ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

ร่างกายของคนเราโดยเฉพาะกล้ามเนื้อและข้อต่อถือเป็นเรื่องที่ควรต้องได้รับการใส่ใจ เพราะมันสามารถสึกกร่อนไปตามอายุที่เพิ่มขึ้นได้ จึงทำให้เกิดอาการปวดข้อ ปวดหลัง การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและกระดูกอื่น ๆ ซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและการใช้ชีวิตประจำวัน ทาง Hello คุณหมอเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องเหล่านี้ จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก เอาไว้ให้ทุกคนได้ศึกษาข้อมูล

เรื่องเด่นประจำหมวด

ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

วัณโรคกระดูก โรคที่พบบ่อยในคนไทย วิธีป้องกันทำได้อย่างไร

วัณโรคกระดูก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนไทย สามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้ โดยเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายจะซึมผ่านกระแสเลือด ลุกลามไปยังอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงกระดูก แต่วัณโรคกระดูกก็ยังสามารถป้องกันและรักษาได้ จึงควรพบแพทย์ให้เร็ว เมื่อรู้สึกว่าร่างกายกำลังผิดปกติ [embed-health-tool-bmr] สาเหตุของ วัณโรคกระดูก วัณโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis เชื้อนี้ทนอยู่ในอากาศและสิ่งแวดล้อมได้นาน สามารถติดต่อได้ง่ายไปยังบุคคลอื่น ด้วยการสูดเอาละอองเสมหะของผู้ป่วยวัณโรคที่ไอ จาม หรือหายใจรด เข้าไปในร่างกาย ติดต่อได้จากการรับประทานอาหารที่มีภาชนะใส่อาหารปนเปื้อนเชื้อวัณโรค  เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายทางปอด จะทำให้ปอดเกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งเชื้อจะซึมผ่านกระแสเลือดแล้วเข้าทำลายอวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง สมอง ไต และกระดูก  อันตรายจากวัณโรคกระดูก วัณโรคกระดูกทำให้กระดูกเกิดการเปลี่ยนแปลง พบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น  กระดูกยุบตัว  หลังโก่งงอ  มีหนองหรือเศษกระดูก  หมอนรองกระดูกเคลื่อน  และเมื่อเข้าสู่ไขสันหลังจะเกิดการกดทับประสาทที่ไขสันหลังทำให้เป็นอัมพาตที่ขาได้ อาการของวัณโรคกระดูก  ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตนเองกำลังเป็นวัณโรคกระดูก เพราะอาการเบื้องต้นจะเป็นอาการปวดหลัง จนกระทั่งร่างกายเริ่มปวดมากจึงมาพบแพทย์ สำหรับสัญญาณเตือน วัณโรคกระดูก ที่ควรระวัง มีดังนี้ มีอาการปวดเมื่อยตามตัวช่วง 1-2 สัปดาห์แรก  อาการปวดจะไม่หาย และมีอาการหนักมากขึ้นเมื่อผ่านไป 1 เดือน มีไข้ต่ำ ๆ ช่วงเย็น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หากมีการกดทับระบบประสาทจะส่งผลอื่น ๆ […]

หมวดหมู่ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก เพิ่มเติม

สำรวจ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

7 อาการปวดหลัง ที่มักเกิดกับ ผู้หญิง มากกว่าผู้ชาย

เมื่อพูดถึงปัญหาเกี่ยวกับหลังแล้ว ผู้หญิงเป็นเพศที่มักต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการปวดเช่นนี้มากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงและผู้ชายมีโครงสร้างกระดูกเชิงกราน และฮอร์โมนที่ต่างกัน อีกทั้งผู้หญิงยังมีหน้าที่ในการให้กำเนิดบุตรด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวม อาการปวดหลัง 7 ประเภท ที่พบได้ใน ผู้หญิง มากกว่าผู้ชายมาฝากกันแล้วค่ะ จะมีอะไรบ้างนั้น เราไปดูกันเลย อาการปวดหลัง 7 ประเภท ที่พบได้บ่อยใน ผู้หญิง 1. อาการปวดกระดูกก้นกบ อาการปวดกระดูกก้นกบอาจเกิดขึ้นอย่างช้าๆ หรือเกิดขึ้นฉับพลันหลังจากมีแรงกระแทกในบริเวณดังกล่าว หรือในบางกรณี แค่การสัมผัสเบา ๆ ในบริเวณนั้นก็สามารถทำให้คุณเจ็บปวดได้แล้ว ฉะนั้น ในบางครั้ง แค่คุณนั่งท่าปกติก็อาจทำให้คุณปวดกระดูกก้นกบ จนทรมานมากได้ อาการปวดกระดูกก้นกบมักรุนแรงขึ้นเมื่อมีอาการท้องผูก แต่ก็โชคดีที่อาการเจ็บปวดนี้มักทุเลาลงภายหลังการขับถ่ายแต่ละครั้ง ส่วนใหญ่แล้ว อาการปวดกระดูกก้นกบมักเกิดจากการคลอดบุตร หรือการล้มก้นกระแทก 2. กระดูกสันหลังยุบ ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) อาจทำให้กระดูกสันหลังของคุณแตก และส่งผลให้กระดูกสันหลังยุบได้ กระดูกยุบตัวมักพบได้มากที่สุดในบริเวณกระดูกสันหลังส่วนบน ส่วนใหญ่ผู้ที่มีปัญหานี้จะรู้สึกปวดรุนแรง แต่บางคนอาจไม่รู้สึกอะไรเลย เมื่อกระดูกสันหลังยุบอาจทำให้หลังค่อมหรือความสูงลดลงได้ 3. กระดูกสันหลังเคลื่อนจากการเสื่อมสภาพ กระดูกสันหลังเคลื่อนจากการเสื่อมสภาพ (Degenerative spondylolisthesis) เกิดขึ้นเมื่อกระดูกสันหลังชิ้นหนึ่งในบริเวณหลังส่วนล่าง เคลื่อนตัวไปข้างหน้าจนอยู่เหนือชิ้นส่วนที่อยู่ข้างใต้ ทำให้รากประสาทเกิดการระคายเคือง และเกิดอาการปวดบริเวณหลังส่วนล่างและขา อาการทั่วไปของกระดูกสันหลังเคลื่อน ได้แก่ อาการปวดขาหรืออ่อนเพลีย ที่เกิดขึ้นขณะเดินหรือยืนเป็นเวลานาน อาการปวดอาจรุนแรงมากพอที่จะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคุณได้ 4. […]


โรคข้ออักเสบ

ข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (Thumb arthritis)

คำจำกัดความข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบ คืออะไร ข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (Thumb arthritis) เกิดขึ้นเมื่อกระดูกอ่อนจากปลายกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นข้อต่อของนิ้วหัวแม่มือ หรือที่เรียกว่า ข้อต่อคาร์โปเมตาคาร์ปอล (carpometacarpal หรือ CMC) เกิดสึกหรอ ข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดอย่างรุนแรง อาการบวม ไร้เรี่ยวแรง รวมถึงขอบเขตของการเคลื่อนไหวที่ลดลง ทำให้กิจกรรมง่ายๆ อย่างการหมุนลูกบิดประตู หรือเปิดขวด กลายเป็นเรื่องยาก การรักษาข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบมักจะใช้ยาร่วมกับการใส่เฝือก หากข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบรุนแรง อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบพบได้บ่อยแค่ไหน ข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบเกิดขึ้นบ่อยในผู้สูงอายุ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบ อาการแรกเริ่มและเกิดขึ้นบ่อยที่สุด หากข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบ ก็คือ อาการเจ็บปวด ซึ่งอาจเกิดขึ้นที่ฐานนิ้วหัวแม่มือ เมื่อคุณยึด จับ บีบวัตถุ หรือออกแรงกดโดยใช้นิ้วหัวแม่มือ สัญญาณหรืออาการอื่นอาจรวมถึง อาการบวม เมื่อย หรือกดเจ็บที่ฐานนิ้วหัวแม่มือ แรงที่ใช้บีบหรือจับวัตถุลดลง เคลื่อนไหวนิ้วได้จำกัด ข้อต่อที่ฐานนิ้วหัวแม่มือบวมหรือใหญ่ขึ้น สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสัญญาณหรืออาการตามรายละเอียดด้านบนหรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายคนแต่ละคนแสดงอาการแตกต่างกัน จึงควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบ ข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบเกิดขึ้นบ่อยในผู้สูงอายุ แผลหรืออาการบาดเจ็บที่มือในอดีต อาจส่งผลให้ข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบได้ ในข้อต่อของนิ้วหัวแม่มือทั่วไป กระดูกอ่อนจะป้องกันบริเวณส่วนปลายของกระดูก ทำหน้าที่กันกระแทก และทำให้กระดูกเคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่นเมื่อต้องกระทบกับกระดูกชิ้นอื่น ในผู้ป่วยที่ข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบ กระดูกข้อต่อที่ป้องกันบริเวณส่วนปลายของกระดูกจะสึกหรอ และพื้นผิวของกระดูกที่เรียบจะขรุขระขึ้น กระดูกจึงเสียดสีกัน และส่งผลให้เกิดความฝืดและความเสียหายของข้อต่อ ความเสียหายของข้อต่ออาจส่งผลให้เกิดกระดูกใหม่ข้างๆ กระดูกเดิม (กระดูกงอก) ซึ่งอาจทำให้เกิดเนื้องอกที่สังเกตเห็นได้บริเวณข้อต่อของนิ้วหัวแม่มือ ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบ เช่น เป็นผู้หญิง อายุมากกว่า 40 ปี เป็นโรคอ้วน โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมบางชนิด เช่น เอ็นข้อหย่อน (joint […]


กระดูกร้าว กระดูกหัก

กระดูกหน้าแข้งหัก (Tibia Fracture)

กระดูกหน้าแข้งหัก (Tibia Fracture) อาจมีตั้งแต่รอยช้ำไปถึงความเจ็บปวดอย่างรุนแรงที่บริเวณขาส่วนล่าง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ แพทย์จะตรวจร่างกาย และอาจทำการตรวจบางอย่าง เพื่อให้เห็นภาพของอาการกระดูกหน้าแข้งหัก คำจำกัดความ กระดูกหน้าแข้งหัก คืออะไร แข้งหรือกระดูกหน้าแข้ง เป็นกระดูกใหญ่สองชิ้นบริเวณขาส่วนล่าง ภาวะกระดูกหน้าแข้งหัก (Tibia Fracture) อาจมีตั้งแต่รอยช้ำ ถึงความเจ็บปวดอย่างรุนแรง บริเวณขาส่วนล่าง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ ในการวินิจฉัยอาการดังกล่าว แพทย์จะตรวจร่างกาย และอาจทำการตรวจบางอย่าง เพื่อให้เห็นภาพของอาการกระดูกหน้าแข้งหัก แพทย์จะแนะนำการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับประเภทของอาการกระดูกหน้าแข้งหัก เวลาพักฟื้นก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการเช่นกัน โดยอาจใช้เวลารักษาสี่ถึงหกเดือน เพื่อให้หายเป็นปกติ กระดูกหน้าแข้งหักพบได้บ่อยแค่ไหน อาการกระดูกหน้าแข้งหักเป็นอาการกระดูกหักที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ อาการ อาการของกระดูกหน้าแข้งหักคืออะไร อาการทั่วไปของกระดูกหน้าแข้งหัก ได้แก่ ความเจ็บปวดอย่างรุนแรง บริเวณขาส่วนล่าง เดิน วิ่ง หรือเตะขาลำบาก ขาชา หรือเป็นเหน็บ ขาข้างที่บาดเจ็บไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ขาส่วนล่าง เข่า หรือหน้าแข้งผิดรูป กระดูกยื่นออกมาจากผิวหนัง สามารถงอเข่าเข้าได้อย่างจำกัด จุดที่บาดเจ็บมีรอยบวม ขาข้างที่ได้รับบาดเจ็บเกิดรอยช้ำและผิวซีดลง เมื่อกระดูกหน้าแข้งหัก กระดูกชิ้นอื่นบริเวณขาส่วนล่าง ที่เรียกว่า กระดูกน่อง มักจะได้รับบาดเจ็บด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสัญญาณ หรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถามอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับแพทย์ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ สาเหตุ สาเหตุของ กระดูกหน้าแข้งหัก สาเหตุของภาวะกระดูกหน้าแข้งหักที่พบได้บ่อย ได้แก่ การชนหรือกระแทกอย่างรุนแรง เช่น ได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์ และอาจส่งผลให้เกิดภาวะกระดูกหน้าแข้งหักที่รุนแรงที่สุด การหกล้ม […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

9 กิจวัตรประจำวันง่ายๆ ที่ช่วย ป้องกันอาการปวดหลัง อย่างได้ผล

ไม่มีใครชอบอาการปวดหลัง ฉะนั้น เราควรตัดไฟตั้งแต่ต้นลม นั่นก็คือ อย่าปล่อยให้อาการปวดหลังเกิดขึ้นได้ คุณสามารถ ป้องกันอาการปวดหลัง ด้วยการเปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน และการออกกำลังกายบางอย่าง เมื่อทำสิ่งเหล่านี้ทุกวันจนเป็นนิสัย ก็จะช่วยรักษาสุขภาพและป้องกันอาการปวดหลังได้ในระยะยาว กิจวัตรที่ช่วย ป้องกันอาการปวดหลัง 1. ปรับท่านอน การนอนหงายจะทำให้กระดูกสันหลังได้รับแรงกดทับ คุณจึงควรยกขาขึ้นเล็กน้อยเพิ่มช่วยลดแรงกดดันที่หลังขณะหลับ นอกจากนี้ การสอดหมอนไว้ใต้เข่าเวลานอน ก็สามารถช่วยลดแรงกดทับได้ 50% ซึ่งจะป้องกันอาการปวดหลัง แต่ถ้าคุณมีอาการปวดหลังอยู่แล้ว ควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับท่านอนที่ดีที่สุด โดยทั่วไปแล้ว ท่าที่แนะนำก็คือ ท่านอนตะแคงข้าง และงอเข่าเข้าหาหน้าอก แต่สำหรับบางคนที่ชอบนอนหงาย ให้เอาหมอนสอดไว้ใต้เข่าเวลานอน 2. สร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ การออกกำลังกายเป็นประจำด้วยการบริหารกล้ามเนื้อ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการบาดเจ็บที่หลังได้ คุณควรเน้นการออกกำลังกายที่หลัง และหน้าท้องเป็นหลัก โดยออกกำลังกายอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อให้กล้ามเนื้อหลังยืดหยุ่นและแข็งแรง ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า การออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วยบรรเทาอาการอักเสบ และความตึงเครียดของกล้ามเนื้อหลังได้ 3. เพิ่มแคลเซียมและวิตามินดี กระดูกที่แข็งแรงจะช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดหลังที่พบบ่อยที่สุดในวัยชรา โดยเฉพาะในผู้หญิง การทำให้กระดูกและกระดูกสันหลังแข็งแรง ทำได้โดยการกินอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม และวิตามินดี อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม เช่น นม โยเกิร์ต ผักใบเขียว ส่วนอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดี เช่น ปลาไขมันสูง ไข่แดง ตับ ชีส คุณสามารถกินแคลเซียมและวิตามินดีในรูแบบอาหารเสริมได้ด้วย […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

นิ้วล็อค โรคยอดฮิตของคนยุคนี้ กับหลากหลายวิธีรักษา

นิ้วล็อค เป็นอาการที่พบได้บ่อย ๆ ของคนในยุคนี้ เพราะส่วนใหญ่ต้องใช้นิ้วมือจิ้มคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ หน้าจอแท็บเล็ต หรือหน้าจอสมาร์ทโฟนซ้ำไปซ้ำมาเป็นเวลานาน ๆ การใช้นิ้วมืออย่างหนักทำให้เกิดอาการ นิ้วล็อค ได้ ถ้าคุณอยากรู้ว่าโรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และต้องจัดการยังไง ลองอ่านรายละเอียดที่ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมมาให้ในบทความนี้ดูนะคะ คุณจะได้รู้ว่าตรงกับอาการที่เป็นอยู่หรือเปล่า หากใครเป็นแล้วรักษาด้วยวิธีที่เราแนะนำแล้วได้ผล ก็อย่าลืมแชร์บทความดี ๆ บทความนี้ให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันด้วยนะคะ นิ้วล็อค คืออะไร นิ้วล็อค (Trigger Finger) เกิดจากการเสียดสีของเส้นเอ็นในช่องเอ็น จนทำให้เกิดการอักเสบขึ้นที่ปลอกหุ้มเอ็นบริเวณข้อนิ้ว ซึ่งทำหน้าที่ในการงอนิ้ว เมื่อมีอาการขึ้นมาจะทำให้เคลื่อนไหวนิ้วได้ยาก และอาจทำให้งอหรือเหยียดนิ้วได้ลำบาก รวมทั้งอาจมีความเจ็บปวด ซึ่งความเจ็บปวดก็จะมีหลายระดับ อาการของนิ้วล็อค คนที่มีปัญหาเรื่องนิ้วล็อค มักจะมีอาการดังต่อไปนี้ เจ็บปวดไม่ยอมหายในบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ หรือนิ้วอื่น ๆ มีตุ่มหรือก้อนนูนรอบ ๆ โคนนิ้วบริเวณที่อยู่ใกล้ฝ่ามือ มีอาการกดเจ็บบริเวณรอบ ๆ โคนนิ้วมือ ขยับนิ้วแล้วมีเสียงแปลก ๆ นิ้วแข็ง ขยับไปมาได้ยาก หากคุณปล่อยไว้โดยไม่รักษา นิ้วล็อคก็อาจมีอาการแย่ลงได้ เช่น นิ้วหัวแม่มือหรือนิ้วอื่น ๆ อาจล็อคอยู่ในท่างอหรือท่าเหยียดตรง จนไม่สามารถขยับเปลี่ยนเป็นท่าอื่นได้ ถ้าไม่ได้ใช้มืออีกข้างหนึ่งช่วย อาการนิ้วล็อคมักจะแย่ลงในช่วงเช้า แต่เมื่อถึงช่วงกลางวันนิ้วก็จะหายเกร็งและเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น สาเหตุที่ทำให้เกิดนิ้วล็อค นิ้วของเรามีกระดูกชิ้นเล็ก ๆ อยู่หลายชิ้น โดยมีเส้นเอ็นทำหน้าที่เชื่อมต่อกระดูกเข้ากับกล้ามเนื้อ […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

ปวดหลัง ปวดไหล่ เพราะนั่งนาน นั่งทำงานอย่างไรไม่ให้ปวดหลัง

คุณมีอาการ ปวดหลัง แบบนี้หรือเปล่า นั่งทำงานนานๆ แล้วปวดหลัง นั่งนานๆ แล้วเมื่อยบ่า เมื่อยคอ ลองนั่งหลังตรงแล้ว แต่ทำได้ไม่นานก็กลับมานั่งเหมือนเดิม และไม่ช่วยให้หายปวดหลังเลย ปวดหลังบริเวณเอว อาการปวดหลังแบบนี้ สาเหตุอาจเกิดจากการนั่งผิดท่า ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด ผลเสียจากการนั่งผิดท่า การนั่งผิดท่า นั่งนาน ทำให้เสี่ยงหลายโรค เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือแม้แต่โรคมะเร็ง เนื่องจากมีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ที่ได้สำรวจพฤติกรรมของคน 8,000 คน งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า คนส่วนใหญ่ที่ใช้เวลาไปกับการนั่ง เฉลี่ย 12.3 ชั่วโมงต่อวันนั้น ในเวลา 4 ปีต่อมา มีคน 340 คนเสียชีวิตจากปัญหาสุขภาพต่างๆ และคนส่วนใหญ่ที่นั่งนานก็เสี่ยงที่จะมีปัญหาสุขภาพ นอกจากนี้งานวิจัยยังพบว่า คนที่นั่งติดต่อกันน้อยกว่า 30 นาที จะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรน้อยที่สุด ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า การนั่งนานๆ จะทำให้เราเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ และเสี่ยงที่จะเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เนื่องจากเรานั่งผิดท่านานๆ ทำให้กระทบต่อระบบอวัยวะภายในร่างกาย จึงควรที่จะลุกขึ้นมายืน หรือยืดเส้นยืดสายเบาๆ เพื่อไม่ให้การนั่งทำลายสุขภาพของเรามากเกินไป สาเหตุที่ทำให้ ปวดหลัง อวัยวะที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังคือ กระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อบริเวณตั้งแต่คอจนถึงเอว ซึ่งกล้ามเนื้อจะแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือกล้ามเนื้อช่วงคอ กล้ามเนื้อช่วงกลางหลัง และกล้ามเนื้อช่วงเอว การนั่งผิดท่าส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อทั้งสามส่วน […]


โรคกระดูกแบบอื่น

สวยแต่เสี่ยง 5 อันตรายของการใส่ รองเท้าส้นสูง

ซินเดอเรลล่า เจ้าหญิงที่มาพร้อมรองเท้าส้นสูงจากแม่นางฟ้าทูลหัว เจ้าหญิงในดวงใจสาวๆ หลายคนที่ใฝ่ฝันอยากจะใส่บ้าง แต่ความจริงมันไม่ได้สวยหรูแบบนั้นน่ะสิ เพราะถ้าคุณเป็นหนึ่งคนที่ต้องมี รองเท้าส้นสูง คู่โปรดติดตู้รองเท้าเอาไว้เพราะไม่ว่าต้องไปงานประชุมหรืองานสังสรรค์ จะต้องพึ่งพาเจ้ารองเท้าส้นสูงตลอด ด้วยพรวิเศษของ รองเท้าส้นสูง ที่ให้ทั้งความสูง สวย สง่างาม ส่งเสริมรูปร่างของผู้หญิงให้ดูโดดเด่นอย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่คุณรู้ไหมว่าความสวยพวกนี้มาพร้อมความเสี่ยงที่เป็นอันตรายกับร่างกายของคุณมากกว่าที่คิด รู้จักอันตรายจากการใส่รองเท้าส้นสูงก่อนร่างกายจะพังเพราะรองเท้าคู่สวยแบบกู่ไม่กลับ 5 อันตรายของการใส่ รองเท้าส้นสูง เท้าพังเพราะรองเท้าส้นสูง เท้าของคุณเป็นเหมือนเบาะที่รองรับการเคลื่อนไหวและน้ำหนักทั้งหมดของร่างกาย แต่คุณรู้ไหมว่าเวลาที่คุณหยิบรองเท้าส้นสูงมาใส่ น้ำหนักทั้งหมดของคุณก็จะเทไปยังบริเวณปลายเท้าและนิ้วเท้า แทนฝ่าเท้าทั้งหมด ลองจินตนาการดูสิว่าถ้าตึกหนึ่งหลังมีเหล็กเส้นบางๆ รับน้ำหนักแทนเสาเข็มคอนกรีต เหล็กเส้นนั้นจะเป็นยังไง เหมือนกับกระดูกเท้าของคุณที่ต้องแบกรับน้ำหนักทั้งหมดของร่างกาย ยิ่งต้องทำกิจกรรมที่มีการเดินหรือวิ่งที่กระแทกน้ำหนักลงไปมากเท่าใดยิ่งอันตรายมากเท่านั้น อันตรายที่นอกจากจะทำให้เกิดอาการปวดแล้วยังอาจทำให้กระดูกข้อเท้าผิดรูปได้เลยนะ กระดูกสันหลังผิดรูป กระดูกสันหลังตัว S ที่ไม่ S อีกต่อไป กระดูกสันหลังที่เป็นเหมือนโครงสร้างแกนกลางที่สำคัญที่สุดของร่างกาย เพราะทำหน้ากป้องกระดูกไขสันหลัง คงรูปร่างของร่างกาย เป็นที่เกาะยึดของกล้ามเนื้อต่างๆ รวมไปถึงเป็นตัวช่วยในการเคลื่อนไหวร่างกายของเรา แต่การใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานานจะทำให้กระดูกสันหลังที่เดิมเรียงตัวเป็นรูปตัว S อาจเกิดการผิดรูปเนื่องจากการใส่รองเท้าส้นสูงทำให้กระดูกสันหลังที่โค้งมาข้างหน้ามีความโค้งน้อยลง ทำให้กระดูกสันหลังทำงานหนักขึ้นเพื่อพยุงกระดูกสันหลังเอาไว้และเมื่อใส่เวลานานอาจะส่งผลกระทบให้กระดูกสันหลังเคลื่อนที่ไปทับเส้นประสาทในที่สุด เป็นความความสวยที่แลกมาด้วยความอันตรายที่ไม่คุ้มค่าสักนิด  เข่าเสื่อม จะลุกก็ โอย จะนั่งก็ โอย เข่าฉันไม่ไหวแล้ว ความสวยที่ฝืนธรรมชาติของสรีระอย่างการใส่รองเท้าส้นสูง ได้ส่งผลกระทบต่อหัวเข่าของเราอย่างมาก เนื่องจากร่างกายของเรามีกระบวนการกระจายน้ำหนักของแต่ละส่วนอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับอวัยะต่างๆ แต่การใส่รองเท้าส้นสูงเหมือนการฝืนธรรมชาติ เมื่อน้ำหนักของร่างกายเกิดการกระจากน้ำหนักอย่างไม่เหมาะสมโดยถ่ายเทยน้ำหนักไปยังด้านหน้าทำให้หัวเข่าต้องแบกรับน้ำหนักของร่างกายร่วมกับปลายเท้าเท่านั้น และเมื่อน้ำหนักถ่ายเทไปข้างหน้าทั้งหมดทำให้การเดินของเราต้องพยายามมากขึ้นที่จะทำให้ตัวอยู่ในแนวตรง ส่งผลให้หัวเข่าถูกทำร้ายทุกครั้งที่ใส่รองเท้าส้นสูง จึงไม่น่าแปลกใจที่โรคข้อเข่าเสื่อมจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่ชอบใส่รองเท้าส้นสูงมากกว่าคนอื่น ปวดสะโพก สะโพก ของสาวๆ […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

เอ็นร้อยหวายฉีกขาด (Achilles Tendon Rupture)

เอ็นร้อยหวายเป็นส่วนที่เชื่อมต่อกล้ามเนื้อน่องกับกระดูกส้นเท้า หากเอ็นร้อยหวายยืดเกินไปหรือหดตัวอย่างรวดเร็ว ก็อาจทำให้ เอ็นร้อยหวายฉีกขาด ได้ คำจำกัดความเอ็นร้อยหวายฉีกขาด คืออะไร ภาวะเอ็นร้อยหวายฉีกขาดเป็นอาการบาดเจ็บของเอ็นร้อยหวาย ซึ่งเป็นเส้นเอ็นที่ใหญ่และหนาที่สุดในร่างกายที่อยู่เหนือส้นเท้า เชื่อมต่อส้นเท้ากับกล้ามเนื้อน่อง และส่งผลในการวิ่ง เดิน หรือกระโดด เมื่อเอ็นร้อยหวายยืดเกินขีดจำกัดหรือหดอย่างรวดเร็วก็สามารถส่งผลให้เอ็นร้อยหวายทั้งเส้นหรือบางส่วนฉีกขาดได้ เมื่อเอ็นร้อยหวายฉีกขาด คุณอาจได้ยินเสียงดัง “กึก” ตามด้วยอาการเจ็บแปลบที่บริเวณเหนือส้นเท้า ซึ่งส่งผลให้คุณเดินไม่ถนัดหรือขยับเท้าไม่ได้ คนส่วนใหญ่ที่เอ็นร้อยหวายฉีดขาดจะต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมเอ็นร้อยหวาย แต่ในบางกรณีก็สามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด เอ็นร้อยหวายฉีกขาด พบบ่อยแค่ไหน ภาวะเอ็นร้อยหวายฉีกขาดนี้เป็นอาการบาดเจ็บที่สามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่พบมากกับผู้ที่เล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย แต่ภาวะนี้ก็สามารถจัดการได้ด้วยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของเอ็นร้อยหวายฉีกขาด อาการของภาวะเอ็นร้อยหวายฉีกขาดที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ อยู่ๆ ก็เจ็บแปลบ (เจ็บเหมือนโดนแทงหรือโดนเตะ) บริเวณเหนือส้นเท้า หรือที่น่อง ก่อนอาการจะลดลงเป็นปวดตื้อ ๆ (Dull Ache) ได้ยินเสียง “กึก” จากบริเวณเหนือส้นเท้า บริเวณเหนือส้นเท้าบวม ยืนหรือเดินลำบาก โดยเฉพาะเวลาขึ้นลงเนินหรือบันได งอข้อเท้าไม่ได้ สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น อย่างไรก็ตาม ภาวะเอ็นร้อยหวายฉีกขาดถือเป็นเหตุฉุกเฉิน หากเกิดขึ้นควรเข้ารับการรักษาพยาบาลทันที และควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยหลักการ หลักการ R.I.C.E. คือ R – Rest: พัก หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่จะทำให้เอ็นร้อยหวายยิ่งฉีกขาดหรือถูกทำลาย I – Ice: ประคบน้ำแข็ง หรือประคบเย็น เพื่อลดอาการเจ็บปวด บวม ช้ำ C – […]


โรคกระดูกแบบอื่น

ภาวะแคระแกร็นจากความผิดปกติของกระดูก (Achondroplasia)

ภาวะแคระแกร็นจากความผิดปกติของกระดูกคืออะไรภาวะแคระแกร็นจากความผิดปกติของกระดูก (Achondroplasia) เป็นโรคกระดูกที่เกิดจากการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมที่หาได้ยาก การเปลี่ยนรูปแบบของยีนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสถาวะร่างกายไม่สมส่วน มีอาการดังนี้คือ กระดูกอ่อนของผู้ป่วยไม่สามารถเปลี่ยนรูปร่างไปตามปกติ คนที่มีความผิดปกติของกระดูกมีลักษณะเตี้ย สูงประมาณ 131 เซนติเมตรในเพศชาย และ 124 เซนติเมตรในเพศหญิง ความผิดปกติของกระดูกสามารถสืบทอดมาจากพ่อแม่ได้ เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ (ประมาณ 80%) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม   อาการทั่วไปของภาวะแคระแกร็นจากความผิดปกติของกระดูกความผิดปกติของกระดูกเป็นเรื่องธรรมดามาก โดยทั่วไปแล้วจะมีผลต่อเพศหญิงมากกว่าเพศชายและอาจส่งผลต่อผู้ป่วยในทุกช่วงอายุ สามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการที่ควรรู้ ความผิดปกติของกระดูก มีอาการแบบไหนบ้าง อาการทั่วไปของภาวะแคระแกร็นจากความผิดปกติของกระดูก คือ มีสัดส่วนเตี้ย ในเพศชายมีสัดส่วนประมาณ 131 เซนติเมตร ในเพศหญิงมีสัดส่วนประมาณ 124 เซนติเมตร มีแขนขาที่สั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงแขนและต้นขา, การเคลื่อนไหวข้อศอกได้แคบ มีศีรษะที่โตกว่าธรรมดาและมีหน้าผากกว้าง มีนิ้วมือสั้น มือมีลักษณะสามง่ามเพราะนิ้วมือขดและนิ้วกลางผายออก ภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของกระดูก  คือ ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ การหายใจช้าหรือหยุดลงเป็นระยะเวลาสั้น โรคอ้วน การติดเชื้อที่หูเป็นประจำ อาการชักและอาการปวดหลัง กระดูกสันหลังตีบ ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ อาจมีอาการบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้นหากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ผู้รักษา คุณควรไปหาหมอเมื่อไรคุณควรไปหาหมอหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ มีสัดส่วนที่เตี้ยเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของอายุและเพศ แขนและขาสั้นเมื่อเทียบกับความสูงของร่างกาย นิ้วสั้นและมือเป็นง่าม ศีรษะขนาดใหญ่ที่ไม่สมส่วนและหน้าผากใหญ่ผิดปกติ การหยุดหายใจ เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ และมีอาการหายใจช้า หรือหยุดหายใจ ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ ความยากในการเคลื่อนไหวข้อศอก มีโรคอ้วน การติดเชื้อที่หูกำเริบ หลังโก่งหรือหลังแอ่น สาเหตุภาวะแคระแกร็นจากความผิดปกติของกระดูกความผิดปกติของกระดูกเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในยีน FGFR3 ที่ป้องกันไม่ให้กระดูกอ่อนปรับเปลี่ยนเพื่อสร้างกระดูกในระหว่างการพัฒนาของทารกในครรภ์ ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรรู้สิ่งที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแคระแกร็นจากความผิดปกติของกระดูก มีปัจจัยเสี่ยงบางประการสำหรับการเกิดภาวะแคระแกร็นจากความผิดปกติของกระดูก เช่น เด็กที่พ่อแม่มีความผิดปกติของกระดูก เด็กที่พ่อแม่มียีน FGFR3 ในสายพันธุ์ อายุของฝ่ายบิดาสูง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำความเข้าใจการวินิจฉัยและการรักษาโรคข้อมูลในที่นี้ไม่สามารถทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ใดๆ กรุณาปรึกษากับหมอของคุณทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพื่อเติม ภาวะแคระแกร็นจากความผิดปกติของกระดูกวินิจฉัยอย่างไร ผิดปกติของกระดูกสามารถตรวจพบได้ในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร ระหว่างตั้งครรภ์ ภาพอัลตราซาวนด์สามารถตรวจจับลักษณะของความผิดปกติของกระดูกได้ เช่น ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ หรือหัวขนาดใหญ่ผิดปกติ การทดสอบทางพันธุกรรม สามารถสั่งให้ตรวจได้ในกรณีที่สงสัยว่าเกิดความผิดปกติของกระดูก โดยการสุ่มตัวอย่างโพรงมดลูกกับเนื้อเยื่อรก หรือการเจาะนํ้าครํ่าไปตรวจ หลังจากที่เด็กคลอดแล้ว การตรวจความผิดปกติของกระดูกสามารถทำได้โดยพิจารณาจาก ลักษณะทางกายภาพทั่วไป เอ็กซเรย์ อัลตราซาวนด์ และเทคนิคการถ่ายภาพอื่นๆ เพื่อวัดความยาวของกระดูกของเด็ก การตรวจเลือดเพื่อค้นหายีน FGFR3 ความผิดปกติของกระดูกรักษาได้อย่างไร ยังไม่มีการรักษาเฉพาะทาง […]


โรคกระดูกแบบอื่น

กระดูกบาง (Osteopenia)

กระดูกบาง เป็นอาการที่กระดูกสูญเสียความหนาแน่น ทำให้กระดูกบาง เปราะง่าย อีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่มาพร้อมกับวัยที่มากขึ้น และเป็นสัญญาณสัญญาณที่บอกว่ากระดูกของคุณกำลังอ่อนแอ หากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงกว่า เช่น โรคกระดูกพรุนได้ คำจำกัดความโรคกระดูกบาง คืออะไร กระดูกบาง (Osteopenia) เป็นอาการทางพยาธิวิทยาของกระดูกที่สูญเสียความหนาแน่นของมวลกระดูก เป็นสัญญาณว่ากระดูกกำลังอ่อนแอลงเรื่อยๆ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ หากคุณเป็นโรคกระดูกบาง ความหนาแน่นของมวลกระดูกจะต่ำกว่าปกติ โดยความหนาแน่นของมวลกระดูกของมนุษย์จะอยู่ในระดับสูงสุดในช่วงอายุประมาณ 35 ปี ส่วนใหญ่แล้ว โรคกระดูกบางมักจะพัฒนาไปเป็นโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม โรคกระดูกบางพบได้บ่อยแค่ไหน โรคกระดูกบางพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคนี้มากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือที่เรียกว่าวัยทอง มักไม่พบในคนวัยหนุ่มสาว ยกเว้นในกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยง อาการอาการของโรคกระดูกบางคืออะไร ความหนาแน่นของมวลกระดูกที่ลดลงนั้น ไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกบางจึงมักไม่แสดงอาการใดๆ และอาจรู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ก็ต่อเมื่อกระดูกหัก ซึ่งส่วนใหญ่แม้ผู้ป่วยโรคกระดูกบางจะเกิดปัญหากระดูกหัก ก็มักไม่รู้สึกเจ็บปวดเช่นกัน หากมีข้อสงสัยใดๆ หรือต้องการข้อมูลเกี่ยวกับอาการของโรคกระดูกบางเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีอาการใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับกระดูก หรือมีข้อสงสัยใดๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับคุณหมอ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ สาเหตุสาเหตุของโรค กระดูกบาง เมื่อคนเราอายุมากขึ้นกระดูกย่อมบางลงตามธรรมชาติ โดยกระบวนการนี้มักจะเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงวัยกลางคน ซึ่งเซลล์สลายตัวรวดเร็วขึ้น และสร้างเซลล์ใหม่ช้าลง กระดูกเปราะบางมากขึ้น ทำให้กระดูกของเราเริ่มสูญเสียแร่ธาตุ มวลกระดูก และโครงสร้าง จนกระดูกเริ่มอ่อนแอลงและเสี่ยงแตกหักได้ง่ายกว่าเดิม นอกจากนี้ การรักษาโรค หรือภาวะโรคบางประการก็สามารถทำให้เกิดโรคกระดูกบางได้เช่นกัน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกบาง ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกบาง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน