ข้อมูลโภชนาการ

สิ่งที่เรารับประทานเข้าไป มีผลโดยตรงต่อความรู้สึกและประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน การเรียนรู้เกี่ยวกับ ข้อมูลโภชนาการ จะช่วยให้เรารู้จักระมัดระวังมากขึ้นก่อนการรับประทานอาหาร และช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ข้อมูลโภชนาการ

หัวปลี สารอาหารสำคัญ สรรพคุณทางยา และประโยชน์ของหัวปลี

หัวปลี เป็นส่วนดอกของต้นกล้วย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปลีกล้วย คนไทยมักจะนำหัวปลีมาประกอบเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ ช่วยเสริมรสชาติให้กับเมนูอาหาร ทั้งยังอุดมด้วยคุณประโยชน์มากมาก และมีสรรพคุณทางยาที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย [embed-health-tool-bmi] สารอาหารสำคัญใน หัวปลี ปลีกล้วยหรือหัวปลี มีสารอาหารสำคัญ ดังนี้ แคลเซียม  ธาตุเหล็ก  ฟอสฟอรัส  แมกนีเซียม  โปรตีน  วิตามินซี  เบตาแคโรทีน ประโยชน์จากหัวปลี หัวปลีเป็นส่วนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทุกเพศทุกวัย เช่น  ปลีกล้วยมีสารซาโปนิน (Saponins) และแทนนิน(Tannins) ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรแลคติน ในทางการแพทย์แผนไทย  อุดมด้วยแคลเซียม ที่มากกว่ากล้วยสุกถึง 4 เท่า ดีต่อกระดูกและฟัน อาจช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ หัวปลีเป็นผักฤทธิ์เย็น ดีต่อสุขภาพในช่วงหน้าร้อน ปรับสมดุลร่างกายให้เย็นขึ้น ช่วยแก้อาการร้อนในได้ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ดีต่อผิวพรรณ ชะลอการเกิดริ้วรอย มีสารแมกนิเซียมที่ช่วยปรับสมดุลของสภาวะทางอารมณ์ ช่วยบรรเทาอาการเศร้า  มีสารเอทานอล ลดการอักเสบ มีฤทธิ์ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อโรคได้ ประโยชน์ที่สำคัญของหัวปลียังดีต่อแม่ตั้งครรภ์และแม่หลังคลอด ดังนี้  ช่วยในการบำรุงเลือด ป้องกันโลหิตจาง โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์หรือคุณแม่หลังคลอด มีสรรพคุณทางยา กระตุ้นต่อมน้ำนม ให้ร่างกายแม่ตั้งครรภ์สร้างน้ำนมหลังคลอด จึงควรรับประทานเมนูหัวปลีหลังคลอดเพื่อช่วยขับน้ำนม ตัวอย่างเมนูจากหัวปลี หัวปลีมีรสฝาด สามารถกินสด ๆ ได้ […]

สำรวจ ข้อมูลโภชนาการ

ข้อมูลโภชนาการ

5 ประโยชน์ต่อสุขภาพของบัวหิมะ

บัวหิมะ เป็นพืชหัวชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชร์ต่อร่างกาย อีกทั้งยังอาจสามารถช่วยในการควบคุมโรคเบาหวาน ควบคุมความดันโลหิต ปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร และบำรุงสุขภาพหัวใจ อย่างไรก็ตาม การรับประทานบัวหิมะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ ท้องเสีย [embed-health-tool-bmr] ทำความรู้จัก สมุนไพร บัวหิมะ (Yacon Root) บัวหิมะ (Yacon Root) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “Smallanthus Sonchifolius” เป็นพืชพื้นเมืองแถบอเมริกาใต้ ความสูงประมาณ 1.5-2.5  เมตร ดอกสีส้มอมเหลืองขนาดเล็ก เป็นพืชสมุนไพรที่อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย เช่น รักษาโรคเบาหวาน ควบคุมความดันโลหิต ส่งเสริมการลดน้ำหนัก เป็นต้น  ข้อมูลโภชนาการ บัวหิมะสด 1 กิโลกรัม มีคุณค่าทางโภชนาการ ดังต่อไปนี้  คาร์โบไฮเดรต 106 กรัม โปรตีน 3.7 กรัม ฟรักโทแซน (Fructans) 62 กรัม ไฟเบอร์  3.6 กรัม ไขมัน 0.24 กรัม นอกจากนี้ บัวหิมะยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น […]


ข้อมูลโภชนาการ

โฟนิโอ (Fonio) ธัญพืชเม็ดจิ๋ว ที่ประโยชน์สุดแจ๋ว

หากจะพูดถึงธัญพืช แน่นอนว่ามีธัญพืชมากมายหลายชนิดให้เราได้กล่าวถึง ไม่ว่าจะเป็นถั่วเหลือง ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี หรือข้าวบาร์เล่ย์ ซึ่งจัดเป็นอาหารที่ให้คุณค่าทางสารอาหารสูงและมีประโยชน์ต่อร่างกาย วันนี้ Hello คุณหมอ ขอนำเสนออีกหนึ่งธัญพืชที่ให้คุณค่าทางสารอาหารไม่แพ้กับธัญพืชที่เราคุ้นเคยกัน นั่นคือ โฟนิโอ ธัญพืชที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในทวีปแอฟริกา แต่ธัญพืชชนิดนี้จะดีต่อสุขภาพอย่างไรบ้างนั้น มาติดตามที่บทความนี้เลย โฟนิโอ คืออะไร ข้าวโฟนิโอ หรือโฟนิโอ (Fonio) เป็นพืชตระกูลข้าวฟ่าง มีขนาดเล็ก เมื่อหุงสุกแล้วจะมีลักษณะที่คล้ายกับคูสคูส (Couscous) และควินัว (Quinoa) โฟนิโอจัดเป็นหนึ่งในธัญพืชโบราณของทวีปแอฟริกา ซึ่งมีการปลูกและนิยมกินกันอย่างแพร่หลายในแถบประเทศแอฟริกาตะวันตกมากว่า 5,000 ปีแล้ว  คุณค่าทางโภชนาการของ โฟนิโอ การ กินโฟนิโอ ที่หุงสุกแล้วประมาณ ½ ถ้วย จะได้คุณค่าทางโภชนาการสำคัญ ๆ ดังนี้ พลังงาน 170 แคลอรี โปรตีน 2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 39 กรัม ไฟเบอร์ 1 กรัม โฟนิโอไม่มีน้ำตาล ไม่มีโซเดียม และให้ไขมันในปริมาณที่น้อยมาก โดยการรับประทานข้าวโฟนิโอที่หุงสุกแล้วประมาณ ½ ถ้วย จะได้ไขมันแค่เพียง 0.5 กรัม มากไปกว่านั้น โฟนิโอยังให้สารอาหารจำพวกวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ […]


ข้อมูลโภชนาการ

ผลการวิจัยชี้! ผักชีฝรั่ง สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งบางชนิดได้

“ผักชีฝรั่ง” พืชสมุไพร สวนครัวที่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งบางชนิดได้ นอกจากนี้ ยังสามารถนำมาประกอบอาหารได้อีกหลากหลายเมนู เรียกได้ว่ามีคุณประโยชน์ครบด้านจริง ๆ  แต่จะมีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน เรามาทำความรู้จักกับพืชสมุนไพรชนิดนี้ ให้มากขึ้นกันใน บทความ Hello คุณหมอ  ผักชีฝรั่งสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งได้จริงหรือไม่ ผักชีฝรั่ง (Culantro) มีชื่อทางวิทยาศาตร์ว่า “Eryngium” มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ตั้งแต่ตอนใต้ของเม็กซิโกจนมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายจนมาถึงปัจจุบัน  ผักชีฝรั่งอุดมด้วยคุณค่างโภชนาการ เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี วิตามินเค ธาตุโพแทสเซียม แคลเซียม  และเบต้าเคโรทีน ซึ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งและความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidative Stress) ได้ ผักชี และผักชีฝรั่ง แตกต่างกันอย่างไร  ผักชีและผักชีฝรั่ง มีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้  ลักษณะ ผักชีฝรั่ง ผักชี ใบ ใบมีลักษณหยัก มีความยาวประมาณ 10 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว ใบมีลักษณะเป็นรูปหอยเชลล์ วิตามิน ประกอบด้วยวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี วิตามินบี 2 ประกอบด้วยวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี วิตามินเค  การปรุงอาหาร ส่วนใหญ่ใช้ในการปรุงอาหาร เนื่องจากสามารถทนความร้อนได้ ส่วนใหญ่ใช้รับประทานผักสด ประโยชน์จากผักชีฝรั่ง ผักชีฝรั่งอุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุนานานชนิด ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังต่อไป  รักษาโรคติดเชื้อ  จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร DARU […]


ข้อมูลโภชนาการ

มะระหวาน มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร

มะระหวาน เป็นไม้เถาเลื้อย ผลคล้ายแตงกวาผสมกับฟักเขียว มะระหวานเป็นพืชที่สามารถรับประทานได้ทั้งยอดและผล อีกทั้งยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ทั้งวิตามิน แร่ธาตุ ไฟเบอร์ และสารต้านอนุมูลอิสระ การรับประทานมะระหวานอาจช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจ ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด ดีต่อระบบย่อยอาหาร อีกทั้งยังมีแคลอรี่ต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักอีกด้วย [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของมะระหวาน มะระหวานเป็นพืชที่มีปริมาณสารอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน แร่ธาตุ และไฟเบอร์ ปริมาณมะระหวาน 203 กรัมจะให้แคลอรี่ 39 กิโลแคลอรี และให้สารอาหาร ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 9 กรัม โปรตีน 2 กรัม ไขมัน 0 กรัม ไฟเบอร์ ร้อยละ 4-14 ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน วิตามินซี ร้อยละ 26 ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน วิตามินบี 9 หรือโฟเลต ร้อยละ 47 ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน วิตามินเค ร้อยละ 10 ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน วิตามินบี 6 ร้อยละ 8 ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน แมงกานีส ร้อยละ 19 ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน […]


ข้อมูลโภชนาการ

เมล็ดพืชเพาะงอก ต้นอ่อนพืช ที่อุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย

ปัจจุบันการเพาะเมล็ดพืชเพื่อนำมารับประทานนั้นมีความนิยมเป็นอย่างมาก นอกจากเมล็ดถั่วเขียว ที่นำมาเพาะเพื่อให้ได้ถั่วงอกแล้ว ยังมีเมล็ดพืชอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น เมล็ดทานตะวัน ถั่วลูกไก่ ถั่วเหลือง ซึ่งการรับประทาน เมล็ดพืชเพาะงอก หรือ ต้นอ่อนพืช ได้ประโยชน์มากมาย วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับประโยชน์ของการรับประทานเมล็ดพืชเพาะงอกมาให้ได้อ่านกันค่ะ เมล็ดพืชเพาะงอก (Sprouted grains) คืออะไร เมล็ดพืชเพาะงอกเป็นพืชที่เติบโตในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน โดยกระบวนการเพาะงอกสามารถทำได้โดยการนำเมล็ดธัญพืชไม่แช่น้ำนานหลายชั่วโมง จากนั้นนำเมล็ดธัญพืชที่แช่น้ำใส่ภาชนะโดยให้มีอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม หลังจากนั้นรอให้ต้นงอกขึ้นมา โดยจะใช้เวลาประมาณ 2-7 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของเมล็ดธัญพืช หลังจากนั้นรอให้ ต้นอ่อนพืช มีความยาวสัก 2-5 เซนติเมตร จึงสามารถนำมารับประทานได้ มีเมล็ดธัญพืชหลากหลายชนิดที่สามารถนำมาทำเมล็ดพืชเพาะงอกได้ ดังนี้ พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเลนทิล ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วเขียว และถั่วลันเตา ธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง ควินัว ข้าวโอ๊ต ถั่วเปลือกแข็งและเมล็ดพืช เช่น อัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน เมล็ดงา ไควาเระ โดยส่วนใหญ่แล้วเมล็ดพืชเพาะงอกนิยมรับประทานแบบดิบ ไม่ว่าจะนำมาใส่สลัด […]


ข้อมูลโภชนาการ

มะเขือพวง ผักพื้นบ้าน แต่ประโยชน์บานตะไท

มะเขือพวง เป็นพืชไม้พุ่มชนิดหนึ่ง ผลมีสีเขียว ลักษณณะเล็กและกลม จัดเป็นผักพื้นบ้านที่คนไทยหลายคนน่าจะรู้จักกันดี นิยมนำมารับประทานทั้งแบบสด เป็นผักเคียงในสำรับเมนูน้ำพริก หรือปรุงให้สุกในเมนูแกงกะทิหลายเมนู แต่แน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกคนที่ชอบรับประทานมะเขือพวง เพราะอาจจะติดเรื่องรสชาติที่ออกขม หลายคนจึงเลือกที่จะเขี่ยทิ้งไป โดยอาจไม่รู้ว่า มะเขือพวงเป็นผักพื้นบ้านที่ดีต่อสุขภาพมากทีเดียว แต่จะดีอย่างไรนั้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีประโยชน์ดี ๆ ของการกินมะเขือพวงมาฝากค่ะ สารอาหารในมะเขือพวง มะเขือพวงแม้จะมีผลเล็กจิ๋วคล้ายกับเบอร์รี แต่ก็อัดแน่นไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นหลายชนิด โดยเฉพาะ โปรตีน ไฟเบอร์ คาร์โบไฮเดรต วิตามินเอ วิตามินซี ยิ่งไปกว่านั้น ผลมะเขือพวง ยังอัดแน่นไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) และแทนนิน (Tannin)   ประโยชน์ของ มะเขือพวง ผลมะเขือพวง ดีต่อระบบย่อยอาหาร มะเขือพวงมีสารประกอบที่ชื่อฟีนอล (Phenol) และคลอโรจินิน (Chlorogenin) ที่มีส่วนช่วยปรับสภาพความเป็นกรดในกระเพาะอาหารให้เป็นกลาง ลดความเสี่ยงที่จะเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ยิ่งไปกว่านั้น ผลมะเขือพวง ยังมีไฟเบอร์สูง จึงช่วยกระตุ้นให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ผลมะเขือพวง มีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น ซาโปนิน (Saponin) ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ไกลโคไซด์ (Glycoside) […]


ข้อมูลโภชนาการ

มะขามป้อม สมุนไพรที่ช่วยลดหุ่น แถมยังทำให้สุขภาพดี

มะขามป้อม ถูกนำมาใช้ในยาอายุรเวทเป็นเวลาหลายพันปี ทุกวันนี้ผู้คนก็ยังใช้ผลของต้นไม้เพื่อทำยา โดยมะขามป้อมอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลรวม รวมทั้งกรดไขมันที่เรียกว่าไตรกลีเซอไรด์ โดยไม่ส่งผลต่อระดับคอเลสเตอรอลที่ดีที่เรียกว่า ไลโปโปรตีนความหนาแน่นสูง (HDL) ทั้งยัง มีคุณสมบัติช่วยเร่งการเผาผลาญ ดักจับไขมันที่ติดตามผนังลำไส้ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรือลดน้ำหนัก ทำความรู้จัก มะขามป้อม  มะขามป้อม หรือ มะขามอินเดีย (Indian Gooseberry) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Phyllanthus Emblica L.  มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียตะวันออกกลาง และบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้ยืนต้น ดอกมีสีเขียวอมเหลือง ผลมีลักษณะกลมเช่นเดียวกับดอก รสชาติออกเปรี้ยว ขม และฝาด มะขามป้อมจัดเป็นยาอายุวัฒนะที่มีมาตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล ทุกวันนี้ผู้คนก็ยังใช้ผลของต้นไม้เพื่อทำยา โดยมะขามป้อมอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลรวม รวมทั้งกรดไขมันที่เรียกว่าไตรกลีเซอไรด์ โดยไม่ส่งผลต่อระดับคอเลสเตอรอลที่ดีที่เรียกว่า ไลโปโปรตีนความหนาแน่นสูง (HDL) ทั้งยัง มีคุณสมบัติช่วยเร่งการเผาผลาญ ดักจับไขมันที่ติดตามผนังลำไส้ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรือลดน้ำหนัก นอกจากนั้น ยังอาจช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเสีย คลื่นไส้  ข้อมูลโภชนาการของมะขามป้อม มะขามป้อมปริมาณ 150 กรัม มีคุณค่าทางโภชนาการ ดังต่อไปนี้ พลังงาน 66 แคลอรี่ โปรตีน 1 กรัม […]


ข้อมูลโภชนาการ

ประโยชน์ของธัญพืชเต็มเมล็ด (Whole grains) ต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ

ธัญพืชเต็มเมล็ด หรือ โฮลเกรน (Whole grains) เป็นอาหารที่มีการรับประทานกันมาอย่างยาวนาน แม้ว่าการบริโภคโฮลเกรนที่ผ่านกระบวนการแปรรูป จะส่งผลต่อสุขภาพ เช่น ทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นโรคอ้วน ทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบ แต่การรับประทานธัญพืชเต็มเมล็ดนั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลาย ๆ ด้าน วันนี้ Hello คุณหมอ มีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ประโยชน์ของธัญพืชเต็มเมล็ด มาให้อ่านกันค่ะ ธัญพืชเต็มเมล็ด (Whole grains) คืออะไร โฮลเกรน (Whole grains) หรือที่เรียกว่า ธัญพืชเต็มเมล็ด ประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ รำ จมูกข้าว และเอนโดสเปิร์ม ซึ่งส่วนประกอบในแต่ละส่วนล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งสิ้น รำ (Bran) คือส่วนแข็ง ๆ ที่อยู่นอกสุด อุดมไปด้วย ไฟเบอร์ ที่ให้วิตามินบี 9 ธาตุเหล็ก ทองแดง สังกะสี แมกนีเซียม สารต้านอนุมูลอิสระและสารพฤกษเคมี (phytochemicals) ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมีทีพบได้ในพืชหลายชนิด ที่ได้รับการวิจัยแล้วว่ามีบทบาทในการป้องกันโรค จมูกข้าว (Germ) เป็นแกนกลางของเมล็ดพืช ที่จะมีการเจริญเติบโตต่อไปหากนำไปปลูก จมูกข้าวเป็นส่วนที่อุดมไปด้วย […]


ข้อมูลโภชนาการ

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ ขนมปังกับสุขภาพ

ขนมปังเป็นอาหารที่หารับประทานได้ง่าย สะดวก ขนมปังเพียง 1-2 แผ่น กับนมหนึ่งแก้วก็ช่วยให้เราอิ่มไปแล้วหนึ่งมื้อ แม้ว่าขนมปังจะเป็นอาหารที่ได้รับความนิยม แต่ขนมปังบางชนิดนั้นไม่ดีต่อสุขภาพ แถมยังส่งผลอันตรายต่อสุขภาพและทำให้อ้วนอีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ขนมปังกับสุขภาพ มาให้อ่านกันค่ะ ขนมปังกับสุขภาพ : คาร์โบไฮเดรตในขนมปังดีต่อสุขภาพหรือไม่ ขนมปังนั้นมีหลายประเภท หลายรูปแบบ แต่ละประเภทก็จะมีส่วนผสมที่แตกต่างกันออกไป  เช่น ขนมปังที่ทำจากธัญพืช ขนมปังหวาน (Sweetened bread) ขนมปังข้าวโพด (Cornbread) และยังมีขนมปังในรูปแบบอื่นอีกมากมาย ซึ่งขนมปังแต่ละประเภทก็มีคุณค่าทางโภชนาการที่แตกต่างกันออกไป ขนมปังบางชนิดดีต่อสุขภาพ แต่บางชนิดก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ดังนั้นการเลือกที่ดีต่อสุขภาพจึงถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrates) ถือเป็นสารอาหารหลักที่พบได้ในขนมปัง คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารที่เป็นแหล่งพลังงานแก่ร่างกาย ผลไม้ ผัก ถั่ว และธัญพืชที่ผ่านกระบวนการน้อยที่สุดถือเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่ดีต่อสุขภาพ เพราะอาหารเหล่านี้ยังมีปริมาณวิตามิน เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ ขนมปังขาว ที่ผ่านการขัดสีเป็นขนมปังที่เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว (Simple carbohydrate) ที่ผ่านกระบวนการทำมากมาย เป็นขนมปังที่ย่อยได้ง่าย แต่มีปริมาณคุณค่าทางโภชนาการที่ต่ำ นอกจากนี้ขนมปังประเภทนี้เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วยังทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นทันทีหลังจากรับประทานเสร็จ หากร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างต่อเนื่องอาจพัฒนากลายไปเป็นภาวะก่อนเบาหวาน หรือทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานได้ นอกจากนี้คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการแปรรูปมากยังขาดสารอาหารที่เรียกว่า ไฟเบอร์ ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อสุขภาพทางเดินอาหารและหัวใจและหลอดเลือด เมื่อรับประทานขนมปังขาวเข้าไป ทำให้ผู้ที่รับประทานไม่รู้สึกอิ่ม ส่งผลทำให้ร่างกายอยากอาหารมากขึ้นอีกหลังจากนั้น […]


ข้อมูลโภชนาการ

หน่อไม้ดอง แฝงสารพิษ อันตรายถึงชีวิต หากไม่คิดระวัง

เวลาที่คุณไปซื้อของที่ตลาด คุณอาจจะมองเห็นหน่อไม้ปี๊บ หรือหน่อไม้ดอง ห่อขายเป็นถุง ๆ กันอย่างมากมาย แต่รู้หรือไม่คะว่า หน่อไม้ดอง ที่ดูหน้าตาน่ารับประทานเหล่านี้ อาจแฝงมาด้วยอันตรายถึงแก่ชีวิต อันตรายที่ว่านั้นเป็นอย่างไร หาคำตอบได้จากบทความนี้ของ Hello คุณหมอ ค่ะ อันตรายแฝงจาก หน่อไม้ดอง หน่อไม้ดองนั้นเป็นหนึ่งในอาหารที่คนไทยนิยมรับประทานกันเป็นอย่างมาก ทั้งนำไปประกอบอาหาร หรือรับประทานเป็นผักจิ้มคู่กับน้ำพริก ซึ่งหน่อไม้ดองที่สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไปนั้น มักจะอยู่ในรูปแบบของหน่อไม้ดองอัดปี๊บ หรือบรรจุอยู่ในถุงพลาสติก เพื่อให้ง่ายต่อการแบ่งขาย ซึ่งหน่อไม้ดองเหล่านี้อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อคลอสทรีเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) เชื้อแบคทีเรียเป็นพิษที่อาจทำให้เกิดโรคโบทูลิซึม (Botulism) เชื้อคลอสทรีเดียม โบทูลินัมนี้เป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ในดิน และเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีออกซิเจนน้อย เช่น ในกระบวนการผลิตอาหารกระป๋อง หรือกระบวนการบรรจุอาหารลงในภาชนะที่มีการปิดผนึก หากในระหว่างขั้นตอนการผลิตหน่อไม้ดองบรรจุปี๊บนั้นทำอย่างไม่สะอาด หรือให้ความร้อนอย่างไม่เพียงพอ เลยไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เจือปนมาได้ ก็อาจทำให้เชื้อแบคทีเรียเหล่านี้เจริญเติบโตมากขึ้น และเป็นอันตรายต่อผู้ที่รับประทานเข้าไปนั่นเอง อาการที่บ่งบอกว่าคุณได้รับสารพิษจากหน่อไม้ดอง โดยปกติแล้ว สัญญาณและอาการว่าคุณได้รับสารพิษจากเชื้อคลอสทรีเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) มักจะเกิดขึ้นภายใน 12-36 ชั่วโมงหลังจากการกินหน่อไม้ดอง ความรุนแรงของอาการนั้นอาจจะขึ้นอยู่กับปริมาณของสารพิษที่ได้รับ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว จะมีอาการที่พบได้บ่อย ดังนี้ พูดไม่ชัด กลืนลำบาก ปากแห้ง กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง ควบคุมไม่ได้ หนังตาตก หายใจไม่ออก คลื่นไส้ อาเจียน ขยับตัวบางส่วนไม่ได้ เป็นอัมพาต หากคุณสังเกตพบอาการเหล่านี้หลังจากรับประทานหน่อไม้ดอง ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลในทันที เพราะหากรักษาไม่ทันเวลา อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน