เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

หมวดหมู่ เด็กทารก เพิ่มเติม

สำรวจ เด็กทารก

ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 42 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 42 หรือประมาณ 10 เดือน ในช่วงนี้ลูกน้อยอาจสามารถนั่งได้เองแล้ว และสามารถเดินได้เล็กน้อยโดยพยายามเกาะสิ่งของรอบข้าง คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกได้เล่นอย่างเต็มที่ แต่ควรระมัดระวังสิ่งของเล็ก ๆ ที่เด็กอาจนำเข้าปากและไปติดคอได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 42 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ลูกน้อยในช่วงวัยนี้สามารถนั่งได้อย่างมั่นใจ และสามารถเดินได้โดยการเกาะฟอร์นิเจอร์ และอาจจะยืนแบบปล่อยมือได้บ้าง ในระยะสั้น ๆ และยืนได้ นอกจากนี้ยังอาจพยายามหอบของเล่นในระหว่างที่ยืนขึ้นด้วย หากลูกยังไม่เดินในช่วงนี้ก็ไม่ต้องเป็นกังวลไป เด็กส่วนใหญ่จะเดินก้าวแรกประมาณอายุ 12 เดือน ในขณะที่เด็กบางคนอาจจะต้องรอถึง 18 เดือน พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 42 นั่งได้เองโดยการใช้หน้าท้อง ตบมือ หรือโบกมือ หยิบของชิ้นเล็ก ๆ ด้วยนิ้วชี้และนิ้วโป้ง ดังนั้นพ่อแม่ควรเก็บของอันตรายไว้ให้ห่างจากมือเด็ก เดินโดยเกาะกับฟอร์นิเจอร์ เข้าใจคำว่า “ไม่” แต่ไม่เชื่อฟังเสมอไป ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร หลีกเลี่ยงการป้อนอาหารที่อาจจะทำให้เกิดการสำลัก เช่น แครอทดิบ องุ่นทั้งลูก ควรทำผักให้สุกก่อนแล้วหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ไม่ว่าจะเป็นเนยแข็งหรือผลไม้แห้ง ก็ควรต้องปลอกเปลือกและหั่นเป็นสี่เหลี่ยมชิ้นเล็ก ๆ ด้วย สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร แพทย์ส่วนใหญ่จะไม่นัดตรวจสุขภาพสำหรับเด็กในวัยนี้ จึงควรโทรปรึกษาแพทย์ ถ้ามีข้อกังวลใด ๆ ที่ไม่สามารถรอให้ถึงวันนัดครั้งต่อไปได้ สิ่งที่ควรรู้ แมลงกัดต่อย ควรสังเกตอาการแมลงกัดต่อยกับเด็กในช่วงวัยนี้ เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายกับเด็กในวัยนี้ได้ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 41 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 41 หรือประมาณ 10 เดือน เป็นช่วงวัยที่คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยกับลูกโดยใช้ประโยคแบบเดียวกับที่พูดคุยกับผู้ใหญ่ และเน้นพูดเป็นประโยค แทนการออกเสียงเป็นคำ ๆ เพื่อฝึกให้ลูกสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ยังควรคอยสังเกตลักษณะการนอนหลับของลูก เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 41 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ลูกน้อยกำลังเริ่มเข้าใจคำศัพท์ง่าย ๆ หรือประโยคสั้น ๆ แล้ว จึงควรจะพูดคุยกับลูกอยู่เรื่อย ๆ เริ่มสอนรูปแบบการพูดที่ดีให้ โดยพูดคำที่พูดให้เป็นภาษาของผู้ใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าพูดขึ้นมาว่า “นา-นา” ก็แก้การออกเสียงของให้ถูกต้องโดยพูดว่า “หนูต้องการขวดนมใช่มั้ยลูก?” ในช่วงวัยนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำพูดแบบเด็ก ๆ ถึงแม้จะเป็นเรื่องสนุก แต่การได้ยินเสียงที่ถูกต้องนั้น จะดีต่อพัฒนาการของลูกน้อยมากกว่า ถึงแม้ว่าจะฟังดูเป็นภาษาของเด็กไปหน่อย แต่การสนทนากับลูกน้อยนั้น จะช่วยส่งเสริมทักษะทางด้านภาษาให้ได้ เมื่อพูดอะไรขึ้นมาลอยๆ ก็ควรโต้ตอบกลับไปว่า “อ๋อ จริงเหรอ?” “น่าสนใจจริง ๆ” แล้วอาจจะยิ้มและพูดเจื้อยแจ้วต่อไป พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 41 ยืนโดยการเกาะแขนขาคนอื่น หรือเกาะกับสิ่งของต่าง ๆ ยืนขึ้นด้วยการดึงตัวเองขึ้นจากท่านั่ง ทักท้วงถ้าหยิบของเล่นของออกไป พูดคำว่า […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 30 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 30 หรือประมาณ 7 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจโตพอที่จะเริ่มต่อต้านเวลาที่พ่อแม่แสดงความรัก กอด อุ้ม หรือเวลาที่ถูกแย่งเอาของเล่นไป อีกทั้งยังอาจสามารถใช้นิ้วหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ ได้คล่องขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรระวังไม่ให้ลูกเอานิ้วมือไปแหย่จุดที่อันตราย เช่น ปลั๊กไฟ พัดลม [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 30 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ในช่วงนี้แม่สามารถบอกลูกให้เข้าใจได้แล้วว่าโทรศัพท์ไม่ใช่ของเล่น เครื่องดนตรีไม่ได้มีเอาไว้ขว้างปา หรือห้ามดึงผมคนอื่น เด็กในวัยนี้จะเริ่มขัดขืนคำสั่งแม่แล้ว เช่น การไม่ยอมทำตามที่แม่บอก ซึ่งไม่ได้เกิดจากการไม่เชื่อฟังแม่ แต่เป็นเพราะความอยากรู้อยากเห็นของเด็กวัยนี้นั่นเอง พัฒนาการด้านต่าง  ๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 30 นั่งเองได้โดยไม่ได้ต้องมีคนช่วย พยายามรั้งตัวเองไว้ตอนแม่อุ้ม เริ่มต่อต้านถ้าแม่เอาของเล่นของลูกไป หาทางออกจากของเล่นได้ หาของที่ตกได้เอง เอานิ้วแหย่ของหรือถือของไว้ในมือตัวเองได้แล้ว ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย แม่ควรนำสิ่งของที่มีอันตรายให้อยู่ห่างจากเด็ก ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร แม่ต้องจำไว้ว่าลูกยังไม่สามารถจดจำสิ่งที่เราพูดได้ ฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การใช้คำพูดง่าย  ๆ ว่า  “ไม่”  ซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจว่าลูกจะไม่สามารถทำสิ่งนั้นได้ เด็กส่วนใหญ่จะชอบเล่นจ๊ะเอ๋มาก และการเล่นแบบนี้จะช่วยส่งเสริมให้ลูกรับรู้ได้ว่า มีผู้คนรอบ  ๆ ตัวลูกอยู่ตั้งมากมาย สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร หมอส่วนใหญ่จะไม่มีการนัดหมายในช่วงเดือนนี้ ถ้าคิดในแง่ที่ดีคือเด็กยังไม่มีอาการอะไรที่น่าเป็นห่วง แต่ในทางกลับกัน อาจจะไม่ทราบว่าลูกมีพัฒนาการไปถึงไหนแล้ว แม่ควรจดบันทึกข้อสงสัยปรึกษากับหมอในครั้งถัดไป และหากเกิดปัญหาหรือถ้ามีข้อกังวลใด  ๆ เป็นพิเศษ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 34 ของลูกน้อย

ถ้าเป็นคุณแม่ที่เพิ่งคลอดได้ไม่นาน แล้วอยากจะรู้ถึงพัฒนาการของลูกน้อยในแต่ละช่วงเวลา ควรศึกษาข้อมูล  พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 34 เพื่อเป็นประโยชน์ในการดูแล และสังเกตพัฒนาการของเจ้าตัวน้อยเติบโตสมวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 34 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้ลูกน้อยกำลังสำรวจสิ่งของต่าง ๆ โดยการเขย่า กระแทก โยนทิ้ง และขว้างปา ก่อนจะกลับมาใช้วิธีสำรวจที่แน่นอนที่สุด นั่นก็คือการเคี้ยว ลูกน้อยอาจมีความคิดที่ว่าเขาสามารถจะทำอะไรกับข้าวของพวกนั้นก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นการกระแทก กระทุ้ง บีบ บิด เขย่า โยนทิ้ง และเปิดดู พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 34 ส่งสิ่งของอื่น ๆ จากมือข้างหนึ่งไปยังอีกข้าหนึ่ง สำรวจสิ่งต่าง ๆโดยการเขย่า ตี โยนทิ้ง และขว้างปา และเห็นสิ่งของพวกนั้นกระเด้งขึ้นมาอีก ลุกขึ้นยืนโดยยึดจับคนหรืออะไรบางอย่างเอาไว้ ขัดขืนถ้าคุณพ่อคุณแม่พยายามที่แย่งของเล่นจากเขา ขยับตัวออกไปเอาของเล่นที่อยู่เกินเอื้อม เล่นจ๊ะเอ๋ ลุกขึ้นนั่งจากท่าคลาน ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกน้อยมักรู้สึกเพลิดเพลินกับของเล่นที่มีวิธีใช้เป็นการเฉพาะ อย่างเช่น โทรศัพท์ ถ้าเขาไม่สามารถถือไว้ในระดับหูของตัวเองได้ ก็ช่วยเขาถือแล้วแกล้งพูดโทรศัพท์กับเขา ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้เขาจะเริ่มใช้วัตถุตามการใช้งานจริงได้ เช่น แปรงผมตัวเอง ดื่มน้ำจากถ้วย และส่งเสียงอ้อแอ้กับโทรศัพท์ของเล่น สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร แพทย์ส่วนใหญ่จะไม่นัดตรวจสุขภาพในเดือนนี้ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดี เพราะเด็กในวัยนี้ส่วนใหญ่จะไม่ชอบไปโรงพยาบาล ถ้ามีเรื่องกังวลใจที่ไม่สามารถรอให้ถึงการนัดครั้งต่อไปได้ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 33 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 33 จะเริ่มก้าวเท้า สำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ดังนั้น ควรใช้ขารับน้ำหนักตัวเองในขณะยืนได้แล้ว และสามารถหันไปตามทิศทางที่มาของเสียง และมองหาของที่ทำตกได้ เด็ก ๆ อาจเริ่มปีนป่าย และมักหกล้มได้ง่าย จึงไม่ควรปล่อยให้คลาดสายตา [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 33 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ทารกอายุ 8 เดือน ควรใช้ขารับน้ำหนักตัวเองในขณะยืนได้แล้ว สามารถหันไปตามทิศทางที่มาของเสียง และมองหาของที่ทำตกได้ ความสามารถในการเคลื่อนไหวนี้ จะทำให้หกล้มหรือกระแทกโน่นกระแทกนี้ได้ง่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับเด็ก ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะรู้สึกใจหายใจคว่ำ แต่การนั่งมองดูเขาสำรวจสิ่งรอบตัว และค้นหาข้อจำกัดของตัวเอง ก็นับว่าเป็นความเพลิดเพลินอย่างหนึ่งเลยทีเดียว พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 33 ใช้ขารับน้ำหนักตัวเวลายืนตรงได้ รับประทานขนมปังกรอบได้เอง ใช้นิ้วหยิบของแล้วกำไว้ในมือ ดังนั้น ควรเก็บของอันตรายให้พ้นมือเด็ก หันไปตามทิศทางของเสียง มองหาของที่ทำตกหล่น ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร สัญชาตญาณแรกของคุณพ่อคุณแม่คือการปกป้องลูกน้อย ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมชาติ วิธีเลี้ยงดูที่ดีที่สุดก็คือให้เขามีโลกส่วนตัวในการเติบโตและเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยให้เด็กพึ่งพาตัวเองได้ แต่ไม่ได้หมายความต้องปล่อยให้เขาอยู่เพียงลำพังตลอดเวลา คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างบรรยากาศที่มีความปลอดภัยขึ้นมาได้ โดยนึกภาพเอาว่า อะไรที่จะเป็นอันตรายในขนาดความสูงของลูกน้อย แล้วหาทางแก้ไขจนไม่เป็นอันตราย ซี่งอาจจะแก้ปัญหาด้วยการเก็บของที่ตกแตกง่ายไว้ในที่ที่เขาเอื้อมไม่ถึง รวมทั้งเก็บของที่เป็นอันตรายไว้ในตู้ที่ล็อกกุญแจเอาไว้ สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร อาจไม่มีตารางการนัดพบแพทย์ในช่วงนี้ แต่ถ้าความกังวลใจเร่งเด่วนเกิดขึ้น ก็ไม่ควรรอจนกว่าจะถึงเวลานัดครั้งต่อไป นับเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องพูดคุยกับคุณหมอทันทีหากเกิดปัญหา ถ้าคิดว่าลูกน้อยมีพัฒนาการที่ไม่ปกติ ควรจดสัญญานที่ทำให้รู้สึกเป็นกังวลเอาไว้ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 32

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 32 เป็นช่วงเวลาที่ลูกน้อยเริ่มเรียนรู้ที่จะเลียนแบบพฤติกรรม ดังนั้น ไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่หรือคนรอบข้างทำอะไร ลูกน้อยจะจดจำและค่อย ๆ ทำตาม รวมทั้งเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นมาแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลทำความสะอาดสุขภาพช่องปากและฟันให้ลูกน้อยเพื่อสุขอนามัยที่ดี [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 32 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร อารมณ์ของลูกจะเริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าสามารถเรียนรู้ที่จะชื่นชม เลียนแบบความรู้สึก และอาจแสดงออกถึงความเห็นใจได้เป็นครั้งแรก ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกน้อยได้ยินเสียงคนร้องไห้ เขาก็อาจจะเริ่มร้องไห้ตาม ถึงแม้ว่าเขาจะเพิ่งเริ่มเรียนรู้ความรู้สึกของตัวเอง แต่เขาก็จะเริ่มเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างจากคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งในอนาคตลูกน้อยก็จะสามารถเรียนรู้จากสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ปฏิบัติต่อผู้คนอื่น ๆ ในสังคมได้ด้วย พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กในสัปดาห์ที่ 32 เปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่ายืน เปลี่ยนจากท่าคลานเป็นท่านั่ง เล่นตบมือและโบกมือบ๊ายบาย เก็บวัตถุชิ้นเล็ก ๆ เข้าปาก ทำการสำรวจรอบบ้านของตัวเอง เรียก “แม่” หรือ “พ่อ” อยู่ตลอดเวลา ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ในกรณีที่ลูกน้อยนอนห้องแยกต่างหาก พวกเขาอาจเกิดความกลัวที่จะต้องแยกจากคุณพ่อคุณแม่ในเวลากลางคืน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรใช้เวลาอ่านหนังสือให้ลูกน้อยฟังมากขึ้น กอด หรือเปิดเพลงกล่อมเด็กให้ฟังก่อนนอนจนลูกน้อยรู้สึกสบายใจ เพราะการทำแบบนี้เป็นประจำจะทำให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัย และนอนหลับได้ง่ายขึ้น อีกทั้งคุณพ่อคุณแม่ควรจัดสรรเวลาในการทำงานบ้าน และการเลี้ยงลูกให้สมดุล ที่สำคัญงานทั้งหมดในห้องนอนลูกควรทำให้เสร็จเพื่อเตรียมพร้อมให้ลูกน้อยนอนหลับได้อย่างสบาย นอกจากนั้น ควรสอนให้ลูกน้อยรู้ว่า ห้องนอนใช้สำหรับการนอน ไม่ควรใช้เล่นไล่จับกันก่อนนอน สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร คุณหมอส่วนใหญ่จะไม่มีการนัดหมายในช่วงเดือนนี้ เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่ยังไม่มีอาการอะไรที่น่าเป็นห่วง ในขณะเดียวกัน […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 48 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 48 คือ ช่วงที่เด็กกำลังพยายามเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการยืน การเดิน การบอกความต้องการของตัวเองด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการร้องไห้ รวมถึงอาจมีพัฒนาการด้านภาษา ซึ่งในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย รวมถึงช่วยส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ และอย่าปล่อยให้พวกเขารู้สึกว่าไม่ได้รับความสนใจ การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 48 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ในช่วงสัปดาห์ที่ 48 หากเด็กยังเดินไม่ได้ ก็มีแนวโน้มจะเดินได้ด้วยตัวเองในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นกังวล พราะเด็กส่วนใหญ่อาจเริ่มเดินในช่วงเดือนที่ 16-17 พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 48 ยืนได้ด้วยตัวเอง เดินได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถบอกความต้องการของตัวเองได้ด้วยวิธีอื่นแทนที่จะร้องไห้ เล่นลูกบอลได้ และสามารถกลิ้งลูกบอลกลับไปหาคุณพ่อคุณแม่ได้ ดื่มจากแก้วได้ด้วยตัวเอง ใช้ภาษาเฉพาะสำหรับเด็ก เช่น การพูดเจื้อยแจ้วที่มีเสียงเหมือนกำลังพูดภาษาต่างประเทศอยู่ ทำตามคำสั่งได้โดยไม่ต้องใช้ท่าทาง พูดได้อีก 2-3 คำนอกเหนือจากคำว่า มาม๊า ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เพื่อช่วยส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ และอย่าปล่อยให้พวกเขารู้สึกไม่ได้รับความสนใจ นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ยังอาจช่วยส่งเสริมทักษะการเดินให้แก่เด็กได้ด้วยการยืนหรือคุกเข่าอยู่ตรงหน้าแล้วรอให้เด็กเดินมาหา หรือจับมือไว้ทั้ง 2 ข้างแล้วให้เด็กเดินมาหาก็ได้เช่นกัน โดยทั่วไป เด็กจะเริ่มเดินด้วยท่าทางที่กางแขนทั้ง 2 ข้างออกและงอข้อศอก […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 47 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 47 หรือประมาณ 11 ช่วงนี้เป็นช่วงที่เหมาะสำหรับการสอนให้ลูกช่วยเหลือหรือทำงานเล็ก ๆ บางอย่าง เช่น ช่วยหยิบของ ช่วยเก็บของ เพื่อเป็นการฝึกให้ลูกได้เรียนรู้และช่วยพัฒนาการสื่อสารของลูก อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการออกคำสั่งที่ใช้คำรุนแรง แต่ควรใช้เป็นวิธีการขอร้อง เพื่อให้เด็กรู้สึกดีและอยากทำตามมากกว่า [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 47  ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร พัฒนาการด้านต่าง  ๆ ของลูกน้อยในสัปดาห์ที่ 47 หยิบจับสิ่งของเล็ก  ๆ ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่น  ๆ ได้ จึงควรเก็บข้าวของที่เป็นอันตรายให้พ้นมือเด็ก สามารถยืนด้วยตัวเองได้ชั่วขณะ พูดคำว่า “มาม๊า” โดยรู้ความหมาย พูดคำอื่นนอกเหนือจากคำว่า “มาม๊า” ได้ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เนื่องจากตอนนี้ลูกน้อยเริ่มรับรู้สิ่งรอบตัวได้แล้ว จึงเป็นช่วงที่เหมาะจะเริ่มสอนลูกให้ช่วยทำโน่นทำนี่ และควรย้ำคำว่า “ได้โปรด” และ “ขอบ” แม่อาจหาวิธีเปลี่ยนการทำความสะอาดธรรมดาให้กลายเป็นเกมส์แสนสนุก ถึงแม้ว่าลูกน้อยจะยังไม่เข้าใจ ว่าอะไรเป็นอะไร แต่ก็ไม่ถือว่าเร็วเกินไปที่จะเริ่มสอนลูก แม่อาจเริ่มจาก การแบ่งภารกิจออกเป็นงานเล็ก  ๆ ซึ่งแม่ต้องคอยดูแลลูกอย่างใกล้ชิดขณะที่ลูกทำความสะอาด อาจสอนให้ลูกรู้จักสิ่งของแต่ละชนิดว่าอะไรคืออะไรไปด้วย ซึ่งจะช่วยให้ลูกเรียนรู้คำศัพท์มากขึ้น หมั่นพูดคุยกับลูกพร้อมบอกว่าอะไรเป็นอะไร เช่น ในขณะขึ้นบันได ก็ชวนลูกนับว่าบันไดมีกี่ขั้น บอกสีและชื่อของผลไม้และพืชผักในซุปเปอร์มาร์เก็ต อ่านหนังสือภาพให้ลูกฟัง […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 40 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 40 ลูกน้อยจะเริ่มแสดงออกถึงนิสัยส่วนตัวในช่วงนี้ และจะเริ่มชอบเข้าสังคม ยิ้มกว้างให้กับคนที่พบเจอ หรืออาจจะมีอาการเขินอายมากขึ้นเล็กน้อย หลบหน้าเมื่อเจอคนแปลกหน้า นอกจากนั้น เริ่มพูดเป็นคำ ๆ ได้บ้าง เด็กบางคนอาจมีพัฒนาเร็ว จึงอาจเรียกพ่อหรือแม่ได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการเร็วช้าต่างกัน คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรเร่งรัดลูกจนเกินไป [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรม และ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 40 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 40 ลูกน้อยจะเริ่มแสดงออกว่าต้องการความสนใจจากพ่อแม่ และอาจจะรู้จักการโบกมือบ๊ายบาย  ทั้งนี้ พัฒนาการด้านต่างๆ ในสัปดาห์ที่ 40 ของลูกน้อย ได้แก่ เล่นลูกบอลและกลิ้งลูกบอลกลับมาให้ ดื่มน้ำจากแก้วได้ด้วยตัวเอง หยิบของเล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้ ๆ ด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ ดังนั้น พ่อแม่ควรเก็บของที่อาจเป็นอันตรายไว้ให้ห่างมือลูกน้อย ยืนนิ่งๆ ได้ด้วยตัวเองสักครู่หนึ่ง ยืนเองได้แล้ว พูดคำว่า “พ่อ” หรือ “แม่” ได้ชัดเจน พูดคำอื่น ๆ นอกเหนือจากคำว่า “แม่” หรือ “พ่อ” […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 39 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 39 หรือประมาณ 9 เดือน เป็นช่วงเวลาที่ทารกเริ่มมีพัฒนาการในการพูด สามารถออกเสียงคล้ายเสียงพูดเป็นประโยคหรือเป็นวลีได้ และอาจเริ่มเดินได้เล็กน้อย ในช่วงนี้อาจจำเป็นต้องระวังอาการป่วยบางอย่าง เช่น คออักเสบ เท้าแบน การบาดเจ็บจากการหกล้ม อีกทั้งยังควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับวัคซีนให้เหมาะสมกับช่วงอายุอีกด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 39 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร พัฒนาการด้านต่างๆ ในสัปดาห์ที่ 39 ของลูกน้อย เล่นตบแปะ หรือโบกมือบ๊ายบายได้ บ่นพึมพำ หรือทำเสียงคล้ายๆ จะเป็นคำพูด วลี และ ประโยค เดินโดยการเกาะเฟอร์นิเจอร์ไปเรื่อยๆ เข้าใจคำว่า “ไม่” แต่ก็ไม่ได้เชื่อฟังทุกครั้ง ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกยังคงเข้าใจในน้ำเสียงมากกว่าความหมายของคำพูด ลูกสามารถเข้าใจได้เมื่อคุณพ่อคุณแม่พอใจ ดังนั้น ควรพูดชมลูกเมื่อเขาทำสิ่งต่างๆ ได้ดี เช่น “หนูทำดีมากเลยนะคะที่หยิบของเล่นที่ตกขึ้นมา” ยิ่งพูดกับลูกมากเท่าไหร่ ลูกก็จะสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารได้มากเท่านั้น ลูกจะเริ่มเข้าใจคำว่า “ไม่” ถึงแม้อาจจะยังไม่เชื่อฟังในตอนนี้ แต่ก็สามารถทำให้ลูกรับรู้ได้ว่าสิ่งใดควรทำ และไม่ควรทำ เช่น เมื่อพยายามไปจับต้องสิ่งของบางอย่างที่ก่อให้เกิดอันตราย หลังจากที่บอกไปแล้วว่า อย่าจับ ฉะนั้นจะเป็นการดีที่สุดที่จะใช้คำว่า “ไม่” เฉพาะเวลาที่จำเป็น และเมื่อบอกว่าไม่ คุณพ่อคุณแม่ต้องตามไปอุ้มเขาออกมาจากสิ่งนั้น เพื่อให้ลูกเข้าใจมากขึ้นว่าสิ่งที่บอกเป็นสิ่งที่ห้ามทำ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน