โรคหัวใจ

โรคหัวใจ คือหนั่งใตสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของโลก ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรค อาการ การรักษา และการป้องกันโรคหัวใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของเราให้แข็งแรงยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคหัวใจ

อาการเตือนโรคหัวใจ แบบไหนควรไปพบคุณหมอ

โรคหัวใจแบ่งได้เป็นหลายประเภทตามสาเหตุและตำแหน่งที่เกิด ซึ่งโรคหัวใจแต่ละประเภทมักจะมีอาการที่คล้ายคลึงกัน โดยลักษณะ อาการเตือนโรคหัวใจ ที่พบบ่อยได้แก่ อาการแน่นหน้าอก ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่เต็มอิ่ม วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เหงื่อออกเยอะ เหนื่อยง่าย หากสังเกตอาการเตือนโรคหัวใจได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และไปพบคุณหมอโดยเร็วจะช่วยให้รักษาและหาวิธีดูแลตนเองได้อย่างทันท่วงที [embed-health-tool-bmi] อาการเตือนโรคหัวใจ เป็นแบบไหน อาการเตือนโรคหัวใจ แบ่งออกตามประเภทของโรคได้ ดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) เกิดจากเส้นเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบตัน ซึ่งอาจเกิดจากไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือดหัวใจมากเกินไปจนทำให้เลือดที่มีสารอาหารและออกซิเจนไม่สามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงยังหัวใจได้ตามปกติ อาการที่พบบ่อยที่สุดของโรคหลอดเลือดหัวใจคืออาการแน่นหน้าอกหรือเจ็บหน้าอกซึ่งอาจสับสนกับอาการอาหารไม่ย่อยหรือกรดไหลย้อนได้ นอกจากนี้ อาจรู้สึกไม่สบายตัวหรือเจ็บบริเวณไหล่ แขน คอ ลำคอ กราม หรือหลัง และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น หายใจถี่รัว หัวใจสั่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ วิงเวียนศีรษะหรืออ่อนแรง คลื่นไส้ เหงื่อออกมาก โรคหัวใจวาย (Heart Attack) โรคหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเกิดขึ้นเมื่เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง มักเกิดจากไขมัน คอเลสเตอรอล และสารอื่น ๆ เข้าไปสะสมจนเกิดการอุดตันบริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ อาการที่พบบ่อย คือ แน่นหน้าอกเป็นเวลานานประมาณ 30 นาที จากนั้นค่อย ๆ หายไปแล้วกลับมาเป็นซ้ำอีก ซึ่งเป็นอาการหลักที่มักพบในผู้ชาย […]

สำรวจ โรคหัวใจ

โรคหัวใจ

พฤติกรรม เสี่ยง โรคหัวใจ มีอะไรบ้าง และมีผลอย่างไร

โรคหัวใจ คือ ความผิดปกติหรือโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ มักเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบแคบหรืออุดตัน กระทั่งออกซิเจนและสารอาหารในเลือดไม่สามารถถูกส่งไปเลี้ยงหัวใจได้ตามปกติและเกิดผลกระทบต่อสุขภาพและการทำงานของหัวใจ ทั้งนี้ พฤติกรรม เสี่ยง ที่มักเป็นสาเหตุของโรคหัวใจชนิดต่าง ๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันอิ่มตัว การไม่ออกกำลังกาย [embed-health-tool-bmi] โรคหัวใจ คืออะไร โรคหัวใจ คือ ความผิดปกติของหัวใจรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจวาย โรคลิ้นหัวใจรั่ว ภาวะหัวใจล้มเหลว โดยทั่วไป โรคหัวใจมักเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบลงหรืออุดตัน จนออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ในเลือดไม่สามารถลำเลียงไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้ตามปกติ ทำให้หัวใจอ่อนแอหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ อาจไม่สามารถควบคุมได้ อย่างพันธุกรรมหรือความเสื่อมโทรมของร่างกายเมื่ออายุมากขึ้น ทั้งนี้ พฤติกรรม เสี่ยงที่อาจควบคุมได้ อาจมีดังนี้ การสูบบุหรี่ การบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยคอเลสเตอรอลหรือไขมันเลว (LDL) การดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมการออกกำลังกาย ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคอ้วน ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง พฤติกรรม เสี่ยง โรคหัวใจ มีอะไรบ้าง พฤติกรรมเสี่ยงต่อไปนี้ […]


โรคหัวใจ

เรื่องน่ารู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับ หัวใจ มีอะไรบ้าง

หัวใจ เป็นอวัยวะหลักที่มีหน้าที่สูบฉีดเลือดและส่งธาตุอาหารกับออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตลอดเวลา แม้ว่าหัวใจจะเป็นอวัยวะที่ทุกคนรู้จักกันดี  แต่มีข้อเท็จจริงหลายประการเกี่ยวกับหัวใจที่อาจไม่ทราบกัน เช่น หัวใจของผู้ชายมีขนาดใหญ่กว่าของผู้หญิง หัวใจสามารถเต้นได้แม้ถูกนำออกมาจากร่างกาย การมีความเครียดอย่างรุนแรงจนเกิดใจสลายอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ หัวใจเต้นได้ด้วยกระแสไฟฟ้าในตัวเอง [embed-health-tool-bmi] เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ หัวใจ หัวใจ เป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย มีหน้าที่หลักในการสูบฉีดเลือด เพื่อขนส่งออกซิเจนและธาตุอาหารไปหล่อเลี้ยงอวัยวะและช่วยให้การทำงานของระบบภายในร่างกายเป็นปกติ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับหัวใจมีดังนี้ หัวใจทำงานตลอดเวลา ใน 1 วัน หัวใจสูบฉีดเลือดประมาณ 7,570 ลิตร และเต้นประมาณ 115,000 ครั้ง หัวใจของเพศหญิงเต้นเร็วกว่าหัวใจของเพศชายประมาณ 8 ครั้ง/นาที หัวใจเต้นด้วยกระแสไฟฟ้าในตัวเอง โดยไม่ต้องได้รับการสั่งการจากสมอง หากสมองตายหรือนำหัวใจออกจากร่างกาย หัวใจจึงยังเต้นต่อได้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ หัวใจของผู้ชายและผู้หญิงมีขนาดไม่เท่ากัน โดยปกติแล้ว หัวใจจะมีขนาดเท่า ๆ กับกำปั้นของมนุษย์ โดยหัวใจของผู้ชายจะมีขนาดใหญ่กว่าหัวใจของผู้หญิงเล็กน้อย หรือประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ และน้ำหนักของหัวใจผู้หญิงและผู้ชายจะอยู่ราว ๆ 230-280 กรัม และ 280-340 กรัม ตามลำดับ โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกเสียชีวิต องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) […]


โรคหัวใจ

โรค หัวใจ สาเหตุ และวิธีการป้องกัน

โรคหัวใจ เป็นโรคที่ส่งผลต่อระบบการทำงานของหัวใจโดยตรง ซึ่งแบ่งออกได้หลายประเภทด้วยกัน แต่โรคที่พบได้บ่อยที่สุดคือ โรคหลอดเลือดหัวใจ ดังนั้น หากสังเกตว่าตัวเองมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นช้า วิงเวียนศีรษะบ่อยครั้ง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาทันที เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง [embed-health-tool-heart-rate] โรค หัวใจ คืออะไร โรคหัวใจ คือโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจโดยตรง ซึ่งอาจมีปัจจัยเสี่ยงมาจากอายุที่มากขึ้น พันธุกรรม การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน รวมไปถึงการรับประทานอาหารที่มีไขมัน เกลือและน้ำตาลสูง โรคหัวใจแบ่งออกแบ่งออกได้หลายประเภท ดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดปกติ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ โรคลิ้นหัวใจ อาการของโรค หัวใจ อาการของโรคหัวใจ อาจแบ่งออกตามประเภทของโรคหัวใจที่เป็น ดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก หายใจถี่ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ เหนื่อยง่ายกว่าปกติ โรคหัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป เจ็บหน้าอก หายใจถี่ วิงเวียนศีรษะ มึนหัว เป็นลมหมดสติ ใจสั่น อัมพฤกษ์หรืออัมพาต หัวใจพิการแต่กำเนิด ผิวซีด อาการบวมที่ขา หน้าท้อง และบริเวณรอบดวงตา หายใจถี่ […]


โรคหัวใจ

โรคหัวใจเกิดจากอะไร และวิธีดูแลสุขภาพหัวใจ

โรคหัวใจเกิดจากอะไร อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย โรคหัวใจ หมายถึง โรคและภาวะต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ สามารถแบ่งออกได้หลายประเภท เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โดยอาจมีปัจจัยบางประการที่ทำให้เสี่ยงเกิดโรคหัวใจง่ายขึ้น เช่น อายุ พันธุกรรม เพศ รูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม โรคนี้อาจป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันให้ดีต่อสุขภาพ ลดการรับประทานอาหารไขมันสูง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จัดการความเครียดอย่างเหมาะสม โรคหัวใจเกิดจากอะไร โรคหัวใจ หมายถึง โรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สามารถแบ่งย่อยได้หลายกลุ่มโรค โดยมีสาเหตุของโรคที่แตกต่างออกไปตามชนิดของโรค อาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ที่พบได้บ่อย ดังนี้ โรคที่เกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis Cardiovascular Disease) แบ่งออกเป็น 3 โรค ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดส่วนปลาย เป็นโรคที่เกิดจากการมีคราบไขมันสะสมอยู่ในหลอดเลือดแดง จนทำให้หลอดเลือดอุดตัน ส่งผลเลือดไหลเวียนไปยังงอวัยวะต่าง ๆ ลดลง ทำให้ได้รับออกซิเจนและสารอาหารน้อยกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ไม่ค่อยออกกำลังกาย มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน สูบบุหรี่เป็นประจำ โรคลิ้นหัวใจ (Heart […]


โรคหัวใจ

วิธีลดไตรกลีเซอไรด์ อีกหนึ่งสาเหตุโรคหัวใจ ทำได้อย่างไรบ้าง

ไตรกลีเซอไรด์ เป็นหนึ่งในไขมันที่มีอนุภาคขนาดเล็ก โดยปกติแล้วไตรกลีเซอไรด์เกิดได้จากการสังเคราะห์ของระบบร่างกายเรา แต่อาจน้อยกว่าการรับมาจากอาหารที่รับประทาน แต่หากมีปริมาณมากเกินไป ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการร้ายแรงบางอย่างได้ วันนี้ บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอนำ วิธีลดไตรกลีเซอไรด์ เบื้องต้น ที่คุณสามารถลงปฏิบัติด้วยตนเองง่าย ๆ  ก่อนเผชิญกับโรคที่ไม่อาจคาดเดาได้ ฝากทุกคนกันค่ะ ทำไม ไตรกลีเซอไรด์ จึงเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจได้ เนื่องจาก ไตรกลีเซอไรด์ เป็นหนึ่งในไขมันอีกชนิดที่อยู่ภายในเลือดของคุณ ที่เกิดจากแคลอรี่ในอาหารส่วนเกิน เมื่อใดระดับ ไตรกลีเซอไรด์ ในร่างกายของคุณนี้มีปริมาณเพิ่มขึ้นสูง ก็จะสามารถส่งผลให้หลอดเลือดแดงมีการแข็งตัว ผนังของหลอดเลือดเริ่มหนา จนสร้างความเสี่ยงก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย และโรคหัวใจได้ในที่สุด ระดับไตรกลีเซอไรด์ บ่งชี้สุขภาพได้อย่างไรบ้าง การตรวจเลือดอาจเป็นทางออกที่ดีที่ทำให้คุณรู้ถึงระดับ ไตรกลีเซอไรด์ แต่ยังคงจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อความปลอดภัย โดยผลลัพธ์ปริมาณของระดับ ไตรกลีเซอไรด์ นั้น สามารถเช็คได้จากข้อมูลด้านล่าง ดังต่อไปนี้ ไตรกลีเซอไรด์ ระดับปกติ จะมีปริมาณที่น้อยว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dl) ไตรกลีเซอไรด์ ระดับเริ่มสูง จะมีปริมาณ 150-199 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dl) ไตรกลีเซอไรด์ ระดับสูง จะมีปริมาณ 200-499 […]


โรคหัวใจ

หัวใจเต้นแรง สัญญาณเตือนของ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นแรง หมายถึงภาวะที่อัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่า 100 ครั้งต่อนาที ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจต่าง ๆ รวมถึง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หากไม่ทำการรักษา อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ และอาจทำให้หัวใจเสื่อมโทรมลงได้ หัวใจเต้นแรง สัญญาณเตือนของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นแรง หมายถึงภาวะหัวใจเต้นเร็วเกินกว่าปกติ ซึ่งอาจแตกต่างกันออกไปตามอายุและสภาพร่างกายที่เป็นอยู่ แต่โดยปกติแล้วจะหมายถึงผู้ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่า 100 ครั้งต่อนาที อาการหัวใจเต้นแรงอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด การออกกำลังกาย หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แต่ในบางครั้ง อาการหัวใจเต้นแรงก็อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคอื่น รวมไปถึง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ นอกเหนือจากอาการหัวใจเต้นแรงแล้ว ผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะก็อาจมีอาการอื่น ๆ แสดงให้เห็น ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค โดยอาการที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้ หายใจไม่ออก วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดเกือบจะเป็นลม หรือเป็นลม เจ็บหน้าอก เหงื่อออกมากผิดปกติ อาการอ่อนเพลีย อย่างไรก็ตาม ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มักพบในผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ขึ้นไป จึงเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้น หากมีอาการที่เข้าข่ายของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อรับคำแนะนำในการรักษาที่เหมาะสม สาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ   ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากสาเหตุและปัจจัย ดังต่อไปนี้ การดื่มแอลกอฮอล์ โรคเบาหวาน ดื่มกาแฟมากเกินไป โรคที่ส่งผลต่อหัวใจ […]


โรคหัวใจ

ระวัง! นั่งนาน เกินไปอาจเสี่ยงเป็น โรคหัวใจ ได้นะ

การนั่งเป็นอิริยาบถอย่างหนึ่งที่เรามักปฏิบัติกันอยู่แทบตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงาน นั่งรับประทานอาหาร นั่งพักผ่อน เป็นต้น แต่คุณรู้หรือไม่ว่า หากเรา นั่งนาน จนเกินไป ไม่ลุกยืดเส้นยืดสายบ้าง อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด โรคหัวใจ ได้ บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้ จึงขอนำเทคนิคการนั่งที่ถูกต้องมาฝาก ทุกคนจะได้ลองปรับปรุงรูปแบบการนั่งในชีวิตประจำวันให้เหมาะสม ก่อนเผชิญกับภาวะทางสุขภาพดังกล่าว ทำไม นั่งนาน จึงเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจ ศาสตราจารย์จาก University of Houston กล่าวถึงงานวิจัยของเขาที่แสดงให้เห็นว่า คนวัยผู้ใหญ่มักใช้เวลามากกว่า 9 ชั่วโมง ในการอยู่เฉย ๆ เราจึงควรหมั่นเคลื่อนไหวร่างกายกันให้มากขึ้น หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยหันมาออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน เพราะร่างกายของเราทุกคนถูกสร้างมาให้เคลื่อนไหว ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้อยู่กับที่ อีกทั้งการอยู่กับที่เป็นเวลานานก็ทำให้ร่างกายของคุณอยู่ในภาวะที่แทบไม่ต่างจากร่างกายของผู้ป่วยที่อยู่ในขั้นโคม่า เพราะหากร่างกายไม่ได้ทำงาน ระบบเผาผลาญก็จะไม่ถูกกระตุ้น ซึ่งนับว่าเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดได้ ไม่อยากนั่งนาน ควรตั้งเป้าหมายอย่างไรดี งานศึกษาชิ้นหนึ่งแนะนำว่า ผู้ที่มักชอบนั่งเป็นเวลานานควรตั้งเป้าหมายให้ตนเอง คือ ต้องลุกขึ้นยืนบ้าง และมีการเคลื่อนไหวทุก ๆ 30 นาที หรือนั่งให้น้อยกว่า 10 […]


โรคหัวใจ

ป้องกันหัวใจวาย ด้วยวิธีไหน และควรปรับไลฟ์สไตล์อย่างไรบ้าง

ป้องกันหัวใจวาย อาจทำได้ด้วยการดูแลตนเองและปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์บางอย่าง เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดหัวใจวายซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทั้งนี้ ภาวะหัวใจวายเกิดจากการที่สุขภาพหัวใจไม่แข็งแรง มักเป็นผลมาจากการไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงเป็นประจำ รวมทั้งการสูบบุหรี่จัด และมีความเครียดสะสม หากต้องการป้องกันหัวใจวาย ควรเริ่มต้นปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน [embed-health-tool-heart-rate] หัวใจวาย คืออะไร หัวใจวาย (Heart Attack) เป็นภาวะฉุกเฉินของสุขภาพหัวใจที่เส้นเลือดเกิดการอุดตันเฉียบพลันจนเลือดไม่สามารถเดินทางไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้ตามปกติ ทำให้หัวใจขาดเลือดส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย ส่วนใหญ่ภาวะหัวใจวายมักเกิดขึ้นกะทันหัน และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทั้งนี้ สัญญาณและอาการของภาวะหัวใจวาย ได้แก่ แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก จนอาจลุกลามไปถึงคอ กราม และหลัง คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย แสบร้อนทรวงอก หรือปวดท้อง หายใจถี่ เหงื่อออก เหนื่อยล้า วิงเวียนศีรษะฉับพลัน ป้องกันหัวใจวาย ได้ด้วยวิธีไหนบ้าง ป้องกันหัวใจวาย สามารถทำได้โดยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน โดยอาจปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ 1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรเลือกรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช และอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า นอกจากนี้ ควรลดการรับประทานเกลือ ไขมันอิ่มตัว ของหวาน เนื้อแดงอย่างเนื้อวัวและเนื้อหมู รวมถึงหลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ด้วย 2. หาวิธีผ่อนคลายความเครียด อารมณ์เครียด เช่น ความโกรธ […]


โรคหัวใจ

ภาวะช็อคจากโรคหัวใจ ภาวะเสี่ยงใน ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

ภาวะช็อคจากโรคหัวใจ ถือเป็นภาวะเสี่ยงที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือผู้ที่มีอาการหัวใจวาย ด้วยอัตราการเสียชีวิตที่สูงถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ถึง 90 เปอร์เซ็นต์  หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จึงอาจกล่าวได้ว่า ภาวะดังกล่าวนั้นเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของ ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ดังนั้น Hello คุณหมอ จึงมีข้อมูลเกี่ยวกับภาวะช็อคจากโรคหัวใจมาฝากกันในบทความนี้ ภาวะช็อคจากโรคหัวใจ เกิดขึ้นได้อย่างไร ภาวะช็อคจากโรคหัวใจ (Cardiogenic Shock) คือ ภาวะที่หัวใจขาดเลือดและออกซิเจน เนื่องจากไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยภาวะนี้มักเกิดจากอาการหัวใจวายฉับพลัน แต่ไม่ใช่ว่า ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือผู้ป่วยทุกคนที่มีอาการหัวใจวาย จะมีภาวะช็อคจากโรคหัวใจ ถึงแม้ว่าภาวะช็อคจากโรคหัวใจจัดเป็นภาวะทางสุขภาพที่พบได้ยาก แต่ภาวะดังกล่าวถือเป็นภาวะที่รุนแรงและอาจนำไปสู่การเสียชีวิตภายในเวลารวดเร็ว หากไม่ได้รับการรักษาในทันที สาเหตุของการเกิดภาวะช็อคจากโรคหัวใจ ภาวะช็อคจากโรคหัวใจส่วนใหญ่เกิดจากการขาดออกซิเจนที่ส่งไปยังหัวใจ เนื่องจากเลือดสูบฉีดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้น้อยลง หากไม่มีเลือดที่อุดมด้วยออกซิเจนไหลเวียนไปยังบริเวณนั้นของหัวใจ อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดความเสียหายและเข้าสู่ภาวะช็อคจากโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้ช็อคจากโรคหัวใจ ดังนี้ การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ การติดเชื้อของลิ้นหัวใจ หัวใจอ่อนแอ การรับประทานยาเกินขนาด หรือได้รับพิษที่อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการสูบฉีดเลือดไปยังหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อคจากโรคหัวใจ หากคุณมีอาการหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ความเสี่ยงในการเกิดภาวะช็อคจากโรคหัวใจอาจเพิ่มขึ้นได้ หากว่าคุณ มีอายุมากขึ้น มีประวัติเคยเป็นหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมาก่อน เป็นเพศหญิง เป็นโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือมีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ อาการของผู้ป่วยภาวะช็อคจากโรคหัวใจ อาการของภาวะช็อคจากโรคหัวใจมักเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจวายรุนแรง โดยมีสัญญาณและอาการ ดังนี้ เจ็บปวดบริเวณหน้าอกนานกว่า 3 นาที ปวดบริเวณไหล่ แขนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง รวมถึงฟันและกราม หายใจถี่ เหงื่อออก วิงเวียนศีรษะ หรือเวียนศีรษะอย่างกะทันหัน คลื่นไส้ อาเจียน ปรึกษาคุณหมอ หากผู้ป่วยมีภาวะช็อคจากโรคหัวใจที่เป็นสาเหตุของอาการหัวใจวาย แพทย์อาจทำการรักษาด้วยการให้ออกซิเจนเพื่อขจัดสิ่งที่อุดตัน โดยการใส่สายเข้าไปในหลอดเลือดแดงที่ส่งไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ หากผู้ป่วยมีภาวะช็อคจากโรคหัวใจ ที่เป็นสาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ […]


โรคหัวใจ

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจ คุณเองก็เชื่อแบบนี้อยู่หรือเปล่า

โรคหัวใจ ถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของไทยและทั่วโลกมานานหลายปีแล้ว แถมตัวเลขผู้ป่วยและผู้สูงอายุด้วยโรคนี้ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีด้วย แม้เราจะได้ยินชื่อโรคนี้กันมานานมาก แต่ Hello คุณหมอ เชื่อว่า ยังมีใครอีกหลายคนที่ยังคงมี ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โรคหัวใจ หรือโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งความเชื่อบางประการก็อาจส่งผลให้ประมาทกับโรคนี้มากเกินไป และไม่ทันได้ดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ 5 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจ หลายคนมักจะมี ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจ ดังนั้น เรามาเช็กกันดูค่ะว่า ความเชื่อที่คุณเข้าใจอยู่นั้น แท้จริงแล้วถูกหรือไม่ 1. คนอายุยังน้อยไม่เป็นโรคหัวใจง่าย ๆ จริงอยู่ที่ว่าคนอายุยังน้อยสุขภาพย่อมแข็งแรงกว่าคนอายุมากซึ่งสังขารร่วงโรยไปตามวัย แต่ความจริงข้อนี้ก็ไม่ได้รับประกันว่าคุณจะรอดพ้นจากโรคหัวใจได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะรูปแบบการใช้ชีวิตก็สามารถส่งผลต่อความเสี่ยงในการโรคหัวใจของคุณได้เช่นกัน อีกทั้งผู้เชี่ยวชาญยังเผยว่า การมีคราบพลัคสะสมอยู่ตามผนังชั้นในของหลอดเลือดตั้งแต่อายุยังน้อย สามารถนำไปสู่ปัญหาหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้เมื่ออายุมากขึ้น ยกตัวอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ข้อมูลเผยว่า 1 ใน 3 ของชาวอเมริกันป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด และผู้ป่วยก็ไม่ได้มีแต่ผู้สูงอายุเท่านั้นด้วย เพราะวัยรุ่นหรือคนวัยกลางคนก็เป็นโรคหัวใจได้ โดยเฉพาะเมื่อคุณเป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น 2. เข้าสู่วัยกลางคนก่อนค่อยตรวจระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า คนเราควรตรวจระดับคอเลสเตอรอลในเลือดทุก ๆ 5 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงวัยยี่สิบต้น ๆ เลย ไม่ใช่รอให้ถึงวัยกลางคนก่อนแล้วค่อยเริ่มตรวจระดับคอเลสเตอรอลในเลือด เหมือนที่ใครหลาย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน