backup og meta

รอยช้ำกับห้อเลือด มีความแตกต่างกันอย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/01/2021

    รอยช้ำกับห้อเลือด มีความแตกต่างกันอย่างไร

    หลายคนมักเข้าใจว่า รอยช้ำกับห้อเลือด คือสิ่งเดียวกัน แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุและอาการของรอยช้ำกับห้อเลือด จะช่วยทำให้คุณรับรู้ถึงเงื่อนไขของการเกิด ความแตกต่างระหว่างรอยช้ำกับห้อเลือด รวมทั้งจะได้เข้าใจถึงการรักษาที่จำเป็นได้ดีขึ้น ซึ่งทาง Hello คุณหมอ ได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน

    ทำความรู้จัก รอยช้ำกับห้อเลือด

    รอยช้ำกับห้อเลือดมักจะปรากฏในลักษณะเดียวกัน แต่ทั้ง 2 มีเงื่อนไขการเกิดที่แตกต่างกัน ห้อเลือดเป็นภาวะที่ร้ายแรงกว่ารอยช้ำ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากเกิดรอยช้ำขึ้นตามร่างกายมักไม่จำเป็นต้องไปพบคุณหมอ ในขณะที่ห้อเลือดนั้นอาจต้องได้รับการดูแลทันที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับห้อเลือดประเภทที่รุนแรง ดังนั้น คุณควรทำความรู้จักกับรอยช้ำกับห้อเลือด เพื่อจะได้แยกแยะได้อย่างถูกต้อง

    รอยช้ำคืออะไร

    รอยช้ำ หรือที่เรียกกันว่า “บาดแผลฟกช้ำดำเขียว (Contusions)” มันจะปรากฏบนผิวหนัง เมื่อได้รับบาดเจ็บที่ร่างกาย รอยช้ำจะเกิดขึ้นเมื่อเส้นเลือดเล็ก เส้นเลือดฝอย เนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ และเส้นใยใต้ผิวหนังแตก

    ห้อเลือดคืออะไร

    ห้อเลือด คือ การสะสมของเลือดภายนอกหลอดเลือด เกิดจากการบาดเจ็บที่ผนังของหลอดเลือด ซึ่งทำให้เลือดออกไปยังเนื้อเยื่อรอบ ๆ ห้อเลือดสามารถเกิดขึ้นได้ที่หลอดเลือดทุกประเภท รวมทั้งหลอดเลือดแดง เส้นเลือดฝอย และหลอดเลือดดำ

    สาเหตุของการเกิดรอยช้ำกับห้อเลือด

    แม้ว่า รอยช้ำกับห้อเลือดจะมีลักษณะที่เหมือนกัน แต่ความจริงแล้ว สาเหตุของการเกิดรอยช้ำกับห้อเลือดมีความแตกต่างกัน โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยช้ำกับห้อเลือด มีดังนี้

    สาเหตุของการเกิดรอยช้ำ

    รอบช้ำมักเป็นผลมาจากการกระแทกโดยตรง หรือการกระแทกซ้ำ ๆ จากวัตถุไม่มีคมที่กระทบส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย สำหรับสาเหตุอื่น ๆ ของการเกิดรอยช้ำ ได้แก่ เลือดออกผิดปกติ หรือเลือดที่ออกจากผิวที่บางลงเนื่องจากอายุมากขึ้น สำหรับบางคนอาจจะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดรอยช้ำ ซึ่งผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดรอยช้ำ ได้แก่

    สาเหตุของการเกิด ห้อเลือด

    การบาดเจ็บเป็นสาเหตุหลักของการเกิดห้อเลือด ซึ่งอาจรวมถึงอุบัติเหตุทางรถยนต์ การบาดเจ็บที่ศีรษะ การหกล้ม และบาดแผลจากกระสุนปืน และสาเหตุอื่น ๆ ของการเกิดห้อเลือด ได้แก่

    สำหรับบางคนอาจจะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด ห้อเลือด ซึ่งผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดห้อเลือด ได้แก่

    • ผู้สูงอายุ
    • ผู้ที่เคยมีอาการบาดเจ็บเมื่อไม่นานมานี้
    • ผู้ที่ใช้ยาเจืองจางเลือด (Blood Thinning Medications)

    วิธีการรักษา รอยช้ำกับห้อเลือด

    สำหรับวิธีการรักษารอยช้ำกับห้อเลือด ก็จะมีวิธีการที่แตกต่างกัน เนื่องจากสาเหตุที่ไม่เหมือนกันนั่นเอง โดยวิธีการรักษารอยช้ำกับห้อเลือด มีดังนี้

    วิธีการรักษารอยช้ำ

    รอยช้ำเล็กน้อยจะสามารถหายได้เร็วโดยที่ไม่ส่งกระทบต่อชีวิตประจำวันของคุณ อย่างไรก็ตาม รอยช้ำที่รุนแรงอาจทำให้เนื้อเยื่อส่วนลึกที่ถูกทำลายและนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน รวมถึงการติดเชื้อที่ต้องใช้เวลาและยาปฏิชีวนะในการรักษา ในขณะที่รอยช้ำทั่วไปแทบไม่ก่อให้เกิดความเสียต่ออวัยวะภายใน ตัวอย่างเช่น การกระแทกที่ท้อง อาจทำให้อวัยวะภายในช้ำ และต้องใช้เวลาในการรักษานานขึ้น

    วิธีการรักษา ห้อเลือด

    ห้อเลือดบนผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อนอื่น ๆ จะได้รับการรักษาด้วยการพักผ่อน น้ำแข็ง และใช้แรงกดแผลไว้ โดยการใช้เฝือกหรือห่อแผล การทำให้บริเวณที่ได้รับผลกระทบคงที่ สามารถป้องกันไม่ให้เส้นเลือดกลับมาเปิดได้อีกครั้ง ลดความเจ็บปวด และปรับปรุงการทำงานของเส้นเลือดในบริเวณห้อเลือด ในขณะที่อาการห้อเลือดได้รับการรักษา

    อาการปวดและบวมของห้อเลือด อาจได้รับการรักษาด้วยยาแก้ปวดที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์ ทั้งนี้ ไม่ควรทานแอสไพริน (Aspirin) เพราะอาจทำให้เลือดออกมากขึ้น หากมีอาการปวดรุนแรง แพทย์อาจสั่งยาแก้ปวดชนิดแรงให้

    ความแตกต่างของ รอยช้ำกับห้อเลือด

    รอยช้ำกับห้อเลือด มีความแตกต่างกันหลายอย่าง ทั้งนี้ รวมไปถึงลักษณะของหลอดเลือดที่ได้รับผลกระทบ อาการในการรักษา และความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนก็มีความแตกต่างกัน รอยช้ำและห้อเลือดนั้นเป็นผลมาจากการที่เลือดรั่วออกนอกหลอดเลือดหลังจากได้รับบาดเจ็บ ห้อเลือดมักเกิดขึ้นลึกเขาไปในร่างกาย ซึ่งอาจจะมองไม่เห็นความเสียหาย ในขณะที่รอยช้ำมักจะมองเห็นได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม รอยช้ำบางอย่าง เช่น กระดูกซี่โครงช้ำ ก็ไม่สามารถมองเห็นรอยช้ำได้เสมอไป

    รอยช้ำเป็นผลมาจากการรั่วไหลเล็กน้อยของหลอดเลือดขนาดเล็ก ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีเป็นสีดำและสีน้ำเงิน ซึ่งสีนั้นจะขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของเนื้อเยื้อ และมักจะเกิดความเจ็บปวด รอยช้ำสามารถหายเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ หลังจากเลือดหยุดแล้ว โดยที่ไม่ต้องเข้ารับการรักษา รอยช้ำมักจะไม่มีอาการแย่ลงหรือทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย

    ในทางกลับกันห้อเลือดเป็นเลือดที่มีขนาดใหญ่กว่าและมักจะเกี่ยวข้องกับหลอดเลือดขนาดใหญ่ สิ่งนี้ทำให้เลือดที่รั่วไหลไปสะสมในพื้นที่หนึ่งจนกลายเป็นกลุ่มเลือด ห้อเลือดจะปรากฏขึ้นในลักษณะของรอยบวมที่เต็มไปด้วยของเหลวสีแดง และมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย

    ห้อเลือดอาจมีขนาดค่อนข้างใหญ่ หากเลือดมีการรวมตัวกันมาก ๆ มันสามารถที่จะทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำและช็อกได้ นอกจากนั้นแล้ว ห้อเลือดที่มีขนาดใหญ่มากสามารถเคลื่อนย้ายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ได้ ซึ่งมันสามารถส่งผลทำให้อวัยวะทำงานผิดปกติ จนอาจจะต้องทำการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมความเสียหาย เมื่อห้อเลือดไม่มีที่ให้รวมเลือดเอาไว้ มันอาจจะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น เป็นอันตราย และอาจส่งผลต่อสมองได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/01/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา