ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

ร่างกายของคนเราโดยเฉพาะกล้ามเนื้อและข้อต่อถือเป็นเรื่องที่ควรต้องได้รับการใส่ใจ เพราะมันสามารถสึกกร่อนไปตามอายุที่เพิ่มขึ้นได้ จึงทำให้เกิดอาการปวดข้อ ปวดหลัง การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและกระดูกอื่น ๆ ซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและการใช้ชีวิตประจำวัน ทาง Hello คุณหมอเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องเหล่านี้ จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก เอาไว้ให้ทุกคนได้ศึกษาข้อมูล

เรื่องเด่นประจำหมวด

ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

วัณโรคกระดูก โรคที่พบบ่อยในคนไทย วิธีป้องกันทำได้อย่างไร

วัณโรคกระดูก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนไทย สามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้ โดยเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายจะซึมผ่านกระแสเลือด ลุกลามไปยังอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงกระดูก แต่วัณโรคกระดูกก็ยังสามารถป้องกันและรักษาได้ จึงควรพบแพทย์ให้เร็ว เมื่อรู้สึกว่าร่างกายกำลังผิดปกติ [embed-health-tool-bmr] สาเหตุของ วัณโรคกระดูก วัณโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis เชื้อนี้ทนอยู่ในอากาศและสิ่งแวดล้อมได้นาน สามารถติดต่อได้ง่ายไปยังบุคคลอื่น ด้วยการสูดเอาละอองเสมหะของผู้ป่วยวัณโรคที่ไอ จาม หรือหายใจรด เข้าไปในร่างกาย ติดต่อได้จากการรับประทานอาหารที่มีภาชนะใส่อาหารปนเปื้อนเชื้อวัณโรค  เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายทางปอด จะทำให้ปอดเกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งเชื้อจะซึมผ่านกระแสเลือดแล้วเข้าทำลายอวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง สมอง ไต และกระดูก  อันตรายจากวัณโรคกระดูก วัณโรคกระดูกทำให้กระดูกเกิดการเปลี่ยนแปลง พบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น  กระดูกยุบตัว  หลังโก่งงอ  มีหนองหรือเศษกระดูก  หมอนรองกระดูกเคลื่อน  และเมื่อเข้าสู่ไขสันหลังจะเกิดการกดทับประสาทที่ไขสันหลังทำให้เป็นอัมพาตที่ขาได้ อาการของวัณโรคกระดูก  ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตนเองกำลังเป็นวัณโรคกระดูก เพราะอาการเบื้องต้นจะเป็นอาการปวดหลัง จนกระทั่งร่างกายเริ่มปวดมากจึงมาพบแพทย์ สำหรับสัญญาณเตือน วัณโรคกระดูก ที่ควรระวัง มีดังนี้ มีอาการปวดเมื่อยตามตัวช่วง 1-2 สัปดาห์แรก  อาการปวดจะไม่หาย และมีอาการหนักมากขึ้นเมื่อผ่านไป 1 เดือน มีไข้ต่ำ ๆ ช่วงเย็น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หากมีการกดทับระบบประสาทจะส่งผลอื่น ๆ […]

หมวดหมู่ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก เพิ่มเติม

สำรวจ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

โรคข้ออักเสบ

อาการปวดข้อศอก เรื่องเล็กๆ แต่มาพร้อมกับอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

คุณผู้อ่านเคยมีอาการ ปวดข้อศอก กันบ้างหรือไม่ อาการปวดข้อศอกนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยตั้งแต่สาเหตุเล็กน้อยไปจนถึงสาเหตุที่รุนแรงอย่างอุบัติเหตุ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ อาการปวดข้อศอก ให้มากขึ้นกับบทความนี้จาก Hello คุณหมอ อาการปวดข้อศอก เกิดขึ้นได้อย่างไร อาการปวดข้อศอก (Elbow pain) นั้นเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น การอักเสบหรือเกิดอาการตึงที่บริเวณเนื้อเยื่ออ่อน หรือบริเวณเส้นเอ็น แต่อาการเช่นนี้เป็นเพียงไม่นาน หากมีการดูแลในเบื้องต้นก็สามารถที่จะหายจากอาการปวดข้อศอกได้ นอกเหนือจากการอักเสบต่างๆ อาการปวดข้อศอกยังอาจเกิดจากอุบัติเหตุที่รุนแรงเช่น ตกต้นไม้ ตกบันได ประสบอุบัติเหตุรถเฉี่ยว รถชน ก็สามารถที่จะส่งผลให้เกิดอาการไหล่หลุด ข้อศอกหลุด ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไป นอกจากนี้อาการปวดข้อศอกก็ยังสามารถเกิดจากการโรคที่เกี่ยวกับไขข้อได้เหมือนกัน เช่น โรคไขข้ออักเสบ โรคข้อเสื่อม เป็นต้น ปวดข้อศอก อันตรายหรือไม่ เราไม่สามารถพูดได้ว่า อาการปวดข้อศอก ไม่อันตราย แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อศอก อาการปวดข้อศอกโดยทั่วไปที่เกิดจากความเมื่อยล้า อาการตึง หรืออาการอักเสบที่บริเวณเนื้อเยื่อและเส้นเอ็นของข้อศอก สามารถที่จะดีขึ้นได้ในระยะเวลาที่ไม่นาน แต่ถ้าหากเกิดจากอุบัติเหตุรุนแรง จนเกิดอาการบวม ฟกช้ำ มีไข้ หรือเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บที่ว่าด้วยเรื่องของข้อต่อ ข้อเสื่อม หรือข้ออักเสบ ก็เสี่ยงที่จะเกิดอันตรายในระยะยาวและจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลรักษาจากคุณหมอและแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ วิธีการรักษาอาการปวดข้อศอก วิธีการรักษาสำหรับผู้ที่มี อาการปวดข้อศอก จำเป็นที่จะต้องรักษาตามสาเหตุและอาการที่เป็น เช่น หากเกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อหรืออุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง อาจสามารถปฐมพยาบาลในขั้นต้นด้วยการประคบน้ำแข็งหรือประคบเย็น และอาจมีการรับประทานยาที่ลดการเจ็บปวดและอาการอักเสบ รวมถึงการใช้ยาทาภายนอกร่วมด้วย อาจมีการเปลี่ยนแปลงท่าทางในการใช้งานช่วงข้อศอก […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome)

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome)  คือ กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส (Piriformis) ที่อยู่บริเวณก้นใกล้กับส่วนบนของข้อต่อสะโพกเกิดความผิดปกติ  ซึ่งอาจไปกดทับเส้นประสาทไซอาติก (Sciatic)  ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณสะโพก  ปวดบริเวณก้น เสียความสมดุลในการเคลื่อนไหว คำจำกัดความกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome) คืออะไร กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome)  คือ กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส (Piriformis) ที่อยู่บริเวณก้นใกล้กับส่วนบนของข้อต่อสะโพกเกิดความผิดปกติ  ซึ่งอาจไปกดทับเส้นประสาทไซอาติก (Sciatic) ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง  ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณสะโพก  ปวดบริเวณก้น เสียความสมดุลในการเคลื่อนไหว พบได้บ่อยเพียงใด กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่นั่งเป็นเวลานาน อาการกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทส่วนใหญ่จะมีอาการ ดังต่อไปนี้ รู้สึกปวดบริเวณก้น นั่งลำบาก รู้สึกปวดมากขณะกำลังนั่ง เช่น นั่งเบาะรถยนต์ ปวดบริเวณสะโพกร้าวลงมาบริเวณขา ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น นั่งทำงาน ขับรถเป็นระยะเวลานานไม่ได้ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท สาเหตุส่วนใหญ่ของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท เกิดจากการที่กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสเกิดการอักเสบ โดยมีสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ ออกกำลังกายมากจนเกินไป การนั่งเป็นเวลานาน การยกของหนัก ๆ การบิดสะโพกอย่างกะทันหัน อุบัติเหตุทางรถยนต์ อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท คนที่นั่งเป็นเวลานาน ๆ เช่น นั่งอยู่ที่โต๊ะทั้งวัน อยู่หน้าโทรทัศน์เป็นเวลานาน ๆ มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะผู้ที่ออกกำลังกายหนักใช้ร่างกายส่วนล่างบ่อย ๆ การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท หากคุณรู้สึกปวดและชาบริเวณสะโพก […]


โรคข้ออักเสบ

5 ท่าบริหารหัวเข่า แก้อาการปวดเมื่อย จากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน

เคยไหมเวลานั่งทำงานติดต่อกันนานหลายชั่วโมง พอจะลุกขึ้นแต่ละทีก็ทำให้ร่างกายของเราปวดเมื่อยไปหมด โดยเฉพาะหัวเข่าของคุณที่ถูกงอค้างไว้ขณะอยู่ในท่านั่งนานจนเกินไปไม่มีการลุกออกมายืดเส้นยืดสายบ้าง บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้จึงขอนำ ท่าบริหารหัวเข่า ง่าย ๆที่สามารถทำได้ทุกที่ยามว่าง มาฝากทุกคนกันค่ะ ท่าบริหารหัวเข่า บรรเทาอาการปวดเมื่อย หากหัวเข่าของคุณได้รับการงอจากการนั่งผิดท่าเป็นเวลานานอาจส่งผลให้ เอ็นเชื่อมต่อกล้ามเนื้อกับกระดูกคุณเกิดภาวะบวม หรืออักเสบได้ อีกทั้งยังอาจส่งผลด้านสุขภาพในระยะยาวจนทำให้คุณเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) ดังนั้น การสละเวลาเล็กน้อยออกมาบริหารร่างกายบ้างคงจะได้ประโยชน์ไม่ใช่น้อย ซึ่งมี 5 ท่าง่าย ๆ ที่คุณสามารถปฏิบัติตาม ท่าบริหารหัวเข่า บรรเทาอาการปวดเมื่อย ที่เรานำมาฝากกัน ดังนี้ ท่าดันกำแพง การบริหารท่านี้มีเป้าหมายที่จะให้กล้ามเนื้อส่วนล่างของคุณ โดยเฉพาะบริเวณหัวเข่า และน่องได้รู้สึกคลายเส้นลง แรกเริ่มให้ยืนหันหน้าเข้ากำแพง และยืดแขนทั้ง 2 ข้าง ออกมาด้านหน้าพร้อมกับหงายมือตั้งขึ้นเตรียมดันกำแพง หรือผนังบ้านที่มีพื้นผิวเรียบ นำขา และเท้าข้างที่ถนัดออกมาด้านหน้าในก้าวที่ยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้ พร้อมกับย่อเข่าโน้มตัวไปทางด้านหน้ากำแพง ขั้นตอนนี้ให้คุณดันตัวเข้า-ออกเล็กน้อยให้ครบ 30 วินาที ทุก ๆ ครั้งที่ครบ 30 วินาที ให้คุณสลับเปลี่ยนขาอีกข้างหนึ่งในท่าทาง และทำตามขั้นตอนการบริหารเดียวกัน ท่างอขาไปด้านหลัง ในท่านี้นอกจากคุณจะได้บริหารหัวเข่าแล้ว ยังอาจได้กล้ามเนื้อส่วนสะโพกที่แข็งแรงตามมาอีกด้วย โดยเริ่มจากขั้นตอนดังต่อไปนี้ ยืนตัวตรง และนำมือเท้าเอวไว้เพื่อสร้างการทรงตัว พร้อมกับแยกเท้า หรือหัวเข่าให้ห่างกันเล็กน้อย ประมาณ 1-2 นิ้ว ยกขาด้านในด้านหนึ่งที่คุณถนัด งอขึ้นไปด้านหลังจนสุด และค้างไว้ประมาณ […]


โรคข้ออักเสบ

รู้สึกปวดไหล่มาก ไม่ใช่เพราะมีใครมาขี่คอ แต่เป็นเพราะปวดไหล่จากการทำงาน

ประชาชนชาวออฟฟิศทั้งหลายคงจะเคยประสบกับ อาการปวดไหล่ กันมาบ้าง เพราะต้องนั่งทำงานอยู่ในท่าเดิมตลอดทั้งวัน แต่อาการปวดไหล่สามารถที่จะแก้ไขได้ วันนี้เรามาดูกันว่าถ้า ปวดไหล่ จากการทำงาน จะมีวิธีรับมือและป้องกันอย่างไรได้บ้าง ไปติดตามสาระดีๆ ที่บทความนี้ จาก Hello คุณหมอ กันเลยค่ะ สาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้ ปวดไหล่ อาการปวดไหล่ (Shoulder pain) นั้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป บางครั้งอาการปวดไหล่ก็เป็นลักษณะอาการของโรคต่างๆ ที่แสดงออกถึงความเจ็บปวดที่บริเวณไหล่ เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม หรือโรคไขข้ออักเสบ และยังสามารถเกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ด้วย ได้แก่ เกิดการผิดท่าผิดทางกับบริเวณไหล่ อาจเป็นการนั่ง การนอน การยก ย้ายสิ่งของต่างๆ การทำกิจกรรมที่ต้องมีการเคลื่อนไหวช่วงแขนและหัวไหล่ การยกของหนักขึ้นเหนือหัวไหล่ เกิดการกดทับที่บริเวณไหล่  เกิดอาการบาดเจ็บที่บริเวณหัวไหล่และกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ เกิดอาการอักเสบที่บริเวณเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ กระดูกที่บริเวณหัวไหล่ กล้ามเนื้อบริเวณคอ และไหล่ เกิดอาการตึงในขณะที่นั่งทำงานหรือขณะที่ยืน อาการ ปวดไหล่ เกิดจากการทำงานได้อย่างไร การเคลื่อนไหว อากัปกิริยาต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเราสามารถที่จะส่งผลให้เกิดอาการปวดไหล่ได้ โดยเฉพาะในการทำงาน สำหรับผู้ที่ต้องทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ หรือทั้งวัน จะส่งผลให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่บริเวณช่วงคอและข้อมือ รวมถึงบริเวณไหล่เกิดอาการตึง เกร็ง เพราะกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นในบริเวณดังกล่าวต้องค้างอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน กล่าวคือ ลำคอก็จะตั้งตรง ใบหน้าจดจ่อที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ข้อมือจะประจำอยู่ที่แป้นพิมพ์และเม้าส์ เมื่ออยู่ในท่านี้เป็นเวลานานๆ ก็จะส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณคอและไหล่เกิดอาการเมื่อยล้า และนานเข้าก็เสี่ยงที่จะเกิดอาการบาดเจ็บหรืออักเสบที่เส้นเอ็น […]


โรคกระดูกพรุน

เพิ่มความแข็งแรงให้กระดูก ด้วยเคล็ดลับง่ายๆ เหล่านี้

กระดูก ถือเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย หากเราไม่ดูแลหรือรู้จักหาวิธีที่จะ เพิ่มความแข็งแรงให้กระดูก ในภายหลังก็อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนได้ ดังนั้น เราจึงควรได้รับแคลเซียมและวิตามินดีให้เพียงพอ นอกจากนั้น การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกก็เป็นสิ่งที่ควรทำ นอกจากสิ่งเหล่านี้แล้ว ยังมีอะไรอีกบ้างที่สามารถเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูก ต้องมาติดตามกันในบทความนี้โดย Hello คุณหมอ สุขภาพกระดูกนั้นสำคัญไฉน กระดูกของคนเรามีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อกระดูกเก่าถูกทำลายลงร่างกายก็จะมีการสร้างกระดูกใหม่ขึ้นมาทดแทน ในช่วงที่คุณยังเป็นเด็กการสร้างกระดูกใหม่จะเร็วกว่า นอกจากนั้นมวลกระดูกก็ยังจะเพิ่มขึ้นอีกด้วย มวลกระดูกจะเพิ่มขึ้นสูงสุดจนกวาคุณจะอายุ 30 หลังจากนั้นมวลกระดูกก็จะเริ่มสูญเสียไป ทั้งที่กระดูกยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เมื่ออายุครบ 30 และสูญเสียมวลกระดูกไปอย่างรวดเร็ว ก็อาจทำให้มีโอกาสที่จะมีการพัฒนาไปสู่โรคกระดูกพรุนได้ เมื่อเป็นแล้วจะทำให้กระดูกอ่อนแอ เปราะ และแตกหักได้ง่าย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อการรดำเนินชีวิตประจำวันของคุณเป็นอย่างยิ่ง เคล็ดลับ เพิ่มความแข็งแรงให้กระดูก เมื่อทราบแล้วว่ากระดูกนั้นสำคัญต่อคุณอย่างไร คราวนี้ลองมาดูเคล็ดลับการ เพิ่มความแข็งแรงให้กระดูก กันบ้างดีกว่า ว่ามีอะไรบ้าง กินผักเยอะๆ ผักเป็นสิ่งที่ดีต่อกระดูกของคุณ เพราะมันเป็นแหล่งวิตามินซีที่ดีที่สุด ทั้งยังช่วยกระตุ้นการผลิตเซลล์ในการสร้างกระดูก นอกจากนี้การศึกษาบางอย่างยังชี้ให้เห็นว่า สารต้านอนุมูลอิสระ อาจปกป้องเซลล์กระดูกจากความเสียหายได้ การบริโภคผักสีเขียวและสีเหลืองในปริมาณที่สูง สามารถเชื่อมโยงกับการสร้างกระดูกที่เพิ่มขึ้นในช่วงวัยเด็กและการบำรุงรักษามวลกระดูกในผู้ใหญ่ ทั้งยังพบว่าการกินผักจำนวนมากเป็นประโยชน์ต่อผู้หญิงที่มีอายุมากอีกด้วย จากการศึกษาชิ้นหนึ่งในผู้หญิงมากกว่า 50 คน พบว่า ผู้ที่บริโภคหัวหอมส่วนใหญ่จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนลดลงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ค่อยกินผัก นอกจากนี้อีกหนึ่งการศึกษาซึ่งใช้ระยะเวลาทั้งหมด 3 เดือน พบว่า ผู้หญิงที่กินบร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี ผักชีฝรั่ง […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

ปวดต้นคอ บ่อยๆ อย่านิ่งนอนใจ รีบรักษาก่อนสายเกินไป

สำหรับใครที่ประสบปัญหาปวดบริเวณต้นคอบ่อย ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน เชื่อว่าต้องประสบกับปัญหานี้อย่างแน่นอน บางรายเมื่อเกิดอาการปวด จึงซื้อยามารับประทาน เพียงไม่กี่วันก็กลับมาหายเป็นปกติ แต่บางราย กินยาหลายครั้งก็ไม่หายขาดสักที เป็น ๆ หาย ๆ ตลอด นั่นเป็นเพราะคุณอาจกำลังรักษาผิดวิธี วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาบอกถึงสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา ของอาการ “ปวดต้นคอ” กันค่ะ หากรักษาอย่างถูกต้อง รับรองได้เลยว่าอาการปวดที่เป็นอยู่นั้นจะบรรเทาลงอย่างแน่นอน ปวดต้นคอ (Neck Pain) คืออะไร ปวดต้นคอ เป็นอาการปวดบริเวณต้นคอที่เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อ รวมถึงการได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรืออุบัติเหตุต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดต้นคอ โดยส่วนใหญ่ผู้ที่มีอาการปวดคอหากไม่ร้ายแรงมาก อาการจะหายไปเองในไม่กี่วัน แต่หากมีอาการรุนแรงติดต่อกันนานถึง 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคและรับการรักษา 5 สาเหตุ ที่ทำให้คุณมีอาการปวดต้นคอ สาเหตุที่ทำให้คุณรู้สึกปวดบริเวณต้นคอ เกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน ดังต่อไปนี้ การได้รับบาดเจ็บ จากอุบัติเหตุต่างๆ เช่น การชน อาจทำให้เนื้อเยื่ออ่อนของคอเกิดอาการตึง รวมถึงการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย การเนื้อแข็งตึง พฤติกรรมในการใช้กล้ามเนื้อที่ผิดท่าและใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นนานมากเกินไป อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดอาการแข็งตึง และรู้สึกปวดได้ เช่น การนั่งหลังค่อมทำงาน การนั่งเล่นโทรศัพท์ โรค ที่อาจส่งผลกระทบทำให้รู้สึกปวดบริเวณต้นคอ เช่น […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

ปวดน่อง หนักมาก จะรับมืออย่างไรได้บ้าง

ในแต่ละวันเรามีการใช้งานกล้ามเนื้อกันอยู่ตลอดเวลา ทั้งการเดิน การวิ่ง หรือการออกกำลังกาย แต่การใช้กล้ามเนื้อที่มากจนเกินไปอาจเป็นผลให้กล้ามเนื้อเกิดอาการอักเสบ และมีอาการเจ็บปวดตามมาได้ โดยเฉพาะช่วงขา เพราะต้องมีการเคลื่อนไหวด้วยการเดินและการวิ่งตลอดเวลา อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อขาและขาส่วนล่างอย่างน่องมีการอักเสบ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกท่านไปรู้จักกับ อาการปวดน่อง และวิธีดูแลต้นเองในเบื้องต้นเมื่อรู้สึก ปวดน่อง  [embed-health-tool-bmi] ทำไมถึง ปวดน่อง อาการปวดน่อง (Calf pain) เป็นอาการที่รู้สึกตึงและปวดร้าวบริเวณขาส่วนหลัง หรือน่อง โดยมีสาเหตุมาจากการเกิดตะคริวที่ทำให้กล้ามเนื้อมีการหดเกร็ง อาการนี้มักจะเกิดได้บ่อย ๆ สำหรับคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ หรือผู้ที่มีภาวะขาดน้ำ หรือภาวะขาดสารอาหาร ตามปกติอาการตะคริวหรือเหน็บชาเหล่านี้จะหายไปในเวลาไม่นาน แต่ถ้าหากมีการใช้กล้ามเนื้ออย่างหนัก อาจเกิดอาการอักเสบ และกลายเป็นอาการปวดน่องตามมา ซึ่งอาการปวดน่องอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่ อาการกล้ามเนื้อตึง การทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับขาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ มีส่วนทำให้กล้ามเนื้อบริเวณน่องขาเกิดอาการตึงและทำให้ปวดได้ กิจกรรมดังกล่าว เช่น การปั่นจักรยาน การว่ายน้ำ การวิ่ง การเดินระยะทางไกล การกระโดด เป็นต้น เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles Tendinitis) เมื่อใช้งานขามากจนเกินไป อาจจะไปทำให้เส้นเอ็นที่บริเวณขาที่เรียกว่าเอ็นร้อยหวายเกิดการอักเสบ ซึ่งการอักเสบใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเส้นเอ็นบริเวณขาหรือน่อง จะนำมาซึ่งอาการปวดขาและปวดน่องได้ […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

ตะคริวที่เท้า ยิ่งนั่งนานก็ยิ่งเป็น จะรับมืออย่างไรได้บ้าง

ตะคริวที่เท้า เป็นอาการทางสุขภาพที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศและทุกวัย และสามารถเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ ชนิดที่ไม่เลือกทั้งเวลาและสถานที่ ทั้งตอนตื่นนอน ขณะที่กำลังนอน หรือแม้แต่ตอนที่กำลังอยู่ในห้องน้ำก็ตาม อาการตะคริวที่เท้า เกิดจากอะไร และจะรับมืออย่างไร ไปตามดูกันได้เลยในบทความนี้จาก Hello คุณหมอ สาเหตุของ ตะคริวที่เท้า อาการตะคริวที่เท้า เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ คุณอาจเป็นตะคริวได้จากเหตุปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ภาวะขาดน้ำ หากในแต่ละวันมีการดื่มน้ำไม่เพียงพอ ร่างกายจะมีอาการขาดน้ำ ส่งผลให้เกลือแร่ของเลือด (electrolytes) โพแทสเซียม โซเดียม และแมกนีเซียมในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะในกล้ามเนื้อ และถ้าหากกล้ามเนื้อเกิดความไม่สมดุล จะทำให้กล้ามเนื้อที่นิ้วเท้าและฝ่าเท้าเกิดการหดตัวจนเกิด อาการตะคริวที่เท้า ขึ้นมา ไม่ค่อยออกกำลังกาย การไม่ออกกำลังกายนอกจากจะทำให้ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง เสี่ยงที่จะเป็นโรคภัยไข้เจ็บชนิดรุนแรงและเรื้อรังแล้ว ยังสามารถส่งผลให้เกิด อาการตะคริวที่เท้า ได้อีกด้วย เพราะการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายแข็งแรง กล้ามเนื้อและระบบประสาทเกิดความสมดุล ทำให้กล้ามเนื้อไม่หดตัว ลดโอกาสในการเป็นตะคริว สวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม ในแต่ละวันเราใช้เท้าในการก้าวเดินไปยังที่ต่าง ๆ หลายร้อยหลายพันก้าว การเลือกรองเท้าที่มีรูปแบบการดีไซน์ที่เหมาะสม จะช่วยในการกระจายน้ำหนักตัวได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่น คับไป หรือหลวมไป จะส่งผลให้เป็นตะคริวได้ อาการทางสุขภาพ ผู้ป่วยที่มีอาการทางสุขภาพบางประเภท อาจมีผลทำให้เกิด อาการตะคริวที่เท้า ได้ เช่น ผู้ป่วยด้วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis) โรคพาร์กินสัน หรือโรคเบาหวาน เพราะอาการทางสุขภาพดังกล่าวจะทำให้ระบบประสาทมีการเปลี่ยนแปลง […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

ข้อเท้าพลิก ทําไงหายเร็ว แล้วนานแค่ไหนจะออกกำลังกายได้

ข้อเท้าพลิก ทำไงหายเร็ว ? ทั้งนี้ อาการบาดเจ็บดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ทั้งผู้ที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา หรือแม้แต่อาจเป็นอุบัติเหตุไม่คาดฝันในชีวิตประจำวัน เช่น ตกบันได รองเท้าพลิก ตกส้นสูง ก้าวเท้าพลาด ซึ่งอาจมีอาการตั้งแต่ปวด บวม แต่ยังเดินไหว ไปจนถึงเจ็บหนักมาก จนลุกเดินไม่ได้ ควรรู้จักวิธีดูแลตัวเองเพื่อให้หายเร็วที่สุดและกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ [embed-health-tool-bmi] ข้อเท้าพลิกมีสาเหตุจากอะไร ข้อเท้าพลิก ข้อเท้าเคล็ด เป็นการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นเมื่อข้อเท้าบิดหรือพลิก จนทำให้เส้นเอ็นที่เป็นตัวยึดข้อกับกล้ามเนื้อยืดหรือฉีกขาด ซึ่งมักเกิดจากการเล่นกีฬา การเดิน การวิ่ง มักเกิดเมื่อเดินบนพื้นผิวขรุขระ หรือบางครั้งก็เกิดจากการประสบอุบัติเหตุอย่างเช่น หกล้ม ตกบันได ก้าวเท้าพลาด โดยอาการข้อเท้าพลิกนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับความรุนแรง ดังนี้ ระดับที่ 1 เส้นเอ็นถูกดึงหรือยืดมากเกินไป ทำให้เส้นเอ็นบาดเจ็บ แต่ไม่ถึงขั้นฉีกขาด นับเป็นอาการแพลงชนิดไม่รุนแรง และสามารถพบได้บ่อยที่สุด ระดับที่ 2 เส้นเอ็นบางส่วนฉีกขาด ทำให้ข้อเท้าบวมและปวดในระดับปานกลาง และความมั่นคงของข้อเท้าลดลงจนทำให้ยืนลำบาก ซึ่งนับเป็นอาการแพลงชนิดรุนแรงปานกลาง ระดับที่ 3 เส้นเอ็นที่เท้าฉีกขาดทั้งหมด จนยืนไม่ได้ ขยับข้อเท้าไม่ได้ และเจ็บปวดมาก ถือเป็นอาการแพลงชนิดรุนแรง อาการของภาวะข้อเท้าพลิก หรือข้อเท้าแพลงนี้จะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงข้างต้น โดยอาการที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

โรคกดทับเส้นประสาทในโพรงข้อมือ ภัยเงียบที่คนนอนดิ้นควรระวัง

เมื่อคุณรู้สึกถึงบริเวณฝ่ามือที่ชา และมีอาการเจ็บข้อมือเล็กน้อยหลังจากตื่นนอนในยามเช้า จนทำให้คุณเกิดความสับสน เพราะเป็นโรคที่มีอาการคล้ายกับเหน็บชา หรือตะคริว แต่แท้จริงแล้วนั้น เป็นเพียงสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกถึง โรคกดทับเส้นประสาทในโพรงข้อมือ ซึ่งทุกคนอาจยังไม่ค่อยคุ้นหูกันมากนัก แต่วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมารู้จักกับอาการนี้ให้มากขึ้น พร้อมเผยวิธีป้องกันอย่างละเอียด โรคกดทับเส้นประสาทในโพรงข้อมือคืออะไร โรคกดทับเส้นประสาทในโพรงข้อมือ มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า (Carpal Tunnel Syndrome) เกิดจากการบีบตัว หรือถูกกดทับบริเวณเส้นประสาทในโพรงฝ่ามือของคุณ จนไปถึงบริเวณข้อมือ ทำให้ไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด และยังมีทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวทั้งหมดของนิ้ว ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของคุณรวมถึงอาชีพต่างๆ เช่น การใช้แป้นพิมพ์ในการพิมพ์งานอยู่บ่อยครั้ง การอยู่กับสิ่งที่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนเป็นเวลานาน อาการใดบ้างที่บอกถึงโรคกดทับเส้นประสาทในโพรงข้อมือ อาการเหล่านี้มักพบได้บ่อยหลังจากคุณตื่นนอน เพราะอาจเกิดการนอนดิ้นจนทับมือของตนเองในช่วงเวลากลางคืนอันแสนยาวนานโดยที่คุณอาจไม่รู้ตัว รู้สึกเจ็บปวด หรือเสียวซ่าบริเวณนิ้วมือ ปวดข้อมือในเวลากลางคืน ปลายนิ้วชา หรือมือชา ใครกำลังเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้ ส่วนมากอาการนี้มักเสี่ยงต่อบุคคลที่ประกอบอาชีพเกี่ยวข้องกับสายงานการผลิต งานก่อสร้าง และพนักงานออฟฟิศที่ใช้งานด้านการพิมพ์ หรือผู้ที่ใช้มือในการทำงานอื่นๆ เป็นหลัก รวมถึงสภาวะของโรคประจำตัวต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกข้อมือ ความดันโลหิตสูง ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โรคไขข้ออักเสบ ดูแล และป้องกันตนเองอย่างไร ให้สุขภาพมือของคุณแข็งแรง พักการใช้งานของข้อมือ และนิ้วเมื่อรู้สึกเจ็บปวด หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้แรงข้อมือหนัก ออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อสม่ำเสมอ นอกจากนี้แพทย์อาจแนะนำเป็นการใส่อุปกรณ์บางอย่าง เพื่อป้องกันการกดทับเส้นประสาทของข้อมือในช่วงเวลากลางคืนขณะที่คุณเปลี่ยนท่านอนไปมา และบรรเทาอาการชา เสียวซ่า พร้อมกับการรับประทานยาลดการอักเสบ หรืออาการบวมลง เพื่อเพิ่มการนอนหลับของคุณให้สบายยิ่งขึ้น Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน