สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

สำรวจ สุขภาพเด็ก

ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

Cerebral palsy คือ ภาวะสมองพิการในเด็ก สาเหตุ อาการ การรักษา

ภาวะสมองพิการ หรือ Cerebral palsy คือ กลุ่มอาการของโรคทางสมองที่ส่งผลให้เด็กมีความผิดปกติด้านเคลื่อนไหวและการประสานงานของกล้ามเนื้ออย่างถาวร เช่น ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง แขนขาอ่อนแรง เดินเขย่งปลายเท้า โดยอาการที่พบในเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันไปตามระดับความเสียหายในสมอง แม้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตและช่วยให้เด็กสามารถเจริญเติบโตและมีพัฒนาการใกล้เคียงปกติได้มากที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] Cerebral palsy คือ อะไร ภาวะสมองพิการ หรือ Cerebral palsy คือ กลุ่มอาการผิดปกติในระบบประสาทที่เกิดขึ้นบริเวณส่วนสั่งการของเปลือกสมองซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ความผิดปกตินี้เกิดขึ้นในช่วงที่เปลือกสมองยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้เปลือกสมองเสียหายและส่งผลกระทบต่อความสามารถของสมองในการควบคุมการเคลื่อนไหวและความสมดุลของร่างกายอย่างถาวร ความเสียหายของสมองอาจเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ระหว่างคลอด หรือภายใน 1-2 ปีแรกหลังคลอด ทั้งนี้ อาการของภาวะสมองพิการจะไม่ปรากฏตั้งแต่แรกเกิด แต่จะค่อย ๆ แสดงให้เห็นในช่วงเป็นเด็กทารกหรือเด็กก่อนวัยเรียน ส่วนใหญ่แล้ว ขอบเขตความเสียหายภายในสมองของเด็กที่มีภาวะนี้จะไม่เพิ่มขึ้นตามอายุ แต่อาการของโรคอาจเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีอาการชัดเจนขึ้น มีอาการน้อยลง สาเหตุของ Cerebral palsy คืออะไร โดยทั่วไปแล้ว สาเหตุของภาวะสมองพิการ หรือ Cerebral palsy คือ ความผิดปกติของพัฒนาการสมอง หรือสมองได้รับความเสียหายขณะที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ซึ่งมักเกิดขึ้นขณะทารกยังอยู่ในครรภ์ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นหลังคลอด หรือในวัยทารกตอนต้นได้เช่นกัน ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะสมองพิการ อาจมีดังนี้ […]


สุขภาพเด็ก

อาการลองโควิดในเด็ก สาเหตุและวิธีรักษาที่เหมาะสม

อาการลองโควิดในเด็ก (Long Covid) เป็นภาวะที่เด็กซึ่งหายจากโรคโควิด-19 แล้วยังมีอาการของโรคโควิด 19 อยู่หรือมีอาการใหม่ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การรักษาทำได้ด้วยการรักษาตามอาการ โดยทั่วไป อาการลองโควิดจะดีขึ้นภายใน 1-5 เดือน แม้ภาวะนี้จะไม่รุนแรง แต่ก็เป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังที่จำเป็นต้องติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง ทางที่ดีที่สุดคือ การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) หรือโรคโควิด 19 ตั้งแต่แรก ด้วยการให้เด็กฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้ครบ 2 เข็ม และไปฉีดเข็มกระตุ้นตามคำแนะนำของคุณหมอ พร้อมกับรักษาสุขอนามัยให้ดี เช่น ล้างมือบ่อย ๆ สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ [embed-health-tool-vaccination-tool] อาการลองโควิดในเด็ก เกิดจากอะไร ในขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าอาการลองโควิดในเด็กเกิดจากสาเหตุใด แต่พบว่าอาการนี้เกิดขึ้นบ่อยกับเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพบางประการ เช่น เด็กที่มีโรคอ้วน เด็กที่มีภาวะสุขภาพที่ทำให้ร่างกายจะอ่อนแอกว่าปกติ เช่น โรคหอบหืด โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) ทั้งนี้ เด็กที่มีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการเลยเมื่อเป็นโรคโควิด 19 ก็สามารถเกิดอาการลองโควิดได้เช่นกัน อาการลองโควิดในเด็ก เป็นอย่างไร อาการลองโควิดในเด็ก เป็นภาวะที่เด็กซึ่งหายจากโรคโควิด 19 คือไม่มีเชื้ออยู่ในร่างกายแล้ว ยังคงมีอาการของโรคหลงเหลืออยู่ หรือบางกรณีก็อาจเกิดอาการผิดปกติที่ไม่เคยเป็นตอนป่วยเป็นโรคโควิด 19 และมักไม่สามารถวินิจฉัยหาสาเหตุได้ ภาวะนี้มักพบในเด็กอายุตั้งแต่ 10 […]


ภาวะทุพโภชนาการ

เด็กขาดสารอาหาร เกิดจากอะไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

เด็กขาดสารอาหาร เป็นภาวะที่เกิดจากการร่างกายของเด็กขาดสารอาหารที่จำเป็นในการเจริญเติบโต จนมักส่งผลให้พัฒนาการแต่ละด้านของเด็กไม่เป็นไปตามวัย เช่น ทำให้เด็กเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ตัวเล็กกว่าเด็กในวัยเดียวกัน น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ช้ากว่าปกติ  คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลเอาใจใส่โภชนาการของเด็กอยู่เสมอ ด้วยการให้เด็กรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการในปริมาณที่เหมาะสม เพราะอาจช่วยป้องกันภาวะขาดสารอาหารในเด็กได้ [embed-health-tool-bmi] ภาวะขาดสารอาหาร คืออะไร ภาวะขาดสารอาหาร  (Malnutrition) คือภาวะที่ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ ไขมัน อาจเกิดจากรับประทานอาหารน้อยเกินไป หรือจากการที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้อย่างเต็มที่ เป็นต้น จนส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย ทั้งยังอาจทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้าและเติบโตไม่สมวัย เมื่อขาดพลังงาน ร่างกายจะสลายเนื้อเยื่อของตัวเองและเริ่มดึงไขมันที่สะสมในร่างกายมาใช้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ จากนั้นจะสลายสารอาหารอย่างโปรตีนในกล้ามเนื้อ ผิวหนัง ผม และเล็บ มาใช้เป็นพลังงาน จนเด็กดูซูบผอมและเจริญเติบโตช้าลง ภาวะขาดสารอาหารยังอาจทำให้การทำงานของร่างกายผิดปกติ โดยอาจเริ่มจากระบบคุ้มภูมิกัน เด็กที่มีภาวะขาดสารอาหารจึงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหรือติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ ทั้งยังอาจหายป่วยหรือแผลหายได้ช้าลง นอกจากนี้ การทำงานของหัวใจยังอาจช้าลงไปด้วย ทำให้ความดันโลหิตต่ำลง ส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เด็กรู้สึกเบื่ออาหารจนไม่รับประทานอาหารตามปกติ และอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบในร่างกาย เช่น สมอง อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ไม่สนใจตัวเอง เก็บตัวไม่สุงสิงกับผู้อื่น หัวใจ อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ไต อาจทำให้เกิดภาวะร่างกายมีน้ำเกินหรือมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากไตไม่สามารถควบคุมสมดุลของเหลวในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติได้ […]


วัคซีน

ฉีด วัคซีน ทารก 2 เดือน ต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง

คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่าทารกในวัย 2 เดือนควรฉีดวัคซีนอะไรบ้าง โดยทั่วไป การ ฉีด วัคซีน ทารก 2 เดือน จะฉีดวัคซีนพื้นฐาน 2 ชนิด คือ วัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี และ ฮิบ ซึ่งเป็นวัคซีนรวมที่ครอบคลุมโรคหลายชนิด และวัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดหยอดหรือชนิดฉีด ทั้งนี้ หากคุณพ่อคุณแม่สนใจให้เด็กทารกวัย 2 เดือนรับวัคซีนป้องกันโรคเพิ่มเติม เช่น วัคซีนโรต้า วัคซีนนิวโมคอคคัส ก็สามารถทำได้เช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ฉีด วัคซีน ทารก 2 เดือน มีวัคซีนอะไรบ้าง วัคซีนป้องกันโรคในทารกอายุ 2 เดือน อาจมีดังนี้ วัคซีนพื้นฐาน วัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี-ฮิบ (DTP-HB1-Hib) เริ่มฉีดเข็มแรกตอนเด็กอายุ 2 เดือน และจะฉีดอีก 4 ครั้ง เมื่อเด็กมีอายุ 4 เดือน 6 เดือน 1 ปี 6 เดือน และ 12 ปี […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

อาการเด็กสมาธิสั้น เป็นอย่างไร และวิธีดูแลเด็กสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น เป็นโรคบกพร่องทางพฤติกรรม เกิดจากสมองส่วนที่ส่งผลต่อการควบคุมสมาธิและพฤติกรรม รวมถึงสารสื่อประสาทในสมองทำงานผิดปกติ พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน และมักส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้และการปรับตัวเข้ากับเด็กในวัยเดียวกัน อาการเด็กสมาธิสั้น ที่พบทั่วไป เช่น อยู่ไม่สุข กระสับกระส่าย ขาดสมาธิ จดจ่อกับอะไรไม่ได้นาน หากพบว่าเด็กมีอาการ ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่สมวัยและควบคุมโรคสมาธิสั้นให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันน้อยที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคสมาธิสั้น คืออะไร โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder หรือ ADHD) เป็นโรคที่เกิดจากสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสมาธิ พฤติกรรมและการแสดงออกของเด็กผิดปกติ ส่งผลให้เด็กว่อกแว่ก ซนกว่าเด็กทั่วไป ขาดสมาธิในการทำสิ่งต่าง ๆ และอาจกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้างทั้งที่บ้านและโรงเรียน โรคสมาธิสั้นมักได้รับการวินิจฉัยในช่วงอายุ 3-7 ปี และพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง ในเด็กผู้ชายมักพบว่ามีอาการอยู่ไม่นิ่งเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่เด็กผู้หญิงมีอาการขาดสมาธิ และแสดงพฤติกรรมก่อกวนน้อยกว่า ซึ่งอาจทำให้เด็กผู้หญิงที่เป็นโรคสมาธิสั้นได้รับการวินิจฉัยช้าเนื่องจากมีพฤติกรรมแสดงออกไม่เด่นชัดเท่าเด็กผู้ชาย โดยทั่วไปโรคสมาธิสั้นจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น แต่บางกรณีก็อาจเป็นโรคสมาธิสั้นไปจนถึงเป็นผู้ใหญ่ และบางรายก็อาจได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้นตอนโต กลุ่มที่ยังคงมีอาการจนเข้าวันผู้ใหญ่อาจเกิดโรคร่วมอื่นๆ ตามมาได้เช่น โรคพฤติกรรมต่อต้านสังคม (antisocial personality disorder) ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้นในเด็ก อาจมีดังนี้ ปัจจัยทางพันธุกรรม เด็กที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคสมาธิสั้น เสี่ยงเกิดโรคนี้ได้มากกว่าเด็กทั่วไป การคลอดก่อนกำหนด ความเสี่ยงในการเป็นโรคสมาธิอาจเพิ่มขึ้น […]


สุขภาพเด็ก

จัด ฟัน เด็ก ดีอย่างไร อายุเท่าไหร่ถึงจะจัดฟันได้

จัด ฟัน เด็ก เป็นวิธีการรักษาปัญหาทันตกรรม เช่น ฟันผุ ฟันหน้ายื่น ฟันเก ฟันไม่สมมาตร ฟันห่าง ฟันสบลึก ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาการบดเคี้ยวอาหารที่ผิดปกติ ปัญหาความสวยงามของรอยยิ้มและใบหน้า ซึ่งการจัดฟันอาจช่วยให้เด็ก ดูแลสุขภาพช่องปากได้ง่ายขึ้น และยังช่วยเสริมความมั่นใจในการใช้ชีวิต โดยเด็กจะเริ่มจัดฟันได้เมื่ออายุประมาณ 12 ปีขึ้นไป หรือเมื่อฟันน้ำนมหลุดออกจนหมดและมีฟันแท้ที่เจริญเติบโตเต็มที่ [embed-health-tool-vaccination-tool] จัด ฟัน เด็ก ทำได้เมื่ออายุเท่าไหร่ จัดฟันเด็กสามารถทำได้เมื่อเด็กมีอายุประมาณ 12 ปีขึ้นไป หรือเมื่อฟันน้ำนมหลุดออกจนหมดและมีฟันแท้ที่เจริญเติบโตเต็มที่ โดยคุณหมออาจแนะนำให้จัดฟันได้ตั้งแต่อายุยังน้อย หากพบว่าการเรียงตัวของฟันผิดปกติหรือมีปัญหาสุขภาพช่องปาก เนื่องจากกรามของเด็กยังคงมีความยืดหยุ่นมากและตอบสนองต่อการรักษาได้ดี จึงช่วยให้ฟันสามารถเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่เหมาะสมได้เร็วขึ้น และอาจช่วยลดระยะเวลาในการจัดฟัน สำหรับระยะเวลาในการจัดฟันของเด็กแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัญหาของฟันและการวินิจฉัยของคุณหมอ ซึ่งเวลาเฉลี่ยในการจัดฟันอาจใช้เวลาประมาณ 2 ปี หากเด็กเข้ามาพบคุณหมอเพื่อปรับเครื่องมือตามนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ หลังจากจัดฟันเสร็จเรียบร้อย เด็กจำเป็นต้องใส่รีเทนเนอร์ซึ่งเป็นลวดโลหะหรือชิ้นส่วนพลาสติกพิเศษลักษณะคล้ายฟันยางอยู่ตลอด เพื่อป้องกันฟันเคลื่อนกลับไปตำแหน่งเดิม จัดฟันเด็ก ควรทำเมื่อมีปัญหาอะไร การจัดฟันเด็กอาจเริ่มทำได้หากพบว่าเด็กมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก เช่น การสบฟันผิดปกติ ฟันหน้ายื่น ฟันเก ฟันไม่สมมาตร ฟันห่าง ฟันสบลึก ฟันล่างยื่นทับฟันบน ฟันหน้าไม่สบกัน ฟันบางซี่ไม่งอกออกมาจากเหงือกเต็มที่ ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การกัดหรือการบดเคี้ยวอาหารที่ผิดปกติ ฟันผุเนื่องจากฟันซ้อนทับกันจนไม่สามารถทำความสะอาดได้ การจัด ฟัน เด็ก […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ผื่น เด็ก สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

ผื่น เด็ก หรือผื่นคันบนผิวหนังเด็ก มักเกิดในทารกและเด็กเล็ก เนื่องจากผิวของเด็กยังบอบบาง ไม่แข็งแรง และระบบภูมิคุ้มกันของเด็กยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์เหมือนของผู้ใหญ่ เด็กจึงอาจเกิดผดผื่นได้บ่อยครั้ง ผื่นในเด็กอาจเกิดจากการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ฝุ่นควัน ความร้อนจากแสงแดด แมลงกัดต่อย รวมไปถึงการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย โดยทั่วไป ผื่นในเด็กสามารถหายได้เองหรือบรรเทาได้ด้วยการใช้ยาลดอาการคันและระคายเคือง แต่หากดูแลเบื้องต้นและใช้ยารักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรพาเด็กไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างตรงจุด [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ทำให้เกิด ผื่น เด็ก สาเหตุที่ทำให้เกิด ผื่น เด็ก อาจมีดังนี้ ติดเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค เชื้อรา เช่น แคนดิดา (Candida infection) เชื้อไวรัสมากมายหลายชนิด เช่น วาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella zoster virus) แมลงกัดต่อย เช่น มด ยุง สัมผัสสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้ผิวหนังระคายเคือง เช่น เกสรดอกไม้ สารเคมี อาหาร เผชิญสภาพอากาศร้อน จนทำให้ต่อมเหงื่ออุดตัน ส่งผลให้เกิดผดผื่น แพ้ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบ รวมไปถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโรค หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ก็อาจส่งผลให้เด็กเสี่ยงเกิดโรคนี้ได้มากขึ้นเช่นกัน ประเภทของ ผื่น เด็ก […]


โรคผิวหนังในเด็ก

ลักษณะผื่นแพ้อาหาร ทารก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกต

ลักษณะผื่นแพ้อาหาร ทารก เป็นการแพ้ที่อาจทำให้ทารกมีอาการผื่นแดง ลมพิษ คัน หายใจติดขัด คันคอและปาก มีอาการบวมที่ปาก ลิ้น และลำคอ ร้องไห้งอแงมากกว่าปกติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการนอนหลับของทารก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตอาการของทารกหลังรับประทานอาหารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้ป้องกันอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การแพ้อาหารของทารก คืออะไร การแพ้อาหาร (Food Allergy) เป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่เกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารบางชนิด เช่น นม ไข่ แป้งสาลี ถั่ว ถั่วเหลือง อาหารทะเล เช่น ปลา กุ้ง ปลาหมึก แม้จะรับประทานอาหารดังกล่าวเข้าไปได้ไม่นานและในปริมาณเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะทารกที่ระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่สมบูรณ์จึงอาจทำให้เกิดอาการแพ้อาหารง่ายกว่าปกติ ซึ่งทารกบางคนอาจแพ้สารอาหารที่ผ่านมาทางนมแม่ได้เช่นกัน โดยระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของทารกจะทำปฏิกิริยากับอาหารบางชนิด ส่งผลให้ฮีสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและสะสมอยู่ในเซลล์ของร่างกายทุกส่วน ถูกปล่อยออกมาเมื่อร่างกายเกิดอาการแพ้ จนทำให้เกิดลักษณะผื่นแพ้อาหาร ทารกเกิดขึ้น ลักษณะผื่นแพ้อาหาร ทารก ลักษณะผื่นแพ้อาหาร ทารก อาจมีอาการตั้งแต่รุนแรงน้อยไปจนถึงรุนแรงปานกลาง ดังนี้ คันบริเวณคอและปาก คันตา น้ำตาไหล อาการบวมที่ริมฝีปาก ตา ลิ้น ใบหน้า หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย อาการลมพิษ […]


สุขภาพเด็ก

พัฒนาการเด็ก คืออะไร คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการอย่างไร

พัฒนาการเด็ก เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยจะเริ่มตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งการส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เหมาะสมตามช่วงวัยมีความสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของเด็กในทุก ๆ ด้าน รวมถึงอาจช่วยให้เด็กสามารถเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ และสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น การเข้าใจถึงพัฒนาการเด็กจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของเด็กได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการเด็ก คืออะไร พัฒนาการเด็ก คือ การเปลี่ยนแปลงของเด็กทั้งทางร่างกาย ภาษา ความคิด และอารมณ์ โดยจะเริ่มตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งในกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและการส่งเสริมทักษะในด้านต่าง ๆ จากคุณพ่อคุณแม่ บุคคลรอบข้าง และสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้และมีพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเหมาะสมตามวัย คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างไร คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีในทุกช่วงวัยอย่างเหมาะสม โดยพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ที่ควรส่งเสริมให้แก่เด็ก มีดังนี้ พัฒนาการในด้านความรู้ความเข้าใจ ส่งเสริมการเรียนรู้ และการแก้ปัญหา พัฒนาการในด้านคำพูดและภาษา ส่งเสริมการใช้ภาษา การอ่าน และการสื่อสาร พัฒนาการในด้านทักษะทางกายภาพ ส่งเสริมทักษะทางร่างกายทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น ขยับนิ้ว หยิบจับสิ่งของ เดิน วิ่ง คลาน พัฒนาการในด้านการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการควบคุมอารมณ์ ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและควบคุมอารมณ์ของตนเอง พัฒนาการในด้านการรับรู้ทางประสาทสัมผัส ส่งเสริมประสาทสัมผัสและการรับรู้สิ่งต่าง ๆ เช่น การแยกแยะพื้นผิวขรุขระและเรียบ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกตัวร้อน ไข้ไม่ลด ควรรับมืออย่างไรบ้าง

ลูกไม่สบายหรือมีไข้อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียบางชนิด หากพบว่า ลูกตัวร้อน ไข้ไม่ลด ควรดูแลเบื้องต้นที่บ้านด้วยการเช็ดตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย ดื่มน้ำและพักผ่อนให้มาก ๆ หรือบางรายอาจต้องใช้ยาลดไข้ตามคำสั่งแพทย์ วิธีเหล่านี้มักช่วยให้ลูกหายไข้ได้ภายใน 5-7 วัน แต่หากมีอาการต่อเนื่องหรืออาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบคุณหมอทันที [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นไข้ โดยทั่วไป อุณหภูมิของเด็กเล็กและเด็กโตจะอยู่ที่ประมาณ 36.4 องศาเซลเซียส หากพบว่าลูกมีอุณหภูมิร่างกายเกิน 38 องศาเซลเซียส สัมผัสหน้าผากหรือแผ่นหลังแล้วรู้สึกว่าลูกตัวร้อนผ่าว มีเหงื่อออกเยอะ ดูเซื่องซึมกว่าปกติ แสดงว่าลูกกำลังมีไข้ ซึ่งเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายต่อการติดเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะเพิ่มอุณหภูมิเพื่อทำให้เชื้อโรคที่ก่อให้เกิดการติดเชื้ออยู่รอดได้ยากขึ้น การดูแลเบื้องต้นที่เหมาะสม อาจทำให้อาการไข้ของลูกหายไปเองภายใน 3-4 วัน ภาวะที่อาจทำให้ลูกเป็นไข้ เช่น โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ (Respiratory tract infections หรือ RTI) เช่น โรคหวัด โรคปอดอักเสบ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย อาจทำให้เด็กมีไข้สูงหรือต่ำตามชนิดของเชื้อ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ โรคหูติดเชื้อในเด็ก เป็นโรคที่พบมากในเด็กทารกและเด็กเล็ก เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในหู อาจทำให้เกิดอาการไข้ร่วมด้วย โรคส่าไข้หรือหัดกุหลาบ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม