ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

ร่างกายของคนเราโดยเฉพาะกล้ามเนื้อและข้อต่อถือเป็นเรื่องที่ควรต้องได้รับการใส่ใจ เพราะมันสามารถสึกกร่อนไปตามอายุที่เพิ่มขึ้นได้ จึงทำให้เกิดอาการปวดข้อ ปวดหลัง การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและกระดูกอื่น ๆ ซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและการใช้ชีวิตประจำวัน ทาง Hello คุณหมอเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องเหล่านี้ จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก เอาไว้ให้ทุกคนได้ศึกษาข้อมูล

เรื่องเด่นประจำหมวด

ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

วัณโรคกระดูก โรคที่พบบ่อยในคนไทย วิธีป้องกันทำได้อย่างไร

วัณโรคกระดูก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนไทย สามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้ โดยเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายจะซึมผ่านกระแสเลือด ลุกลามไปยังอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงกระดูก แต่วัณโรคกระดูกก็ยังสามารถป้องกันและรักษาได้ จึงควรพบแพทย์ให้เร็ว เมื่อรู้สึกว่าร่างกายกำลังผิดปกติ [embed-health-tool-bmr] สาเหตุของ วัณโรคกระดูก วัณโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis เชื้อนี้ทนอยู่ในอากาศและสิ่งแวดล้อมได้นาน สามารถติดต่อได้ง่ายไปยังบุคคลอื่น ด้วยการสูดเอาละอองเสมหะของผู้ป่วยวัณโรคที่ไอ จาม หรือหายใจรด เข้าไปในร่างกาย ติดต่อได้จากการรับประทานอาหารที่มีภาชนะใส่อาหารปนเปื้อนเชื้อวัณโรค  เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายทางปอด จะทำให้ปอดเกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งเชื้อจะซึมผ่านกระแสเลือดแล้วเข้าทำลายอวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง สมอง ไต และกระดูก  อันตรายจากวัณโรคกระดูก วัณโรคกระดูกทำให้กระดูกเกิดการเปลี่ยนแปลง พบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น  กระดูกยุบตัว  หลังโก่งงอ  มีหนองหรือเศษกระดูก  หมอนรองกระดูกเคลื่อน  และเมื่อเข้าสู่ไขสันหลังจะเกิดการกดทับประสาทที่ไขสันหลังทำให้เป็นอัมพาตที่ขาได้ อาการของวัณโรคกระดูก  ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตนเองกำลังเป็นวัณโรคกระดูก เพราะอาการเบื้องต้นจะเป็นอาการปวดหลัง จนกระทั่งร่างกายเริ่มปวดมากจึงมาพบแพทย์ สำหรับสัญญาณเตือน วัณโรคกระดูก ที่ควรระวัง มีดังนี้ มีอาการปวดเมื่อยตามตัวช่วง 1-2 สัปดาห์แรก  อาการปวดจะไม่หาย และมีอาการหนักมากขึ้นเมื่อผ่านไป 1 เดือน มีไข้ต่ำ ๆ ช่วงเย็น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หากมีการกดทับระบบประสาทจะส่งผลอื่น ๆ […]

สำรวจ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

โรคกระดูกแบบอื่น

แคลเซียมในเลือดสูง (Hypercalcemia)

แคลเซียมในเลือดสูง หมายถึงภาวะที่มีความเข้มข้นของแคลเซียมในเลือดมากเกินไป จนทำให้เกิดความผิดปกติต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย คำจำกัดความแคลเซียมในเลือดสูง คืออะไร ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง (Hypercalcemia) หมายถึงภาวะที่มีความเข้มข้นของแคลเซียมในเลือดมากเกินไป จนทำให้เกิดความผิดปกติต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น กระดูกเปราะบาง เป็นนิ่ว หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ และในกรณีรุนแรงอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้อีกด้วย ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานเกิน (overactive parathyroid gland) การใช้ยาบางชนิด การรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแคลเซียมหรือวิตามินดีมากเกินไป หรือแม้กระทั่งโรคมะเร็ง แคลเซียมในเลือดสูง พบบ่อยแค่ไหน ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงนั้นอาจพบได้บ่อยในกลุ่มผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน และผู้สูงอายุ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับคนในช่วงวัยอื่น ๆ ได้เช่นกัน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ อาการอาการของแคลเซียมในเลือดสูง สัญญาณและอาการของภาวะแคลเซียมในเลือดสูงนั้นอาจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละคน บางคนอาจจะไม่มีอาการ หรือมีอาการในระดับเบา แต่บางคนก็อาจจะมีอาการที่รุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน อาการของ ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง อาจแบ่งออกได้ตามอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ ดังต่อไปนี้ ไต หากภายในเลือดมีปริมาณของแคลเซียมมากเกินไป ก็จะทำให้ไตต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อกรองแคลเซียมส่วนเกินออก และอาจทำให้รู้สึกกระหายน้ำมากขึ้น และปัสสาวะบ่อยขึ้น กระดูกและฟัน แคลเซียมที่มากเกินไปอาจจะไปดึงดูดเอาแคลเซียมที่มีอยู่ในกระดูกและฟันออกมาได้ ทำให้กระดูกและฟันอ่อนแอ เปราะ และแตกง่าย ระบบย่อยอาหาร ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง อาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และท้องผูกได้ สมอง ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง ทำให้เกิดอาการสับสน […]


โรคข้ออักเสบ

ผักไนท์เฉด ส่งผลต่อโรคข้ออักเสบ และทำให้อาการอักเสบกำเริบจริงหรือไม่

ผักและผลไม้ตระกูลไนท์เฉด เป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีประโยชน์ต่อร่างกายในหลาย ๆ ด้าน แต่ผักไนท์เฉดมักจะมีโซลานีน (Solanine) ซึ่งมีความเชื่อว่าสารนี้มีส่วนช่วยทำให้เกิดการอาการปวด และทำให้อาการอักเสบรุนแรงขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากคุณผู้อ่านกันว่า ผักไนท์เฉด ส่งผลต่อโรคข้ออักเสบ ได้จริงหรือไม่ ทำความรู้จักกับ กลุ่มผักไนท์เฉด ผักไนท์เฉด (Nightshade vegetables) เป็นส่วนหนึ่งของพืชในตระกูลมะเขือ (Solanaceae) ซึ่งพืชบางชนิดในตระกูลนี้เป็นพืชที่มีพิษ ผักไนท์เฉดมีสารประกอบอัลคาลอยด์ที่เรียกว่า โซลานีน ซึ่งเป็นพิษที่มีความเข้มข้นสูง นั้นมีหลากหลายชนิด เช่น มันฝรั่ง มะเขือเทศ มะเขือ ประโยชน์ของผักไนท์เฉด ผักไนท์เฉดบางชนิดถือเป็นผักที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เพราะอุดมไปด้วยวิตามิน โปรตีน และไฟเบอร์ การรับประทานผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมีส่วนช่วยทำให้อาการของโรคเรื้อรังนั้นดีขึ้นได้ ซึ่งผักไนท์เฉดหลายชนิดมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีต่อร่างกาย ดังนี้ มะเขือม่วง มะเขือม่วงเป็นแหล่งของไฟเบอร์ โพแทสเซียมและวิตามินบี 1 วิตามินบี 6 และวิตามินเคที่ดี มะเขือเทศ มะเขือเทศเป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุชั้นเยี่ยม รวมถึงไบโอติน โพแทสเซียม ธาตุเหล็กและสังกะสี นอกจากนี้ยังมี ไลโคปีน (Lycopene) ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีกับอาการอักเสบอีกด้วย มันฝรั่ง มันฝรั่งอุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามินซีและวิตามินบี 6 ผักไนท์เฉด ส่งผลต่อโรคข้ออักเสบ ได้อย่างไร ผักไนท์เฉดมีสารประกอบอัลคอลอยด์ที่เรียกว่า โซลานีน ซึ่งเป็นสารพิษที่พบได้ในพืช หลาย ๆ […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

เอ็นหัวไหล่ฉีกขาด (Rotator Cuff Tear)

หากคุณลองสังเกตตนเองแล้วพบว่า ขณะเคลื่อนไหวมีอาการเจ็บปวดตามข้อต่อหัวไหล่ หรือแขน และไม่สามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดังเดิมเหมือนแต่ละวันที่ผ่านมา ก็สามารถเป็นไปได้ว่าสัญญาณแรกเริ่มของอาการ เอ็นหัวไหล่ฉีกขาด หรือ เส้นเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด (Rotator Cuff Tear) และอาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย รวมถึงเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ คำจำกัดความเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด (Rotator Cuff Tear) คืออะไร เอ็นหัวไหล่ฉีกขาด หรือ เส้นเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด (Rotator Cuff Tear) คือ ปัญหาเกี่ยวกับการฉีกขาดกลุ่มของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นที่อยู่บริเวณล้อมรอบข้อหัวไหล่ของคุณ มากไปกว่านั้น การบาดเจ็บจากเอ็นหัวไหล่ฉีกขาดนี้หากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานาน อาจทำให้การใช้งานด้านการเคลื่อนไหวของแขน เช่น การยกแขนเหนือศีรษะ การยกย้ายสิ่งของ การใช้แรงของแขน เป็นต้น มีประสิทธิภาพที่ถดถอยลง พร้อมทั้งยังเป็นการสะสมอาการปวดเมื่อยมากขึ้น จนนำไปสู่อาการเจ็บรุนแรงยังบริเวณหัวไหล่ และแขนได้ เอ็นหัวไหล่ฉีกขาด สามารถพบบ่อยได้เพียงใด ภาวะเอ็นหัวไหล่ฉีกขาดอาจพบบ่อยได้กับผู้ที่ชื่นชอบเล่นกีฬาที่มีการใช้แรงเหวี่ยง แรงบิดของแขน หรือหัวไหล่อย่างมาก เช่น เบสบอล เทนนิส เป็นต้น รวมไปถึงผู้ที่ประกอบอาชีพที่มีการยกแขนขึ้นเหนือศีรษะตลอดเวลา เช่น ช่างทาสี ช่างทำความสะอาดหน้าต่าง และผู้ที่มักต้องใช้แรงแขนในการยกของหนักตลอดเวลาซ้ำไปซ้ำมาเป็นประจำทุกวัน อาการอาการของ เอ็นหัวไหล่ฉีกขาด ผู้ป่วยบางคนนั้น อาจไม่ได้รับสัญญาณเตือนของอาการ เส้นเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด เสมอไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้วหากเกิดอาการ ดังต่อนี้ไปนี้ […]


โรคกระดูกแบบอื่น

ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (Spina Bifida)

ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (Spina Bifida) เกิดจากความผิดปกติของกระดูกสันหลังและไขสันหลัง เป็นความผิดปกติประเภทหนึ่งของท่อประสาท ที่เป็นโครงสร้างตัวอ่อนเกิดขึ้นระหว่างการจัดตัวของกระดูกสันหลังและไขสันหลังตั้งแต่อยู่ในครรภ์ (ท่อประสาทไม่ปิด) โดยปกติท่อประสาทจะเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์และจะปิดมันลงในวันที่ 28 หลังการตั้งครรภ์ คำจำกัดความความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (Spina Bifida) คืออะไร ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (Spina Bifida) เกิดจากความผิดปกติของกระดูกสันหลังและไขสันหลัง เป็นความผิดปกติประเภทหนึ่งของท่อประสาท ที่เป็นโครงสร้างตัวอ่อนเกิดขึ้นระหว่างการจัดตัวของกระดูกสันหลังและไขสันหลังตั้งแต่อยู่ในครรภ์ (ท่อประสาทไม่ปิด) โดยปกติท่อประสาทจะเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์และจะปิดมันลงในวันที่ 28 หลังการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ความผิดปกติเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ป่วยมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง ชัก และมีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้หรือกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น พบได้บ่อยเพียงใด ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลังเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารกผิวขาว นอกจากนี้เพศหญิงที่เป็นโรคเบาหวานหรือโรคอ้วน มีโอกาสเสี่ยงที่ทารกจะเกิดความบกพร่องที่กระดูกไขสันหลัง อาการ อาการความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง สัญญาณและอาการความบกพร่องของกระดูกไขสันหลังแตกต่างกันออกไปตามประเภทและความรุนแรงของแต่ละบุคคล โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ สไปนา ไบฟิดาชนิดมองไม่เห็นภายนอก (Spina Bifida Occulta : SBO) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดแต่มีความรุนแรงน้อยสุด ไขสันและเส้นประสาทไม่มีช่องเปิด แต่อาจจะมีช่องโหว่ขนาดเล็กในกระดูกสันหลัง ซึ่งความบกพร่องชนิดนี้นั้นจะไม่สร้างความเสียหายใด ๆ ให้กับร่างกาย ไม่ก่อให้เกิดความพิการ สไปนา ไบฟิดาชนิดเมนนิ้งโกซีล (Meningocele) เป็นชนิดหายากที่เกิดขึ้นเมื่อถุงน้ำไขสันหลัง (แต่ถุงน้ำนี้ไม่มีส่วนประกอบของไขสันหลัง เป็นถุงน้ำนอกร่างกาย) ดันผ่านช่องเปิดที่ด้านหลังของทารก ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ สไปนา ไบฟิดาชนิดไมอีโลเมนนิ้งโกซีล (Myelomeningocele) […]


กระดูกร้าว กระดูกหัก

นิ้วซ้น อาการ สาเหตุ วิธีรักษา และการป้องกัน

นิ้วซ้น (Finger Dislocation) เป็นอาการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย เกิดจากกระดูกนิ้วเคลื่อนที่จากตำแหน่งปกติ สามารถเกิดได้กับข้อนิ้วข้อ แต่ที่พบบ่อย ได้แก่ อาการซ้นที่นิ้วก้อยและนิ้วกลาง [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ นิ้วซ้น คืออะไร นิ้วซ้น (Finger Dislocation) เป็นอาการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย เกิดจากกระดูกนิ้วเคลื่อนที่หรือหลุดออกจากตำแหน่งปกติ โดยอาการนิ้วซ้นอาจเกิดขึ้นกับข้อต่อของนิ้วใดก็ได้ แต่มักพบบ่อยที่นิ้วก้อยและนิ้วกลาง พบได้บ่อยเพียงใด อาการนิ้วซ้นเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่อาจพบบ่อยในผู้ที่เล่นกีฬา เช่น บาสเกตบอล วอลเลย์บอล หรือทำกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการใช้นิ้วมือ อาการ อาการของนิ้วซ้น ผู้ที่มีอาการนิ้วซ้น นิ้วจะมีลักษณะคดงอ บวม เจ็บปวดมาก และอาจมีอาการดังต่อไปนี้ด้วย อาการชา หรือรู้สึกเสียวซ่า นิ้วที่ซ้นมีสีซีด บาดเจ็บ ข้อต่อนิ้วมีลักษณะคด หรือผิดรูป มีอาการบวมช้ำบริเวณข้อต่อ ขยับนิ้วไม่ได้ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากมีสัญญาณของอาการนิ้วซ้น ควรรีบไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด เพราะหากเข้ารับการรักษาช้า อาจส่งผลให้ต้องรักษานานขึ้นหรือรักษายากขึ้น และอาจทำให้อาการหายช้า หรือทำให้นิ้วผิดปกติถาวรได้ สาเหตุ สาเหตุของนิ้วซ้น นิ้วซ้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อย อาจมีดังต่อไปนี้ อุบัติเหตุระหว่างเล่นกีฬา เช่น บาสเก็ตบอล เบสบอล วอลเลย์บอล ซึ่งลูกบอลอาจกระแทกปลายนิ้วที่ยื่นออกมา จนทำให้นิ้วซ้นได้ การหกล้ม การวินิจฉัยและการรักษา ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยนิ้วซ้น ในเบื้องต้นคุณหมอจะซักประวัติและดูอาการของผู้ป่วย และอาจเอกซเรย์ (X-ray) นิ้วที่มีอาการ เพื่อดูความผิดปกติของกระดูก การรักษานิ้วซ้น หากผู้ป่วยมีอาการนิ้วซ้น ควรรีบเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาจากคุณหมอทันที เพราะหากปล่อยไว้นานอาจทำให้กระดูกข้อนิ้วยิ่งเคลื่อนที่และรักษายากกว่าเดิม […]


โรคข้ออักเสบ

พาราฟิน แว็กซ์ สามารถช่วยบรรเทาอาการ โรคข้ออักเสบ ได้จริงหรือ

สาเหตุที่ทำให้คุณเริ่มมีอาการปวดเมื่อย หรือเจ็บปวดบริเวณข้อต่อ จนอาจลุกลามเข้าสู่ โรคข้ออักเสบ นั้น อาจมาจากสภาวะของปัญหาสุขภาพแทรกซ้อนต่าง ๆ หรือรวมไปถึงพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวันที่คุณพึงปฏิบัติอย่างเป็นประจำร่วม ดังนั้นการบำบัดด้วย พาราฟิน แว็กซ์ ที่บทความของ Hello คุณหมอ นำมาฝากทุกคนวันนี้ อาจเป็นอีกหนึ่งทางออกที่ดีในการรักษา และบรรเทาอาการข้ออักเสบให้ดีขึ้นก็เป็นได้ พาราฟิน แว็กซ์ คืออะไร พาราฟิน แว็กซ์ (Paraffin Wax) คือ ขี้ผึ้งสีขาวที่ทำมาจากไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวอยู่ในเครื่องละลายเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันถูกนิยมนำมาใช้ให้คุณเห็นกันอย่างมากมายในร้านเสริมความงาม ร้านทำเล็บ ร้านสปามือและเท้า เนื่องจากพาราฟิน แว็กซ์ สามารถช่วยขจัดเซลล์ผิวเก่า กักเก็บความชุ่มชื่นให้แก่ผิวหนังของเราได้ อีกทั้งยังถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์เพื่อรักษา หรือบรรเทาอาการปวดบริเวณข้อต่อโดยเฉพาะกับข้อมือ ข้อเท้า และกล้ามเนื้อบางส่วนของคุณได้อีกด้วย ทำไม พาราฟิน แว็กซ์ ถึงรักษาอาการปวดของข้อต่อได้ สาเหตุที่ทำให้คุณมีอาการปวดตามข้อต่อต่าง ๆ อาจมาจากการใช้แรงส่วนนั้นที่หนักเกินไป จนทำให้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของคุณเกิดรู้สึกเจ็บปวดขึ้น เช่น การยกของหนัก การออกกำลังกายโดยไม่มีการวอร์ม เป็นต้น ซึ่งในการใช้พาราฟิน แว็กซ์ เป็นวิธีในการรักษานี้ ความร้อนจากเครื่องทำละลายและขี้ผึ้งที่สามารถกักเก็บความร้อนได้ดี อาจมีส่วนช่วยเข้าไปเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ลดอาการยึดตึงของข้อต่อภายใน รวมไปถึงลดอาการกระตุก และการอักเสบของกล้ามเนื้อได้ สำหรับในกรณีที่คุณมีอาการบาดเจ็บเรื้อรัง จนมีผลต่อการเคลื่อนไหว หรือทำกิจกรรมต่าง […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

ออกกำลังกายหนักจน กล้ามเนื้อแฮมสตริงอักเสบ สามารถรักษาได้อย่างไร

กล้ามเนื้อแฮมสตริงอักเสบ เป็นหนึ่งในอาการบาดเจ็บที่ผู้รักการออกกำลังกายหลาย ๆ  คนอาจต้องเคยประสบพบเจออย่างแน่นอน โดยเฉพาะกับผู้ที่รีบเร่งสร้างกล้ามเนื้อส่วนล่างจนไม่ทันระมัดระวัง วันนี้ Hello คุณหมอจึงขอนำวิธีการดูแล และการสังเกตตนเองเบื้องต้นของ อาการกล้ามเนื้อแฮมสตริงอักเสบ มาฝากทุกคนให้ได้สังเกตอาการหลังออกกำลังกายกัน [embed-health-tool-bmr] กล้ามเนื้อแฮมสตริง คืออวัยวะส่วนใด กล้ามเนื้อแฮมสตริง (Hamstring Muscles) คือ กลุ่มกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นที่อยู่บริเวณด้านหลังของขาส่วนบน อีกทั้งยังรวมถึงเอ็นรอยหวายที่เป็นเส้นเอ็นที่ใหญ่ที่สุดในการเชื่อมต่อกล้ามเนื้อ ข้อเข่า ลงไปยังถึงข้อเท้า เพื่อช่วยในเรื่องของการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ให้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น การเดิน การวิ่ง กระโดด เป็นต้น หากคุณมีการฝืนการใช้กล้ามเนื้อส่วนนี้ในการทำกิจกรรมข้างต้นมากจนเกินไป ก็อาจก่อให้เกิดอาการอักเสบ หรืออาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อแฮมสตริงขึ้นมาได้โดยทันที และอาจส่งผลให้สุขภาพของคุณนั้นแย่ลงกว่าเดิมจนสูญเสียการเคลื่อนไหวไปได้ชั่วขณะ อาการเบื้องต้นเมื่อ กล้ามเนื้อแฮมสตริงอักเสบ ส่วนใหญ่อาการ กล้ามเนื้อแฮมสตริงอักเสบ และเอ็นร้อยหวายฉีกขาด อาจสามารถก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดได้อย่างกะทันหันขณะคุณกำลังทำกิจกรรมนั้น ๆ โดยส่วนใหญ่มักมีอาการแรกเริ่ม ดังต่อไปนี้ อาการบาดเจ็บรุนแรงที่อาจทำให้คุณรู้สึกได้ว่าเส้นเอ็นบริเวณขาหลังมีการฉีกขาด ปวดต้นขาด้านหลังเมื่อมีการงอขา ต้นขาบริเวณกล้ามเนื้อแฮมสตริงมีอาการบวม รอยฟกช้ำ กล้ามเนื้อต้นขารู้สึกอ่อนแรง อาการข้างต้นเป็นเพียงอาการแรกเริ่ม หรืออาการสังเกตได้ง่ายเท่านั้น หากคุณมีอาการอื่นแทรกซ้อนใด ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมา โปรดเข้าขอรับการตรวจอย่างละเอียดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมในทันที วิธีดูแลตนเองหาก อาการกล้ามเนื้อแฮมสตริงอักเสบ เกิดขึ้น ในกรณีที่คุณเกิดอาการเจ็บปวดขึ้นบริเวณเอ็นร้อยหวาย และกล้ามเนื้อด้านหลังขาเล็กน้อย อาการเหล่านี้อาจหายไปได้เองตามระยะเวลา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณควรจะปล่อยให้อาการบาดเจ็บยังอยู่เช่นนั้น คุณควรมีการบรรเทาอาการเบื้องต้นเพื่อรีบคลายเส้นที่ยึดตึงร่วม ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ […]


โรคข้ออักเสบ

ข้ออักเสบจากการติดเชื้อ (Septic Arthritis)

ข้ออักเสบจากการติดเชื้อ  (Septic Arthritis)  คือการติดเชื้อในข้อต่อ เกิดขึ้นเมื่อเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสแพร่กระจายผ่านกระแสเลือดไปยังบริเวณข้อต่อหรือของเหลวรอบ ๆ ข้อต่อ ที่เรียกว่า น้ำไขข้อ การติดเชื้อมักเริ่มต้นที่บริเวณส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย และแพร่กระจายผ่านทางเลือดไปยังเนื้อเยื่อข้อต่อ คำจำกัดความข้ออักเสบจากการติดเชื้อ  (Septic Arthritis) คืออะไร ข้ออักเสบจากการติดเชื้อ  (Septic Arthritis)  คือการติดเชื้อในข้อต่อ เกิดขึ้นเมื่อเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสแพร่กระจายผ่านกระแสเลือดไปยังบริเวณข้อต่อหรือของเหลวรอบๆ ข้อต่อ ที่เรียกว่า น้ำไขข้อ การติดเชื้อมักเริ่มต้นที่บริเวณส่วนอื่น ๆของร่างกาย และแพร่กระจายผ่านทางเลือดไปยังเนื้อเยื่อข้อต่อ อย่างไรก็ตามข้ออักเสบจากการติดเชื้อ  อาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อต่อทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ข้อต่อโดยตรง ส่งผลให้ผู้ป่วย มีอาการปวดบวมบริเวณข้อต่อ มีไข้ รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า พบได้บ่อยเพียงใด โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อพบได้บ่อยในผู้สูงอายุและเด็กทารก อาการของข้ออักเสบจากการติดเชื้อ อาการของโรคข้ออักเสบติดเชื้อ อาการของโรคข้ออักเสบติดเชื้อ อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอายุและยาที่รับประทาน โดยมีลักษณะอาการ ดังต่อไปนี้ มีอาการปวดอย่างรุนแรงเมื่อเริ่มเคลื่อนไหว อาการบวมของข้อต่อ ไข้ หนาวสั่น เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ความอยากอาหารลดลง หัวใจเต้นเร็ว รู้สึกหงุดหงิด ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของข้ออักเสบติดเชื้อ โรคข้ออักเสบติดเชื้อส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัส (Staphylococcus) สเตรปโตค็อคคัส (Streptococcus)  โดยแพร่กระจายผ่านกระแสเลือดจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย นอกจากนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจากขั้นตอนการผ่าตัดหัวเข่า  รวมถึงเชื้อแบคทีเรียกอื่น ๆ ที่ก็ให้เกิดโรคดังกล่าวนี้ เช่น ไวรัสตับอักเสบเอ […]


โรคข้ออักเสบ

ท่าบริหารนิ้วมือ 7 ท่าง่าย ๆ ช่วยบรรเทาปวด แถมมือและนิ้วยังแข็งแรงขึ้นด้วย

การใช้ชีวิตของคนในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานที่ต้องเคาะแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์แทบจะทั้งวัน รวมถึงการจิ้มจอโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ตกันอย่างไม่หยุดหย่อน ส่งผลให้นิ้วมือของเราทำงานหนักแทบจะไม่ได้พักกันเลย และเมื่อเป็นแบบนี้บ่อย ๆ เข้า ก็ย่อมทำให้หลายคนเกิดปัญหาปวดเมื่อยนิ้วมือ นิ้วล็อค ขยับข้อมือไม่ค่อยจะได้ ซึ่งหากปล่อยไว้นาน ๆ ก็อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และทำให้เกิดปัญหาปวดนิ้ว ปวดมือเรื้อรังได้ วันนี้ Hello คุณหมอ เลยมี 7 ท่าบริหารนิ้วมือ ง่าย ๆ มาฝากทุกคน รับรองว่าทำแล้ว อาการปวดจะทุเลา แถมยังช่วยให้บริเวณฝ่ามือ ข้อมือ และนิ้วมือของคุณแข็งแรงขึ้นด้วย 7 ท่าบริหารนิ้วมือ ง่าย ๆ ก่อนจะไปเริ่มทำท่าบริหารนิ้วมือ หากคุณรู้สึกปวดนิ้วมาก หรือขยับนิ้วไม่ไหว ลองวอร์มอัพนิ้วด้วยการแช่มือและนิ้วในน้ำอุ่น หรือประคบด้วยแผ่นความร้อน หรือผ้าชุบน้ำอุ่น อย่างน้อย 5-10 นาทีก่อนออกกำลังกาย วิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถขยับนิ้วมือได้ดีขึ้น 1. ท่ายืดกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ (กล้ามเนื้อในการขยับนิ้ว) วิธีทำ แบมือ กางนิ้ว วางมือแนบบนพื้นราบ เช่น บนโต๊ะ ใช้นิ้วมืออีกข้างดึงนิ้วแต่ละนิ้วขึ้นช้า ๆ ให้ได้สูงที่สุด โดยที่ไม่รู้สึกตึงหรือเจ็บ และนิ้วอื่นยังติดอยู่กับพื้น ค้างไว้ 2-3 วินาที แล้วค่อย […]


โรคกระดูกแบบอื่น

กระดูกสันหลังคด (Scoliosis)

โรค กระดูกสันหลังคด (Scoliosis) คือ ภาวะที่กระดูกสันหลังโค้งผิดปกติ ทำให้กระดูกสันหลังมีลักษณะโค้งคลายตัว C หรือ S พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กอายุ 10-15 ปี คำจำกัดความกระดูกสันหลังคด คืออะไร กระดูกสันหลังคด (Scoliosis) หมายถึง ภาวะที่กระดูกสันหลังโค้งผิดปกติ โดยปกติแล้ว กระดูกสันหลังของเราจะวางตัวในแนวตรงแบบเอียงเล็กน้อย แต่คนที่เป็นโรคกระดูกสันหลังคดจะมีแนวกระดูกสันหลังที่โค้งงอมากผิดปกติ ทำให้กระดูกสันหลังมีลักษณะเป็นรูปร่างโค้งคล้ายตัว C หรือ S อาการคดโค้งผิดปกตินี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับแนวกระดูกสันหลังทุกส่วน แต่ส่วนใหญ่มักปรากฏบริเวณกระดูกสันหลังส่วนบนและกระดูกสันหลังส่วนล่าง หรือบริเวณเอว ส่วนใหญ่แล้ว โรคกระดูกสันหลังคดนี้มักสังเกตเห็นได้ยาก แต่ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการตัวเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ความสูงของไหล่ไม่เท่ากัน หรือสะโพกสองข้างสูงไม่เท่ากัน โรคกระดูกสันหลังคดนี้สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด เช่น โรคกระดูกสันหลังคดแต่กำเนิด (Congenital scoliosis) โรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยรุ่น (Adolescent idiopathic scoliosis หรือ AIS) โรคกระดูกสันหลังคดจากความเสื่อม (Degenerative Lumbar Scoliosis) โรคกระดูกสันหลังคดจากโรคประสาทกล้ามเนื้อ (Neuromuscular scoliosis) กระดูกสันหลังคด พบได้บ่อยแค่ไหน กระดูกสันหลังคด เป็นโรคที่พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่พบบ่อยในเด็กวัย 10-15 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ร่างกายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และมักเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โปรดปรึกษาแพทย์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของโรคกระดูกสันหลังคด อาการทั่วไปของโรคกระดูกสันหลังคด ได้แก่ ศีรษะเอียง โดยเอนไปข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้าง ไหล่ไม่เท่ากัน […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม