backup og meta

พาเลโอไดเอท หรือ Paleo diet ประโยชน์ และข้อควรรู้ก่อนบริโภค

พาเลโอไดเอท หรือ Paleo diet ประโยชน์ และข้อควรรู้ก่อนบริโภค

พาเลโอไดเอท (Paleo diet) เป็นรูปแบบการรับประทานอาหารที่เน้นผักผลไม้ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ ธัญพืช หรือที่อาจเรียกอีกอย่างว่า การรับประทานอาหารแบบยุคหิน ซึ่งอาจส่งผลดีต่อสุขภาพ เช่น ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดระดับความดันโลหิต อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานอาหารแบบพาเลโอไดเอทอย่างเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพจากการรับประทานอาหารไม่ถูกวิธี

[embed-health-tool-bmi]

พาเลโอไดเอท (Paleo diet) คืออะไร

พาเลโอไดเอท (Paleo diet) คือ การรับประทานอาหารแบบยุคหินเก่า (Paleolithic) หรือเมื่อประมาณ 2.5 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นการรับประทานอาหารแบบเท่าที่มนุษย์ยุคนั้นจะสามารถหามาได้ในแต่ละวัน เช่น ปลา เนื้อสัตว์ ผลไม้ ผัก ธัญพืช โดยสาเหตุที่ทำให้วิธีรับประทานอาหารรูปแบบนี้ได้รับความสนใจ อาจเป็นเพราะอาหารสมัยใหม่ที่นิยมรับประทานกันในปัจจุบันร่างกายของมนุษย์ค่อนข้างก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ หรือโรคต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ และการกลับไปรับประทานอาหารแบบมนุษย์ยุคก่อน หรือพาเลโอไดเอทนี้ อาจให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่า

ประโยชน์ของการรับประทานอาหารแบบพาเลโอไดเอท

แม้ยังมีหลักฐานงานวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์ของการรับประทานอาหารแบบพาเลโอไดเอทไม่มากพอ แต่การวางแผนรับประทานอาหารในรูปแบบนี้ อาจส่งผลดีต่อสุขภาพ ดังนี้

หลังรับประทานอาหารแบบพาเลโอไดเอทเป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ อาจช่วยลดน้ำหนักได้ นอกจากนั้น การรับประทานอาหารแบบพาเลโอไดเอทยังอาจช่วยลดรอบเอวได้ด้วย

  • ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน

ภาวะดื้ออินซูลิน อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน  การรับประทานอาหารแบบพาเลโอไดเอทและการรับประทานอาหารตามคำแนะนำของสมาคมโรคเบาหวาน ทั้งสองวิธีเป็นวิธีที่ดีและช่วยปรับปรุงสุขภาพได้จริง แต่การรับประทานอาหารแบบพาเลโอไดเอทอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าด้วย

  • ลดระดับความดันโลหิต

ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงอาจยิ่งเสี่ยงเกิดโรคหัวใจ การรับประทานอาหารแบบพาเลโอไดเอทอาจช่วยลดความดันและระดับไขมันในเลือดได้ดีกว่า

ตัวอย่างแผนการรับประทานอาหารแบบพาเลโอไดเอทสำหรับ 7 วัน

การรับประทานอาหารแบบพาเลโอไดเอทควรเน้นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา ไข่ ผัก ผลไม้ ธัญพืช น้ำมันพืช โดยเลือกอาหารแต่ละจำพวกให้หลากหลายชนิดและหลากสี เพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน สำหรับผู้ที่ไม่รู้จะจัดตารางอาหารแบบพาเลโอไดเอทอย่างไร อาจทดลองรับประทานอาหารตามตัวอย่างแผนการรับระทานอาหารแบบพาเลโอไดเอทสำหรับ 7 วันที่แนะนำได้ ดังต่อไปนี้

  • วันที่ 1

1. อาหารเช้า อะโวคาโด ผักคะน้า กล้วยปั่นกับนมอัลมอนด์

2. อาหารกลางวัน สลัด และปลาทอด

3. อาหารเย็น ไก่ย่าง เคียงด้วยหัวหอมย่างและแครอท

  • วันที่ 2

1. อาหารเช้า เบคอน ไข่ และผลไม้สด

2. อาหารกลางวัน สลัดผักและเนื้อสัตว์ปรุงสุก เช่น สเต็กหมู

3. อาหารเย็น ปลาแซลมอนกับผักผัดในน้ำมันมะกอก หรือน้ำมันมะพร้าว

  • วันที่ 3

1. อาหารเช้า กล้วยสับผสมบลูเบอร์รี่ และอัลมอนด์

2. อาหารกลางวัน สลัดผักรวม ที่อาจประกอบด้วยเนื้อปลา และใช้น้ำมันมะกอกแทนครีมสลัด

3. อาหารเย็น สามารถรับประทานเนื้อสัตว์ไร้มันได้ แต่ในการประกอบอาหารยังคงจำเป็นต้องใช้น้ำมันจากพืชเท่านั้น

  • วันที่ 4

1. อาหารเช้า รับประทานอาหารที่ประกอบด้วยไข่ และผักผลไม้

2. อาหารกลางวัน สลัดผักที่มีส่วนประกอบของทูน่า ไข่ต้ม และเมล็ดพืช

3. อาหารเย็น เนื้อสัตว์คลีน (ไร้ไขมันหรือไขมันน้อย) และไม่ใช้น้ำมันในการปรุงมากนัก เช่น ไก่ย่าง ไก่อบ

  • วันที่ 5

1. อาหารเช้า เน้นรับประทานผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ และผักใบเขียว

2. อาหารกลางวัน รับประทานสลัดที่ประกอบด้วยธัญพืช ไข่ และผักรวมตามชอบ

3. อาหารเย็น รับประทานเนื้อสัตว์ไร้ไขมันได้ เช่น สเต็ก แต่ควรรับประทานคู่กับผักอื่น ๆ ด้วย

  • วันที่ 6

1. อาหารเช้า รับประทานอาหารที่ประกอบด้วยไข่ เบคอน และผักเป็นหลัก

2. อาหารกลางวัน ซุปผักใส่เนื้อสัตว์

3. อาหารเย็น เนื้อสัตว์คลีน (ไร้ไขมันหรือไขมันน้อย) และผักที่คุณชื่นชอบ

  • วันที่ 7

1. อาหารเช้า รับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วยไข่

2. อาหารกลางวัน สลัดผักใส่เนื้อสัตว์เหยาะน้ำมันมะกอก

3. อาหารเย็น อาจเป็นอาหารจำพวกแกงหรือต้ม แต่ควรประกอบด้วยเนื้อสัตว์ และผักรวม

แผนการรับประทานอาหารข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น แต่ละคนสามารถไปปรับให้เข้ากับโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับตัวเองได้ แนะนำว่าควรปรึกษานักโภชนาการ หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการรับประทานอาหารแบบพาเลโอไดเอท เพื่อให้ได้แผนการรับประทานอาหารที่เหมาะสมและดีต่อสุขภาพที่สุด

ข้อควรปฏิบัติในการรับประทานอาหารแบบพาเลโอไดเอท

ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่มีการแปรรูปสูง ลดการปรุงด้วยเกลือ น้ำตาล ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ พืชตระกูลถั่วลิสง และสารให้ความหวานแทนน้ำตาล เพราะอาจทำให้ย่อยยาก ที่สำคัญ ควรหมั่นออกกำลังกายด้วย เพราะจะยิ่งส่งผลดีต่อการควบคุมน้ำหนัก และช่วยบำรุงสุขภาพให้ดีขึ้นได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Paleo diet: What is it and why is it so popular? https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/paleo-diet/art-20111182. Accessed February 28, 2023.

Diet Review: Paleo Diet for Weight Loss. https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/healthy-weight/diet-reviews/paleo-diet/. Accessed February 28, 2023.

The Paleo Diet. https://www.webmd.com/diet/a-z/paleo-diet. Accessed February 28, 2023.

All About the Paleo Diet. https://www.webmd.com/diet/ss/slideshow-all-about-the-paleo-diet. Accessed February 28, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/02/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารแดช หรือแดชไดเอท (DASH Diet) ช่วยลดความดัน และลดน้ำหนักได้ด้วย

IF คือ อะไร ทำแล้วลดน้ำหนักได้จริงไหม


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 28/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา