สุขภาพหัวใจ

หัวใจ คืออวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากหัวใจเกิดปัญหา ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพหัวใจ ทั้งการดูแลรักษา และปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหัวใจ

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) สามารถเกิดขึ้นได้จาก สาเหตุใด

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) เป็นอีกโรคที่คุณควรระมัดระวังเป็นอย่างมากไม่แพ้โรคประเภทอื่น ๆ เนื่องจากโรคนี้ค่อนข้างเชื่อมโยงกับการทำงานของหัวใจ เพื่อให้ทุกคนรู้จักกับโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองมากขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ จึงรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น มาฝากทุกคนให้ได้ลองศึกษา และทำความรู้จักกันค่ะ [embed-health-tool-bmi] โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) คืออะไร โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง คือ การพองตัว และนูนบวมของหลอดเลือดแดงใหญ่ที่มีหน้าที่ในการลำเลียงเลือดจากหัวใจเข้าไปหล่อเลี้ยงทั่วทั้งร่างกาย โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การติดเชื้อที่หัวใจ ความดันโลหิตสูง ภาวะหลอดเลือดแข็งตัว และพฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นประจำ เป็นต้น อีกทั้งโรคนี้ยังสามารถแบ่งออกได้อีก 2 ประเภทด้วยกัน นั่นก็คือ โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้อง โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในทรวงอก นอกจากนี้หากคุณปล่อยให้หลอดเลือดแดงพองตัวไปเรื่อย ๆ ไม่รีบเร่งรักษา ก็อาจส่งผลให้เส้นเลือดนี้สามารถแตกออก ก่อให้เกิดโรคหัวใจบางอย่าง ไตพัง และถึงแก่ชีวิตได้ในที่สุด อาการของโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง อาการที่เกิดขึ้นเมื่อคุณเข้าสู่ภาวะเสี่ยงเป็น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง นั้น ส่วนมากมักทำให้คุณต้องพบเจอกับอาการต่าง ๆ ดังนี้ เจ็บหน้าอก ปวดหลัง หายใจลำบาก ไอ และเสียงแหบ ปวดท้อง เหงื่อออก อาเจียน วิงเวียนศีรษะ การรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง หากคุณสังเกตถึงอาการผิดปกติ พร้อมรับการวินิจฉัยแล้วว่าคุณกำลังเป็น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง […]

หมวดหมู่ สุขภาพหัวใจ เพิ่มเติม

คอเลสเตอรอล

สำรวจ สุขภาพหัวใจ

สุขภาพหัวใจ

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาการ สาเหตุ และการรักษา

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) เป็นการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจที่ลดการทำงานของหัวใจในการสูบฉีดเลือด ซึ่งอาจทำให้มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจถี่ และการเต้นของหัวใจผิดปกติ จึงควรเข้ารับการรักษาด้วยการใช้ยา การทำหัตถการ หรือการผ่าตัดอย่างเหมาะสม เพราะหากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอาจมีแนวโน้มทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวายได้ [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คืออะไร กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คือ การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจที่อาจลดการทำงานของหัวใจในการสูบฉีดเลือด โดยอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส ปฏิกิริยาของยาบางชนิด หรือการอักเสบภายในร่างกาย นอกจากนี้ หากเป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบรุนแรงอาจทำให้หัวใจอ่อนแอลงจนร่างกายส่วนอื่น ๆ ได้รับเลือดไม่เพียงพอ ซึ่งอาจก่อให้เกิดลิ่มเลือดในหัวใจ ที่อาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจวายได้ อาการ อาการ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ สำหรับผู้ที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบระยะแรกอาจไม่มีอาการแสดงให้เห็นหรืออาจมีอาการเพียงเล็กน้อย โดยอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย อาจมีดังนี้ เจ็บหน้าอก เหนื่อยล้า บวมที่ขา ข้อเท้า และเท้า หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ หรือเต้นผิดปกติ หายใจถี่ขณะพัก หรือระหว่างทำกิจกรรม วิงเวียนศีรษะ หรือรู้สึกเหมือนจะเป็นลม อาการคล้ายไข้หวัด เช่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ มีไข้ เจ็บคอ สำหรับอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่เกิดขึ้นในเด็ก อาจมีดังนี้ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หายใจเร็ว จังหวะหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ หรือเต้นผิดปกติ มีไข้ เป็นลม สาเหตุ สาเหตุ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การติดเชื้อไวรัส เช่น […]


โรคหัวใจ

อาการโรคหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงและวิธีดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง

อาการโรคหัวใจ ส่วนใหญ่แล้วมักมีอาการใจสั่น เจ็บหน้าอก แขนขาชา โดยอาจมีสาเหตุแตกต่างกันตามประเภทของโรคหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการโรคหัวใจ ควรศึกษาวิธีการดูแลสุขภาพหัวใจ คอยสังเกตอาการผิดปกติ หรือขอคำแนะนำจากคุณหมอ และควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี [embed-health-tool-heart-rate] อาการโรคหัวใจ อาการโรคหัวใจ อาจแตกต่างกันออกไปตามประเภทของโรคหัวใจที่เป็น ดังต่อไปนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นโรคหัวใจประเภทหนึ่งที่พบได้บ่อย อาจมีสาเหตุมาจากไขมันสะสมในหลอดเลือด และอาจพัฒนาทำให้เกิดคราบจุลินทรีย์หรือคราบพลัค (Plaque) ที่ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัว ขวางทางเดินของเลือดและส่งผลให้หลอดเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจอุดตัน ที่และอาจก่อให้เกิดอาการโรคหัวใจ ดังนี้ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก หายใจถี่ ปวดเมื่อยบริเวณคอ ท้องส่วนบน และหลัง รู้สึกปวดและชาบริเวณแขนและขา โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น หัวใจติดเชื้อ เยื่อบุหัวใจอักเสบ ความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ การฉายรังสี และเคมีบำบัดรักษามะเร็ง ที่ส่งผลกระทบการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจในการสูบฉีดเลือด ซึ่งอาจมีอาการโรคหัวใจดังต่อไปนี้ หัวใจเต้นผิดปกติ ใจสั่น หายใจไม่อิ่มในขณะที่ทำกิจกรรมหรือนอนพักผ่อน ขาและข้อเท้าบวม รู้สึกเหนื่อยล้า วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด และเป็นลม โรคลิ้นหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ โดยส่วนมากเกิดจากความเสื่อมของลิ้นหัวใจในผู้สูงอายุเช่นลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ หรือลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว ในผู้ป่วยบางรายอาจมีความเชื่อมโยงกับโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือเนื้อเยื่อของลิ้นหัวใจมีความหย่อนผิดปกติ (Barlow’s disease) […]


สุขภาพหัวใจ

การเต้นของหัวใจ และ ความเข้มข้นของการออกกำลังกาย เกี่ยวข้องกันอย่างไร

การออกกำลังกายที่เหมาะสมจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพหัวใจและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไป คนนิยมติดตามอัตรา การเต้นของหัวใจ ขณะออกกำลังกาย เพื่อให้ทราบระดับความเข้มข้นของการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ออกกำลังกายสามารถวางแผนการทำกิจกรรมได้ตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ ทั้งนี้ ควรออกกำลังกายอย่างระมัดระวังและไม่หักโหมเกินไป เพราะอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ หากมีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคข้ออักเสบ ควรปรึกษาคุณหมอก่อนออกกำลังกาย ความเข้มข้นของการออกกำลังกาย คืออะไร ความเข้มข้นของการออกกำลังกาย หรือความหนักของการออกกำลังกาย (Exercise Intensity) คือ การวัดปริมาณการใช้พลังงานของร่างกายในระหว่างออกกำลังกาย โดยการวัดระดับความเข้มข้นของการออกกำลังกาย อาจแบ่งออกเป็น 2 วิธีหลัก ๆ ได้แก่ Absolute Intensity คือการวัดความเข้มข้นของการออกกำลังกายโดยดูอัตราการใช้พลังงานในการออกกำลังกาย เช่น กิโลแคลอรี่ต่อช่วงเวลา (Kcal\time) หรือ การดู Metabolic Equivalent (METs) โดยเป็นการเทียบจำนวนเท่าของระดับพลังงานที่ใช้ในการออกกำลังกายเทียบกับการนั่งอยู่เฉย ๆ เช่น การวิ่งที่ 6 METs หมายถึงการเป็นการวิ่งออกกำลังกายที่ใช้พลังงานเป็น 6 เท่าของการนั่งอยู่เฉย ๆ เป็นต้น Relative Intensity คือการวัดความเข้มข้นของการออกกำลังกายเป็นสัดส่วนต่อการออกกำลังหรือการใช้แรงได้สูงสุดที่บุคคลนั้นทำได้ เช่น การวัดเปอร์เซ็นต์อัตราการเต้นหัวใจขณะออกกำลังกายเทียบกับอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดตามช่วงอายุ (%HRmax) […]


สุขภาพหัวใจ

การทำงานของหัวใจ และเรื่องที่คนมักเข้าใจผิด

โรคหัวใจเป็นโรคที่พบได้บ่อย อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ ความผิดปกติบางประการตั้งแต่กำเนิด หรืออาจเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหารไขมันสูง การสูบบุหรี่จัด อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจมีความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ การทำงานของหัวใจ เมื่อเป็นโรคหัวใจ เช่น คนอายุน้อยไม่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ โรคหัวใจไม่สามารถป้องกันได้ ภาวะหัวใจล้มเหลวไม่สามารถรักษาได้ ซึ่งล้วนเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจใหม่เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถวางแผนการรักษาและควบคุมโรคได้ดีขึ้น ส่วนผู้ที่ยังไม่ป่วยเป็นโรคหัวใจก็สามารถดูแลตัวเองได้อย่างถูกวิธีเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ การทำงานของหัวใจ เป็นอย่างไร หัวใจเป็นอวัยวะสำคัญที่มีขนาดเท่ากับกำปั้นของผู้เป็นเจ้าของ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดที่มีออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ เซลล์ และอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย หัวใจแบ่งออกเป็น 4 ห้อง ได้แก่ หัวใจห้องบนขวา (Right atrium) หัวใจห้องล่างขวา (Right ventricle) หัวใจห้องบนซ้าย (Left atrium) และหัวใจห้องล่างซ้าย (Left ventricle) โดยหัวใจห้องซ้ายและห้องขวาจะมีผนังหัวใจกั้น ส่วนหัวใจห้องบนและห้องล่างจะมีลิ้นหัวใจกั้น ลิ้นหัวใจมีหน้าที่กั้นให้เลือดไหลไปทางทิศทางเดียวกัน และป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับไปทางเดิม การทำงานของหัวใจจะเริ่มจากหลอดเลือดดำลำเลียงเลือดดำที่มีออกซิเจนต่ำกลับมาที่หัวใจห้องบนขวา เลือดดำจะไหลจากหัวใจห้องบนขวาลงไปที่หัวใจห้องล่างขวาซึ่งจะสูบฉีดเลือดดำที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูงไปฟอกที่ปอดผ่านการหายใจจนเลือดดำกลายเป็นเลือดแดงที่ได้รับออกซิเจนแล้ว จากนั้นเลือดแดงจะไหลขึ้นไปที่หัวใจห้องบนซ้าย แล้วไหลลงไปที่หัวใจห้องล่างซ้าย จากนั้นหัวใจห้องล่างซ้ายจะสูบฉีดเลือดแดงที่มีออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะของร่างกายผ่านหลอดเลือดแดง แล้วเลือดจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะกลายเป็นเลือดดำไหลเวียนกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนขวา หมุนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ เรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ การทำงานของหัวใจ เรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ การทำงานของหัวใจ […]


สุขภาพหัวใจ

เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ อัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย (Target Heart Rate)

อัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย (Target Heart Rate) คือ อัตราการเต้นของหัวใจ ที่เหมาะสมในช่วงออกกำลังกาย เป็นตัวช่วยวัดว่าหัวใจควรเต้นเร็วในระดับเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมในขณะออกกำลังกาย ซึ่งอาจช่วยในการสังเกตความผิดปกติของร่างกาย และช่วยลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย โดยอัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมายจะแตกต่างกันออกไปตามช่วงอายุ ดังนั้น หากอยากทราบว่าตนเองควรมีอัตราการเต้นของหัวใจในระดับใด ควรหาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย หรือขอคำแนะนำจากคุณหมอโดยตรง อัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย คืออะไร อัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย คือ อัตราการเต้นของหัวใจในขณะออกกำลังกายที่เหมาะสม ซึ่งจะแตกต่างจากอัตราการเต้นของหัวใจปกติที่อยู่ในช่วง 60-100 ครั้ง/นาที เนื่องจากการออกกำลังกายส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น การคำนวณอัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย อาจช่วยประเมินได้ว่า อัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ เพื่อให้การออกกำลังกายอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม  ป้องกันภาวะหัวใจเต้นเร็วเกินเกณฑ์ ที่อาจเสี่ยงทำให้มีอาการเหนื่อยหอบรุนแรง หน้ามืด เป็นลมหมดสติ หัวใจวาย และเสียชีวิตกะทันหันได้ วิธีการคำนวณอัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย การคำนวณอัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย คือการวัดชีพจรขณะหยุดพักจากการออกกำลังกายในระยะเวลาสั้น ๆ ด้วยการใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางกดลงบนชีพจรเบา ๆ จับเวลา 60 วินาที หรือจับเวลา 30 วินาทีแล้วนำมา x2 แล้วนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์อัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย หรือสามารถใช้เครื่องมือในการคำนวณอัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมายของ Hello คุณหมอนี้ [embed-health-tool-heart-rate] ระดับอัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมายและการออกกำลังกายที่เหมาะสม อ้างอิงตามแนวทางการออกกำลังกายจาก สมาคมโรคหัวใจแห่งยุโรป (European Society of Cardiology) เมื่อปี พ.ศ. 2563 […]


โรคหัวใจ

โรคหัวใจอาการ และนิยามของโรคหัวใจ

โรคหัวใจ คือ ปัญหาสุขภาพหรือความผิดปกติต่าง ๆ เกี่ยวกับหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจวาย โรคลิ้นหัวใจ หรือโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยทั่วไป เมื่อเป็น โรคหัวใจอาการ ที่เกิดขึ้น ได้แก่ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย หน้ามืด และหมดสติ ทั้งนี้ โรคหัวใจอาจป้องกันได้ เช่น งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ [embed-health-tool-bmi] นิยามของ โรคหัวใจ โรคหัวใจ หมายถึง ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย โรคหัวใจพบบ่อยในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ซึ่งเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2563 ระบุว่า การเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ คิดเป็นร้อยละ 11.53 ของอัตราการเสียชีวิตทั้งหมดในประเทศไทย โรคหัวใจอาการ ที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โรคหัวใจที่พบบ่อยที่สุดในผู้สูงอายุคือ โรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเกิดจากสะสมหรืออุดตันของคอเลสเตอรอลหรือไขมันในหลอดเลือดหัวใจ จนเป็นเหตุให้ออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ไม่สามารถลำเลียงผ่านหลอดเลือดเพื่อไปเลี้ยงหัวใจได้เพียงพอ ทำให้หัวใจทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เกิดอาการแน่นหน้าอก เหนื่อง่าย […]


โรคหลอดเลือดหัวใจ

หลอดเลือดหัวใจ กับปัญหาเกี่ยวกับหัวใจที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

หลอดเลือดหัวใจ และปัญหาที่เกี่ยวกับหัวใจในผู้สูงอายุ อาจพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และภาวะหัวใจล้มเหลวได้มากขึ้น รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจอื่น ๆ เนื่องจากสุขภาพร่างกายโดยรวมและประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ หลอดเลือดหัวใจและอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายอ่อนแอลงตามอายุ ปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและหัวใจในผู้สูงอายุ ปัญหาเกี่ยวกับ หลอดเลือดหัวใจ และหัวใจที่อาจพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ มีดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดเพิ่มขึ้นทำให้หลอดเลือดตีบตัน ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่อาจทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอื่น ๆ เช่น หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจวาย สาเหตุหลักมาจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน ซึ่งเป็นภาวะที่หลอดเลือดหลักที่มีหน้าที่ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงหัวใจอุดตัน เนื่องจากคอเลสเตอรอลที่สะสมมากในหลอดเลือดทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ โรคหลอดเลือดสมอง อาจมีสาเหตุมาจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ ลิ่มเลือดอุดตัน หลอดเลือดหรือเส้นเลือดแตก หรือเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะจนเกิดลิ่มเลือดจากหัวใจหลุดไปอุดตันเส้นเลือดสมอง ทำให้เลือดไหลเวียนไปยังสมองไม่เพียงพอ และส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อสมองจนทำให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้ โรคภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) เกิดจากความดันโลหิตที่สูงขึ้น อายุที่เพิ่มขึ้นและปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น คอเลสเตอรอลสูง โรคอ้วน โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ที่อาจทำให้เกิดการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดเป็นเวลานาน ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัวและแคบลง ซึ่งจะขัดขวางการไหลเวียนของเลือดทำให้เลือดไหลเวียนไปยังกล้ามเนื้อหัวใจลดลง เมื่อเวลาผ่านไปกล้ามเนื้อหัวใจจะอ่อนแรงลงจนส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวขึ้น หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจที่เกิดขึ้นตามอายุ […]


โรคหัวใจ

พฤติกรรม เสี่ยง โรคหัวใจ มีอะไรบ้าง และมีผลอย่างไร

โรคหัวใจ คือ ความผิดปกติหรือโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ มักเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบแคบหรืออุดตัน กระทั่งออกซิเจนและสารอาหารในเลือดไม่สามารถถูกส่งไปเลี้ยงหัวใจได้ตามปกติและเกิดผลกระทบต่อสุขภาพและการทำงานของหัวใจ ทั้งนี้ พฤติกรรม เสี่ยง ที่มักเป็นสาเหตุของโรคหัวใจชนิดต่าง ๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันอิ่มตัว การไม่ออกกำลังกาย [embed-health-tool-bmi] โรคหัวใจ คืออะไร โรคหัวใจ คือ ความผิดปกติของหัวใจรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจวาย โรคลิ้นหัวใจรั่ว ภาวะหัวใจล้มเหลว โดยทั่วไป โรคหัวใจมักเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบลงหรืออุดตัน จนออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ในเลือดไม่สามารถลำเลียงไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้ตามปกติ ทำให้หัวใจอ่อนแอหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ อาจไม่สามารถควบคุมได้ อย่างพันธุกรรมหรือความเสื่อมโทรมของร่างกายเมื่ออายุมากขึ้น ทั้งนี้ พฤติกรรม เสี่ยงที่อาจควบคุมได้ อาจมีดังนี้ การสูบบุหรี่ การบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยคอเลสเตอรอลหรือไขมันเลว (LDL) การดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมการออกกำลังกาย ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคอ้วน ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง พฤติกรรม เสี่ยง โรคหัวใจ มีอะไรบ้าง พฤติกรรมเสี่ยงต่อไปนี้ […]


โรคหัวใจ

เรื่องน่ารู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับ หัวใจ มีอะไรบ้าง

หัวใจ เป็นอวัยวะหลักที่มีหน้าที่สูบฉีดเลือดและส่งธาตุอาหารกับออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตลอดเวลา แม้ว่าหัวใจจะเป็นอวัยวะที่ทุกคนรู้จักกันดี  แต่มีข้อเท็จจริงหลายประการเกี่ยวกับหัวใจที่อาจไม่ทราบกัน เช่น หัวใจของผู้ชายมีขนาดใหญ่กว่าของผู้หญิง หัวใจสามารถเต้นได้แม้ถูกนำออกมาจากร่างกาย การมีความเครียดอย่างรุนแรงจนเกิดใจสลายอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ หัวใจเต้นได้ด้วยกระแสไฟฟ้าในตัวเอง [embed-health-tool-bmi] เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ หัวใจ หัวใจ เป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย มีหน้าที่หลักในการสูบฉีดเลือด เพื่อขนส่งออกซิเจนและธาตุอาหารไปหล่อเลี้ยงอวัยวะและช่วยให้การทำงานของระบบภายในร่างกายเป็นปกติ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับหัวใจมีดังนี้ หัวใจทำงานตลอดเวลา ใน 1 วัน หัวใจสูบฉีดเลือดประมาณ 7,570 ลิตร และเต้นประมาณ 115,000 ครั้ง หัวใจของเพศหญิงเต้นเร็วกว่าหัวใจของเพศชายประมาณ 8 ครั้ง/นาที หัวใจเต้นด้วยกระแสไฟฟ้าในตัวเอง โดยไม่ต้องได้รับการสั่งการจากสมอง หากสมองตายหรือนำหัวใจออกจากร่างกาย หัวใจจึงยังเต้นต่อได้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ หัวใจของผู้ชายและผู้หญิงมีขนาดไม่เท่ากัน โดยปกติแล้ว หัวใจจะมีขนาดเท่า ๆ กับกำปั้นของมนุษย์ โดยหัวใจของผู้ชายจะมีขนาดใหญ่กว่าหัวใจของผู้หญิงเล็กน้อย หรือประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ และน้ำหนักของหัวใจผู้หญิงและผู้ชายจะอยู่ราว ๆ 230-280 กรัม และ 280-340 กรัม ตามลำดับ โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกเสียชีวิต องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) […]


โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรค หัวใจ และ หลอดเลือด กับภาวะหัวใจล้มเหลว

โรค หัวใจ และ หลอดเลือด เป็นชื่อเรียกของโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหัวใจ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบและอุดตันซึ่งส่งผลให้เลือดถูกส่งไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่เพียงพอ หัวใจจึงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างหัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งนี้ สัญญาณเตือนของภาวะหัวใจล้มเหลว ได้แก่ เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก และหัวใจเต้นเร็ว หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-bmi] โรค หัวใจ และ หลอดเลือด เกี่ยวกับหัวใจล้มเหลวอย่างไร โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดในร่างกายโดยมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือดซึ่งทำให้หลอดเลือดแคบลงหรืออุดตัน เมื่อหลอดเลือดมีไขมันสะสมจนเกิดการตีบตันหรืออุดตัน ทำให้ออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ไม่สามารถส่งไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้เพียงพอ ส่งผลให้หัวใจอ่อนแอและทำหน้าที่สูบฉีดเลือดได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เกิดเป็นอาการที่เรียกว่า ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) โดยปกติ หัวใจล้มเหลวพบได้ในคนทุกวัย แต่พบมากในผู้สูงอายุ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ.2561 ภาวะหัวใจล้มเหลวเกี่ยวข้องกับสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรในประเทศประมาณ 379,800 ราย หรือคิดเป็น 13.4 เปอร์เซ็นต์ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวนอกจากโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีก ได้แก่ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหรือลิ้นหัวใจ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน