ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

ร่างกายของคนเราโดยเฉพาะกล้ามเนื้อและข้อต่อถือเป็นเรื่องที่ควรต้องได้รับการใส่ใจ เพราะมันสามารถสึกกร่อนไปตามอายุที่เพิ่มขึ้นได้ จึงทำให้เกิดอาการปวดข้อ ปวดหลัง การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและกระดูกอื่น ๆ ซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและการใช้ชีวิตประจำวัน ทาง Hello คุณหมอเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องเหล่านี้ จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก เอาไว้ให้ทุกคนได้ศึกษาข้อมูล

เรื่องเด่นประจำหมวด

ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

วัณโรคกระดูก โรคที่พบบ่อยในคนไทย วิธีป้องกันทำได้อย่างไร

วัณโรคกระดูก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนไทย สามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้ โดยเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายจะซึมผ่านกระแสเลือด ลุกลามไปยังอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงกระดูก แต่วัณโรคกระดูกก็ยังสามารถป้องกันและรักษาได้ จึงควรพบแพทย์ให้เร็ว เมื่อรู้สึกว่าร่างกายกำลังผิดปกติ [embed-health-tool-bmr] สาเหตุของ วัณโรคกระดูก วัณโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis เชื้อนี้ทนอยู่ในอากาศและสิ่งแวดล้อมได้นาน สามารถติดต่อได้ง่ายไปยังบุคคลอื่น ด้วยการสูดเอาละอองเสมหะของผู้ป่วยวัณโรคที่ไอ จาม หรือหายใจรด เข้าไปในร่างกาย ติดต่อได้จากการรับประทานอาหารที่มีภาชนะใส่อาหารปนเปื้อนเชื้อวัณโรค  เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายทางปอด จะทำให้ปอดเกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งเชื้อจะซึมผ่านกระแสเลือดแล้วเข้าทำลายอวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง สมอง ไต และกระดูก  อันตรายจากวัณโรคกระดูก วัณโรคกระดูกทำให้กระดูกเกิดการเปลี่ยนแปลง พบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น  กระดูกยุบตัว  หลังโก่งงอ  มีหนองหรือเศษกระดูก  หมอนรองกระดูกเคลื่อน  และเมื่อเข้าสู่ไขสันหลังจะเกิดการกดทับประสาทที่ไขสันหลังทำให้เป็นอัมพาตที่ขาได้ อาการของวัณโรคกระดูก  ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตนเองกำลังเป็นวัณโรคกระดูก เพราะอาการเบื้องต้นจะเป็นอาการปวดหลัง จนกระทั่งร่างกายเริ่มปวดมากจึงมาพบแพทย์ สำหรับสัญญาณเตือน วัณโรคกระดูก ที่ควรระวัง มีดังนี้ มีอาการปวดเมื่อยตามตัวช่วง 1-2 สัปดาห์แรก  อาการปวดจะไม่หาย และมีอาการหนักมากขึ้นเมื่อผ่านไป 1 เดือน มีไข้ต่ำ ๆ ช่วงเย็น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หากมีการกดทับระบบประสาทจะส่งผลอื่น ๆ […]

สำรวจ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

5 อาการปวดหลังชนิดเรื้อรัง ที่คุณควรต้องรู้

การทำความเข้าใจอาการและสาเหตุของอาการปวดหลัง เป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากอาการเจ็บชนิดหนึ่งอาจนำไปสู่อาการเจ็บชนิดอื่น ๆ และทำให้เกิดปัญหามากมายในระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้ ซึ่ง Hello คุณหมอ อยากแนะนำให้ทุกคนทราบว่า กระบวนการนี้ทำให้เกิดการกำเริบของอาการปวดหลัง และสามารถนำไปสู่ อาการปวดหลังชนิดเรื้อรังได้ เมื่อผู้ป่วยเข้าพบหมอเป็นครั้งแรกเพื่อพูดคุยถึงอาการปวดหลัง ส่วนใหญ่แพทย์มักจะแนะนำวิธีการรักษาแบบเดียวกันที่ใช้ได้กับทุก ๆ กรณี โดยทั่วไปแพทย์มักเริ่มตรวจวินิจฉัย และเริ่มขั้นตอนการรักษาแบบเฉพาะทางขั้นสูง และอธิบายวิธีการตรวจรักษาอย่างละเอียด แต่แท้จริงแล้วขั้นตอนการรักษาอาการปวดหลังนั้นมีหลากหลาย เท่ากับว่าการตรวจวินิจฉัยนั้นเป็นการสร้างสมมติฐาน และลองผิดลองถูกมากกว่า และโดยเฉพาะหากอาการปวดหลังไม่ทุเลาลง นั่นอาจเป็นสัญญาณให้คุณรู้ว่า คุณกำลังมี อาการปวดหลังชนิดชนิดเรื้อรัง 5 อาการปวดหลังชนิดเรื้อรัง ที่ควรระวัง อาการกล้ามเนื้อฉีก อาการนี้เป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นมากที่สุด และก่อให้เกิดอาการปวดหลังเฉียบพลัน สูงถึงร้อยละ 95 ของผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเฉียบพลัน เมื่อมีการใช้กล้ามเนื้อหลังมากเกินไป กล้ามเนื้อจะเกิดการกระตุกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น อาการกระตุกและปวดนั้นเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายซึ่งไม่ควรที่จะละเลย แต่ข้อดีคือ อาการปวดหลังที่เกิดจากกล้ามเนื้อฉีกนั้นไม่รุนแรง สามารถตอบสนองการรักษาตามอาการได้ โดยใช้เวลาประมาณสองถึงสามวัน หรือไม่กี่สัปดาห์ในการเยียวยา แม้อาการกล้ามเนื้อฉีกในคนส่วนใหญ่สามารถรักษาได้โดยง่าย แต่อาการนี้สามารถเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาที่ใหญ่กว่า เพราะหากอาการกล้ามเนื้อฉีกเกิดขึ้นต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ และนำไปสู่อาการปวดหลังเรื้อรังได้ และถ้ามีอาการกล้ามเนื้อฉีกมากกว่าสองสัปดาห์ขึ้นไป คุณควรพิจารณาว่า นี่อาจเป็นอาการเจ็บกล้ามเนื้อ หรือเป็นสัญญาณของกล้ามเนื้อที่พยายามป้องกันไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บ อาการปวดข้อฟาเส็ท (ข้อต่อที่อยู่ด้านหลังของกระดูกสันหลัง) เกิดจากการอักเสบของข้อฟาเส็ท ถือเป็นอาการที่เกิดขึ้นมากที่สุดลำดับที่สอง เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดหลัง โดยข้อฟาเส็ทนี้เชื่อมอยู่กับข้อกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นกระดูกที่เรียงต่อกันบริเวณสันหลัง สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังนั้น ข้อต่อกระดูกสันหลังฟาเส็ทจะเป็นบริเวณที่ทำให้เกิดอาการปวดในระยะเริ่มแรก […]


โรคข้ออักเสบ

ข้อเสื่อม (Osteoarthritis)

คำจำกัดความข้อเสื่อม คืออะไร ข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นโรคเกี่ยวกับการอักเสบของข้อที่พบบ่อยที่สุด โรคนี้เกิดขึ้นเมื่อกระดูกอ่อน หรือหมอนรองระหว่างข้อต่อหัก นำไปสู่อาการเจ็บปวด ฝืด และบวม โรคข้อเสื่อมเกิดขึ้นได้ที่ข้อต่อทุกส่วนของร่างกาย แต่มักจะเกิดที่ข้อต่อมือ เข่า สะโพก และกระดูกสันหลัง ข้อเสื่อมพบบ่อยแค่ไหน ข้อเสื่อมจัดว่า เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย จากข้อมูลของสำนักโรคข้อต่อ ระบบกระดูก กล้ามเนื้อและผิวหนังแห่งสหรัฐอเมริกาพบว่า ก่อนอายุ 45 ปี โรคข้อเสื่อมเกิดขึ้นในเพศชายได้มากกว่าเพศหญิง และหลังอายุ 45 ปี โรคข้อเสื่อมเกิดในเพศหญิงมากกว่า อย่างไรก็ตาม โรคข้อเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย แต่มักพบบ่อยในผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปี โรคข้อเสื่อมสามารถรักษาได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของโรคข้อเสื่อม อาการทั่วไปของโรคข้อเสื่อม มีดังนี้ อาการปวดและข้อฝืดแข็ง มักเกิดในช่วงเช้าหรือหลังจากการพักผ่อน อาการปวดบริเวณข้อดีขึ้นเมื่อบีบนวดเบาๆ สูญเสียความยืดหยุ่น การเคลื่อนไหวของข้อต่อของคุณอาจถูกจำกัด เกิดเสียงหรือมีอาการเสียวที่ข้อต่อ ข้อต่อบวม สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถามเกี่ยวกับอาการของโรคโปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของโรคข้อเสื่อม โรคข้อเสื่อมเกิดจากการที่กระดูกอ่อนที่พยุงข้อต่อถูกทำลาย กระดูกอ่อนเป็นเนื้อเยื่อที่แข็งแรงแต่ยืดหยุ่น ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันส่วนปลาย ของกระดูก ปกป้องข้อต่อต่างๆ และทำให้กระดูกสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นปกติ หากเป็นโรคข้อเสื่อม พื้นผิวที่ลื่นของกระดูกอ่อนจะสากขึ้น และเสียดสีกัน โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของข้อเสื่อม ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคข้อเสื่อม มีดังนี้ อายุที่มากขึ้น ข้อเสื่อมเป็นโรคที่มาพร้อมกับอายุที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักตัวที่มากเกินไป ทำให้สะโพกและเข่ารับน้ำหนักมากขึ้น นอกจากนี้ เนื่อเยื่อที่มีไขมันมากเกินไปยังส่งผลให้เกิดสารเคมีที่ทำให้เกิดการอักเสบและทำลายข้อต่อได้ การบาดเจ็บและการใช้ข้อต่อมากเกินไป อาการบาดเจ็บที่เกิดจากการเล่นกีฬาหรือจากอุบัติเหตุ […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

วิธีแก้ปวดหลัง จะปวดหลังเฉียบพลันหรือปวดหลังเรื้อรัง ก็รักษาได้

อาการปวดหลัง เป็นผลมาจากการที่กระดูกสันหลังได้รับแรงกดทับจากการบาดเจ็บ โรคหรือกลไกที่ผิดปกติในร่างกาย อาการปวดหลังรุนแรงเป็นอาการเจ็บรุนแรงที่เกิดขึ้นกะทันหัน หลังจากไม่แสดงอาการอยู่หลายวันหรือเป็นสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการปวดหลังเฉียบพลันอาจนำไปสู่อาการปวดหลังเรื้อรัง และอาการรุมเร้าอื่นๆ ที่เพิ่มมากขึ้น Hello คุณหมอ จึงมี วิธีแก้ปวดหลัง มาฝาก รับรองเลยว่าสามารถบรรเทาได้ทั้งอาการปวดหลังเฉียบพลันและอาการปวดหลังเรื้อรัง อาการปวดหลังส่วนล่างประเภทต่างๆ ระดับของอาการปวดหลัง เริ่มจากอาการปวดเพียงเล็กน้อย ไปจนถึงอาการปวดรุนแรง ขึ้นอยู่กับปริมาณของการบาดเจ็บ และสามารถเป็นได้ทั้งอาการเรื้อรังหรือเฉียบพลัน อาการปวดหลังเฉียบพลันจะเกิดขึ้นทันที และกินระยะเวลาหลายวันจนถึงหลายสัปดาห์ สาเหตุของอาการปวดหลังเฉียบพลันมาจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่างๆ หรืออาจเป็นเพราะข้อต่อหรือหมอนรองกระดูกอักเสบก็ได้ หากปวดหลังเรื้อรังนานเกินกว่าสามเดือนและอาการรุนแรงขึ้น ควรไปโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจัย เพราะคุณอาจต้องเข้ารับการรักษากับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง การรักษาอาการปวดหลัง ขึ้นอยู่กับประวัติสุขภาพของผู้ป่วย ประเภทและความรุนแรงของอาการปวดหลัง โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนมากจะมีอาการดีขึ้น โดยไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัด และการออกกำลังกายมักเป็นส่วนหนึ่งของแผนการรักษา วิธีแก้ปวดหลัง เฉียบพลัน การรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างมักเริ่มจาก การใช้ยาแก้ปวด และ การบรรเทาอาการด้วยตัวเองที่บ้าน ยาแก้ปวด ยาพาราเซตามอลเป็นหนึ่งในยาที่ได้รับการแนะนำให้ใช้เบื้องต้น แต่ผู้ป่วยบางคนอาจพบว่า ยาแก้อักเสบชนิดที่ไม่มีสารสเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ดีกว่า อย่างไรก็ตาม ยาแก้ปวดมีผลข้างเคียง และทำให้เกิดการเสพติดได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะทางสุขภาพของคุณ การบำบัดด้วยความร้อนและเย็น การประคบเย็นภายใน 24-72 ชั่วโมงหลังเกิดอาการปวดหลัง โดยเฉพาะอาการปวดหลังที่เกิดจากกล้ามเนื้อฉีก จะช่วยลดการบวมและอักเสบ แต่คุณไม่ควรประคบน้ำแข็งลงบนผิวหนังโดยตรง เพราะอาจทำให้เกิดการไหม้จากความเย็นได้ ควรห่อน้ำแข็งด้วยผ้าก่อนประคบลงบนผิวหนัง ส่วนการบำบัดด้วยความร้อน เช่น การแช่น้ำร้อน การประคบร้อน […]


โรคข้ออักเสบ

อาการของโรคข้อเสื่อม ปัจจัยเสี่ยง และการรักษา

อาการของโรคข้อเสื่อม เป็นอาการที่กระดูกอ่อนในข้อต่อเสื่อมสภาพลงและเกิดการเสียดสีกันจนเกิดแรงกด ซึ่งจะนำไปสู่การอักเสบของข้อต่อ โดยมักมีผลต่อข้อต่อในแขน ขา นิ้วมือ ข้อมือ เข่า ข้อเท้าและสะโพก เรามารู้จักกับโรคข้อเสื่อมให้มากขึ้น จากบทความนี้ของ Hello คุณหมอ ค่ะ สาเหตุของโรคข้อเสื่อม กระดูกอ่อนเป็นสารลักษณะคล้ายยางที่มีความทนทาน ยืดหยุ่น และนุ่มกว่ากระดูก ที่อยู่ระหว่างกระดูกข้อต่อซึ่งมีหน้าที่ในการป้องกันกระดูกไม่ให้ได้รับกระทบกระเทือน และทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัว เมื่อกระดูกได้รับความเสียหายหรือฉีกขาด จะทำให้กระดูกพรุน บริเวณข้อต่อและเนื้อเยื่อเกิดความเจ็บปวด เมื่อกระดูกอ่อนได้รับความเสียหายจะไม่สามารถฟื้นฟูตัวเองได้ หากกระดูกอ่อนฉีกขาดหรือหายไปหมด ก็จะทำให้กระดูกเสียดสีจนเกิดเป็นโรคข้อเสื่อม เมื่อได้รับการกระทบกระเทือนอย่างต่อเนื่องซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่มักพบ โรคนี้ในผู้สูงอายุ เนื่องจากมีการใช้งานของข้อต่อมาเป็นระยะเวลานาน ยิ่งอายุมากขึ้นเท่าไร อัตราการเสื่อมสภาพของข้อต่อก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอีกด้วย เช่น เคยได้รับการบาดเจ็บในข้อต่อ (กระดูกอ่อนฉีกขาด ข้อต่อหลุด เอ็นได้รับการบาดเจ็บ) กระดูกผิดรูปตั้งแต่เกิด โรคอ้วน พฤติกรรมการใช้งานข้อต่อที่หนักเกินไป แต่ปัจจัยความเสี่ยงที่มักมีโอกาสเกิดมากกว่าคนอื่นๆ คือ พันธุกรรม และมักเกิดในเพศหญิง อาการของโรคข้อเสื่อม มีอะไรบ้าง โรคข้อเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย และพบได้มากบริเวณข้อต่อ แต่บริเวณที่พบได้ทั่วไปคือ มือ ปลายนิ้ว หัวเข่า และสะโพก อาการความเจ็บปวดมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

ไคโรแพรคติก อีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาอาการปวดหลัง

โรคปวดหลัง เป็นโรคที่มีอาการปวดส่วนใดส่วนหนึ่งของโครงสร้างกระดูกสันหลังส่วนเอว โดยโรคปวดหลังมักเกินในผู้สูงอายุซึ่งมีความเสื่อมของร่างกายทำให้ปวดหลังได้ง่าย แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้จากปัจจัยอื่น ๆ เช่น น้ำหนักตัวที่มากเกินไป กระดูกพรุน การนั่งทำงานเป็นเวลานาน รูปแบบการรักษาอาการปวดหลังก็มีหลากหลายรูปแบบ แต่วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปรู้จักการรักษาแบบ ไคโรแพรคติก หรือการจัดกระดูกนั่นเอง ไคโรแพรคติก (Chiropractic) คืออะไร ไคโรแพรคติกคือการรักษาอาการปวดหลังด้วยการใช้มือจัดกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นการรักษาทางเลือก โดยการรักษาแบบไคโรแพรคติกใช้ทฤษฎีการจัดวางตำแหน่งที่เหมาะสมของโครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อของร่างกาย โดยเฉพาะการจัดกระดูกสันหลังให้เข้าที่โดยที่ไม่ต้องผ่าตัด หรือใช้ยาในการรักษา มักจะใช้ในการฟื้นฟูความคล่องตัวของข้อต่อที่ถูกจำกัด ทำให้ทำงานได้ไม่เต็มที่เนื่องจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ โดยการบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออาจมีสาเหตุมาจาก การตกจากที่สูง การตึงของกล้ามเนื้อ การนั่งโดยไม่มีเบาะหนุนหลังอย่างเหมาะสม การรักษาแบบไคโรแพรคติกเป็นการรักษาแบบทางเลือก ที่ส่วนใหญ่มีหลักการเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ กระดูก และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่น กระดูกอ่อน เส้นเอ็น บางครั้งใช้รักษาร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบัน ไคโรแพรคติกกับการรักษาอาการปวดหลัง หมอที่ทำการรักษาแบบไคโรแพรคติกจะทำการวินิจฉัย โดยทำการตรวจร่างกาย มีการทดสอบร่างกายของเราในห้องแลป ว่าอาการปวดหลังของเราเหมาะสมที่จะรักษาด้วยไคโรแพรคติกหรือไม่ โดยการรักษาแบบไคโรแพรคติกอาจจะต้องทำให้เรามีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่ออาการ ควบคู่ไปกับการจัดกระดูกของแพทย์ เพื่อใช้ควบคุมให้ผลการรักษาออกมาอย่างมีคุณภาพ ในหลายๆ ครั้งการรักษาแบบ ไคโรแพรคติกยังต้องทำร่วมกับการให้คำปรึกษาด้านโภชนาการ และการออกกำลังกายหรือการฟื้นฟูร่างกายในแผนการรักษาอีกด้วย เป้าหมายของการรักษาอาการปวดหลังแบบ ไคโรแพรคติกเพื่อฟื้นฟูการทำงานและป้องกันการบาดเจ็บที่นอกเหนือจากอาการปวดหลัง ความปลอดภัยจากการรักษาแบบไคโรแพรคติก การรักษาอาการปวดหลังด้วยไคโรแพรคติกบางครั้งอาจมีผลข้างเคียงจากการดึงข้อต่อกระดูกสันหลัง คืออาจจะมีอาการปวดหัวชั่วคราว รู้สึกเมื่อยล้า หรือรู้สึกไม่สบายในส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ได้รับการรักษา มีรายงานการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะที่เกี่ยวกับปลายประสาทส่วนล่างของโพรงกระดูกสันหลัง […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

ปวดคอและไหล่ จากการทำงานหน้าจอตลอดวัน เมื่อเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องรับมือให้ดี

อาการ ปวดคอและไหล่ (NSP-Neck and Shoulder Pain) หรือที่เรารู้จักกันว่าอาการ ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) เป็นอาการที่พบได้บ่อยมาก ในกลุ่มผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ แต่ในเมื่อคนทำงานไม่มีทางเลือก เพราะต้องนั่งทำงานแบบนั้นทั้งวัน จะทำยังไงที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดพวกนี้ดี? ทำไมการทำงานหน้าคอมถึงทำให้ ปวดคอและไหล่ ปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งในการทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ ที่พบบ่อยจากหลาย ๆ การวิจัยก็คือ ปัจจัยเกี่ยวกับการทำงาน อย่างเช่น การเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ แรงกด การวางท่าทางที่ไม่สบายหรือไม่เป็นธรรมชาติของแขนขา เป็นต้น ปัจจัยข้างต้น เป็นสิ่งที่พบบ่อยในคนที่ใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นประจำ เนื่องจากการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ร่างกายส่วนบนจะต้องหยุดนิ่ง โดยคอจะทำหน้าที่พยุงศีรษะ ซึ่งมีน้ำหนักประมาณหนึ่งในเจ็ดส่วนของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เพื่อให้ร่างกายอยู่นิ่ง ๆ การเกร็งกล้ามเนื้อคออย่างต่อเนื่อง เพื่อพยุงให้ศีรษะอยู่ตำแหน่งนี้ ทำให้ลดการไหลเวียนของเลือดมายังกล้ามเนื้อ นำไปสู่ความอ่อนล้าและความเสียหายของกล้ามเนื้อ การเกร็งนี้ยังทำให้เกิดแรงกดต่อเส้นประสาทในคอ ทำให้เกิดอาการปวดหลังและด้านข้างของศีรษะได้ด้วย นอกจากนี้ถ้านั่งอยู่ในท่าที่ไม่สบาย หรือมุมมองหน้าจอที่ไม่ดีพอ ตำแหน่งของเก้าอี้และโต๊ะที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เนื้อเยื่ออ่อนหดเกร็ง เกิดการตึงที่กล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอลง และรู้สึกถึงความอ่อนล้า มีการบันทึกไว้ในงานวิจัยบางชิ้นว่า อาการตึงเครียดของกล้ามเนื้อและความเครียดโดยรวม ทำให้โครงสร้างร่างกายเกิดอาการหดเกร็ง และเป็นสาเหตุของอาการเจ็บปวด อีกปัญหาหนึ่งที่พบบ่อยก็คือ ท่านั่งที่ไม่เหมาะสม อย่างการนั่งหลังค่อม โดยหัวยื่นออกไปข้างหน้ามากเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อเล็กๆ ในสันหลังต้องทำงานหนักเป็นสองเท่าจากที่ควรจะเป็น […]


ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

รองช้ำ สาเหตุ อาการ และการรักษา

รองช้ำ หมายถึงอาการเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ทำให้เกิดอาการเจ็บบริเวณฝ่าเท้าและส้นเท้า โดยเฉพาะเวลาลุกขึ้น หรือเวลาเดิน อาจเกิดขึ้นจากน้ำหนักตัว การยืนหรือเดินนาน ๆ การเล่นกีฬา หรือปัญหาจากโครงสร้างของฝ่าเท้า สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาแก้ปวดและทำกายภาพบำบัด คำจำกัดความรองช้ำ คืออะไร? โรครองช้ำ (Plantar fasciitis) หรือ โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ผู้ที่ป่วยจะมีอาการเจ็บส้นเท้า หรือบางรายอาจเจ็บทั่วทั้งฝ่าเท้า โดยเฉพาะช่วงที่ตื่นนอนตอนเช้า หากลุกเดินในก้าวแรกจะมีอาการเจ็บ หรือก้าวแรกหลังจากที่นั่งพักเป็นเวลานาน โรครองช้ำเป็นโรคที่พบได้บ่อย สาเหตุส่วนใหญ่ของโรค เกิดจากการใช้งานเท้าหนักเกินไปทำให้เกิดการสึกหรอ โดยปกติแล้ว เอ็นฝ่าเท้าจะช่วยรองรับอุ้งเท้า และทำหน้าที่ดูดซับแรงกระแทกขณะเดิน เมื่อเอ็นฝ่าเท้าเกิดการอักเสบ จึงทำให้รู้สึกปวด และเดินไม่สะดวก ส่วนใหญ่แล้ว โรคนี้มักจะเกิดกับคนในช่วงวัย  40-70 ปี และมักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการอาการของรองช้ำ อาการหลัก ๆ ของรองช้ำ หรืออาการปวดที่บริเวณส้นเท้า หรือฝ่าเท้า โดยเฉพาะเวลาที่ลุกขึ้นยืนจากท่านั่งหรือท่านอนเป็นเวลานาน ๆ และอาการปวดจะค่อย ๆ เบาลงเมื่อได้เคลื่อนไหวเท้า ก่อนที่จะกลับมาปวดอีกครั้ง วนไปมา สาเหตุสาเหตุของโรครองช้ำ น้ำหนัก หากมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วน มักจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรครองช้ำ เพราะน้ำหนักตัวจะกดลงที่เอ็นเท้า โดยเฉพาะช่วงที่น้ำหนักขึ้นอย่างฉับพลัน เช่น ในหญิงตั้งครรภ์ ที่อาจเกิดโรครองช้ำได้ โดยมักจะพบในช่วงสัปดาห์ท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ที่น้ำหนักตัวเพิ่มสูงสุด การยืนหรือเดินนาน […]


โรคกระดูกแบบอื่น

บรรเทาอาการปวดเข่า ด้วยเคล็ดลับดีๆ จากนักกายภาพบำบัด

อาการปวดเข่ามักไม่จำเป็นต้องผ่าตัด และอาการสามารถดีขึ้นได้ ด้วยการทำกิจกรรรมทางกาย หรือการออกกำลังกายที่เหมาะสม อย่างไรก็ดี การออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว อาจไม่ได้ทำให้หัวเข่าของคุณมีสุขภาพดีเสมอไป และนี่คือ วิธี บรรเทาอาการปวดเข่า ที่นักกายภาพบำบัดแนะนำว่าได้ผลจริง วิธี บรรเทาอาการปวดเข่า ฉบับนักกายภาพบำบัด 1. ห้ามพักผ่อนมากเกินไป คุณอาจรู้สึกว่าอาการปวดเข่าของคุณดีขึ้น เมื่อได้นอนพักผ่อน ไม่ต้องขยับร่างกายหรือทำกิจกรรมใดๆ เลย แต่ความจริงแล้ว การพักผ่อนมากเกินไป อาจทำให้กล้ามเนื้อของคุณอ่อนแอลงได้ เมื่อกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะทำให้มีแรงกดทับที่หัวเข่ามากขึ้น จนอาการปวดรุนแรงขึ้นได้ หากอยากบรรเทาอาการปวดเข่า แทนที่จะเอาแต่นอนพัก คุณควรออกกำลังกายในรูปแบบที่เหมาะสมเป็นประจำ หากไม่มั่นใจว่า การออกกำลังกายประเภทใดที่เหมาะสมสำหรับหัวเข่าของคุณ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด 2. เลือกออกกำลังกายให้เหมาะสม ตามที่กล่าวไว้ การออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับบรรเทาอาการปวดเข่า ได้แก่ การออกกำลังเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง การออกกำลังกายเพื่อสร้างความยืดหยุ่น การออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำ เช่น การเดิน การว่ายน้ำ ที่จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก ช่วยให้หัวเข่ายืดหยุ่นได้ดี สามารถเคลื่อนไหวได้นานขึ้น การออกกำลังกายเป็นประจำ นอกจากจะช่วยบรรเทาอาการปวดเข่าได้แล้ว ยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บ และอาการผิดปกติอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับหัวเข่า ขา และเท้า ได้อีกด้วย อย่างไรก็ดี หากคุณปวดเข่าควรงดออกกำลังกายด้วยการวิ่ง เพราะอาจทำให้เกิดแรงกดทับและแรงกระแทกที่หัวเข่ามากขึ้น 3. เลือกรองเท้าให้เหมาะสม รองเท้าที่ดี จะช่วยรองรับแรงกระแทก และป้องกันอาการบาดเจ็บระหว่างทำกิจกรรมต่างๆ ได้ โดยเฉพาะการเล่นกีฬา […]


โรคข้ออักเสบ

บรรเทาอาการปวดข้อ วิธีง่ายๆ ที่ทำได้ด้วยตัวเอง

อาการปวดข้อ เป็นอาการที่สร้างความลำบากในการเคลื่อนที่ให้กับผู้ที่เป็น ไม่ว่าจะเดิน จะลุกหรือนั่ง อาการปวดข้อก็คอยจะกำเริบขึ้นมาทุกครั้ง สำหรับบางคนที่มีอาการปวดหนักๆ อาจถึงขั้นที่ไม่สามารถขยับทำอะไรได้เลยทีเดียว ซึ่งเป็นปัญหาในการดำเนินชีวิต นอกจากการใช้ยาแก้ปวดแล้ว วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการ บรรเทาอาการปวดข้อ ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง มาฝากกันค่ะ บรรเทาอาการปวดข้อ ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง บรรเทาอาการปวดข้อ ด้วยการบำบัดด้วยการนวด เมื่อประมาณ 5,000 ปีที่แล้ว การนวดที่รู้จักกันว่าเป็นเพียงการสัมผัส ถูกมองว่าเป็นการรักษาอาการปวดข้อที่น่าอัศจรรย์ และเป็นวิธีการทางธรรมชาติเพื่อบรรเทาอาการอักเสบ และทำให้ผ่อนคลาย ชื่อเสียงและความแพร่หลายของการนวด ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป จนการนวดได้รับการอธิบายด้วยเหตุผลทางการแพทย์ในปัจจุบัน โดยนักวิจัยเผยว่า ประสิทธิภาพของการนวดในการบรรเทาอาการปวดข้อส่วนมาก เป็นผลมาจากกลไกของการจำกัดสารสื่อประสาทประเภทซับสแตนซ์พี (Substance P) ซึ่งเป็นตัวนำความรู้สึกเจ็บปวดไปสู่สมอง เมื่อไม่มีสารสื่อประสาทประเภทนี้ ร่างกายจะไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวด เรายังควรพิจารณาประโยชน์ของการนวด ที่ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นให้อารมณ์ดีขึ้น คุณไม่จำเป็นต้องออกจากบ้านเพื่อไปนวด แต่สามารถนวดเองที่บ้านได้ ด้วยมือหรืออุปกรณ์นวดที่ให้ความร้อน หรือมีการสั่น เพื่อนวดบรรเทาอาการปวดข้อต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง การบำบัดด้วยความร้อนและความเย็น การประคบร้อนสลับเย็นเป็นวิธีการง่าย ๆ ที่ช่วยลดอาการปวดข้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความร้อนทำให้เกิดการขยายตัวของสิ่งต่าง ๆ และเมื่อคุณประคบด้วยความร้อน จะทำให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้การไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น และสารอาหารต่าง ๆ […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles bursitis)

เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles bursitis) เป็นการอักเสบที่มีอาการปวดและบวม ที่ถุงน้ำช่วยลดการเสียดสีของเอ็นร้อยหวาย (Achilles bursa) คำจำกัดความ เอ็นร้อยหวายอักเสบคืออะไร เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles bursitis) เป็นการอักเสบที่มีอาการปวดและบวมที่ถุงน้ำช่วยลดการเสียดสีของเอ็นร้อยหวาย (Achilles bursa) ถุงน้ำนี้อยู่ระหว่างผิวหนังและเอ็นร้อยหวายที่ติดกับกระดูกส้นเท้า เป็นถุงของเหลวขนาดเล็กที่อยู่โดยรอบข้อต่อ ในบริเวณที่มีแรงเสียดทานมาก โดยทั่วไปอยู่ระหว่างกล้ามเนื้อ เอ็น หรือส่วนที่โผล่ออกมาของกระดูก ถุงน้ำลดการเสียดสีจะอยู่ระหว่างเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ หรือกระดูกที่รองรับแรงเสียดทานจากการเคลื่อนไหว ถุงน้ำเป็นเสมือนหมอนรองที่อ่อนนุ่มและราบเรียบ สำหรับให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านได้อย่างไร้ความเจ็บปวด และทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่น และช่วยการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็น พบได้บ่อยเพียงใด เอ็นร้อยหวายอักเสบเป็นอาการปวดเท้าที่พบได้ทั่วไปในนักกีฬา โดยเฉพาะนักวิ่ง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของเอ็นร้อยหวายอักเสบ อาการเอ็นร้อยหวายอักเสบมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับสาเหตุว่าเกิดจากการบาดเจ็บ โรคประจำตัว หรือการติดเชื้อ จากการใช้งานหนักและการบาดเจ็บ อาการปวดมักเป็นอาการปวดตื้อต่อเนื่อง หรือปวดแสบปวดร้อนที่ส้นเท้าด้านหลัง ที่มีอาการรุนแรงขึ้นได้จากการสัมผัส การกดทับ อย่างเช่นการสวมใส่รองเท้าที่คับแน่น หรือการเคลื่อนไหวของข้อต่อ มักมีอาการบวมที่สังเกตได้บริเวณโดยรอบส้นเท้าด้านหลัง ในกรณีอื่นที่ถุงน้ำอยู่ลึกลงไปภายใต้ผิวหนัง เช่น บริเวณสะโพกหรือไหล่ อาการบวมอาจมองไม่เห็น การเคลื่อนไหวของข้อเท้าและเท้าจะไม่สะดวกโดยเฉพาะในตอนเช้า และหลังจากกิจกรรมใดๆ ที่ต้องใช้เท้า ถ้าเป็นอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบแบบติดเชื้อ จะมีอาการทั้งหมดเหล่านี้ ร่วมกับการมีไข้สูง 38 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า และมีอาการหนาวสั่นแบบมีไข้ นอกจากนี้ผิวหนังโดยรอบข้อต่อที่มีอาการจะมีสีแดง และสัมผัสแล้วจะอุ่นเป็นอย่างมาก อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม