backup og meta

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบ Raw Food Diet ที่ได้ประโยชน์แบบเต็ม ๆ

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบ Raw Food Diet ที่ได้ประโยชน์แบบเต็ม ๆ

ในปัจจุบัน หลายๆ คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น เทรนด์อาหารสุขภาพ จึงถือว่าเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด อาหาร Raw Food ที่อ่านว่า “รอว์ ฟู้ด” นับเป็นอาหารสุขภาพ อีกรูปแบบหนึ่งที่มีความน่าสนใจทีเดียว ด้วยรูปแบบของการทำอาหาร ที่ทำจากผักสด ผลไม้สด และธัญพืช ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการทำทั้งหมด จะต้องไม่ผ่านกระบวนการปรุงแต่งทางเคมีใด ๆ และไม่มีส่วนผสมของแป้งและน้ำตาล ที่สำคัญจะใช้ความร้อนไม่เกิน 42 องศาเซลเซียส เพื่อให้คงคุณค่าของสารอาหารในผัก ผลไม้ได้อย่างเต็ม ๆ วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาไปรู้จักกับ รัสยานา รอว์ ฟู้ด คาเฟ่ (Rasayana Raw Food Café) ร้านอาหารกลางใจเมือง ที่เสิร์ฟอาหารประเภท รอว์ ลีฟวิ่ง ฟู้ด (Raw Living Food)  ซึ่งเปิดมายาวนานกว่า 17 ปี โดยทำเลของร้านจะตั้งอยู่ในซอยสุขุมวิท 39 เดินทางสะดวกด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอส และแม้ว่าร้านจะอยู่ใจกลางเมือง แต่บรรยากาศภายในร้านเต็มไปด้วยความร่มรื่นด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ตามสไตล์การตกแต่งร้านอาหารแบบเปิดหรือเอาท์ดอร์นั่นเอง

ร้านรัสยานา

ความน่าสนใจของอาหารแบบ รอว์ ฟู้ด

อาหารแบบ รอว์ ฟู้ด หรือ รอว์ ลีฟวิ่ง ฟู้ด เป็นอาหารที่เน้นความสดใหม่ของวัตถุดิบ โดยที่จะไม่ผ่านการปรุงสุก หากต้องมีการปรุงจริง ๆ จะใช้ความร้อนไม่เกิน 42 องศาเซลเซียส อาหารที่ทำเสิร์ฟส่วนใหญ่จึงเป็นผัก ผลไม้

“การทำอาหารแบบรอว์ ลีฟวิ่ง ฟู้ด ถือเป็นความฉลาดในการเลือกใช้วัตถุดิบที่มี ให้เกิดความน่าสนใจและรสชาติที่ถูกปาก” 

คุณวรพัสตร์ บุษราบวรวงษ์ หรือคุณยุ้ย เจ้าของร้าน Rasayana Raw Food Café กล่าว

 คุณวรพัสตร์-บุษราบวรวงษ์-หรือคุณยุ้ย

อย่างที่ได้กล่าวไปไปข้างต้นว่า อาหารรูปแบบรอว์ ลีฟวิ่ง ฟู้ด เป็นการทำผัก ผลไม้ ธัญพืช และถั่วต่าง ๆ มาประกอบอาหารให้ออกมาเป็นเมนูที่มีความน่าสนใจ ที่สำคัญต้องไม่ผ่านการปรุงสุก ซึ่งถือเป็นรูปแบบการทำอาหารที่มีความท้าทายเป็นอย่างมาก คุณยุ้ยได้เผยวิธีการทำพายฟักทอง เมนูที่ใคร ๆ ก็ต้องนึกถึงฟักทองสีเหลืองสวยงาม แต่ด้วยความเป็นรอว์ ลีฟวิ่ง ฟู้ด จะใช้ฟักทองที่ผ่านความร้อนไม่ได้ คุณยุ้ยจึงเลือกใช้อะโวคาโดบดกับแครอท ทำให้ได้รูปร่างเหมือนพายฟักทอง ที่สำคัญ สัมผัสและรสชาติก็มีความคล้ายคลึงกับพายฟักทองทั่วไปอีกด้วย

ประโยชน์ต่อสุขภาพของอาหาร รอว์ ฟู้ด

รอว์ ฟู้ด หรือ รอว์ ลีฟวิ่ง ฟู้ด เป็นอาหารที่ทำมาจากผัก ผลไม้ ธัญพืช และถั่วต่าง ๆ ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหารนั้น จะต้องไม่ผ่านการปรุงสุก หรือผ่านความร้อน ที่สำคัญต้องไม่มีส่วนผสมของแป้ง นม เนย และไข่ แต่สำหรับบางเมนูที่จะต้องใช้ความร้อนในการทำอาหารก็จะไม่เกิน 42 องศาเซลเซียส เพื่อที่จะได้ไม่สูญเสียสารอาหาร วิตามินและเกลือแร่ในผักและผลไม้ เรียกได้ว่า การรับประทานอาหารแบบรอว์ ลีฟวิ่ง ฟู้ดนั้นจะได้สารอาหารเต็ม ๆ เลยทีเดียว ที่สำคัญสารอาหารเหล่านั้นยังมีส่วนช่วยในการเพิ่มภูมิต้านทาน ส่งผลให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น และช่วยให้พลังงานกับร่างกายอีกด้วย

คาโบนาร่า แบบ รอว์ ฟู้ด

ได้คุณค่าทางสารอาหารครบถ้วน

อาหารแบบ รอว์ ฟู้ด เป็นอาหารที่ให้พลังงานที่ดีกับร่างกายในปริมาณแคลอรี่ต่ำ และที่สำคัญมีปริมาณน้ำตาลต่ำกว่าอาหารทั่วไป นอกจากนี้ยังมีโพแทสเซียม แมกนีเซียม โฟเลต เส้นใยอาหาร วิตามินเอ และสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าอาหารทั่วไปอีกด้วย ซึ่งไฟเบอร์หรือกากใยในอาหารมีส่วนช่วยให้คุณรู้สึกอิ่มและป้องกันอาการท้องผูก

ไขมันอิ่มตัวและโซเดียมต่ำ

อาหารแบบ รอว์ ฟู้ด เป็นอาหารที่มีปริมาณโซเดียมและไขมันอิ่มตัวต่ำ ปกติแล้วเรามักจะพบโซเดียมและไขมันอิ่มตัวได้ในเนื้อสัตว์แปรรูปและเนื้อ ซึ่งทั้งโซเดียมและไขมันอิ่มตัวนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หากรับประทานมาก ๆ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้

พิซซ่าแบบรอว์ ฟู้ด

ข้อควรระวัง

การรับประทานอาหารแบบ รอว์ ฟู้ด หรือ รอว์ ลีฟวิ่ง ฟู้ด เป็นการรับประทานอาหารแบบเน้นกินสด ซึ่งอาหารบางอย่างอาจมีคุณค่าทางโภชนาการน้อยลงเมื่อไม่ผ่านความร้อน เช่น มะเขือเทศ เนื่องจากมะเขือเทศสุกจะมีไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศดิบ 3-4 เท่า หรือระดับของสารประกอบในบร็อคโคลี่ที่เรียกว่า ซัลโฟราเฟน (Sulforaphanes) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยทำให้ตับขับสารพิษ ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และยับยั้งการเจริญของเนื้องอกจะเพิ่มขึ้นเมื่อบร็อคโคลี่ถูกนึ่งที่ 60 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ยังอาจพบกับปัญหา ขาดสารอาหาร บางอย่างที่มีในเนื้อสัตว์ อย่าง วิตามินบี 12 วิตามินบี 6 วิตามินดี ธาตุเหล็ก สังกะสีและกรดไขมันโอเมก้า-3 ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนในการรับประทานอาหารให้เป็นอย่างดี เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Raw Foods Diet. https://www.webmd.com/diet/a-z/raw-foods-diet. Accessed March 16, 2020

The raw food diet: Should I try it?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/7381. Accessed March 16, 2020

Raw Food Diet: Is It Healthier?. https://health.clevelandclinic.org/raw-food-diet-is-it-healthier/. Accessed June 29, 2021

A Detailed Guide to Following a Raw Vegan Diet: Benefits, Risks, a Meal Plan, and More. https://www.everydayhealth.com/diet-nutrition/diet/raw-vegan-diet-benefits-risks-meal-plan-food-list/. Accessed June 29, 2021

The Raw Food Diet. https://www.drweil.com/diet-nutrition/diets-weight-loss/raw-food-diet/. Accessed June 29, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/06/2021

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

Flexitarian : มังสวิรัติแบบยืดหยุ่น รูปแบบการกิน มังสวิรัติ ที่ กินเนื้อได้

วิธีสร้างกล้ามเนื้อสำหรับคนกินมัง สายวีแกน ไร้เนื้อสัตว์ก็มีกล้ามได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 29/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา