พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

สาเหตุอะไรที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ พิษร้ายทำลายสุขภาพในระยะยาว

วัยรุ่นสูบบุหรี่ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองไม่ควรละเลย เพราะบุหรี่เป็นสิ่งอันตรายที่สามารถส่งผลเสียระยะยาวต่อร่างกายของวัยรุ่นได้ ในปัจจุบัน มีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่สูบบุหรี่และมีแนวโน้มว่าจำนวนของวัยรุ่นที่สูบบุหรี่จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย สาเหตุหนึ่งเพราะเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ หรือบางก็คนใช้เป็นเครื่องมือระบายความเครียด เพื่อจัดการกับปัญหาวัยรุ่นสูบหรี่ บทความนี้อาจช่วยให้คุณเข้าใจสาเหตุ และอันตรายของบุหรี่มากขึ้น เราไปหาคำตอบเรื่องนี้กันเลย สาเหตุที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นสูบบุหรี่มีด้วยกันหลายสาเหตุทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก มาดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง สภาพแวดล้อมทางสังคมและทางกายภาพ การโฆษณาจากสื่อโทรทัศน์อาจทำให้วัยรุ่นหนุ่มสาวรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ แนวโน้มการสูบบุหรี่จะเพิ่มขึ้น หากพวกเขาเห็นเพื่อนในวัยเดียวกันสูบบุหรี่ หากคนในครอบครัวสูบบุหรี่ ก็มีแนวโน้มว่าบุตรหลานอาจรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ตามไปด้วย ปัจจัยทางชีวภาพและพันธุกรรม วัยรุ่นบางคนอาจมีความรู้สึกไวต่อสารนิโคติน จึงทำให้รู้สึกอยากนิโคตินได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ ปัจจัยทางพันธุกรรมบางอย่างอาจทำให้การเลิกบุหรี่ในวัยรุ่นยากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่อาจส่งผลต่อลูก และอาจส่งผลให้เด็กสูบบุหรี่เป็นประจำในอนาคต สุขภาพจิต ปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่น เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด อาจทำให้วัยรุ่นต้องการสูบบุหรี่ ความรู้สึกส่วนตัว วัยรุ่นบางคนเริ่มสูบบุหรี่เพราะต้องการระบายความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าบุหรี่เป็นเพียงทางออกเดียวในการกำจัดความเครียด อิทธิพลอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อวันรุ่น ความเครียดจากเศรษฐกิจตกต่ำ หรือรายได้ลดลง ไม่รู้ว่าจะเลิกบุหรี่อย่างไร ครอบครัวไม่สนับสนุนหรือมีส่วนร่วมในการเลิกบุหรี่ วัยรุ่นยังสามารถเข้าถึงการซื้อบุหรี่ได้ อาจมีพฤติกรรมเกเร ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง มองว่าตัวเองต่ำต้อย เห็นจากโฆษณาผลิตภัณฑ์บุหรี่ในร้านค้า โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ภาพยนตร์ นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ วัยรุ่นสูบบุหรี่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ในบุหรี่มีสารเคมีหลายชนิดที่เป็นสารพิษและส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น นิโคติน ไซยาไนด์ ผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกมักมีอาการเจ็บหรือแสบร้อนในลำคอและปอด บางคนถึงกับอาเจียนได้ และเมื่อสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

Cerebral palsy คือ ภาวะสมองพิการในเด็ก สาเหตุ อาการ การรักษา

ภาวะสมองพิการ หรือ Cerebral palsy คือ กลุ่มอาการของโรคทางสมองที่ส่งผลให้เด็กมีความผิดปกติด้านเคลื่อนไหวและการประสานงานของกล้ามเนื้ออย่างถาวร เช่น ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง แขนขาอ่อนแรง เดินเขย่งปลายเท้า โดยอาการที่พบในเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันไปตามระดับความเสียหายในสมอง แม้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตและช่วยให้เด็กสามารถเจริญเติบโตและมีพัฒนาการใกล้เคียงปกติได้มากที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] Cerebral palsy คือ อะไร ภาวะสมองพิการ หรือ Cerebral palsy คือ กลุ่มอาการผิดปกติในระบบประสาทที่เกิดขึ้นบริเวณส่วนสั่งการของเปลือกสมองซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ความผิดปกตินี้เกิดขึ้นในช่วงที่เปลือกสมองยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้เปลือกสมองเสียหายและส่งผลกระทบต่อความสามารถของสมองในการควบคุมการเคลื่อนไหวและความสมดุลของร่างกายอย่างถาวร ความเสียหายของสมองอาจเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ระหว่างคลอด หรือภายใน 1-2 ปีแรกหลังคลอด ทั้งนี้ อาการของภาวะสมองพิการจะไม่ปรากฏตั้งแต่แรกเกิด แต่จะค่อย ๆ แสดงให้เห็นในช่วงเป็นเด็กทารกหรือเด็กก่อนวัยเรียน ส่วนใหญ่แล้ว ขอบเขตความเสียหายภายในสมองของเด็กที่มีภาวะนี้จะไม่เพิ่มขึ้นตามอายุ แต่อาการของโรคอาจเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีอาการชัดเจนขึ้น มีอาการน้อยลง สาเหตุของ Cerebral palsy คืออะไร โดยทั่วไปแล้ว สาเหตุของภาวะสมองพิการ หรือ Cerebral palsy คือ ความผิดปกติของพัฒนาการสมอง หรือสมองได้รับความเสียหายขณะที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ซึ่งมักเกิดขึ้นขณะทารกยังอยู่ในครรภ์ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นหลังคลอด หรือในวัยทารกตอนต้นได้เช่นกัน ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะสมองพิการ อาจมีดังนี้ […]


เด็กทารก

อ่างอาบน้ำเด็ก ควรเลือกอย่างไรให้เหมาะสม

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มใช้ อ่างอาบน้ำเด็ก คือ ช่วงหลังจากสายสะดือของเด็กแห้งสนิท โดยทั่วไปจะอยู่ประมาณช่วง 1-3 สัปดาห์หลังคลอด คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกซื้ออ่างอาบน้ำเด็ก โดยคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยและความปลอดภัยขณะอาบน้ำเป็นสำคัญ เช่น เลือกอ่างอาบน้ำที่แข็งแรงทนทาน รองรับสรีระและช่วยประคองตัวเด็กได้ดี และควรศึกษาวิธีอาบน้ำเด็กอย่างถูกวิธี เพื่อให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายและอาบน้ำในอ่างได้อย่างปลอดภัย [embed-health-tool-vaccination-tool] ควรเริ่มให้เด็กอาบน้ำใน อ่างอาบน้ำเด็ก ตอนไหน การอาบน้ำให้เด็กในอ่างอาบน้ำอาจทำได้ตั้งแต่สายสะดือของเด็กหลุดและแห้งสนิทแล้ว โดยทั่วไป คือ ในช่วง 1-3 สัปดาห์หลังคลอด แต่หากเด็กมีท่าทางไม่สบายตัวเมื่อลงอ่างอาบน้ำเด็ก คุณพ่อคุณแม่อาจกลับไปใช้วิธีถูตัวด้วยฟองน้ำอีกสักระยะหนึ่งก่อน จึงค่อยลองให้เด็กอาบน้ำในอ่างอีกครั้ง เพื่อให้เด็กค่อย ๆ ปรับตัวให้ชินกับการอาบน้ำในอ่างอาบน้ำเด็ก การเตรียมพร้อมสำหรับการอาบน้ำเด็กในอ่างอาบน้ำอาจทำได้ดังนี้ เตรียมของใช้สำหรับการอาบน้ำเด็ก เช่น สบู่เหลวเด็ก ฟองน้ำอาบน้ำเด็ก ผ้าขนหนู ผ้าเช็ดตัว ผ้าอ้อมใหม่ เสื้อผ้าสะอาด เอาไว้ให้ครบถ้วนและวางไว้ใกล้มือ เพื่อให้หยิบใช้ได้สะดวก เตรียมอุณหภูมิน้ำที่ใช้อาบให้พอเหมาะ ผสมน้ำให้อุ่นพอดีและไม่ร้อนจนเกินไปจนลวกผิวเด็ก สำหรับทารกแรกเกิด ควรหลีกเลี่ยงการใช้เบาะรองอาบน้ำ หรืออุปกรณ์อาบน้ำอื่น ๆ เช่น ห่วงยางสำหรับให้เด็กนั่งในอ่างอาบน้ำ เนื่องจากเด็กยังเล็กเกินไปจึงยังไม่สามารถนั่งหรือประคองตัวได้ การอาบน้ำให้เด็ก โดยเฉพาะเด็กทารกที่มีผิวบอบบาง ควรอาบน้ำไม่เกิน 3 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละประมาณ 5-10 นาที […]


เด็กทารก

Neonatal sepsis คือ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกแรกเกิด รักษาได้อย่างไร

Neonatal sepsis คือ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่พบในทารกแรกเกิดในช่วง 0-30 วันแรกหลังคลอด ทำให้เกิดการอักเสบภายในร่างกายซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะอวัยวะล้มเหลว พิการ หรือเสียชีวิต ทั้งนี้ การวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้คุณหมอวางแผนการรักษาได้รวดเร็วและลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงหรือการเสียชีวิตได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลสอดส่องอาการของทารกแรกเกิดอยู่เสมอ โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือมีภาวะสุขภาพบางประการที่ทำให้ต้องใช้สายสวนในการรักษา หากพบว่าทารกแรกเกิดมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ ตัวเย็น ง่วงซึม ไม่กินนม หายใจลำบาก ถ่ายเหลว ควรรีบพาไปคุณหมอโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] Neonatal sepsis คือ อะไร Neonatal sepsis คือ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกในแรกเกิดอายุตั้งแต่ 0-30 วัน แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกระยะต้น (Early Neonatal Sepsis) เป็นการติดเชื้อภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังคลอด ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อในขณะอยู่ในครรภ์ แต่ก็อาจเกิดจากการติดเชื้อขณะคลอดได้เช่นกัน ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกระยะหลัง (Late Neonatal Sepsis) เป็นการติดเชื้อในช่วง 72 ชั่วโมงหลังคลอด ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อหลังคลอด มักพบในทารกแรกเกิดที่ต้องดูแลอาการนานกว่าปกติ และทารกที่จำเป็นต้องเจาะสายสวนค้างอยู่ในเส้นเลือดเป็นเวลานาน การติดเชื้อในกระแสเลือดอาจกระทบต่อระบบอื่น […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

ROP คือ อะไร อาการ การรักษา และการป้องกัน

ROP (Retinopathy Of Prematurity) หรือ โรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนด คือ ความผิดปกติของหลอดเลือดบริเวณจอตาที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้จอตาเกิดความเสียหาย หากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอาจทำให้ทารกมีอาการดวงตาเคลื่อนไหวผิดปกติ ตาไม่สามารถมองตามวัตถุ รูม่านตามีสีขาว และอาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] คำจำกัดความ ROP คือ อะไร ROP คือ ความผิดปกติของจอประสาทตาที่พบในทารกเกิดก่อนกำหนด เนื่องจากความผิดปกติของหลอดเลือดบริเวณจอตาที่พัฒนายังไม่เต็มที่ ทำให้เนื้อเยื่อแผลเป็นก่อตัวขึ้นภายในดวงตา ส่งผลให้จอตาเกิดความเสียหายและหากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจทำให้ทารกสูญเสียการมองเห็นได้ อาการ อาการของ ROP โรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนดอาจไม่มีสัญญาณเตือนของโรค แต่อาจทำให้มีอาการต่าง ๆ ดังนี้ ดวงตาของทารกเคลื่อนไหวผิดปกติ ตาไม่สามารถมองตามวัตถุได้ รูม่านตามีสีขาว ทารกมีปัญหาในการจดจำใบหน้า โดยโรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนดสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ระยะ ซึ่งมีอาการตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงรุนแรงมาก ดังนี้ ระยะที่ 1 และ 2 โรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนดในระยะนี้อาจหายเองได้โดยไม่ต้องรักษา และไม่แสดงอาการที่รุนแรง แต่ควรอยู่ในความดูแลของคุณหมอเพื่อป้องกันอาการที่อาจแย่ลง ระยะที่ 3 ทารกบางคนอาจมีอาการดีขึ้นโดยไม่ต้องรักษา แต่บางคนอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาความผิดปกติของหลอดเลือด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อจอตา (Retina) ที่อาจทำให้จอประสาทตาหลุด ระยะที่ 4 ทารกบางคนอาจมีจอประสาทตาหลุดออกมาบางส่วน ซึ่งต้องได้รับการรักษาเร่งด่วน เพื่อป้องกันปัญหาสายตาที่อาจทำให้สูญเสียการมองเห็น ระยะที่ 5 จอตาหลุดออกอย่างสมบูรณ์ แม้ว่าจะได้รับการรักษาแล้วก็อาจสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดได้ สาเหตุ สาเหตุของ […]


โภชนาการสำหรับทารก

อาหารเด็ก9เดือน ที่ควรกิน และควรหลีกเลี่ยง มีอะไรบ้าง

อาหารเด็ก9เดือน ควรเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิดที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยพัฒนาการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสมอง รวมถึงให้พลังงานที่เพียงพอในการทำกิจกรรมแต่ละวัน เพื่อสุขภาพและพัฒนาการที่ดีของเด็กในอนาคต [embed-health-tool-bmi] อาหารเด็ก9เดือน ที่ควรได้รับ เด็ก 9 เดือน เป็นวัยที่มีพัฒนาการมากขึ้นและต้องการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว จึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย รวมถึงควรให้พลังงานเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน เพื่อใช้ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการทางสมอง ดังนั้น อาหารเด็ก9เดือนจึงจำเป็นต้องมีนมแม่เป็นอาหารหลัก และเสริมด้วยอาหารแข็งที่ให้สารอาหารหลากหลาย ดังนี้ ผักและผลไม้ ควรเลือกผักและผลไม้ที่มีสีสันสดใสดึงดูดใจ โดยผักควรผ่านการปรุงสุกจนนิ่ม บดละเอียดหรือบดหยาบเพื่อง่ายต่อการกิน เช่น บร็อคโคลี่ แครอท ผักโขม ผักปวยเล้ง กะหล่ำปลี อะโวคาโด ผักคะน้า หน่อไม้ฝรั่ง สำหรับผลไม้ควรเป็นผลไม้สุกและบดจนเนื้อเนียนกินง่าย เช่น กล้วย แอปเปิ้ล บลูเบอร์รี่ กีวี่ ส้ม มะม่วงสุก ลูกแพร์ สตรอว์เบอร์รี แตงโม ลูกพีช มะละกอ อาหารประเภทแป้ง เช่น มันฝรั่ง มันเทศ ข้าว ข้าวต้ม ข้าวโอ๊ต ขนมปัง ควรผ่านการปรุงสุกจนเนื้อนิ่ม หรืออาจนำไปบดหยาบเพื่อให้กินง่ายขึ้น อาหารประเภทโปรตีน […]


โภชนาการสำหรับทารก

อาหารเด็ก10เดือน ที่ควรกิน และที่ควรหลีกเลี่ยงมีอะไรบ้าง

เด็ก 10 เดือน เป็นวัยที่ยังจำเป็นต้องกินนมแม่และสามารถเสริมการกินอาหารแข็ง เพื่อฝึกทักษะการเคี้ยวอาหารและเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ดังนั้น การเลือก อาหารเด็ก10เดือน ให้เหมาะสม อาจช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีของเด็กได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] อาหารเด็ก10เดือน ที่ควรได้รับ นอกจากการกินนมแม่ เด็ก 10 เดือนยังควรได้รับอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการทางสมอง โดยอาหารเด็ก 10 เดือน อาจมีดังนี้ อาหารประเภทแป้ง เช่น มันฝรั่ง มันเทศ ข้าวโพด ข้าว ข้าวต้ม ข้าวโอ๊ต ขนมปัง อาหารประเภทโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและมัน ไข่ ปลา ถั่ว ธัญพืช เต้าหู้ ผักและผลไม้ เช่น กล้วย กีวี่ ส้ม แอปเปิ้ล มะม่วงสุก ลูกพลัม ลูกพีช มะละกอ สับปะรด สตรอว์เบอร์รี ผลิตภัณฑ์จากนมที่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ เช่น นมวัว นมแพะ โยเกิร์ต ชีส โดยใช้เป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร […]


การดูแลทารก

สบู่เด็ก ควรเลือกแบบไหน ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

สบู่เด็ก ที่ดีควรมีส่วนผสมที่ไม่รุนแรงต่อผิวบอบบางของเด็ก ให้ความชุ่มชื้นและควรมีสารอาหารที่ช่วยบำรุงให้ผิวแข็งแรง เพื่อป้องกันปัญหาผิวในเด็ก เช่น ระคายเคืองผิว ผิวแดง ผดผื่น อาการแพ้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรอ่านฉลากสบู่เด็กก่อนเลือกซื้อทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยต่อผิวของเด็ก [embed-health-tool-due-date] สบู่เด็ก ควรเป็นอย่างไร สบู่เด็ก ควรเป็นสบู่ที่ไม่มีสารเคมีรุนแรง ไม่มีฟอง อ่อนโยน ให้ความชุ่มชื้นกันผิวและควรเป็นส่วนผสมที่มาจากธรรมชาติ เช่น โปรตีนนม วิตามินอี น้ำผึ้ง กลีเซอรีน อัลมอนด์ น้ำมันมะกอก ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยบำรุงผิว ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น อ่อนนุ่มและเรียบเนียนดูสุขภาพดี ทั้งยังไม่ก่อให้เกิดความระคายเคืองอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงสบู่เด็กที่มีส่วนผสมบางชนิดที่รุนแรงต่อผิวเด็ก เช่น เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol) โพรพิลีนไกลคอล (Propylene Glycol) โซเดียมลอเรทซัลเฟต (Sodium Laureth Sulfate หรือ SLS) โคคามิโดโพรพิลบีเทน (Cocamidopropyl Betaine) โคโคนัทไดเอทาโนลาไมด์ (Coconut Diethanolamide หรือ CDE) โพรพิลพาราเบน (Propylparaben) ไทรโคลซาน (Triclosan) เนื่องจากส่วนผสมเหล่านี้หากใช้เป็นเวลานานอาจทำร้ายผิวของเด็ก ทำให้ผิวเกิดความระคายเคืองได้ง่าย […]


การดูแลทารก

เป้อุ้มเด็ก ประโยชน์และข้อควรระวังในการใช้

เป้อุ้มเด็ก เป็นตัวช่วยสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการอุปกรณ์ในการช่วยอุ้มเด็ก ซึ่งอาจมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณพ่อคุณแม่ ช่วยลดอาการร้องไห้งอแงของเด็ก ช่วยให้เด็กนอนหลับง่ายขึ้น รวมถึงอาจช่วยสร้างความรักความผูกพันและอาจช่วยลดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของคุณแม่ได้ อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาข้อควรระวังในการใช้เป้อุ้มเด็กก่อนเลือกซื้อเพื่อความปลอดภัยของเด็ก [embed-health-tool-due-date] ประเภทของเป้อุ้มเด็ก เป้อุ้มเด็กเป็นอุปกรณ์สำหรับใช้อุ้มทารกไว้บนหน้าอกหรือหลัง ซึ่งอาจมีหลายลักษณะ ดังนี้ เป้อุ้มเด็ก (Baby Carrier) มีลักษณะเป็นเป้อุ้มสำหรับสะพายไว้ด้านหน้า หรือบางชิ้นอาจสามารถปรับได้เพื่อใช้สะพายไว้ด้านหลังหรือสะโพก เป้หรือผ้าพาดไหล่อุ้มเด็ก (Baby Sling) มีลักษณะเป็นแถบผ้าหรือเป้ที่มีลักษณะพาดไหล่ข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อใช้สำหรับอุ้มเด็กทารก กระเป๋าเป้อุ้มเด็ก (Baby Backpack) มีลักษณะเป็นโครงแข็ง มักใช้ใส่เป็นเป้สะพายหลัง เหมาะสำหรับเด็กโตและเด็กวัยหัดเดินที่สามารถยกศีรษะได้เอง เป้อุ้มเด็ก มีประโยชน์อย่างไร เป้อุ้มเด็กอาจมีประโยชน์ทั้งต่อคุณพ่อคุณแม่และเด็ก ดังนี้ ช่วยให้เด็กนอนหลับได้ดีขึ้น เด็กบางคนเมื่ออยู่ห่างจากคุณพ่อคุณแม่อาจมีอาการร้องไห้งอแงบ่อย ดังนั้น การใช้เป้อุ้มเด็กจึงอาจช่วยให้เด็กอยู่ใกล้ชิดกับคุณพ่อคุณแม่ตลอดเวลา ช่วยให้เด็กสบายใจ รู้สึกปลอดภัย และได้รับความรักความอบอุ่น จึงอาจช่วยให้เด็กนอนหลับได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันไม่ให้เด็กร้องไห้งอแง หากเด็กอยู่เพียงลำพังหรือร้องไห้งอแงบ่อยครั้ง อาจทำให้เด็กเกิดความเครียดมากขึ้นและส่งผลเสียต่อสุขภาพ ซึ่งการใช้เป้อุ้มเด็กอาจช่วยให้เด็กร้องไห้งอแงน้อยลง เนื่องจากเด็กจะรู้สึกสบายและปลอดภัยเมื่ออยู่ในอ้อมกอดของคุณพ่อคุณแม่ ช่วยสร้างความสัมพันธ์ ขณะอยู่ในครรภ์เด็กทารกจะใกล้ชิดกับเสียงหัวใจ การหายใจ และการเคลื่อนตัวของคุณแม่ตลอดเวลา เมื่อเด็กคลอดออกมาเป้อุ้มเด็กอาจเป็นตัวช่วยในการสร้างความเคยชินให้กับเด็กแรกเกิด รวมถึงยังอาจช่วยสร้างความผูกพันให้เพิ่มมากขึ้นในระหว่างการอุ้มแนบอกได้อีกด้วย ช่วยให้สามารถให้นมเด็กง่ายขึ้น เป้อุ้มเด็กอาจช่วยให้คุณแม่สามารถให้นมแม่กับลูกได้ง่ายขึ้นเมื่อต้องอยู่นอกบ้าน เนื่องจากเด็กจะอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแก่การให้นมตลอดเมื่อยังอยู่ในเป้อุ้มเด็ก อาจดีต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้และสังคม เนื่องจากการใช้เป้อุ้มเด็กจะช่วยให้เด็กสามารถไปไหนมาไหนกับคุณพ่อคุณแม่ได้ทุกที่ สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้มากขึ้น […]


การดูแลทารก

การมองเห็นของทารก และการดูแลสุขภาพดวงตา

การมองเห็นของทารก จะเริ่มพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่แรกเกิด โดยจอตา (Retina) และรูม่านตาจะค่อย ๆ พัฒนาและกว้างขึ้น ส่งผลให้ทารกมองเห็นภาพได้ชัดเจน มองเห็นในระยะไกล และสามารถควบคุมกล้ามเนื้อตาในการมองตามวัตถุได้เป็นอย่างดี ควบคู่ไปกับทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายที่ทำให้ทารกสามารถหยิบจับสิ่งของได้แม่นยำมากขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] การมองเห็นของทารก พัฒนาอย่างไร การมองเห็นของทารกอาจมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามช่วงอายุ ดังนี้ ทารกแรกเกิด ดวงตาของทารกแรกเกิดอาจไวต่อแสงจ้ามาก เนื่องจากรูม่านตาของทารกยังมีขนาดที่เล็กมาก ทารกจึงอาจมองเห็นได้เพียงในวงแคบ และเมื่อผ่านไปประมาณ 2-3 สัปดาห์ จอตาซึ่งเป็นเซลล์ประสาทที่ไวต่อแสงอยู่บริเวณด้านหลังภายในลูกตา จะค่อย ๆ พัฒนาทำให้รูม่านตาของทารกกว้างขึ้น ส่งผลให้ทารกสามารถมองเห็นรูปร่าง สีสัน มองเห็นในมุมกว้างมากขึ้น และเริ่มเรียนรู้ในการจดจ่อกับสิ่งตรงหน้า เมื่อทารกอายุครบ 1 เดือน ดวงตาจะสามารถมองเห็นสิ่งตรงหน้าได้ชัดเจนไม่เกิน 100 เซนติเมตร และจดจ่อกับสิ่งนั้นในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่จะให้ความสนใจกับสิ่งของที่มีสีสันสดใส ทารกอายุ 2-4 เดือน ดวงตาของทารกในช่วง 2 เดือนแรก อาจยังทำงานไม่ประสานกันมากนัก เนื่องจากกล้ามเนื้อดวงตายังอยู่ในช่วงพัฒนา ในช่วงนี้ทารกสามารถมองตามการเคลื่อนที่ของวัตถุได้ ซึ่งดวงตาจะค่อย ๆ ทำงานประสานกันได้ดียิ่งขึ้น เมื่ออายุครบ 3 เดือน ดวงตาของทารกจะเริ่มจดจ่อกับการเคลื่อนที่ของวัตถุได้ดีมากขึ้น และอาจสามารถเริ่มใช้แขนตีวัตถุได้ตรงตามเป้าหมาย ทารกอายุ 5-8 เดือน เมื่อทารกอายุได้ 5 เดือน การมองเห็นของทารกจะดีมากขึ้นโดยสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ไกลขึ้นและอาจมองเห็นเป็นภาพ […]


โภชนาการสำหรับทารก

นมเด็กแรกเกิด ควรเป็นอย่างไร และควรให้เด็กกินอย่างไร

นมเด็กแรกเกิด ควรเป็นนมที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการของทารกทั้งทางร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาทและสมอง นอกจากนี้ ควรเป็นนมที่ย่อยง่ายเนื่องจากระบบย่อยอาหารของทารกแรกเกิดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ จึงอาจทำให้มีปัญหาท้องอืดได้ง่าย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรเตรียมพร้อมและศึกษาเกี่ยวกับนมเด็กแรกเกิดทุกชนิด เพื่อให้ทารกมีพัฒนาการที่สมบูรณ์แข็งแรงตามวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] นมเด็กแรกเกิด ควรเป็นอย่างไร ทารกแรกเกิดสามารถกินนมเป็นอาหารหลักได้เพียงอย่างเดียว ดังนั้น นมเด็กแรกเกิดจึงต้องเป็นนมที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย สมองและระบบภูมิคุ้มกัน โดยนมเด็กแรกเกิดที่แนะนำ มีดังนี้ นมแม่ นมแม่เป็นนมเด็กแรกเกิดที่แนะนำมากที่สุด เนื่องจากนมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของทารก เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินและแร่ธาตุ ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย ระบบประสาทและสมอง สุขภาพดวงตา รวมถึงยังช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของทารกให้แข็งแรง การกินนมแม่จึงอาจช่วยปกป้องทารกจากการติดเชื้อทางเดินอาหาร ปอด หู และการติดเชื้ออื่น ๆ ในร่างกายได้ นอกจากนี้ นมแม่อาจช่วยป้องกันความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคไหลตายในทารก (Sudden Infant Death Syndrome หรือ SIDS) โรคหอบหืด โรคผิวหนัง ท้องเสีย โรคทางเดินอาหาร โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคอ้วน โรคเบาหวาน ดังนั้น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวโดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด จึงเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพของทารก นมผงสำหรับเด็กแรกเกิด นมผงเป็นนมทางเลือกสำหรับทารกที่ไม่สามารถกินนมแม่ได้เนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น น้ำนมแม่น้อย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน