สุขภาพผิว

ผิวหนัง คืออวัยวะภายนอกที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในร่างกาย ผิวหนังนั้นมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย ทั้งเป็นเกราะป้องกันจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ หรือช่วยควบคุมอุณภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ เป็นต้น เรียนรู้เกี่ยวกับการมี สุขภาพผิว ที่ดี และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย เพื่อการปกป้องดูแลผิวของคุณให้ดียิ่งขึ้น ได้ที่นี่

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพผิว

วิธีรักษาสะเก็ดเงินที่เล็บ ง่าย ๆ ด้วยตัวคุณเอง

โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ เป็นโรคทางผิวหนังที่เกิดจากเซลล์แบ่งตัวเร็วผิดปกติ ทำให้ใต้เล็บหนาตัวขึ้น เล็บจึงฉีกขาดได้ง่าย บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำเสนอ วิธีรักษาสะเก็ดเงินที่เล็บ มาให้ทุกคนได้ศึกษากันค่ะ จะมีวิธีการดูแลและรักษาอย่างไรบ้าง มาดูพร้อมกันเลย สะเก็ดเงินที่เล็บ (Nail psoriasis) สะเก็ดเงินที่เล็บ (Nail psoriasis) เป็นโรคเรื้อรังของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ใต้ผิวหนังเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยปกติเซลล์ผิวหนังจะสร้างขึ้นใหม่ทุก ๆ 28-30 วัน แต่เมื่อเป็นโรคสะเก็ดเงิน เซลล์ผิวหนังจะผลัดเซลล์ผิวเร็วขึ้นทุก ๆ 3-4 วัน ส่งผลให้ผิวหนังงอกจากโคนเล็บหน้าขึ้น โดยเล็บจะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันไป เช่น เล็บเป็นหลุม สีเล็บเปลี่ยน เล็บเปิด ลักษณะอาการของโรคสะเก็ดเงินที่เล็บ ลักษณะอาการของโรคสะเก็ดเงินที่เล็บ จะแตกต่างกันไป โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ เกิดรอยสีขาวบนเล็บ เล็บบิดเบี้ยว เล็บแตก เล็บฉีกง่าย เล็บเปิด มีรอยบุ๋มบนเล็บ เลือดใต้เล็บ เล็บเป็นหลุม เล็บฉีกขาดได้ง่าย ผิวหนังใต้เล็บหนาขึ้น วิธีรักษาสะเก็ดเงินที่เล็บ  วิธีรักษาสะเก็ดเงินที่เล็บ มีด้วยกันหลากหลายวิธีทั้งทางด้านแผนปัจจุบันและแผนทางเลือก โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ การรักษาแผนปัจจุบัน โดยการใช้ยา ชนิดใช้ภายนอก ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เป็นยาชนิดใช้ภายนอกที่ช่วยบรรเทาอาการสะเก็ดเงิน ลดการอักเสบ เช่น ขี้ผึ้ง […]

หมวดหมู่ สุขภาพผิว เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพผิว

สุขภาพผิว

หน้าที่ของผิวหนัง คืออะไร และควรดูแลผิวหนังอย่างไร

ผิวหนังส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยโปรตีน น้ำ ไขมัน และแร่ธาตุ ซึ่ง หน้าที่ของผิวหนัง มีความสำคัญในการปกป้องร่างกายจากเชื้อโรค อุณหภูมิและสารอันตราย รวมทั้ง ยังทำหน้าที่ในการรับความรู้สึก ช่วยสังเคราะห์วิตามินดี ควบคุมอุณหภูมิและความชุ่มชื้น ดังนั้น การดูแลผิวหนังให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอจึงอาจส่งผลดีต่อสุขภาพผิวหนังและสุขภาพร่างกายในระยะยาวได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] หน้าที่ของผิวหนัง คืออะไร ผิวหนังเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย โดยมีหน้าที่สำคัญในการปกป้องร่างกายจากสิ่งรบกวนภายนอก และหน้าที่ที่สำคัญอื่น ๆ ดังนี้ เป็นเกราะป้องกันผิวจากอุณหภูมิภายนอก เชื้อโรค สารเคมีอันตราย และปกป้องอวัยวะภายในจากการบาดเจ็บ ช่วยควบคุมการสูญเสียน้ำ และให้ความชุ่มชื้นกับผิว ช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายให้สมดุล ป้องกันอันตรายจากรังสียูวี เป็นอวัยวะรับความรู้สึก ทั้งการตรวจจับอุณหภูมิ แรงกด การสัมผัส การบาดเจ็บ และแรงสั่นสะเทือน ช่วยในการสังเคราะห์วิตามินดีให้กับร่างกาย โครงสร้างของผิวหนังมีอะไรบ้าง ผิวหนังประกอบด้วย 3 ชั้นหลัก คือ ชั้นหนังกำพร้า ชั้นหนังแท้ และชั้นใต้ผิวหนัง ดังนี้ ชั้นหนังกำพร้า เป็นชั้นที่อยู่ด้านอกสุดของร่างกาย มีลักษณะยืดหยุ่นและสามารถสร้างขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่อง ประกอบไปด้วย เคราติโนไซท์ (Keratinocytes) เป็นเซลล์หลักของหนังกำพร้าที่เกิดจากการแบ่งเซลล์ใหม่ โดยเซลล์จะเคลื่อนที่ไปยังพื้นผิวด้านบนสุดอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่เซลล์ชนิดนี้เคลื่อนตัว เซลล์ด้านบนสุดของผิวหนังจะค่อย ๆ เสื่อมสภาพและผลัดตัวออก คอร์นีโอไซต์ (Corneocytes) เป็นเซลล์เคราติโนไซท์ชั้นนอกสุดที่ตายหรือขี้ไคล (Stratum […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

โรคผิวหนัง คัน แห้ง และการดูแลตัวเอง

โรคผิวหนัง คัน แห้ง หมายถึง โรคผิวหนังต่าง ๆ ที่่พบได้ในชีวิตประจำวัน อย่างผื่นผิวหนังอักเสบ หนังเกล็ดปลา หรือผื่นแพ้ต่อมไขมัน โดยจะมีอาการผิวแห้งและคัน ร่วมกับอาการอื่น ๆ ทั้งนี้ เมื่อเป็นโรคดังกล่าว ควรดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม เพื่อบรรเทาอาการและลดโอกาสที่โรคจะกำเริบ [embed-health-tool-bmi] โรคผิวหนัง คันและแห้ง มีอะไรบ้าง ผิวหนัง คัน แห้ง เป็นอาการที่พบได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการขาดน้ำ การสูบบุหรี่ รวมถึงเมื่อป่วยเป็นโรคบางอย่าง นอกจากนี้ ผิวหนัง คัน แห้ง ยังเป็นอาการร่วมเมื่อป่วยด้วยโรคผิวหนังดังต่อไปนี้ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) เป็นโรคผิวหนังอักเสบ ที่พบได้ทั่วไปในเด็ก และบางครั้งยังพบได้ในผู้ใหญ่ด้วย เมื่อเป็นโรคนี้ ผิวหนังจะแห้ง คัน ลอก เป็นผื่น และอาจมีตุ่มน้ำใสร่วมด้วย ทั้งนี้ ผื่นผิวหนังอักเสบเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ซึ่งส่งผลให้ผิวหนังอ่อนแอ ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคและสารเคมีต่าง ๆ รวมถึงไม่สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ได้ สะเก็ดเงิน (Psoriasis) เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งซึ่งยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด เมื่อเป็นแล้ว เซลล์ผิวหนังจะเติบโตเร็วกว่าปกติ ทำให้ผิวหนังบางส่วนเป็นปื้นหนา มีขุยสีขาวหรือสีเงิน ซึ่งแห้ง […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

หนังศีรษะแห้ง ลอก ดูแลตัวเองอย่างไร

หนังศีรษะแห้ง ลอก เกิดขึ้นได้เมื่อหนังศีรษะสูญเสียน้ำหรือน้ำมัน เนื่องจากปัญหาด้านสุขอนามัยรวมถึงโรคผิวหนังชนิดต่าง ๆ ทั้งนี้ เมื่อพบว่าหนังศีรษะแห้งและลอก ควรดูแลตัวเองด้วยการสระผมให้น้อยลง หมักหนังศรีษะด้วยน้ำมันมะกอก หรือใช้ยารักษาโรคในรูปแบบครีมหรือยา [embed-health-tool-bmi] หนังศีรษะแห้งและลอก เกิดจากอะไร หนังศีรษะแห้ง เกิดขึ้นเมื่อหนังศีรษะสูญเสียน้ำ หรือมีน้ำมันน้อยเกินไป ทำให้หนังศีรษะไม่สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ได้ เมื่อหนังศีรษะแห้งทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง และลอกเป็นขุยหรือหลุดออกเป็นแผ่น ๆ สำหรับสาเหตุของหนังศีรษะแห้งนั้นมีหลายประการ ดังนี้ สระผมบ่อยเกินไป การสระผมบ่อย ๆ ทำให้น้ำมันบนศีรษะถูกล้างออก ส่งผลให้หนังศีรษะและเส้นผมแห้ง แพ้ผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผม สารเคมีในแชมพู ครีมนวดผม หรือยาย้อมผม อาจทำให้แพ้ได้ โดยมักมีอาการหนังศีรษะแห้ง แดง คัน และลอก สภาพอากาศ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว อากาศที่เย็นและแห้งอาจทำให้หนังศีรษะและผิวหนังบริเวณอื่นของร่างกายแห้งได้ โรคผิวหนัง อาการหนังศีรษะแห้ง ลอก อาจเป็นอาการของโรคผิวหนังบางชนิด เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคกลาก โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคเซ็บเดิร์ม ผื่นแอกทินิกเคอราโทซิส (Actinic Keratosis) ซึ่งเป็นผื่นผิวหนังที่มีลักษณะหยาบเป็นขุย สามารถกลายพันธุ์เป็นเซลล์ก่อมะเร็งได้ เกิดจากผิวหนังสัมผัสแสงแดดเป็นประจำ และมักพบในผู้ชายที่ผมร่วง รวมถึงผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หนังศีรษะแห้ง ลอก […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

หน้ามันใช้อะไรดี และวิธีการดูแลผิวมัน

หลายคนที่มีปัญหาหน้ามันมากจนกระทบต่อการใช้ชีวิตและความมั่นใจ จึงอาจมีคำถามว่า หน้ามันใช้อะไรดี ที่จะช่วยลดความมันบนใบหน้า ปกป้องผิว และช่วยส่งเสริมสุขภาพผิวให้แข็งแรง ซึ่งการเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนช่วยในการผลัดเซลล์ผิว ลดความมันส่วนเกิน และให้ความชุ่มชื้นกับผิวอยู่เสมอ รวมทั้งการดูแลสุขภาพผิวประจำวันอาจเป็นวิธีที่จะช่วยลดความมันบนใบหน้าได้ [embed-health-tool-bmr] หน้ามัน เกิดจากอะไร หน้ามัน เกิดขึ้นเมื่อต่อมน้ำมันใต้รูขุมขนผลิตน้ำมันออกมามากเกินไป ส่งผลให้ผิวหน้ามีลักษณะมันวาว รูขุมขนกว้างและเป็นสิวง่าย เนื่องจากน้ำมันที่มากเกินไปสามารถผสมกับเซลล์ผิวเก่า เชื้อโรค และขนภายในรูขุมขนจนเกิดเป็นการอุดตันขึ้น นอกจากนี้ ปัญหาหน้ามันยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้อีก เช่น พันธุกรรม ความเครียด ฮอร์โมน แสงแดด สิ่งแวดล้อม การใช้ยาบางชนิด การใช้ชีวิตประจำวัน การดูแลผิว ผู้ที่มีหน้ามันควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบอะไรบ้าง สำหรับผู้ที่มีผิวหน้ามันอาจมีคำถามว่า หน้ามันใช้อะไรดี เพื่อช่วยลดความมัน ปกป้องผิว และส่งเสริมสุขภาพผิวให้แข็งแรง ซึ่งการเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีส่วนประกอบสำคัญต่อไปนี้อาจช่วยได้ กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) ช่วยขจัดความมันส่วนเกินและสิ่งสกปรกบนผิวหนัง มีความอ่อนโยน ไม่ทำให้ผิวแห้ง นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติช่วยต้านการอักเสบและลดการเกิดสิวอีกด้วย เรตินอยด์ (Retinoids) ช่วยขจัดความมันส่วนเกินบนผิวและชะลอการผลิตน้ำมันในรูขุมขน รวมทั้งช่วยให้ผิวกระจ่างใสและต่อต้านริ้วรอยแห่งวัย กรดไกลโคลิก (Glycolic Acid) ช่วยในการผลัดเซลล์ผิวหนังเก่า พร้อมเผยผิวใหม่ที่กระจ่างใสและสุขภาพดี ทั้งยังช่วยลดความมันส่วนเกินบนผิว อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้มากเกินไปเพราะการผลัดเซลล์ผิวบ่อย […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

มอยเจอร์ไรเซอร์ ทาตอนไหน จึงจะช่วยบำรุงผิว และควรเลือกอย่างไร

หลายคนอาจมีคำถามว่า มอยเจอร์ไรเซอร์ ทาตอนไหน ถึงจะให้ประสิทธิภาพในการบำรุงผิวที่ดี โดยทั่วไปควรทามอยเจอร์ไรเซอร์ทันทีหลังทำความสะอาดผิว หรืออาจเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้นด้วยการเช็ดโทนเนอร์หลังทำความสะอาดผิว จากนั้นทามอยเจอร์ไรเซอร์ตามทันที เพื่อให้มอยเจอร์ไรเซอร์สามารถซึมเข้าสู่ชั้นผิวที่ลึกมากขึ้นและให้ประสิทธิภาพการบำรุงที่ดียิ่งขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] มอยเจอร์ไรเซอร์ มีประโยชน์อย่างไร มอยเจอร์ไรเซอร์ เป็นผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ช่วยให้ความชุ่มชื้นและช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นภายในผิว ซึ่งช่วยป้องกันปัญหาผิวแห้งกร้าน ผิวลอก คัน และระคายเคืองได้ นอกจากนี้ ยังอาจมีประโยชน์ในการช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่าและช่วยลดการผลิตน้ำมันส่วนเกินบนผิวหนังได้อีกด้วย มอยเจอร์ไรเซอร์ ทาตอนไหน จึงจะเหมาะสม ช่วงเวลาในการทามอยเจอร์ไรเซอร์อาจเป็นสิ่งสำคัญ จึงอาจทำให้บางคนมีคำถามว่า มอยเจอร์ไรเซอร์ทาตอนไหนถึงจะให้ผลดีที่สุด โดยทั่วไปควรทามอยเจอร์ไรเซอร์หลังจากการทำความสะอาดผิวทันที ทั้งตอนเช้าและตอนเย็น หรือช่วงเวลาอื่น ๆ หลังล้างหน้า เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ยังมีความชื้นอยู่บนผิว ทำให้มอยเจอร์ไรเซอร์สามารถเคลือบผิวและกักเก็บน้ำไว้บนผิวได้มากสุด มอยเจอร์ไรเซอร์จึงอาจซึมเข้าผิวได้ดีมากขึ้น นอกจากนี้ การเช็ดผิวด้วยโทนเนอร์ (Toner) หลังทำความสะอาดผิวก็อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของมอยเจอร์ไรเซอร์ได้เช่นกัน เนื่องจากโทนเนอร์อาจช่วยขจัดสิ่งสกปรกตกค้าง และช่วยลดความมันบนใบหน้าที่โฟมล้างหน้าอาจกำจัดไม่หมด โดยอาจปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ ล้างทำความสะอาดผิวด้วยโฟมล้างหน้าสูตรอ่อนโยนตามปกติ จากนั้นซับผิวให้แห้งพอหมาด เช็ดทำความสะอาดผิวด้วยโทนเนอร์กับสำลีอย่างเบามือ ทามอยเจอร์ไรเซอร์ตามทันทีให้ทั่วผิว จากนั้นใช้มือคลึงเบา ๆ ให้มอยเจอร์ไรเซอร์กระจายทั่วผิวหนัง เพื่อช่วยให้มอยเจอร์ไรเซอร์ซึมเข้าสู่ผิวได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีผิวหนังอักเสบ แสบ แดง เป็นผื่น หรือคัน ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อทำการรักษา และเลือกใช้มอยเจอร์ไรเซอร์หรือผลิตภัณฑ์ดูแลผิวชนิดอื่นให้เหมาะสมกับสภาพผิวในขณะนั้น วิธีเลือกมอยเจอร์ไรเซอร์ให้เหมาะกับผิว สภาพผิวแต่ละคนไม่เหมือนกันจึงควรเลือกมอยเจอร์ไรเซอร์ให้เหมาะกับผิว ดังนี้ ทำความรู้จักกับสภาพผิวของตัวเอง เช่น ผิวแห้ง ควรเลือกมอยเจอร์ไรเซอร์ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันและมีคุณสมบัติให้ความชุ่มชื้น สำหรับคนผิวมันควรเลือกมอยเจอร์ไรเซอร์ที่มีส่วนประกอบของน้ำ […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

มอยเจอร์ไรเซอร์ ทาตอนไหน ทาเพื่ออะไร

มอยเจอร์ไรเซอร์ เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับทาผิวหนังทั้งใบหน้าและร่างกายเพื่อรักษาความชุ่มชื้นมีทั้งรูปแบบครีม เจล หรือโลชั่น หากสงสัยว่า มอยเจอร์ไรเซอร์ ทาตอนไหน คำตอบคือ ควรทาหลังจากอาบน้ำหรือล้างหน้า ในขณะที่ผิวหนังยังเปียกชื้นอยู่ [embed-health-tool-ovulation] มอยเจอร์ไรเซอร์ คืออะไร มอยเจอร์ไรเซอร์ เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหนัง ในรูปแบบครีม เจล หรือโลชั่น มีคุณสมบัติเพิ่มความชุ่มชื้นและป้องกันผิวหนังสูญเสียความชุ่มชื้นในเวลาเดียวกัน โดยทั่วไป มอยเจอร์ไรเซอร์ใช้ทาเพื่อป้องกันผิวแห้ง โดยเฉพาะเมื่อต้องเผชิญกับอากาศที่แห้งและเย็นในฤดูหนาว มอยเจอร์ไรเซอร์ ทาตอนไหน มอยเจอร์ไรเซอร์ ควรทาประมาณ 2 ครั้ง/วัน หลังจากอาบน้ำ หรือหลังล้างหน้าหรือโกนหนวด โดยก่อนทา อาจเลือกขัดผิวเบา ๆ ด้วยผ้าสะอาด เพื่อกำจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วออก และทำให้มอยเจอร์ไรเซอร์ซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ ผู้ที่ชอบอาบน้ำอุ่นควรทามอยเจอร์ไรเซอร์หลังอาบน้ำอุ่นเพราะน้ำอุ่นจะชะล้างน้ำมันออกจากผิวหนัง ทำให้ผิวหนังแห้งหรือแตกง่าย โดยมอยเจอร์ไรเซอร์จะช่วยป้องกันผิวแห้งและแตก ขั้นตอนการทามอยเจอร์ไรเซอร์ ขั้นตอนการทามอยเจอร์ไรเซอร์ มีดังต่อไปนี้ อาบน้ำหรือล้างหน้าให้สะอาด เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกหรือเครื่องสำอางออกจากผิวหนัง ทาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวโดยเริ่มต้นจากผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อบางเบาที่สุดไปยังผลิตภัณฑ์ที่เนื้อหนักที่สุด ทามอยเจอร์ไรเซอร์ ขณะที่ผิวหนังยังเปียกชื้นอยู่ โดยแต้มมอยเจอร์ไรเซอร์เป็นจุด ๆ แล้วค่อย ๆ ใช้นิ้วเกลี่ยวนเป็นวงกลมรอบ ๆ ผิวหน้า หากทาตัวค่อย ๆ ลูบไล้ให้ทั่วร่างกาย มอยเจอร์ไรเซอร์ เลือกซื้ออย่างไร ปัจจุบัน มีมอยเจอร์ไรเซอร์จำนวนมากวางจำหน่ายตามร้านขายยา ร้านสะดวกซื้อ และซูเปอร์มาร์เก็ต ทำให้ยากต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ ทั้งนี้ […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

คลีนเซอร์ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

คลีนเซอร์ เป็นผลิตภัณฑ์ดูแลผิวแบบหนึ่ง ใช้ทาบนใบหน้าแล้วล้างออกเพื่อขจัดเครื่องสำอางและสิ่งสกปรกให้หมดไป โดยทั่วไป นิยมใช้คลีนเซอร์ทำความสะอาดผิวหน้าเป็นอันดับแรกในการทำความสะอาดผิวหน้าในตอนเช้า และมักใช้หลังจากเมคอัพรีมูฟเวอร์ในการทำความสะอาดใบหน้าก่อนนอน [embed-health-tool-ovulation] คลีนเซอร์คืออะไร คลีนเซอร์ (Cleanser) เป็นสกินแคร์หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าชนิดหนึ่ง ใช้ทาลงบนใบหน้าแล้วล้างออก เพื่อกำจัดคราบเครื่องสำอางและกำจัดน้ำมัน เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว รวมทั้งมลภาวะต่าง ๆ ที่ติดอยู่บนใบหน้า รวมทั้งใช้เพื่อป้องกันรูขุมขนอุดตันหรือลดความเสี่ยงเป็นสิว คลีนเซอร์มีกี่แบบ แต่ละแบบต่างกันอย่างไร คลีนเซอร์ที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบันนี้มีด้วยกัน 2 แบบ คือ คลีนเซอร์ที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก (Water-based Cleanser) และ คลีนเซอร์ที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบหลัก (Old-based Cleanser) โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้ คลีนเซอร์ที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก เป็นคลีนเซอร์ที่มีสารลดแรงตึงผิวเป็นส่วนผสม และทำงานคล้ายสบู่ ช่วยกำจัดฝุ่นละอองและมลภาวะต่าง ๆ ให้หลุดจากผิวหน้าและล้างออกได้ง่าย ทั้งนี้ คลีนเซอร์แบบนี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับผู้ที่หน้ามันหรือเป็นสิวง่าย เพราะมีคุณสมบัติกำจัดน้ำมันธรรมชาติออกจากใบหน้า ทำให้หน้ามันน้อยลง คลีนเซอร์ที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบหลัก โดยคลีนเซอร์แบบนี้เนื้อคลีนเซอร์จะละลายเข้ากับเครื่องสำอาง น้ำมัน หรือสิ่งสกปรกบนผิวหน้า เมื่อใช้ล้างหน้าจะทำให้คราบไคลต่าง ๆ หลุดออกจากใบหน้าได้ง่ายยิ่งขึ้น ข้อดีของคลีนเซอร์แบบนี้ คืออ่อนโยนต่อผิวหน้า โดยเฉพาะกับผู้ที่ผิวแพ้ง่ายหรือผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย (Rosacea) ซึ่งเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง คลีนเซอร์ใช้ ตอนไหน คลีนเซอร์เป็นผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ควรใช้ทั้งตอนเช้าและตอนกลางคืน โดยในตอนเช้า ให้ใช้ล้างหน้าเพื่อกำจัดน้ำมันและสิ่งสกปรกต่าง ๆ […]


สุขภาพผิว

คันหน้ายุบยิบ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

คันหน้ายุบยิบ เป็นปัญหาผิวหนังที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นผิวแห้ง โรคผิวหนัง การใช้ยาบางชนิด รวมถึงความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท ทั้งนี้ หากมีอาการคันหน้ายุบยิบ ควรดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยการใช้ผ้าเย็นประคบหน้า ล้างหน้าด้วยน้ำสะอาด ทายาเพื่อลดอาการคัน ทาครีมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น [embed-health-tool-bmi] คันหน้ายุบยิบ เกิดจากสาเหตุอะไร คันหน้ายุบยิบเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ผิวหน้าแห้ง ผิวหน้าแห้งเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายขาดน้ำ ล้างหน้าบ่อย ใช้สบู่ฤทธิ์แรง อาบน้ำอุ่นเป็นเวลานาน อยู่สภาพแวดลอมที่อากาศแห้ง หรือมีปัญหาสุขภาพบางประการ อายุที่มากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น ผิวหน้าและผิวหนังส่วนอื่น ๆ จะผลิตน้ำมันได้น้อยลง ทำให้สูญเสียความชุ่มชื้นหรือแห้งได้ง่าย และก่อให้เกิดอาการคันร่วมด้วย โรคภูมิแพ้ ภูมิแพ้เป็นการตอบสนองอย่างผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันต่อสารต่าง ๆ ที่พบได้ในอาหาร อากาศ วัคซีนป้องกันโรค รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยทั่วไป เมื่อใบหน้าสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ผู้ที่เป็นภูมิแพ้จะรู้สึกคัน และอาจมีผื่นขึ้นร่วมด้วย น้ำดีคั่งในตับ เป็นโรคเกี่ยวกับตับที่พบได้ในผู้ป่วยโรคตับ โรคมะเร็งตับ โรคนิ่วในถุงน้ำดี หญิงตั้งครรภ์ และมักหายไปเองหลังคลอดบุตร เมื่อเป็นโรคนี้ หญิงตั้งครรภ์จะมีอาการคันอย่างรุนแรงตามมือ เท้า และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ใบหน้า ร่วมกับมีอาการป่วยอื่น […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

Debridement คือ อะไร ช่วยในการรักษาบาดแผลอย่างไร

Debridement คือ วิธีการกำจัดเนื้อเยื่อที่ตายแล้วและสิ่งแปลกปลอมออกจากแผล เพื่อช่วยให้แผลฟื้นฟูตัวเองได้เร็วขึ้น โดยทั่วไป นิยมใช้วิธี Debridement กับแผลเรื้อรัง แผลที่ฟื้นฟูได้ช้ากว่าปกติ รวมถึงแผลจากไฟไหม้อย่างรุนแรง [embed-health-tool-heart-rate] Debridement คือ อะไร Debridement คือการกำจัดเนื้อเยื่อที่ตายแล้วและสิ่งแปลกปลอมออกจากแผล เพื่อช่วยให้แผลฟื้นฟูตัวเองได้เร็วขึ้นและลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ ปกติแล้ว นิยมใช้วิธีการกำจัดเนื้อเยื่อที่ตายแล้วและสิ่งแปลกปลอมกับแผลแผลเรื้อรัง แผลที่ฟื้นฟูตัวเองช้ากว่าปกติ แผลติดเชื้อ แผลไฟไหม้รุนแรง รวมถึงแผลที่อาจทำให้เนื้อเยื่อตาย เช่น แผลบริเวณเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน Debridement มีกี่รูปแบบ การกำจัดเนื้อเยื่อที่ตายแล้วและสิ่งแปลกปลอมมีหลายรูปแบบ ดังนี้ Autolytic Debridement Autolytic Debridement เป็นการปิดแผลด้วยผ้าพันแผลชนิดพิเศษ โดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยดูดซับสารคัดหลั่งช่วยให้เกิดความชุ่มชื้นที่เหมาะสม ผู้ป่วยรู้สึกสบายแผล ไม่เจ็บปวด และทำให้ร่างกายจัดการเนื้อเยื่อที่ตายและสิ่งแปลกปลอมด้วยกระบวนการธรรมชาติ ทั้งนี้ Autolytic Debridement จะใช้เวลาหลายวัน และเหมาะกับแผลขนาดเล็กที่ไม่พบการติดเชื้อ รวมถึงแผลกดทับ Biological Debridement Biological Debridement หรือบางครั้งเรียกว่า หนอนบำบัด (Maggot Therapy) เป็นการปล่อยหนอนแมลงวันเข้าไปในแผล แล้วปิดด้วยผ้าพันแผล เพื่อให้หนอนกินเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว และหลั่งสารต้านแบคทีเรียออกมา โดยทั่วไป วิธี Biological Debridement จะใช้เวลาครั้งละประมาณ 24 ถึง 72 ชั่วโมง Enzymatic […]


โรคสะเก็ดเงิน

สะเก็ดเงิน อาการ และการดูแลตัวเองเบื้องต้น

สะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันผิวหนังและอาจมีปัจจัยทางพันธุกรรมมาเกี่ยวข้อง โรคนี้ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด และเมื่อเป็นโรค สะเก็ดเงิน อาการ ที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ ผิวหนังหนาเป็นปื้น แห้ง และลอกเป็นขุยสีขาวหรือเงินอยู่ตลอด และมักเกิดร่วมกับอาการคัน [embed-health-tool-heart-rate] สะเก็ดเงิน คืออะไร สะเก็ดเงิน (Psoriasis) เป็นโรคผิวหนังที่ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด โดยเซลล์ผิวหนังของผู้ป่วยสะเก็ดเงินมักเติบโตเร็วกว่าปกติประมาณ 10 เท่า ทำให้ผิวหนังบริเวณศีรษะ ข้อศอก หัวเข่า แผ่นหลังส่วนล่าง และอวัยวะเพศ กลายเป็นสะเก็ดแข็งสีเงิน สีขาว หรือสีเหลือง ปกติแล้ว สะเก็ดเงินมักเกิดกับผู้มีอายุระหว่าง 20-30 ปี และระหว่าง 50-60 ปี โดยส่วนใหญ่ อาการของโรคนี้จะไม่เกิดกับทุกส่วนของร่างกาย ยกเว้นในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง สำหรับสาเหตุของสะเก็ดเงินสันนิษฐานว่าเป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งส่งผลให้เซลล์ผิวหนังเพิ่มจำนวนผิดปกติ ทั้งนี้ จะไม่พบอาการหรือสัญญาณใด ๆ ของโรค จนกระทั่งร่างกายถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การติดเชื้อ สภาพอากาศ โดยเฉพาะช่วงที่หนาวหรือแห้ง การบาดเจ็บบริเวณผิวหนัง เช่น การถูกของมีคมบาด การเสียดสี การกระแทก การสูบบุหรี่หรือการได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลิเทียม (Lithium) […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน