ข้อมูลโภชนาการ

สิ่งที่เรารับประทานเข้าไป มีผลโดยตรงต่อความรู้สึกและประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน การเรียนรู้เกี่ยวกับ ข้อมูลโภชนาการ จะช่วยให้เรารู้จักระมัดระวังมากขึ้นก่อนการรับประทานอาหาร และช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ข้อมูลโภชนาการ

หัวปลี สารอาหารสำคัญ สรรพคุณทางยา และประโยชน์ของหัวปลี

หัวปลี เป็นส่วนดอกของต้นกล้วย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปลีกล้วย คนไทยมักจะนำหัวปลีมาประกอบเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ ช่วยเสริมรสชาติให้กับเมนูอาหาร ทั้งยังอุดมด้วยคุณประโยชน์มากมาก และมีสรรพคุณทางยาที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย [embed-health-tool-bmi] สารอาหารสำคัญใน หัวปลี ปลีกล้วยหรือหัวปลี มีสารอาหารสำคัญ ดังนี้ แคลเซียม  ธาตุเหล็ก  ฟอสฟอรัส  แมกนีเซียม  โปรตีน  วิตามินซี  เบตาแคโรทีน ประโยชน์จากหัวปลี หัวปลีเป็นส่วนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทุกเพศทุกวัย เช่น  ปลีกล้วยมีสารซาโปนิน (Saponins) และแทนนิน(Tannins) ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรแลคติน ในทางการแพทย์แผนไทย  อุดมด้วยแคลเซียม ที่มากกว่ากล้วยสุกถึง 4 เท่า ดีต่อกระดูกและฟัน อาจช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ หัวปลีเป็นผักฤทธิ์เย็น ดีต่อสุขภาพในช่วงหน้าร้อน ปรับสมดุลร่างกายให้เย็นขึ้น ช่วยแก้อาการร้อนในได้ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ดีต่อผิวพรรณ ชะลอการเกิดริ้วรอย มีสารแมกนิเซียมที่ช่วยปรับสมดุลของสภาวะทางอารมณ์ ช่วยบรรเทาอาการเศร้า  มีสารเอทานอล ลดการอักเสบ มีฤทธิ์ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อโรคได้ ประโยชน์ที่สำคัญของหัวปลียังดีต่อแม่ตั้งครรภ์และแม่หลังคลอด ดังนี้  ช่วยในการบำรุงเลือด ป้องกันโลหิตจาง โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์หรือคุณแม่หลังคลอด มีสรรพคุณทางยา กระตุ้นต่อมน้ำนม ให้ร่างกายแม่ตั้งครรภ์สร้างน้ำนมหลังคลอด จึงควรรับประทานเมนูหัวปลีหลังคลอดเพื่อช่วยขับน้ำนม ตัวอย่างเมนูจากหัวปลี หัวปลีมีรสฝาด สามารถกินสด ๆ ได้ […]

สำรวจ ข้อมูลโภชนาการ

ข้อมูลโภชนาการ

น้ำใบเตย ประโยชน์ ข้อควรระวังในการบริโภค และวิธีทำง่ายๆ

น้ำใบเตย คือเครื่องดื่มที่ทำจากใบของไม้พุ่มขนาดเล็กที่เรียกว่า เตย หรือเตยหอม หรือที่มักเรียกว่า ใบเตย ลักษณะเป็นใบเดี่ยวสีเขียว ยาว ปลายเรียว มีกลิ่นหอม น้ำใบเตยนิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบที่ช่วยเพิ่มกลิ่นและรสชาติในเมนูอาหารและขนมไทยหลายชนิด นอกจากนี้ ในใบเตยและน้ำใบเตยยังใบเตยมีสารอาหารหลายชนิดที่อาจช่วยบำรุงสุขภาพ เช่น ช่วยป้องกันโรคข้ออักเสบ ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด [embed-health-tool-bmi] คุณค่าโภชนาการของใบเตย ใบเตย 100 กรัม ให้พลังงาน 85 กิโลแคลอรี่ และมีสารอาหาร ดังตัวอย่างต่อไปนี้ คาร์โบไฮเดรต 17 กรัม โปรตีน 1.3 กรัม ไขมัน 0.7 กรัม ไฟเบอร์ 13% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน นอกจากนี้ ใบเตยยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อสุขภาพ เช่น วิตามินบี 1 หรือไทอะมีน (Thiamine) วิตามินบี 2 หรือไรโบฟลาวิน (Riboflavin) วิตามินบี 3 หรือไนอะซิน (Niacin) วิตามินซี เบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) ที่อาจช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ ช่วยต้านการอักเสบ […]


ข้อมูลโภชนาการ

สับปะรด คุณค่าทางโภชนาการ และข้อควรระวังในการบริโภค

สับปะรด เป็นผลไม้ยอดนิยมของไทย ผลภายนอกมักมีสีเหลือง หรือเหลืองปนเขียว เปลือกแข็ง มีตาสับปะรดโดยรอบ เมื่อปอกเปลือกจะพบเนื้อสีเหลือง ฉ่ำน้ำ รสชาติเปรี้ยวอมหวาน นิยมรับประทานสด หรือนำไปประกอบอาหาร เช่น แกงคั่วสับปะรด ข้าวผัดสับปะรด หรือแปรรูปเป็นแยมสับปะรด สับปะรดอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย โดยเฉพาะโบรมีเลน (Bromelain) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่อาจช่วยลดการอักเสบ และอาจช่วยป้องกันมะเร็งได้ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของสับปะรด สับปะรดปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 50 กิโลแคลอรี่ และอาจมีสารอาหาร ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 13 กรัม ไฟเบอร์หรือใยอาหาร 1.4 กรัม น้ำตาล 9.9 กรัม โพแทสเซียม 109 มิลลิกรัม วิตามินซี 48 มิลลิกรัม แคลเซียม 13 มิลลิกรัม โซเดียม 1 มิลลิกรัม นอกจากนี้ สับปะรดยังเป็นแหล่งสำคัญของสารโบรมีเลน ซึ่งเป็นเอนไซม์ตามธรรมชาติที่อาจช่วยต้านการอักเสบ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ชะลอการแข็งตัวของเลือด อีกทั้งยังอาจช่วยขัดขวางการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง จึงอาจช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ด้วย ประโยชน์ของสับปะรดต่อสุขภาพ สับปะรดมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณในการป้องกันโรค […]


ข้อมูลโภชนาการ

5 ประโยชน์ของ กระเทียม และผลข้างเคียงในการบริโภค

กระเทียม เป็นพืชในตระกูลเดียวกับหัวหอม มักนิยมนำมาใช้ในการปรุงอาหาร แต่ละหัวมีประมาณ 10-20 กลีบ กระเทียมมีสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุนานาชนิด เช่น วิตามินซี ซีลีเนียม (Selenium) สารอัลลิซิน (Allicin) จึงอาจมีสรรพคุณบรรเทาอาการและมีประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นช่วยเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ปรับปรุงระดับคอเลสเตอรอล ทั้งยังอาจช่วยเสริมสุขภาพกระดูก และอาจช่วยต้านมะเร็งได้ด้วย [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม กระเทียมมีคุณค่าทางโภชนาการ และมีแคลอรี่น้อย โดยกระเทียม 1 กลีบ ประกอบด้วย พลังงาน 4.5 แคลอรี่ โปรตีน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม แมงกานีส 2% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนําให้บริโภคในแต่ละวัน วิตามินบี 6 2% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนําให้บริโภคในแต่ละวัน วิตามินซี 1% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนําให้บริโภคในแต่ละวัน ซีลีเนียม 1% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนําให้บริโภคในแต่ละวัน นอกจากนั้น ยังมีสารอาหารอื่น ๆ เช่น ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม ทองแดง แคลเซียม […]


ข้อมูลโภชนาการ

มะขาม ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

มะขาม เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีผลเป็นฝักลักษณะคล้ายฝักถั่วลันเตา ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่สีจะค่อย ๆ เปลี่ยนจนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลปนดำเมื่อสุกจัด ผู้คนส่วนใหญ่นิยมรับประทานผลมะขามแบบสด ๆ นำมาประกอบอาหาร หรือใช้เพิ่มรสเปรี้ยวให้อาหารแทนมะนาว นอกจากนี้ มะขามยังมีสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายหลายชนิด เช่น โพแทสเซียม แมกนีเซียม วิตามินบี 1 วิตามินบี 3 ที่อาจช่วยบำรุงกระดูก บำรุงสมอง และช่วยต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังหลายโรค คุณค่าทางโภชนาการของมะขาม ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) ระบุว่า เนื้อมะขามดิบ 1 ถ้วย (120 กรัม) ให้พลังงาน 287 กิโลแคลอรี่ และมีสารอาหาร เช่น คาร์โบไฮเดรต 75 กรัม น้ำตาล 46.6 กรัม โซเดียม 34 กรัม ไฟเบอร์ 6.1 กรัม โปรตีน 3.4 กรัม ไขมัน 0.7 กรัม […]


ข้อมูลโภชนาการ

มะพร้าว ประโยชน์ และข้อควรระวังในการรับประทาน

มะพร้าว เป็นผลไม้ที่มีรสชาติหวานหอม ให้ความสดชื่น สามารถนำมาทำเป็นอาหาร ของว่าง ขนมหวาน เครื่องดื่มต่าง ๆ ได้หลากหลายเมนู นอกจากนี้ มะพร้าวยังมีสารอาหารมากมาย เช่น ไขมัน โปรตีน แมงกานีส แมกนีเซียม ทองแดง เหล็ก ที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ บรรเทาอาการอักเสบ ลดน้ำหนัก ป้องกันโรค เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ควรบริโภคมะพร้าวในปริมาณพอเหมาะ เพราะหากมากเกินไป ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน คุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าว เนื้อมะพร้าวสด 100 กรัม ให้พลังงาน 354 กิโลแคลอรี่ และมีสารอาหาร ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ไขมัน 33 กรัม คาร์โบไฮเดรต 15 กรัม ไฟเบอร์ 9 กรัม โปรตีน 3 กรัม แมงกานีส 75% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน ทองแดง 22% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน ซีลีเนียม 14% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน […]


ข้อมูลโภชนาการ

โกโก้ ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

โกโก้ หรือเมล็ดโกโก้ เป็นพืชยอดนิยมที่นำมาใช้ทำขนมและเครื่องดื่มหลากหลายเมนู โดยเฉพาะเป็นส่วนประกอบหลักในการทำช็อกโกแลต มีสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุหลายชนิด เช่น เหล็ก สังกะสี ซีลีเนียม (Selenium) ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ ทั้งอาจมีส่วนช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด ปรับปรุงการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ปรับปรุงอารมณ์ ช่วยควบคุมน้ำหนัก และอาจมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและโรคเบาหวานได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของโกโก้ คุณค่าทางโภชนาการของโกโก้ปริมาณ 100 กรัม ประกอบด้วย พลังงาน 49 กิโลแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 12 กรัม ไฟเบอร์ 7 กรัม โปรตีน 4 กรัม ไขมัน 3 กรัม นอกจากนี้ โกโก้ยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอีกหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น เหล็ก สังกะสี ซีลีเนียม แมกนีเซียม ประโยชน์ของโกโก้ต่อสุขภาพ โกโก้มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนสรรพคุณของโกโก้ต่อการป้องกันและรักษาโรค ดังนี้ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง สารฟลาโวนอล (Flavanols) พบมากในโกโก้ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพในหลายด้าน ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังสมองและบำรุงระบบประสาท การบริโภคโกโก้จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์และโรคหลอดเลือดสมอง งานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร British Journal of Clinical Pharmacology ปี […]


ข้อมูลโภชนาการ

สละ ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

สละ เป็นผลไม้เมืองร้อนที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการมากมาย เช่น วิตามินซี โพแทสเซียม เบต้าแคโรทีน เหล็ก ไฟเบอร์ ที่อาจมีส่วนช่วยส่งเสริมสุขภาพสมอง สุขภาพหัวใจ บำรุงสายตา ปรับปรุงระบบย่อยอาหารและอาจช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้ อย่างไรก็ตาม การรับประทานสละในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดอาการท้องอืด ท้องผูก หรือส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหารได้ ดังนั้น จึงควรรับประทานสละในปริมาณที่พอเหมาะ [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของสละ คุณค่าทางโภชนาการของสละปริมาณ 100 กรัม ประกอบด้วย พลังงาน 368 แคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 12.1 กรัม โปรตีน 0.8 กรัม ไขมัน 0.4 กรัม ไฟเบอร์ 0.3 กรัม นอกจากนี้ สละยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอีกหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินซี วิตามินบี 2 แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส โซเดียม โพแทสเซียม เบต้าแคโรทีน ประโยชน์ของสละต่อสุขภาพ สละมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของสละในการป้องกันและรักษาโรค ดังนี้ ช่วยบำรุงสุขภาพสมอง สละอุดมไปด้วยโพแทสเซียมและเพคติน (Pectin) ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่มีส่วนช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังสมอง ลดความเสี่ยงคอเลสเตอรอลอุดตันในเส้นเลือด ที่อาจเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้ เบต้าแคโรทีนยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน […]


ข้อมูลโภชนาการ

น้ำมันมะพร้าว ประโยชน์ ข้อควรระวัง

น้ำมันมะพร้าว คือสารสกัดจากมะพร้าวที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยบำรุงสุขภาพทั้งภายในและภายนอก เช่น บำรุงผิวกาย เส้นผม หนังศีรษะ ช่วยลดน้ำหนัก ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ อย่างไรก็ตาม น้ำมันมะพร้าวอาจมีกรดไขมันอิ่มตัวมากกว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งอาจเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL) ดังนั้น จึงควรรับประทานน้ำมันมะพร้าวในปริมาณที่เหมาะสม [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะ มีสารอาหารดังนี้ แคลอรี่ 117 กิโลแคลอรี่ ไขมันรวม 14 กรัม ซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัว 12 กรัม นอกจากนี้ยังมีสารอาหารอื่น ๆ เช่น กรดลอริก (Lauric acid) กรดไมริสติก (Myristic acid) กรดปาล์มิติก (Palmitic acid) แพลนท์สเตอรอล (Plant sterol) เป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียและไวรัส ลดความเสี่ยงการติดเชื้อที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ แผลพุพอง หลอดลมอักเสบ ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะพร้าวอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนประโยชน์ต่อการป้องกันและรักษาโรค ดังนี้ ลดน้ำหนัก น้ำมันมะพร้าวเป็นกรดไขมันอิ่มตัวสายกลาง (MCT) จากธรรมชาติ ที่มีส่วนช่วยเผาผลาญ ดูดซึมสารอาหารอย่างรวดเร็วนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานให้ร่างกายนำไปใช้ จึงมีโอกาสน้อยที่ไขมันจะถูกสะสมซึ่งอาจนำไปสู่การช่วยลดน้ำหนัก จากการศึกษาหนึ่งของภาควิชาโภชนาการและการควบคุมอาหาร มหาวิทยาลัยสหพันธรัฐริโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล […]


ข้อมูลโภชนาการ

ลูกเกด ประโยชน์ต่อร่างกาย และข้อควรระวังหากบริโภคมากเกินไป

ลูกเกด คือองุ่นแห้งที่นิยมรับประทานดิบ ๆ เป็นอาหารว่าง สามารถนำไปใส่ในอาหารประเภทซีเรียลหรือโยเกิร์ตรับประทานเป็นอาหารเช้า หรือนำไปเป็นส่วนผสมในการทำเบเกอรี่ ลูกเกดไม่เพียงแต่มีรสชาติอร่อยรับประทานเพลิดเพลิน แต่ยังให้พลังงานแก่ร่างกาย และอุดมไปด้วยสารอาหารและแร่ธาตุหลายชนิด และ เช่น ไฟเบอร์ ที่ช่วยในการขับถ่าย ธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง แคลเซียม ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน คุณค่าทางโภชนาการของลูกเกด ลูกเกดมีสารอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายเช่นเดียวกับการรับประทานผักหรือผลไม้ประเภทอื่น ๆ ลูกเกดประมาณ ¼ ถ้วย มีแคลอรี่ 108 กิโลแคลอรี่ และมีสารอาหารอื่น ๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 29 กรัม น้ำตาล 21 กรัม โปรตีน 1 กรัม ไขมัน 0 กรัม นอกจากนี้ ยังมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ ไฟเบอร์ ไฟเบอร์หรือใยอาหารเป็นสารอาหารสำคัญที่มีส่วนช่วยในการขับถ่ายและช่วยในกระบวนการทำงานของระบบย่อยอาหาร รวมถึงยังดีต่อการลดน้ำหนัก เพราะช่วยให้รู้สึกอิ่มได้นานมากขึ้น ทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยลดระดับคอเลอเตอรอล ธาตุเหล็ก ลูกเกดอุดมไปด้วยธาตุเหล็กที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ลูกเกดครึ่งถ้วย ประกอบไปด้วยธาตุเหล็กประมาณ 1.3 มิลลิกรัม หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของปริมาณธาตุเหล็กที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน ซึ่งธาตุเหล็กนี้มีส่วนช่วยในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก แคลเซียม ไม่ใช่แค่ผลิตภัณฑ์จากนมเท่านั้นที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ในลูกเกิดมีแคลเซียมอยู่ด้วย ซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงให้กระดูกและฟันแข็งแรง สำหรับสตรีที่อยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือนการรับประทานลูกเกดอาจมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน […]


ข้อมูลโภชนาการ

วิตามินซี มีประโยชน์อย่างไรต่อสุขภาพ

วิตามินซี เป็นสารอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อร่างกาย เพื่อช่วยปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระ ที่อาจทำให้เซลล์อักเสบและนำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น ไข้หวัด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ ปัญหาผิวหนัง อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน บำรุงกล้ามเนื้อและกระดูก อย่างไรก็ตาม หากร่างกายได้รับวิตามินซีมากเกินไป ก็อาจเกิดผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เพื่อความปลอดภัยจึงควรศึกษาเกี่ยวกับ ประโยชน์ และข้อควรระวังของการบริโภควิตามินซีก่อนรับประทาน [embed-health-tool-bmr] วิตามินซี คืออะไร วิตามินซี หรือ กรดแอสคอร์บิก (Ascorbic acid) คือสารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายไม่สามารถผลิตขึ้นมาเองได้จำเป็นต้องรับประทานอาหารเพื่อเพิ่มวิตามินซีเข้าสู่ร่างกาย โดยเฉพาะการรับประทานผัก และผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม กีวี่ บลูเบอร์รี่ สตรอว์เบอร์รี่ ฝรั่ง มะเขือ พริก กะหล่ำปลี ผักโขม ปัจจุบันวิตามินซียังมีในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องดื่ม แคปซูล ยาเม็ด และวิตามินซีรูปแบบฉีดเข้าสู่เส้นเลือดโดยตรง อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาเพิ่มเติมให้ดีก่อนก่อนการใช้ เพื่อความปลอดภัย ปริมาณวิตามินซีที่ควรได้รับต่อวัน ปริมาณวิตามินซีที่ควรได้รับในแต่ละวันตามคำแนะนำของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา แบ่งออกตามช่วงอายุ ดังนี้ ทารก 0-6 เดือน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน