ข้อมูลโภชนาการ

สิ่งที่เรารับประทานเข้าไป มีผลโดยตรงต่อความรู้สึกและประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน การเรียนรู้เกี่ยวกับ ข้อมูลโภชนาการ จะช่วยให้เรารู้จักระมัดระวังมากขึ้นก่อนการรับประทานอาหาร และช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ข้อมูลโภชนาการ

หัวปลี สารอาหารสำคัญ สรรพคุณทางยา และประโยชน์ของหัวปลี

หัวปลี เป็นส่วนดอกของต้นกล้วย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปลีกล้วย คนไทยมักจะนำหัวปลีมาประกอบเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ ช่วยเสริมรสชาติให้กับเมนูอาหาร ทั้งยังอุดมด้วยคุณประโยชน์มากมาก และมีสรรพคุณทางยาที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย [embed-health-tool-bmi] สารอาหารสำคัญใน หัวปลี ปลีกล้วยหรือหัวปลี มีสารอาหารสำคัญ ดังนี้ แคลเซียม  ธาตุเหล็ก  ฟอสฟอรัส  แมกนีเซียม  โปรตีน  วิตามินซี  เบตาแคโรทีน ประโยชน์จากหัวปลี หัวปลีเป็นส่วนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทุกเพศทุกวัย เช่น  ปลีกล้วยมีสารซาโปนิน (Saponins) และแทนนิน(Tannins) ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรแลคติน ในทางการแพทย์แผนไทย  อุดมด้วยแคลเซียม ที่มากกว่ากล้วยสุกถึง 4 เท่า ดีต่อกระดูกและฟัน อาจช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ หัวปลีเป็นผักฤทธิ์เย็น ดีต่อสุขภาพในช่วงหน้าร้อน ปรับสมดุลร่างกายให้เย็นขึ้น ช่วยแก้อาการร้อนในได้ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ดีต่อผิวพรรณ ชะลอการเกิดริ้วรอย มีสารแมกนิเซียมที่ช่วยปรับสมดุลของสภาวะทางอารมณ์ ช่วยบรรเทาอาการเศร้า  มีสารเอทานอล ลดการอักเสบ มีฤทธิ์ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อโรคได้ ประโยชน์ที่สำคัญของหัวปลียังดีต่อแม่ตั้งครรภ์และแม่หลังคลอด ดังนี้  ช่วยในการบำรุงเลือด ป้องกันโลหิตจาง โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์หรือคุณแม่หลังคลอด มีสรรพคุณทางยา กระตุ้นต่อมน้ำนม ให้ร่างกายแม่ตั้งครรภ์สร้างน้ำนมหลังคลอด จึงควรรับประทานเมนูหัวปลีหลังคลอดเพื่อช่วยขับน้ำนม ตัวอย่างเมนูจากหัวปลี หัวปลีมีรสฝาด สามารถกินสด ๆ ได้ […]

สำรวจ ข้อมูลโภชนาการ

ข้อมูลโภชนาการ

แคนตาลูป ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

แคนตาลูป เป็นผลไม้ตระกูลเดียวกับแตงไทย มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกกลางและอินเดีย ในประเทศไทย แหล่งปลูกแคนตาลูปมากที่สุดอยู่ที่จังหวัดสระแก้ว ผลของแคนตาลูปมีลักษณะกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-15 เซนติเมตร เปลือกหนาและแข็งเป็นสีเขียวลายตาข่าย เนื้อในมีทั้งสีส้มอ่อน สีเหลือง หรือสีขาว ตามแต่สายพันธุ์ เมื่อสุกจะนิ่มและให้รสฉ่ำหวาน อุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินซี งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้น มีข้อสนับสนุนว่าการบริโภคแคนตาลูป อาจช่วยบำรุงสุขภาพตา ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง และบรรเทาอาการโรคหอบได้ อย่างไรก็ตาม แคนตาลูปอาจปนเปื้อนยาฆ่าแมลงอยู่มาก จึงควรล้างให้สะอาดเพื่อช่วยกำจัดสารพิษตกค้างก่อนบริโภค [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ แคนตาลูป แคนตาลูป 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 38 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 8.69 กรัม ไขมัน 0.18 กรัม โพแทสเซียม 157 มิลลิกรัม โซเดียม 30 มิลลิกรัม […]


ข้อมูลโภชนาการ

ลองกอง ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

ลองกอง เป็นผลไม้รสชาติอมเปรี้ยวอมหวาน ผลมีลักษณะและขนาดคล้ายไข่นกกระทา เปลือกสีเหลืองอมน้ำตาล เนื้อมีสีขาวขุ่น มีเมล็ดด้านในให้รสฝาด พบมากในแถบทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ลองกองเป็นผลไม้ที่ให้กากใยสูง และยังประกอบไปด้วยสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามินหลายชนิด เช่น แคลเซียม วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินเอ โดยมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นสนับสนุนว่า ลองกองอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ อาทิ ทำให้แผลหายไวขึ้น ช่วยต้านโรคมาลาเรีย ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของ ลองกอง ลองกอง 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 57 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 14.2 กรัม โปรตีน 1 กรัม ใยอาหาร 0.8 กรัม โพแทสเซียม 275 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 31 มิลลิกรัม แคลเซียม 19 มิลลิกรัม […]


ข้อมูลโภชนาการ

ใบกะเพรา ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

ใบกะเพรา เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่เชื่อกันว่ามีสรรพคุณทางยา นิยมนำมาใช้เพื่อบำรุงสุขภาพและบรรเทาอาการของโรคต่าง ๆ มาช้านานในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งนิยมนำมาบริโภค ใช้เป็นส่วนประกอบของเมนูอาหารไทย โดยเฉพาะเมนูผัด เนื่องจากมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ใบกะเพราประกอบไปด้วยสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุนานาชนิดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ ใบกะเพรา ใบกะเพรา ¼ ถ้วย ให้พลังงานประมาณ 1.38 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้ โปรตีน 0.189 กรัม คาร์โบไฮเดรต 0.159 กรัม ใยอาหาร 0.096 กรัม ไขมัน 0.038 กรัม น้ำตาล 0.018 กรัม นอกจากนี้ ใบกะเพรายังมีสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุอื่น ๆ อีกหลายชนิด เช่น แคลเซียม วิตามินเอ วิตามินเค แมงกานีส แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี โพแทสเซียม ประโยชน์ต่อสุขภาพของ ใบกะเพรา ใบกะเพราอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพของใบกะเพรา ดังนี้ […]


ข้อมูลโภชนาการ

ประโยชน์ของคอลลาเจน และข้อควรระวังในการบริโภค

คอลลาเจน (Collagen) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งในร่างกาย โดยเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้กล้ามเนื้อ ผม เล็บ กระดูก ผิวหนัง แข็งแรงและสุขภาพดี ทั้งนี้ ร่างกายมนุษย์มักผลิตคอลลาเจนได้น้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น ส่งผลให้โครงสร้างของผม เล็บ กระดูก และผิวหนังเสื่อมโทรม เปราะบาง แตกหักง่าย โดยร่างกายสามารถเสริมสร้างคอลลาเจนได้ด้วยการบริโภคอาหารที่อุดมด้วยคอลลาเจน เช่น ปลา ไก่ ไข่ขาว ถั่วเหลือง มะเขือเทศ นอกจากนั้น ปัจจุบันมีการพัฒนาคอลลาเจนให้อยู่ในรูปแบบอาหารเสริม ซึ่งช่วยทดแทนจำนวนคอลลาเจนที่ไม่เพียงพอในร่างกายได้ ทั้งนี้ มีงานวิจัยหลายชิ้นที่สนับสนุนเกี่ยวกับ ประโยชน์ของคอลลาเจน เช่น อาจช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ ลดการสูญเสียมวลกระดูก ช่วยบำรุงผิวหนังให้แข็งแรงและสุขภาพดีอ่อนกว่าวัย [embed-health-tool-bmr] คอลลาเจน คืออะไร คอลลาเจน เป็นโปรตีนเส้นใยที่มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นสูงกว่าโปรตีนชนิดอื่น ๆ ในร่างกาย โดยเป็นองค์ประกอบหลักของผิวหนัง กระดูก กล้ามเนื้อ ข้อต่อ เส้นเอ็น เล็บ ขน ทำหน้าที่ช่วยยึดเกาะเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆ โดยมีไฟโบรบลาสต์ (Fibroblast) หรือเซลล์สร้างเส้นใย ทำหน้าที่สร้างและรักษาระดับคอลลาเจนในร่างกาย ทั้งนี้ เมื่ออายุมากขึ้น การทำงานของไฟโบรบลาสต์จะเสื่อมสภาพลง ส่งผลให้ผลิตคอลลาเจนได้ในปริมาณน้อยลง ร่างกายจึงเผชิญกับความเสื่อมโทรมและถดถอยในรูปแบบต่าง […]


ข้อมูลโภชนาการ

เห็ดหลินจือ ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

เห็ดหลินจือ หรือเห็ดหมื่นปี หรือ เห็ดจวักงู เป็นเห็ดชนิดหนึ่งที่ชาวจีนนิยมบริโภคเพื่อใช้บรรเทาอาการป่วย หรือใช้เป็นยาอายุวัฒนะมานานกว่า 4,000 ปี เติบโตได้ดีในประเทศที่มีสภาพอากาศร้อนชื้น เห็ดหลินจือประกอบไปด้วยสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุนานาชนิด เช่น โปรตีน วิตามินบีรวม วิตามินดี กรดอะมิโน สารต้านอนุมูลอิสระ ในปัจจุบัน มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นสนับสนุนว่า เห็ดหลินจือ อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ เช่น ช่วยต้านมะเร็ง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตาม การบริโภคเห็ดหลินจือในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น มึนงง ปากแห้ง ปวดท้อง คลื่นไส้ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ เห็ดหลินจือ เห็ดหลินจือ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 35 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ ใยอาหาร 3 กรัม โปรตีน 3 กรัม โพแทสเซียม 432 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 225 […]


ข้อมูลโภชนาการ

ชาหมัก คืออะไร พร้อมประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

ชาหมัก (Kombucha) เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่นิยมบริโภคอย่างแพร่หลาย หลายคนอาจเลือกบริโภคชาหมักแทนน้ำอัดลมและโซดาทั่วไป โดยชาหมักประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เช่น มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และอาจมีฤทธิ์ต้านจุลชีพได้ ทั้งนี้ แม้ชาหมักจะมีประโยชน์แต่ก็ควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมและควรบริโภคชาหมักที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน ไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค เนื่องจากการดื่มชาหมักที่ไม่มีคุณภาพอาจเสี่ยงเกิดอาการปวดท้อง หรือท้องเสียได้ [embed-health-tool-bmi] ชาหมัก คืออะไร ชาหมักเป็นชาที่ได้จากการนำชาดำหรือชาเขียวไปผสมกับเชื้อจุลินทรีย์ ยีสต์ และน้ำตาล แล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน กระบวนการหมักจะทำให้มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมากสะสมอยู่ในชา ทำให้ชามีฟอง ซ่าเล็กน้อย และมีรสเปรี้ยวอมหวาน ปัจจุบันการบริโภคชาหมักได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะเชื่อว่าเป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ มักดื่มเพื่อช่วยในการย่อยอาหาร ขับสารพิษออกจากร่างกาย ซึ่งเป็นสรรพคุณที่อาจมาจากโปรไบโอติก (Probiotics) หรือจุลินทรีย์ที่อยู่ในชาหมักที่เกิดจากการหมักชานั่นเอง คุณค่าทางโภชนาการของชาหมัก ชาหมักปริมาณ 355 มิลลิลิตร ให้พลังงานประมาณ 60 กิโลแคลอรี่ มีคาร์โบไฮเดรต 14 กรัม (แบ่งเป็นน้ำตาล 13 กรัม) และโซเดียม 3.6 กรัม อีกทั้งยังอุดมไปด้วยสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและช่วยต้านอนุมูลอิสระที่อาจทำลายเซลล์ในร่างกาย อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง และโรคอัลไซเมอร์ได้ ประโยชน์ต่อสุขภาพของ ชาหมัก ชาหมักอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพของชาหมัก ดังนี้ มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ในกระบวนการหมัก ยีสต์จะย่อยสลายน้ำตาลในชาและปล่อยแบคทีเรียโปรไบโอติกออกมา […]


ข้อมูลโภชนาการ

น้อยหน่า ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

น้อยหน่า เป็นผลไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในแถบประเทศเขตร้อน ในประเทศไทยมักพบน้อยหน่าในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะจังหวัดนครราชสีมา เป็นแหล่งปลูกน้อยหน่าที่มีชื่อเสียง แบ่งเป็นพันธุ์เนื้อและพันธุ์หนัง ผลน้อยหน่ามีลักษณะเป็นทรงกลม ผิวขรุขระ เปลือกสีเขียว เป็นตา ๆ ส่วนเนื้อข้างในเป็นสีขาวให้รสหวานเมื่อสุก ขณะที่เมล็ดเป็นสีดำ น้อยหน่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพเพราะประกอบไปด้วยสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ เช่น ไฟเบอร์ วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 แมกนีเซียม โดยมีผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนว่า การบริโภคน้อยหน่าอาจมีประโยชน์ต่อร่างกายในหลาย ๆ ด้าน เช่น ช่วยบำรุงสายตา ต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาว ป้องกันโรคท้องผูก [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ น้อยหน่า น้อยหน่า 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 101 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 25.2 กรัม โปรตีน 1.7 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม โพแทสเซียม 382 มิลลิกรัม แคลเซียม 30 มิลลิกรัม […]


ข้อมูลโภชนาการ

ใบหม่อน ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

ต้นหม่อน (Mulberry) เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีใบขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม ขอบใบหยัก ซึ่งนอกจากจะเป็นแหล่งอาหารของตัวไหมแล้ว คนยังนิยมนำ ใบหม่อน มาตากแห้งและทำเป็นเครื่องดื่มแก้กระหายและบำรุงสุขภาพ รวมถึงนำใบหม่อนไปสกัดเป็นอาหารเสริม เนื่องจากอาจมีสรรพคุณในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต มีฤทธิ์ต้านการอักเสบของเซลล์ในร่างกาย และอาจช่วยเสริมสร้างสุขภาพหัวใจ ทั้งนี้ ควรบริโภคใบหม่อนในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น ท้องอืด ท้องเสีย อาการแพ้ ประโยชน์ต่อสุขภาพของ ใบหม่อน หม่อนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ทั้ง ใบ ราก ผล กิ่ง เมล็ด โดยเฉพาะ  มีทั้งสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น สารดีเอนเจ (DNJ) โพลีฟีนอล (Polyphenols) เควอซิติน (Quercetin) แคมพ์เฟอรอล (Kaempferol) รูติน (Rutin) ที่ช่วยในการต้านการอักเสบ ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จึงอาจป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพของ ใบหม่อน ดังนี้ อาจลดระดับน้ำตาลในเลือดและอินซูลินได้ ใบหม่อน มีสารกลุ่มอัลคาลอยด์ (Alkaloids) ได้แก่ สาร 1-ดีออกซีโนจิริไมซิน(1-deoxynojirimycin) หรือที่เรียกว่าสารดีเอนเจ  ที่มีกลไกยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อัลฟากลูโคซิเดส […]


ข้อมูลโภชนาการ

Omega 3 ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

Omega 3 (โอเมก้า 3) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนที่พบได้ในพืช น้ำมันพืช ปลาและสัตว์ทะเล ซึ่งกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นไขมันดีที่อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ อาจช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมอง ส่งเสริมสุขภาพผิว ป้องกันอาการของโรคหอบหืด ภาวะซึมเศร้า และอาจช่วยลดอาการตึงและปวดข้อได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmr] ประเภทของกรดไขมัน Omega 3 กรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้ กรดแอลฟาไลโนเลนิก (α-Linolenic Acid หรือ ALA) เป็นชนิดไขมันไม่อิ่มตัวที่พบได้ในพืชและน้ำมันพืช เช่น พืชตระกูลถั่วและเมล็ดพืชต่าง ๆ ธัญพืช วอลนัท เมล็ดเจีย น้ำมันคาโนล่า น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ อาจมีประโยชน์ในการพัฒนาสมองด้านการเรียนรู้และการจดจำ รวมถึงอาจช่วยพัฒนาจอประสาทตาของทารกและเด็กเล็ก กรดไอโคซาเพนตาอีโนอิกหรือกรดไขมันอีพีเอ (Eicosapentaenoic Acid หรือ EPA) เป็นไขมันไม่อิ่มตัวที่อาจพบได้ในปลาและสัตว์ทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน อาจมีประโยชน์ในการช่วยต้านการอักเสบ อาจช่วยบำรุงผิว ช่วยลดเลือนริ้วรอย […]


ข้อมูลโภชนาการ

Zinc ช่วยอะไร และมีผลข้างเคียงอย่างไร

หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า Zinc ช่วยอะไร Zinc (ซิงค์) หรือสังกะสี เป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย เพราะมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ซ่อมแซมเนื้อเยื่อและเซลล์ที่เสียหาย พัฒนาระบบประสาทสัมผัสในการรับรสและกลิ่น โดยสามารถพบแร่สังกะสีได้ในอาหารจำพวกอาหารทะเล เนื้อวัว เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และผักบางชนิด รวมถึงแร่สังกะสีในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อย่างไรก็ตาม การบริโภคแร่สังกะสีมากเกินไปอาจส่งผลข้างเคียง เช่น อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย [embed-health-tool-bmi] Zinc คืออะไร Zinc หรือสังกะสี คือ แร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ในการช่วยเสริมความแข็งแรงให้เซลล์เนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบภูมิคุ้มกัน โดยปกติร่างกายไม่สามารถกักเก็บแร่สังกะสีไว้ได้ และจำเป็นต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น หากร่างกายขาดแร่สังกะสี อาจส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ติดเชื้อได้ง่าย และอาจนำไปสู่การเจ็บป่วยบ่อย บางคนอาจมีอาการผมร่วง รู้สึกเบื่ออาหาร และมีปัญหาด้านการมองเห็น อาหารที่เป็นแหล่งของสังกะสีที่แนะนำให้รับประทาน มีดังต่อไปนี้ หอยนางรม เป็นอาหารที่มีสังกะสีในปริมาณสูง สำหรับหอยนางรมขนาดกลาง 6 ตัว อาจมีสังกะสีประมาณ 32 มิลลิกรัม เนื้อวัว มีสังกะสีสูงรองจากหอยนางรม โดยเนื้อวัว 100 กรัม อาจมีแร่สังกะสีประมาณ44 มิลลิกรัม ปู แบบปรุงสุก 1 ตัว […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน