตันบริเวณขาจนทำให้ขาปวดบวม หากปล่อยไว้นาน […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

ออกกำลังกายหลังคลอด กับท่าแนะนำเพื่อคุณแม่ฟิตแอนด์เฟิร์ม

ออกกำลังกายหลังคลอด จะช่วยให้คุณแม่กลับมามีรูปร่างที่ฟิตแอนด์เฟิร์มเหมือนเดิม แต่ท่าทางการออกกำลังกายหลังคลอดควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ และภาวะสุขภาพของตัวคุณแม่เองเป็นสำคัญ ควรเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสม รวมทั้งระยะเวลาในการออกกำลังกาย ทั้งนี้ หากไม่มั่นใจว่าการออกกำลังกายหลังคลอดนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณแม่หรือไม่ อาจปรึกษาคุณหมอเพื่อความปลอดภัย [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ออกกำลังกายหลังคลอด ดีอย่างไร การออกกำลังกายหลังคลอดมีประโยชน์หลายประการสำหรับร่างกายคุณแม่ รวมไปถึงการเสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดีด้วย แต่ควรออกกำลังกายหลังคลอดลูกแล้วประมาณ 6 สัปดาห์สำหรับการคลอดธรรมชาติ แต่หากคุณแม่ผ่าคลอด คลอดยาก หรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอด อาจจะต้องรอเวลานานกว่านั้น โดยข้อดีของการออกกำลังกายหลังคลอด ได้แก่ ลดน้ำหนัก กำจัดสัดส่วนที่เกิน โดยไม่ต้องอดอาหาร ปรับสมรรถภาพหัวใจ และหลอดเลือด ฟื้นฟูความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ปรับสภาพกล้ามเนื้อหน้าท้อง ป้องกันอาการปวดหลัง ปรับอารมณ์ของคุณแม่ให้คลายเครียด และช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ทำให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น ประเภทของการออกกำลังกายหลังคลอด การออกกำลังกายหลังคลอดนั้นสามารถเลือกชนิดของการออกกำลังกายได้หลากหลายประเภทตามความชอบและความถนัด แต่ควรคำนึงถึงสภาพร่างกาย ภาวะสุขภาพของตนเองเป็นสำคัญ หากไม่มั่นใจควรขอคำแนะนำจากคุณหมอ ประเภทของการออกกำลังกายหลังคลอดที่ได้รับความนิยม ได้แก่ เดินเร็ว เป็นการออกกำลังกายง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก แต่สิ่งที่ควรมีคือการมีรองเท้าสำหรับเดินหรือวิ่งโดยเฉพาะ ที่สวมใส่สบาย ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป ว่ายน้ำ การว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายที่ดี ส่งผลกระทบน้อย และดีสำหรับคุณแม่หลังคลอดด้วย ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและได้ออกกำลังกายทุกส่วนของร่างกาย แอโรบิคในน้ำ เหมือนการเล่นแอโรบิคทั่วไป แต่ลงไปเล่นในน้ำแทน อาจต้องหาคอร์สแอโรบิคในน้ำที่มีคุณครูผู้ฝึกซ้อมคอยแนะนำ เพื่อจะได้ทำท่าทางที่ถูกต้อง พิลาทิส […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

หน้าท้องแตกลายหลังคลอด รับมืออย่างไร ให้รอยจางลง

หน้าท้องแตกลายหลังคลอด เป็นปัญหาสุขภาพผิวหนังที่เกิดจากการขยายตัวของหน้าท้องอย่างรวดเร็วเนื่องจากขนาดครรภ์ที่ใหญ่ขึ้น เมื่อผิวหนังมีการยืดออกอย่างรวดเร็วจึงทำให้ชั้นอีลาสตินและคอลาเจนฉีกขาด จนเกิดเป็นรอยแตกลายเห็นบริเวณหน้าท้อง อาการหน้าท้องแตกลายมักค่อย ๆ จางลงไปเองหลังคลอดแต่มักไม่หายไปไปอย่างถาวร แต่ทั้งนี้ ระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอดอาจเลือกบำรุงผิวเพื่อช่วยบรรเทาอาการหน้าท้องแตกลาย [embed-health-tool-due-date] หน้าท้องแตกลายหลังคลอด เป็นอย่างไร รอยแตกลาย คือ ริ้วรอยที่จัดอยู่ในกลุ่มของรอยแผลเป็นชนิดหนึ่ง มีสีตั้งแต่สีดำ สีน้ำตาล สีชมพู สีน้ำเงิน หรือสีม่วง รอยแตกลายเหล่านี้เกิดจากสาเหตุหลัก ๆ คือการยืดตัวของผิวหนังที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้ชั้นอีลาสตินและคอลลาเจนฉีกขาด เกิดเป็นรอยแผลเป็น หรือที่เรียกกันว่ารอยแตกลายนั่นเอง หากเกิดที่หน้าท้องก็จะเรียกว่า หน้าท้องแตกลาย อย่างไรก็ตาม รอยแตกลายนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงหน้าท้องเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดในบริเวณเหล่านี้ได้ด้วย หน้าอก แขน ก้นสะโพก ต้นขา หลังส่วนล่าง ด้วยเหตุนี้ หน้าท้องแตกลาย จึงไม่เพียงพบในผู้หญิงตั้งครรภ์เท่านั้น แต่ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ก็สามารถพบกับการแตกลายของหน้าท้องหรือบริเวณต่าง ๆ ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของขนาดครรภ์มีส่วนทำให้ผิวหนังยืดออก ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์จึงมีแนวโน้มที่จะมีหน้าท้องแตกลายมากกว่าคนทั่วไป หน้าท้องแตกลายหลังคลอด หายเองได้หรือไม่ ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า รอยแตกลายถือเป็นรอยแผลเป็นชนิดหนึ่ง และรอยแผลเป็นไม่สามารถที่จะหายไปเองได้ อาจจะมีการจางลงไปบาง แต่ไม่หายขาดอย่างแน่นอน รอยแตกลายก็เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ด้วยเทคโนโลยีในยุคสมัยนี้ ทำให้สามารถลบรอยแตกลายที่หน้าท้องหรือตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ด้วยการเลเซอร์ แต่วิธีการดังกล่าวก็มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และอาจมีความเสี่ยงอื่น […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

ประโยชน์ของการเล่นโยคะหลังผ่าคลอด

หลังการผ่าคลอด คุณแม่ควรพักฟื้นและได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังควรดูแลตัวเองด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และออกกำลังกายเบา ๆ เช่น โยคะหลังผ่าคลอด เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ขณะออกกำลังกายควรระมัดระวัง ไม่ออกกำลังกายหนักเกินไป และควรเริ่มออกกำลังกายเมื่อคุณหมออนุญาตแล้วเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพตามมาในภายหลัง [embed-health-tool-due-date] หลังผ่าคลอด ออกกำลังกายได้หรือไม่ หลังจากผ่าคลอด คุณแม่หลายท่านอาจสงสัยว่าจะสามารถกลับมาเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายได้อีกไหม เนื่องจากสภาพร่างกายอาจจะไม่เหมือนช่วงก่อนที่จะตั้งครรภ์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หลังจากคลอด คุณแม่สามารถออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมเบา ๆ ได้ เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นตัวได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณแม่ที่ต้องผ่าคลอด อาจจะยังไม่สามารถออกกำลังกายได้ในทันที จำเป็นจะต้องรอให้แผลผ่าตัดสมานตัวดีก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด  โยคะหลังผ่าคลอด อันตรายหรือไม่ คุณแม่หลายท่านอาจรู้สึกว่าโยคะเป็นกิจกรรมที่ไม่ต้องออกแรงหรือเคลื่อนไหวมากนัก หลังคลอดคงจะสามารถกลับมาทำโยคะได้เลยทันที แต่ในความเป็นจริงแล้ว โยคะเป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออยู่ไม่น้อย ดังนั้น สภาพกล้ามเนื้อของคุณแม่หลังคลอดแต่ละท่านอาจจะมีการฟื้นตัวไม่เท่ากัน ฉะนั้น ก่อนที่คุณแม่เพิ่งคลอดจะเล่นโยคะ ก็ต้องคำนึงถึงระดับการฟื้นตัวของสภาพร่างกายหลังคลอดและคำแนะนำของคุณหมอด้วย โดยเฉพาะคุณแม่ที่ผ่าคลอด อาจจะยังไม่สามารถทำโยคะได้ทันที เนื่องจากแผลผ่าตัดยังไม่หายดี ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการทำโยคะหลังคลอด ควรอยู่ที่ระหว่าง 6-8 สัปดาห์ หรือตามคำแนะนำของคุณหมอ โยคะหลังผ่าคลอด ดีอย่างไร การทำโยคะหลังผ่าคลอด มีส่วนช่วยฟื้นฟูร่างกายคุณแม่หลังคลอดหลายประการ ดังนี้ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หลังผ่าคลอด ร่างกายของคุณแม่มักจะมีอาการปวดเมื่อยตามบริเวณคอ บ่า ไหล่ หรือหลังส่วนล่าง การโหมทำกิจกรรมหนัก ๆ จึงเสี่ยงทำให้อาการปวดเมื่อยดังกล่าวแย่ลง แต่แน่นอนว่าไม่ใช่กับการทำโยคะ เพราะโยคะเป็นกิจกรรมที่เน้นการยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อส่วนต่าง […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

ผมร่วงหลังคลอด เกิดจาก อะไร และวิธีดูแลผมหลังคลอด

อีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพที่พบหลังคลอดบุตร คือ ภาวะ ผมร่วงหลังคลอด เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกาย ทั้งนี้ อาการผมร่วงจะเกิดขึ้นประมาณ 2-3 เดือนเท่านั้นหลังคลอดบุตรแล้ว และไม่ได้เป็นสัญญาณอันตรายต่อปัญหาสุขภาพใด ๆ อย่างไรก็ตาม หลังคลอดบุตร คุณแม่สามารถดูแลตนเองเพื่อให้ผมมีสุขภาพดีและลดโอกาสผมร่วงหลังคลอดซึ่งอาจทำให้รู้สึกกังวลใจได้ [embed-health-tool-due-date] ผมร่วงหลังคลอด เกิดจาก อะไร ผมร่วงหลังคลอด เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ หลังคลอดบุตรแล้ว เมื่อระดับฮอร์โมนลดลง อาการผมร่วงจะหายไป และร่างกายจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ทั้งนี้ ไม่มีวิตามินหรืออาหารเสริมตัวใดที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ คุณแม่ทำได้เพียงอดทนและรอเวลาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากภายในระยะเวลา 1 ปี คุณแม่ยังมีอาการผมร่วงอยู่ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อหารับคำแนะนำหาแนวทางการแก้ไข  เคล็ดลับการดูแล อาการผมร่วงหลังคลอด อาการผมร่วงหลังคลอด เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่หากคุณแม่มีความกังวลใจ สามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ด้วยเคล็ดลับดังต่อไปนี้  เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เน้นรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน เพื่อช่วยเสริมสร้างกระบวนการเจริญเติบโตของเส้นผม ใช้หวีซี่ห่าง เพื่อลดแรงเสียดทานขณะหวีผม ช่วยแก้ปัญหาผมพันกัน ลดปัญหาผมขาดหลุดร่วง ใช้ผ้าคาดผมหรือปิ่นปักผมแทนการใช้ยางรัดผม และควรหลีกเลี่ยงการดึงผมเป็นหางม้ารวบตึง หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนกับเส้นผม เช่น ใช้ไดร์เป่าผม […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

อาหารบำรุงน้ำนม มีอะไรบ้าง

อาหารบำรุงน้ำนม หมายถึง อาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงระยะให้นมบุตร ที่จะช่วยเสริมสร้างให้น้ำนมแม่มีคุณค่าสารอาหารเพียงพอต่อพัฒนาการของทารก  รวมทั้งช่วยเสริมสร้างสุขภาพคุณแม่ให้แข็งแรง ดังนั้น คุณแม่ควรศึกษาถึงประโยชน์ของอาหารบำรุงน้ำนม รวมทั้งรายชื่อของอาหารบำรุงน้ำนมว่ามีอะไรบ้าง เพื่อจะได้เลือกรับประทานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] โภชนาการสำหรับคุณแม่ให้นมลูก หญิงตั้งครรภ์และหญิงระยะให้นมบุตร ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบถ้วนและหลากหลาย เพื่อเสริมให้น้ำนมมีคุณภาพ และมีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกน้อย รวมทั้งเพื่อให้สุขภาพของคุณแม่แข็งแรง  สารอาหารสองกลุ่มที่จัดเป็นสารอาหารบำรุงน้ำนมควรรับประทานมีดังนี้ สารอาหารกลุ่มที่หนึ่ง สารอาหารกลุ่มนี้เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อลูกน้อย โดยสารอาหารในกลุ่มนี้จะถูกส่งผ่านไปยังน้ำนม ช่วยให้น้ำนมมีความเข้มข้นขึ้น แต่ถ้าหากคุณแม่ได้รับสารอาหารเหล่านี้ไม่เพียงพอ เด็กก็จะไม่ได้รับสารอาหารเหล่านี้ผ่านทางน้ำนม ได้แก่ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 โคลีน (Choline) วิตามินเอ วิตามินดี ซีลีเนียม ไอโอดีน สารอาหารกลุ่มที่สอง สารอาหารในกลุ่มนี้ไม่ได้มีส่วนช่วยเพิ่มความเข้มข้นของน้ำนมแม่เช่นเดียวกับสารอาหารกลุ่มที่หนึ่ง แต่สารอาหารในกลุ่มที่สองนี้จะเน้นเสริมสร้างสุขภาพของคุณแม่ให้แข็งแรง ได้แก่ โฟเลต แคลเซียม ธาตุเหล็ก ทองแดง สังกะสี อาหารบำรุงน้ำนม มีอะไรบ้าง แม่ให้นมลูก ควรเน้นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อน้ำนมและสุขภาพของตนเอง ดังนี้ ธัญพืชไม่ขัดสี ธัญพืชไม่ขัดสีแบบเต็มเมล็ด หรือโฮลเกรน (Whole Grains) เป็นอาหารที่มีส่วนช่วยในการกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ในการผลิตน้ำนม การรับประทานธัญพืชที่ไม่ขัดสีเป็นประจำ สามารถช่วยในการผลิตน้ำนมได้ นอกจากนั้น ยังมีไฟเบอร์ที่ช่วยให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้น ปลา ปลา เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญที่มีประโยชน์หลายชนิด แต่สำหรับคุณแม่ที่อยู่ระหว่างการให้นมลูก ควรเน้นรับประทานปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

หลังผ่าคลอด ฟื้นฟูร่างกายให้เร็วขึ้นได้ด้วยวิธีใดบ้าง

หลังผ่าคลอด คือช่วงเวลาหลังการผ่าตัดเพื่อนำทารกออกมาจากครรภ์มารดา อาจเป็นการผ่าคลอดแบบปกติ หรือการผ่าคลอดก่อนกำหนด รวมทั้งการผ่าคลอดในผู้ที่เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์เพื่อช่วยชีวิตทารก หรือตัวคุณแม่ไว้ให้ปลอดภัยที่สุด เมื่อผ่าคลอดเสร็จแล้ว คุณแม่อาจต้องอยู่โรงพยาบาลประมาณ 3-4 วันเพื่อพักฟื้นร่างกาย หากต้องการผ่าคลอด ควรหาข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อการฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรงโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-due-date] หลังผ่าคลอด มีวิธีดูแลร่างกายอย่างไรบ้าง หลังผ่าคลอด คุณแม่อาจรู้สึกอ่อนเพลียและเจ็บแผลผ่าตัด ควรพยายามพักผ่อนและค่อย ๆ ดูแลตนเองตามคำแนะนำของคุณหมอเพื่อฟื้นฟูร่างกายและแผลผ่าตัดด้วยวิธีต่อไปนี้ นอนหลับให้เพียงพอ การผ่าคลอดเหมือนกับการผ่าตัดอื่น ๆ ที่ร่างกายต้องการเวลาในการฟื้นฟูหลังผ่าตัด โดยปกติ หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน คุณแม่มักพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลเป็นเวลาประมาณ 3-4 วัน หรือตามที่คุณหมอเห็นสมควร หลังจากนั้น คุณแม่ที่ผ่าคลอดควรพักฟื้นร่างกายอย่างน้อย 6 สัปดาห์ขึ้นไป และเพื่อให้เกิดการเยียวยาร่างกายอย่างเต็มที่ จึงควรนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอในช่วงเวลานี้ อย่างไรก็ตาม การพักผ่อนหลังคลอดสำหรับคุณแม่ อาจทำได้ยาก เนื่องจากต้องดูแลทารก ดังนั้น คุณแม่จึงควรนอนหลับพักผ่อนให้มากที่สุดในเวลาที่สามารถนอนได้ เช่น ตอนที่ลูกหลับ นอกจากนี้ อาจขอความช่วยเหลือจากคนใกล้ชิดหรือจ้างแม่บ้านในการทำงานบ้าน และงานอื่น ๆ เพื่อให้มีเวลาพักผ่อนมากขึ้น ก็จะส่งผลให้ร่างกายฟื้นฟูตัวเองได้เร็วขึ้นหลังผ่าคลอด ระมัดระวังในการทำกิจกรรมต่าง ๆ แม่หลังผ่าคลอดควรระมัดระวังและดูแลตนเองมากเป็นพิเศษในช่วงแรก ๆ ควรหลีกเลี่ยงการเดินขึ้น-ลงบันได เท่าที่จะทำได้ และไม่ควรยกของหนัก เพราะโดยปกติแล้วอาจใช้เวลาถึง 8 สัปดาห์กว่าจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติ และคุณแม่ที่เพิ่งผ่านการผ่าคลอด ควรปรึกษาคุณหมอ กรณีที่ต้องการออกกำลังกาย […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

ร่างกายหลังคลอด คุณแม่มือใหม่ดูแลตนเองอย่างไรดี

ร่างกายหลังคลอด หมายถึง สุขภาพด้านร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากตั้งครรภ์และคลอดทารก ซึ่งในเบื้องต้นร่างกายจะค่อยๆ กลับคืนสู่ภาวะก่อนตั้งครรภ์ ทั้งระดับฮอร์โมนต่าง ๆ และรูปร่างภายนอก สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจด้วย คุณแม่มือใหม่ควรรู้จักวิธีรับมือกับร่างกายหลังคลอดเพื่อจะได้เข้าใจสภาวะดังกล่าวและมีความสุขมากขึ้น เข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงของ ร่างกายหลังคลอด  หลังคลอดทารก ร่างกายจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงกลับสู่ภาวะก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งทำให้เกิดอาการต่างๆ ดังนี้ บาดเจ็บกล้ามเนื้อ เป็นอาการที่พบโดยทั่วไปภายหลังการคลอดบุตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณแขน ต้นคอ และกราม ภาวะเลือดออกหรือมีของเหลวออกมาทางช่องคลอด อาจมีอาการตั้งแต่ 2 ถึง 4 สัปดาห์ และอาการจะค่อย ๆ หายไปภายใน 2 เดือน มดลูกหดตัว อาจใช้เวลาประมาณ 8 สัปดาห์ที่มดลูกจะกลับเข้าสู่สภาวะเดิมก่อนการคลอด อาการเจ็บในช่องคลอด คุณแม่หลังคลอดอาจรู้สึกระคายเคือง ชา หรือเจ็บในช่องคลอด หรือหากผ่าคลอด ฝีเย็บอาจเกิดการปริแตกได้ หรือหากมีการตัดขยายปากช่องคลอด อาจมีอาการเจ็บปวดรุนแรงได้ในบางขณะที่เคลื่อนไหวร่างกาย เจ็บบริเวณท้องน้อย ในกรณีที่ผ่าท้องคลอด อาจมีอาการเจ็บปวดบริเวณแผล โดยแพทย์อาจจ่ายยาบางชนิดเพื่อบรรเทาอาการเหล่านี้ และอาจเจ็บนานประมาณ 1-2 สัปดาห์ เต้านมคัด เต้านมคัดเป็นอาการที่พบได้เป็นปกติในหญิงที่ให้นมบุตร เนื่องจากเต้านมจะเต็มไปด้วยน้ำนม 3-4 วันหลังการคลอดบุตร ซึ่งเป็นกระบวนการตามธรรมชาติ สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการประคบน้ำแข็ง หรือประคบร้อนบริเวณเต้านม หรือจะอาบน้ำอุ่นก็ได้เช่นกัน น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น มักเกิดขึ้นในผู้หญิงหลายคน […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

ผมร่วงหลังคลอด สาเหตุและวิธีดูแลตัวเอง

ผมร่วงหลังคลอด อาจจะไม่ได้เป็นเพราะความเครียดจากการมีลูก แต่อาจมีสาเหตุมาจากการที่ฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น เอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน ออกซิโทซิน โปรแลคติน ที่เพิ่มสูงขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะกลับเข้าสู่ระดับปกติภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด ส่วนปริมาณของเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นก็อาจลดลงอย่างรวดเร็ว และกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 2-3 สัปดาห์หลังคลอด การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนหลังคลอด การตั้งครรภ์อาจทำให้ฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น เอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน ออกซิโทซิน โปรแลคติน เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงปริมาณของเลือดก็อาจเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปกติประมาณ 50% แต่ฮอร์โมนต่าง ๆ อาจลดระดับลงอย่างรวดเร็ว โดยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะกลับเข้าสู่ระดับปกติภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด ส่วนฮอร์โมนโปรแลคตินอาจจะยังสูงอยู่หากยังให้ลูกกินนมแม่ นอกจากนี้ ปริมาณของเลือดก็อาจจะค่อย ๆ ลดลง และกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 2-3 สัปดาห์หลังคลอด ฮอร์โมนส่งผลกระทบต่อเส้นผมอย่างไร เมื่อระดับฮอร์โมนลดลงอย่างรวดเร็วหลังคลอดลูก ก็อาจทำให้เกิดอาการผมร่วงจำนวนมาก ซึ่งเทียบไม่ได้กับอาการผมร่วงในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากอาการผมร่วงหลังคลอดนั้นจะเกิดขึ้นหลังคลอดวันไหนก็ได้เพียงครั้งเดียว แต่ในบางครั้งก็อาจเกิดแบบต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยผมจะร่วงหนักมากช่วงประมาณ 4 เดือนแรก ฉะนั้น หากลูกน้อยอายุ 2-3 เดือนแล้ว […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

ลดหน้าท้องหลังคลอด อย่างไรให้ปลอดภัย

ลดหน้าท้องหลังคลอด มักเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกในการดูแลตัวเองนอกเหนือไปจากการดูแลลูกรักอย่างใกล้ชิด แต่ด้วยภารกิจต่าง ๆ อาจทำให้คุณแม่ละเลยหรือไม่มีเวลาที่จะดูตนเองเพื่อลดหน้าท้องหลังคลอดได้ จริง ๆ แล้ว มีหลากวิธีที่จะช่วยให้คุณแม่กลับมามีหน้าท้องกระชับเรียบตึง สร้างความมั่นใจในการสวมใส่เสื้อผ้า และที่สำคัญปลอดภัยต่อสุขภาพอีกด้วย [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ลดหน้าท้องหลังคลอด ใช้เวลานานหรือไม่ โดยปกติ หลังคลอดลูกกว่ากล้ามเนื้อท้องจะกลับมาแข็งแรงและแน่นกระชับได้ อาจต้องใช้เวลาในการออกกำลังกายและดูแลตัวเองประมาณ 9 เดือน นอกจากนี้ การลดหน้าท้องหลังคลอดจะได้ผลช้าหรือเร็วอาจขึ้นอยู่กับขนาดร่างกายปกติก่อนตั้งครรภ์ ปริมาณน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ความถี่ของการออกกำลังกาย หรือการเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวัน และพันธุกรรมก็มีส่วนด้วยเช่นกัน โดยผู้หญิงที่มีน้ำหนักขึ้นมาไม่ถึง 14 กิโลกรัม และออกกำลังกายเป็นประจำในช่วงตั้งครรภ์ ให้ลูกกินนมแม่ และมีลูกคนเดียว อาจมีแนวโน้มที่จะลดหน้าท้องหลังคลอดและลดน้ำหนักได้เร็วกว่าผู้ที่น้ำหนักขึ้นมาเกิน 14 กิโลกรัมระหว่างตั้งครรภ์  ลดหน้าท้องหลังคลอด อย่างไรให้ปลอดภัย ถึงแม้การออกกำลังกายและการควบคุมอาหาร จะช่วยทำให้กลับมามีรูปร่างที่ผอมเพรียวตามปกติได้เร็วขึ้น แต่คุณแม่หลังคลอดไม่ควรออกกำลังกายหักโหม หรือจำกัดการรับประทานอาหารในปริมาณที่น้อยเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำนมได้ หากคุณแม่ต้องการลดหน้าท้องหลังคลอดแบบปลอดภัย อาจลองปฏิบัติตามข้อแนะนำเหล่านี้ ไม่ควรออกกำลังกายแบบหักโหม คุณแม่หลังคลอดต้องระลึกไว้เสมอว่า ทารกอยู่ในท้องของคุณแม่มานานถึง 9 เดือน ร่างกายของคุณแม่ โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องก็ต้องขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อรองรับขนาดตัวของทารกในครรภ์ที่โตขึ้น การจะปรับเปลี่ยนหน้าท้องที่ยืดขยายมาถึง 9 เดือนให้กระชับเข้ารูปแบบตอนก่อนท้องต้องใช้เวลาและค่อยเป็นค่อยไป   โดยก่อนที่จะเริ่มออกกำลังกาย ควรตรวจเช็คสภาพร่างกายตัวเองให้ดีเสียก่อน หรืออาจปรึกษานักกายภาพบำบัดหรือคุณหมอในการตรวจสอบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ ว่าพร้อมสำหรับการออกกำลังกายแล้วหรือยัง คุณแม่ต้องรอให้กล้ามเนื้อตามส่วนต่าง […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม