เตรียมตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ต้องใช้เวลาในการวางแผนและการเตรียมตัว ตั้งแต่เรื่องการเจริญพันธุ์ ไปจนถึงความเสี่ยงที่อาจมาพร้อมกับการตั้งครรภ์ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการ เตรียมตั้งครรภ์ ตั้งแต่การวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ ตลอดไปจนถึงวิธีเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ไว้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เตรียมตั้งครรภ์

การเตรียมตัวก่อนท้อง เตรียมพร้อม ตั้ง ครรภ์ ควรทำอย่างไร

การเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญ หากสภาพร่างกายและจิตใจของว่าที่คุณแม่พร้อมแล้ว ท้องนี้จะเป็นการตั้งครรภ์คุณภาพ ที่ได้รับการดูแลและใส่ใจตั้งแต่วันแรก เตรียมพร้อม ตั้ง ครรภ์ ควรเริ่มอย่างไร มีสิ่งไหนที่ต้องรู้บ้าง [embed-health-tool-ovulation] การเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ เมื่อตัดสินใจจะมีบุตร การดูแลสุขภาพเพื่อเตรียมพร้อมสู่การตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึง ซึ่งช่วงวัยที่เหมาะสมต่อการมีบุตรควรมีอายุระหว่าง 20-34 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่มีความสมบูรณ์แข็งแรง โดยการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์มี 3 ข้อที่สำคัญ ได้แก่ การเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย ก่อนตั้งครรภ์  ออกกำลังกายเป็นประจำ สามารถเลือกการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย แต่หากสนใจการเล่นโยคะก็เป็นทางเลือกที่ดี เพื่อฝึกท่าทาง การหายใจ ฝึกสมาธิ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในระหว่างการคลอดบุตรได้ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อร่างกายพักผ่อน 8 ชั่วโมงเป็นประจำ จะรู้สึกผ่อนคลายและสดชื่น  เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ได้แก่ ข้าว-แป้ง เนื้อสัตว์ ไข่ นม  ถั่วชนิดต่าง ๆ ผักและผลไม้สด รวมถึงดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ตรวจสุขภาพช่องปาก ลดความเสี่ยงการติดเชื้อในช่องปาก ป้องกันการเกิดฟันผุระหว่างตั้งครรภ์  หมั่นนับรอบประจำเดือน เป็นการคำนวณวันไข่ตก เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ การเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ พยายามฝึกอารมณ์และความรู้สึกให้ผ่อนคลายจากความเครียด เมื่อร่างกายผ่อนคลาย สุขภาพจิตใจแข็งแรงดี […]

หมวดหมู่ เตรียมตั้งครรภ์ เพิ่มเติม

สำรวจ เตรียมตั้งครรภ์

หัวข้ออื่นเกี่ยวกับการเตรียมตั้งครรภ์

ปัจจัยที่ทำให้การทำเด็กหลอดแก้วล้มเหลว

เด็กหลอดแก้ว หรือ In Vitro Fertilization: IVF เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการปฏิสนธิของไข่และอสุจิภายนอกร่างกาย จากนั้นนำตัวอ่อนไปฝังภายในมดลูกของผู้หญิง แล้วปล่อยให้ตัวอ่อนหรือทารกเจริญเติบโตตามธรรมชาติ แต่การทำเด็กหลอดแก้วอาจไม่ประสบผลสำเร็จทุกครั้งเสมอไปซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น ความผิดปกติของไข่หรืออสุจิ ความผิดปกติของโครโมโซม ปัญหาในห้องปฏิบัติการ ดังนั้น คุณแม่จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการทำเด็กหลอดแก้วล้มเหลวเพื่อพิจารณาข้อดีและข้อเสียก่อนตัดสินใจทำเด็กหลอดแก้ว [embed-health-tool-ovulation] ปัจจัยที่ทำให้การทำเด็กหลอดแก้วล้มเหลว ตัวแปรที่สำคัญที่สุดในการทำเด็กหลอดแก้วให้ได้ผล ได้แก่ ไข่ที่แข็งแรง อสุจิที่แข็งแรง และมดลูกที่แข็งแรง ซึ่งจะเอื้อต่อการเจริญเติบโตของทารก ในหลายกรณีที่การทำเด็กหลอดแก้วล้มเหลว มีสาเหตุมากกว่าหนึ่งประการ คุณหมอผู้เชี่ยวชาญจะดูที่ลักษณะของตัวอ่อน และประเมินอัตราการเจริญเติบโตตามปกติ เมื่อพบสาเหตุแล้ว คุณหมอจะพูดคุยกับครอบครัว เพื่อวางแผนการป้องกัน ซึ่งการทำเด็กหลอดแก้วไม่ได้ผลนั้นอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ ความผิดปกติของไข่ ความผิดปกติของไข่ มักเกิดขึ้นเมื่อเซลล์มีการแบ่งตัว และไม่มีการสร้างสำเนาโครโมโซมอย่างเหมาะสม ก่อให้เกิดความเสียหาย ส่งผลให้เกิดการกระจายตัวที่ผิดปกติของโครโมโซม เกิดตัวอ่อนที่ผิดปกติ ซึ่งความผิดปกตินี้พบได้บ่อยในผู้หญิงช่วงวัยกลางคน อสุจิที่ผิดปกติ ถึงแม้ว่าโอกาสที่จะพบอสุจิผิดปกติ นั้นมีน้อยกว่าการพบไข่ที่ผิดปกติ แต่หากพบว่าอสุจิมีภาวะผิดปกติ  ระดับความผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซมจะส่งผลให้เกิดความล้มเหลวได้มากกว่า เพราะเมื่ออสุจิไม่แข็งแรง จะไม่สามารถผสมกับไข่ได้ วิธีการเลือกตัวอ่อน ไข่หรือตัวอ่อนที่ได้รับการฝังตัวในร่างกายผู้หญิง จะได้รับการคัดเลือกโดยคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ โดยยึดตามหลักเกณฑ์สามประการในการเลือกตัวอ่อน ได้แก่ ระยะของเซลล์ คุณภาพของตัวอ่อน และอัตราการแบ่งตัวของเซลล์ อย่างไรก็ดี เป็นเรื่องยากที่จะระบุได้ว่า ตัวเลือกที่เลือกนั้นสมบูรณ์แบบ  โดยตัวอ่อนที่ดีที่สุดคุณหมอจะเลือกได้โดยยึดตามการศึกษาในห้องปฏิบัติการ และสุ่มเลือกตัวอ่อนที่ดีที่สุดแต่ไม่สามารถรับรองความสมบูรณ์ของตัวอ่อนได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ความผิดปกติของโครโมโซม เช่นเดียวกับการตั้งครรภ์ตามปกติที่ตัวอ่อนมีโอกาสเกิดความผิดปกติทางโครโมโซม ทั้งนี้เกิดขึ้นได้จากยีนที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมมาจากพ่อและแม่ หรือเกิดการพัฒนาผิดปกติระหว่างที่ตัวอ่อนมีการแบ่งตัว ทำให้หยุดเจริญเติบโตได้ ปัจจัยทางห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำเด็กหลอดแก้ว ห้องปฏิบัติการซึ่งเป็นที่เลี้ยงตัวอ่อนมักจะมีการควบคุมสภาพแวดล้อมเป็นอย่างดี […]


ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

ยาเพรดนิโซโลน ช่วยแก้ปัญหามีบุตรยากได้จริงเหรอ

ยาเพรดนิโซโลน (Prednisolone) หรือยาเพรดนิโซน (Prednisone) เป็นยาสเตียรอยด์ชนิดหนึ่งที่ใช้เพื่อรักษาอาการต่าง ๆ เช่น อาการอักเสบ ภูมิแพ้ ปัญหาระบบภูมิคุ้มกัน ปัญหาระบบการหายใจ โรคมะเร็ง โดยออกฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันและช่วยลดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อโรคต่าง ๆ นอกจากนี้ บางครั้งคุณหมอก็อาจให้ยาเพรดนิโซโลนสำหรับผู้ที่มีปัญหามีบุตรยาก หรือมีปัญหาแท้งบุตรบ่อยครั้ง เพื่อช่วยลดเซลล์ที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการใช้ยาเพรดนิโซโลนเพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ [embed-health-tool-ovulation] เพรดนิโซนหรือ ยาเพรดนิโซโลน คืออะไร เพรดนิโซน หรือเพรดนิโซโลน เป็นคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroid) ประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ ที่มีสรรพคุณในการยับยั้งการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน ในบางครั้งมีการสั่งยาเพรดนิโซโลนสำหรับผู้หญิงที่มีการแท้งซ้ำ และผู้ที่มีเซลล์เอ็นเค (NK cells) ซึ่งเป็นเซลล์ที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ สำหรับผู้ชายยาเพรดนิโซโลนใช้เพื่อช่วยลดการสร้างแอนติบอดีที่ต้านอสุจิ อย่างไรก็ดี เพรดนิโซโลน ไม่ได้ใช้สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเจริญพันธุ์เท่านั้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ มีความผิดปกติเกี่ยวกับเลือด และมีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจและผิวหนัง สามารถใช้ประโยชน์จากยาเพรดนิโซโลนได้เช่นกัน ซึ่งเป็นผลดีจากสรรพคุณเกี่ยวกับการต้านการอักเสบและการกดภูมิคุ้มกัน ยาเพรดนิโซโลนช่วยแก้ปัญหามีบุตรยากได้จริงเหรอ ถึงแม้ว่าเพรดนิโซโลน จะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในเวชปฏิบัติทั่วไป แต่สรรพคุณเกี่ยวกับภาวะเจริญพันธุ์ยังไม่เป็นที่ยืนยัน ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้ยานี้ ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับบทบาทที่น่าสงสัยของเพรดนิโซโลน ในการลดความเสี่ยงในการแท้ง และและอันตรายของเซลล์เอ็นเค อย่างไรก็ดี การศึกษาดังกล่าวเป็นเพียงการศึกษาขนาดเล็ก และจนกระทั่งปัจจุบันนี้ยังไม่มีการทดลองใช้อย่างกว้างขวาง ผู้เชี่ยวชาญชาวออสเตรเลียทำการศึกษา โดยการใช้ยาเพรดนิโซโลนในขนาดเล็กน้อยร่วมกับยาเจือจางเลือด Clexane ด้วยความหวังว่าจะช่วยยับยั้งเซลล์เอ็นเคในผู้หญิงที่มีการแท้งซ้ำ ผลลัพธ์เป็นไปในทางที่ดี และไม่เพียงพอที่จะได้ข้อสรุปที่หนักแน่น เนื่องจากมีกลุ่มตัวอย่างน้อย การใช้ยาเพรดนิโซโลนสำหรับผู้ที่มีบุตรยาก ในผู้ป่วยหญิงทั่วไป […]


เตรียมตั้งครรภ์

เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ด้วย ชาเขียว ได้จริงหรือไม่

งานวิจัยหลายชิ้นเปิดเผยว่า การดื่มชาเขียวช่วย เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ได้ แต่งานวิจัยอื่น ๆ พิสูจน์ว่าการบริโภคคาเฟอีนจากชาเขียวส่งผลต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการปฏิสนธิ จึงควรปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญให้ดีก่อนตัดสินใจเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ด้วยวิธีนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับ ชาเขียว ที่ควรรู้ ชาเขียวนับเป็นเครื่องดื่มที่เป็นที่นิยมทั่วโลก เนื่องจากมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ชาเขียวถูกสกัดมาจากใบของต้นชา โดยการนำใบชาที่ไม่ได้ผ่านการหมักมาทำเป็นชาเขียว ชาเขียวมีปริมาณสารโพลิฟินอล (polyphenols) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ อยู่ร้อยละ 30-40 โดยส่วนใหญ่เป็นสารที่เรียกว่าแคทิชิน (catechin) ชาเขียวประกอบด้วยสารแคทิชิน 6 ชนิด ได้แก่ แคทิชิน (catechin) แกลาโอแคทีชิน (gallaocatechin) เอพิแคทีชิน (epicatechin) เอพิแกลาโอแคทีชิน (epigallocatechin) เอพิแคทีชิน แกลเลต (epicatechin gallate) และเอพิแกลาโอแคทีชิน แกลเลต (apigallocatechin gallate/ EGCG) นอกจากนี้ ชาเขียวยังประกอบด้วยสารแอคาลอยด์ เช่น คาเฟอีน เธโอโบรมีน และเธโอฟิลลีน จากข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์ ชาเขียวมีประโยชน์มากมายต่อร่างกาย เช่น ช่วยลดน้ำหนัก ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และมะเร็ง ทำให้สูบบุหรี่น้อยลง ไขมันลดลง และออกกำลังกายได้อย่างสม่ำเสมอ […]


ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

ไฮโปไทรอยด์ ส่งผลต่อโอกาสตั้งครรภ์อย่างไร

ไฮโปไทรอยด์ เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอกซิน (Thyroxine) มากเกินไป ซึ่งฮอร์โมนไทรอกซินเป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่ในการควบคุมเมแทบอลิซึม เพื่อผลิตพลังงานให้แก่ร่างกาย โดยภาวะไฮโปไทรอยด์อาจพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ และอาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ เช่น วงจรการตกไข่ ระดับโปรแลคตินสูง ความไม่สมดุลของฮอรโมนเพศ และหากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอาจส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก [embed-health-tool-ovulation] ไฮโปไทรอยด์ คืออะไร ไฮโปไทรอยด์ เกิดขึ้นเมื่อต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอกซินมากเกินไป ซึ่งฮอร์โมนไทรอกซินเป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่ในการควบคุมเมแทบอลิซึม เพื่อผลิตพลังงานให้แก่ร่างกาย โดยไฮโปไทรอยด์อาจพบได้บ่อยในเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์ และอาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ เช่น วงจรการตกไข่ ระดับโปรแลคตินสูง ความไม่สมดุลของฮอรโมนเพศ และหากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอาจส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ไฮโปไทรอยด์ กับการตั้งครรภ์ ไฮโปไทรอยด์อาจส่งผลต่อการตกไข่ โดยปกติผู้หญิงที่มีประจำเดือนในแต่ละเดือน ไข่จะถูกปล่อยออกมาจากรังไข่ แต่สำหรับผู้หญิงที่มีภาวะไฮโปไทรอยด์ อาจตกไข่น้อยลงหรือไม่ตกไข่เลย ซึ่งอาจส่งผลให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ นอกจากนั้น ภาวะไฮโปไทรอยด์ยังอาจรบกวนการพัฒนาของตัวอ่อน ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร หากคุณแม่ตั้งครรภ์โดยที่ไม่ได้รับการรักษาภาวะไฮโปไทรอยด์ อาจส่งผลให้ทารกคลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระบบประสาท ดังนั้น ผู้ที่ต้องการมีบุตรหรือกำลังตั้งครรภ์ควรเข้ารับการตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์และได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาการของภาวะไฮโปไทรอยด์ อาการของภาวะไฮโปไทรอยด์ที่อาจเกิดขึ้น อาจมีดังนี้ หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น น้ำหนักลดทั้งที่รับประทานอาหารในปริมาณปกติ เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ หงุดหงิด วิตกกังวล สูญเสียกระดูก กระดูกบาง การตรวจและรักษาภาวะไฮโปไทรอยด์ สำหรับการตรวจหาภาวะไฮโปไทรอยด์ คุณหมออาจตรวจร่างกายและตรวจเลือด เพื่อวัดระดับฮอรโมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (TSH) […]


หัวข้ออื่นเกี่ยวกับการเตรียมตั้งครรภ์

อาการคนท้อง สัญญาณแปลก ๆ ที่ไม่บอกก็ไม่รู้ว่าคุณ ตั้งครรภ์

ประจำเดือนไม่มา เต้านมคัด หรือรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา เป็น อาการคนท้อง ที่สาวๆ หลายคนรู้ แต่รู้หรือไม่ว่า ยังมีสัญญาณการตั้งครรภ์แปลกๆ อีกมากมาย ที่คุณอาจคาดไม่ถึงและไม่รู้ว่าหากมีอาการเหล่านี้ อาจหมายถึงคุณกำลังตั้งครรภ์ อยู่ก็เป็นได้ อาการคนท้อง ที่คุณอาจคาดไม่ถึง 1. มีของเหลวไหลออกมาจากช่องคลอด หากมีเมือกลักษณะคล้ายตกขาวไหลออกมาจากช่องคลอด เช่น เมือกสีเหลืองอ่อน เมือกเหนียว ๆ สีขาว อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังตั้งครรภ์อยู่ก็ได้ เนื่องจากเวลาตั้งครรภ์ฮอร์โมนในร่างกายจะเปลี่ยนแปลง ทำให้มดลูกเปลี่ยนแปลงไปด้วย จึงอาจมีเมือกที่คล้ายตกขาวไหลออกมาจากช่องคลอด ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติไม่ใช่อาการรุนแรงแต่อย่างใด แต่หากมีอาการติดเชื้อในช่องคลอด หรือมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบคุณหมอทันที อวัยวะเพศมีกลิ่น รู้สึกแสบที่อวัยวะเพศ คันอวัยวะเพศ ตกขาวเป็นสีเขียวอมเหลือง 2. ตัวร้อน เวลาที่ผู้หญิงเกิดภาวะตกไข่ อุณหภูมิในร่างกายจะสูงขึ้น และจะเป็นแบบนี้จนกระทั่งมีประจำเดือนในครั้งถัดไป แต่ถ้าอุณหภูมิในร่างกายสูงนานกว่า 2 สัปดาห์ อาจหมายความว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ วิธีสังเกตอาการคือ คุณอาจรู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ ตัวรุม ๆ อาการเหล่านี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย เนื่องจากการตั้งครรภ์ 3. ปัสสาวะบ่อย ถ้าพบว่าตัวเองเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ นี่อาจเป็นสัญญาณของอาการคนท้องก็เป็นได้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะบ่อย อาจเป็นเพราะฮอร์โมนการตั้งครรภ์ (HCG Hormone) […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

อยากมีลูก รับประทานอะไรดีเพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

อยากมีลูก นอกจากต้องคำนึงถึงปัจจัยในเรื่องอายุและพันธุกรรมแล้ว การเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม ก็อาจช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ ทั้งนี้ ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและรับประทานอาหารให้หลากหลาย อาจปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำรวมทั้งวิตามินหรืออาหารเสริมที่อาจช่วยบำรุงสุขภาพได้ เช่น กรดโฟลิก (Folic Acid)  [embed-health-tool-”ovulation”] อยากมีลูก ควรเลือกรับประทานอาหารประเภทใด หากต้องการมีลูก ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ทั้งพักผ่อนให้เพียงพอ หาวิธีกำจัดความเครียด และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดังนี้ อาหารที่ทำจากนม นมสด โยเกิร์ต และเนยแข็ง นอกจากจะช่วยให้กระดูกมีสุขภาพแข็งแรงแล้ว ยังช่วยให้ภาวะการเจริญพันธุ์ดีขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ควรเลือกกินนมไขมันเต็มแทนนมไขมันต่ำ เพราะการรับประทานนมไขมันเต็มอาจมีส่วนช่วยบำรุงสุขภาพในเรื่องของการตกไข่ได้  โปรตีนจากเนื้อสัตว์ไร้ไขมัน เนื้อสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อไก่ เนื้อหมู หรือเนื้อวัว มักจะอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยให้ภาวะการเจริญพันธุ์ดีขึ้น ผู้หญิงที่ได้รับธาตุเหล็กเพียงพอก่อนตั้งครรภ์ มักจะมีภาวะเจริญพันธุ์ที่ดีกว่าผู้หญิงที่ขาดธาตุเหล็ก อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีไขมัน และไม่ควรรับประทานเนื้อสัตว์เกินวันละสามมื้อ เนื่องจากการบริโภคโปรตีนมากเกินไปอาจทำให้ภาวะเจริญพันธุ์เสื่อมได้ ปลาที่มีกรดไขมันจำเป็นสูง ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาเฮอร์ริ่ง และปลาที่มีกรดไขมันสูงประเภทอื่น มีสรรพคุณที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายพร้อมเจริญพันธุ์ได้ เนื่องจากมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ในปริมาณสูง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เลือดสูบฉีดไปยังอวัยวะสืบพันธุ์ได้มากขึ้น ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศออกมาได้มากขึ้น นอกจากนั้น อาจเลือกอาหารที่เป็นแหล่งกรดไขมันโอเมก้า 3 ชนิดอื่น ๆ บ้างเพื่อความหลากหลาย  อย่างเช่น แฟล็กซีด อัลมอนด์ วอลนัท เมล็ดฟักทอง และไข่ชนิดที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3   คาร์โบไฮเดรทเชิงซ้อน หนึ่งในอาหารสำหรับคน อยากมีลูก […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

ตั้งครรภ์ ในช่วงวัย 30 มีข้อควรระวังอะไรบ้าง

ตั้งครรภ์ ในช่วงวัย 30 หมายถึง การตั้งครรภ์เมื่อมีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ซึ่งถือว่าตั้งครรภ์ค่อนข้างช้าโดยเฉพาะการตั้งครรภ์หลังอายุ 35 ปี เพราะอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพทั้งของตัวเองและทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตาม การตั้งครรภ์ในช่วงวัย 30 มีทั้งข้อดีและข้อเสีย อาจลองพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ เพื่อวางแผนการมีบุตรอย่างปลอดภัยและเหมาะสมกับเงื่อนไขของตนเองมากที่สุด [embed-health-tool-ovulation] ตั้งครรภ์ ในช่วงวัย 30 กับความพร้อมของร่างกาย ผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ุและเหมาะแก่การตั้งครรภ์มากที่สุดคืออยู่ในวัย 20-30 ปี แต่ปัจจุบันนี้ ผู้หญิงมักรอให้อยู่ในภาวะที่สถานะทางการงานและการเงินพร้อมแล้วจึงค่อยมีบุตร ทำให้ส่วนใหญ่วางแผนการมีบุตรหลังอายุ 30 ปี แต่การมีบุตรเมื่ออายุมากขึ้นก็ทำให้โอกาสที่จะมีลูกนั้นยากขึ้นไปด้วย เนื่องจากคุณภาพของไข่สำหรับการปฏิสนธิก็จะด้อยลงตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังอายุ 35 ปีขึ้นไปแล้ว   ดังนั้น หากมีอายุเกิน 35 ปี และพยายามมีบุตรเป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยเลิกคุมกำเนิดแต่ยังไม่ตั้งครรภ์ ควรขอรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยาก  ข้อดีของการตั้งครรภ์ ในช่วงวัย 30  การตั้งครรภ์เมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป มีข้อดี ดังต่อไปนี้  เส้นทางในอาชีพการงานค่อนข้างลงตัว หรือใกล้จะประสบความสำเร็จแล้ว ทำให้มีเวลาใส่ใจในการเลี้ยงดูบุตรได้มากกว่าช่วงเวลาก่อนหน้านี้ที่อาจต้องทำงานหนักจนไม่มีเวลาที่จะดูแลบุตร มีความมั่นคงทางการเงิน เพราะอาจเก็บเงินมาได้ระยะหนึ่งแล้ว เลี้ยงตัวเองได้ และสามารถดูแลบุตรและครอบครัวได้ ทำให้การวางแผนสำหรับอนาคตเป็นรูปธรรมมากขึ้น […]


หัวข้ออื่นเกี่ยวกับการเตรียมตั้งครรภ์

ที่ตรวจครรภ์ ให้ผลการตรวจที่เชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน

ที่ตรวจครรภ์ โดยเฉพาะแบบที่ตรวจด้วยตนเองนั้นส่วนใหญ่มักให้ผลที่ค่อนข้างเชื่อถือได้ แต่หลายครั้งก็อาจมีข้อผิดพลาดได้เช่นกัน ควรศึกษาและหาข้อมูลว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้ผลตรวจการตั้งครรภ์คลาดเคลื่อน ทั้งนี้ เพื่อการใช้งานที่ตรวจครรภ์อย่างถูกต้อง เหมาะสม และผิดพลาดน้อยที่สุด เมื่อใดที่ควรใช้ที่ตรวจครรภ์ โดยปกติแล้วที่ตรวจครรภ์ด้วยตัวเองมักมีข้อบ่งชี้การใช้และระบุบนกล่องว่า ให้ผลการตรวจสอบที่ถูกต้องเที่ยงตรง ตั้งแต่วันแรกที่รอบเดือนขาดหายไป (หรือแม้แต่ก่อนหน้านั้น) ซึ่งอาจได้ผลตรวจที่ถูกต้องจริง ๆ แต่เพื่อความแม่นยำควรรอหลังวันที่รอบเดือนขาดหายไปหนึ่งวันเป็นอย่างน้อย หรืออาจตรวจหลังจากรอบเดือนขาดหายไปหนึ่งสัปดาห์ เหตุผลที่ต้องรอตรวจหลังประจำเดือนขาดหนึ่งสัปดาห์เนื่องจากว่า หลังจากไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิและเข้าไปฝังตัวอยู่ในผนังมดลูก ทำให้รกก่อตัวขึ้นมาและผลิตฮอร์โมนที่เกี่ยวกับกับการตั้งครรภ์ หรือ Human Chorionic Gonadotropin (HCG) โดยฮอร์โมนชนิดนี้จะเข้าไปอยู่ในกระแสเลือดและปัสสาวะ นับตั้งแต่การตั้งครรภ์ในช่วงแรก ๆ  ฮอร์โมนการตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มเป็นสองเท่าทุก ๆ สองถึงสามวัน แต่หากใช้ที่ตรวจครรภ์เร็วไป ฮอร์โมน HCG อาจยังมีปริมาณน้อยทำให้ที่ตรวจครรภ์ตรวจจับฮอร์โมน HCG ได้ยากทำให้ผลตรวจคลาดเคลื่อนได้  และโดยปกติ ช่วงเวลาตกไข่ของผู้หญิงแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน รวมทั้งช่วงเวลาที่ไข่สุกแล้วเข้าไปฝังตัวในมดลูกก็แตกต่างกันด้วย ซึ่งปัจจัยพวกนี้ล้วนมีผลต่อการผลิตฮอร์โมนการตั้งครรภ์ของร่างกายทั้งสิ้น [embed-health-tool-ovulation] วิธีการใช้ที่ตรวจครรภ์ด้วยตนเอง ที่ตรวจครรภ์ส่วนใหญ่ มักให้วางปลายที่ตรวจครรภ์ลงในถ้วยที่เก็บปัสสาวะเอาไว้ หลังจากนั้นประมาณสองสามนาที ที่ตรวจครรภ์จึงแสดงผลตรวจ ซึ่งมักจะเป็นเครื่องหมายบวกหรือเครื่องหมายลบ หรือขีดสองขีดกับขีดเดียว หรือใช้คำว่า ‘ตั้งครรภ์‘ หรือ ‘ไม่ตั้งครรภ์‘ บนแถบหรือจอแสดงผล แต่ทั้งนี้ ที่ตรวจครรภ์แต่ละยี่ห้ออาจมีความอ่อนไหวต่อการจับฮอร์โมน HCG ไม่เท่ากัน ดังนั้น ที่ตรวจครรภ์บางชนิดอาจบอกผลการตรวจได้โดยอาศัยฮอร์โมน HCG ในปัสสาวะที่แม้จะมีปริมาณน้อยก็สามารถจับฮอร์โมนตั้งครรภ์ได้อย่างรวดเร็ว […]


เตรียมตั้งครรภ์

ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป คืออะไร

ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป (Ovarian Hyperstimulation Syndrome หรือ OHS) ส่งผลกับผู้หญิงที่ได้รับการฉีดยาฮอร์โมนเข้าเส้นเลือด เพื่อกระตุ้นให้มีการพัฒนาของไข่ในรังไข่ ส่งผลทำให้เกิดอาการท้องอืด แน่นเฟ้อ ในกรณีที่ร้ายแรงอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มากกว่า 4.5 กิโลกรัมใน 3-5 วัน และหายใจติดขัดได้ [embed-health-tool-ovulation] คำจำกัดความ ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป คืออะไร ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป (Ovarian hyperstimulation syndrome หรือ OHS) ส่งผลกับผู้หญิงที่ได้รับการฉีดยาฮอร์โมนเข้าเส้นเลือด เพื่อกระตุ้นให้มีการพัฒนาของไข่ในรังไข่ อาจเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF) หรือการผสมเทียม มีการชักนำให้ไข่ตก (Ovulation Induction) หรือรับการฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก (Intrauterine Insemination) การให้ยาฮอร์โมนที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป ส่งผลให้รังไข่เกิดการบวมและปวด ผู้หญิงส่วนน้อยอาจจะมีภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป ในระดับรุนแรง ซึ่งสามารถทำให้เกิดการเพิ่มน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ปวดท้อง อาเจียน และหายใจติดขัด ในกรณีที่ไม่บ่อยนัก ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป อาจจะเกิดขึ้นขณะที่ทำการรักษาภาวะเจริญพันธุ์ (Fertility Treatments) โดยรับประทานยาจำพวกโคลมีฟีน (Clomiphene) เช่น คลอมิด (Clomid) หรือเซโรฟีน (Serophene) ใบบางครั้ง ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไปอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาภาวะเจริญพันธุ์ ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป […]


เตรียมตั้งครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์ ไวรัสซิก้า ภัยร้ายที่ติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์

สำหรับ คุณแม่ตั้งครรภ์ ไวรัสซิก้า ฟังดูแล้วอาจจะดูน่ากังวลใจ เพราะไวรัสซิก้า (Zika virus) สามารถติดต่อจากคนสู่คนผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้น การป้องกันไวรัสซิก้าอาจทำได้ด้วยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง รวมถึงควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจครรภ์ตามที่คุณหมอนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ไวรัสซิก้า สามารถติดต่อได้ ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไวรัสซิก้า สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้จากการมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก นอกจากนี้ หากใช้เซ็กส์ทอยร่วมกับคู่นอนก็อาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสซิก้าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ไวรัสซิก้ายังสามารถอยู่ในน้ำอสุจิได้นานกว่าของเหลวในร่างกายประเภทอื่น ๆ ดังนั้น ระยะเวลาติดเชื้อไวรัสซิก้าจะแตกต่างกันระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง คุณแม่ตั้งครรภ์ควรป้องกันตัวเองอย่างไร ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ และกิจกรรมทางเพศทุกประเภท เพื่อลดโอกาสของการติดเชื้อไวรัสซิก้า เรียนรู้วิธีการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ด้วยการสอบถามหมอและผู้ให้บริการด้านสุขภาพ นอกจากนี้ การอ่านคำแนะนำบนฉลากของผลิตภัณฑ์อย่างระมัดระวัง คุณแม่ตั้งครรภ์ควรทำอย่างไร หากต้องเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงต่อ ไวรัสซิก้า คุณแม่ตั้งครรภ์ควรอยู่ให้ห่างจากพื้นที่ซึ่งอาจมีไวรัสซิก้า หรือได้รับการยืนยันว่ามีไวรัสซิก้า หากมีความจำเป็นต้องเดินทางไปยังพื้นที่เหล่านั้น ก่อนที่จะเดินทาง ควรพูดคุยกับหมอเพื่อมีแผนป้องกันที่ดีที่สุด หากคุณแม่ตั้งครรภ์และคู่รักจำเป็นต้องเดินทางไปยังพื้นที่ซึ่งมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสซิก้า ควรใช้ถุงยางในกิจกรรมทางเพศทุกชนิด นอกจากนี้ อาจหยุดการมีเพศสัมพันธ์เพื่อให้แน่ใจว่าทั้งสองคนและทารกในครรภ์ปลอดภัย สำหรับคู่รักที่ตั้งใจจะลูกควรตระหนักถึงการป้องกันไวรัสซิก้าให้มากขึ้น โดยควรเข้ารับการตรวจร่างกายเป็นประจำ เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขามีสุขภาพที่แข็งแรง และเหมาะสมแก่การตั้งครรภ์ นอกจากนี้ ควรปรึกษาแผนการตั้งครรภ์กับหมอ เพื่อทำความเข้าใจถึงความเสี่ยง และทางเลือกต่าง ๆ ทั้งหมด แม้ว่าจะไม่ได้ตั้งครรภ์ ไม่มีความตั้งใจที่จะตั้งครรภ์ แต่ก็ควรต้องตระหนักถึงเรื่องไวรัสซิก้าเช่นกัน เพราะจนถึงบัดนี้ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน