โภชนาการพิเศษ

เนื่องจากร่างกายของทุกคนแตกต่างกัน ความต้องการของเราจึงแตกต่างกันด้วย คุณสามารถเสริมคุณค่าทางโภชนาการและพลังงานให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายได้ ด้วยข้อมูล โภชนาการพิเศษ ของเรา

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการพิเศษ

อาหารลดความดัน มีอะไรบ้าง และควรหลีกเลี่ยงอาหารแบบไหน

อาหารลดความดัน หรือ อาหารแดช เป็นหลักการบริโภคอาหารที่อาจเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมความดันโลหิตและต้องการรักษาสุขภาพในระยะยาว อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังจากภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) อาหารลดความดันควรเป็นอาหารโซเดียมต่ำ ไม่มีไขมันอิ่มตัว มีสารอาหารอย่างโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม นอกจากจะช่วยลดความดันแล้วยังอาจช่วยลดคอเลสเตอรอล และไขมันในเลือด รวมทั้งอาจช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] อาหารลดความดัน คืออะไร อาหารลดความดัน หรืออาหารแดช (Dietary Approaches to Stop Hypertension Diet หรือ DASH Diet) เป็นแนวทางการรับประทานอาหารที่มุ่งเน้นการรักษาหรือป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ที่รับประทานอาหารแดชสามารถรับประทานอาหารหลากหลายได้ตามปกติ แต่อาจจำเป็นต้องลดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียม คอเลสเตอรอล และไขมันอิ่มตัว และเพิ่มสัดส่วนของอาหารที่มีโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และใยอาหารหรือไฟเบอร์ เน้น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด เป็นต้น ตัวอย่างอาหารลดความดัน แอปริคอต อะโวคาโด แคนตาลูป ลูกพรุน ปวยเล้ง ส้มเขียวหวาน มะเขือเทศ พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วอัลมอนด์ วอลนัท พีนัท พีแคน เนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและไขมัน เนื้อปลา ไข่ […]

สำรวจ โภชนาการพิเศษ

โภชนาการพิเศษ

อาหารเพิ่มกล้ามเนื้อ มีอะไรบ้าง บริโภคอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

อาหารเพิ่มกล้ามเนื้อ หมายถึง อาหารกลุ่มโปรตีนที่เป็นแหล่งของกรดอะมิโนต่าง ๆ ซึ่งสำคัญต่อการสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อ ช่วยให้มวลกล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ นม ชีส โยเกิร์ต ถั่ว เต้าหู้ นอกจากนั้น ควรออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย เพื่อให้การเพิ่มกล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น [embed-health-tool-bmi] อาหารเพิ่มกล้ามเนื้อ มีอะไรบ้าง อาหารเพิ่มกล้ามเนื้อ คืออาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารกลุ่มโปรตีนซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโนต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติกระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อ และป้องกันร่างกายย่อยสลายกล้ามเนื้อเป็นพลังงานจนส่งผลให้กล้ามเนื้อมีขนาดเล็กลง งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของโปรตีนและการออกกำลังกายแบบแรงต้านต่อการเพิ่มกล้ามเนื้อ เผยแพร่ในวารสาร Nutrients ปี พ.ศ. 2561 ระบุว่าการสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อขึ้นอยู่กับปริมาณและคุณภาพของกรดอะมิโนจากแหล่งต่าง ๆ ที่ร่างกายได้รับ ทั้งนี้ กรดอะมิโนที่มีส่งเสริมกระบวนการสังเคราะห์โปรตีนกล้ามเนื้อมากที่สุดคือ ลิวซีน (Leucine) นอกจากนี้ ยังควรออกกำลังกายควบคู่ไปด้วยเพื่อให้การสังเคราะห์โปรตีนมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากต้องการเพิ่มกล้ามเนื้อ ควรเลือกบริโภคอาหารต่าง ๆ ที่อุดมไปด้วยโปรตีน ดังต่อไปนี้ เนื้อสัตว์และเนื้อปลา เช่น เนื้อวัว สันคอหมู อกไก่ ปลาแซลมอน ปลานิล ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น ไข่ โยเกิร์ต ชีส นมไขมันต่ำ ถั่วและเมล็ดพืช เช่น […]


โภชนาการพิเศษ

โพแทสเซียมสูง ห้ามกิน อะไรบ้าง และควรกินอาหารอะไร

โดยปกติแล้ว ร่างกายจะขับโพแทสเซียมออกทางปัสสาวะ แต่หากมีภาวะสุขภาพบางประการ เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน อาจทำให้ไตไม่สามารถขับโพแทสเซียมส่วนเกินออกทางปัสสาวะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้ อาจมีคำถามว่า โพแทสเซียมสูง ห้ามกิน อะไร และควรกินอาหารอะไร เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารให้ถูกต้อง ซึ่งอาจช่วยให้สามารถรักษาสมดุลของระดับโพแทสเซียมในร่างกายให้เหมาะสม และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการมีระดับโพแทสเซียมสูงเกินไปได้ [embed-health-tool-bmi] โพแทสเซียมสูง เกิดจากอะไร ภาวะโพแทสเซียมสูง (Hyperkalemia) เป็นภาวะที่ไตไม่สามารถกรองโพแทสเซียมจากอาหารและเครื่องดื่มที่บริโภคเข้าไปและกำจัดโพแทสเซียมออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไตจะดูดโพแทสเซียมกลับเข้าไปสะสมในเลือด จนทำให้มีโพแทสเซียมสูงเกินไป ผู้ที่มีภาวะโพแทสเซียมสูงเป็นเวลานานอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาอาจทำให้มีน้ำคั่งในร่างกาย ส่งผลเสียต่อสุขภาพหัวใจ ทำให้หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดจังหวะจนเกิดภาวะหัวใจวายได้ ระดับโพแทสเซียมในเลือดปกติจะอยู่ที่ 3.5-5.0 มิลลิโมล/ลิตร หากเกิน 5.0 มิลลิโมล/ลิตร ถือว่าโพแทสเซียมสูง และหากเกิน 5.5 มิลลิโมล/ลิตร ถือว่ามีระดับโพแทสเซียมสูงมาก ปัจจัยต่อไปนี้ อาจมีส่วนทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมสูงได้ การได้รับโพแทสเซียมจากอาหารมากเกินไป ซึ่งอาจมาจากการกินอาหารเสริมโพแทสเซียมและสารทดแทนเกลือ (Salt Substitute) การกินยารักษาโรคที่มีส่วนผสมของโพแทสเซียม เช่น ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงบางชนิด ภาวะโพแทสเซียมสูงสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศและทุกวัย แต่หากมีภาวะสุขภาพดังต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะโพแทสเซียมสูงได้ โรคแอดดิสัน (Addison's Disease) โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคเบาหวานเรื้อรัง […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารบํารุงมดลูก ก่อนตั้งครรภ์ และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

พฤติกรรมการใช้ชีวิตเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่วางแผนตั้งครรภ์ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เลือกรับประทาน อาหารบํารุงมดลูก ก่อนตั้งครรภ์ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ผักและผลไม้ โปรตีนจากเนื้อสัตว์ นมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว อาหารที่มีธาตุเหล็ก และโฟเลต อาหารเสริมกรดโฟลิก ร่วมกับการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไม่เครียด หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เพื่อให้ร่างกายพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ [embed-health-tool-due-date] อาหารบํารุงมดลูก ก่อนตั้งครรภ์ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีโภชนาการที่หลากหลายในปริมาณที่เหมาะสม อาจช่วยบำรุงร่างกายและช่วยให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ อาหารที่อาจช่วยเสริมสร้างสุขภาพของผู้หญิงที่ต้องการตั้งครรภ์ มีดังนี้ ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ เป็นอาหารที่มีใยอาหารสูง ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่าย ทั้งยังอุดมด้วยสารอาหาร เช่น ธาตุเหล็ก ซีลีเนียม สังกะสี แมกนีเซียม วิตามินบีต่าง ๆ ผักและผลไม้ อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงควรเลือกรับประทานผักและผลไม้หลากหลายชนิดเป็นประจำ เช่น ผักใบเขียวเข้ม เช่น บรอกโคลี กะหล่ำปลี ปวยเล้ง ผักโขม ผักกาดเขีย ผักบุ้ง […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารบํารุงครรภ์ มีอะไรบ้าง และคนท้องไม่ควรกินอะไร

อาหารบํารุงครรภ์ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ควรมีสารอาหารที่ครบถ้วนและหลากหลายเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเลือกอาหารที่มีไฟเบอร์ เกลือแร่ และวิตามิน เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี ข้าว ขนมปัง อาหารที่มีโปรตีน เช่น ปลา เต้าหู้ นมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว พืชตระกูลถั่ว โดยควรกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ หรือล้างทำความสะอาดอย่างดีแล้ว นอกจากนี้ ควรจำกัดการกินไขมันและของหวานแต่พอดี หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ งดอาหารหมักดองที่อาจมีสารพิษปนเปื้อน อาหารรสจัดที่อาจทำให้เกิดกรดไหลย้อน และอาหารดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบที่อาจทำให้เสี่ยงติดเชื้อโรค [embed-health-tool-due-date] อาหารบํารุงครรภ์ มีอะไรบ้าง อาหารที่มีประโยชน์จะช่วยส่งเสริมความแข็งแรงให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์และให้สารอาหารที่เพียงพอแก่ทารกในครรภ์ ทำให้ทารกเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ โดยทั่วไป คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเลือกกินอาหารที่มีโภชนาการครบถ้วน อุดมไปด้วยสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ และปรุงสุกใหม่เพื่อป้องกันการติดเชื้อและอาการอาหารเป็นพิษ ตัวอย่างอาหารที่ช่วยบำรุงครรภ์ อาจมีดังนี้ อาหารที่มีโฟเลต (Folate) และกรดโฟลิก ขณะตั้งครรภ์ควรกินอาหารที่มีโฟเลต เช่น ผักใบเขียวเข้มอย่างผักกาดเขียว บรอกโคลี ปวยเล้ง ผักเคล กะหล่ำปลี พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วลันเตา ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วเลนทิล ผลไม้ตระกูลซิตรัส เช่น ส้ม ส้มโอ […]


โภชนาการพิเศษ

แคลเซียม คน ท้อง มีอะไรบ้าง และปริมาณที่เหมาะในการบริโภค

ขณะตั้งครรภ์ ร่างกายจะสลายแคลเซียมในกระดูกของคุณแม่ไปเสริมสร้างกระดูกและส่งเสริมการทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณแม่จะต้องได้รับอาหารที่มี แคลเซียม คน ท้อง เช่น ผักและผลไม้ นมและผลิตภัณฑ์จากนมวัว ปลาที่มีไขมันดี ในปริมาณที่เหมาะสม ทั้งนี้ คนท้องควรรับประทานอาหารให้หลากหลาย เพื่อให้ได้รับสารอาหารต่าง ๆ ครบถ้วนเพียงพอต่อความต้องการของทั้งแม่และทารกในครรภ์ ซึ่งจะส่งผลให้สุขภาพของคุณแม่และทารกแข็งแรง ทั้งยังลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะความดันโลหิตสูง ได้ด้วย [embed-health-tool-due-date] ทำไมคนท้องถึงต้องการแคลเซียม แคลเซียมเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ จะต้องได้รับจากการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมเท่านั้น สำหรับคนท้อง การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมเพียงพอจะช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อและฮอร์โมน ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง และลดความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกบางได้ ทั้งยังช่วยเสริมสร้างกระดูกบำรุงหัวใจ เส้นประสาท และกล้ามเนื้อของทารกในครรภ์ให้แข็งแรง หากร่างกายคนท้องได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ อาจทำให้คนท้องเสี่ยงเกิดภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia) ภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด ทั้งยังอาจทำให้เกิดอาการชาในช่องท้อง รู้สึกเสียวแปล๊บที่มือและเท้า และกล้ามเนื้อกระตุก ในกรณีที่รุนแรงอาจทำให้หินปูนเกาะที่ไต แคลเซียมเกาะในสมอง มีอาการทางประสาท เช่น ไบโพลาร์ ซึมเศร้า เป็นต้น นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลให้ทารกเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น โรคกระดูกอ่อน (Rickets) ปริมาณแคลเซียมที่คนท้องควรได้รับต่อวัน ปริมาณแคลเซียมที่ผู้หญิง คนท้อง และหญิงให้นมบุตร ควรบริโภค […]


โภชนาการพิเศษ

กรดยูริคสูง ต้องกินอะไร และควรหลีกเลี่ยงอาหารอะไร

กรดยูริคสูง เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดกรดยูริคออกด้วยการขับถ่ายได้ทัน ทำให้มีกรดยูริคสะสมอยู่ในกระแสเลือด และอาจตกตะกอนกลายเป็นผลึกไปเกาะตามอวัยวะต่าง ๆ ทั้งในระบบทางเดินปัสสาวะและข้อต่อ การศึกษาว่า กรดยูริคสูง ต้องกินอะไร และควรหลีกเลี่ยงอาหารชนิดไหน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับกรดยูริคให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนเนื่องจากมีกรดยูริคสูงเกินไปเป็นเวลานานอย่างโรคเกาต์และโรคนิ่วในไตได้ [embed-health-tool-bmi] กรดยูริค คืออะไร กรดยูริค (Uric acid) เป็นสารที่ได้จากการย่อยสลายสารพิวรีน (Purine) ในระบบย่อยอาหาร โดยทั่วไป กรดยูริคที่สะสมอยู่ในเลือดจะมาจากการกระบวนการสร้างของร่างกายประมาณร้อยละ 80 และมาจากอาหารที่กินประมาณร้อยละ 20 ปกติแล้ว ร่างกายจะขับกรดยูริคออกทางปัสสาวะและอุจจาระ แต่หากร่างกายกำจัดกรดยูริคไม่ทัน อาจทำให้มีกรดยูริคสะสมในเลือดในระดับสูงผิดปกติได้ โดยทั่วไป ระดับยูริคในเลือดของผู้ใหญ่เพศชายจะอยู่ที่ประมาณ 3.5-7.2 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ส่วนในผู้ใหญ่เพศหญิงจะอยู่ที่ประมาณ 2.6-6.0 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ภาวะกรดยูริคสูง ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร ภาวะกรดยูริคสูง (Hyperuricemia) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีกรดยูริคสะสมอยู่ในกระแสเลือดมากเกินไป ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายผลิตพิวรีนมากเกินไป ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การรับประทานอาหารที่มีพิวรินสูงเป็นประจำ นอกจากนี้ ภาวะกรดยูริคสูงยังอาจเกิดร่วมกับภาวะสุขภาพบางประการ เช่น โรคอ้วน โรคไตเรื้อรัง โรคความดันเลือดสูง โดยทั่วไป คนส่วนใหญ่ที่มีภาวะกรดยูริคในเลือดสูงจะไม่มีอาการและไม่ต้องการการรักษาในระยะยาว แต่หากมีระดับกรดยูริคสูงเกิน 7 มิลลิกรัม/เดซิลิตรเป็นเวลานาน อาจเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคเกาต์ […]


โภชนาการพิเศษ

โรคริดสีดวง ห้ามกิน อะไร และควรดูแลตัวเองอย่างไร

โรคริดสีดวงเกิดขึ้นเมื่อเส้นเลือดดำบริเวณทวารหนักหรือภายในทวารหนักโป่งพอง และอาจมีติ่งนูนยื่นออกมาจากทวารหนัก ทำให้ระคายเคืองเวลาขับถ่าย หรืออาจทำให้มีเลือดออกเมื่อเบ่งอุจจาระ โรคนี้มักเกิดจากพฤติกรรม เช่น มักกินอาหารที่มีใยอาหารน้อย กินอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงเป็นประจำ ดื่มน้ำน้อยเกินไป จนส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกและไม่สามารถขับถ่ายได้ตามปกติ การเรียนรู้ว่า โรคริดสีดวง ห้ามกิน อะไร ควรกินอาหารแบบไหนถึงจะดี รวมถึงวิธีดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมเมื่อเป็นโรคริดสีดวง อาจช่วยควบคุมอาการของโรคริดสีดวง เช่น อาการปวดบวมบริเวณทวารหนัก และทำให้โรคริดสีดวงดีขึ้นได้ในเวลาไม่นาน [embed-health-tool-bmi] โรคริดสีดวง ห้ามกิน อะไร อาหารที่ผู้ป่วยโรคริดสีดวงควรหลีกเลี่ยง คือ อาหารที่มีไฟเบอร์หรือใยอาหารน้อย ซึ่งทำให้เสี่ยงท้องผูกได้ง่ายและทำให้อาการริดสีดวงแย่ลงได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ อาหารแปรรูป เช่น อาหารแช่แข็ง อาหารกระป๋อง เบเกอรี่ อาหารหมักดอง อาหารจากเนื้อสัตว์อย่างไส้กรอก แฮม เบคอน ซึ่งมักจะมีโซเดียม คาร์โบไฮเดรตที่ขัดสีแล้ว น้ำตาล และไขมันอิ่มตัวสูง อาจทำให้ย่อยยากกว่าปกติ ท้องผูก ส่งผลต่อการขับถ่าย และทำให้อาการริดสีดวงแย่ลงได้ อาหารรสเผ็ด เช่น ส้มตำปลาร้า ผัดเผ็ดปลาดุก แกงไตปลา อาจทำให้แผลริดสีดวงระคายเคืองเมื่อต้องถ่ายอุจจาระ และยังทำให้เสี่ยงเกิดโรคกรดไหลย้อนได้ด้วย เนื้อแดง เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เป็นอาหารที่มีใยอาหารน้อยและไขมันสูง […]


โภชนาการพิเศษ

ชีทเดย์ คืออะไร มีข้อควรระวังอะไรบ้าง

ชีทเดย์ (Cheat Day) หมายถึง ช่วงเวลาที่สามารถรับประทานอาหารตามใจชอบเป็นเวลา 1 วัน หลังจากควบคุมอาหารมาแล้วเป็นเวลา 6 วัน โดยเฉพาะในผู้ที่กำลังลดน้ำหนักหรือควบคุมอาหาร อย่างไรก็ตาม ชีทเดย์มีข้อควรระวังอยู่บ้าง เพราะอาจเลือกรับประทานอาหารที่ทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้นเกินเกณฑ์เหมาะสมโดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากนั้น ชีทเดย์ยังอาจเป็นสาเหตุของพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ เช่น โรคกินไม่หยุด และอาจส่งผลให้การลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักไม่ประสบความสำเร็จ [embed-health-tool-bmi] ชีทเดย์ คืออะไร ชีทเดย์หมายถึงการหยุดควบคุมอาหาร 1 วัน หลังจากควบคุมอาหารมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง เปรียบเสมือนการให้รางวัลตนเองหลังจากควบคุมอาหารสำเร็จมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ชีทเดย์ไม่มีข้อกำหนดชัดเจน ดังนั้น อาหารและปริมาณอาหารที่เลือกบริโภค รวมถึงความถี่ของชีทเดย์ จึงขึ้นอยู่กับความพอใจของแต่ละคน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ควบคุมอาหารอาจมีชีทเดย์สัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือหลังควบคุมอาหารมาแล้ว 6 วัน และอาจควบคุมปริมาณแคลอรี่ไม่ให้เกิน 150 เปอร์เซนต์ของจำนวนแคลอรี่ปกติในวันที่ควบคุมอาหาร รวมทั้งอาจเลือกออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย นอกจากนี้ ผู้ที่ควบคุมอาหารบางรายอาจไม่มีชีทเดย์แต่เลือกรับประทานตามใจชอบเพียงบางมื้อหรือมีเพียงชีทมีล (Cheat Meal) แทน ประโยชน์ของชีทเดย์ ประโยชน์ของชีทเดย์ต่อสุขภาพยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่การรับประทานอาหารเพิ่มมากขึ้นในชีทเดย์ อาจทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเลปติน (Leptin) มากขึ้น โดยเป็นฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกอิ่ม ส่งผลให้ระบบเผาผลาญทำงานดีขึ้น และอาจทำให้การควบคุมน้ำหนักมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนั้น นักจิตวิทยาและนักโภชนาการด้านการควบคุมอาหารเชื่อว่า ชีทเดย์อาจช่วยให้ผู้ที่ต้องการควบคุมอาหารหรือลดน้ำหนักสามารถควบคุมอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามแผนยิ่งขึ้น และมีกำลังใจที่จะควบคุมอาหารต่อไป อย่างไรก็ตาม […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารคนท้องอ่อนห้ามกิน และอาหารบำรุงคนท้องอ่อน ๆ

คุณแม่อาจสงสัยว่า อาหารคนท้องอ่อนห้ามกิน มีอะไรบ้าง โดยอาหารที่ควรงดจนกว่าจะพ้นช่วงให้นมบุตร คือ เนื้อสัตว์ดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ เช่น ปลาดิบ หมึกช็อต ก้อยเนื้อ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเหล้า เบียร์ ไวน์ อาหารแปรรูปอย่างไส้กรอก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารเผ็ดจัด ปลาที่มีสารปรอทอย่างปลาอินทรี ปลากระโทงดาบ นอกจากนี้ คนท้องอ่อน ๆ ยังควรเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ให้สารอาหารครบถ้วน เพื่อบำรุงสุขภาพของคุณแม่และส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-due-date] อาหารคนท้องอ่อนห้ามกิน อาหารที่คนท้องอ่อนควรหลีกเลี่ยง เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และทารกในครรภ์ อาจมีดังนี้ อาหารดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ การกินอาหารที่ไม่ปรุงสุก เช่น ปลาแซลมอนดิบ กุ้งเต้น หมึกช็อต ก้อยเนื้อ อาจเสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิตบางชนิด เช่น โนโรไวรัส (Norovirus) เชื้อวิบริโอ (Vibrio) เชื้อซาลโมเนลล่า (Salmonella) เชื้อลิสทีเรีย (Listeria) พยาธิตัวตืด พยาธิตัวจี๊ด เมื่อเชื้อเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายอาจทำให้มีอาการอ่อนเพลีย ท้องเสียอย่างรุนแรง และอาจกระทบต่อสุขภาพของเด็กในครรภ์ได้ อาหารแปรรูป อาหารแปรรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป คุกกี้ มันฝรั่งทอด ไส้กรอก […]


โภชนาการพิเศษ

อาหาร แม่ หลัง คลอด ห้าม กิน มีอะไรบ้าง

คุณแม่หลายคนที่เพิ่งคลอดและอยู่ในช่วงให้นมบุตร อาจสงสัยว่า มี อาหาร แม่ หลัง คลอด ห้ามกิน หรือไม่ โดยทั่วไปแล้ว คุณแม่หลังคลอดไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารชนิดใดเป็นพิเศษ และควรกินอาหารที่หลากหลายและมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน เพื่อให้ทารกมีสุขภาพแข็งแรงและมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย อย่างไรก็ตาม อาจมีอาหารบางอย่างที่ควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดปริมาณในการบริโภค เช่น อาหารที่มีคาเฟอีน ปลาบางชนิดที่มีสารปรอทสูง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ แม่หลังคลอดยังควรงดสูบบุหรี่ ยาสูบ และกัญชา เพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและพัฒนาการของทารก [embed-health-tool-bmi] อาหาร แม่ หลัง คลอด ห้าม กิน มีอะไรบ้าง อาหารที่แม่หลังคลอดควรงดบริโภค หรือบริโภคให้น้อยที่สุด อาจมีดังนี้ อาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน คาเฟอีนในอาหารและเครื่องดื่มอย่างชา กาแฟ ชาเขียว น้ำอัดลม ดาร์กช็อกโกแลต อาจทำให้ร่างกายแม่หลังคลอดผลิตน้ำนมได้น้อยลง และคาเฟอีนอาจถูกส่งต่อไปยังทารกผ่านน้ำนมแม่ และส่งผลให้ทารกนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ตื่นตัวจนกินนมได้น้อยลง ท้องผูก มีแก๊สในกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะในทารกคลอดก่อนกำหนดที่สลายคาเฟอีนได้ช้ากว่าทารกทั่วไปและทารกที่เซนซิทีฟต่อคาเฟอีนมากกว่าปกติ แม่หลังคลอดอาจเปลี่ยนไปดื่มกาแฟไม่มีคาเฟอีน หรือดื่มเครื่องดื่มชนิดอื่น เช่น น้ำผลไม้น้ำตาลน้อย หรือหากยังต้องการบริโภคเครื่องดื่มคาเฟอีน ก็ควรจำกัดปริมาณคาเฟอีนไม่เกิน 300 มิลลิกรัม/วัน โดยปริมาณคาเฟอีนในน้ำนมแม่จะมีความเข้มข้นสูงสุดในช่วง 1 ชั่วโมงหลังบริโภคเข้าไป จึงควรรออย่างน้อย […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม