ข้อมูลโภชนาการ

สิ่งที่เรารับประทานเข้าไป มีผลโดยตรงต่อความรู้สึกและประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน การเรียนรู้เกี่ยวกับ ข้อมูลโภชนาการ จะช่วยให้เรารู้จักระมัดระวังมากขึ้นก่อนการรับประทานอาหาร และช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ข้อมูลโภชนาการ

หัวปลี สารอาหารสำคัญ สรรพคุณทางยา และประโยชน์ของหัวปลี

หัวปลี เป็นส่วนดอกของต้นกล้วย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปลีกล้วย คนไทยมักจะนำหัวปลีมาประกอบเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ ช่วยเสริมรสชาติให้กับเมนูอาหาร ทั้งยังอุดมด้วยคุณประโยชน์มากมาก และมีสรรพคุณทางยาที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย [embed-health-tool-bmi] สารอาหารสำคัญใน หัวปลี ปลีกล้วยหรือหัวปลี มีสารอาหารสำคัญ ดังนี้ แคลเซียม  ธาตุเหล็ก  ฟอสฟอรัส  แมกนีเซียม  โปรตีน  วิตามินซี  เบตาแคโรทีน ประโยชน์จากหัวปลี หัวปลีเป็นส่วนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทุกเพศทุกวัย เช่น  ปลีกล้วยมีสารซาโปนิน (Saponins) และแทนนิน(Tannins) ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรแลคติน ในทางการแพทย์แผนไทย  อุดมด้วยแคลเซียม ที่มากกว่ากล้วยสุกถึง 4 เท่า ดีต่อกระดูกและฟัน อาจช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ หัวปลีเป็นผักฤทธิ์เย็น ดีต่อสุขภาพในช่วงหน้าร้อน ปรับสมดุลร่างกายให้เย็นขึ้น ช่วยแก้อาการร้อนในได้ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ดีต่อผิวพรรณ ชะลอการเกิดริ้วรอย มีสารแมกนิเซียมที่ช่วยปรับสมดุลของสภาวะทางอารมณ์ ช่วยบรรเทาอาการเศร้า  มีสารเอทานอล ลดการอักเสบ มีฤทธิ์ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อโรคได้ ประโยชน์ที่สำคัญของหัวปลียังดีต่อแม่ตั้งครรภ์และแม่หลังคลอด ดังนี้  ช่วยในการบำรุงเลือด ป้องกันโลหิตจาง โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์หรือคุณแม่หลังคลอด มีสรรพคุณทางยา กระตุ้นต่อมน้ำนม ให้ร่างกายแม่ตั้งครรภ์สร้างน้ำนมหลังคลอด จึงควรรับประทานเมนูหัวปลีหลังคลอดเพื่อช่วยขับน้ำนม ตัวอย่างเมนูจากหัวปลี หัวปลีมีรสฝาด สามารถกินสด ๆ ได้ […]

สำรวจ ข้อมูลโภชนาการ

ข้อมูลโภชนาการ

Zinc (ซิงก์) กินแล้วช่วยอะไร และข้อควรระวังในการบริโภค

Zinc (ซิงก์) หรือสังกะสี เป็นแร่ธาตุที่ช่วยในการเจริญเติบโตและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยรักษาบาดแผล และช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสได้ จึงอาจช่วยให้หายป่วยได้เร็วขึ้น ทั้งนี้ ควรทราบว่า Zinc ควรกินวันละเท่าไหร่ เพื่อจะได้บริโภค Zinc ได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายและส่งผลดีต่อสุขภาพ ทั่วไปแล้ว ปริมาณ Zinc ที่ร่างกายต้องการจะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ และอาจต้องคำนึงถึงภาวะสุขภาพด้วย ทั้งนี้ ควรรับประทาน Zinc ในปริมาณที่เหมาะสมและไม่รับประทานร่วมกับยารักษาโรคบางชนิด เช่น ควิโนโลน เพนนิซิลลามีน เตตราไซคลีน เนื่องจาก Zinc อาจไปขัดขวางการออกฤทธิ์ของยาได้ [embed-health-tool-bmi] Zinc คืออะไร Zinc หรือ สังกะสี เป็นแร่ธาตุที่สำคัญที่ช่วยในการควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เป็นส่วนประกอบของเซลล์ ช่วยในการผลิตดีเอ็นเอหรือสารพันธุกรรมในเซลล์และโปรตีน ช่วยให้บาดแผลหายได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันสามารถต่อสู้กับไวรัสและแบคทีเรียได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสริมสร้างประสาทรับกลิ่นและรสชาติ ทั้งยังช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ตั้งแต่ช่วงอยู่ในครรภ์ไปจนถึงช่วงวัยรุ่น แม้ Zinc จะเป็นสารอาหารรองที่ร่างกายไม่ได้ต้องการในปริมาณมากเท่าสารอาหารหลัก แต่ก็ควรได้รับ Zinc จากอาหารในปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ กินซิงค์ช่วยอะไร Zinc เป็นแร่ธาตุที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากรับประทานในช่วงที่เป็นหวัดหรือติดเชื้อไวรัส อาจช่วยลดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน และอาจช่วยให้ประสาทรับกลิ่นและรับรสฟื้นตัวได้เร็วขึ้น โดยงาน […]


ข้อมูลโภชนาการ

โพแทสเซียมคืออะไร มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร

โพแทสเซียมคืออะไร ? โพแทสเซียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งซึ่งจำเป็นต่อร่างกาย พบได้ในอาหารหลาย ๆ ชนิด ไม่ว่าจะเป็น บร็อคโคลี่ มันฝรั่ง ส้ม นม โยเกิร์ต หรือเนื้อสัตว์ โพแทสเซียมมีประโยชน์หลายประการ เช่น ช่วยควบคุมความดันโลหิตไม่ให้สูงเกินไป ช่วยรักษาการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อให้เป็นปกติ ช่วยรักษาสมดุลของของเหลวในร่างกาย [embed-health-tool-bmi] โพแทสเซียมคืออะไร โพแทสเซียม (Potassium) เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย โดยเฉพาะอวัยวะสำคัญอย่างหัวใจและไต เนื่องจากโพแทสเซียมมีคุณสมบัติในการช่วยควบคุมความดันโลหิต ทั้งนี้ โพแทสเซียมสามารถพบได้ในอาหารหลาย ๆ ชนิด ได้แก่ ผัก เช่น บร็อคโคลี่ มันฝรั่ง มันเทศ เห็ด แตงกวา ฝักทอง มะเขือเทศ ผลไม้สด เช่น อะโวคาโด กล้วย ส้ม แคนตาลูป และผลไม้แห้ง เช่น ลูกพรุน ลูกเกด ถั่ว เช่น ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วปินโต (Pinto Beans) ถั่วเลนทิล (Lentils) […]


ข้อมูลโภชนาการ

Healthy food มีอะไรบ้าง และกินอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

Healthy food หรือเฮลตีฟูด หมายถึง อาหารเพื่อสุขภาพ มีประโยชน์ต่อร่างกาย หากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้สุขภาพแข็งแรงและห่างไกลโรค การเรียนรู้ว่า Healthy food มีอะไรบ้าง ถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่ควรให้สำคัญ เพราะจะช่วยให้สามารถเลือกกินอาหารได้อย่างถูกต้องและดีต่อสุขภาพจริง ๆ โดยทั่วไป Healthy food ควรเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น ผักและผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี ปลา ซึ่งอุดมไปด้วยโปรตีน แร่ธาตุ วิตามิน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยควรเลือกกินอาหารที่สด สะอาด และปนเปื้อนน้อยที่สุด ทั้งนี้ ควรกิน Healthy food ร่วมกับการใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉง (Active lifestyle) เคลื่อนไหวร่างกายหรือทำกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ร่างกายได้ออกกำลังกายและเผาผลาญพลังงานส่วนเกินอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคให้ได้มากที่สุด [embed-health-tool-bmi] Healthy eating คือ อะไร Healthy eating คือ รูปแบบการกินอาหารเพื่อสุขภาพ หรือที่เรียกว่า Healthy food หรือเฮลตีฟูด โดยเน้นการกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง คือ มีสารอาหารที่ร่างกายต้องการครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน […]


ข้อมูลโภชนาการ

ลูกหม่อน ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

ลูกหม่อน หรือบางครั้งเรียกแบบทับศัพท์ว่า มัลเบอร์รี่ (Mulberry) เป็นผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นผลเล็ก ๆ เป็นพวง มีสีแดงหรือม่วงแดง แต่เมื่อแก่จัดจะเป็นสีม่วงดำหรือดำ ให้รสชาติหวานอมเปรี้ยว นิยมรับประทานสดและนำมาแปรรูปเป็นขนม แยม และน้ำผลไม้ โดยลูกหม่อนมีสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น โพแทสเซียม วิตามินเอ วิตามินซี เบตาแคโรทีน (Beta Carotene) ที่อาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอล บำรุงสมอง และป้องกันโรคมะเร็งได้ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ ลูกหม่อน ลูกหม่อน 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 43 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 9.8 กรัม โปรตีน 1.44 กรัม ไขมัน 0.39 กรัม โพแทสเซียม 194 มิลลิกรัม แคลเซียม 39 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 38 มิลลิกรัม […]


ข้อมูลโภชนาการ

อาหารที่มีโปรตีนสูง ประโยชน์และข้อควรระวังในการรับประทาน

การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ธัญพืช นม อาจช่วยเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ อีกทั้งยังช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ให้เป็นไปตามปกติ อย่างไรก็ตาม การรับประทานในปริมาณที่ไม่เหมาะสม หรือไม่รับประทานอาหารให้หลากหลายและมีสารอาหารครบถ้วนอาจส่งผลเสียกับสุขภาพได้ ดังนั้นจึงควรศึกษาการเลือกรับประทาน อาหารที่มีโปรตีนสูง อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ประโยชน์ของอาหารที่มีโปรตีนสูง อาหารที่มีโปรตีนสูง อาจช่วยเพิ่มพลังงานและช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ให้เป็นไปตามปกติ บำรุงกระดูก ควบคุมน้ำหนัก เสริมสร้างกล้ามเนื้อและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สึกหรอ ช่วยปรับปรุงการทำงานของตับ และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง จากการศึกษาหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients ปี พ.ศ. 2562 ที่ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ต่อสุขภาพของโปรตีนในอาหารต่อมวลกล้ามเนื้อ พบว่า การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงอย่างเพียงพออาจช่วยเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย ช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ และอาจเพิ่มมวลกล้ามเนื้อเมื่อมีการออกกำลังกายควบคู่กันไปด้วย อีกทั้งยังอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนได้ นอกจากนี้ ยังมีอีกการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Current Atherosclerosis Reports เมื่อปี พ.ศ. 2557 ที่ได้ทบทวนเกี่ยวกับบทบาทของโปรตีนจากอาหารในผู้ป่วยเบาหวาน พบว่า การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานและลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง รวมถึงอาจช่วยเพิ่มไขมันดี อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงในปริมาณที่เหมาะสมและควรเลือกรับประทานโปรตีนที่มาจากผัก ผลไม้ และธัญพืชไม่ขัดสีให้มากกว่าโปรตีนจากเนื้อสัตว์และอาหารแปรรูป เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้อาการเบาหวานแย่ลง […]


ข้อมูลโภชนาการ

สารอาหารมีกี่ประเภท และมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร

สารอาหารแต่ละชนิดมีบทบาทสำคัญต่อร่างกายแตกต่างกัน ซึ่งหากไม่ได้รับสารอาหารสำคัญให้ครบถ้วนอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาว่า สารอาหารมีกี่ประเภท รวมถึงเลือกรับประทานสารอาหารให้ครบถ้วนและเหมาะสม เพื่อช่วยดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดจากภาวะขาดสารอาหาร [embed-health-tool-bmi] ทำไมจึงร่างกายจึงควรได้รับสารอาหารให้ครบถ้วน สารอาหาร คือสิ่งที่ร่างกายนำไปใช้เพื่อการทำงานที่เป็นปกติ รวมถึงเพื่อช่วยบำรุงสุขภาพของอวัยวะและระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรตที่เป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย หรือแคลเซียมที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและฟัน การที่ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเหมาะสมอาจช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถทำงานได้ตามปกติ มีพลังงานมากพอต่อการใช้ชีวิตในแต่ละวัน ไม่รู้สึกอ่อนเพลียหรือเหนื่อยล้าง่ายในขณะที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างวัน รวมถึงอาจช่วยรักษาสมดุลของอุณหภูมิในร่างกายอีกด้วย หากร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสมอาจส่งผลให้รู้สึกอ่อนแรง เหนื่อยล้า ไม่มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมที่ทำ น้ำหนักลดลงต่ำกว่าเกณฑ์ ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคและส่งผลให้เจ็บป่วยบ่อย สารอาหารมีกี่ประเภท สารอาหารแบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลัก ดังนี้ 1.คาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารที่เป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย เพื่อใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างวัน อีกทั้งยังมีไฟเบอร์ที่อาจช่วยควบคุมน้ำหนัก และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยร่างกายควรได้รับคาร์โบไฮเดรตประมาณ 45-65% ของแคลอรี่ที่ได้รับจากอาหารในแต่ละวัน ยกตัวอย่าง หากร่างกายได้รับ 2,000 กิโลแคลอรี่/วัน ควรเป็นคาร์โบไฮเดรตประมาณ 900-1,300 กิโลแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรตแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว คือคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยน้ำตาลที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก เมื่อรับประทานเข้าไปร่างกายสามารถย่อยและดูดซึมไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว […]


ข้อมูลโภชนาการ

ถั่วแดง ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

ถั่วแดง เป็นถั่วชนิดหนึ่ง มีสีแดง และมีรูปร่างคล้ายไตของมนุษย์ ในภาษาอังกฤษจึงมีชื่อเรียกว่า Kidney Beans โดยทั่วไป นิยมนำถั่วแดงไปปรุงเป็นของหวาน เช่น ถั่วแดงต้มน้ำตาล ขนมปังไส้ถั่วแดง ถั่วแดงกวน ทั้งนี้ นอกจากรสชาติอร่อยแล้ว ถั่วแดงยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง และอาจมีประโยชน์ต่อร่างกายหลาย ๆ ด้าน เช่น อาจช่วยในการลดน้ำหนัก ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยลดความดันเลือด [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ ถั่วแดง ถั่วแดงดิบ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 333 กิโลแคลอรี และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 60 กรัม โปรตีน 23.6 กรัม ไขมัน 0.83 กรัม โพแทสเซียม 1,410 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 407 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 140 มิลลิกรัม แคลเซียม 143 มิลลิกรัม โซเดียม […]


ข้อมูลโภชนาการ

ชาเขียวมีคาเฟอีนไหม และบริโภคได้ปริมาณเท่าไหร่ในแต่ละวัน

ชาเขียว (Green tea) ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ จึงได้รับความนิยมแพร่หลายมาช้านาน หลายคนอาจสงสัยว่า ชาเขียวมีคาเฟอีนไหม คำตอบคือ ชาเขียวมีคาเฟอีน ซึ่งออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของสมองส่วนกลาง ช่วยให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า ไม่ง่วงนอน เหนื่อยช้าลง แต่คาเฟอีนในชาเขียวจะเข้มข้นของคาเฟอีนน้อยกว่าในกาแฟ นอกจากนี้ ชาเขียวยังมีสารพฤกษเคมีหลายชนิดที่ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค และอาจช่วยควบคุมน้ำหนักได้ด้วย ทั้งนี้ ควรจำกัดการบริโภคชาเขียวที่เป็นเครื่องดื่มคาเฟอีนให้ไม่เกิน 300 มิลลิกรัม/วัน เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับคาเฟอีนมากเกินไป [embed-health-tool-bmi] ชาเขียวมีคาเฟอีนไหม ชาเขียวมีคาเฟอีนเช่นเดียวกับชาชนิดอื่น ๆ โดยชาแต่ละชนิดจะมีปริมาณคาเฟอีนแตกต่างกันไป หากเปรียบเทียบปริมาณคาเฟอีนในชา 1 แก้ว (237 มิลลิลิตร) ชาที่มีคาเฟอีนมากที่สุด คือ ชาดำ มีคาเฟอีน 47 มิลลิกรัม รองลงมา คือ ชาอู่หลง มีคาเฟอีน 63 มิลลิกรัม ส่วนชาเขียวมีคาเฟอีนประมาณ 28 มิลลิกรัม นอกจากนี้ คาเฟอีนยังพบได้ในเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ ด้วย เช่น กาแฟ โกโก้ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง โดยทั่วไป […]


ข้อมูลโภชนาการ

น้ำมันตับปลา ช่วยอะไร และข้อควรระวังการรับประทาน

น้ำมันตับปลา อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น วิตามินเอ วิตามินดี อย่างไรก็ตาม ก่อนรับประทานควรศึกษาให้ละเอียดว่า น้ำมันตับปลา ช่วยอะไร และมีข้อควรระวังอย่างไร รวมถึงปรึกษาคุณหมอก่อนรับประทานเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] น้ำมันตับปลา คืออะไร น้ำมันตับปลา คือ น้ำมันที่สกัดจากตับปลา โดยส่วนใหญ่มักสกัดมาจากปลาค็อด ที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 วิตามินเอและวิตามินดี ซึ่งแตกต่างจากน้ำมันปลาที่สกัดมาจากส่วนหนัง ส่วนหัวและส่วนหางของปลาทะเลน้ำลึก ที่อุดมไปด้วยกรดไขมันหรือดีเอชเอ (Docosahexaenoic Acid: DHA) ดังนั้น ก่อนเลือกรับประทาน “น้ำมันตับปลา หรือ น้ำมันปลา” จึงควรศึกษาให้ละเอียดว่า น้ำมันตับปลา ช่วยอะไรหรือขอคำแนะนำจากคุณหมอก่อนรับประทาน น้ำมันตับปลา ช่วยอะไร น้ำมันตับปลา อาจมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงจากปัญหาสุขภาพต่าง ๆ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของน้ำมันตับปลาในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด น้ำมันตับปลามีกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นกรดไขมันดีที่อาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งอาจช่วยป้องกันภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด จากการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Cureus ปี พ.ศ. 2564 ที่ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของน้ำมันตับปลาในการป้องกันภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งทำการศึกษาในผู้ป่วย 870 ราย ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2561 จนถึง […]


ข้อมูลโภชนาการ

โซเดียม ประโยชน์ และคำแนะนำการในการรับประทาน

โซเดียม ประโยชน์ คืออาจช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ รักษาความสมดุลของน้ำในร่างกาย และอาจช่วยปรับปรุงการทำงานของระบบประสาทและสมอง โดยโซเดียมสามารถพบได้ในอาหารต่าง ๆ เช่น อาหารแปรรูป ธัญพืชอบแห้ง เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ รวมถึงเครื่องปรุงต่าง ๆ เช่น เกลือ ซอสถั่วเหลือง หอยนางรม อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสม เพราะหากรับประทานมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ [embed-health-tool-bmi] โซเดียม คืออะไร โซเดียม คือ สารอาหารชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สามารถพบได้ในอาหารต่าง ๆ โดยเฉพาะอาหารแปรรูปและเครื่องปรุง เช่น ไส้กรอก กุ้งแห้ง ขนมกรุบกรอบ อาหารดอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซีอิ๊ว น้ำปลา เกลือ ผงปรุงรส ร่างกายต้องการโซเดียมเพื่อการทำงานที่เป็นปกติของอวัยวะต่าง ๆ เช่น หัวใจ กล้ามเนื้อ ระบบประสาทและสมอง แต่หากรับประทานในปริมาณมากและบ่อยครั้งก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตวาย โรคหัวใจและหลอดเลือด สมองบวม สูญเสียความทรงจำ อาการชัก และหมดสติได้ ดังนั้น จึงควรรับประทานโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสม และเลือกรับประทานโซเดียมจากแหล่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน