สุขภาพหัวใจ

หัวใจ คืออวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากหัวใจเกิดปัญหา ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพหัวใจ ทั้งการดูแลรักษา และปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหัวใจ

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) สามารถเกิดขึ้นได้จาก สาเหตุใด

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) เป็นอีกโรคที่คุณควรระมัดระวังเป็นอย่างมากไม่แพ้โรคประเภทอื่น ๆ เนื่องจากโรคนี้ค่อนข้างเชื่อมโยงกับการทำงานของหัวใจ เพื่อให้ทุกคนรู้จักกับโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองมากขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ จึงรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น มาฝากทุกคนให้ได้ลองศึกษา และทำความรู้จักกันค่ะ [embed-health-tool-bmi] โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) คืออะไร โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง คือ การพองตัว และนูนบวมของหลอดเลือดแดงใหญ่ที่มีหน้าที่ในการลำเลียงเลือดจากหัวใจเข้าไปหล่อเลี้ยงทั่วทั้งร่างกาย โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การติดเชื้อที่หัวใจ ความดันโลหิตสูง ภาวะหลอดเลือดแข็งตัว และพฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นประจำ เป็นต้น อีกทั้งโรคนี้ยังสามารถแบ่งออกได้อีก 2 ประเภทด้วยกัน นั่นก็คือ โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้อง โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในทรวงอก นอกจากนี้หากคุณปล่อยให้หลอดเลือดแดงพองตัวไปเรื่อย ๆ ไม่รีบเร่งรักษา ก็อาจส่งผลให้เส้นเลือดนี้สามารถแตกออก ก่อให้เกิดโรคหัวใจบางอย่าง ไตพัง และถึงแก่ชีวิตได้ในที่สุด อาการของโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง อาการที่เกิดขึ้นเมื่อคุณเข้าสู่ภาวะเสี่ยงเป็น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง นั้น ส่วนมากมักทำให้คุณต้องพบเจอกับอาการต่าง ๆ ดังนี้ เจ็บหน้าอก ปวดหลัง หายใจลำบาก ไอ และเสียงแหบ ปวดท้อง เหงื่อออก อาเจียน วิงเวียนศีรษะ การรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง หากคุณสังเกตถึงอาการผิดปกติ พร้อมรับการวินิจฉัยแล้วว่าคุณกำลังเป็น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง […]

หมวดหมู่ สุขภาพหัวใจ เพิ่มเติม

คอเลสเตอรอล

สำรวจ สุขภาพหัวใจ

สุขภาพหัวใจ

การดูแลสุขภาพหัวใจและ หลอดเลือด สำหรับผู้สูงอายุ

โรคเกี่ยวกับหัวใจและ หลอดเลือด อย่างโรคหลอดเลือดแดงแข็ง มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความเสื่อมโทรมของร่างกาย  เมื่ออายุมากขึ้น ทำให้หลอดเลือดแดงอาจเกิดการแข็งตัวหรืออุดตันได้ง่าย รวมถึงอาจเกิดภาวะสุขภาพต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย อย่างภาวะความดันโลหิตสูงหรือภาวะไขมันในเลือดสูง จนนำไปสู่โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งนี้ การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุ มีหลายวิธี ทั้งการออกกำลังกาย การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย [embed-health-tool-bmi] ผู้สูงอายุกับปัญหาหัวใจและ หลอดเลือด ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดแดงแข็ง หรือหลอดเลือดแดงแข็งตัวหรืออุดตัน ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ เมื่อเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็ง การไหลเวียนของเลือดไม่ดีพอมักทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนและสารอาหารในเลือดมาหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ส่งผลให้หัวใจอ่อนแอหรือเสียหาย นำไปสู่ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดโป่งพอง หรือภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งนี้ เพศชายสูงอายุมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัวใจวายมากกว่าเพศหญิงสูงอายุ เพศชาย มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจวายประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ในช่วงอายุ 60 ปี และเพิ่มขึ้นเป็น 32 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 80 ปี ขณะเดียวกัน เพศหญิงในช่วงอายุ 60 ปี มักมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจวายประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มเป็น 19 เปอร์เซ็นต์เมื่ออายุ 80 ปีขึ้นไป การดูแลสุขภาพหัวใจและ […]


โรคหัวใจ

โรค หัวใจ สาเหตุ และวิธีการป้องกัน

โรคหัวใจ เป็นโรคที่ส่งผลต่อระบบการทำงานของหัวใจโดยตรง ซึ่งแบ่งออกได้หลายประเภทด้วยกัน แต่โรคที่พบได้บ่อยที่สุดคือ โรคหลอดเลือดหัวใจ ดังนั้น หากสังเกตว่าตัวเองมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นช้า วิงเวียนศีรษะบ่อยครั้ง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาทันที เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง [embed-health-tool-heart-rate] โรค หัวใจ คืออะไร โรคหัวใจ คือโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจโดยตรง ซึ่งอาจมีปัจจัยเสี่ยงมาจากอายุที่มากขึ้น พันธุกรรม การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน รวมไปถึงการรับประทานอาหารที่มีไขมัน เกลือและน้ำตาลสูง โรคหัวใจแบ่งออกแบ่งออกได้หลายประเภท ดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดปกติ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ โรคลิ้นหัวใจ อาการของโรค หัวใจ อาการของโรคหัวใจ อาจแบ่งออกตามประเภทของโรคหัวใจที่เป็น ดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก หายใจถี่ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ เหนื่อยง่ายกว่าปกติ โรคหัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป เจ็บหน้าอก หายใจถี่ วิงเวียนศีรษะ มึนหัว เป็นลมหมดสติ ใจสั่น อัมพฤกษ์หรืออัมพาต หัวใจพิการแต่กำเนิด ผิวซีด อาการบวมที่ขา หน้าท้อง และบริเวณรอบดวงตา หายใจถี่ […]


โรคหัวใจ

โรคหัวใจเกิดจากอะไร และวิธีดูแลสุขภาพหัวใจ

โรคหัวใจเกิดจากอะไร อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย โรคหัวใจ หมายถึง โรคและภาวะต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ สามารถแบ่งออกได้หลายประเภท เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โดยอาจมีปัจจัยบางประการที่ทำให้เสี่ยงเกิดโรคหัวใจง่ายขึ้น เช่น อายุ พันธุกรรม เพศ รูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม โรคนี้อาจป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันให้ดีต่อสุขภาพ ลดการรับประทานอาหารไขมันสูง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จัดการความเครียดอย่างเหมาะสม โรคหัวใจเกิดจากอะไร โรคหัวใจ หมายถึง โรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สามารถแบ่งย่อยได้หลายกลุ่มโรค โดยมีสาเหตุของโรคที่แตกต่างออกไปตามชนิดของโรค อาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ที่พบได้บ่อย ดังนี้ โรคที่เกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis Cardiovascular Disease) แบ่งออกเป็น 3 โรค ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดส่วนปลาย เป็นโรคที่เกิดจากการมีคราบไขมันสะสมอยู่ในหลอดเลือดแดง จนทำให้หลอดเลือดอุดตัน ส่งผลเลือดไหลเวียนไปยังงอวัยวะต่าง ๆ ลดลง ทำให้ได้รับออกซิเจนและสารอาหารน้อยกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ไม่ค่อยออกกำลังกาย มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน สูบบุหรี่เป็นประจำ โรคลิ้นหัวใจ (Heart […]


สุขภาพหัวใจ

5 วิธีดูแลรักษาหัวใจ เพื่อช่วยให้หัวใจแข็งแรงขึ้นใน 5 สัปดาห์

หัวใจเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย มีหน้าที่หลักในการสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะทุกส่วน ทุกคนจึงควรศึกษา วิธีดูแลรักษาหัวใจ ที่เหมาะสม การดูแลสุขภาพหัวใจอาจทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การงดสูบบุหรี่ การนอนหลับให้เพียงพอ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด และทำให้มีสุขภาพหัวใจที่ดีไปอีกหลายปี ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ อาจแบ่งได้ดังนี้ ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ อายุ ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้นตามอายุ เนื่องจากหัวใจและหลอดเลือดอ่อนแอลงตามกาลเวลา ผู้ชายและผู้หญิงจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจสูงขึ้นตั้งแต่อายุ 45 ปีและ 55 ปีตามลำดับ เพศ ผู้ชายมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิง เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงมีส่วนช่วยในการรักษาเนื้อเยื่อหัวใจและหลอดเลือดให้แข็งแรง ประวัติสุขภาพของครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่สาว เป็นโรคหัวใจตั้งแต่อายุยังน้อยจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจมากกว่าคนทั่วไป ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูง เมื่อมีไขมันปริมาณมากสะสมในกระแสเลือดอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดคราบพลัคและภาวะหลอดเลือดแข็งที่อาจทำให้หลอดเลือดตีบตัน และนำไปสู่โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เมื่อร่างกายมีความดันโลหิตสูง จะทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและหนาขึ้น ส่งผลให้หลอดเลือดแดงตีบตัน และหัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือด นอกจากนี้ เมื่อหลอดเลือดตีบตันก็อาจทำให้หลอดเลือดไม่สามารถลำเลียงเลือดไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ ความเครียด ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลที่สูงเกินไปจากความเครียดสะสมเป็นเวลานานอาจเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ น้ำตาลในเลือด รวมไปถึงความดันโลหิตได้ วิธีดูแลรักษาหัวใจ ให้ห่างไกลโรค ใน 5 สัปดาห์ วิธีดูแลรักษาหัวใจ ด้วยการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยให้สุขภาพหัวใจแข็งแรงขึ้นและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจ ในเวลา […]


ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ

รวมทุกเรื่องที่ควรรู้ เกี่ยวกับ ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ (Heart Arrhythmias)

ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ เป็นหนึ่งในความผิดปกติของหัวใจที่หลายคนอาจเป็นอยู่แต่ไม่เคยสังเกต กว่าที่จะรู้ตัวอาการหัวใจเต้นผิดปกติก็อาจรุนแรงขึ้นจนส่งผลให้เกิดโรคหัวใจอื่น ๆ ตามมาแล้ว [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ คืออะไร หัวใจเต้นผิดปกติ (Heart Arrhythmias) หรือ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หมายถึงภาวะที่อัตราการเต้นของหัวใจ หรือจังหวะการเต้นของหัวใจผิดไปจากที่ควรเป็น เช่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ใจสั่น โดยทั่วไปแล้ว ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ มักไม่มีอันตรายหรืออาการที่ชัดเจน ทำให้หลายคนไม่รู้ตัวว่ากำลังมีภาวะนี้อยู่ แต่ในบางครั้ง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ก็อาจนำไปสู่โรคอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติพบบ่อยแค่ไหน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่อาจพบได้มากในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับหัวใจ ภาวะนี้สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ โดยปกติแล้ว อาการของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติอาจไม่แสดงออกให้เห็นชัด นอกเหนือจากอาการหัวใจเต้นผิดปกติ เช่น หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น แต่ในบางกรณีก็อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้ เหนื่อยล้าง่าย อ่อนแรง วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เจ็บหน้าอก หายใจไม่ทั่วท้อง หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก วิตกกังวล รู้สึกใจหวิว มองเห็นไม่ชัด สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด เนื่องจาก […]


สุขภาพหัวใจ

วิธี ป้องกัน โรคหัวใจ สำหรับผู้สูงอายุ ควรทำอย่างไร

วิธี ป้องกัน โรคหัวใจ สำหรับผู้สูงอายุ อาจเป็นวิธีที่คล้ายคลึงกับวิธีป้องกันโรคหัวใจทั่วไป แต่ผู้สูงอายุเป็นวัยที่อาจต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพราะเมื่ออายุเพิ่มขึ้น สุขภาพร่างกายอาจอ่อนแอลง หรือบางคนอาจมีภาวะสุขภาพอื่น ๆ รุมเร้าก็อาจทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การทำงานและความแข็งแรงของหัวใจและหลอดเลือดก็อาจเสื่อมสภาพตามอายุ ดังนั้น การสังเกตสัญญาณเตือนของโรค และการดูแลตัวเอง จึงอาจช่วยป้องกันโรคหัวใจในผู้สูงอายุได้ แนวโน้มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจของผู้สูงอายุ ผู้ที่มีอายุประมาณ 65 ปีขึ้นไป อาจมีแนวโน้มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจล้มเหลว และหัวใจเต้นผิดปกติ เนื่องจากระบบการทำงานและความแข็งแรงของหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงอวัยวะอื่น ๆ เช่น กล้ามเนื้อ ไต ปอด อาจเสื่อมสภาพตามอายุ จึงอาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายลดลง และอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้ นอกจากนี้ การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการดำเนินชีวิตประจำวัน ก็อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจในผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น วิธี ป้องกัน โรคหัวใจ สำหรับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุเป็นวัยที่อาจต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอลงตามอายุ วิธีป้องกันโรคหัวใจสำหรับผู้สูงอายุจึงอาจทำได้ ดังนี้ รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารเป็นปัจจัยหลักที่อาจทำให้ผู้สูงอายุเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้หากเลือกรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล และโซเดียมสูง เนื่องจากอาหารเหล่านี้อาจทำให้ความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลสูงขึ้น และอาจทำให้เส้นเลือดแดงตีบเนื่องจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ผู้สูงอายุจึงควรเลือกรับประทานอาหารที่หลากหลาย มีสารอาหารครบถ้วน เส้นใยสูง […]


สุขภาพหัวใจ

10 เคล็ดลับ การดูแลรักษาหัวใจ เพื่อส่งเสริมสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง

การดูแลรักษาหัวใจ เป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ เนื่องจากหัวใจเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดเพื่อส่งออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและใช้เป็นพลังงานในการดำรงชีวิต หากละเลยการดูแลรักษาหัวใจอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดตีบ โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังและอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต โดยจากแบบสำรวจวันหัวใจโลกของ Hello คุณหมอ พบว่า 3 เหตุผลที่คนส่วนใหญ่อยากเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อป้องกันโรคหัวใจ คือ ต้องการใช้เวลาอยู่กับครอบครัวเพื่อทำหน้าที่ดูแลและเอาใจใส่ คิดเป็น 21.74% กลัวผลร้ายแรงที่ตามมาจากโรคหัวใจ คิดเป็น 21.74% และกลัวสุขภาพจะทรุดโทรมลงอย่างกะทันหัน คิดเป็น 17.39% นอกจากนี้ คนส่วนใหญ่ยังมีความต้องการที่จะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตโดยการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และสูดดมควันบุหรี่มือสอง คิดเป็น 92.86% งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คิดเป็น 92.86% และรับประทานผักและผลไม้มากขึ้น คิดเป็น 90.48% เพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพหัวใจให้ดีระยะยาว 10 เคล็ดลับ การดูแลรักษาหัวใจ การดูแลสุขภาพหัวใจอาจทำได้ ดังนี้ รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและควบคุมปริมาณอาหาร ควรรับประทานอาหารที่หลากหลายและมีสารอาหารครบถ้วน ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินและแร่ธาตุ โดยควรเน้นรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง เช่น ผักและผลไม้ทุกชนิด เช่น ผักใบเขียว […]


สุขภาพหัวใจ

ระบบไหลเวียนเลือด หยุดทำงาน ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ และควรป้องกันอย่างไร

ระบบไหลเวียนเลือด เป็นระบบที่มีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย เนื่องจากมีหน้าที่ในการลำเลียงเลือด ฮอร์โมน ออกซิเจน และสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์ในร่างกาย เพื่อใช้เป็นพลังงาน ใช้ในการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รวมถึงทำหน้าที่ในการขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกทางปอด หากระบบไหลเวียนเลือดหยุดทำงานอาจทำให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานบกพร่องจนอาจทำให้มีอาการสับสน มึนงง ช็อก หมดสติ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ระบบไหลเวียนเลือด คืออะไร ระบบไหลเวียนเลือด คือ ระบบการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดที่มีหน้าที่ลำเลียงเลือด ฮอร์โมน ออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงาน ใช้ในการเจริญเติบโตและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ นอกจากนี้ ระบบไหลเวียนเลือดยังมีหน้าที่ในการขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกทางปอด เพื่อแลกเปลี่ยนออกซิเจนกลับมาใช้ในร่างกาย และนำของเสียไปยังอวัยวะที่มีหน้าที่กำจัดทิ้ง เช่น ไต ลำไส้ใหญ่ รวมถึงช่วยรักษาสมดุลของน้ำภายในร่างกาย และควบคุมอุณหภูมิในร่างกายให้เป็นปกติ ระบบไหลเวียนเลือด ทำงานอย่างไร ระบบไหลเวียนเลือดอาจประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ ดังนี้ เลือด ประกอบไปด้วยเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และพลาสมา (Plasma) หัวใจ เป็นอวัยวะที่มีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยหัวใจห้องบนขวา (Right Atrium) หัวใจห้องล่างขวา (Right Ventricle) หัวใจห้องบนซ้าย (Left Atrium) […]


โรคความดันโลหิตสูง

ความดันสูง เกิดจาก สาเหตุอะไร และวิธีป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง

ความดันสูง เกิดจาก หลายสาเหตุ โดยเป็นภาวะที่ระดับความดันโลหิตสูงกว่าระดับปกติ ซึ่งอาจเป็นอันตรายและเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจวาย โรคสมองเสื่อม ดังนั้น ควรดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อป้องกันความดันสูง [embed-health-tool-bmi] ความดันสูง คืออะไร  ความดันสูง หรือความดันโลหิตสูง คือ ภาวะที่ค่าความดันสูงผิดปกติจากค่าความดันปกติ หากมีภาวะความดันสูงเรื้อรังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ โดยตัวเลขค่าบนอยู่ที่ 130-139 มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขค่าล่างอยู่ที่ 85-89 มิลลิเมตรปรอท นอกจากนี้ ค่าความดันสูงอาจแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้  ค่าความดันสูงระยะที่ 1: ตัวเลขค่าบน 140-159 มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขค่าล่าง 90-99 มิลลิเมตรปรอท ค่าความดันสูงระยะที่ 2: ตัวเลขค่าบน 160-179  มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขค่าล่าง 100-109 มิลลิเมตรปรอท ค่าความดันสูงระยะที่ 3: ตัวเลขค่าบนสูงตั้งแต่ 180  มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และตัวเลขค่าล่างสูงกว่า 110 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป อาการความดันสูง  ความดันสูงในระยะแรกมักไม่ค่อยแสดงอาการ แต่หากมีค่าความดันสูงมากอาจส่งผลให้เกิดอาการ […]


โรคความดันโลหิตสูง

ค่าความดันปกติ คือเท่าไหร่ และวิธีป้องกันค่าความดันสูง

ค่าความดันโลหิต หรือที่อาจเรียกว่า ค่าความดัน เป็นค่าแรงดันของกระแสเลือดที่กระทบกับผนังหลอดเลือดแดง เกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ปกติแล้ว ค่าความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้นและลดลงตลอดทั้งวัน อย่างไรก็ตาม ควรเรียนรู้ ค่าความดันปกติ ที่เหมาะสมกับอายุ เพศ กิจกรรมที่ทำ และภาวะสุขภาพของตัวเองที่สุด และควรรักษาค่าความดันให้เป็นปกติ อย่าให้ความดันโลหิตสูงหรือต่ำเป็นประจำหรือเรื้อรัง เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ ที่สามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่อันตรายได้ เช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง  [embed-health-tool-heart-rate] ค่าความดัน คืออะไร  ค่าความดันโลหิต หรือค่าความดัน คือ ค่าแรงดันเลือดที่ส่งแรงกระทบกับผนังหลอดเลือดแดงเนื่องจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย โดยค่าความดันจะมี 2 ค่า ได้แก่  ค่าความดันโลหิตตัวบน หรือตัวเลขค่าบน คือ ค่าแรงดันขณะที่หัวใจบีบตัวหรือสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายเต็มที่ (Systolic Blood Pressure) ค่าความดันโลหิตตัวล่าง หรือตัวเลขค่าล่าง คือ ค่าแรงดันขณะที่หัวใจคลายตัวเต็มที่ (Diastolic Blood Pressure) ค่าความดันปกติ คือเท่าไร  การอ่านค่าความดันโลหิต ตัวเลขค่าบนจะมาก่อน ตามด้วยตัวเลขค่าล่าง เช่น 120/80 หมายถึง ตัวเลขค่าบน 120 มิลลิเมตรปรอทและตัวเลขค่าล่าง 80 มิลลิเมตรปรอท ค่าความดัน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน