เตรียมตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ต้องใช้เวลาในการวางแผนและการเตรียมตัว ตั้งแต่เรื่องการเจริญพันธุ์ ไปจนถึงความเสี่ยงที่อาจมาพร้อมกับการตั้งครรภ์ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการ เตรียมตั้งครรภ์ ตั้งแต่การวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ ตลอดไปจนถึงวิธีเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ไว้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เตรียมตั้งครรภ์

การเตรียมตัวก่อนท้อง เตรียมพร้อม ตั้ง ครรภ์ ควรทำอย่างไร

การเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญ หากสภาพร่างกายและจิตใจของว่าที่คุณแม่พร้อมแล้ว ท้องนี้จะเป็นการตั้งครรภ์คุณภาพ ที่ได้รับการดูแลและใส่ใจตั้งแต่วันแรก เตรียมพร้อม ตั้ง ครรภ์ ควรเริ่มอย่างไร มีสิ่งไหนที่ต้องรู้บ้าง [embed-health-tool-ovulation] การเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ เมื่อตัดสินใจจะมีบุตร การดูแลสุขภาพเพื่อเตรียมพร้อมสู่การตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึง ซึ่งช่วงวัยที่เหมาะสมต่อการมีบุตรควรมีอายุระหว่าง 20-34 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่มีความสมบูรณ์แข็งแรง โดยการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์มี 3 ข้อที่สำคัญ ได้แก่ การเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย ก่อนตั้งครรภ์  ออกกำลังกายเป็นประจำ สามารถเลือกการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย แต่หากสนใจการเล่นโยคะก็เป็นทางเลือกที่ดี เพื่อฝึกท่าทาง การหายใจ ฝึกสมาธิ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในระหว่างการคลอดบุตรได้ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อร่างกายพักผ่อน 8 ชั่วโมงเป็นประจำ จะรู้สึกผ่อนคลายและสดชื่น  เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ได้แก่ ข้าว-แป้ง เนื้อสัตว์ ไข่ นม  ถั่วชนิดต่าง ๆ ผักและผลไม้สด รวมถึงดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ตรวจสุขภาพช่องปาก ลดความเสี่ยงการติดเชื้อในช่องปาก ป้องกันการเกิดฟันผุระหว่างตั้งครรภ์  หมั่นนับรอบประจำเดือน เป็นการคำนวณวันไข่ตก เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ การเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ พยายามฝึกอารมณ์และความรู้สึกให้ผ่อนคลายจากความเครียด เมื่อร่างกายผ่อนคลาย สุขภาพจิตใจแข็งแรงดี […]

หมวดหมู่ เตรียมตั้งครรภ์ เพิ่มเติม

สำรวจ เตรียมตั้งครรภ์

ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

ปัจจัยเสี่ยงมีลูกยากในผู้หญิง มีอะไรบ้าง

ปัจจัยเสี่ยงมีลูกยากในผู้หญิง อาจเกิดจากภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง ซึ่งเป็นภาวะหนึ่งของการพยายามตั้งครรภ์ ถึงแม้จะพยายามมีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งก็ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ สาเหตุอาจเกิดจากโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกในมดลูก และโรคต่อมไทรอยด์ หรือจากสาเหตุอื่น ๆ โดยเฉพาะยิ่งผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี อาจเพิ่มโอกาสภาวะมีบุตรยากสูงขึ้น [embed-health-tool-”ovulation”] ภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง คืออะไร ภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง เป็นภาวะหนึ่งของการพยายามตั้งครรภ์ ถึงแม้จะพยายามมีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งก็ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ สาเหตุอาจเกิดจากโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกในมดลูก และโรคต่อมไทรอยด์ หรือจากสาเหตุอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี อาจเพิ่มโอกาสภาวะมีบุตรยากสูงขึ้น ปัจจัยเสี่ยงมีลูกยากในผู้หญิง มีอะไรบ้าง ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้มีลูกยากในผู้หญิงมีด้วยกันหลายปัจจัย ดังนี้ ความผิดปกติของการตกไข่ ความผิดปกติของการตกไข่ เป็นภาวะที่ไข่ตกน้อยหรือไม่ตกเลย ปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมนสืบพันธ์ุ ต่อมใต้สมอง หรือปัญหาในรังไข่ที่ส่งผลต่อความผิดปกติของการตกไข่ ถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome หรือ PCOS) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง ทำให้เกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนส่งผลต่อการตกไข่ มีความเกี่ยวข้องกับอินซูลินและโรคอ้วน ทำให้ขนขึ้นผิดปกติบนใบหน้าหรือร่างกาย มีสิว ความผิดปกติของไฮโปทาลามิค (Hypothalamic Dysfunction) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตโดยต่อมใต้สมอง ที่ทำหน้าที่กระตุ้นการตกไข่ในแต่ละเดือน ความเครียดทางร่างกายและอารมณ์ น้ำหนักตัวที่สูงและต่ำเกินไป หรือเพิ่มและลดลงอย่างรวดเร็ว อาจเข้าไปขัดขวางการผลิตฮอร์โมนเหล่านี้ทำให้ส่งผลกระทบต่อการตกไข่ ภาวะรังไข่หยุดทำงาน (Premature Ovarian Failure) […]


ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

ปัจจัยเสี่ยงมีลูกยากในผู้ชาย มีอะไรบ้าง

ปัจจัยเสี่ยงมีลูกยากในผู้ชาย อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรค พันธุกรรม รูปแบบการใช้ชีวิต อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย โดยเฉพาะเรื่องปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้มีลูกยากได้ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะมีลูกยากได้ อย่างไรก็ตาม หากสงสัยว่าอาจมีภาวะมีบุตรยาก และต้องการมีบุตร ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหา และวิธีช่วยในการมีลูกที่เหมาะสมที่สุด ภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย คืออะไร? ภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย มักเกิดขึ้นได้น้อย เป็นการที่ผู้ชายไม่สามารถมีบุตรได้แม้ว่าจะมีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งและไม่ป้องกัน โดยภาวะมีบุตรยากอาจเกิดจากร่างกายผลิตน้ำอสุจิได้น้อย อสุจิทำงานผิดปกติ เกิดการอุดตันที่ท่อส่งอสุจิ การเจ็บป่วย บาดเจ็บ ปัญหาสุขภาพเรื้อรัง รูปแบบการใช้ชีวิต และปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากได้ ปัจจัยเสี่ยงมีลูกยากในผู้ชาย มีอะไรบ้าง ปัจจัยเสี่ยงมีลูกยากในผู้ชาย มีด้วยกันหลายปัจจัย ดังนี้ หลอดเลือดอัณฑะขอด (Varicocele) เป็นความผิดปกติทั่วไปของหลอดเลือดดำในถุงอัณฑะที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน มักไม่แสดงอาการแต่ในบางคนอาจมีอาการปวดลูกอัณฑะ และในบางคนอาจส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากได้ เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นในถุงอัณฑะจากการสะสมของเลือดในเส้นเลือด ส่งผลต่อการผลิตอสุจิและจำนวนอสุจิ หากคุณเป็นหลอดเลือดอัณฑะขอดอาจทำให้รู้สึกไม่สบาย ปวดเมื่อย ปวดเล็กน้อยบริเวณลูกอัณฑะ และคุณอาจเห็นเส้นเลือดที่บวมขึ้นเป็นก้อนเล็ก ๆ บริเวณลูกอัณฑะได้ ความผิดปกติทางพันธุกรรม ความผิดปกติทางพันธุกรรมมีด้วยกันจากหลายสาเหตุ เกิดความผิดปกติในการผลิตอสุจิที่โตเต็มวัย ทำให้อสุจิไม่แข็งแรง การเดินทางของอสุจิไปยังไข่จึงยากลำบาก ผู้ชายมีจำนวนอสุจิต่ำมากหรือไม่มีตัวอสุจิในน้ำอสุจิเลย ซึ่งอาจเกิดจากความบกพร่องทางกายภาพ เช่น ลูกอัณฑะมีขนาดเล็ก เกิดการกลายพันธุ์ของยีสซิสติกไฟโบรซิส (Cystic fibrosis Gene) ความผิดปกติของโครโมโซม เช่น […]


หัวข้ออื่นเกี่ยวกับการเตรียมตั้งครรภ์

อาหารเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง

อาหารเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ เป็นอาหารที่อาจช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้ร่างกายและเสริมสร้างภาวะเจริญพันธุ์ทั้งเพศหญิงและชายให้แข็งแรง เช่น ธัญพืช ผัก ผลไม้ ปลา โปรตีนจากพืช ซึ่งมักอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังเตรียมวางแผนมีลูก ควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อมด้านอื่น ๆ ทั้งการออกกำลังกาย การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ [embed-health-tool-ovulation] อาหารเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง ผู้ที่ต้องการมีลูก ควรเตรียมร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดังนี้ ถั่ว หนึ่งในอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันที่ดีต่อสุขภาพ และมีโปรตีนสูง รวมทั้งธาตุเหล็ก อาจช่วยเสริมสร้างให้มดลูกมีความแข็งแรงขึ้น และอาจผลิตไข่ที่มีคุณภาพ ผลิตภัณฑ์จำพวกนม 100 % นมเป็นแหล่งเสริมแคลเซียมที่ดี และยังช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง รวมถึงการส่งผลดีต่อภาวะเจริญพันธุ์ ผักใบเขียว เช่น ผักโขม กะหล่ำ บลอกโคลี่ คะน้า มักประกอบไปด้วยโฟเลต และวิตามินบี ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับผู้หญิง อาจช่วยเร่งการตกไข่ และอาจช่วยให้อสุจิแข็งแรงขึ้น รวมทั้งอาจช่วยป้องกันความผิดปกติของยีนที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการปฏิสนธิ งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับอาหารเสริมโฟเลตและการตั้งครรภ์ ประโยชน์ที่มากกว่าการป้องกันการติดเชื้อในเส้นประสาท เผยแพร่ใน PUBMED พ.ศ. 2554 ระบุว่า โฟเลตหรือวิตามินบี 9 เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนายีนระหว่างการตั้งครรภ์ การได้รับปริมาณโฟเลตอย่างเพียงพอส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์ แต่หากร่างกายหญิงตั้งครรภ์ขาดโฟเลตอาจส่งผลให้ทารกผิดปกติหรือเติบโตช้า […]


ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

รักษาภาวะมีบุตรยาก ทำได้อย่างไรบ้าง

ภาวะมีบุตรยาก เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาทางสุขภาพ ภาวะทางการแพทย์ รวมถึงการใช้ยาบางชนิดที่อาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ดังนั้น การ รักษาภาวะมีบุตรยาก อาจทำให้สามารถตั้งครรภ์และมีลูกได้ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี โและพยายามมีบุตรมาเป็นระยะเวลานานกว่า 6 เดือน อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากนั้นอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน [embed-health-tool-ovulation] ภาวะมีบุตรยาก คืออะไร ภาวะมีบุตรยาก คือ ภาวะที่ผู้หญิงไม่สามารถตั้งครรภ์ได้แม้จะมีเพศสัมพันธ์บ่อยและไม่มีการคุมกำเนิด ซึ่งภาวะนี้มักเกิดในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ซึ่งหลังจากพยายามมา 6 เดือนแต่ยังไม่ตั้งครรภ์ โดยปกติแล้ว ภาวะมีบุตรยากอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาทางสุขภาพ ภาวะทางการแพทย์ รวมถึงการใช้ยาบางชนิดที่อาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก ภาวะมีบุตรยากนั้นอาจเกิดขึ้นจากหลาย ๆ สาเหตุดังต่อไปนี้ สาเหตุของภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง สาเหตุของภาวะมีบุตรยากในผู้หญิงนั้นอาจมีดังนี้ อายุที่มากขึ้น ภาวะมีบุตรยากอาจพบได้มากในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป  มีประวัติการผ่าตัดกระดูกเชิงกราน อาจเสี่ยงทำให้ท่อนำไข่เสียหาย เมือกปากมดลูกหนา อาจทำให้อสุจิไหลผ่านเข้าสู่มดลูกได้ยาก เนื้องอกมดลูก อาจเสี่ยงต่อการอุดตันท่อนำไข่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) อาจส่งผลทำให้รังไข่ ท่อนำไข่ ไม่พร้อมต่อการปฏิสนธิและการตั้งครรภ์ ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease หรือ PID) อาจส่งผลให้ท่อนำไข่เสียหาย […]


ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

ตรวจภาวะมีบุตรยาก เตรียมตัวอย่างไรก่อนไปพบคุณหมอ

คู่สมรสบางคู่ หลังจากแต่งงานแล้วก็ตั้งความหวังที่จะมีเจ้าตัวเล็กมาวิ่งเล่นในบ้าน เติมเต็มความสุขในครอบครัวอีกหนึ่งระดับ แต่ก็ไม่ใช่คู่แต่งงานทุกคู่ที่จะสมหวังกับเป้าหมายนั้น บางคู่พยายามกันมาหลายต่อหลายครั้งแต่ก็ยังไม่มีลูกน้อยมาเป็นสมาชิกคนใหม่สักที ในกรณีนี้ ควรลอง ตรวจภาวะมีบุตรยาก เพื่อหาแนวทางรักษาและแก้ไขต่อไป [embed-health-tool-ovulation] ทำไมควร ตรวจภาวะมีบุตรยาก การตรวจหา ภาวะมีบุตรยาก มีจุดประสงค์เพื่อให้คู่แต่งงาน หรือผู้ที่ต้องการมีลูกทราบโอกาสหรือแนวโน้มในการมีลูก หากตรวจพบว่าอยู่ในภาวะการมีบุตรยาก คุณหมออาจช่วยเสนอแนวทางเพิ่มโอกาสในการมีลูกได้ โดยเฉพาะในคู่สมรสที่แต่งงานและมีเพศสัมพันธ์ตามปกติโดยไม่มีการคุมกำเนิดมาเป็นเวลากว่า 1 ปีแล้ว แต่ยังไม่ตั้งครรภ์ หรือสามีภรรยาที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป และต้องการจะมีลูก หากเข้าข่ายดังกล่าว ควรหาโอกาสเข้าปรึกษาคุณหมอและตรวจวินิจฉัยภาวะการมีบุตรยาก จะได้ทราบความเสี่ยงหรือแนวโน้มการตั้งครรภ์ในอนาคต เตรียมตัวก่อนไป ตรวจภาวะมีบุตรยาก อย่างไรดี ก่อนเข้ารับการตรวจภาวะมีบุตรยาก คู่สมรสสามารถเตรียมตัวไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ได้ดังนี้ เตรียมคำถามไว้ถามแพทย์ เพื่อให้ได้คำตอบสำหรับข้อสงสัยที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ หรือโอกาสในการตั้งครรภ์ หากเป็นไปได้ คู่สมรสควรไปด้วยกัน เพื่อให้ได้ทราบแนวโน้มหรือความเสี่ยงของสุขภาพทางเพศ โอกาสในการมีลูก รวมถึงความเสี่ยงว่าใครมีภาวะมีบุตรยาก เตรียมข้อมูลส่วนตัวให้พร้อม เช่น ประวัติการรักษาโรคที่ผ่านมา ยารักษาโรค อาหารเสริมที่บริโภคอยู่ ตลอดจนประวัติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรสนิยมทางเพศ หรือปัญหาพันธุกรรม เลือกสถานพยาบาลที่ไว้วางใจ หรือมีราคาค่าตรวจภาวะมีบุตรยากในระดับที่พร้อมจ่าย เลือกวันและเวลาที่ตัวเองและคู่สมรสสะดวกตรงกัน เพื่อให้สามารถเข้ารับการตรวจได้พร้อม ๆ กัน และรับฟังคำวินิจฉัยร่วมกัน […]


ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

อสุจิน้อย ควรดูแลสุขภาพอย่างไรเพื่อเพิ่มโอกาสการมีบุตร

อสุจิน้อย หมายถึง การที่มีจำนวนตัวอสุจิในน้ำเชื้อเมื่อหลั่งออกมาระหว่างการมีเพศสัมพันธ์หรือเมื่อถึงจุดสุดยอดในปริมาณที่น้อยกว่าปกติ ซึ่งส่งผลให้โอกาสที่ตัวอสุจิจะไปปฏิสนธิกับไข่ในร่างกายของเพศหญิงจนนำไปสู่การตั้งครรภ์นั้นต่ำกว่าปกติ ผู้ที่ต้องการมีบุตรหากไม่มั่นใจว่าตนเองมีปัญหาอสุจิน้อยหรือไม่ ควรเข้ารับการตรวจจากคุณหมอและขอคำแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อเพิ่มโอกาสมีบุตร   [embed-health-tool-ovulation] อสุจิน้อย เกิดจากอะไร ปัญหาน้ำอสุจิน้อย อสุจิไม่แข็งแรง เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การใช้ยาอนาบอลิกสเตียรอยด์ (Anabolic Steroids) การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ โรคอ้วน การสัมผัสกับสารเคมีติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เช่น ยาฆ่าแมลง สารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรม การปนเปื้อนของสารโลหะหนัก ไม่เพียงแต่ทำให้อสุจิลดลง แต่ยังทำให้ อสุจิไม่แข็งแรง เสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยาก การได้รับรังสีในปริมาณสูง อัณฑะมีอุณหภูมิสูง เช่น การเข้าสปา ซาวน่า การแช่บ่อน้ำร้อน มีผลให้อสุจิลดลงชั่วคราว ภาวะหลอดเลือดดำอัณฑะขอด การติดเชื้อ เช่น หนองใน เอชไอวี หลอดน้ำอสุจิอักเสบ อัณฑะอักเสบ การบาดเจ็บ โดยเฉพาะการบาดเจ็บที่ท่อปัสสาวะ อัณฑะ ต่อมลูกหมาก ฮอร์โมนไม่สมดุล โครโมโซมบกพร่อง อาจมีสาเหตุอื่นที่นอกเหนือจากข้างต้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ควรเข้ารับการตรวจจำนวนอสุจิและขอรับคำแนะนำจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ  เมื่อมี อสุจิน้อย ควรปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อมีภาวะของอสุจิน้อย อสุจิไม่แข็งแรง ควรมีการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใชีชีวิตประจำวันดังต่อไปนี้ เพื่อช่วยให้อสุจิแข็งแรง และเพิ่มโอกาสการมีบุตร ควบคุมน้ำหนัก การมีน้ำหนักตัวมาก โรคอ้วน เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ปริมาณอสุจิลดลง […]


ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

มินิไอวีเอฟ (Mini-IVF) ทางเลือกใหม่สำหรับผู้มีบุตรยาก

มินิไอวีเอฟ (Mini-IVF) หรือ Micro IVF เป็นกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วที่จะช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้แก่ผู้ที่มีบุตรยาก โดยเป็นการใช้วิทยาการสมัยใหม่กระตุ้นรังไข่ซึ่งแตกต่างจากกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วปกติในเรื่องของปริมาณการใช้ยาเพื่อกระตุ้นรังไข่ให้มีไข่ตกจำนวนน้อยกว่าแต่คาดว่าจะได้ไข่ที่มีคุณภาพมากกว่า  [embed-health-tool-ovulation] มินิไอวีเอฟ.(Mini-IVF) เทคนิคการกระตุ้นรังไข่ เทคนิคมินิไอวีเอฟ..(Mini In Vitro Fertilization หรือ IVF) คือ กระบวนการทำเด็กหลอดแก้วที่ใช้ยาปริมาณน้อยกว่าในการกระตุ้นรังไข่เพื่อให้ไข่ตก โดยวันที่ 3 ของการมีประจำเดือน คุณหมอจะให้ยารับประทานเพื่อไปกระตุ้นรังไข่เป็นระยะเวลา 8-10 วัน ร่วมกับการฉีดยาฮอร์โมนในปริมาณเล็กน้อย เพื่อกระตุ้นรังไข่ในช่วง 3-4 วัน  อย่างไรก็ตาม กระบวนการทำเด็กหลอดแก้วมินิไอวีเอฟจะกระตุ้นรังไข่เพื่อให้ได้ฟองไข่ 3-4 ใบ และกลายเป็นตัวอ่อน 2-3 ตัว ที่มีคุณภาพ ซึ่งแตกต่างจากการทำไอวีเอฟทั่วไป เพราะเน้นการฉีดยาฮอร์โมนกระตุ้นเพื่อให้ไข่ตกหลายใบ  แต่เนื่องจากร่างกายได้รับปริมาณยาและฮอร์โมนจำนวนมาก จึงอาจทำให้คุณภาพของตัวอ่อนด้อยกว่าการทำมินิไอวีเอฟ มินิไอวีเอฟมีประโยชน์แตกต่างจากการทำไอวีเอฟทั่วไปอย่างไร มินิไอวีเอฟมีประโยชน์แตกต่างจากการทำไอวีเอฟทั่วไป ดังต่อไปนี้ การทำมินิไอวีเอฟใช้ปริมาณยาที่ใช้ในการกระตุ้นรังไข่น้อยกว่า  ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการที่รังไข่เกิดการกระตุ้นมากเกินไป ไม่ต้องเจ็บปวดจากการโดนฉีดยากระตุ้นรังไข่ทุกวัน ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการทำไอวีเอฟแบบทั่วไป กระบวนการมินิไอวีเอฟสามารถผลิตไข่ได้มีคุณภาพสูงกว่าการทำไอวีเอฟทั่วไป อัตราความสำเร็จในการมีบุตรเมื่อเข้าสู่กระบวนการมินิไอวีเอฟ  จากผลการศึกษาในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการทดลองสำรวจกลุ่มตัวอย่างประชากร จำนวย  520 คน ซึ่งจัดแสดงในการประชุม American Society of Reproductive Medicine ( […]


หัวข้ออื่นเกี่ยวกับการเตรียมตั้งครรภ์

ตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์ (Bleeding During Pregnancy)

ตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์ (Bleeding During Pregnancy) ถือเป็นภาวะปกติในหญิงตั้งครรภ์ โดยมักเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ 1-12 เดือน แต่ในบางครั้งการมีเลือดออกอาจเป็นสัญญาณเตือนของความผิดปกติในระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งต้องได้รับการตรวจจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำ คำจำกัดความตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์ (Bleeding During Pregnancy) คืออะไร ตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์ (Bleeding During Pregnancy) ถือเป็นภาวะปกติในหญิงตั้งครรภ์ โดยมักเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ 1-12 เดือน แต่ในบางครั้งการมีเลือดออกอาจเป็นสัญญาณเตือนของความผิดปกติในระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งต้องได้รับการตรวจจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำ เพราะหากไม่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด อาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ พบได้บ่อยเพียงใด อาการตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์ มักพบในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 1-12  เดือน   อาการอาการตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์ 20 % ในผู้หญิงตั้งครรภ์มักมีเลือดออกในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ โดยมีอาการแสดงออก ดังต่อไปนี้  เลือดล้างหน้าเด็ก ผู้หญิงบางคนอาจไม่รู้ว่าตนเองตั้งครรภ์ เข้าใจผิดคิดว่าเป็นประจำเดือน โดยปกติเลือดล้างหน้าเด็กจะไหลออกมาเพียงเล็กน้อยคล้ายรอบเดือน โดยมักพบอาการนี้ใน 6-12 วันแรกหลังจากตั้งครรภ์  ภาวะแท้งบุตร เนื่องจากการแท้งบุตรมักเกิดขึ้นบ่อยสุดในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ หากคุณมีภาวะแท้งบุตรจะมีเลืออดออกและมีอาการปวดบริเวณท้องน้อย และมีเนื้อเยื่อไหลออกมาจากช่องคลอด ตั้งครรภ์นอกมดลูก การท้องนอกมดลูกนี้ อาจเกิดขึ้นในการตั้งครรภ์ประมาณ 2% เท่านั้น จะมีอาการปวดบริเวณท้องน้อย หน้ามืด รวมถึงมีอาการตะคริว ครรภ์ไข่ปลาอุก เป็นภาวะที่พบยากมาก เกิดจากเนื้อเยื่อที่ผิดปกติเติบโตภายในมดลูกแทนที่จะเป็นทารก ส่งผลให้ผู้หญิงที่เกิดครรภ์ไข่ปลาอุก […]


ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

ภาวะมีบุตรยาก อาการ สาเหตุ และการรักษา

ภาวะมีบุตรยาก คือ ภาวะที่ไม่สามารถมีบุตรได้แม้จะมีเพศสัมพันธ์บ่อยและไม่มีการคุมกำเนิดอย่างน้อย 1 ปี โดยเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย มีสาเหตุจากปัญหาทางสุขภาพ ภาวะทางการแพทย์ รวมถึงการใช้ยาบางชนิด ทั้งนี้ ภาวะมีบุตรยากมักเกิดขึ้นในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี โดยไม่สามารถตั้งครรภได้หลังจากพยายามมีเพศสัมพันธ์นานกว่า 6 เดือน [embed-health-tool-”ovulation”] คำจำกัดความ ภาวะมีบุตรยาก คืออะไร ภาวะมีบุตรยาก คือ ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถตั้งครรภ์ได้แม้จะมีเพศสัมพันธ์บ่อยและไม่มีการคุมกำเนิดอย่างน้อย 1 ปี ภาวะมีบุตรยากในผู้หญิงอาจเกิดขึ้นหากมีอายุมากกว่า 35 ปี และไม่สามารถตั้งครรภได้หลังจากพยายามมา 6 เดือน ความจริงแล้วปัญหามีบุตรยากสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย โดยสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก อาจเกิดขึ้นจากปัญหาทางสุขภาพ ความผิดปกติของการตกไข่ ความผิดปกติของอสุจิ ภาวะทางการแพทย์ รวมถึงการใช้ยาบางชนิด ภาวะมีบุตรยากพบได้บ่อยเพียงใด ภาวะมีบุตรยากมักพบในเพศหญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี รวมถึงผู้ที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์  รวมถึงสภาวะเครียดทางจิตใจ อาการ อาการของภาวะมีบุตรยาก อาการหลักของภาวะมีบุตรยาก คือ การไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ กรณีผู้หญิงที่มีบุตรยากอาจเกิดจากความผิดปกติของประจำเดือน ส่วนในกรณีของผู้ชายอาจเกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน โดยอาการที่แสดงออกของภาวะมีบุตรยากในเพศหญิงและเพศชายมีดังต่อไปนี้ อายุ 35 ปีขึ้นไปและพยายามตั้งครรภ์เป็นเวลา 6 เดือน หรือนานกว่านั้น ประจำเดือนมาไม่ปกติ เคยมีประวัติการแท้งมาก่อนหลายครั้ง เคยเข้ารับการรักษาโรคมะเร็ง ควรไปพบหมอเมื่อใด ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ อาจนำไปสู่การปฏิบัติตนที่ไม่ถูกต้องในการดูแลรักษาสุขภาพขณะตั้งครรภ์ และอาจส่งผลต่อภาวะการเจริญเติบโตของลูกน้อยได้ หากได้ยินเรื่องเล่าต่อ ๆ กันมา หรือความเชื่อจากคนรอบข้าง คุณแม่และคุณพ่อมือใหม่อาจต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้ หรือปรึกษาสอบถามจากคุณหมอถึงความเชื่อเหล่านั้น [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์คุณพ่อคุณแม่มักศึกษาหาข้อมูลเพื่อดูแลลูกน้อยให้ปลอดภัยและแข็งแรงมากที่สุด แต่อาจได้รับข้อมูลหรือความเชื่อที่แน่ใจว่าจริงหรือเท็จ สำหรับความเชื่อที่มักได้ยินกันบ่อย ๆ ได้แก่ ความเชื่อที่ 1 การรับประทานอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งมาก ๆ ในช่วงตั้งครรภ์ อาจทำให้ลูกแพ้อาหารเหล่านั้น บางคนอาจจะเคยได้ยินว่า หากในช่วงที่กำลังท้องอยู่ คุณแม่รับประทานอาหารบางอย่างมาก ๆ เช่น ถั่ว นม  กุ้ง อาจทำให้ลูกที่เกิดมามีอาการแพ้อาหารเหล่านั้นได้ ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อที่ผิด การรับประทานอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งในช่วงตั้งครรภ์มาก ๆ นั้นไม่ได้ส่งผลอะไรให้ลูกน้อยแพ้อาหารเหล่านั้นเมื่อคลอดออกมา เว้นเสียแต่ว่าตัวคุณแม่จะมีโรคภูมิแพ้ต่ออาหารเหล่านั้นอยู่ก่อนแล้ว อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งในปริมาณที่มากเกินไปย่อมไม่เป็นผลดีทั้งต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ได้ ควรเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลายและพอดี  ที่สำคัญคือการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และลูกน้อย ความเชื่อที่ 2 คุณแม่ควรรับประทานอาหารเผื่อลูกในท้อง เมื่อตั้งครรภ์ คุณแม่หลายคนอาจจะเริ่มบำรุงร่างกาย และรับประทานอาหารให้มากขึ้น เพราะต้องการเผื่อลูกน้อย แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้ว่าคุณแม่นั้นควรจะได้รับแคลอรี่ที่เพียงพอต่อพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ แต่ไม่ควรรับประทานอาหารมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ มีงานวิจัยที่พบว่า คุณแม่ที่รับประทานอาหารมากเกินไปขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และโรคหัวใจ เมื่อลูกน้อยเกิดมาก็อาจเสี่ยงเป็นโรคอ้วนได้ด้วย คุณแม่ควรค่อย ๆ เพิ่มปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับไปในแต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์ และเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ และดีต่อสุขภาพ ความเชื่อที่ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน