พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

สาเหตุอะไรที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ พิษร้ายทำลายสุขภาพในระยะยาว

วัยรุ่นสูบบุหรี่ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองไม่ควรละเลย เพราะบุหรี่เป็นสิ่งอันตรายที่สามารถส่งผลเสียระยะยาวต่อร่างกายของวัยรุ่นได้ ในปัจจุบัน มีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่สูบบุหรี่และมีแนวโน้มว่าจำนวนของวัยรุ่นที่สูบบุหรี่จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย สาเหตุหนึ่งเพราะเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ หรือบางก็คนใช้เป็นเครื่องมือระบายความเครียด เพื่อจัดการกับปัญหาวัยรุ่นสูบหรี่ บทความนี้อาจช่วยให้คุณเข้าใจสาเหตุ และอันตรายของบุหรี่มากขึ้น เราไปหาคำตอบเรื่องนี้กันเลย สาเหตุที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นสูบบุหรี่มีด้วยกันหลายสาเหตุทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก มาดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง สภาพแวดล้อมทางสังคมและทางกายภาพ การโฆษณาจากสื่อโทรทัศน์อาจทำให้วัยรุ่นหนุ่มสาวรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ แนวโน้มการสูบบุหรี่จะเพิ่มขึ้น หากพวกเขาเห็นเพื่อนในวัยเดียวกันสูบบุหรี่ หากคนในครอบครัวสูบบุหรี่ ก็มีแนวโน้มว่าบุตรหลานอาจรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ตามไปด้วย ปัจจัยทางชีวภาพและพันธุกรรม วัยรุ่นบางคนอาจมีความรู้สึกไวต่อสารนิโคติน จึงทำให้รู้สึกอยากนิโคตินได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ ปัจจัยทางพันธุกรรมบางอย่างอาจทำให้การเลิกบุหรี่ในวัยรุ่นยากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่อาจส่งผลต่อลูก และอาจส่งผลให้เด็กสูบบุหรี่เป็นประจำในอนาคต สุขภาพจิต ปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่น เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด อาจทำให้วัยรุ่นต้องการสูบบุหรี่ ความรู้สึกส่วนตัว วัยรุ่นบางคนเริ่มสูบบุหรี่เพราะต้องการระบายความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าบุหรี่เป็นเพียงทางออกเดียวในการกำจัดความเครียด อิทธิพลอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อวันรุ่น ความเครียดจากเศรษฐกิจตกต่ำ หรือรายได้ลดลง ไม่รู้ว่าจะเลิกบุหรี่อย่างไร ครอบครัวไม่สนับสนุนหรือมีส่วนร่วมในการเลิกบุหรี่ วัยรุ่นยังสามารถเข้าถึงการซื้อบุหรี่ได้ อาจมีพฤติกรรมเกเร ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง มองว่าตัวเองต่ำต้อย เห็นจากโฆษณาผลิตภัณฑ์บุหรี่ในร้านค้า โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ภาพยนตร์ นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ วัยรุ่นสูบบุหรี่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ในบุหรี่มีสารเคมีหลายชนิดที่เป็นสารพิษและส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น นิโคติน ไซยาไนด์ ผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกมักมีอาการเจ็บหรือแสบร้อนในลำคอและปอด บางคนถึงกับอาเจียนได้ และเมื่อสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

การเติบโตและพัฒนาการในวัยเรียน

ของเล่น ผู้ชาย ทำให้ลูกเป็นเด็กก้าวร้าวได้หรือไม่

ของเล่น ผู้ชาย เช่น ปืนพลาสติก มีด ดาบ อาวุธของเล่นต่างๆ อาจสร้างความกังวลใจให้พ่อแม่ผู้ปกครองมากกว่าของเล่นชนิดอื่นๆ เนื่องจากพ่อแม่เชื่อว่า ของเล่นชนิดนี้มักส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมรุนแรง แต่แท้จริงแล้ว ของเล่นประเภทนี้ไม่อาจส่งผลโดยตรงทำให้เด็กเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวในชีวิตจริง แต่เป็นผลมาจากปัจจัยอื่นร่วมด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] ของเล่น เด็ก ผู้ชาย ทำให้ลูกเป็นเด็กก้าวร้าวได้หรือไม่ การเล่นของเล่นเด็กผู้ชายอย่าง ปืนพลาสติก อาจนำไปสู่การใช้ปืนในวัยผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม ผู้ชายวัยผู้ใหญ่ที่เคยเล่นปืนพลาสติกในวัยเด็ก อาจไม่เคยเกี่ยวข้องกับกระทำความผิดทางอาชญากรรมเมื่อโตขึ้น นอกจากนี้ ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งบอกว่า การเล่นเกมเกี่ยวกับสงครามของเด็ก จะทำให้เด็กเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวในชีวิตจริง  การเล่นของเล่นที่มีความเกี่ยวข้องกับความรุนแรง เช่น การต่อสู้กับสัตว์ประหลาด การใช้ปืนของเล่น อาจไม่ใช้ความรุนแรงเสมอไป สิ่งสำคัญคือคำสอนของคนใกล้ตัว โดยคุณพ่อคุณแม่อาจสอนให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับการปกครอง ความปลอดภัยในชีวิต รวมถึงการแพ้-ชนะได้ ยิ่งไปกว่านั้น การเล่นยังเชื่อมโยงกับพัฒนาการทางความคิดและสังคม ทั้งยังทำให้เด็กได้แสดงความกลัว รวมถึงความปรารถนาของพวกเขาออกมา สำหรับเด็กผู้ชาย การเล่นของเล่น ผู้ชายที่เป็นอาวุธ เช่น ปืนพลาสติก อาจทำให้เด็กรู้สึกมีพลังและกล้าหาญ สิ่งสำคัญคือพ่อแม่ควรสังเกตลูกอย่างใกล้ชิด หากลูกเริ่มมีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง ควรชักชวนหรือเบี่ยงเบนให้ลูกเล่นของเล่นอย่างอื่นแทน สื่อที่มีเนื้อหารุนแรง อาจส่งผลต่อความก้าวร้าวของเด็ก อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากของเล่น ผู้ชาย ปัจจัยอื่นที่อาจมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมหรือแนวคิดที่รุนแรง สื่อต่างๆ ที่นำเสนอความรุนแรง อาจทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กได้ โดยเฉพาะภาพข่าวหรือสื่อต่างๆ ที่นำเสนอเกี่ยวกับปืนหรืออาวุธสงคราม […]


สุขภาพเด็ก

วิธีการรับมือเมื่อเด็กกลัวความมืด

เด็กกลัวความืด เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เนื่องจากเด็กมักจะมีจินตนาการสูง ชอบคิดว่าอาจจะมีสัตว์ประหลาดที่อยู่ใต้เตียง หรือกลัวว่าตัวอะไรจะโผล่มาในความมืด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาเกี่ยวกับวิธีการรับมืออย่างเหมาะสมเมื่อเด็กมีอาการกลัวความมืด [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็กกลัวความมืด พ่อแม่รับมืออย่างไร สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ คือการสื่อสาร โดยควรพูดคุยกับลูกด้วยความเข้าใจ ซึ่งเด็กๆ จะสามารถเข้าใจได้ และที่สำคัญคือไม่ควรพูดกับลูกว่า การกลัวความมืดเป็นเรื่องงี่เง่า เพราะนอกจากจะไม่ช่วยให้อาการกลัวของเด็กหายไป ยังทำให้เด็กรู้สึกผิด รวมถึงรู้สึกอายด้วย นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำและไม่ควรทำดังต่อไปนี้ ควรใจเย็น เวลาพูดกับเด็ก ๆ เรื่องอาการกลัวความมืดให้พูดด้วยความใจเย็น และไม่ใช้อารมณ์เวลาพูดกับลูก เพราะอาจทำให้ทุกอย่างแย่ลง ให้คุณพ่อคุณแม่แก้ไขสถานการณ์โดยทำให้เด็ก ๆ รู้สึกว่าตัวเองปลอดภัย และทำให้พวกเขารู้สึกว่ารับมือกับความกลัวได้ นอกจากนี้ ยังอาจตั้งชื่อให้กับความกลัว เพื่อให้เด็ก ๆ รู้ว่าตัวเองกำลังกลัวอะไรแล้ว และทำความเข้าใจกับความกลัวนั้น อย่าใช้อารมณ์ เด็กกลัวความมืดอาจไม่ใช่เรื่องแปลก และคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรที่จะหงุดหงิด หรืออารมณ์เสีย เมื่อรู้ว่าสิ่งที่ลูกกลัวไม่มีอยู่จริง ฝึกให้เด็กตัดสินใจ ลองให้ลูก ๆ มีอำนาจในการตัดสินใจที่จะจัดการกับความกลัว โดยอาจถามลูกว่า อยากให้พ่อแม่นอนด้วยหรือไม่ หรือให้เข้ามาดูลูกเป็นระยะ และให้เด็ก ๆ ตัดสินใจว่าเวลาไหนที่ลูกจะรู้สึกปลอดภัยที่สุด เช่น อยากให้คุณพ่อคุณแม่มาหาทุก ๆ 5 นาทีหรือทุก ๆ 2 ชั่วโมง ซึ่งการให้เด็กตัดสินใจ จะช่วยให้ลูกรู้สึกดีขึ้น นอกจากนี้ยังควรให้ลูกอยู่กับอุปกรณ์ที่ทำให้พวกเขารู้สึกสบาย […]


โภชนาการเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

นม กับประโยชน์ต่อสุขภาพของเด็ก ๆ

นม อุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ และสารอาหาร อาทิ โปรตีน แคลเซียม วิตามินต่าง ๆ ที่ช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโต ควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายและกระดูกแข็งแรง ทั้งยังอาจช่วยป้องกันภาวะขาดแคลเซียมได้ด้วย ดังนั้น วัยเด็กจึงเป็นช่วงอายุที่ควรได้รับการบำรุงด้วยการดื่มนมมากที่สุด ปริมาณนมที่เด็กควรดื่มในแต่ละวัน ปริมาณนมที่ควรให้เด็กดื่มขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ ความสูง และภาวะขาดเอนไซม์แลคเตสจนไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสได้  (Lactose Intolerance) ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เด็กควรดื่มนมในปริมาณดังนี้ เด็กอายุ 1-2 ขวบ เด็กอายุ 1 ขวบสามารถเริ่มดื่มนมวัวได้ โดยควรดื่มประมาณ 32 ออนซ์/วัน เด็กอายุ 2-3 ปี ควรดื่มนมอย่างน้อย 2 แก้ว/วัน เด็กอายุ 4-8 ปี ควรดื่มนม 2.5 แก้ว/วัน ประโยชน์ของนมต่อสุขภาพเด็ก ในน้ำนมอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ โดย นม 1 แก้ว (244 กรัม) ประกอบไปด้วย พลังงาน 146 แคลอรี่ โปรตีน 8 กรัม […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

เด็กตาเหล่ วิธีสังเกตและการรักษา

เด็กตาเหล่ สามารถรักษาได้หากพบอาการตั้งแต่เด็กอายุยังน้อย ยิ่งพบในอายุน้อยเท่าไหร่ โอกาสประสบความสำเร็จในการรักษายิ่งสูง คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูกน้อยว่ามีพัฒนาการทางสายตาเหมาะแก่วัยหรือไม่ หากพบอาการผิดปกติหรือไม่แน่ใจว่าเป็นอาการตาเหล่หรือไม่ ควรปรึกษาคุณหมอ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายแก่ดวงตาได้ เช่น โรคตาขี้เกียจ (Amblyopia) เด็กตาเหล่ มีอาการอย่างไร ตาเหล่ หรือตาเข คืออาการที่ดวงตาทั้งสองข้างอยู่ในตำแหน่งที่ผิดปกติหรือไม่เท่ากัน โดยอาจเห็นได้ว่าดวงตาข้างหนึ่ง อาจมองตรงไปข้างหน้า ในขณะที่ดวงตาอีกข้างอาจจะเหลือกขึ้นบน เหลือกลงล่าง พลิกกลับเข้าด้านใน หรือโปนออกด้านนอก เป็นต้น โดยปกติแล้ว ดวงตาจะมีกล้ามเนื้อ 6 มัด ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว เพื่อให้ดวงตาทั้งสองข้างทำงานร่วมกันได้อย่างสอดคล้อง อาการตาเหล่จะเกิดขึ้นเมื่อระบบควบคุมกล้ามเนื้อดวงตาในสมองทำงานผิดปกติ ส่งผลให้มัดกล้ามเนื้อในดวงตาไม่สามารถทำงานสอดประสานกันเพื่อเคลื่อนไหวดวงตาไปมา ทำให้ดวงตามองไปในตำแหน่งที่ต่างกัน และไม่สามารถมองไปในทิศทางเดียวกันพร้อมกันได้ อาการตาเหล่อาจเป็นตั้งแต่เกิด หรือเกิดขึ้นได้เมื่อดวงตาได้รับผลกระทบจากการหักเหของแสงผิดปกติ เช่น จากภาวะสายตายาว สายตาสั้น หรือสายตาเอียง รวมถึงอาจเกิดขึ้นได้จากความป่วยไข้ หรือการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและเส้นประสาทได้เช่นกัน หากปล่อยไว้อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพดวงตา เช่น โรคตาขี้เกียจ (Amblyopia) จะรู้ได้อย่างไรว่า เด็กตาเหล่ หากเด็กมีอาการตาเหล่ จะสังเกตเห็นว่าตาดำสองข้างจะไม่อยู่ในแนวเดียวกัน และมองไปคนละทิศทาง ในเด็กทารก อาจพบว่ามีอาการตาเขได้เวลาที่เด็กรู้สึกเหนื่อยล้า แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีอาการตาเหล่โดยกำเนิด  อย่างไรก็ตาม หลังจากอายุ 4 เดือนไปแล้ว ผู้ปกครองควรนำลูกไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการตรวจ และหากทารกต้องหมุนศีรษะเวลามองสิ่งของ หรือหลับตาลงเพียงข้างเดียวเวลาเห็นแสงแดดจ้า อาจถือได้ว่ามีสัญญาณของอาการตาเหล่ […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

ลูกวัยประถม น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ควรทำอย่างไร

การมีน้ำหนักมากเกินไปหรือน้อยเกินไป อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น การมีน้ำหนักเกินอาจเป็นสัญญาณของโรคอ้วน หรือถ้าลูกของคุณมี น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ อาจเป็นสัญญาณว่าเด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ แล้วคุณพ่อคุณแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์หรือไม่ และควรดูแลลูกอย่างไรดี วันนี้ Hello คุณหมอมีคำตอบมาให้คุณค่ะ รู้ได้อย่างไรว่าลูกคุณ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ เด็กวัยประถม อายุ 6-12 ปี ยังอยู่ในช่วงเจริญเติบโต ซึ่งหมายความว่าพวกเขาต้องการพลังงาน (แคลอรี่) และสารอาหาร จากการกินอาหารที่มีประโยชน์และอาหาร 5 หมู่ และในกรณีที่เด็กๆ มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ อาจหมายความว่าพวกเขาได้รับแคลอรี่จากอาหารไม่เพียงพอ เรามักจะใช้ตารางการเจริญเติบโต (growth charts) ของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา เพื่อดูค่าน้ำหนัก ความสูง และค่าดัชนีมวลกาย (BMI, body mass index) ซึ่งสำหรับเด็กวัยรุ่น เด็กวัยประถม และเด็กเล็ก ที่มีอายุ 2-18 ปี การคำนวณค่าดัชนีมวลกายจะคำนวณจาก อายุ เพศ ความสูง และน้ำหนัก ซึ่งเด็กที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานถือว่ามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นโรคต่างๆ และสำหรับค่าดัชนีมวลกายจะมีเกณฑ์ดังนี้ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ โดยมีค่าเปอร์เซนไทล์อยู่ที่ 2 หรือต่ำกว่า น้ำหนักตามเกณฑ์ อยู่ระหว่างค่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เด็กละเมอ เป็นเรื่องปกติหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องกังวล

การเดินละเมอเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย แต่จะพบบ่อยในเด็ก ตามสถิติแล้วเด็ก 1 ใน 5 จะเดินละเมออย่างน้อย 1 ครั้ง นอกจากนี้อาการละเมอ สามารถเกิดขึ้นได้จนถึงตอนที่เป็นวัยรุ่น และบางครั้งอาจเกิดขึ้นจนถึงวัยที่เป็นผู้ใหญ่ เด็กละเมอ ถือเป็นเรื่องปกติหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่คุณพ่อคุณแม่ควรกังวล การเดินละเมอ คืออะไร เดินละเมอ (Sleepwalking) เป็นอาการที่เด็กจะลุกขึ้นจากที่นอน และเดินไปขณะที่กำลังหลับอยู่ ซึ่งลักษณะแบบนี้ถือเป็นอาการเดินละเมอที่พบบ่อย นอกจากนี้ยังมีอาการเดินละเมออื่นๆ ได้แก่ ละเมอพูด ตื่นนอนยาก ดูงุนงง ไม่ตอบสนองเวลาพูดด้วย ลุกขึ้นมานั่ง เคลื่อนไหวแบบเดิมซ้ำๆ เช่น ขยี้ตา นอกจากนี้ เด็กที่เดินละเมอสามารถลืมตาได้ แต่จะมองไม่เห็นเหมือนตอนตื่น โดยลักษณะที่พบบ่อยคือเด็กจะคิดว่าพวกเขาอยู่ในห้องที่แตกต่างจากห้องที่บ้าน หรืออยู่ในสถานที่อื่น มากไปกว่านั้น เด็กๆ มีแนวโน้มที่จะมีอาการเดินละเมอภายใน 1-2 ชั่วโมงก่อนจะหลับ และอาจเดินไปที่ใดที่หนึ่งโดยใช้เวลาตั้งแต่ไม่กี่วินาที ถึง 30 นาที และในขณะที่พวกเขากำลังละเมอ ก็ยากที่จะปลุกให้ตื่น แต่เมื่อตื่นแล้วเด็กอาจรู้สึกงัวเงียและสับสนเป็นเวลา 1-2 นาที ถึงแม้ว่าจะเรียกว่าการเดินละเมอ แต่ก็อาจไม่ได้เป็นเพียงแค่การเดิน เนื่องจากการเดินละเมอสามารถหมายถึงอาการอื่นๆ ได้ และไม่ว่าเด็กๆ จะมีอาการละเมอในลักษณะใด พวกเขาก็มักจะจำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างตอนที่พวกเขาละเมอ ส่วนสาเหตุของการละเมอ มีดังนี้ สาเหตุของอาการเดินละเมอ การเดินละเมอนั้นพบได้ทั่วไปในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และถ้าพ่อแม่เคยมีอาการเดินละเมอตอนเด็ก ลูกก็มีแนวโน้มที่จะเดินละเมอด้วย ซึ่งสาเหตุของอาการเดินละเมออาจเกิดจาก นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรืออ่อนเพลีย นอนหลับไม่ตรงเวลา ป่วย หรือเป็นไข้ ยาบางชนิด ความเครียด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep […]


สุขภาพเด็ก

ดูแลสุขภาพฟันลูก ควรเริ่มต้นเมื่อไหร่ และทำอย่างไรดี

การ ดูแลสุขภาพฟัน ตั้งแต่ลูกอายุยังน้อย สามารถช่วยป้องกันไม่ให้ลูกมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากได้ในภายหลัง การเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพฟันของลูกที่ถูกต้อง จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย อย่างไรก็ตาม หากไม่แน่ใจว่าควรดูแลสุขภาพฟันลูกอย่างไร หรือหากพบความผิดปกติเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของลูก ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อขอคำปรึกษา และเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที พ่อแม่ควรเริ่ม ดูแลสุขภาพฟัน ของลูกเมื่อใด การดูแลสุขอนามัยทางช่องปากที่ดี อาจต้องเริ่มตั้งแต่ก่อนที่ฟันซี่แรกของลูกจะขึ้น โดยปกติแล้ว ฟันของทารกในครรภ์จะเริ่มก่อตัวขึ้นตั้งแต่ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 และตอนคลอด เด็กทารกแรกเกิดจะมีฟันอยู่แล้วประมาณ 20 ซี่ ฟันบางซี่อาจโผล่พ้นเหงือกให้เห็นได้บ้าง ในขณะที่บางซี่ก็ยังอยู่ใต้ขากรรไกร ยังไม่โผล่พ้นเหงือก วิธีดูแลสุขภาพฟันให้ลูกที่เหมาะสม อาจมีดังนี้ ทำความสะอาดเหงือกให้ลูก โดยใช้ผ้าเนื้อนุ่มชุบน้ำอุ่น จากนั้นเช็ดเหงือกเบา ๆ เพื่อกำจัดสิ่งสกปรก สิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อแบคทีเรีย ที่อาจส่งผลให้มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้ หากฟันของลูกขึ้นแล้ว สามารถทำความสะอาดฟันและเหงือกให้ลูกด้วยแปรงสีฟันขนอ่อนนุ่มสำหรับเด็ก หากฟันของลูกขึ้นหลายซี่แล้ว หลังแปรงฟันให้ลูก สามารถใช้ไหมขัดฟันได้ เพื่อทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่อาจตกค้างอยู่ตามซอกฟัน เมื่อลูกอายุประมาณ 2 ขวบ ควรหัดให้ลูกบ้วนปากหลังแปรงฟัน เมื่อลูกอายุเกิน 3 ขวบ สามารถใช้ยาสีฟันได้ในปริมาณเท่าเมลํดถั่ว หากลูกอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ควรดูแลระหว่างแปรงฟันอย่างใกล้ชิด เพราะลูกอาจแปรงฟันไม่ทั่วถึงและไม่สะอาดพอ ปัญหาสุขภาพฟันเด็กที่พบได้บ่อย ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากและฟันของลูกที่พบได้บ่อย อาจมีดังนี้ ฟันผุ หากทำความสะอาดฟันและช่องปากไม่ถูกวิธี อาจทำให้มีแบคทีเรียสะสมอยู่ในช่องปาก แบคทีเรียเหล่านี้กินน้ำตาลจากอาหารและเครื่องดื่มเป็นอาหาร […]


การเติบโตและพัฒนาการ

เทคนิค ลงโทษลูก แต่ละวัยอย่างเข้าใจ และไม่ทำร้ายจิตใจเด็ก

เมื่อลูกทำผิดพลาด พ่อแม่หลายคนอาจไม่ทราบว่าจะ ลงโทษลูก อย่างไรที่ทำให้เขาเรียนรู้ แต่ไม่กระทบกระเทือนจิตใจจนกลายเป็นปัญหา ควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการลงโทษเมื่อลูกทำผิด หรือวิธีรับมือต่าง ๆ ในแต่ละช่วงวัย เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างปมปัญหาในใจให้กับลูกน้อย [embed-health-tool-bmi] ลงโทษลูก ในแต่ละช่วงวัยอย่างไรดี เด็กในแต่ละช่วงวัยมีพัฒนาการและการรับรู้ต่างกัน การจะสื่อสารให้เด็กเข้าใจในสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่พยายามจะบอก อาจต้องใช้วิธีที่ต่างกันออกไป ต่อไปนี้คือวิธีสื่อสารให้เด็กในแต่ละวัยเข้าใจว่าพวกเขาทำผิดอย่างง่าย ๆ เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมที่ดีของเด็กตั้งแต่ช่วง 3 ปีแรก ช่วงแรกเกิดจนถึง 8 เดือน เมื่อลูกยังเป็นทารก คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มจากการตั้งข้อจำกัด สนับสนุนให้ลูกมีพฤติกรรมที่ดี และไม่สนับสนุนพฤติกรรมที่ไม่มีเหตุผล เนื่องจากเด็กเล็กยังมีขีดจำกัดทางการทำความเข้าใจด้านภาษา อีกทั้งสภาพแวดล้อมก็ยังไม่มีบทบาทมากนัก ดังนั้น วิธีหลักที่ควรใช้กับเด็กในช่วงวัยนี้มีอยู่ 2 วิธี ง่ายๆ ได้แก่ เบี่ยงเบนความสนใจ การเบี่ยงเบนความสนใจเมื่อลูกทำผิด อาจใช้วิธีนี้เมื่อต้องการให้ลูกเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่พฤติกรรมที่ดีกว่า การเพิกเฉย คือการไม่ให้ความสนใจกับสิ่งที่ลูกทำอยู่ ช่วงอายุ 8 ถึง 12 เดือน ในช่วงอายุ 8 เดือน เด็กจะเริ่มคลาน เด็กในวัยนี้ต้องการเรียนรู้โลกรอบตัว เช่น การคลานไปใต้โต๊ะ หรือเข้าไปใต้อ่างล้างจานโดยไม่รู้ว่ามีอันตรายหรือไม่ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก อาจวางของที่อาจทำให้เด็กบาดเจ็บให้พ้นมือเด็ก และวางของเล่นที่เขาชอบไว้ใกล้ตัวเด็กแทน ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าวิธีการนี้เป็นวิธีที่ดี รวมถึงอาจใช้เทคนิคการใช้เสียงดังเมื่อเด็กจับของสิ่งใดที่อาจเป็นอันตราย ด้วยการร้องออกมาดัง ๆ เพื่อเป็นการเตือนเพื่อให้เด็กหันมาสนใจและรู้สึกกลัว […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เด็กเป็นหวัดบ่อยกว่าผู้ใหญ่ เกิดจากสาเหตุใด

ไข้หวัด เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ติดได้จากการหายใจ ส่งผลต่อคนทุกวัย แต่จากผลของค่าสถิตินั้น พบว่า เด็กมีโอกาสที่จะติดเชื้อหวัด ได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตสัญญาณเตือนของโรคหวัดได้จากอาการ ปวดหัว ไข้สูง น้ำมูกไหล คัดจมูก และจาม หากพ่อแม่พบว่า เด็กเป็นหวัดบ่อย ควรเรียนรู้วิธีการป้องกัน และวิธีการจัดการกับโรคได้ดังต่อไปนี้ สาเหตุที่ทำให้ เด็กเป็นหวัดบ่อย คืออะไร ไข้หวัดเป็นการติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสหนึ่งชนิดหรือมากกว่า เชื้อไวรัสพวกนี้จะเข้าไปในจมูกและเพดานปากและมีอัตราการติดเชื้อสูงกว่าเชื้อโรคทุกประเภท เชื้อไวรัสเหล่านี้มักเข้าสู่ร่างกายทางปากหรือจมูกของทารกจากหลายแหล่ง ได้แก่ ทางอากาศ เมื่อมีคนไอ จาม หรือพูดคุย พวกเขาอาจจะแพร่เชื้อไวรัสสู่เด็กและทารกได้โดยตรง การสัมผัสเชื้อโดยตรง เช่น การกอด การจูบ เชื้อไวรัสสามารถแพร่ได้เมื่อมีการสัมผัสทารก การจูบที่หน้าหรือมือของทารก จะทำให้เด็กมีโอกาสติดเชื้อได้ เมื่อเอามือเข้าปากหรือขยี้ตา จากวัตถุที่ปนเปื้อน เชื้อไวรัสบางชนิดสามารถติดอยู่ที่วัตถุได้ตั้งแต่สองถึงสี่ชั่วโมง เด็กจะติดเชื้อจากไวรัสโดยการสัมผัสวัตถุต่างๆ เช่น ของเล่น อาการของโรคหวัดในเด็ก คัดจมูกหรือน้ำมูกไหล น้ำมูกข้นและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเขียว มีไข้สูง (ประมาณ 37.80 องศาเซลเซียส) จาม ไอ เบื่ออาหาร ระคายเคืองและนอนไม่หลับ ระบบภูมิคุ้มกันของทารกต้องใช้เวลาในการต่อต้านโรคหวัด หากเด็กทารกติดหวัดโดยไม่มีอาการแทรกซ้อน ควรได้รับการรักษาภายใน 7 ถึง 10 […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

เด็กดื่มน้ำ มากแค่ไหน ถึงจะเพียงพอและเหมาะสม

การดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวันเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในเด็ก ๆ ด้วยแล้ว ปริมาณน้ำที่ดื่มต้องเหมาะสม เนื่องจากมีบางกรณีที่ เด็กดื่มน้ำ ปริมาณมากเกินไป จนไม่ยอมกินอาหารหลัก ส่งผลทำให้เด็กได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตไม่เพียงพอ วิธีการเบื้องต้นที่แนะนำคือ ควรให้เด็กกินอาหารมื้อหลักก่อนที่จะให้ดื่มน้ำ ซึ่งก็อาจมีคำถามตามมาว่า เด็กดื่มน้ำมากแค่ไหน ถึงจะเรียกว่าพอดี โดยปกติแล้ว เด็กควรได้รับน้ำปริมาณ 4-6 ถ้วยต่อวัน โดยวิธีการต่อไปนี้  จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้ลูกๆ ได้รับปริมาณน้ำที่เพียงพอและเหมาะสมในแต่ละวัน ตามหลักโภชนาการ [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธีดูแลให้ เด็กดื่มน้ำ อย่างเพียงพอในแต่ละวัน ฝึกให้เด็กดื่มน้ำจากแก้ว การดื่มน้ำจากแก้วอาจทำได้ง่าย จึงทำให้เด็กดื่มน้ำบ่อยขึ้น ดังนั้น อาจลองเปลี่ยนภาชนะใส่น้ำอื่น ๆ มาเป็นแก้ว โดยการใส่นม น้ำ หรือเครื่องดื่มผลไม้ลงในแก้วทีละน้อย และให้เด็กดื่มระหว่างกินอาหารหรือขนม ซึ่งการดื่มจากแก้วถือเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กได้อีกทางหนึ่งด้วย แบ่งปริมาณการดื่ม ประเภทเครื่องดื่มที่เด็กดื่มสำคัญพอ ๆ กับปริมาณเครื่องดื่ม เด็กที่กำลังโตต้องการกินนม 2-3 ครั้ง ในปริมาณ 2 ใน 3 ของถ้วยตวง/ 1 ถ้วย/วัน ซึ่งยังเหลือปริมาณที่สามารถดื่มเครื่องดื่มอื่น ๆ ได้อีก  2-3 ถ้วย และอาจเพิ่มปริมาณได้หากสภาพอากาศร้อน โดยคุณพ่อคุณแม่อาจผสมการดื่มของเด็ก […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน