backup og meta

เพิ่มความสดชื่นให้ร่างกาย ด้วย 8 ผลไม้คลายร้อน ต้อนรับซัมเมอร์

เพิ่มความสดชื่นให้ร่างกาย ด้วย 8 ผลไม้คลายร้อน ต้อนรับซัมเมอร์

นอกจากการอาบน้ำ นอนพักผ่อนสบายๆ ในห้องแอร์ที่เย็นฉ่ำแล้ว ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มความสดชื่น ให้แก่ร่างกายของคุณ เพื่อรับมือกับซัมเมอร์ หรือหน้าร้อนนี้ที่กำลังจะมาถึง ด้วยการรับประทาน ผลไม้คลายร้อน ที่ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมผลไม้ดับกระหาย รสชาติหวานฉ่ำ ชื่นใจ พร้อมประโยชน์มากมายของผลไม้แต่ละชนิดมาฝากทุกคน ให้ได้ลองหามารับประทานกันค่ะ

ผลไม้คลายร้อน ที่มาพร้อมกับคุณประโยชน์ และความอร่อย

  1. มะละกอ

มะละกอ เป็นผลไม้หลายๆ คน รู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะสามารถนำมารับประทานได้ทั้งแบบดิบ และสุก อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี โฟเลต สารเบต้าแคโรทีน ที่สามารถช่วยในการปรับปรุงระบบทางเดินอาหาร ต้านทานโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน รวมทั้งโรคหัวใจ ซึ่งมีรสชาติหวานอย่างมากในรูปแบบสุก เมื่อคุณนำมารับประทานหลังจากการแช่เย็นแล้วละก็ ทำให้คุณต้องลืมความร้อนไปได้ภายในทันที

  1. มะม่วง

เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน เชื่อว่าคุณต้องเคยพบเห็นเมนูหลากหลายจากมะม่วงอย่างแน่นอน ด้วยเอกลักษณ์ของรสชาติที่โดดเด่น ซึ่งถูกนำมาเป็นของทานเล่นให้คุณได้ชื่นใจในวันพักผ่อน ยิ่งรับประทานไปเท่าไหร่ยิ่งได้วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินดี ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม มากเท่านั้น และยังสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลสำหรับผู้ที่อยากลดน้ำหนักได้อีกด้วย

  1. แตงโม

แตงโม ยังคงเป็นผลไม้อีกหนึ่งชนิดที่ถูกนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ ในฤดูร้อน เพราะแตงโมอุดมไปด้วยน้ำที่อยู่ในตัวถึง 92% และยังมีใยอาหารอย่างไลโคปีน (Lycopene) ที่ปรับปรุงสุขภาพในเรื่องของกระดูก และหลอดเลือดได้เป็นอย่างดี นับได้ว่าเป็นผลไม้ที่เหมาะกับซัมเมอร์นี้สุดๆ เลยทีเดียว

  1. ลิ้นจี่

ลิ้นจี้ ผลไม้ขนาดเล็กแต่ประโยชน์คับคั่ง มีลักษณะพื้นผิวที่ขรุขระเป็นพวงสีแดงอมชมพู ที่มาพร้อมกับสารโพลีฟีนอล (Polyphenols) ในระดับความเข้มข้นสูง และโพแทสเซียม ที่สามารถช่วยรักษาระดับของโซเดียม ควบคุมความดันโลหิต และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายของเรา

  1. ฝรั่ง

ฝรั่ง ก็ถูกจัดอยู่ในผลไม้คลายร้อน ต้อนรับซัมเมอร์นี้เช่นเดียวกัน ซึ่งได้มีการศึกษาหนึ่งพิสูจน์ว่าฝรั่งสามารถปรับปรุงสุขภาพจิตที่อาจเกิดจากความเครียดของสภาพอากาศที่ร้อนระอุนี้ได้ และยังสามารถลดอาการปวดท้องของสตรีที่อยู่ในช่วงเป็นประจำเดือน อาจเป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่บรรดาสาวๆ ค่อนข้างถูกใจอย่างมากก็เป็นได้

  1. สับปะรด

มีถิ่นกำเนิดแรกในประเทศอเมริกา ต่อมาก็ได้แพร่พันธุ์กระจายอยู่ตามท้องตลาด หรือร้านสะดวกซื้อทั่วโลก เพราะเป็นผลไม้หน้าร้อนที่เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ที่เป็นประโยน์ต่อสุขภาพต้านการอักเสบ บางคนเชื่อกันว่าการรับประทานสับปะรดสามารถสร้างภูมิคุ้มกัน และยังช่วยฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วยที่บาดเจ็บจากการผ่าตัดได้

  1. แคนตาลูป

แคนตาลูป เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับแตงโม แต่ลักษณะบางอย่างที่แตกต่างกัน เช่น สี รสชาติ กลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ แคนตาลูปนั้นมีปริมาณน้ำเพียง 90% แต่ก็ไม่ได้น้อยไปกว่าแตงโมเท่าไหร่นัก เนื่องจากเนื้อของมันค่อนข้างหนาแน่น ทั้งนี้การรับประทานแคนตาลูปยังช่วยเพิ่มวิตามินซี วิตามินเอ ให้แก่ร่างกาย และช่วยบำรุงหลอดเลือด สร้างคอลลาเจนในกระดูก แถมยังมีไฟเบอร์ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี

ข้อแนะนำในการบริโภค

ผลไม้ทุกชนิดย่อมมีน้ำตาลภายในตัวเองอยู่แล้ว นั่นก็คือ ฟรักโทส (Fructose) และกลูโคส (Glucose) การที่ร่างกายได้รับน้ำตาลของสองชนิดนี้ อาจส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ส่งผลอันตรายต่อตับ เพิ่มความเสี่ยงให้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคหัวใจ

แต่ถึงอย่างไรก็ตามหากรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักโภชนาการแนะนำ ก็อาจเปลี่ยนไปได้ในเชิงบวกที่มีส่วนช่วยในการเผลาผลาญให้คุณห่างไกลจากโรคอ้วน

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

8 Summer Fruits That Should Be a Part of Your Daily Diet

https://food.ndtv.com/food-drinks/8-summer-fruits-that-should-be-a-part-of-your-daily-diet-1696332 Accessed March 16, 2020

Cantaloupe nutrition benefits

https://www.healthline.com/health/food-nutrition/benefits-of-cantaloupe Accessed March 16, 2020

8 Impressive Health Benefits of Pineapple https://www.healthline.com/nutrition/benefits-of-pineapple#section1 Accessed March 16, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/07/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

5 สุดยอด ผลไม้ให้วิตามินเคสูง อยากสุขภาพดีต้องไม่พลาด

น้ำตาลในผลไม้ ดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 09/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา