banner

แบบประเมินความเสี่ยงสุขภาพหญิง

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงวัยหมดประจำเดือน

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งปากมดลูก ออนไลน์ – Hello คุณหมอ

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งรังไข่ ออนไลน์ – Hello คุณหมอ

ทำความเข้าใจกับสุขภาพผู้หญิง

สุขภาพทางเพศ

ปวดท้องน้อยก่อนเป็นประจําเดือน สาเหตุเกิดจากอะไร

ปวดท้องน้อยก่อนเป็นประจําเดือน คือ อาการปวดหน่วงบริเวณท้องน้อย และอาจปวดไปจนถึงหลังหรือต้นขา เกิดจากฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อขับเยื่อบุโพรงมดลูกออกมาในช่วงที่เป็นประจำเดือน อาการนี้อาจรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่ละคน และความรุนแรงของอาการอาจลดลงเมื่ออายุมากขึ้น และอาจหายไปได้เองหลังมีบุตร นอกจากนี้ อาการปวดท้องยังอาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนบางประการ เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกมดลูก หากอาการปวดรุนแรงจนกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน ควรไปพบคุณหมอเพื่อรักษาอาการปวดท้องน้อยก่อนเป็นประจำเดือน และวินิจฉัยเพิ่มเติมในกรณีที่อาจมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย [embed-health-tool-ovulation] ปวดท้องน้อยก่อนเป็นประจําเดือน เกิดจากอะไร การปวดท้องน้อยก่อนเป็นประจำเดือน อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ ปวดประจำเดือนปฐมภูมิ (Primary dysmenorrhea) เป็นอาการปวดประจำเดือนทั่วไป ที่เกิดจากสารพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandins) กระตุ้นกล้ามเนื้อมดลูกให้บีบตัวและหดเกร็งเพื่อขับเยื่อบุโพรงมดลูกออกมาเป็นประจำเดือน หากมดลูกหดตัวรุนแรงเกินไป อาจไปกดทับหลอดเลือดบริเวณใกล้เคียง และขัดขวางการส่งออกซิเจนไปเลี้ยงบริเวณมดลูกได้ เมื่อมดลูกขาดออกซิเจนไปหล่อเลี้ยง จึงทำให้เกิดอาการปวดท้องและมีตะคริว การปวดประจำเดือนลักษณะนี้มักมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ อาการปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้ ที่เป็นผลมาจากระดับฮอร์โมนแปรปรวน ปวดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary Dysmenorrhea) เป็นอาการ ปวดท้องน้อยก่อนประจำเดือน และระหว่างเป็นประจำเดือนที่รุนแรงและเรื้อรัง อาจเกิดได้จากปัญหาสุขภาพ ดังต่อไปนี้ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis externa) เกิดจากเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกฝังตัวและเจริญผิดที่ โดยอาจเข้าไป โดยอาจเข้าไปอยู่ภายนอกมดลูก เช่น บริเวณท่อนำไข่ รังไข่ ลำไส้ หรือภายในช่องอุ้งเชิงกราน ทำให้เกิดพังผืดหรือเป็นถุงน้ำหรือช็อกโกแลตซีสต์ ภาวะมดลูกโต (Adenomyosis) […]

ปัญหาสุขภาพหญิงที่พบบ่อย

การดูแลตัวเอง

สิว

สิว อาการ สาเหตุ และการรักษา

สิว คือ การอักเสบของผิวหนังที่อาจเกิดจากการอุดตันของน้ำมัน และเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ร่วมกับการติดเชื้อแบคทีเรีย ( P. Acne) ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยเฉพาะวัยรุ่น และผู้หญิงวัยกลางคนที่ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ช่วงมีประจำเดือน ตั้งครรภ์ หรือผู้ที่มีกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ  (Polycystic ovarian syndrome) การรักษาสิวจึงอาจขึ้นอยู่สาเหตุและความรุนแรงของสิว ยิ่งเข้ารับการรักษาเร็วอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดสิวรุนแรงมากขึ้นได้ [embed-health-tool-ovulation] คำจำกัดความ สิว คืออะไร สิว คือ ภาวะทางผิวหนังที่เกิดขึ้นได้เมื่อรูขุมขนอุดตันด้วยน้ำมัน และเซลล์ผิวที่ตายแล้ว รวมทั้งการติดเชื้อแบคทีเรีย P. Acne อาจทำให้เกิดเป็นสิวหัวขาว สิวหัวดำ หรือสิวอักเสบ ซึ่งสิวสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่มักพบบ่อยในวัยรุ่น หรือวัยกลางคนที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนมาก อาการ อาการสิว อาการของสิวอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะและความรุนแรงของสิว ดังนี้ สิวหัวดำ ลักษณะรูขุมขนเปิด  ตุ่มเป็นสีดำ สามารถกดออกได้ในระยะนี้ สิวหัวขาว ลักษณะคล้ายสิวหัวดำ รูขุมขนปิด อาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นเมื่อบีบออก สิวมีเลือดคั่ง เป็นตุ่มหน่องเล็ก ๆ ที่มีเลือดปนที่อาจเจ็บปวด สิวตุ่มหนอง มีลักษณะคล้ายสิวมีเลือดคั่ง แต่มีจุดสีขาวอยู่ตรงกลางสิว เกิดจากการสะสมของหนอง ซีสต์ เป็นก้อนหนองขนาดใหญ่ใต้ผิวหนัง มีอาการเจ็บปวด เสี่ยงเกิดแผลเป็นถาวร สาเหตุ สาเหตุสิว สิวอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย […]

การคุมกำเนิด

ฝังยาคุมกำเนิด ดีหรือไม่ เหมาะกับใคร

การ ฝังยาคุม เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ออกฤทธิ์ได้นาน สามารถใช้คุมกำเนิดระยะยาวได้ถึง 3-5 ปี ขึ้นอยู่กับยี่ห้อที่เลือกใช้ การฝังยาคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง สามารถฝังและนำออกยาคุมออกได้อย่างรวดเร็ว อาจไม่ต้องผ่าตัดหรือใช้เวลาพักฟื้นนาน อีกทั้งยังไม่ต้องกินยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นประจำทุกเดือน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่สนใจป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยการใช้ยาคุมแบบฝังควรศึกษาถึงประโยชน์และผลข้างเคียงให้ถี่ถ้วน จะได้ทราบว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมกับตัวเองหรือไม่ [embed-health-tool-ovulation] ยาคุมกำเนิดแบบฝังทำงานอย่างไร การใช้ยาคุมกำเนิดแบบฝังสามารถทำได้โดยการฝังหลอดยาขนาดเล็ก ยืดหยุ่นสูง ขนาดประมาณ 4 เซนติเมตรหรือประมาณไม้ขีดไฟไว้ใต้ผิวหนังบริเวณท้องแขนท่อนบนของแขนข้างที่ไม่ถนัด ภายในหลอดยาจะบรรจุฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) หรือบางครั้งเรียกว่า โปรเจสโตเจน (Progestogen) ซึ่งจะค่อย ๆ ถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดประมาณวันละ 70-60 ไมโครกรัม ตัวฮอร์โมนจะไปกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อลง ทำให้ตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกได้ยากขึ้น กระตุ้นให้มูกมดลูกเหนียวข้นจนอสุจิเข้าไปสู่ปากมดลูกได้ยากขึ้น ทั้งยังมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของไข่และป้องกันไม่ให้มีการตกไข่ สามารถใช้คุมกำเนิดระยะยาวได้นานถึง 3-5 ปี ประโยชน์ของการ ฝังยาคุม ประโยชน์ของการฝังยาคุมกำเนิด อาจมีดังนี้ สามารถคุมกำเนิดอย่างได้ผลและมีประสิทธิภาพ ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน อาจมีอาการปวดท้องน้อยลง นอกจากนี้ รอบเดือนอาจมีระยะเวลาสั้นลงหรืออาจไม่มาเลย ใช้สะดวก อาจไม่ต้องกังวลเรื่องวิธีใช้ที่ถูกต้องเหมือนการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น เช่น ถุงยาง ยาเม็ดคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด ไม่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเอสโตรเจน จึงไม่เกิดผลข้างเคียง เช่น วิงเวียนศีรษะ อารมณ์แปรปรวนง่าย เหมือนกับการกินยาเม็ดคุมกำเนิด […]

สุขภาพทางเพศ

รีแพร์ กระชับช่องคลอด เหมาะกับใคร มีความเสี่ยงอย่างไร

รีแพร์ (Repair) เป็นการผ่าตัดตกแต่งช่องคลอดเพื่อซ่อมแซมกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่หย่อนยานก่อนวัยอันควร เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งเป็นเวลานาน การตั้งครรภ์ การคลอดบุตรหลายคน การทำรีแพร์อาจช่วยให้ช่องคลอดกระชับและเล็กลง ส่งผลให้การหดรัดตัวของช่องคลอดดีขึ้น [embed-health-tool-ovulation] รีแพร์ คืออะไร รีแพร์ คือ การผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อที่หย่อนยานบริเวณช่องคลอด รวมทั้งเนื้อเยื่อและผิวหนังบริเวณปากช่องคลอดให้มีขนาดเล็กลง กระชับขึ้น ส่งผลให้การหดรัดตัวของช่องคลอดดีขึ้น โดยการทำรีแพร์อาจเหมาะกับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งเป็นเวลานาน การตั้งครรภ์ การคลอดทางช่องคลอด การคลอดบุตรหลายคน ทารกในครรภ์มีขนาดตัวใหญ่ มีภาวะอ้วน วัยทอง เป็นต้น ซึ่งภาวะช่องคลอดหย่อนยานอาจส่งผลต่อความมั่นใจเมื่อต้องมีเพศสัมพันธ์ ทั้งยังอาจทำให้เกิดปัญหา เช่น กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ดเมื่อไอหรือจาม รีแพร์ เหมาะสำหรับใคร การทำรีแพร์อาจเหมาะกับผู้ที่มีพฤติกรรมบางอย่างหรือเกิดจากปัจจัยสุขภาพที่ทำให้ช่องคลอดหลวมหรือเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน  ได้แก่ มีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งเป็นเวลานาน การตั้งครรภ์ การคลอดทางช่องคลอด การคลอดบุตรหลายคน ทารกในครรภ์มีขนาดตัวใหญ่ อายุมากขึ้น วัยทอง มีภาวะอ้วน ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมที่ออกแรงเกร็งท้องเป็นประจำ เช่น ยกของหนัก เล่นกีฬา ออกกำลังกายอย่างหนัก โรคประจำตัวบางอย่าง เช่น ไอเรื้อรัง จาม ท้องผูกเรื้อรัง มีก้อนเนื้อในช่องท้อง รีแพร์ ทำแล้วอยู่ถาวรหรือไม่ การทำรีแพร์เป็นวิธีที่ช่วยกระชับช่องคลอด โดยอาจเริ่มเห็นผลตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ ซึ่งอาจช่วยให้ช่องคลอดกระชับได้นาน 8-12 เดือน และสามารถกลับมาทำซ้ำได้ตามต้องการ แต่ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อยประมาณ […]

สิว

ยาคุมลดสิว ประโยชน์และผลข้างเคียงของการรักษาสิวด้วยฮอร์โมน

สิวเป็นโรคผิวหนังที่พบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย อาจเกิดจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง ผู้หญิงบางคนมีสิวขึ้นก่อนมีประจำเดือนเนื่องจากระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงในระหว่างรอบเดือน บางคนอาจเกิดสิวได้แม้จะผ่านช่วงวัยรุ่นไปหลายปีแล้ว หรือแม้แต่วัยหมดประจำเดือนก็สามารถเกิดสิวได้เช่นกัน การรักษาสิวทำได้หลายวิธี เช่น การทายารักษาสิว การฉีดสิว รวมถึงการใช้ ยาคุมลดสิว ยาคุมกำเนิดจะช่วยควบคุมฮอร์โมนในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ ซึ่งอาจช่วยลดสิวได้ ทั้งนี้ การใช้ยาคุมกำเนิดเพื่อรักษาสิวอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับทุกคน ก่อนเริ่มการรักษาควรศึกษาถึงประโยชน์และความเสี่ยงในการใช้ยา และควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรเพื่อให้ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับยาที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาคุมลดสิวได้ด้วย [embed-health-tool-bmi] ยาคุมช่วยในการลดสิวได้อย่างไร สิวที่เกิดขึ้นบนใบหน้าอาจเกิดจากต่อมไขมันใต้ผิวหนังผลิตซีบัม (Sebum) หรือน้ำมันตามธรรมชาติของผิวหนังในปริมาณมากกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากรังไข่และต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนเพศชายหรือฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgens) เช่น ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) มากเกินไป เมื่อน้ำมันส่วนเกินและสิ่งสกปรก เช่น ฝุ่น เข้าไปอุดตันรูขุมขน อาจส่งผลให้กระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิวได้ การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศชายที่ผลิตจากรังไข่และต่อมหมวกไตของผู้หญิงสามารถก่อให้เกิดสิวได้ การใช้ยาคุมลดสิวที่ประกอบไปด้วยฮอร์โมนรวมทั้งเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน จึงเป็นทางเลือกที่อาจช่วยลดปริมาณฮอร์โมนเพศชายในร่างกาย ส่งผลให้ความมันส่วนเกินน้อยลงและอาจลดความรุนแรงของปัญหาสิวได้ ประโยชน์ของการใช้ ยาคุมลดสิว ประโยชน์ของการใช้ ยาคุมลดสิว อาจมีดังนี้ ช่วยลดการแพร่กระจายของสิว ลดการเกิดสิวผด ลดการอักเสบและรอยแดง ประเภทยาคุมที่ช่วยในการรักษาสิว ยาคุมที่ใช้ในการรักษาสิวจะเป็นยาในกลุ่มฮอร์โมนรวม (Combined Oral Contraceptive - COC) โดยแต่ละประเภทจะประกอบไปด้วยเอทินิล เอสตราไดออล (Ethinyl estradiol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ที่คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในปริมาณต่ำ และมีฮอร์โมนสังเคราะห์ที่คล้ายโปรเจสเตอโรนที่ต่างชนิดกันไป เช่น ยานอร์เจสทิเมทและเอทินิล เอสตราไดออล (Norgestimate, […]

การดูแลและทำความสะอาดผิว

รูขุมขนกว้างใช้อะไรดี และเคล็ดลับที่อาจช่วยกระชับรูขุมขน

รูขุมขนกว้างใช้อะไรดี เป็นคำถามที่หลายคนต้องการคำตอบ แม้จะไม่มีวิธีที่สามารถลดขนาดรูขุมขนจนทำให้ผิวหน้าดูเรียบเนียนจนมองไม่เห็นรูขุมขน แต่ก็อาจมีวิธีดูแลผิวที่มีส่วนช่วยให้รูขุมขนดูกระชับและดูเล็กลงได้ เช่น การใช้ครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนช่วยผลัดเซลล์ผิว การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเรตินอล รูขุมขนกว้างเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การทำความสะอาดผิวอย่างผิดวิธี ผิวโดนแสงแดดทำร้าย การดูแลผิวอย่างถูกวิธีอาจเป็นวิธีที่จะช่วยให้รูขุมขนผิวหน้าแลดูกระชับและดูเล็กลงได้ สาเหตุที่ทำให้รูขุมขนกว้าง สาเหตุที่ทำให้รูขุมขนกว้าง อาจมีดังนี้ กรรมพันธุ์ ผิวหนังขับน้ำมันออกมามากเกินไป เมื่อต่อมไขมันใต้ผิวผลิตไขมันออกมาในปริมาณมาก อาจทำให้รูขุมขนขยายได้ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ผิวจะสูญเสียคอลลาเจนที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของผิวและความยืดหยุ่นรอบรูขุมขน เมื่อคอลลาเจนในชั้นผิวน้อยลง จึงทำให้รูขุมขนกว้างขึ้น การทำความสะอาดผิวที่ไม่ถูกวิธี เช่น การใช้ครีมบำรุงที่ไม่เหมาะกับสภาพผิว การไม่ล้างหน้าทุกวัน ซึ่งอาจส่งผลให้ระดับไขมันบนใบหน้าไม่สมดุล หรือมีสิ่งสกปรกตกค้างอยู่ในรูขุมขน จนทำให้รูขุมขนกว้างขึ้นได้ สิวอุดตันและสิวหัวดำที่เกิดขึ้นในบริเวณเดิมซ้ำอยู่บ่อยครั้ง มีส่วนทำให้รูขุมขนขยายออกและเป็นสาเหตุให้รูขุมขนกว้าง แสงแดดมีส่วนทำให้รูขุมขนกว้างขึ้นได้ เนื่องจากมีรังสียูวีเอ (UVA) ที่เข้าไปทำลายคอลลาเจนและอีลาสตินในชั้นผิว ทำให้ผิวขาดความยืดหยุ่นและขยายรูขุมขนให้กว้างขึ้น รูขุมขนกว้างใช้อะไรดี วิธีต่อไปนี้ อาจมีส่วนช่วยให้รูขุมขนดูเล็กลงได้ เลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าที่ไม่มีส่วนผสมที่ทำให้รูขุมขนอุดตัน อาจเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากระบุว่า Non-Comedogenic ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดสิวและรูขุมขนกว้างได้ ใช้ครีมกันแแดดเป็นประจำ อาจมีส่วนช่วยลดโอกาสที่จะทำให้รูขุนขนกว้างได้ เนื่องจากครีมกันแดดจะช่วยป้องกันไม่ให้รังสียูวีเอ (UVA) ทะลุเข้าไปในชั้นผิวและทำลายเส้นใยโปรตีนหรือคอลลาเจนในผิวที่ช่วยเสริมสร้างความกระชับให้กับรูขุมขน โดยอาจเลือกครีมกันแดดสูตรบรอดสเปกตรัม (Broad Spectrum) ที่มาพร้อมค่า PA ซึ่งอาจช่วยป้องกันรังสียูวีเอ (UVA) ที่เป็นรังสีคลื่นความถี่กว้างได้ ทั้งนี้ […]

การดูแลและทำความสะอาดผิว

วิธีแก้ขาแตกลาย ทำได้อย่างไรบ้าง

ขาลาย หรือขาแตกลาย เป็นหนึ่งในปัญหาทางผิวหนัง ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ตั้งครรภ์ ลดน้ำหนักกะทันหันจนเกิดเนื้อส่วนเกิน และมีรอยแตกลายเนื่องจากผิวหนังขยายตัวมาก ๆ ขาแตกลายอาจไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่อาจส่งผลทำให้วิตกกังวล ขาดความมั่นใจ ไม่กล้าใส่กางเกงขาสั้น กระโปรงสั้น หรือชุดว่ายน้ำ ซึ่งรอยแตกที่ขามักจางลงแต่ไม่หายสนิท หากรักษาด้วย วิธีแก้ขาลาย หรือขาแตกลายเองแล้ว รอยยังไม่บรรเทาลง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเพื่อรักษาตามขั้นตอน   สาเหตุการเกิดขาแตกลาย  ขาลายหรือขาแตกลายอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้  ลดน้ำหนัก หรือน้ำหนักเพิ่มขึ้นเร็วเกินไป อาจทำให้ผิวหนังยืด หรือหดไม่ทัน อาจส่งผลให้เกิดขาแตกลาย หรือเกิดผิวเปลือกส้มได้ เพาะกาย อาจทำให้กล้ามเนื้อนูนขึ้น และทำให้เกิดขาแตกลาย การตั้งครรภ์ เนื่องจากผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผิวหนังยืดไม่ทัน และอาจทำให้ขาแตกลายได้  การใช้สเตียรอยด์ ยาสเตียรอยด์อาจทำให้การผลิตคอลลาเจนผิวหนังลดลง และสูญเสียความชุ่มชื้น ส่งผลให้ขาแตกลายได้  ปัญหาทางด้านสุขภาพ เช่น คุชชิ่งซินโดรม (Cushing’s Syndrome) เกิดจากร่างกายมีฮอร์โมนคอลติซอล (Cortisol) มากเกินไป อาจทำให้เกิดการกินจุ กินบ่อย และส่งผลทำให้เกิดภาวะอ้วน ผิวหนังและกล้ามเนื้อยืด จนขาแตกลาย วิธีแก้ขาลาย หรือขาแตกลาย ขาลายหรือขาแตกลายอาจรักษาได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้  หลีกเลี่ยงการเพิ่มน้ำหนักเร็วเกินไป เนื่องจากอาจทำให้ผิวหนังยืดไม่ทัน […]

เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพอื่น ๆ

ประจำเดือนและการตั้งครรภ์