ข้อมูลโภชนาการ

สิ่งที่เรารับประทานเข้าไป มีผลโดยตรงต่อความรู้สึกและประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน การเรียนรู้เกี่ยวกับ ข้อมูลโภชนาการ จะช่วยให้เรารู้จักระมัดระวังมากขึ้นก่อนการรับประทานอาหาร และช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ข้อมูลโภชนาการ

หัวปลี สารอาหารสำคัญ สรรพคุณทางยา และประโยชน์ของหัวปลี

หัวปลี เป็นส่วนดอกของต้นกล้วย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปลีกล้วย คนไทยมักจะนำหัวปลีมาประกอบเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ ช่วยเสริมรสชาติให้กับเมนูอาหาร ทั้งยังอุดมด้วยคุณประโยชน์มากมาก และมีสรรพคุณทางยาที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย [embed-health-tool-bmi] สารอาหารสำคัญใน หัวปลี ปลีกล้วยหรือหัวปลี มีสารอาหารสำคัญ ดังนี้ แคลเซียม  ธาตุเหล็ก  ฟอสฟอรัส  แมกนีเซียม  โปรตีน  วิตามินซี  เบตาแคโรทีน ประโยชน์จากหัวปลี หัวปลีเป็นส่วนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทุกเพศทุกวัย เช่น  ปลีกล้วยมีสารซาโปนิน (Saponins) และแทนนิน(Tannins) ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรแลคติน ในทางการแพทย์แผนไทย  อุดมด้วยแคลเซียม ที่มากกว่ากล้วยสุกถึง 4 เท่า ดีต่อกระดูกและฟัน อาจช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ หัวปลีเป็นผักฤทธิ์เย็น ดีต่อสุขภาพในช่วงหน้าร้อน ปรับสมดุลร่างกายให้เย็นขึ้น ช่วยแก้อาการร้อนในได้ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ดีต่อผิวพรรณ ชะลอการเกิดริ้วรอย มีสารแมกนิเซียมที่ช่วยปรับสมดุลของสภาวะทางอารมณ์ ช่วยบรรเทาอาการเศร้า  มีสารเอทานอล ลดการอักเสบ มีฤทธิ์ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อโรคได้ ประโยชน์ที่สำคัญของหัวปลียังดีต่อแม่ตั้งครรภ์และแม่หลังคลอด ดังนี้  ช่วยในการบำรุงเลือด ป้องกันโลหิตจาง โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์หรือคุณแม่หลังคลอด มีสรรพคุณทางยา กระตุ้นต่อมน้ำนม ให้ร่างกายแม่ตั้งครรภ์สร้างน้ำนมหลังคลอด จึงควรรับประทานเมนูหัวปลีหลังคลอดเพื่อช่วยขับน้ำนม ตัวอย่างเมนูจากหัวปลี หัวปลีมีรสฝาด สามารถกินสด ๆ ได้ […]

สำรวจ ข้อมูลโภชนาการ

ข้อมูลโภชนาการ

ประโยชน์ของสับปะรด และข้อควรระวังในการบริโภค

สับปะรดเป็นผลไม้เมืองร้อนที่มีรูปร่างของผลเป็นเอกลักษณ์ นิยมนำมารับประทานทั้งแบบสดและแบบประกอบอาหารหรือเครื่องดื่ม เช่น ข้าวผัดสับปะรด ซุปไก่สับปะรดขิง น้ำสับปะรด สับปะรดอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น วิตามินบี วิตามินซี แคลเซียม แมกนีเซียม ประโยชน์ของสับปะรด ต่อร่างกาย เช่น มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ อาจช่วยบรรเทาอาการปวดข้อเข่า ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ทั้งนี้ ควรบริโภคสับปะรดในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ คุณค่าโภชนาการของสับปะรด ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture หรือ USDA) ระบุว่า สับปะรด 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 50 กิโลแคลอรี่ มีน้ำเป็นส่วนประกอบ 86 กรัม และอุดมไปด้วยสารอาหาร  เช่น คาร์โบไฮเดรต 13.1 กรัม น้ำตาลซูโครส 5.99 กรัม โปรตีน 0.54 กรัม ไขมัน 0.12 […]


ข้อมูลโภชนาการ

แอปริคอต ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

แอปริคอต (Apricot) เป็นผลไม้สกุลพรุนที่อุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไฟเบอร์ วิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม โพแทสเซียม   ทั้งยังมีแคลอรี่ต่ำ การบริโภคแอปริคอตจึงอาจส่งผลดีต่อสุขภาพหลายด้าน เช่น ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับตับ ช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหาร เสริมสร้างระบบขับถ่าย ทั้งนี้ ควรบริโภคแอปริคอตในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ คุณค่าโภชนาการของ แอปริคอต ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture หรือ USDA) ระบุว่า แอปริคอตสด 100 กรัม ประกอบด้วยน้ำ 86.4 กรัม ให้พลังงานประมาณ 48 กิโลแคลอรี่ และอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ เช่น คาร์โบไฮเดรต ประมาณ 11 กรัม (แบ่งเป็นไฟเบอร์หรือใยอาหาร 2 กรัม และคาร์โบไฮเดรตชนิดอื่น ๆ เช่น น้ำตาล […]


ข้อมูลโภชนาการ

ข้าวสาลี ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

ข้าวสาลี (Wheat) เป็นธัญพืชที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย มักนำไปแปรรูปเป็นแป้งข้าวสาลี หรือที่เรียกว่า แป้งสาลี เพื่อใช้ประกอบอาหารหลากหลายชนิด เช่น ขนมปัง เค้ก เส้นบะหมี่ เส้นพาสต้า ข้าวสาลีเป็นอีกหนึ่งแหล่งคาร์โบไฮเดรตสำคัญ ทั้งยังอุดมไปด้วยสารอาหารอื่น ๆ ที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ไฟเบอร์ วิตามินเอ วิตามินบี  โพแทสเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ซีลีเนียม หากบริโภคข้าวสาลีในปริมาณที่เหมาะสม อาจเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของจุลินทรีย์ในลำไส้ ช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง ช่วยลดระดับความดันโลหิต เป็นต้น คุณค่าทางโภชนาการของ ข้าวสาลี ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture หรือ USDA) ระบุว่า แป้งข้าวสาลีไม่ขัดสี 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 370 กิโลแคลอรี่ และอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ เช่น คาร์โบไฮเดรต 71.2 กรัม โปรตีน 15.1 กรัม โพแทสเซียม 376 […]


ข้อมูลโภชนาการ

ขมิ้น ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

ขมิ้น เป็นพืชล้มลุกในตระกูลขิง มีเหง้าสีเหลืองสด จัดเป็นเครื่องเทศที่นิยมนำมาใช้ปรุงเป็นส่วนประกอบของเครื่องแกงชนิดต่าง ๆ รวมถึงเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้กันมาอย่างยาวนานโดยเฉพาะในแถบทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย ไทย จีน ญี่ปุ่น ตุรกี ทั้งสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย ผงขมิ้น อาหารเสริม ทั้งนี้ ขมิ้นประกอบไปด้วยสารอาหาร แร่ธาตุ และวิตามินที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น แมงกานีส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินซี โดยสารสำคัญในขมิ้นคือ เคอร์คิวมิน (Curcumin) ซึ่งมีงานวิจัยหลายชิ้นสนับสนุนว่า อาจมีคุณสมบัติช่วยต้านมะเร็ง ลดอาการอักเสบของร่างกาย และป้องกันโรคอัลไซเมอร์ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ ขมิ้น ขมิ้น 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 312 กิโลแคลอรี ประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 67.1 กรัม โปรตีน 9.68 กรัม ไขมัน 3.25 กรัม โพแทสเซียม 2,080 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 299 มิลลิกรัม […]


ข้อมูลโภชนาการ

อาหารลดความดันโลหิตสูง มีอะไรบ้าง

ความดันโลหิตสูง หมายถึง ค่าความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ขึ้นไป โดยถือเป็นปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดต่าง ๆ เช่น  โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะสมองเสื่อม ภาวะหัวใจล้มเหลว ทั้งนี้ ระดับความดันโลหิต สามารถควบคุมไม่ให้สูงเกินไปได้ ด้วยการออกกำลังกายให้มากขึ้น เลิกบุหรี่ รวมถึงรับประทาน อาหารลดความดันโลหิตสูง อย่างมะเขือเทศ เมล็ดเจีย หรือผักบุ้ง และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารโซเดียมสูง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว อาหารแปรรูป ซอสปรุงรส เพราะความเค็มจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ [embed-health-tool-bmi] ความดันโลหิตสูง คืออะไร ความดันโลหิตสูง หมายถึง ภาวะที่ค่าระดับความดันโลหิตสูงกว่าระดับที่เหมาะสม หรือตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ขึ้นไป โดยความดันโลหิตสูงเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ อายุ พันธุกรรม ความเครียด โรคอ้วน การไม่ออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การบริโภคเกลือ หรือโซเดียม ในปริมาณมากเกินไป การบริโภคอาหารที่มีโพแทสเซียมน้อยเกินไป การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป การเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น โรคไต ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ทั้งนี้ ความดันโลหิตสูง […]


ข้อมูลโภชนาการ

สมุนไพรไทย สรรพคุณ และข้อควรระวังในการบริโภค

ประเทศไทยเป็นประเทศเขตร้อนที่อุดมไปด้วยพืชพรรณนานาชนิด โดยเฉพาะพืช สมุนไพรไทย เช่น ว่านหางจระเข้ ขิง รางจืด ซึ่งนิยมใช้ยามาแต่โบราณเพราะเชื่อว่ามีสรรพคุณทางยา หากบริโภคเข้าสู่ร่างกายอาจช่วยบรรเทาหรือป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคเหงือกอักเสบ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากที่สนับสนุนคุณสมบัติต่าง ๆ ของสมุนไพรไทยหลายชนิด ประโยชน์ต่อสุขภาพของ สมุนไพรไทย สมุนไพรไทย ประกอบไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพของสมุนไพรไทย ดังนี้ ว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้ เป็นพืชเขตร้อนที่พบได้ทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย มีต้นกำเนิดมาจากคาบสมุทรอาหรับ ลักษณะทั่วไปของว่านหางจระเข้ คือ ลำต้นเป็นปล้อง ใบอวบหนา ขอบใบหยักและมีปลายแหลม ภายในใบมีเนื้อวุ้นและมีเมือกใส ๆ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น หมักผม ขัดผิว พอกหน้า รวมทั้งบริโภคเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ ว่านหางจระเข้มีสารกลุ่มแอนทราควิโนน (Anthraquinones) เช่น อีโมดิน (Emodin) กรดอโลอิติก (Aloetic Acid) อะโลอิน (Aloin) ซึ่งมีประสิทธิภาพต้านจุลชีพและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans) […]


ข้อมูลโภชนาการ

ถั่วเขียว ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

ถั่วเขียว เป็นพืชล้มลุกที่เพาะปลูกกันมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย นิยมนำถั่วเขียวมาทำของหวาน เช่น ถั่วเขียวต้มน้ำตาล เต้าส่วน ลูกชุบ บัวลอย ขนมเปี๊ยะไส้ถั่ว ทั้งนี้ ถั่วเขียวจัดเป็นธัญพืชที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเพราะอุดมไปด้วยสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามินมากมาย ทั้งไฟเบอร์ แคลเซียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัส การบริโภคถั่วเขียว นับว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ เช่น ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด บรรเทาอาหารท้องผูก [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ ถั่วเขียว ถั่วเขียว 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 347 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 62.6 กรัม โปรตีน 23.9 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โพแทสเซียม 1,250 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 189 มิลลิกรัม แคลเซียม […]


ข้อมูลโภชนาการ

คลอโรฟิลล์ ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) คือสารสีเขียวที่เป็นสารประกอบตามธรรมชาติของพืช มักพบได้ในผักใบเขียว เช่น คะน้า ผักบุ้ง กะเพรา บร็อคโคลี่ ผักกาดหอม หน่อไม้ฝรั่ง มีหน้าที่ช่วยให้พืชสามารถดูดซับแสงแดดจากดวงอาทิตย์เพื่อสังเคราะห์และเปลี่ยนเป็นพลังงาน อีกทั้งยังมีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังอาจช่วยรักษาสิว และระงับกลิ่นกายได้ [embed-health-tool-bmi] คลอโรฟิลล์ คืออะไร คลอโรฟิลล์ คือ สารสีเขียวที่อยู่ในพืชและผัก โดยเฉพาะผักใบเขียว เช่น ผักกาดหอม หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า บร็อคโคลี่ คลอโรฟิลล์มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งยังอาจช่วยล้างสารพิษในร่างกาย ป้องกันมะเร็ง นอกจากนี้ ยังมีคลอโรฟิลล์ในรูปแบบอาหารเสริมแบบเม็ดและแบบชงในน้ำ ที่ง่ายต่อการรับประทานอีกด้วย ประโยชน์ของคลอโรฟิลล์ต่อสุขภาพ คลอโรฟิลล์มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของคลอโรฟิลล์ในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อาจช่วยระงับกลิ่นกาย การรับประทานคลอโรฟิลล์ในรูปแบบอาหารเสริมอาจช่วยระงับและลดกลิ่นตัวได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะมีไตรเมทิลามีนในปัสสาวะ (Trimethylaminuria) หรือโรคกลิ่นตัวเหม็น ที่เกิดจากความผิดปกติของการเผาผลาญตั้งแต่กำเนิด ที่ส่งผลให้ร่างกายสะสมไตรเมทิลามีนมากเกินไปจนขับออกมาในรูปแบบปัสสาวะ เหงื่อ และลมหายใจที่มีกลิ่นเหม็นคล้ายกลิ่นคาวปลา จากการศึกษาในวารสาร Life Sciences ปี พ.ศ. 2547 ที่ศึกษาเกี่ยวกับผลของการรับประทานอาหารเสริม ถ่านกัมมันต์หรือถ่านชาร์โคล (Activated Charcoal) และคอปเปอร์คลอโรฟิลลิน (Copper Chlorophyllin) ที่เป็นคลอโรฟิลล์ละลายน้ำได้ ต่อการขับไตรเมทิลลามีนในปัสสาวะของผู้ป่วยในญี่ปุ่น โดยทดสอบกับชาวญี่ปุ่นจำนวน […]


ข้อมูลโภชนาการ

ใบสะระแหน่ ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

ใบสะระแหน่ เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม นิยมนำไปใช้ประโยชน์หลากหลาย ทั้งนำไปประกอบอาหาร สกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย สกัดเป็นแคลซูลเพื่อสุขภาพ เนื่องจากมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ อาจช่วยบำรุงสมอง ป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ และอาจช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ลดอาการปวดประจำเดือนได้ คุณค่าโภชนาการของ ใบสะระแหน่ ใบสะระแหน่ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 48 กิโลแคลอรี่ และอุดมไปด้วยสารอาหาร เช่น คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม ไฟเบอร์ 3 กรัม โซเดียม 20 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 30 มิลลิกรัม นอกจากนี้ ใบสะระแหน่ยังมีวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินซี วิตามินอี เบตาแคโรทีน แคลเซียม สังกะสี และเหล็ก ทั้งยังมีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหย เช่น เมนทอล (Menthol) ซิทรัล (Citral) กรดโรสมารินิก (Rosmarinic acid) ที่มีฤทธิ์กล่อมประสาท […]


ข้อมูลโภชนาการ

กระชายดำ ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

กระชายดำ เป็นพืชสมุนไพรที่มีรสเผ็ดร้อน นิยมนำมาเป็นส่วนผสมของเครื่องแกงในการทำอาหารหลายชนิด เช่น น้ำยาขนมจีน ผัดเผ็ดปลาดุก แกงเผ็ดเนื้อ แกงป่า กระชายดำมีสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุหลายชนิด เช่น ซึ่งล้วนแต่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น อาจช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ลดไขมัน อาจช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ อาจช่วยรักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดและอาจช่วยต้านมะเร็งได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmr] คุณค่าสารอาหารของกระชายดำ กระชายดำมีสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ กรดอะมิโน ไฟเบอร์หรือใยอาหาร เซเลเนียม (Selenium) สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น แทนนิน (Tannins) แอนโทรไซยานิน (Anthocyanins) ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ประโยชน์ของกระชายดำที่มีต่อสุขภาพ กระชายดำ มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของกระชายดำในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อาจช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ กระชายดำมีสารประกอบอย่างเอทานอล (Ethanol) ซึ่งเป็นสารสกัดที่พบในเหง้าของกระชายดำที่อาจช่วยเพิ่มการแข็งตัวของอวัยวะเพศชายและอาจช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศในผู้ชายได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับสารสกัดกระชายดำในการเพิ่มสุขภาพทางเพศในผู้ชาย ตีพิมพ์ใน Journal of Integrative Medicine พ.ศ. 2561 นักวิจัยให้เพศชายอายุ 50-68 ปี ที่มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศเล็กน้อย รับประทานสารสกัดเอทานอลที่ได้จากเหง้าของกระชายดำ 100 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน