เตรียมตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ต้องใช้เวลาในการวางแผนและการเตรียมตัว ตั้งแต่เรื่องการเจริญพันธุ์ ไปจนถึงความเสี่ยงที่อาจมาพร้อมกับการตั้งครรภ์ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการ เตรียมตั้งครรภ์ ตั้งแต่การวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ ตลอดไปจนถึงวิธีเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ไว้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เตรียมตั้งครรภ์

การเตรียมตัวก่อนท้อง เตรียมพร้อม ตั้ง ครรภ์ ควรทำอย่างไร

การเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญ หากสภาพร่างกายและจิตใจของว่าที่คุณแม่พร้อมแล้ว ท้องนี้จะเป็นการตั้งครรภ์คุณภาพ ที่ได้รับการดูแลและใส่ใจตั้งแต่วันแรก เตรียมพร้อม ตั้ง ครรภ์ ควรเริ่มอย่างไร มีสิ่งไหนที่ต้องรู้บ้าง [embed-health-tool-ovulation] การเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ เมื่อตัดสินใจจะมีบุตร การดูแลสุขภาพเพื่อเตรียมพร้อมสู่การตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึง ซึ่งช่วงวัยที่เหมาะสมต่อการมีบุตรควรมีอายุระหว่าง 20-34 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่มีความสมบูรณ์แข็งแรง โดยการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์มี 3 ข้อที่สำคัญ ได้แก่ การเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย ก่อนตั้งครรภ์  ออกกำลังกายเป็นประจำ สามารถเลือกการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย แต่หากสนใจการเล่นโยคะก็เป็นทางเลือกที่ดี เพื่อฝึกท่าทาง การหายใจ ฝึกสมาธิ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในระหว่างการคลอดบุตรได้ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อร่างกายพักผ่อน 8 ชั่วโมงเป็นประจำ จะรู้สึกผ่อนคลายและสดชื่น  เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ได้แก่ ข้าว-แป้ง เนื้อสัตว์ ไข่ นม  ถั่วชนิดต่าง ๆ ผักและผลไม้สด รวมถึงดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ตรวจสุขภาพช่องปาก ลดความเสี่ยงการติดเชื้อในช่องปาก ป้องกันการเกิดฟันผุระหว่างตั้งครรภ์  หมั่นนับรอบประจำเดือน เป็นการคำนวณวันไข่ตก เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ การเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ พยายามฝึกอารมณ์และความรู้สึกให้ผ่อนคลายจากความเครียด เมื่อร่างกายผ่อนคลาย สุขภาพจิตใจแข็งแรงดี […]

หมวดหมู่ เตรียมตั้งครรภ์ เพิ่มเติม

สำรวจ เตรียมตั้งครรภ์

เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

อยากท้อง ควรทำอย่างไรดี

การมีลูกนั้นอาจเป็นหนึ่งในแผนการสร้างครอบครัวที่หลาย ๆ คนวางไว้ ซึ่งบางครอบครัวก็มีลูก ตั้งครรภ์ได้อย่างง่าย ๆ ไม่ใช่เรื่องยาก แต่สำหรับบางครอบครัว แม้ว่าจะ อยากท้อง มากแค่ไหน ก็อาจจะไม่สมหวัง ดังนั้น ผู้ที่กำลังวางแผนอยากมีลูก จึงควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีที่อาจช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ที่มีประสิทธิภาพ [embed-health-tool-ovulation] อยากท้อง ควรทำอย่างไร การวางแผนในการตั้งครรภ์นั้น เป็นเรื่องที่อาจจะต้องใช้ระยะเวลา ผู้หญิงอายุ 30 ที่มีสุขภาพที่ดีนั้นมีโอกาสในการตั้งครรภ์เพียงร้อยละ 20 ที่จะตั้งครรภ์ในแต่ละเดือน ในแต่ละเดือนนั้นฮอร์โมนในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้รังไข่เติบโตเต็มที่ ซึ่งวงจรการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีความแตกต่างกันออกไปในผู้หญิงแต่ละคน แต่โดยเฉลี่ยะแล้วใช้เวลา 2 สัปดาห์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่มีประจำเดือนเท่านั้น เมื่อไข่โตเต็มที่แล้ว จะถูกปล่อยออกจากรังไข่หรือที่เรียกว่า “ไข่ตก” จากนั้นไข่ก็จะเดินทางไปท่อนำไข่เพื่อรอการปฏิสนธิจากตัวสเปิร์ม โดยเซลล์นั้นจะอยู่ได้เพียง 24 ชั่วโมงหลังจากที่ไข่ตกแล้ว หากไข่ได้รับการปฏิสนธิในช่วงเวลาที่เหมาะสมก็จะทำให้ตั้งครรภ์ได้ ซึ่งกุญแจสำคัญในการมีลูก คือ ควรนับวันในการมีเพศสัมพันธ์ในวันก่อนและระหว่างตกไข่ ซึ่งทำให้เกิดการปฏิสนธิได้ง่ายขึ้น และช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่น ๆ ที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์อีกด้วย รู้จังหวะและเวลาที่ถูกต้อง หากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ไข่ตกหรือก่อนตกไข่ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ ดังนั้น หาก อยากท้อง ควรเลือกช่วงเวลาการมีเพศสัมพันธ์ที่ตรงกับช่วงเวลาในการตกไข่ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ หากมีรอบเดือนที่ปกติ ก็ควรนับวันที่รอบเดือนจะมา โดยเฉลี่ยแล้วไข่จะตกก่อนการมีประจำเดือน 2 สัปดาห์ ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสมในการมีเพศสัมพันธ์คือตั้งแต่ก่อนวันไข่ตก 7 […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

วิตามินก่อนคลอด สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร

วิตามินก่อนคลอด หรือวิตามินบำรุงครรภ์ เป็นอาหารเสริมสำหรับผู้หญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ และผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนมากขึ้น เพราะการรับประทานอาหารอย่างเดียวในแต่ละวันอาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ช่วยบำรุงสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์รวมทั้งช่วยบำรุงสุขภาพของทารกในครรภ์ด้วย ทำความรู้จักกับ วิตามินก่อนคลอด (Prenatal Vitamins) วิตามินก่อนคลอด หรือ วิตามินบำรุงครรภ์ (Prenatal Vitamins) เป็นอาหารเสริมที่มีวิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการทั้งก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ เพราะการรับประทานอาหารอย่างเดียวอาจจะยังไม่เพียงพอ สำหรับหญิงตั้งครรภ์บางรายอาจจำเป็นที่จะต้องรับประทานอาหารเสริมเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารสำคัญหรือวิตามินอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ วิตามินก่อนคลอดจะช่วยในการป้องกันความผิดปกติที่อาจเกิดกับทารกในครรภ์อีกด้วย ทำไมวิตามินก่อนคลอดจึงสำคัญ ในระหว่างการตั้งครรภ์ ร่างกายจะต้องการกรดโฟลิกและธาตุเหล็กมากกว่าปกติเนื่องจากเหตุผลดังต่อไปนี้ กรดโฟลิก (Folic acid) กรดโฟลิก เป็นวิตามินที่สำคัญที่สุดเมื่อวางแผนจะตั้งครรภ์ เพราะเป็นวิตามินบีที่เซลล์ในร่างกายต้องการ เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตและพัฒนาของทารกในครรภ์ การรับประทานกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัมต่อวันเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาเกี่ยวกับสมองและกระดูกสันหลัง ที่เรียกว่า ข้อบกพร่องของระบบประสาท (NTDs) ของทารกได้ ซึ่งข้อบกพร่องเหล่านี้เป็นความผิดปกติอย่างร้ายแรงต่อสมองของทารกในครรภ์ รวมถึงไขสันหลังด้วย สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ ควรเริ่มรับประทานกรดโฟลิกอย่างน้อย 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ หรือผู้หญิงบางคนที่เคยตั้งครรภ์ หากเคยได้รับผลกระทบจากโรคไตวายเรื้อรัง ร่างกายจำเป็นต้องได้รับกรดโฟลิกมากขึ้น ธาตุเหล็ก (Iron) ธาตุเหล็กจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของรกและทารกในครรภ์ นอกจากนั้น ยังช่วยให้ร่างกายสร้างเลือด เพื่อส่งออกซิเจนไปยังทารกในครรภ์ ที่สำคัญ ธาตุเหล็กยังช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ซึ่งเป็นสภาวะที่เลือดมีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำ อย่างไรก็ตามในการรับประทานวิตามินก่อนคลอดหรืออาหารเสริมใดใด ควรปรึกษาคุณหมอและขอคำแนะนำสำหรับข้อควรปฏิบัติเมื่อต้องการรับประทานวิตามิน เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกด้วย เมื่อไหร่ที่ควรจะเริ่มรับประทานวิตามินก่อนคลอด สำหรับระยะเวลาที่ควรรับประทานวิตามินก่อนคลอดคือ อย่างน้อย […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

คุณพ่อมือใหม่ ควรเตรียมตัวอย่างไรเมื่อจะมีลูก

แน่นอนว่า การมีลูก ถือเป็นความใฝ่ฝันสำหรับหลาย ๆ ครอบครัวเป็นอย่างมาก แต่เมื่อเหล่าคุณผู้ชายทั้งหลายจะต้องกลายเป็น คุณพ่อมือใหม่ ควรจะต้องเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง อาจเป็นข้อสงสัยที่เกิดขึ้นกับหลาย ๆ คน เนื่องจากการเตรียมความพร้อมในการเป็นคุณพ่อมือใหม่ตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยให้รับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] คุณพ่อมือใหม่ ควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เมื่อรู้ว่าจะได้เป็น คุณพ่อมือใหม่ อย่างแรกที่จะเปลี่ยนไปก็คือชีวิตของคุณผู้ชายนั่นเอง ซึ่งการจะเป็นคุณพ่อมือใหม่ได้ อาจมีดังนี้ เริ่มต้นด้วยการหาข้อมูลต่าง ๆ แม้คุณผู้ชายอาจจะไม่ใช่คนที่อุ้มท้อง แต่ก็ไม่ได้หวายความว่าจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์การตั้งครรภ์และการเกิดของลูกน้อย ดังนั้น ลองเข้าไปศึกษาข้อมูลต่าง ๆ จากการอ่านหนังสือ กลุ่มออนไลน์ หรือรับข่าวสารจากการตั้งครรภ์ เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวถูกหากภรรยากำลังประสบกับอาการระหว่างการตั้งครรภ์ หรือ อาการแพ้ท้อง การทำความเข้าใจกับสิ่งเหล่านี้จะทำให้สามารถช่วยสนับสนุนภรรยาได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ควรศึกษาถึงเรื่องการทำคลอดในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการคลอดธรรมชาติ การผ่าคลอด รวมถึงเรื่องของการดูแลทารก การเลี้ยงลูกด้วยนม การเปลี่ยนผ้าอ้อม และอื่น ๆ เพราะเมื่อถึงเวลาที่เกิดขึ้นจริง จะทำให้สามารถรับมือได้อย่างราบรื่นขึ้น รวมถึงยังควรทำสิ่งเหล่านี้ เรียนรู้พื้นฐานในชั้นเรียนคลอดบุตร พูดคุยกับภรรยาเกี่ยวกับการจัดการความเจ็บปวดระหว่างคลอด เรียนรู้การนวดเพื่อช่วยให้ภรรยารู้สึกดีขึ้น ชมสถานที่ที่มาการวางแผนการเกิด ศึกษาเส้นทางที่ดีที่สุดไปยังสถานที่ที่ฝากครรภ์เอาไว้ เตรียมหมายเลขสำคัญเอาไว้ในโทรศัพท์ รักษาสุขภาพให้ดี ก่อนที่ลูกน้อยจะเกิดมา เป็นเวลาที่ดีที่สุดที่จะมุ่งเน้นไปยังสุขภาพของตัวเอง หากสูบบุหรี่ก็ควรพยายามเลิก เพราะการที่ทารกในครรภ์ได้รับควันบุหรี่ตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้ ตรวจสอบนิสัยการกินว่าเป็นอย่างไร การกินอาหารที่ดีจะช่วยเติมพลังให้กับการเป็นคุณพ่อมือใหม่ ลองเพิ่มอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์เข้าไปในมื้ออาหาร […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

ปัจจัยที่ทำให้มีลูกแฝด มีอะไรบ้าง

หลายๆ ครอบครัว หลังจากแต่งงาน แผนต่อไปคือการวางแผนที่จะมีลูก บางครอบครัวก็อยากจะท้องลูกแฝด เพราะถือว่าท้องครั้งเดียวได้ลูกถึง 2 คน สำหรับบางคนก็อาจจะมากกว่านั้น ซึ่งถือว่าคุ้มมากเลยทีเดียว แถมเด็กแฝดยังมีความน่ารัก สามารถให้ใส่เสื้อผ้าเหมือนกัน มีของใช้เหมือนกัน ดูน่ารัก จึงทำให้ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ บางคู่อยากจะมีลูกแฝดขึ้นมาเลยทีเดียว วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ปัจจัยที่ทำให้มีลูกแฝด มาฝากกันค่ะ ปัจจัยเหล่านี้ อาจเป็น ปัจจัยที่ทำให้มีลูกแฝด ได้  พันธุกรรม การที่มีคนในครอบครัวมีลูกแฝดนั้น เป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดว่าคุณมีโอกาสที่จะสามารถมีลูกแฝดได้สูงขึ้น หากคุณเองก็เป็นฝาแฝดหรือญาติทางฝั่งแม่มีลูกแฝด โอกาสในการมีลูกแฝดก็เพิ่มมากขึ้น เพราะพันธุกรรมในการมีลูกแฝดนั้นจะถ่ายทอดมาจากทางฝั่งแม่มากกว่า อีกเหตุผลหนึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับ Hyperovulation คือ สถานการณ์ที่ร่างกายแม่ตกไข่จากรังไข่ตั้งแต่ 2 ฟองขึ้นไปในช่วงตกไข่ ทำให้มีโอกาสเกิดลูกแฝดได้มากขึ้น ซึ่ง Hyperovulation นั้นสามารถส่งผ่านทาง DNA ได้ อายุ อายุ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการมีลูกแฝดได้ เมื่อคุณอยู่ในช่วงอายุ 35-40 ปี จะโอกาสสูงในการมีลูกแฝด เนื่องจากผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพราะอยู่ในวัยใกล้หมดประจำเดือน ทำให้ร่างกายอาจถูกกระตุ้นให้ตกไข่มากกว่า 1 ฟองในช่วงตกไข่ ความสูง ดูเหมือนว่าผู้หญิงที่มีรูปร่างสูง จะมีโอกาสในการมีลูกแฝดสูงกว่า อาจจะฟังดูแปลก ๆ ว่าการมีลูกแฝดนั้นเกี่ยวข้องอะไรกับความสูงของผู้หญิง แต่จากงานวิจัยในปี 2006 พบว่าผู้หญิงที่มีลูกแฝดนั้นมักมีความสูงมากกว่าความสูงเฉลี่ยของผู้หญิงทั่วไป […]


หัวข้ออื่นเกี่ยวกับการเตรียมตั้งครรภ์

นับวันไข่ตก นับอย่างไร และสัญญาณวันไข่ตกที่ควรรู้

การตกไข่ วันตกไข่ หรือวันไข่ตก คือหนึ่งในปัจจัยในการตั้งครรภ์ หากสามารถนับวันไข่ตกได้อย่างใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุดก็จะมีประโยชน์ในการวางแผนและการเตรียมพร้อมตั้งครรภ์สำหรับผู้ที่ต้องการมีลูก เพราะหากมีความแม่นยำสูงก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สูงมากขึ้นตามไปด้วย การตกไข่ คืออะไร การตกไข่ (Ovulation) เป็นหนึ่งในกระบวนการของการเจริญพันธุ์และการมีประจำเดือนของเพศหญิง โดยภาวะตกไข่นี้จะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อผู้หญิงเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น โดยปกติแล้ว ผู้หญิงในช่วงวัยรุ่นมักจะมี วันตกไข่ หรือมีการตกไข่เดือนละ 1 ครั้ง  การตกไข่นี้ใช้เรียกกระบวนการเมื่อรังไข่ได้ผลิตเซลล์ไข่ขึ้น และปล่อยเซลล์ไข่ผ่านท่อนำไข่มายังมดลูก หากไข่ที่ปล่อยออกมานั้นได้ปฏิสนธิกับตัวอสุจิ ก็จะเกิดการฝังตัวในเยื่อบุมดลูก และพัฒนากลายเป็นตัวอ่อนและเรียกว่า การตั้งครรภ์ แต่หากไข่ที่ร่างกายผลิตปไม่ได้ปฏิสนธิกับตัวอสุจิ ไข่นั้นจะฝ่อและสลายตัว และเยื่อบุมดลูกที่ไม่มีไข่มาฝังก็จะสลายออก และถูกขับออกมาเป็นเลือดประจำเดือน โดยปกติแล้วผู้หญิงจะมีการตกไข่ออกมาครั้งละ 1 ใบ แต่ในบางครั้งรังไข่ก็อาจจะปล่อยไข่ออกมาออกมามากกว่า 1 ใบ และหากไข่ทั้งสองใบนั้นได้ทำการปฏิสนธิกับตัวอสุจิ และทำการฝังตัวในเยื่อบุมดลูกได้ทั้งคู่ ก็จะกลายเป็นการตั้งครรภ์แฝดไข่คนละใบ ขอบคุณรูปจาก : กรมอนามัย นับวันไข่ตก ต้องทำอย่างไรบ้าง การจะคำนวณนับ วันไข่ตก สิ่งที่ต้องจดจำให้แม่นยำคือ ระยะการมีประจำเดือนของตัวเอง เนื่องจากผู้หญิงแต่ละคน จะมีระยะเวลาการมีรอบเดือนที่แตกต่างกัน โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีระยะรอบเดือนอยู่ที่ 28 วัน สำหรับผู้หญิงที่มีประเดือนมาตามปกติ และตรงเวลาในทุกครั้ง จะง่ายต่อการนับวันไข่ตก และแม่นยำมากยิ่งขึ้น รอบที่ไข่ตกนั้นจะเริ่มต้นนับตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือนไป 14 วัน จะเป็นวันไข่ตก หากคู่รักต้องการที่จะมีลูก ควรมีเพศสัมพันธ์กันในช่วงเวลา 1-2 วันก่อนวันไข่ตก […]


เตรียมตั้งครรภ์

ความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ตอนแก่ และวิธีเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ตอนแก่ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพทั้งกับคุณแม่และทารกในครรภ์ เช่น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ครรภ์เป็นพิษ คลอดก่อนกำหนด ทารกพิการ อีกทั้งโอกาสในการตั้งครรภ์ก็อาจจะยากขึ้นจนจำเป็นต้องพึ่งวิธีการทางแพทย์เข้ามาช่วย ดังนั้น ผู้สูงอายุที่มีความต้องการจะตั้งครรภ์จึงควรศึกษาเกี่ยวกับความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ตอนแก่ให้ดี เพื่อจะได้สามารถรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-ovulation] ความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ตอนแก่ ผู้หญิงหมู่มาก ส่วนใหญ่มักเริ่มอยากสร้างครอบครัวตั้งแต่อายุช่วงยังน้อย แต่เนื่องจากปัญหารอบด้านของแต่ละบุคคล อาจทำให้บางกรณีจำเป็นต้องมีบุตรในช่วงที่อายุเริ่มเยอะขึ้น ซึ่งผู้ที่จัดอยู่ในเกณฑ์ของการตั้งครรภ์ในช่วงอายุมาก คือ กลุ่มสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปี ขึ้นไป ที่สำคัญในระหว่างตั้งครรภ์อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงแก่ และทารกได้ ดังนี้ คุณแม่อาจมีแนวโน้มเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ เกิดความผิดปกติของโครโมโซม มีความเสี่ยงที่ทารกอาจอยู่ในของกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม มีโอกาสการได้ลูกแฝดสูง เนื่องจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงเกิดการปล่อยไข่ออกมาหลายครั้ง อาจทำให้เด็กทารกแรกเกิดมีน้ำหนักที่ต่ำกว่ามาตรฐาน มีความเป็นไปได้ถึงการคลอดก่อนหนด นอกจากความเสี่ยงดังกล่าวแล้ว ยังอาจทำให้นำไปสู่ภาวะการแท้งบุตร อีกด้วย เพราะเป็นผลมาจากอาการข้างเคียงเรื่องสุขภาพของคุณแม่ในช่วงอายุมาก ดังนั้นจึงควรเตรียมตัวและร่างกายให้พร้อม รวมทั้งปรึกษาขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางก่อนเสมอ วิธีดูแลสุขภาพของผู้ที่ตัดสินใจอยากมีบุตรตอนสูงวัย การตั้งครรภ์ หรือการมีบุตรถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิตพอสมควร ที่จะต้องศึกษาหาข้อมูลให้ดีและละเอียดเสียก่อน มิเช่นนั้นอาจนำพามาถึงความสูญเสียที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นก็เป็นได้ ซึ่งสามารถทำได้วิธีเหล่านี้ นัดหมายกับบุคลากรทางการแพทย์เป็นประจำในการตรวจร่างกายทั้งคุณแม่ และลูกรักในครรภ์ แจ้งถึงอาการในขณะตั้งครรภ์ รวมถึงพัฒนาการของเด็กในครรภ์ให้แพทย์ทราบ เพื่อเป็นการรับวิธีการดูแลในขั้นตอนถัดไป รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ โดยอาจเป็นอาหารเสริม วิตามิน แร่ธาตุสำหรับตรีตั้งครรภ์ที่ทางแพทย์จัดให้เท่านั้น เพิ่ม-ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ด้วยการออกกำลังกายตามแพทย์แนะนำ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด หมั่นเข้ารับการทดสอบของความผิดปกติของโครโมโซมด้วยเทคนิคทางการแพทย์ […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

ตั้งครรภ์อย่างไร ให้แข็งแรง เมื่อก้าวเข้าสู่ วัย 40

ปัจจุบันการ ตั้งครรภ์ในวัย 40 ถือเป็นเรื่องที่ปกติมากขึ้น แม้ว่าผู้หญิงหลายคนอาจเลือกที่จะมีลูกกันเร็ว ๆ เพราะถือว่าเป็นช่วงอายุที่เหมาะสม การ ตั้งครรภ์ วัย 40 ควรจะพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียอย่างถี่ถ้วน เพื่อช่วยให้ทั้งแม่และทารกในครรภ์นั้นแข็งแรง ปลอดภัย และลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น [embed-health-tool-”due-date”] ประโยชน์ของการ ตั้งครรภ์ในวัย 40 บางครั้งการ ตั้งครรภ์ในวัย 40 นั้นอาจจะมีข้อดีหลาย ๆ อย่าง เช่น มีความมั่นคง ในวัย 40 เป็นช่วงที่ทุกอย่างลงตัวสำหรับหลาย ๆ ครอบครัว ทั้งการงานและการเงิน ทำให้พ่อแม่อาจมีเวลามากขึ้นในการดูแลลูก อีกทั้งสถานะทางการเงินก็อาจพร้อมสำหรับการดูแลเด็ก เมื่อเทียบกับครอบครัวในช่วงวัยอื่น มีเวลาในการใช้ชีวิต สำหรับผู้หญิงหลายคน อาจจะต้องการเวลาที่จะมีอิสระในการทำสิ่งที่ตนเองชอบ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางท่องเที่ยว ทำงาน ในช่วงวัยนี้อาจจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะได้ใช้ชีวิตมามากเท่าที่ต้องการแล้ว ลูกได้รับการศึกษาที่ดี จากงานวิจัยพบว่าเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์ของคุณแม่วัย 40 มักจะได้รับโอกาสทางการศึกษาที่ดี เพราะพ่อ แม่ มีความพร้อมทั้งเวลาและเงิน พร้อมที่จะสนับสนุนการเรียนรู้ของลูกอย่างเต็มที่ นอกจากการสนับสนุนแล้ว พ่อแม่ในวัยนี้ยังเป็นวัยที่มีวุฒิภาวะที่ดีพอที่จะสอนลูกได้อย่างมีเหตุผล ความเสี่ยงในการ ตั้งครรภ์ วัย 40  ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้น ทำให้การ ตั้งครรภ์ในวัย 40 ปี เป็นเรื่องที่ไม่น่ากลัว เพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยนั้นช่วยให้คุณสามารถคลอดลูกได้อย่างปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามการคลอดลูกหลังจากอายุ 40 […]


ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

PCOS กับการตั้งครรภ์ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

PCOS หรือภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ เป็นหนึ่งปัญหาในการตั้งครรภ์ที่เกิดจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงจนส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธ์ และอาจนำไปสู่ภาวะการมีบุตรยาก มักพบในผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ุ PCOS กับการตั้งครรภ์ นั้นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ผู้หญิงที่มีภาวะ PCOS จึงจำเป็นต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ เพื่อลดอาการและความเสี่ยงในการเกิดภาวะมีบุตรยาก [embed-health-tool-ovulation] PCOS คืออะไร PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) หรือภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ เป็นความผิดปกติของฮอร์โมน อาจพบได้มากในผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ุ โดยผู้หญิงที่มีภาวะ PCOS มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือน อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มา ๆ หาย ๆ สำหรับสาเหตุของการเกิดภาวะ PCOS ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจเกิดจากการมีอินซูลินมากเกินไป อาการอักเสบชนิดต่ำที่กระตุ้นรังไข่ พันธุกรรม และร่างกายมีระดับฮอร์โมนเพศชายมากผิดปกติ เป็นต้น PCOS กับการตั้งครรภ์ PCOS เป็นหนึ่งในปัญหาการตั้งครรภ์ของผู้หญิงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งอาจกระทบต่อการทำงานของระบบสืบพันธ์ุ ดังนี้ PCOS ส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอนโดรเจนมากผิดปกติ แอนโดรเจน (Androgen) เป็นฮอร์โมนเป็นชาย หากมีมากร่างกายจะเปลี่ยนฮอร์โมนชนิดนี้ไปเป็นเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง เมื่อมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงก็อาจส่งผลต่อการพัฒนาไข่และการตกไข่ ทำให้ไข่ที่แข็งแรงไม่ถูกปล่อยออกมา ตัวอสุจิไม่สามารถเข้าไปผสมกับไข่ได้ จึงไม่เกิดการตั้งครรภ์ PCOS ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ รอบเดือนของผู้หญิงแต่ละคนจะแตกต่างกันไป อาจขึ้นอยู่กับอายุและสภาวะสุขภาพ แต่ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีรอบเดือนห่างกันทุก ๆ 28 […]


เตรียมตั้งครรภ์

แช่แข็งเซลล์ไข่ ประโยชน์ และผลข้างเคียง

แช่แข็งเซลล์ไข่ (Egg Freezing) เป็นการทำให้เซลล์ไข่แข็งเป็นผลึกแก้วแบบฉับพลัน หรือที่เรียกว่าวิทริฟิเกชั่น (Vitrification) โดยการนำไข่ไปแช่ในไนไตรเจนเหลว และลดอุณหภูมิของเซลล์ไข่ให้ลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นวิธีการคงสภาพไข่ไว้ สามารถนำมาละลายใช้โดยการรวมกับอสุจิในห้องแล็บและฝังในมดลูก เหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่พร้อมสำหรับการมีบุตร แต่อาจต้องการมีบุตรในภายหลัง หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์และรังไข่ [embed-health-tool-ovulation] ผู้ที่ควร แช่แข็งเซลล์ไข่ การแช่แข็งเซลล์ไข่อาจเหมาะสำหรับคนเหล่านี้ การอนุรักษ์ภาวะเจริญพันธุ์ด้วยเหตุผลทางสังคมหรือส่วนตัวเพื่อชะลอการคลอดบุตร ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งซึ่งต้องได้รับยาเคมีบำบัด หรือได้รับการฉายแสงรังสีที่อาจส่งผลต่อการทำงานของรังไข่ลดลง ผู้ที่เสี่ยงต่อการทำให้ไข่เสื่อมก่อนวัยอันควร เนื่องจากความผิดปกติของโครโมโซม เช่น กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner syndrome) โรครังไข่ที่เสี่ยงต่อการทำลายไข่ ผู้ที่ยังไม่พร้อมมีบุตรและต้องการเก็บไข่ไว้เพื่อมีบุตรในเวลาที่พร้อมเหมาะสม จะใช้ไข่ในอนาคตได้อย่างไร เมื่อผู้หญิงพร้อมที่มีบุตร ไข่ที่ถูกแช่แข็งเซลล์ไข่ไว้ โดยไข่ที่รอดจากกระบวนการเยือกแข็งจะถูกปฎิสนธิด้วยการฉีดอสุจิเข้าสู่ไข่โดยตรง หรือที่เรียกว่า การทำอิ๊กซี่ (Intracytoplasmic หรือ ICSI) เป็นการปฏิสนธินอกร่างกาย ไข่ที่ปฏิสนธิจะเติบโตจนเป็นตัวอ่อนจะพร้อมถ่ายโอนเข้าสู่มดลูก เพื่อให้บรรลุการตั้งครรภ์โดยทั่วไปประมาณ 3-5 วันหลังการปฏิสนธิ อัตราความสำเร็จในการแช่ไข่แข็ง การเก็บไข่สามารถเก็บได้นานถึง 4 ปี โดยอัตราความสำเร็จในการแช่เซลล์แข็งไข่ได้รับการประเมินความสำเร็จ 4%-12% ต่อ 1 เซลล์ไข่ โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่สำคัญที่สุด 2 อย่างในการพิจารณาความน่าจะเป็น ขึ้นอยู่กับอายุของผู้หญิงในช่วงเวลาของการแช่แข็งไข่และจำนวนของไข่ที่มีอยู่ แช่แข็งเซลล์ไข่ มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง โดยปกติสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้เป็นปกติภายใน 1 สัปดาห์หลังทำการแช่เซลล์ไข่แข็ง ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกัน เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ และหลังทำการแช่เซลล์แข็งไข่ หากมีอาการดังต่อไปนี้ […]


เตรียมตั้งครรภ์

ท้องนอกมดลูก ปัจจัยเสี่ยง อาการ และการรักษา

โดยปกติแล้วการตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นหลังจากที่ไข่ผสมกับอสุจิ (การปฏิสนธิ) และตัวอ่อนฝังตัวเข้ากับผนังโพรงมดลูก แต่บางกรณี อาจเกิดภาวะที่เรียกว่า ท้องนอกมดลูก ซึ่งเป็นภาวะที่ตัวอ่อนไปฝังตัวอยู่ในบริเวณอื่นที่ไม่ใช่มดลูก เช่น ท่อนำไข่ รังไข่ บริเวณช่องท้องหรือส่วนล่างปากมดลูก ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์ได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ท้องนอกมดลูก อันตรายต่อแม่และทารกอย่างไร การท้องนอกมดลูกนั้น ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตและมีชีวิตรอดจนกระทั่งคลอดออกมาได้ และขณะที่ตัวอ่อนกำลังเติบโตอยู่นอกมดลูกก็มักทำให้หญิงตั้งครรภ์มีภาวะเลือดออกรุนแรง จากการที่อวัยวะที่มีการไปฝังตัวของตัวอ่อนแตกออก ส่งผลอันตรายต่อทั้งหญิงตั้งครรภ์และเด็ก หากไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยหรือมีการดูแลที่ถูกต้องและเหมาะสม ปัจจัยเสี่ยง ท้องนอกมดลูก ผู้ที่มีภาวะต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการท้องนอกมดลูกได้ เคยท้องนอกมดลูกมาก่อน  ผู้หญิงที่เคยท้องนอกมดลูกมาก่อน อาจเสี่ยงเกิดภาวะนี้ได้อีกครั้งเมื่อท้องถัดไปประมาณ 10-15% เกิดการอักเสบหรือการติดเชื้อ การติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ เช่น หนองใน หนองในเทียม ทำให้ท่อนำไข่หรืออวัยวะใกล้เคียงอักเสบ เกิดพังผืดในท่อนำไข่ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการท้องนอกมดลูกได้อีกด้วย เคยรับการรักษาภาวะมีบุตรยาก มีงานวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่มีการปฏิสนธินอกร่างกาย หรือมีการทำเด็กหลอดแก้ว หรือใช้วิธีที่คล้ายกันในการรักษาภาวะมีบุตรยาก เสี่ยงเกิดการท้องนอกมดลูก และอาจกล่าวได้ว่า ภาวะมีบุตรยากก็เพิ่มความเสี่ยงในการท้องนอกมดลูกได้เช่นกัน โดยเฉพาะในรายที่ทำกรณีใส่ตัวอ่อนระยะแรกไปที่บริเวณท่อนำไข่ แต่ ณ ปัจจุบันก็แทบไม่มีการใช้เทคนิคนี้แล้ว การผ่าตัดท่อนำไข่ การผ่าตัดเพื่อรักษาและแก้ไขท่อนำไข่ที่ปิดหรือได้รับความเสียหาย  เพิ่มความเสี่ยงในการท้องนอกมดลูกได้ การคุมกำเนิดต่าง ๆ  โอกาสในการตั้งครรภ์ของผู้ที่ใส่ห่วงคุมกำเนิด (Intrauterine device)  หรือ IUD นั้นเป็นไปได้ยาก หรือแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย แต่ถ้าหากตั้งครรภ์ขณะที่มีการใส่ห่วงคุมกำเนิดอยู่ด้วย อาจทำให้เสี่ยงท้องนอกมดลูกได้ และนอกจากการคุมกำเนิดด้วยวิธีใส่ห่วงคุมกำเนิดแล้ว การคุมกำเนิดแบบถาวรหรือการทำหมันด้วยการผ่าตัดผูกท่อนำไข่ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน