ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

ร่างกายของคนเราโดยเฉพาะกล้ามเนื้อและข้อต่อถือเป็นเรื่องที่ควรต้องได้รับการใส่ใจ เพราะมันสามารถสึกกร่อนไปตามอายุที่เพิ่มขึ้นได้ จึงทำให้เกิดอาการปวดข้อ ปวดหลัง การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและกระดูกอื่น ๆ ซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและการใช้ชีวิตประจำวัน ทาง Hello คุณหมอเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องเหล่านี้ จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก เอาไว้ให้ทุกคนได้ศึกษาข้อมูล

เรื่องเด่นประจำหมวด

ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

วัณโรคกระดูก โรคที่พบบ่อยในคนไทย วิธีป้องกันทำได้อย่างไร

วัณโรคกระดูก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนไทย สามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้ โดยเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายจะซึมผ่านกระแสเลือด ลุกลามไปยังอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงกระดูก แต่วัณโรคกระดูกก็ยังสามารถป้องกันและรักษาได้ จึงควรพบแพทย์ให้เร็ว เมื่อรู้สึกว่าร่างกายกำลังผิดปกติ [embed-health-tool-bmr] สาเหตุของ วัณโรคกระดูก วัณโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis เชื้อนี้ทนอยู่ในอากาศและสิ่งแวดล้อมได้นาน สามารถติดต่อได้ง่ายไปยังบุคคลอื่น ด้วยการสูดเอาละอองเสมหะของผู้ป่วยวัณโรคที่ไอ จาม หรือหายใจรด เข้าไปในร่างกาย ติดต่อได้จากการรับประทานอาหารที่มีภาชนะใส่อาหารปนเปื้อนเชื้อวัณโรค  เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายทางปอด จะทำให้ปอดเกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งเชื้อจะซึมผ่านกระแสเลือดแล้วเข้าทำลายอวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง สมอง ไต และกระดูก  อันตรายจากวัณโรคกระดูก วัณโรคกระดูกทำให้กระดูกเกิดการเปลี่ยนแปลง พบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น  กระดูกยุบตัว  หลังโก่งงอ  มีหนองหรือเศษกระดูก  หมอนรองกระดูกเคลื่อน  และเมื่อเข้าสู่ไขสันหลังจะเกิดการกดทับประสาทที่ไขสันหลังทำให้เป็นอัมพาตที่ขาได้ อาการของวัณโรคกระดูก  ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตนเองกำลังเป็นวัณโรคกระดูก เพราะอาการเบื้องต้นจะเป็นอาการปวดหลัง จนกระทั่งร่างกายเริ่มปวดมากจึงมาพบแพทย์ สำหรับสัญญาณเตือน วัณโรคกระดูก ที่ควรระวัง มีดังนี้ มีอาการปวดเมื่อยตามตัวช่วง 1-2 สัปดาห์แรก  อาการปวดจะไม่หาย และมีอาการหนักมากขึ้นเมื่อผ่านไป 1 เดือน มีไข้ต่ำ ๆ ช่วงเย็น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หากมีการกดทับระบบประสาทจะส่งผลอื่น ๆ […]

หมวดหมู่ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก เพิ่มเติม

สำรวจ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

โรคกระดูกแบบอื่น

กระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ (Impingement Syndrome)

กระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่  (Impingement Syndrome)  เกิดจากเส้นเอ็นเบอร์ซา (Bursa) เกิดการเสียดสีทับกันกับกระดูกหัวไหล่ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดไหล่ โดยส่วนใหญ่พบในผู้ที่ใช้งานหัวไหล่ซ้ำ ๆ เช่น การวาดภาพ กีฬายกน้ำหนัก กีฬาว่ายน้ำ กีฬาเทนนิส คำจำกัดความกระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ (Impingement Syndrome) คืออะไร กระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่  (Impingement Syndrome)  เกิดจากเส้นเอ็นเบอร์ซา (Bursa) เกิดการเสียดสีทับกันกับกระดูกหัวไหล่ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดไหล่ โดยส่วนใหญ่พบในผู้ที่ใช้งานหัวไหล่ซ้ำ ๆ เช่น การวาดภาพ กีฬายกน้ำหนัก กีฬาว่ายน้ำ กีฬาเทนนิส อย่างไรก็ตาม อาการกระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ มักส่งผลกระทบต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หากปล่อยไว้ระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจทำให้เกิดการอักเสบและฉีกขาดได้ พบได้บ่อยเพียงใด กระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ พบได้บ่อยในนักกีฬา โดยเฉพาะนักกีฬาว่ายน้ำ และนักกีฬาประเภทอื่น ๆ เช่น นักกีฬาเบสบอลหรือซอฟท์บอล อาการอาการของกระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ อาการหลักของกระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ คืออาการปวดไหล่อย่างกะทันหันเมื่อคุณยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ ได้แก่ รู้สึกปวดแขนตลอด (อาการปวดไม่รุนแรงแต่รู้สึกปวดตลอด)  มีอาการปวดบริเวณช่วงด้านหน้าไหล่และด้านข้างของแขน  รู้สึกปวดบริเวณไหล่รุนแรงในเวลากลางคืน  แขนและไหล่มีอาการอ่อนแรง ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของกระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ สาเหตุของอาการปวดไหล่เกิดจากเอ็นข้อไหล่เกิดการชนกันกับกระดูกบนของข้อไหล่ เมื่อปล่อยไว้ระยะเวลานาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อาจทำให้อาการปวดรุนแรงมากขึ้น อาจร้ายแรงถึงขั้นเส้นเอ็นฉีกขาด ปัจจัยเสี่ยงของกระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ ผู้ที่เคลื่อนไหวใช้กิจกรรมบริเวณหัวไหล่หรือเหนือศีรษะขึ้นไป  รวมถึงกิจกรรมที่เคลื่อนไหวบริเวณแขนและหัวไหล่ซ้ำ ๆ […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

กล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ (Shin Splints)

กล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ (Shin Splints)  คืออาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ เจ็บปวดตามกระดูกหน้าแข้ง  ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการได้รับบาดเจ็บจาก การเล่นกีฬา การออกกำลังกายแบบรุนแรง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวด เจ็บกล้ามเนื้อ รู้สึกชา ขาอ่อนแรง   คำจำกัดความกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ (Shin Splints) คืออะไร กล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ หรือเรียกสั้นๆ ว่า เจ็บหน้าแข้ง (Shin Splints)  คือ อาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ เจ็บปวดตามกระดูกหน้าแข้ง  ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการได้รับบาดเจ็บจาก การเล่นกีฬา การออกกำลังกายแบบรุนแรง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวด เจ็บกล้ามเนื้อ รู้สึกชา ขาอ่อนแรง อย่างไรก็ตามอาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบสามารถรักษาให้หายได้ แพทย์จะทำการสอบถามประวัติและอาการเบื้องต้น เพื่อวินิจฉันและทำการรักษาในขั้นตอนต่อไป พบได้บ่อยเพียงใด อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ที่เล่นกีฬาและออกกำลังกายบ่อยๆ ที่ต้องใช้แรงค่อนข้างมาก เช่น กีฬาฟุตบอล กีฬาเทนนิส กีฬาบาสเกตบอล อาการอาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบจะมีอาการ ดังต่อไปนี้ ปวดบริเวณหน้าแข้ง ปวดกล้ามเนื้อ รู้สึกปวดที่ด้านใดด้านหนึ่งของกระดูกหน้าแข้ง ปวดตามส่วนด้านในของกระดูกหน้าแข้ง อาการบวมบริเวณหน้าแข้ง (ระดับไม่รุนแรง) รู้สึกชาและอ่อนแรง ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ เป็นผลมาจากการที่กระดูกบริเวณหน้าแข้งและเนื้อเยื่อหุ้มกระดูกหน้าแข้งถูกใช้งานบริเวณนั้นซ้ำ ๆ มากจนเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการบวม การอักเสบ หากปล่อยไว้ระยะยาวอาจทำให้กระดูกบริเวณนั้นหักได้ ปัจจัยเสี่ยงของ อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ ปัจจัยดังต่อไปนี้มีผลทำให้ผู้ป่วยมี อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ สวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมต่อการออกกำลังกาย […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

ออฟฟิศซินโดรม ป้องกันได้ง่าย ๆ เพียงแค่เปลี่ยนอิริยาบถ

ออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคที่เกิดขึ้นบ่อยสำหรับกลุ่มคนวัยทำงาน ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หากไม่รีบรักษาและปล่อยไว้นานจนไปนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายแล้วยังส่งผลกระทบต่อการดำเนินในชีวิตประจำวันด้วย  บทความนี้ Hello คุณหมอ นำวิธีการป้องกันออฟฟิศซินโดรม แบบง่าย ๆ มาฝากทุกคนกันคะ ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) ภัยเงียบที่กำลังคุกคามพนักงานออฟฟิศในรูปแบบของโรคปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในระดับเบื้องต้นไปจนถึงระดับความปวดเมื่อยขั้นรุนแรงที่ต้องรับการรักษาทางการแพทย์ จนส่งผลเสียต่อการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน แต่เชื่อหรือไม่ว่าสาเหตุของโรคนี้เกิดจากพฤติกรรมการทำงานของเราเองทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ในท่าเดิมนานเกินกว่า 6 ชั่วโมงขึ้นไป  ท่าทางการนั่งที่ไม่ถูกวิธี เช่น นั่งหลังค่อม ก้มหรือเงยคอมากเกินไป เพราะฉะนั้น เรียนผูกต้องเรียนแก้ ดั่งสุภาษิตไทยได้กล่าวไว้ เมื่อโรคนี้เกิดขึ้นจากพฤติกรรมเราเอง เราก็สามารถหลีกเลี่ยงออฟฟิศซินโดรมตัวร้ายได้เช่นกัน เปลี่ยนท่านั่งยั้งอาการ ออฟฟิศซินโดรม ท่านั่งทำงานนับเป็นจุดเล็ก ๆ ที่พนักงานออฟฟิศส่วนใหญ่ละเลยที่จะให้ความสนใจ แต่หารู้ไม่ว่า หากหันมาสนใจท่านั่งระหว่างทำงานสักนิด แค่นี้ก็ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่ออาการออฟฟิศซินโดรมแล้วแถมยังช่วยเสริมบุคลิกของคุณให้ดูดีได้อีกด้วย ดังนั้นหากไม่อยากเสียบุคลิกและได้เพื่อนสนิทชื่อ ออฟฟิศซินโดรมเป็นของแถม มาเปลี่ยนท่านั่งให้ถูกต้องตามนี้กันเลย ควรนั่งหลังตรงยืดไหล่คอตั้งตรง กรณีที่เก้าอี้มีพนักพิง ควรนั่งให้ก้นเต็มเก้าอี้ และหลังพิงพนักเก้าอี้พอดี ท่านี้เป็นท่านั่งที่ช่วยเสริมให้นั่งหลังตรงได้โดยอัตโนมัติและสามารถช่วยแก้ปัญหาระบบกระดูกโค้งงอผิดรูปที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรม กรณีที่เก้าอี้ไม่มีพนักพิง ผู้ทำงานควรนั่งเก้าอี้ให้เต็มก้นเช่นกันและพยายามนั่งหลังตรงเสมอ เพื่อช่วยลดปัญหาความผิดปกติของระบบกระดูกที่เป็นสาเหตุของการนั่งผิดท่า ข้อศอกและแขนควรทำมุมในระดับ 90 – 120 องศา เมื่อวางบนคีย์บอร์ด ปล่อยขาให้อยู่ในท่าที่สบาย ๆ ไม่งอขาเข้ามาข้างใน […]


โรคกระดูกแบบอื่น

ปวดสะโพก อันตรายหรือเปล่าและบรรเทาได้อย่างไรบ้าง

หลายท่านอาจเคยประสบกับปัญหาการ ปวดสะโพก กันมาบ้าง ซึ่งอาการดังกล่าวมักเกิดจากการทำกิจกรรมที่ต้องมีการใช้งานช่วงข้อต่อและกล้ามเนื้อสะโพกมากเป็นพิเศษ จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดสะโพกตามมาได้ แต่ อาการปวดสะโพก ยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่นได้อีกหรือไม่ แล้วอาการปวดสะโพกนั้นเป็นอันตรายหรือเปล่า เราไปหาคำตอบไปพร้อมๆกันได้ที่บทความนี้เลยค่ะ จาก Hello คุณหมอ ทำไมถึงมีอาการ ปวดสะโพก อาการปวดสะโพก เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะหากมีการทำกิจกรรมหรือการใช้งานบริเวณสะโพกหรือช่วงขา อาจก่อให้เกิดความเมื่อยล้า เกิดอาการตึง หรืออักเสบที่บริเวณกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อสะโพก ซึ่งจะทำให้รู้สึปวดสะโพกได้ อย่างไรก็ตาม อาการปวดสะโพก ยังสามารถเกิดจากอาการทางสุขภาพต่างๆ ด้วยเช่นกัน ได้แก่ โรคที่เกี่ยวกับไขข้อหรือโรคข้ออักเสบชนิดต่างๆ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุมักจะพบโรคดังกล่าวได้ง่าย อาการเกี่ยวกับไขข้อจะส่งผลให้เกิดการอักเสบที่บริเวณข้อต่อและกระดูกอ่อนของสะโพก จึงทำให้รู้สึกเจ็บปวดที่สะโพก กระดูกสะโพกหัก เมื่ออายุมากขึ้นกระดูกก็จะเริ่มอ่อนแอลง ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะกระดูกเปราะ แตก หรือหักได้ ซึ่งหากเกิดอาการกระดูกสะโพกแตกหรือร้าว ก็จะมีผลทำให้รู้สึกปวดสะโพก อาการบวมอักเสบของข้อต่อ บริเวณข้อต่อของคนเราจะมีถุงเบอร์ซา (bursa) เล็กๆ ทำหน้าที่ในการหล่อลื่นและลดแรงเสียดทานของเนื้อเยื่อบริเวณข้อต่อ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ถุงเบอร์ซานี้เกิดการอักเสบขึ้น ก็จะมีผลทำให้เกิด อาการปวดสะโพก เอ็นอักเสบ เส้นเอ็นเป็นแถบเนื้อเยื่อที่มีความหนา ทำหน้าที่สำคัญในการยึดกระดูกกับกล้ามเนื้อไว้ด้วยกัน แต่เมื่อเส้นเอ็นเกิดอาการตึงหรืออักเสบ ก็จะสร้างความเจ็บปวดที่บริเวณนั้นๆ ได้ อาการตึงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น กิจกรรมบางอย่างอาจมีการใช้งานหรือเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อกับเส้นเอ็นที่รองรับสะโพกมากจนก่อให้เกิดอาการตึงที่บริเวณเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ ซึ่งถ้าหากเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อตึงมากจนเกิดเป็นอาการอักเสบ ก็จะมีผลทำให้เกิดอาการปวดที่สะโพกได้ อาการสะโพกฉีก  การฉีกขาดของกระดูกอ่อนที่มีลักษณะเป็นวง หรือที่เรียกว่า ลาบรัม (labrum) […]


โรคกระดูกแบบอื่น

พังผืดในไขกระดูก (Myelofibrosis)

โรค พังผืดในไขกระดูก (Myelofibrosis หรือ MF) เป็นโรคมะเร็งไขกระดูกชนิดหายาก จัดอยู่ในกลุ่มของมะเร็งโลหิตวิทยา หรือมะเร็งเม็ดเลือด (Blood Cancers) ที่เรียกว่า กลุ่มโรคเม็ดเลือดสูง หรือกลุ่มโรคไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดมากผิดปกติ (Myeloproliferative neoplasm หรือ MPN) คำจำกัดความโรค พังผืดในไขกระดูก คืออะไร โรคพังผืดในไขกระดูก (Myelofibrosis) เป็นโรคมะเร็งไขกระดูกชนิดหายาก จัดอยู่ในกลุ่มของมะเร็งโลหิตวิทยา หรือมะเร็งเม็ดเลือด (Blood Cancers) เมื่อเป็นแล้วจะส่งผลต่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือด ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดได้ตามปกติ และทำให้เซลล์เม็ดเลือดทำงานผิดปกติด้วย เมื่อเซลล์เม็ดเลือดทำงานผิดปกติ จะส่งผลให้เกิดพังผืดที่ไขกระดูก ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจางรุนแรง จนรู้สึกเหนื่อยล้าและหมดเรี่ยวแรงอย่างหนัก นอกจากนี้ โรคพังผืดในไขกระดูกยังอาจทำให้ผู้ป่วยมีเกล็ดเลือดต่ำ จนเสี่ยงเกิดภาวะเลือดออกได้ง่ายขึ้น และผู้ป่วยโรคพังผืดในไขกระดูกส่วนใหญ่ มักมีปัญหาม้ามและไตโตด้วย โรคพังผืดในไขกระดูกนี้ หากเกิดขึ้นเองจะเรียกว่า โรคพังผืดในไขกระดูกปฐมภูมิ (Primary Myelofibrosis) แต่หากเป็นผลมาจากโรคอื่น จะเรียกว่า โรคพังผืดในไขกระดูกชนิดทุติยภูมิ (Secondary Myelofibrosis) โรคพังผืดในไขกระดูก พบได้บ่อยแค่ไหน โรคพังผืดในไขกระดูก เป็นโรคหายาก จากสถิติในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ประชากร 100,000 คน จะพบผู้ป่วยโรคนี้เพียง 1.5 คนเท่านั้น […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

ทำความรู้จัก โรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบ ในคุณแม่ลูกอ่อน

โรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบ เป็นอีกหนึ่งโรคที่คุณแม่ลูกอ่อนต้องระวัง เพราะหากปล่อยไว้ ในระยะยาวแล้วไม่รีบรับการรักษาที่ถูกต้องอาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพร่างกายได้ บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบให้มากขึ้นกันค่ะ โรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบ (De quervain’s Tenosynovitis)   โรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบคืออาการอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณนิ้วหัวแม่มือ ส่งผลให้ผู้ป่วย มีอาการปวดที่ข้อมือ รู้สึกปวดเมื่อนิ้วขยับนิ้วโป้งหรือข้อมือโรคดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ปัจจัยต่าง ๆ ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบ ปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ อาจทำให้เป็นโรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบได้มากกว่าคนปกติทั่วไป ดังต่อไปนี้ อายุ ผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 30-50 ปี เพศ เพศหญิงมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบมากกว่าเพศชาย 8-10 เท่า การเลี้ยงบุตร โรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในหญิงหลังตั้งครรภ์ การเคลื่อนไหว การขยับมือซ้ำแล้วซ้ำอีกเคลื่อนไหวในท่าทางเดิม ๆ บ่อย ๆ สาเหตุที่คุณแม่ส่วนใหญ่มักเป็นโรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบ สาเหตุที่คุณแม่ส่วนใหญ่เป็นโรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบเนื่องจากการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบซ้ำ ๆ เช่น การอุ้มลูก การจับสิ่งของต่าง ๆ รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เป็นโรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบ มีดังนี้ การได้รับบาดเจ็บโดยตรงที่ข้อมือ โรคไขข้ออักเสบ การเล่นเกมส์บ่อย ๆ เล่นกีฬาและดนตรี เช่น เล่นเปียโน กีฬากอล์ฟ 4 สัญญาณเตือนเข้าข่ายโรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบ อาการหลักของโรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบ คือ อาการปวดบริเวณนิ้วหัวแม่มือ รวมถึงอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ รู้สึกปวดเมื่อขยับนิ้วโป้งหรือข้อมือ ปวดเมื่อทำกำปั้น มีอาการปวมบวมบริเวณด้านข้างของข้อมือ รู้สึกปวดและมีอาการบวมที่โคนนิ้วโป้ง วิธีการรักษา ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการตรวจสอบมือเพื่อดูอาการเจ็บปวดของข้อมือเราด้วยการทดสอบโดยการให้ผู้ป่วยงอนิ้วลงบนนิ้วโป้งเพื่อสร้างกำปั้น ถ้าคุณรู้สึกเจ็บแสดงว่าคุณอาจเข้าข่ายต่อการเป็นโรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบ หากผู้ป่วยโรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบ แพทย์จะแนะนำยารับประทานเพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือ นาพรอกเซน (Naproxen) […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

อาการเอ็นข้อศอกด้านนอกเสื่อม สามารถดีขึ้นได้ ด้วย 6 ท่าบำบัดนี้!

อาการเอ็นข้อศอกด้านนอกเสื่อม (Tennis elbow) คือ อาการอักเสบบริเวณของเอ็นข้อศอก ที่เกิดจากการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้กล้ามเนื้อส่วนแขนอย่างหนัก เช่น การแบกยกของ การบิดแขนผิดรูป เป็นต้น อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้กับใครหลายๆ คน ดังนั้นบทความของ Hello คุณหมอ จึงนำ ท่าบำบัดอาการเอ็นข้อศอกด้านนอกเสื่อม เพื่อเป็นการผ่อนคลายและเพิ่มการเคลื่อนไหวของแขนคุณให้กลับมามีการเคลื่อนไหวได้ดีมากขึ้นมาฝากทุกคนกันค่ะ 6 ท่าบรรเทา อาการเอ็นข้อศอกด้านนอกเสื่อม หากต้องการให้แขนของคุณกลับมาใช้งานได้อย่างคล่องแคล่วอีกครั้ง การรักษาด้วยยาตามที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ อาจมีส่วนช่วยได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องมีการบำบัดด้วยท่าทางง่าย ๆ เหล่านี้ เข้ามาเสริมควบคู่กับการรับประทานยา เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อ เอ็นข้อศอก ข้อพับแขน ให้มีการยืดหยุ่นมากกว่าเดิม ท่ากำหมัด ท่านี้อาจถือว่าเป็นท่าเริ่มต้นของการบำบัดเลยก็ว่าได้ เพราะมีการใช้แรงเบา หรือต่ำมากที่สุด เพื่อรักษาสมดุล และเพิ่มความแข็งแรงให้แก่เอ็นกล้ามเนื้อในแขนของคุณ รวมทั้งข้อมือ นิ้วมือ โดยมีอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมด้วยเป็นผ้าขนหนูขนาดเล็ก ที่เอาไว้ใช้บีบกำ ซึ่งสามารถเริ่มตามขั้นตอนดังนี้ นำแขนวางแนบอยู่บนโต๊ะในลักษณะหงายแขนขึ้น นำผ้าขนหนูม้วน หรืออาจหาเป็นลูกบอลนิ่ม ๆ ไว้บนมือเพื่อใช้ในการบีบ บีบผ้า หรือลูกบอลแล้ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที จากนั้นทำการคลายออก ทำซ้ำวนไปข้างละ 10 ครั้ง จึงค่อยทำการสลับเปลี่ยนเป็นแขนอีกข้าง ท่าบิดข้อมือโดยใช้ดัมเบล กล้ามเนื้อขนาดใหญ่บริเวณปลายแขนที่เรียกว่า กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ หรือ กล้ามเนื้อดึงหงาย (Supinator muscle) […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia)

หากคุณลองสังเกตตนเองว่าร่างกายคุณเริ่มมีอาการปวดเมื่อยเมื่อใด โปรดอย่าปล่อยทิ้งไว้นานควรสำรวจอาการ และรีบเร่งรักษา หรืออาจเข้ารับคำปรึกษาจากนักบำบัดโดยด่วน เพราะคุณอาจเสี่ยงเป็น โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) ได้ คำจำกัดความ โรคไฟโบรมัยอัลเจีย คืออะไร โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) เป็นกลุ่มอาการของโรคเรื้อรัง ที่จะส่งผลให้คุณรู้สึกปวดกล้ามเนื้ออย่างหนักทางร่างกาย และอาจส่งผลกระทบต่อสุภาพจิตร่วม เนื่องจากอาการปวดเมื่อยเรื้อรังนี้อาจทำให้คุณรู้สึกอารมณ์แปรปรวน ระบบประสาททำงานไม่เต็มที่ และนำไปสู่อาการนอนไม่หลับในยามกลางคืน เพราะความปวดเมื่อยรุนแรง โรคไฟโบรมัยอัลเจีย พบบ่อยเพียงใด ตามสถิติของสถาบันโรคข้ออักเสบ กล้ามเนื้อ และกระดูกแห่งชาติ ของประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ที่ประสบกับโรคไฟโบรมัยอัลเจีย ส่วนมากเป็นเพศหญิง มากกว่าเพศชาย ที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ อาการอาการของ โรคไฟโบรมัยอัลเจีย ความเจ็บปวดนี้สามารถเกิดขึ้นได้บริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกาย จากนั้นอาจจะค่อย ๆ ลุกลามไปในวงกว้าง ซึ่งสัญญาณเตือน หรืออาการแรกเริ่มของโรคไฟโบรอัลเจีย มีดังนี้ รู้สึกปวด และตึงที่กล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกล้ามเนื้อค่อนยืดหยุ่นได้น้อย ลุกลามไปยังบริเวณใบหน้า หรือเส้นกล้ามเนื้อที่เชื่อมต่อกับความเจ็บปวดที่แรก อาการนอนไม่หลับ หรือเริ่มนอนผิดเวลา อาการขาอยู่ไม่สุข (Restless legs syndrome; RLS) มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท ความจำ ทำให้คุณไม่มีสมาธิ ที่เรียกกันว่า “fibro fog” อาการลำไส้แปรปรวน อาการของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกันไปในแต่ละราย ดังนั้นหากเกิดอาการใด ๆ เพิ่มเติม ที่มีความรุนแรงขึ้น […]


โรคกระดูกพรุน

การออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยกระดูกพรุน ออกอย่างไรให้แข็งแรงและปลอดภัย

หลายคนมีความคิดว่า การออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยกระดูกพรุน นั้นไม่เหมาะสม เพราะหากออกกำลังกายแล้วเกิดหกล้มขึ้นมา อาจเสี่ยงกระดูกหัก เจ็บตัวขึ้นมาได้ แต่จริง ๆ แล้วนั้นผู้ที่มีปัญหากระดูกพรุนนั้นสามารถออกกำลังกายได้เช่นกัน เพียงแค่ควรเลือกกีฬาที่มีความเหมาะสมกับร่างกาย เลือกโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม ป้องกันการหกล้ม เท่านี้ก็ช่วยให้ออกกำลังกายได้แล้ว วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการออกกำลังกายในผู้ป่วยที่มีปัญหากระดูกพรุนมาฝากกันค่ะ โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คืออะไร โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นโรคที่ทำให้กระดูกอ่อนแอและเปราะบางลง เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายเกิดการสูญเสียมวลกระดูกมากเกินไป และไม่สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนกระดูกที่เสียไปได้ทันเวลา เป็นผลทำให้กระดูกนั้นอ่อนแอและเปราะบางลง บางครั้งกระดูกอาจจะแตกหักได้ เมื่อเกิดการกระแทก หรือแค่เพียงการจามก็ทำให้กระดูกนั้นหักได้ เมื่อทำการส่องกล้องจะเห็นว่ากระดูกที่พรุนนั้นจะมีรูเหมือนรังผึ้งเต็มไปหมด ยิ่งกระดูกพรุนมาก รูที่กระดูกก็จะยิ่งกว้างและใหญ่ขึ้น ซึ่งหมายความว่ากระดูกของเรานั้นไม่มีความหนาแน่น เมื่อกระดูกหนาแน่นน้อยลงก็จะยิ่งทำให้กระดูกอ่อนแอและมีแนวโน้มที่กระดูกพร้อมจะแตกหักได้อย่างง่ายดาย เริ่มต้น การออกกำลังกาย สำหรับเสริมสร้างกระดูก อย่างไรดี ผู้ที่มีปัญหาโรคกระดูกพรุนนั้น ก่อนที่จะเริ่มต้นออกกำลังกายควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดที่รักษาอยู่เป็นประจำก่อน เพื่อให้พวกเขาประเมินถึงอาการป่วยโรคกระดูกพรุน ความพร้อมของร่างกาย และน้ำหนักว่าควรออกกำลังกายระดับใดจึงมีความปลอดภัย ร่างกายของแต่ละคนก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้นไม่มีแผนการออกกำลังกายใดที่ดีที่สุด แต่ควรลองออกตามคำแนะนำของแพทย์แล้วประเมินตนเองว่าเหมาะกับเราหรือไม่ โดยการเลือกออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยกระดูกพรุนนั้นก็ต้องคำนึงถึง ความเสี่ยงต่อการแตกหัก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับการออกกำลังกาย การเคลื่อนไหว ความสมดุลของร่างกาย โดยแพทย์จะพิจารณาร่วมกับปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่มีผลต่อความสามารถในการออกกำลังกาย เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ บางครั้งคุณอาจได้ออกกำลังกายกับนักกายภาพบำบัดเป็นพิเศษ ซึ่งเขาจะเน้นการออกกำลังกายที่เกี่ยวกับกลไกของร่างกายและความสมดุล น้ำหนัก และแรงต้าน ร่วมกับเทคนิคในการออกกำลังกายรูปแบบอื่น ๆ รูปแบบ […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

ภาวะเอ็นข้อศอกด้านนอกเสื่อม สามารถรักษาให้หายได้อย่างไร

เมื่อคุณรู้สึกเจ็บแปลบ ๆ บริเวณข้อศอก แต่ดันไม่รู้ว่าเกิดมาจากสาเหตุใด ซึ่งในบางครั้งอาจเป็นแค่เพียงอาการปวดเมื่อธรรมดา หรืออาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงอย่างง ภาวะเอ็นข้อศอกด้านนอกเสื่อม ก็เป็นได้ บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้จึงนำสัญญาณเบื้องต้นมาให้ทุกคนได้ทราบ เพื่อเป็นการเช็กตนเอง เพื่อการรักษาอย่างเท่าท่วงที ทำความรู้จักกับภาวะเอ็นข้อศอกด้านนอกเสื่อม ภาวะเอ็นข้อศอกด้านนอกเสื่อม (Tennis elbow) คือ อาการอักเสบของเอ็นข้อศอกคุณ โดยเอ็นนี้มีการเชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อ กระดูกด้านนอกของข้อศอก ดังนั้นจึงทำให้คุณรู้สึกเจ็บปวดในขณะที่กำลังทำกิจวัตรประจำวัน และอาจยังลุกลามไปทั่วทั้งแขน จนถึงข้อมือได้อีกด้วย ซึ่งมีสาเหตุหลัก ๆ มาจาก การออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาอย่างหนัก ยกของที่มีน้ำหนักเกินกำลังกล้ามเนื้อแขนของคุณจะรับไหว งานอดิเรก หรือการดำเนินชีวิตประจำวันของคุณที่เกี่ยวข้องกับความเคลื่อนไหวของแขน เช่น การทำสวน การเลื่อยไม้ บิดผ้า บิดประตู เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีอาจมีสาเหตุไม่แน่ชัดซึ่งมาจากด้านอื่น ๆ ร่วม หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดสำรวจอาการเบื้องต้นจากบทความด้านล่าง หรืออาจเข้าปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง สัญญาณอาการเบื้องต้นของ ภาวะเอ็นข้อศอกด้านนอกเสื่อม สัญญาณเตือนแรกเริ่มอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ระดับต่ำ จนถึงระดับรุนแรงบริเวณเอ็นข้อศอกของคุณ ซึ่งจะทำให้คุณมีอาการเจ็บขึ้นมากะทันหัน เมื่อมีการยกวัตถุบางอย่าง ขณะที่บิดแขนขึ้น หรือแม้กระทั่งตอนที่คุณกำลังทำการยกแขน หรือยืดแขนจนสุด อาการเจ็บขึ้นมากะทันหันดังกล่าว นับได้ว่าเป็นอาการที่คุณควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะอาจเกิดผลกระทบหลายอย่างในชีวิตประจำวันของคุณในระยะยาวได้ โดยอาการของ ภาวะเอ็นข้อศอกด้านเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่ได้รับความเสี่ยงมากที่สุดจะอยู่ในช่วงอายุ 30-50 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน