ข้อมูลโภชนาการ

สิ่งที่เรารับประทานเข้าไป มีผลโดยตรงต่อความรู้สึกและประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน การเรียนรู้เกี่ยวกับ ข้อมูลโภชนาการ จะช่วยให้เรารู้จักระมัดระวังมากขึ้นก่อนการรับประทานอาหาร และช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ข้อมูลโภชนาการ

หัวปลี สารอาหารสำคัญ สรรพคุณทางยา และประโยชน์ของหัวปลี

หัวปลี เป็นส่วนดอกของต้นกล้วย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปลีกล้วย คนไทยมักจะนำหัวปลีมาประกอบเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ ช่วยเสริมรสชาติให้กับเมนูอาหาร ทั้งยังอุดมด้วยคุณประโยชน์มากมาก และมีสรรพคุณทางยาที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย [embed-health-tool-bmi] สารอาหารสำคัญใน หัวปลี ปลีกล้วยหรือหัวปลี มีสารอาหารสำคัญ ดังนี้ แคลเซียม  ธาตุเหล็ก  ฟอสฟอรัส  แมกนีเซียม  โปรตีน  วิตามินซี  เบตาแคโรทีน ประโยชน์จากหัวปลี หัวปลีเป็นส่วนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทุกเพศทุกวัย เช่น  ปลีกล้วยมีสารซาโปนิน (Saponins) และแทนนิน(Tannins) ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรแลคติน ในทางการแพทย์แผนไทย  อุดมด้วยแคลเซียม ที่มากกว่ากล้วยสุกถึง 4 เท่า ดีต่อกระดูกและฟัน อาจช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ หัวปลีเป็นผักฤทธิ์เย็น ดีต่อสุขภาพในช่วงหน้าร้อน ปรับสมดุลร่างกายให้เย็นขึ้น ช่วยแก้อาการร้อนในได้ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ดีต่อผิวพรรณ ชะลอการเกิดริ้วรอย มีสารแมกนิเซียมที่ช่วยปรับสมดุลของสภาวะทางอารมณ์ ช่วยบรรเทาอาการเศร้า  มีสารเอทานอล ลดการอักเสบ มีฤทธิ์ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อโรคได้ ประโยชน์ที่สำคัญของหัวปลียังดีต่อแม่ตั้งครรภ์และแม่หลังคลอด ดังนี้  ช่วยในการบำรุงเลือด ป้องกันโลหิตจาง โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์หรือคุณแม่หลังคลอด มีสรรพคุณทางยา กระตุ้นต่อมน้ำนม ให้ร่างกายแม่ตั้งครรภ์สร้างน้ำนมหลังคลอด จึงควรรับประทานเมนูหัวปลีหลังคลอดเพื่อช่วยขับน้ำนม ตัวอย่างเมนูจากหัวปลี หัวปลีมีรสฝาด สามารถกินสด ๆ ได้ […]

สำรวจ ข้อมูลโภชนาการ

ข้อมูลโภชนาการ

แมลงทอด ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

แมลงทอด เป็นอาหารกินเล่นที่อาจพบได้บ่อยตามท้องตลาด อุดมไปด้วยโปรตีน ซึ่งอาจรับประทานเป็นแหล่งอาหารทางเลือกเพื่อเสริมโปรตีนให้กับร่างกายได้ นอกจากนี้ ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุหลายชนิดและไขมันดีที่อาจช่วยป้องกันการสะสมของคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดที่เป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของแมลงทอด แมลงทอด เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน ซึ่งแมลงทอดแต่ละชนิดอาจให้พลังงานในปริมาณที่แตกต่างกัน เช่น จิ้งหรีด หนึ่งหน่วยบริโภค 100 กรัม ให้พลังงาน 133 แคลอรี่ โปรตีน 18.6 กรัม ไขมัน 6.0 กรัม ไฟเบอร์ 1.53 กรัม คาร์โบไฮเดรต 1.0 กรัม ดักแด้ไหม หนึ่งหน่วยบริโภค 100 กรัม ให้พลังงาน 152 แคลอรี่ โปรตีน 14.7 กรัม ไขมัน 17.7กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.7 กรัม ไขมัน 0.286 กรัม หนอนรถด่วน หนึ่งหน่วยบริโภค 100 กรัม ให้พลังงาน […]


ข้อมูลโภชนาการ

ประโยชน์ของน้ำมันตับปลา และข้อควรระวังในการบริโภค

น้ำมันตับปลา คือ น้ำมันที่สกัดมาจากตับของปลาทะเล โดยน้ำมันตับปลาอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินดีและกรดไขมันที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้ อย่างกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งประกอบไปด้วย กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (Docosahexaenoic Acid หรือ DHA) และกรดไอโคซาเพนตาอีโนอิก (Eicosapentaenoic Acid หรือ EPA) ที่อาจมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคต้อหิน ช่วยบำรุงกระดูก ลดภาวะซึมเศร้า ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และอาจช่วยเสริมการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อย่างไรก็ตาม อาจมีข้อควรระวังบางประการในการบริโภค อีกประเด็นที่สำคัญก็คือน้ำมันตับปลากับน้ำมันปลาทะเลไม่เหมือนกัน จึงควรปรึกษาคุณหมอก่อนรับประทาน โดยเฉพาะผู้ที่ตั้งครรภ์และผู้ที่ใช้ยาบางชนิด [embed-health-tool-bmr] ประโยชน์ของน้ำมันตับปลา น้ำมันตับปลา มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของน้ำมันตับปลาในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อาจช่วยป้องกันโรคต้อหิน น้ำมันตับอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 และวิตามินเอที่อาจมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคต้อหินได้ เนื่องจาก วิตามินเอมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการอักเสบและส่งเสริมสุขภาพดวงตา ส่วนกรดไขมันโอเมก้า 3 อาจช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและการไหลเวียนเลือดในลูกตาได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน International Journal of Ophthalmology เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 ศึกษาเกี่ยวกับอาหารเสริมน้ำมันตับปลาอาจช่วยป้องกันโรคต้อหิน พบว่า น้ำมันตับปลาอุดมไปด้วยสารประกอบอย่างกรดไขมันโอเมก้า 3 และวิตามินเอ ที่อาจมีประโยชน์ในการป้องกันโรคต้อหินได้ เนื่องจากวิตามินเอเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพดวงตาและการมองเห็น ทั้งยังอาจช่วยรักษาความสมบูรณ์ของผิวตาและกระจกตา นอกจากนี้ […]


ข้อมูลโภชนาการ

Zinc (สังกะสี) คุณประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

Zinc หรือ สังกะสี จัดเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น ช่วยลดการอักเสบของเซลล์ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม สมานบาดแผลให้หายเร็วขึ้น ควบคุมการทำงานของต่อมไขมันบนหนังศีรษะ โดยทั่วไป สังกะสีพบได้ในเนื้อสัตว์ ผักและอาหารทะเลบางชนิด ผลิตภัณฑ์จากนม รวมถึงธัญพืชและถั่วต่าง ๆ ทั้งนี้ หากร่างกายขาดธาตุสังกะสี อาจเกิดความผิดปกติของภาวะสุขภาพ อาทิ ผมร่วง สมรรถภาพทางเพศหย่อนยาน เบื่ออาหาร เจ็บป่วยง่าย อย่างไรก็ตาม ร่างกายควรได้รับสังกะสีในปริมาณที่พอดี เพราะหากร่างกายได้รับมากเกินไป อาจเกิดเป็นพิษและก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้ [embed-health-tool-bmi] Zinc คืออะไร Zinc หรือแร่สังกะสี เป็นแร่ธาตุที่อยู่ในอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย มีประโยชน์ต่อระบบเผาผลาญพลังงานของเซลล์ การสังเคราะห์โปรตีนและสารพันธุกรรมในร่างกาย การรักษาบาดแผล รวมถึงเสริมสร้างความสมบูรณ์ของระบบภูมิคุ้มกัน สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institute of Health) ประเทศสหรัฐอเมริกา แนะนำว่า ผู้ชายอายุ 19 ปีขึ้นไป และหญิงตั้งครรภ์ ควรบริโภคสังกะสีอย่างน้อย 11 มิลลิกรัม/วัน ในขณะที่ผู้หญิงอายุ 19 ปีขึ้นไป ควรบริโภคอย่างน้อย 8 มิลลิกรัม/วัน ทั้งนี้ […]


ข้อมูลโภชนาการ

ถั่วเหลือง ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

ถั่วเหลือง เป็นพืชล้มลุก ต้นเป็นพุ่มเตี้ย เมล็ดเป็นสีเหลือง สามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารได้หลายอย่าง เช่น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ ฟองเต้าหู้ ถั่วหมัก ถั่วเหลืองให้โปรตีนสูงและอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ ถั่วเหลือง ถั่วเหลืองดิบ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 446 กิโลแคลอรี่ และอุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้ โปรตีน 36.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 30.2 กรัม ไขมัน 19.9 กรัม โพแทสเซียม 1,800 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 704 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 280 มิลลิกรัม แคลเซียม 277 มิลลิกรัม ซีลีเนียม (Selenium) 17.8 มิลลิกรัม เหล็ก 15.7 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 13 ไมโครกรัม นอกจากนี้ […]


ข้อมูลโภชนาการ

ใบโหระพา คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์ และข้อควรระวังการรับประทาน

ใบโหระพา เป็นสมุนไพรที่อยู่ในวงศ์กะเพรา มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย และแถบทวีปเอเชียและแอฟริกา ใบโหระพามีลักษณะเป็นใบสีเขียว บางสายพันธุ์อาจมีสีม่วงหรือสีแดง มีกลิ่นหอมเฉพาะ นิยมนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู อีกทั้งใบโหระพายังมีสารอาหารสำคัญ เช่น ลูทีน (Lutein) ซีแซนทีน (Zeaxanthin) แคลเซียม วิตามินเอ ที่อาจช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และอาจช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของใบโหระพา ใบโหระพา 5 กรัม หรือ 2 ช้อนโต๊ะ อาจให้พลังงาน 1.22 กิโลแคลอรี่ และคุณค่าโภชนาการ ดังนี้ โพแทสเซียม 15.6 มิลลิกรัม แคลเซียม 9.38 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 3.39 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 2.97 มิลลิกรัม นอกจากนี้ ใบโหระพายังมีวิตามินเอ วิตามินเค ธาตุเหล็ก วิตามินบี 1 ลูทีน และซีแซนทีน ที่อาจช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรังได้ ประโยชน์ของใบโหระพาต่อสุขภาพ ใบโหระพามีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของใบโหระพาในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อาจช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ใบโหระพา มีแร่ธาตุสำคัญอย่าง แมกนีเซียม สารต้านอนุมูลอิสระ […]


ข้อมูลโภชนาการ

สารอาหารที่ให้พลังงานได้แก่อะไรบ้าง

สารอาหารที่ให้พลังงานได้แก่อะไรบ้าง อาจเป็นคำถามที่หลายคนกำลังสงสัย โดยเฉพาะผู้ที่ต้องออกแรงในการทำงาน หรือการออกกำลังกาย สารอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย อย่างไรก็ตาม ต้องเลือกบริโภคชนิดของสารอาหารที่ให้พลังงานให้เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี โดยสารอาหารที่ให้พลังงานแต่ละชนิดอาจมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป เพื่อรักษาสมดุลของกระบวนการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ การสร้างเนื้อเยื่อ การเจริญเติบโต เป็นแหล่งพลังงานสำรอง ช่วยสร้างความอบอุ่น [embed-health-tool-bmr] สารอาหารที่ให้พลังงานได้แก่อะไรบ้าง 1. คาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรต ได้แก่ น้ำตาล แป้งและใยอาหาร โดยร่างกายต้องการคาร์โบไฮเดรตเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานหลักให้กับเซลล์ในกระบวนการทำงานต่าง ๆ ในร่างกาย หากขาดคาร์โบไฮเดรต ร่างกายอาจเข้าสู่กระบวนการย่อยสลายไขมันเพื่อใช้เป็นพลังงานหลัก หรือเรียกว่า ภาวะคีโตซีส (Ketosis) ซึ่งอาจทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว มีกลิ่นปาก นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย มึนงง ทั้งยังอาจดึงเอาโปรตีนมาใช้เป็นพลังงานหลักด้วย ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อกระบวนการทำงานอื่น ๆ ของร่างกายที่จำเป็นต้องใช้โปรตีนเป็นส่วนประกอบหลัก นอกจากนี้ ใยอาหารยังเป็นคาร์โบไฮเดรตอีกชนิดหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมกระบวนการย่อยอาหารและการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย รวมถึงอาจช่วยให้รู้สึกอิ่มนานขึ้นอีกด้วย ปริมาณของคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายต้องการ คือ ประมาณ 45-65% ของพลังงานทั้งหมดที่ควรได้รับต่อวัน ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับน้ำหนัก ส่วนสูง สุขภาพ […]


ข้อมูลโภชนาการ

กล้วยหอม ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

กล้วยหอม เป็นกล้วยชนิดหนึ่ง มีผลขนาดใหญ่ เปลือกค่อนข้างหนาเมื่อเทียบกับกล้วยชนิดอื่น ๆ นิยมรับประทานกล้วยหอมสดและใช้ทำขนมหรือของหวาน เช่น เค้กกล้วยหอม ไอศกรีมรสกล้วย กล้วยหอมอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ สารพฤกษเคมี และสารต้านอนุมูลอิสระ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยอาจช่วยควบคุมความดันโลหิต อาจช่วยควบคุมน้ำหนัก เป็นต้น [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยหอม กล้วยหอมสด 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 98 กิโลแคลอรี่ และอุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 21.2 กรัม โปรตีน 0.74 กรัม ไขมัน 0.29 กรัม โพแทสเซียม 326 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 28 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม วิตามินซี 12.3 มิลลิกรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม โฟเลต (Folate) 14 ไมโครกรัม นอกจากนี้ กล้วยหอม […]


ข้อมูลโภชนาการ

อินทผาลัมสด ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

อินทผาลัม หรือ อินทผลัม เป็นพืชตระกูลปาล์ม ซึ่งนิยมปลูกในหลายทวีปทั่วโลกทั้งแอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลาง และเอเชียใต้ คนส่วนใหญ่นิยมรับประทานอินทผาลัมแห้ง แต่อินทผาลัมสดนั้นให้พลังงานและมีน้ำตาลน้อยกว่า โดยทั่วไป อินทผาลัมสด มักมีรสชาติหวานและฝาด เปลือกมีสีเหลืองไปจนถึงแดงขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ทั้งนี้ อินทผาลัมอุดมไปด้วยสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามินมากมาย เช่น ไฟเบอร์ ทองแดง แมงกานีส วิตามินบี 6 ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ อินทผาลัมสด อินทผาลัมสด 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 277 กิโลแคลอรี่ มีน้ำเป็นส่วนประกอบ 21.3 กรัม และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 75 กรัม โปรตีน 1.81 กรัม ไขมัน 0.15 กรัม โพแทสเซียม 696 มิลลิกรัม แคลเซียม 64 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 […]


ข้อมูลโภชนาการ

ถั่วลิสง ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

ถั่วลิสง เป็นพืชตระกูลถั่ว นิยมใช้เป็นส่วนประกอบเมนูอาหารที่หลากหลาย เช่น มัสมั่น ยำวุ้นเส้น ส้มตำไทย ต้มจืด อีกทั้งรับประทานเป็นของขบเคี้ยวหรือเครื่องเคียง เช่น ถั่วลิสงต้ม ถั่วลิสงอบกรอบ ถั่วกรอบแก้ว รวมทั้งแปรรูป เช่น เนยถั่ว เมื่อแกะเปลือกแข็งด้านนอกออก สามารถรับประทานได้ทั้งเปลือกที่หุ้มตัวเมล็ดอยู่ โดยเปลือกมีสารต้านอนุมูลอิสระและสารพฤกษเคมีเช่นเดียวกับส่วนของเนื้อถั่วลิสง นอกจากนั้น ถั่วลิงสงยังอุดมไปด้วยสารอาหาร แร่ธาตุ และวิตามินต่าง ๆ ทั้งโปรตีน ไขมัน ไฟเบอร์ โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม วิตามินบีรวม วิตามินอี ซึ่งอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพหัวใจ ต้านมะเร็ง ป้องกันโรคนิ่วในถุงน้ำดี และอาจช่วยควบคุมน้ำหนัก [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ ถั่วลิสง ถั่วลิสง 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 567 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้ ไขมัน 49.2 กรัม โปรตีน 25.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 16.1 กรัม โพแทสเซียม […]


ข้อมูลโภชนาการ

เห็ดออรินจิ ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

เห็ดออรินจิ หรือเห็ดนางรมหลวง นิยมนำมาบริโภค ทั้งในแบบสดและแบบผง หรือสารสกัด เนื่องจากมีแคลอรี่ต่ำ อุดมไปด้วยคุณค่าโภชนาการ มีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด การบริโภคเห็ดออรินจิให้ประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ เช่น ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย อย่างไรก็ตาม ควรบริโภคเห็ดออรินจิในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ เห็ดออรินจิ ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture หรือ USDA)  ระบุว่า เห็ดออรินจิ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 41 กิโลแคลอรี่ และอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ เช่น คาร์โบไฮเดรต 6.94 กรัม โปรตีน 2.9 กรัม ไขมัน 0.19 กรัม โพแทสเซียม 282 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 86 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 13.9 มิลลิกรัม โซเดียม 1 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน