โภชนาการเพื่อสุขภาพ

"You are what you eat" อาหารที่คุณรับประทาน มีความสำคัญอย่างมาก ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการเพื่อสุขภาพ อยู่มากมาย ดังนั้น การแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม

สมุนไพรลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะสารสกัดในสมุนไพรบางชนิดอาจช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เพื่อความปลอดภัยควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคทุกครั้ง [embed-health-tool-bmi] สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม ขมิ้นชัน สรรพคุณ สารเคอร์คูมิน (Curcumin) ในขมิ้นชัน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล มีสรรพคุณช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ระบบการเผาผลาญภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมุนไพรขมิ้นชันจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ผลข้างเคียง หากรับประทานขมิ้นชันในปริมาณสูงติดต่อกัน อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน  ขิง สรรพคุณ สารซิงเจอโรน (Zingerone) ในขิง เป็นสารประกอบที่มีรสชาติเผ็ดร้อน ดังนั้นจึงมีความสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมได้ อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้สามารถควบคุมปริมาณในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม ผลข้างเคียง ขิงเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้  แนะนำรับประทานไม่เกินวันละ 4 กรัม และในสตรีมีครรภ์ไม่เกินวันละ 1 กรัม  ส้มแขก สรรพคุณ หลายคนมักรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากส้มแขก เนื่องจากส้มแขกมีกรดมีกรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric Acid: HCA) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการเผาผลาญไขมันภายในร่างกาย และยังมีสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้รู้สึกหิวน้อยลง  ผลข้างเคียง เวียนศีรษะ ปากแห้ง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย  เม็ดแมงลัก […]

หมวดหมู่ โภชนาการเพื่อสุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ โภชนาการเพื่อสุขภาพ

โภชนาการพิเศษ

คนท้องกินเบียร์ได้ไหม อันตรายหรือไม่

หลายคนอาจมีคำถามว่า คนท้องกินเบียร์ได้ไหม คนท้องกินเหล้าได้ไหม และจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์หรือไม่ คำตอบคือ คนท้องรวมไปถึงผู้หญิงที่กำลังวางแผนมีบุตรไม่ควรกินเบียร์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เนื่องจากอาจส่งผลเสียระยะยาวต่อสุขภาพของทารกทั้งในขณะตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และหลังคลอด ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด และอาจทำให้ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำเกินไป ดังนั้น จึงควรงดกินเบียร์รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปจนกว่าจะพ้นช่วงให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีของทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] คนท้องกินเบียร์ได้ไหม คนท้องไม่ควรกินเบียร์ เนื่องจากแอลกอฮอล์จากเบียร์สามารถเข้าสู่กระแสเลือดของคุณแม่และถูกลำเลียงไปยังทารกในครรภ์ผ่านสายสะดือได้โดยตรง ตับของทารกในครรภ์ยังไม่สามารถกรองสารพิษในแอลกอฮอล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พิษของแอลกอฮอล์ในเบียร์จึงอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วง 10-50 วันแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังเกิดกระบวนการสร้างกระดูก หัวใจ และสมองของทารก สารพิษในแอลกอฮอล์จากเบียร์ไม่เพียงแต่จะส่งผลเสียต่อทารกในช่วงที่อยู่ในครรภ์ แต่ยังกระทบต่อความแข็งแรงและความสามารถในการทนต่อภาวะเจ็บป่วยเมื่อเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต และอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ที่รุนแรงอย่างการสูญเสียทารกในครรภ์ได้ด้วย งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Obstetrics and Gynecology เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 ศึกษาทบทวนเกี่ยวกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรกและความเสี่ยงในการแท้งบุตร โดยศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 5,353 คน พบว่า มีผู้หญิงประมาณ 49.7% ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในขณะตั้งครรภ์ระยะแรก และมีผู้หญิงประมาณ 12% ที่แท้งบุตรหลังดื่มแอลกอฮอล์ อีกทั้งการดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันยังเพิ่มความเสี่ยงในการภาวะแท้งมากถึง 8% เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้ดื่ม การกินเบียร์ส่งผลต่อคนท้องอย่างไร ผู้หญิงที่กินเบียร์ขณะตั้งครรภ์ อาจเสี่ยงเกิดภาวะต่อไปนี้ อาการคลื่นไส้ อาเจียน การรับแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายมากเกินไปอาจทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารระคายเคือง และทำให้มีกรดปริมาณมากสะสมอยู่ในกระเพาะอาหาร […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารช่วยขับถ่าย มีอะไรบ้าง

อาหารช่วยขับถ่าย เช่น อาหารที่มีเส้นใยอาหารหรือไฟเบอร์สูงอย่างผัก ผลไม้ พืชตระกูลถั่ว อาหารที่มีโพรไบโอติกส์อย่างโยเกิร์ต อาจช่วยให้ผู้ที่มีอาการท้องผูกสามารถขับถ่ายได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ผู้ที่มีปัญหาในการขับถ่ายควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้อาการท้องผูกแย่ลง เช่น อาหารแช่แข็ง อาหารปรุงสำเร็จ อาหารฟาสต์ฟู้ดอย่างแฮมเบอร์เกอร์ ไก่ทอด พิซซ่า เพราะมีกากใยน้อย และนอกจากการเลือกรับประทานอาหารแล้ว ผู้ที่มีอาการท้องผูกควรดื่มน้ำมาก ๆ และหาเวลาออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหารและลำไส้ใหญ่ และช่วยให้ขับถ่ายได้คล่องขึ้น อาหารช่วยขับถ่าย มีอะไรบ้าง การรับประทานอาหารต่อไปนี้ในปริมาณที่เหมาะสมอาจช่วยในการขับถ่ายได้ ไฟเบอร์ (Fiber) ไฟเบอร์หรือเส้นใยอาหาร เป็นแหล่งอาหารของเชื้อจุลินทรีย์ชนิดดีในร่างกาย ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ เร่งให้ลำไส้บีบรัดตัวได้เร็วขึ้น และช่วยลดระยะเวลาที่อาหารอยู่ในลำไส้ อีกทั้งไฟเบอร์ยังช่วยดูดซึมน้ำ ช่วยเพิ่มน้ำหนักและขนาดของอุจจาระ จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการท้องผูกได้ อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารที่มีกากใยเพิ่มขึ้นจะช่วยการขับถ่ายได้ในกรณีที่อาการท้องผูกไม่รุนแรงเท่านั้น ร่วมกับต้องดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอเสมอ ตัวอย่างอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ เช่น ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวโอ๊ต เกล็ดรำข้าว ข้าวกล้อง ข้าวสาลี ข้าวโพด พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วขาว ถั่วดำ ถั่วลันเตา อัลมอนด์ ผัก เช่น แครอท บรอกโคลี ถั่วลันเตา กะหล่ำปลี […]


ข้อมูลโภชนาการ

เมล็ดทานตะวัน คุณค่าทางโภชนาการ ข้อควรระวังในการบริโภค

เมล็ดทานตะวัน เป็นธัญพืชที่นิยมรับประทานเป็นของว่าง มีเมล็ดยาวเฉลี่ย 7 มิลลิเมตร เปลือกหุ้มแข็งเป็นลายสีเทาและสีดำ ส่วนเนื้อข้างในเป็นสีขาวและมีรสชาติหวาน มีสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น โปรตีน แคลเซียม แมกนีเซียม วิตามินอี [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดทานตะวันแบบไม่คั่วเกลือ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 592 กิโลแคลอรี และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ ไขมัน 51 กรัม คาร์โบไฮเดรต 22.9 กรัม โปรตีน 20.1 กรัม ฟอสฟอรัส 1,140 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 483 มิลลิกรัม แคลเซียม 87 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 127 มิลลิกรัม โคลีน (Choline) 55.1 มิลลิกรัม วิตามินอี 36.3 มิลลิกรัม วิตามินซี 26.7 […]


โภชนาการพิเศษ

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ กับ เบาหวาน มีประโยชน์อย่างไร

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ (Riceberry) เป็นข้าวพันธุ์ไทยชนิดหนึ่งที่เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์ระหว่างข้าวจ้าวหอมนิลกับข้าวขาวดอกมะลิ เมล็ดข้าวเป็นสีม่วง เมื่อหุงสุกจะให้สัมผัสเหนียวหนึบ และสามารถบริโภคได้โดยไม่ต้องขัดสี ทั้งนี้ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เหมาะกับคนเป็นเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องควบคุมระดับน้าตาลในเลือด เนื่องจากข้าวไรซ์เบอร์รี่อุดมไปด้วยสารต่าง ๆ ที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ว่าจะเป็นแอนโธไซยานิน (Anthocyanins) กรามิสเตอรอล (Gramisterol) แกมมา โอริซานอล (Gamma Oryzanol) หรือเบตา แคโรทีน (Beta Carotene) [embed-health-tool-bmi] ไรซ์เบอร์รี่ คืออะไร ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เกิดจากการผสมข้าว 2 สายพันธุ์ คือ ข้าวหอมนิลและข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมล็ดเป็นสีม่วงเข้ม และให้รสสัมผัสนุ่มหนึบหลังหุงสุก ปัจจุบัน ข้าวชนิดนี้ปลูกมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีประโยชน์อย่างไรต่อผู้ป่วยเบาหวาน ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index) หรือค่าความเร็วของน้ำตาลในเลือดที่จะเพิ่มขึ้นหลังบริโภคเข้าร่างกาย ที่ 62 ซึ่งจัดอยู่ในระดับปานกลาง และต่ำกว่าค่าดัชนีน้ำตาลของข้าวโดยทั่วไปที่อยู่ที่ 73 จึงถือว่าเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป นอกจากนี้ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ยังมีสารต่าง ๆ ที่มีสรรพคุณร่วมในการบรรเทาหรือต้านเบาหวาน ด้วยการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป เช่น แอนโธไซยานิน กรามิสเตอรอล แกมมา […]


ข้อมูลโภชนาการ

ผักผลไม้ มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร

ผักผลไม้ เป็นอาหารสำคัญที่ร่างกายต้องการ เนื่องจากผักผลไม้อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี วิตามินบี แคลเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม ที่อาจช่วยลดความดันโลหิต ป้องกันโรคหัวใจและโรคมะเร็ง เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและการมองเห็น อีกทั้งยังมีไฟเบอร์สูง ซึ่งดีต่อระบบขับถ่ายอีกด้วย นอกจากนี้ ผักผลไม้ยังมีให้เลือกรับประทานหลากหลายชนิดตามความชอบไม่ว่าจะเป็น องุ่น แตงโม สับปะรด มะม่วง ส้ม ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ แตงกวา มะเขือเทศ ผักกาด คะน้า กะเพรา โหระพา เป็นต้น [embed-health-tool-bmi] สารอาหารในผักผลไม้ มีอะไรบ้าง สารอาหารในผักผลไม้ ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล ไฟเบอร์ ที่อาจช่วยเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย รวมถึงวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น วิตามินเอ เป็นวิตามินที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น เสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยบำรุงผิวให้แข็งแรง ตัวอย่างผักผลไม้มีที่มีวิตามินเอ เช่น เสาวรส แคนตาลูป มะม่วง ตำลึง ฟักทอง ผักโขม คะน้า วิตามินบี […]


โภชนาการพิเศษ

6 เมนูอาหารสำหรับคน ควบคุมน้ำตาลในเลือด และวิธีควบคุมน้ำตาลในเลือด

เมนูอาหารสำหรับคน ควบคุมน้ำตาลในเลือด มีประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการลดหรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ควรออกกำลังกายและปฏิบัติตามแผนการจัดการกับน้ำตาลในเลือดตามที่คุณหมอกำหนดร่วมด้วย เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ของดีของเมนูอาหารสำหรับคนควบคุมน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycaemia) ที่อาจทำให้เกิดอาการกระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย มองเห็นไม่ชัด ปวดหัว และอ่อนแรง ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน และช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ป้องกันเส้นประสาทบริเวณแขน ขา และเท้าเสียหายจากภาวะน้ำตาลสูง ที่อาจส่งผลให้แขนขาชา รู้สึกเสียวซ่า และมีอาการบวม ป้องกันภาวะเบาหวานขึ้นตาที่อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับดวงตา เช่น ต้อกระจก ตาพร่ามัว ต้อหิน ป้องกันภาวะเลือดเป็นกรด (Diabetic Ketoacidosis) ที่เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ร่างกายสร้างคีโตน (Ketone) หรือสารที่มีฤทธิ์เป็นกรดออกมาในปริมาณมาก ส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลีย หายใจเหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ลดความเสี่ยงเกิดอาการโคม่าจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก ที่อาจส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เกิดอาการชัก หมดสติ และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ตัวอย่าง เมนูอาหารสำหรับคนควบคุมน้ำตาลในเลือด 1. ผัดบรอกโคลีกุ้ง วัตถุดิบ น้ำมันมะกอก 1 ช้อนโต๊ะ กุ้งปอกเปลือก บร็อคโคลี่หั่น 1-2 หัว งา 1 ช้อนชา […]


โรคอ้วน

กินเบียร์อ้วนไหม เบียร์ส่งผลกระทบต่อสุขภาพด้านใดบ้าง

กินเบียร์อ้วนไหม เป็นคำถามที่นักดื่มหลายคนอาจสงสัย เบียร์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้จากกระบวนการหมักจากธัญพืช ที่คนนิยมดื่มเมื่อพบปะสังสรรค์หรือเพื่อผ่อนคลายความเครียด แต่การดื่มเบียร์มากเกินปริมาณที่เหมาะสมและต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับอักเสบ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจเสียหายที่อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว รวมถึงอาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และนำไปสู่โรคอ้วนได้ [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของเบียร์ เบียร์ 1 กระป๋อง ให้พลังงานประมาณ 153 กิโลแคลอรี (ขึ้นอยู่กับดีกรีของเบียร์) แอลกอฮอล์ 14 กรัม คาร์โบไฮเดรต 13 กรัม และโปรตีน 2 กรัม แม้ว่าหลายคนอาจมีความกังวลว่า กินเบียร์อ้วนไหม แต่ถ้าดื่มในปริมาณที่เหมาะสมก็อาจให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด เพิ่มมวลกระดูกที่ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ผ่อนคลายความเครียด และลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ จากการศึกษาในวารสาร PLoS One ปี พ.ศ. 2563 ที่ศึกษาเกี่ยวกับผลของการดื่มเบียร์ต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 69 บทความ พบว่า การดื่มเบียร์ในระยะสั้นในปริมาณไม่เกิน 1 ดื่มมาตรฐานต่อวันสำหรับผู้หญิง และไม่เกิน 2 ดื่มมาตรฐานต่อวันสำหรับผู้ชายอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด โดยช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด และเพิ่มระดับไขมันดี ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการศึกษในระยะยาวเพิ่มเติม เพื่อศึกษาประโยชน์ของเบียร์ต่อสุขภาพ กินเบียร์อ้วนไหม ? เบียร์ 1 […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

6 อาหารกินแล้วไม่อ้วน มีอะไรบ้าง

อาหารกินแล้วไม่อ้วน คืออาหารที่มีแคลอรี่ต่ำและทำให้อิ่มได้นาน เช่น อาหารประเภทผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี โปรตีน ไขมันดี แต่การรับประทานอาหารทุกชนิด ควรให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป เพราะอาจนำไปสู่โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคข้อเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือดได้ [embed-health-tool-bmi] ความอ้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร ความอ้วนมักเกิดจากการรับประทานอาหารมากเกินความต้องการในแต่ละวัน ส่งผลให้แคลอรี่ส่วนเกินกลายเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนี้ โรคข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากน้ำหนักตัวที่มากอาจทำให้มีอาการปวดข้อและกระดูกในข้อต่อเปราะบาง ระดับไขมันดีต่ำและระดับไขมันไม่ดีสูงขึ้น ร่วมกับมีไขมันสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จนทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นและมีไขมันอุดตันในหลอดเลือด  โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ โรคถุงน้ำดีในตับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคมะเร็ง ภาวะซึมเศร้า 6 อาหารกินแล้วไม่อ้วน มีอะไรบ้าง 6 อาหารกินแล้วไม่อ้วน มีดังนี้ 1. ข้าวโอ๊ต ข้าวโอ๊ตเป็นอาหารที่มีกากใยสูง ช่วยบำรุงสุขภาพลำไส้และสุขภาพหัวใจ ควบคุมน้ำตาลในเลือด และควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์จนนำไปสู่โรคอ้วน จากการศึกษาในวารสาร Nutrients เมื่อ ปี พ.ศ. 2559 ที่ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบระยะสั้นและระยะยาวของการรับประทานข้าวโอ๊ตต่อการควบคุมน้ำหนักและการเผาผลาญของกลูโคสในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีน้ำหนักเกิน จำนวน 298 […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

ค่าดัชนีมวลกาย มีความสัมพันธ์กับสุขภาพอย่างไร

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) คือ เครื่องมือชี้วัดที่นำน้ำหนักตัวและส่วนสูงมาคำนวณ เพื่อให้ทราบถึงว่าน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม หรือเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคขาดสารอาหาร โรคอ้วน หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีมวลกายเป็นเพียงการประเมินเบื้องต้น ไม่สามารถบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้เสมอไป โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่เล่นกีฬาและเล่นกล้าม เพราะน้ำหนักที่เกินเกณฑ์อาจเป็นผลมาจากมวลกล้ามเนื้อ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย ความสัมพันธ์ของค่าดัชนีมวลกายกับสุขภาพ การวัดค่าดัชนีมวลกาย มีความสำคัญต่อสุขภาพเนื่องจากอาจทำให้ทราบได้ว่าน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ใด ต่ำกว่าเกณฑ์หรือมากกว่าเกณฑ์หรือไม่ เพื่อวางแผนการเพิ่มน้ำหนัก ลดน้ำหนัก หรือควบคุมน้ำหนักให้ค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพ ดังต่อไปนี้ ค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่าเกณฑ์ คือผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่า 18.5 ซึ่งอาจเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้ ภาวะขาดสารอาหาร โรคกระดูกพรุน โรคโลหิตจาง ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ปัญหาด้านการเจริญพันธุ์ เช่น ประจำเดือนขาด ประจำเดือนมาไม่ปกติ ค่าดัชนีมวลกายสูงกว่าเกณฑ์ คือผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายสูงกว่า 23 ขึ้นไป ซึ่งอาจเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้ โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง ภาวะคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคข้อเข่าเสื่อม ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคตับ โรคมะเร็ง นอกจากนี้ ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายสูงกว่าเกณฑ์และเป็นโรคโควิด-19 อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอีกด้วย วิธีคำนวณค่าดัชนีมวลกาย วิธีคำนวณค่าดัชนีมวลกายในเด็กและผู้ใหญ่ สามารถทำได้ดังนี้ วิธีคำนวณค่าดัชนีมวลกาย ในผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป สามารถคำนวณหาค่า […]


ข้อมูลโภชนาการ

ไขมัน ประโยชน์ และข้อควรระวังการบริโภค

ไขมัน ประโยชน์ ที่สำคัญ คือ แหล่งพลังงานและช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินบางชนิดจากอาหารที่รับประทานได้ อย่างไรก็ตาม หากรับประทานไขมันในปริมาณมากเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ และก่อให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ดังนั้น จึงควรศึกษาเกี่ยวกับไขมันที่มีประโยชน์และโทษต่อร่างกาย รวมถึงปริมาณไขมันที่ควรรับประทานต่อวัน [embed-health-tool-bmi] ไขมัน คืออะไร ไขมัน คือ สารอาหารที่เป็นแหล่งพลังงานให้กับร่างกาย ร่างกายสามารถสังเคราะห์ไขมันได้เองบางส่วนและมีบางชนิดจำเป็นต้องได้รับผ่านทางอาหารที่รับประทาน โดยอาจแบ่งออกได้เป็นไขมันดีและไขมันไม่ดี ดังนี้ ไขมันดี หรือไขมันไม่อิ่มตัว เป็นไขมันที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยปรับปรุงระดับคอเลสเตอรอลในเลือด บรรเทาอาการอักเสบ และช่วยควบคุมอัตราการเต้นของจังหวะหัวใจ ไขมันไม่อิ่มตัวแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว คือ กรดไขมันชนิดที่มีพันธะคู่ 1 ตำแหน่งในโมเลกุล อีกทั้งยังมีลักษณะเป็นของเหลวเมื่ออยู่ในอุณหภูมิห้อง และจะแข็งตัวเมื่ออยู่ในอุณหภูมิต่ำหรือเย็นมาก พบได้ใน เมล็ดฟักทอง อะโวคาโด เมล็ดทานตะวัน น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันงา เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์ ถั่วลิสง เป็นต้น ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน คือ กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่มากกว่า 1 ตำแหน่งขึ้นไป […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน