เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

สำรวจ เด็กทารก

ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 17 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 17 หรือประมาณ 4 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจเริ่มมีพัฒนาการด้านการสื่อสารมากขึ้น อาจพยายามเปร่งเสียงเลียนแบบคำง่าย ๆ สั้น ๆ เช่น แม่ พ่อ รวมถึงอาจพยายามอ้อแอ้เพื่อสื่อสารกับพ่อแม่ คุณพ่อคุณแม่อาจลองพยายามพูดคุยกับลูกให้มาก ๆ เพื่อให้ลูกมีพัฒนาการด้านการสื่อสารเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังควรดูแลและเฝ้าระวังโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะการติดเชื้อในหู ที่อาจส่งผลให้เด็กมีอาการเบื่ออาการ มีไข้ หูหนวก และร้องไห้งอแงได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 17 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร นักวิจัยเชื่อว่าลูกน้อยสามารถเข้าใจเสียงพื้นฐานในภาษาพูดแล้ว ซึ่งตั้งแต่ตอนนี้จนถึงอายุ 6 เดือน ลูกจะพัฒนาความสามารถในการใช้เสียงได้ ซึ่งก็หมายความว่าจะได้ยินลูกน้อยพูดคำว่า ‘คุณแม่’ และ ‘พ่อ’ ได้ ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาการของเด็กกล่าวว่า นี่ยังเร็วเกินไปที่ลูกน้อยจะรู้จักความหมายที่แท้จริงของคำพวกนั้น อาจกระตุ้นให้ลูกพยายามที่จะสื่อสารออกมา ด้วยการลอกเลียนแบบการแสดงออกและเลียนเสียงของลูก ซึ่งจะทำให้ลูกน้อยพยายามเลียนแบบเช่นกัน เช่น พูดคำว่า “บา” และลูกอาจจะพยายามพูดเลียนเสียงกลับมา การโต้ตอบเมื่อลูกทำเสียงหรือพยายามพูดอะไรออกมา จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ถึงความสำคัญของภาษา และเข้าใจเหตุและผลได้ดีขึ้น แถมยังช่วยเพิ่มความยอมรับนับถือในตัวเองให้ลูกด้วย เมื่อลูกเริ่มสังเกตว่าพูดอะไรออกไปแล้วใคร ๆ ก็ให้ความสนใจ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 17 ยกศีรษะขึ้น 90 […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 16 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 16 หรือทารก 4 เดือน โดยทั่วไป ทารกช่วงวัยนี้อาจสนใจในสิ่งต่าง ๆ รอบข้างมากเป็นพิเศา พยายามหัดคว้าสิ่งของรอบตัว รวมถึงอาจมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงมากขึ้นจนสามารถกลิ้งตัวไปมาได้ คุณพ่อคุณแม่ควรลองสังเกตขนาดตัว น้ำหนักตัว รอบศีรษะ และดูพัฒนาการอื่น ๆ โดยรวม ว่าเหมาะสมกับวัยหรือไม่ หากพบว่าลูกมีพัฒนาการไม่เป็นไปตามวัย ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดและวิธีรักษาที่เหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 16 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร เมื่อคุณพ่อคุณแม่วางมือไว้ที่ท้องของลูก ลูกอาจยกหัวและไหล่ขึ้นโดยใช้มือดันขึ้นไป วิธีนี้จะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อของลูกอายุ 16 สัปดาห์ให้แข็งแรง และช่วยให้ลูกมองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ดีขึ้น และลูกอาจตื่นเต้นมากจนกลิ้งไปมาบ่อย ๆ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 16 ทิ้งน้ำหนักลงบนขาทั้งสองข้างเมื่อยืนตัวตรง คว้าหรือจับสิ่งของต่าง ๆ เกร็งตัวเมื่อจับให้ลุกนั่ง ให้ความสนใจกับเสียง โดยเฉพาะเสียงของคุณแม่ พูดเป็นคำ ๆ ได้แล้ว ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร อาจช่วยเพิ่มทักษะการหมุนตัวให้ลูกผ่านการเล่น โดยขยับของเล่นไปมา เพื่อทำให้ลูกน้อยสนใจ ควรตบมือและยิ้มให้ลูกเมื่อลูกหมุนตัวได้ เพื่อเป็นการให้กำลังใจ และช่วยให้ลูกอยากแสดงออกและขยับร่างกายมากขึ้น สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร การทดสอบทางกายภาพ และการตรวจสุขภาพของเด็กอายุ 16 สัปดาห์แต่ละคนจะแตกต่างกันไปตามสภาวะร่างกายของเด็ก โดยทั่วไป คุณหมออาจทำการตรวจ ดังนี้ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 38 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 38 หรือเด็ก 9 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจสามารถเริ่มลุกขึ้นยืนได้ด้วยตัวเอง สามารถคลานและเดินได้เล็กน้อยโดยจับสิ่งของเพื่อช่วยพยุง อีกทั้งยังอาจเริ่มมีพฤติกรรมเลียนแบบคนรอบข้าง คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังและเก็บสิ่งของที่อาจเป็นอันตราย เช่น มีด ยา ของมีคม ของชิ้นเล็ก ๆ ให้พ้นมือลูก เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกกลืนหรือเกิดอุบัติเหตุ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 38 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร พัฒนาการในสัปดาห์ที่ 38 ของลูกน้อย ที่พบได้ทั่วไป อาจมีดังนี้ ยันตัวขึ้นยืนจากท่านั่งได้ ไถตัวหรือคลาน ลุกขึ้นนั่งโดยใช้หน้าท้อง ทักท้วงเมื่อพยายามนำของเล่นออกจากมือหรือปาก ยืนได้ด้วยการจับคนหรือสิ่งของ ใช้นิ้วหยิบของชิ้นเล็ก ๆ ได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรเก็บของอันตรายให้พ้นมือลูก พูด “มาม๊า” หรือ “ปะป๊า” ซ้ำไปมา เล่นเกมจ๊ะเอ๋ จำข้อมูลเฉพาะเจาะจงได้มากขึ้น เช่น ของเล่นของตัวเอง รู้ว่าตัเวองอยู่ตรงส่วนไหนของบ้าน เลียนแบบการกระทำที่เคยเห็น ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ตอนนี้ลูกน้อยสามารถนำของใส่ในกล่องและเอาออกมาจากกล่องได้ ดังนั้นควรมีถังพลาสติก และตัวต่อหลากสีไว้ให้ลูกได้หยิบจับและฝึกฝนทักษะ โดยต้องดูให้แน่ใจว่า ของเล่นมีขนาดพอดี ไม่เล็กเกินไปจนลูกอาจกลืนเข้าปากไปได้ นอกจากนี้ ลูกยังอาจชอบหรือสนใจสิ่งของต่าง ๆ ที่เคลื่อนไหวไปมา […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 36 ของลูกน้อย

ถ้าคุณเป็นคุณแม่ที่เพิ่งคลอดได้ไม่นาน และอยากจะรู้ถึงพัฒนาการของลูกน้อยในแต่ละช่วงเวลา นี่คือข้อมูลของ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 36 ที่คุณแม่ควรรู้เอาไว้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 36 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร พัฒนาการในสัปดาห์ที่ 36 ของลูกน้อย เล่นตบแผละหรือโบกมือบ๊ายบายได้ เดินโดยใช้มือจับ ยึดเฟอร์นิเจอร์เอาไว้ ยืนโดยลำพังได้เพียงชั่วครู่ เข้าใจคำว่า “ไม่” แต่อาจจะไม่เชื่อฟังก็ได้ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อลูกน้อยเริ่มยืนหรือเดินสะเปะสะปะได้แล้ว คุณก็อาจสงสัยว่ารองเท้ามีความจำเป็นหรือเปล่า แพทย์รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กคิดว่า เด็กยังไม่ต้องการใช้รองเท้า จนกว่าจะถึงวัยที่สามารถออกไปเดินเล่นข้างนอกเป็นประจำได้ ตอนนี้ถือเป็นเรื่องปกติที่ลูกน้อยเดินเท้าเปล่า การเดินเท้าเปล่าจะช่วยให้กล้ามเนื้อขาเกิดความแข็งแรง และความรู้สึกถึงพื้นผิวที่กำลังเหยียบย่ำอยู่ ก็จะช่วยให้ลูกน้อยรักษาการทรงตัวได้ มีวิธีช่วยลูกน้อยหัดเดินอยู่หลายวิธี คุณอาจคุกเข่าอยู่ข้างหน้าเขา แล้วช่วยเขาเดินเข้าหาคุณ โดยจับมือทั้งสองข้างของเขาไว้ ซึ่งจะช่วยทั้งพยุงและพาเขาเคลื่อนไหวได้ สิ่งที่คุณควรต้องระวังก็คือการใส่กลอนประตู นอกจากนี้ก็ควรย้ายอุปกรณ์ทำความสะอาด และอุปกรณ์หรือน้ำยาต่างๆ ที่มีสารพิษ ขึ้นไปไว้ในตู้เก็บของสูงๆ และที่นอนในเปลเด็กก็ควรตั้งระดับให้อยู่ต่ำที่สุด สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร แพทย์ส่วนใหญ่จะไม่นัดตรวจสุขภาพเด็กในช่วงเดือนนี้ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดี เพราะเด็กในวัยนี้ส่วนใหญ่จะไม่ชอบไปโรงพยาบาล ถ้ามีเรื่องกังวลใจที่ไม่สามารถรอให้ถึงการนัดครั้งต่อไปได้ ก็ไปปรึกษาแพทย์ก่อนการนัดหมายได้  สิ่งที่ควรรู้ หัวชนอย่างรุนแรง ถ้าลูกน้อยเอาหัวไปชนอะไรอย่างรุนแรง ก็ควรปลอบโยนเขา แต่ไม่ต้องโอ๋อะไรมากเกินไป การเอาหัวชนอะไรถือเป็นเรื่องปกติของเด็ก ในการเรียนรู้สิ่งที่อยู่รอบตัว ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะมีอาการเล็กน้อย ไม่ได้บาดเจ็บรุนแรงอะไร คุณอาจทำการประคบเย็นเป็นเวลา 20 นาที เพื่อลดอาการบวม รวมทั้งลองป้อนอาหารหรือเบี่ยงเบนความสนใจของลูกน้อย เพื่อที่เขาจะได้ไม่รู้สึกว่าการประคบเย็นนั้นทำให้เขารู้สึกเย็นเกินไป ถ้าลูกน้อยของคุณหมดสติ ก็ควรโทรหาหน่วยฉุกเฉินหรือรีบพาไปหาคุณหมอ  ถ้าลูกน้อยไม่หายใจ ก็ควรปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเด็กหายใจ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 35 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 35 หรือประมาณ 9 เดือน เป็นช่วงที่การมองเห็นของลูกน้อยมีพัฒนาการเทียบเท่ากับวัยผู้ใหญ่ อาจสามารถมองเห็นระยะไกลได้ดีขึ้น อีกทั้งยังเริ่มจดจำสิ่งของและผู้คนรอบตัวได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจลองอ่านหนังสือให้ลูกฟัง เพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเรียนรู้ให้ลูกน้อย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 35 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้สายตาของลูกน้อยมีความทัดเทียมกับของผู้ใหญ่แล้ว ถึงแม้ว่าจะมองเห็นได้ในระยะใกล้ ๆ ได้ดีกว่า แต่การมองเห็นในระยะไกลก็มีพัฒนาการที่ดีขึ้นด้วย ฉะนั้นลูกน้อยในวัยนี้ลูกจะเริ่มจำผู้คนและสิ่งของที่อยู่อีกฝากหนึ่งของห้องได้ ลูกอาจจะเห็นของเล่นที่อยู่อีกฟาก จึงพยายามคลานไปหามัน ตอนนี้ลูกน้อยอาจมีสีของดวงตาที่จะอยู่กับลูกไปตลอดชีวิตแล้ว ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในภายหลังก็ตาม พัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของลูกน้อยในช่วงสัปดาห์ที่ 35 มองเห็นได้เกือบเหมือนผู้ใหญ่ ไถตัวหรือคลาน ยันตัวขึ้นยืนจากท่านั่งได้ หยิบของชิ้นเล็กด้วยนิ้วหัวคุณแม่มือและนิ้วมือได้ จึงควรเก็บของที่เป็นอันตรายให้พ้นมือเด็ก เริ่มหัดพูดคำง่าย ๆ อย่าง “มาม๊า” หรือ “ปะป๊า” ซ้ำไปมา ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร บางครั้งลูกน้อยก็มีอาการกลัวอะไรที่ลูกไม่เข้าใจ รวมทั้งอะไรที่ไม่เคยรบกวนลูกมาก่อน อย่างเช่น เสียงกริ่งประตู หรือเสียงกาน้ำเดือด ถ้ามีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น สิ่งที่ทำได้ในฐานะพ่อคุณแม่คือปลอบโยน และทำให้ลูกรับรู้มีอยู่ข้าง ๆ เสมอ แล้วลูกก็จะหายกลัว สิ่งที่ลูกอาจต้องการมากที่สุดก็คือการสวมกอดจาก สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร คุณหมอส่วนใหญ่จะไม่นัดตรวจสุขภาพในช่วงเดือนนี้ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดี เพราะเด็กในวัยนี้ส่วนใหญ่จะไม่ชอบไปโรงพยาบาล ถ้ามีเรื่องกังวลใจที่ไม่สามารถรอให้ถึงการนัดครั้งต่อไปได้ ก็ควรโทรปรึกษาคุณหมอก่อน หรือจะไปปรึกษาหมอเลยก็ได้ สิ่งที่ควรรู้ การไอ แม้แต่เด็กที่มีสุขภาพดีก็สามารถไอได้ทุกวัน เนื่องจากการไอช่วยให้เด็กหายใจได้ดีขึ้น […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 31 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 31 โดยทั่วไป ฟันซี่แรกของเด็กจะขึ้นแล้ว และเด็กจะเริ่มคลาน และเอื้อมคว้าสิ่งต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาพัฒนาเด็ก สัปดาห์ที่ 31 หากพบปัญหาสุขภาพ หรือปัญหาด้านพัฒนาการใด ๆ ควรปรึกษาคุณหมอทันที [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 31 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ลูกน้อยอาจเริ่มมีฟันขึ้นเมื่อมีอายุได้ 3 เดือน หรืออย่างช้าก็ 12 เดือน โดยส่วนใหญ่ฟันซี่แรกของลูกน้อยจะขึ้น 2 ซี่ด้านล่างก่อน แต่หากฟันของลูกน้อยมีช่องว่างระหว่างฟันแต่ละซี่มากเกินไป ช่องดังกล่างอาจหายไปเองเมื่อลูกน้อยอายุได้ 3 ขวบ เมื่อลูกน้อยฟันเริ่มขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นลูกน้อยมีน้ำลายไหลมากขึ้น รวมถึงอาจส่งเสียงแปลก ๆ ออกมาด้วย ซึ่งในสัปดาห์ที่ 31 ลูกน้อยอาจมีพัฒนาการ ดังนี้ คืบและคลานได้ ส่งวัตถุจากมือหนึ่งไปยังอีกมือหนึ่งได้ ยืนขึ้นในขณะที่ยึดจับคนหรือสิ่งของเอาไว้ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ในช่วงวัยทารก ลูก ๆ ไม่ค่อยเต็มใจที่จะแยกจากคุณพ่อคุณแม่เท่าไร ซึ่งอาจทำให้รู้สึกอิ่มเอิบใจ แต่ในบางครั้งก็อาจทำให้รู้สึกอึดอัดได้เหมือนกัน ถ้าคุณพ่อคุณแม่ออกจากบ้านแล้วต้องปล่อยลูกน้อยไว้ที่บ้าน ก่อนออกจากบ้านควรเข้าไปโอบกอดลูกน้อยเยอะ ๆ แล้วบอกเขาว่าจะไปที่ไหน รวมถึงควรบอกลูกว่าจะรีบกลับบ้านให้เร็วที่สุด ถึงแม้ลูกน้อยจะไม่เข้าใจว่าคุณพ่อคุณแม่จะกลับมาใน 1 […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 25 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 25 หรือประมาณ 6 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจกำลังซุกซน ชอบขยับตัว เรียกร้องความสนใจ คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกได้มีโอกาสแสดงออกอย่างเต็มที่ ไม่จำกัดจินตนาการ แต่ก็ควรเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 25 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ลูกมีอายุครบ 6 เดือนแล้ว นี่เป็นช่วงครึ่งทางก่อนจะก้าวเข้าสู่อายุหนึ่งขวบ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ วันเวลาที่ใช้กับลูกน้อยนั้นมีค่าและผ่านไปเร็วมาก จึงควรเพลิดเพลินไปกับทุกเวลานาที พัฒนาการด้านต่าง  ๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 25 ตั้งศีรษะให้ตรงเวลานั่งตัวตรงหรือนั่งพิงอะไร เริ่มพูดเป็นคำ  ๆ ที่มีเสียงสูงต่ำได้แล้ว ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อลูกเริ่มกระตือรือร้นที่อยากเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น ก็ควรให้ลูกสวมใส่เสื้อผ้าที่สบายตัว โดยเลือกผ้านุ่ม  ๆ จะได้ไม่เสียดสีเวลาลูกเคลื่อนไหว เสื้อผ้ายืด  ๆ หลวม  ๆ และมีอาการถ่ายเทได้ จะช่วยให้ลูกน้อยที่กำลังซนสามารถเคลื่อนไหวไปทั่วห้องได้ง่ายขึ้น ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าเด็กที่มีเนื้อหยาบ  ๆ หรือมีตะเข็บที่ทำให้คัน พร้อมกับมีสายยาว มีกระดุม หรืออะไรก็ตามที่อาจเข้าไปปิดกั้นทางเดินหายใจ หรือสร้างความอึดอัดในขณะนอนหลับ คลาน หรือเล่นอะไร ลูกน้อยจะรู้ว่าพฤติกรรมอะไรหรือสิ่งใดที่จะทำให้มีความสุข และอะไรที่ทำให้ไม่ชอบใจ ฉะนั้น นับแต่นี้ไปอีกหลายปี ลูกจะทำอะไรเพื่อเรียกร้องความสนใจจาก พอโตขึ้นลูกก็มีแนวโน้มจะทำอะไรแผลง  ๆ เพื่อกระตุ้นความสนใจจาก […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 24 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 24 ลูกน้อยเริ่มมีทักษะในการสื่อสารที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เริ่มส่งเสียงร้อง ทำเสียงได้หลายแบบ รวมทั้งอาจจะเริ่มเปลี่ยนอิริยาบถอย่างอื่นมากกว่าแค่นอนหลับอย่างเดียว เป็นช่วงเวลาที่ควรระมัดระวังคำพูด พฤติกรรม การแสดงออกต่าง ๆ เพื่อให้ลูกน้อยมีต้นแบบที่ดี [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรม และ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 24 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้ลูกน้อยอาจมองเห็นและได้ยินอะไรเท่า ๆ กับผู้ใหญ่ ทักษะการสื่อสารจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างเช่น ส่งเสียงร้อง เสียงเป่าฟอง และการเปลี่ยนน้ำเสียง เสียงของลูกสามารถบ่งบอกทัศนคติหรือการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ เช่น มีความสุข กระตือรือร้น หรือแม้แต่พอใจกับการที่ได้แก้ปัญหาเป็นอย่างดี โดยสัปดาห์สุดท้ายของเดือนที่ห้า ลูกน้อยอาจเริ่มมีพัฒนาการต่าง ๆ ดังนี้ ลุกขึ้นยืนจากท่านั่ง ยืนโดยจับคนใกล้ตัวหรือหาบางอย่างไว้เกาะ พยายามผลักของเล่นไปด้านข้าง พยายามหยิบของที่เอื้อมไม่ถึง ส่งของเล่น หรือข้าวของอื่น ๆ จากมือข้างหนึ่งไปยังมืออีกข้างหนึ่ง ควานหาของเล่นที่ทำตก เอามือเกาของเล่นชิ้นเล็ก ๆ และหยิบของเล่นด้วยมือทั้งสองข้าง ฉะนั้นควรนำข้าวของที่เป็นอันตรายเก็บให้พ้นจากมือเด็ก มีความสามารถในการมองเห็นและได้ยินเหมือนผู้ใหญ่ เริ่มพูดอ้อแอ้ที่มีโทนเสียงต่ำหรือสูงได้ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยเหลือลูกด้วยการทำเสียงอ้อแอ้ และเล่นเกมที่ใช้คำง่าย ๆ กับลูกน้อย อย่างเช่น แกะร้อง ‘แบะๆ’ แพะร้อง ‘แมะๆ’ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 29 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 29 หรือ เด็ก 7 เดือน  ในช่วงนี้ลูกน้อยอาจสามารถเริ่มหยิบอาหาร เช่น แครอทต้มหั่นแท่ง บร็อคโคลี่ ขนมปังแท่ง ได้เอง และเริ่มมีปฏิกิริยาตอบโต้กับคำพูดเพิ่มมากขึ้น ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ควรหัดให้ลูกหยิบอาหารกินเองและลองดื่มน้ำจากแก้วเอง เพื่อให้ลูกคุ้นเคยกับการลองกินอาหารด้วยตัวเองมากขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรม ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 29 ลูกน้อย อาจมีดังนี้ หยิบอาหารกินได้ด้วยตัวเอง ทำตลก ซึ่งเด็กจะส่งเสียงตอนที่เป่าน้ำลายให้เป็นฟอง พูดพึมพำหรือส่งเสียงอ้อแอ้เวลาที่มีความสุข หัวเราะบ่อยๆ เวลาที่มีการตอบโต้กับ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 29 ในช่วงวัยนี้ ควรลองให้ลูกน้อยได้ดื่มน้ำจากถ้วยหัดดื่ม ทางที่ดีก็ควรเลือกแก้วแบบที่มีหูหิ้วสองข้างและดื่มได้สะดวก ถ้าลูกน้อยแสดงอาการไม่พอใจที่ไม่สามารถดื่มน้ำจากแก้วได้ ก็ถอดวาล์วออกจากฝาปิด ซึ่งถ้ายังทำให้เขาไม่รู้จะดื่มน้ำจากหัวจ่ายน้ำได้ยังไง ก็ให้เอาฝาปิดออกและให้ลูกดื่มน้ำจากแก้วโดยตรงเลย คุณพ่อคุณแม่อาจจำเป็น จะต้องทำให้เขาดูเป็นตัวอย่างว่าต้องเอียงแก้วอย่างไรให้น้ำไหลเข้าปาก เข้าจะได้เรียนรู้ว่าการดื่มน้ำจากแก้วควรทำอย่างไร   สุขภาพและความปลอดภัยใน พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 29 ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร หมอส่วนใหญ่จะไม่มีการนัดหมายในช่วงเดือนนี้ เพราะเด็ก ๆ ในช่วงวัยนี้ยังไม่มีอาการอะไรที่น่าเป็นห่วง แต่ในทางกลับกัน อาจจะทำให้อาจจะไม่ทราบว่าพวกเขามีพัฒนาการไปถึงไหนแล้ว แม่ควรจดบันทึกข้อสงสัย เพื่อนำไปปรึกษากับคุณหมอในครั้งถัดไป และอย่าลังเลที่จะโทรปรึกษาคุณหมอทันที เมื่อพบปัญหาใดๆ เกิดขึ้นกับลูก หรือถ้ามีข้อกังวลใดๆ เป็นพิเศษ ไม่ควรรอจนถึงการนัดครั้งถัดไป สิ่งที่ควรรู้ การเป็นไข้ เมื่อย่างเข้าเดือนที่ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 28 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 28 หรือประมาณ 7 เดือน เป็นช่วงที่ทารกเริ่มสามารถพึ่งพาตัวเองได้เล็กน้อย และอาจชอบหยิบของใส่ปากมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรระวังสิ่งของที่เล็กเกินไปอาจเข้าไปติดคอเด็กได้ นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจเริ่มฝึกให้ทารกรับประทานอาหารอื่น ๆ นอกจากนมแล้ว ดังนั้นจึงควรเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพของลูก อีกทั้งยังควรหลีกเลี่ยงการที่มีการปรุงหรือใส่เกลือ เนื่องจากอาจมีปริมาณของโซเดียมมากเกินไปจนอาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 28 พัฒนาการเด็กสัปดาห์ที่ 28 จะเติบโตอย่างไร เด็กในช่วงวัยนี้มักสนใจตุ๊กตาสัตว์ยัดนุ่นทุกขนาด อะไร ๆ ก็สามารถเป็นของเล่นชิ้นโปรดได้ทั้งนั้น การเล่นตุ๊กตาเป็นสัญญาณว่าลูกน้อยกำลังจะพึ่งพาตัวเองได้แล้ว หรือพูดง่าย ๆ ก็คือลูกน้อยเรียนรู้ที่จะอยู่ห่างจาก และค่อย ๆ อยู่ได้ด้วยตัวเองมากขึ้น เวลาที่หาสมาชิกใหม่มาให้ครอบครัวตุ๊กตาหมีนั้น ก็ควรหาตัวที่นุ่ม ๆ และตัดเย็บมาอย่างดี บางครั้งลูกอาจจะชอบเล่นลูกบอล หรือของเล่นอื่น ๆ ที่สำคัญการเลือกของเล่นไม่ควรเลือกชิ้นที่เล็ก เพราะลูกอาจจะหยิบเข้าปากและเกิดอันตรายได้ วิธีที่จะรู้ว่าลูกชอบของเล่นชิ้นไหนให้ลองเอาของเล่นนั้นออกไปห่าง ๆ หาก ปกป้องของเล่นชิ้นนั้นอย่างเต็มเหนี่ยว นั่นก็อาจเป็นของเล่นชิ้นโปรดก็ได้ ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนที่หก ลูกน้อยอาจจะสามารถ… ส่งเสียงบ่นแล้วคลานหนีออกไป ลุกขึ้นยืนจากท่านั่ง เปลี่ยนจากการคลานมาเป็นท่านั่ง หยิบของชิ้นเล็ก ๆ ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วต่าง ๆ (จึงควรวางสิ่งของที่เป็นอันตรายให้ห่างจากตัวเด็ก) […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม