พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

สาเหตุอะไรที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ พิษร้ายทำลายสุขภาพในระยะยาว

วัยรุ่นสูบบุหรี่ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองไม่ควรละเลย เพราะบุหรี่เป็นสิ่งอันตรายที่สามารถส่งผลเสียระยะยาวต่อร่างกายของวัยรุ่นได้ ในปัจจุบัน มีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่สูบบุหรี่และมีแนวโน้มว่าจำนวนของวัยรุ่นที่สูบบุหรี่จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย สาเหตุหนึ่งเพราะเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ หรือบางก็คนใช้เป็นเครื่องมือระบายความเครียด เพื่อจัดการกับปัญหาวัยรุ่นสูบหรี่ บทความนี้อาจช่วยให้คุณเข้าใจสาเหตุ และอันตรายของบุหรี่มากขึ้น เราไปหาคำตอบเรื่องนี้กันเลย สาเหตุที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นสูบบุหรี่มีด้วยกันหลายสาเหตุทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก มาดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง สภาพแวดล้อมทางสังคมและทางกายภาพ การโฆษณาจากสื่อโทรทัศน์อาจทำให้วัยรุ่นหนุ่มสาวรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ แนวโน้มการสูบบุหรี่จะเพิ่มขึ้น หากพวกเขาเห็นเพื่อนในวัยเดียวกันสูบบุหรี่ หากคนในครอบครัวสูบบุหรี่ ก็มีแนวโน้มว่าบุตรหลานอาจรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ตามไปด้วย ปัจจัยทางชีวภาพและพันธุกรรม วัยรุ่นบางคนอาจมีความรู้สึกไวต่อสารนิโคติน จึงทำให้รู้สึกอยากนิโคตินได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ ปัจจัยทางพันธุกรรมบางอย่างอาจทำให้การเลิกบุหรี่ในวัยรุ่นยากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่อาจส่งผลต่อลูก และอาจส่งผลให้เด็กสูบบุหรี่เป็นประจำในอนาคต สุขภาพจิต ปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่น เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด อาจทำให้วัยรุ่นต้องการสูบบุหรี่ ความรู้สึกส่วนตัว วัยรุ่นบางคนเริ่มสูบบุหรี่เพราะต้องการระบายความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าบุหรี่เป็นเพียงทางออกเดียวในการกำจัดความเครียด อิทธิพลอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อวันรุ่น ความเครียดจากเศรษฐกิจตกต่ำ หรือรายได้ลดลง ไม่รู้ว่าจะเลิกบุหรี่อย่างไร ครอบครัวไม่สนับสนุนหรือมีส่วนร่วมในการเลิกบุหรี่ วัยรุ่นยังสามารถเข้าถึงการซื้อบุหรี่ได้ อาจมีพฤติกรรมเกเร ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง มองว่าตัวเองต่ำต้อย เห็นจากโฆษณาผลิตภัณฑ์บุหรี่ในร้านค้า โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ภาพยนตร์ นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ วัยรุ่นสูบบุหรี่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ในบุหรี่มีสารเคมีหลายชนิดที่เป็นสารพิษและส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น นิโคติน ไซยาไนด์ ผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกมักมีอาการเจ็บหรือแสบร้อนในลำคอและปอด บางคนถึงกับอาเจียนได้ และเมื่อสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

การดูแลทารก

วิธีดูแลทารกตัวเหลือง และการรักษาทารกตัวเหลือง

ภาวะตัวเหลืองหรือดีซ่าน (Jaundice) เป็นภาวะที่พบได้ทั่วไปในทารกแรกเกิด มักเกิดจากทารกมีระดับบิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารเคมีสีเหลืองในเลือดมากเกินไป จนส่งผลให้มีสีผิวหรือสีตาขาวเป็นสีเหลือง วิธีดูแลทารกตัวเหลือง ในเบื้องต้น ทำได้ด้วยการให้ทารกกินนมแม่บ่อยขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายขับบิลิรูบินส่วนเกินออกทางอุจจาระ อาจช่วยให้ภาวะตัวเหลืองดีขึ้นได้ โดยปกติแล้วทารกตัวเหลืองไม่ต้องรับการรักษา เว้นแต่ทารกจะมีระดับบิลิรูบินสูงเกินไป เป็นทารกที่คลอดก่อนกำหนด มีภาวะขาดน้ำ หรือป่วยจนอาการตัวเหลืองไม่สามารถหายไปเองได้ ทั้งนี้ หากดูแลเบื้องต้นแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ แต่ทารกยังตัวเหลืองหรือมีอาการแย่ลง ควรพาทารกไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกตัวเหลืองเกิดจากอะไร ทารกตัวเหลืองเกิดจากทารกมีระดับบิลิรูบิน ซึ่งเป็นสารเคมีสีเหลืองที่ถูกเปลี่ยนมาจากฮีโมโกลบินที่เซลล์เม็ดเลือดแดงปล่อยออกมาระหว่างกระบวนการสลายเม็ดเลือดในปริมาณมากเกินไป ส่งผลให้ตาขาวและผิวหนังของทารกแรกเกิดเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เริ่มจากบริเวณใบหน้าและหนังศีรษะ แล้วกระจายไปทั่วร่างกาย ภาวะตัวเหลืองในทารกมักพบหลังจากทารกเกิดได้ประมาณ 2-3 วัน และอาจหายไปเองภายใน 10-14 วันหลังคลอด โดยปกติแล้ว ร่างกายของทารกสามารถกำจัดบิลิรูบินออกไปได้เอง แต่หากตับของทารกยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ก็อาจทำให้กำจัดบิลิรูบินไม่ทันและมีสารชนิดนี้สะสมอยู่ในร่างกายมากเกินไปจนทำให้ตัวเหลืองได้ สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ทารกตัวเหลือง อาจมีดังนี้ การได้รับน้ำนมแม่น้อยเกินไป ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด คุณแม่ยังผลิตน้ำนมเหลืองหรือโคลอสตรุม (Colostrum) ได้น้อยกว่าน้ำนมขาวทั่วไป จึงอาจทำให้ทารกได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ และร่างกายไม่สามารถกำจัดบิลิรูบินส่วนเกินได้ทัน ส่งผลให้ทารกตัวเหลืองได้ จึงควรให้กินนมแม่บ่อยขึ้น สารบางชนิดในน้ำนมแม่ (Breast milk jaundice) บางครั้งการกินนมแม่เพียงอย่างเดียวก็อาจทำให้ทารกไม่สามารถกำจัดบิลิรูบินส่วนเกินได้ทัน ทารกที่มีภาวะนี้อาจต้องงดกินนมแม่แล้วกินอาหารเสริมอื่น […]


สุขภาพเด็ก

อาการลองโควิดในเด็ก สาเหตุและวิธีรักษาที่เหมาะสม

อาการลองโควิดในเด็ก (Long Covid) เป็นภาวะที่เด็กซึ่งหายจากโรคโควิด-19 แล้วยังมีอาการของโรคโควิด 19 อยู่หรือมีอาการใหม่ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การรักษาทำได้ด้วยการรักษาตามอาการ โดยทั่วไป อาการลองโควิดจะดีขึ้นภายใน 1-5 เดือน แม้ภาวะนี้จะไม่รุนแรง แต่ก็เป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังที่จำเป็นต้องติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง ทางที่ดีที่สุดคือ การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) หรือโรคโควิด 19 ตั้งแต่แรก ด้วยการให้เด็กฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้ครบ 2 เข็ม และไปฉีดเข็มกระตุ้นตามคำแนะนำของคุณหมอ พร้อมกับรักษาสุขอนามัยให้ดี เช่น ล้างมือบ่อย ๆ สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ [embed-health-tool-vaccination-tool] อาการลองโควิดในเด็ก เกิดจากอะไร ในขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าอาการลองโควิดในเด็กเกิดจากสาเหตุใด แต่พบว่าอาการนี้เกิดขึ้นบ่อยกับเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพบางประการ เช่น เด็กที่มีโรคอ้วน เด็กที่มีภาวะสุขภาพที่ทำให้ร่างกายจะอ่อนแอกว่าปกติ เช่น โรคหอบหืด โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) ทั้งนี้ เด็กที่มีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการเลยเมื่อเป็นโรคโควิด 19 ก็สามารถเกิดอาการลองโควิดได้เช่นกัน อาการลองโควิดในเด็ก เป็นอย่างไร อาการลองโควิดในเด็ก เป็นภาวะที่เด็กซึ่งหายจากโรคโควิด 19 คือไม่มีเชื้ออยู่ในร่างกายแล้ว ยังคงมีอาการของโรคหลงเหลืออยู่ หรือบางกรณีก็อาจเกิดอาการผิดปกติที่ไม่เคยเป็นตอนป่วยเป็นโรคโควิด 19 และมักไม่สามารถวินิจฉัยหาสาเหตุได้ ภาวะนี้มักพบในเด็กอายุตั้งแต่ 10 […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

Colostrum หรือน้ำนมเหลือง อาหารเสริมภูมิคุ้มกันจากอกแม่

Colostrum หรือโคลอสตรุม คือ น้ำนมเหลืองหรือหัวน้ำนม มีลักษณะเป็นของเหลวสีเหลืองข้นที่หลั่งออกมาจากเต้านมของคุณแม่ในช่วงประมาณ 1-3 วันหลังคลอด น้ำนมชนิดนี้มีสารอาหารที่ครบถ้วนสำหรับทารกแรกเกิด ทั้งยังมีแอนติบอดีที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อ และช่วยในการเจริญเติบโตของทารกได้เป็นอย่างดี และจะค่อย ๆ เปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นน้ำนมสีขาวภายใน 2 สัปดาห์หลังคลอด ทั้งนี้ คุณแม่ควรให้ทารกกินนมแม่เป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารที่เพียงพอจากนมแม่ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่ดีที่สุดสำหรับเด็กในวัยนี้ [embed-health-tool-vaccination-tool] Colostrum คืออะไร โคลอสตรุม (Colostrum) หรือน้ำนมเหลือง บางครั้งเรียกว่า หัวน้ำนม เป็นของเหลวสีเหลืองข้นที่หลั่งออกมาในช่วงประมาณ 1-3 วันหลังคลอด Colostrum มีความเข้มข้นสูงและอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญหลากหลายที่ดีต่อสุขภาพของทารกแรกเกิด แต่มีไขมันและน้ำตาลต่ำ น้ำนมเหลืองปริมาณ 100 มิลลิลิตรให้พลังงานประมาณ 58-67 กิโลแคลอรี หรือประมาณ 17 กิโลแคลอรี/ 1 ออนซ์ สีเหลืองอ่อนของน้ำนมเหลืองเกิดจากสารแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) อีกทั้งในน้ำนมเหลืองยังมีวิตามินเอ วิตามินเค โปรตีน สารช่วยในการเจริญเติบโต และเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ผลิตแอนติบอดีหรือสารภูมิต้านทานซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค จึงช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้กับทารกแรกเกิดได้ เนื่องจากโคลอสตรุมหรือน้ำนมเหลืองผลิตมาจากฮอร์โมนการตั้งครรภ์ที่รกสร้างขึ้น เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การเก็บน้ำนมให้อยู่ได้นาน สำหรับคุณแม่มือใหม่

ทารกจำเป็นต้องกินนมทุก ๆ 2-4 ชั่วโมง ตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 6 เดือนเป็นอย่างต่ำ การเก็บน้ำนม ด้วยการปั๊มนมหรือบีบนมจากเต้าเก็บไว้ใช้งานภายหลังจึงอาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคุณแม่ไม่สะดวกให้นมจากเต้า โดยทั่วไป สามารถเก็บน้ำนมแม่ในช่องแช่แข็งได้นาน 12 เดือน เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดาได้ไม่เกิน 4 วัน และไม่เกิน 4 ชั่วโมงเมื่อปั๊มนมแล้วนำมาวางในอุณหภูมิปกติหรืออุณหภูมิห้อง ทั้งนี้ เมื่อเปิดถุงเก็บน้ำนมแล้วเทน้ำนมแม่ใส่ขวดนมให้ทารกกินแล้ว ควรให้ทารกกินนมในขวดหรือนมจากถุงนั้นให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง เพื่อให้เด็กได้รับประโยชน์และคุณค่าทางสารอาหารจากน้ำนมแม่มากที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] น้ำนมแม่เก็บได้นานแค่ไหน ระยะเวลาในการเก็บน้ำนมแม่จะแตกต่างไปตามสถานที่และอุณหภูมิที่เก็บน้ำนม โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ดังนี้ เก็บน้ำนมในอุณหภูมิห้อง ที่อุณหภูมิไม่เกิน 26 องศาเซลเซียส สามารถเก็บไว้ได้นาน 4 ชั่วโมง แต่ควรนำมาใช้ให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะในวันที่อากาศร้อนเพราะอาจเร่งให้น้ำนมเสียได้เร็วขึ้น เก็บน้ำนมในถังน้ำแข็ง สามารถเก็บได้นาน 24 ชั่วโมง นิยมใช้เมื่อต้องเดินทางและไม่สามารถเก็บน้ำนมไว้ในภาชนะที่อุณหภูมิคงที่ได้ ทั้งนี้ ควรรีบใช้ให้เร็วที่สุด ก่อนที่คุณภาพของน้ำนมจะลดลง เก็บน้ำนมในตู้เย็น ที่อุณหภูมิ 0-3.9 องศาเซลเซียส สามารถเก็บไว้ได้นาน 4 วัน เหมาะสำหรับการเก็บน้ำนมที่ใกล้จะนำไปใช้ ควรวางภาชนะใส่น้ำนมไว้ชิดด้านในสุดของตู้เย็น ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความเย็นสูงสุด […]


การดูแลทารก

ล้างจมูกทารก ช่วยเรื่องอะไร และวิธีล้างจมูกทารกอย่างปลอดภัย

การ ล้างจมูกทารก เป็นวิธีที่ช่วยให้ทารกที่มีอาการคัดจมูกหรือจมูกตันจากไข้หวัดสามารถหายใจได้สะดวกขึ้น โดยเฉพาะในช่วงให้นมและขณะนอนหลับ วิธีล้างจมูกทารกอย่างปลอดภัย โดยทั่วไปสามารถทำได้ด้วยการใช้หลอดหยด (Dropper) ดูดน้ำเกลือ จากนั้นค่อย ๆ ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในรูจมูกของทารก เมื่อจมูกชุ่มชื้นเพียงพอจึงสอดปลายลูกยางแดงขนาดเล็กเข้าไปในรูจมูกแล้วดูดน้ำมูกออกมา ทั้งนี้ ควรล้างมือให้สะอาดก่อนล้างจมูกทารกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และหลังล้างจมูกทารกทุกครั้ง ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ล้างจมูก ตากให้แห้ง แล้วเก็บไว้ในภาชนะสะอาด [embed-health-tool-vaccination-tool] ล้างจมูกทารก ช่วยเรื่องอะไร บางครั้งเมื่อทารกเป็นหวัด มีไข้ หรือไม่สบายจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ อาจทำให้มีน้ำมูกหรือคราบมูกเหนียวค้างอยู่ในจมูกจนคัดจมูก หายใจไม่สะดวก และส่งผลให้ทารกงอแงในตอนกลางคืนหรือนอนไม่หลับ และหากป่วยนานเกินสัปดาห์หรือภูมิแพ้กำเริบบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดโรคไซนัสอักเสบในทารก (Sinusitis) เนื่องจากเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ เพราะมีของเหลวคั่งค้างอยู่ภายในโพรงไซนัสเรื้อรัง ทำให้มีอาการคัดจมูก มีน้ำมูกสีเขียวหรือสีเหลือง จมูกไม่รับกลิ่น ไอแบบมีเสมหะ เป็นต้น การล้างจมูกทารกด้วยน้ำเกลือจึงอาจช่วยกำจัดน้ำมูกที่เหนียวข้นหรือแห้งกรังออกจากช่องจมูก ช่วยให้ทารกหายใจได้สะดวกขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจล้างจมูกให้ทารกก่อนให้นมและก่อนนอนประมาณ 15 นาที เพื่อช่วยให้ทารกหายใจได้สะดวกขณะกินนม และสามารถหลับสนิทได้ในช่วงงีบระหว่างวันและตอนกลางคืน ล้างจมูกทารกอันตรายไหม การล้างจมูกทารก คือ การทำความสะอาดช่องจมูกด้วยน้ำเกลือ เพื่อขจัดมูกเหนียว คราบมูกที่แห้งกรัง หรือหนองบริเวณโพรงจมูก ซึ่งจะช่วยให้ทารกหายใจได้สะดวกขึ้น หากล้างจมูกอย่างถูกวิธีจะไม่ทำให้ทารกสำลักหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นคนล้างจมูกให้ทารกควรล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่และหลีกเลี่ยงการสัมผัสวัตถุอื่น ๆ ก่อนล้างจมูกให้ทารก […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ และการส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสม

เด็ก 1 ขวบ เป็นวัยที่เปลี่ยนแปลงจากเด็กทารกไปเป็นเด็กวัยเตาะแตะที่กระตือรือร้นและสงสัยใคร่รู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เด็กวัยนี้สามารถสื่อสารและแสดงอารมณ์ความรู้สึกได้หลากหลายขึ้น พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ โดยทั่วไปที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกต เช่น หยิบอาหารเข้าปากเองได้ ชอบใช้นิ้วชี้วัตถุหรือรูปภาพ พูดคำที่มีความหมายได้เป็นครั้งแรก การพูดคุย รับฟัง ร้องเพลง เล่านิทาน กระตุ้นให้เด็กขยับร่างกายบ่อย ๆ และให้เด็กกินอาหารที่มีประโยชน์ อาจช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทั้งด้านร่างกาย การสื่อสาร สังคม และสติปัญญาให้เป็นไปตามวัย ทั้งนี้ หากพบว่าเด็กอาจมีพัฒนาการผิดปกติ ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ มีอะไรบ้าง พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ ในด้านต่าง ๆ อาจมีดังนี้ พัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์ ยื่นนิทานให้คุณพ่อคุณแม่เมื่อต้องการฟังหรือดูหนังสือนิทานไปพร้อม ๆ กัน ร้องไห้เมื่อไม่เห็นคนคุ้นเคย เขินอายเมื่ออยู่ใกล้คนแปลกหน้า มีสิ่งของที่ชอบ เช่น ของเล่น ผ้าห่ม ตุ๊กตา และมักถือของสิ่งนั้นไว้เสมอ พูดทวนคำเพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนที่อยู่ด้วย พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร เรียกคุณพ่อคุณแม่ว่า "ป๊า แม่" หรือเรียกชื่อคนคุ้นเคยได้แล้ว โบกมือไปมาเพื่อบอกลาได้ พยายามพูดทวนคำที่ได้ยินจากคนอื่น เข้าใจคำศัพท์ง่าย […]


เด็กทารก

พัฒนาการเด็ก 10 เดือน และวิธีส่งเสริมพัฒนาการตามช่วงวัย

เด็กอายุ 10 เดือนเป็นวัยที่เริ่มเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็น พัฒนาการเด็ก 10 เดือน ที่เด่นชัด เช่น เปลี่ยนท่าจากนั่งเป็นยืนเองได้ หยิบสิ่งของที่วางไว้ขึ้นมาถือได้ พยายามประกอบคำ 1-2 คำเพื่อสื่อสารกับผู้อื่น ทำพฤติกรรมเลียนแบบคนรอบข้าง เข้าใจความหมายของคำศัพท์มากขึ้น สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ และเด็กในวัยนี้อาจมีสิ่งของที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ เช่น หนังสือ เพลง เกม ผ้าห่ม ตุ๊กตา หากคุณพ่อคุณแม่พูดคุยตอบโต้ ร้องเพลง อ่านนิทาน เล่นด้วยกัน และชักชวนให้เด็ก 10 เดือนขยับร่างกายและบริหารกล้ามเนื้อบ่อย ๆ อาจช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็กให้เป็นไปตามวัยได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการเด็ก 10 เดือน มีอะไรบ้าง พัฒนาการทั่วไปของเด็กอายุ 10 เดือน อาจมีดังต่อไปนี้ พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม ให้ความร่วมมือมากขึ้นเมื่อมีคนแต่งตัวให้ เช่น ยกแขนขึ้นสูงให้ใส่เสื้อ ยกขาเมื่อมีคนใส่กางเกงให้ ไม่ชอบอยู่ห่างจากคนคุ้นเคย และร้องหาเมื่อคนเหล่านั้นหายไปจากสายตา ตระหนักถึงความต้องการของตัวเองมากขึ้น และจะแสดงออกให้คนอื่นรับรู้ว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร เช่น ร้องไห้เมื่อถูกห้ามไม่ให้ทำสิ่งที่อยากทำ พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ทำเสียงเลียนแบบคำศัพท์หรือเสียงง่าย ๆ ที่ได้ยิน ทำตามคำสั่งง่าย […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ และการเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสม

เด็กอายุ 2 ขวบ เป็นวัยที่มีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ อย่างก้าวกระโดด มักจะกระตือรือร้นเมื่ออยู่กับเพื่อนวัยเดียวกัน เป็นตัวของตัวเองสูง สามารถสื่อสารกับผู้อื่นด้วยท่าทางได้ชัดเจนขึ้น เริ่มเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้น รู้จักหัดวิ่งและเตะลูกบอล ทั้งยังพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหาได้ดีขึ้นด้วย คุณพ่อคุณแม่จึงควรเอาใจใส่ในการเลี้ยงดูและคอยส่งเสริม พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ อย่างถูกวิธี เพื่อช่วยให้เด็กสามารถเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรงและมีทักษะที่พัฒนาไปอย่างเหมาะสมตามวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ พัฒนาการของเด็กอายุ 2 ขวบโดยทั่วไป อาจมีดังนี้ พัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์ เลียนแบบพฤติกรรมของคนอื่น โดยเฉพาะเด็กโตและผู้ใหญ่ กระตือรือร้นเมื่ออยู่กับเด็กคนอื่น ๆ มีความเป็นตัวของตัวเอง เริ่มมีอาการดื้อรั้น สังเกตเห็นถึงอารมณ์ของคนรอบข้าง เช่น หยุดมองหรือร้องไห้ตามเมื่อมีคนร้องไห้ มีภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation anxiety) เมื่อต้องห่างจากคนคุ้นเคย พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร สามารถชี้สิ่งของตามที่บอกได้ พูดประโยคสั้น ๆ ประมาณ 2-4 คำได้ รู้จักชื่อพ่อ แม่ พี่ น้อง อวัยวะและสิ่งของหลายอย่าง ทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ พูดทวนสิ่งที่ได้ยินคนคุยกัน แสดงท่าทางเพื่อสื่อสารได้มากกว่าการโบกมือและการชี้นิ้ว เช่น พยักหน้า ส่งจูบ พัฒนาการด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว […]


ภาวะทุพโภชนาการ

เด็กขาดสารอาหาร เกิดจากอะไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

เด็กขาดสารอาหาร เป็นภาวะที่เกิดจากการร่างกายของเด็กขาดสารอาหารที่จำเป็นในการเจริญเติบโต จนมักส่งผลให้พัฒนาการแต่ละด้านของเด็กไม่เป็นไปตามวัย เช่น ทำให้เด็กเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ตัวเล็กกว่าเด็กในวัยเดียวกัน น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ช้ากว่าปกติ  คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลเอาใจใส่โภชนาการของเด็กอยู่เสมอ ด้วยการให้เด็กรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการในปริมาณที่เหมาะสม เพราะอาจช่วยป้องกันภาวะขาดสารอาหารในเด็กได้ [embed-health-tool-bmi] ภาวะขาดสารอาหาร คืออะไร ภาวะขาดสารอาหาร  (Malnutrition) คือภาวะที่ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ ไขมัน อาจเกิดจากรับประทานอาหารน้อยเกินไป หรือจากการที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้อย่างเต็มที่ เป็นต้น จนส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย ทั้งยังอาจทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้าและเติบโตไม่สมวัย เมื่อขาดพลังงาน ร่างกายจะสลายเนื้อเยื่อของตัวเองและเริ่มดึงไขมันที่สะสมในร่างกายมาใช้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ จากนั้นจะสลายสารอาหารอย่างโปรตีนในกล้ามเนื้อ ผิวหนัง ผม และเล็บ มาใช้เป็นพลังงาน จนเด็กดูซูบผอมและเจริญเติบโตช้าลง ภาวะขาดสารอาหารยังอาจทำให้การทำงานของร่างกายผิดปกติ โดยอาจเริ่มจากระบบคุ้มภูมิกัน เด็กที่มีภาวะขาดสารอาหารจึงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหรือติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ ทั้งยังอาจหายป่วยหรือแผลหายได้ช้าลง นอกจากนี้ การทำงานของหัวใจยังอาจช้าลงไปด้วย ทำให้ความดันโลหิตต่ำลง ส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เด็กรู้สึกเบื่ออาหารจนไม่รับประทานอาหารตามปกติ และอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบในร่างกาย เช่น สมอง อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ไม่สนใจตัวเอง เก็บตัวไม่สุงสิงกับผู้อื่น หัวใจ อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ไต อาจทำให้เกิดภาวะร่างกายมีน้ำเกินหรือมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากไตไม่สามารถควบคุมสมดุลของเหลวในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติได้ […]


วัคซีน

ฉีด วัคซีน ทารก 2 เดือน ต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง

คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่าทารกในวัย 2 เดือนควรฉีดวัคซีนอะไรบ้าง โดยทั่วไป การ ฉีด วัคซีน ทารก 2 เดือน จะฉีดวัคซีนพื้นฐาน 2 ชนิด คือ วัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี และ ฮิบ ซึ่งเป็นวัคซีนรวมที่ครอบคลุมโรคหลายชนิด และวัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดหยอดหรือชนิดฉีด ทั้งนี้ หากคุณพ่อคุณแม่สนใจให้เด็กทารกวัย 2 เดือนรับวัคซีนป้องกันโรคเพิ่มเติม เช่น วัคซีนโรต้า วัคซีนนิวโมคอคคัส ก็สามารถทำได้เช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ฉีด วัคซีน ทารก 2 เดือน มีวัคซีนอะไรบ้าง วัคซีนป้องกันโรคในทารกอายุ 2 เดือน อาจมีดังนี้ วัคซีนพื้นฐาน วัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี-ฮิบ (DTP-HB1-Hib) เริ่มฉีดเข็มแรกตอนเด็กอายุ 2 เดือน และจะฉีดอีก 4 ครั้ง เมื่อเด็กมีอายุ 4 เดือน 6 เดือน 1 ปี 6 เดือน และ 12 ปี […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน