โภชนาการเพื่อสุขภาพ

"You are what you eat" อาหารที่คุณรับประทาน มีความสำคัญอย่างมาก ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการเพื่อสุขภาพ อยู่มากมาย ดังนั้น การแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม

สมุนไพรลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะสารสกัดในสมุนไพรบางชนิดอาจช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เพื่อความปลอดภัยควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคทุกครั้ง  [embed-health-tool-bmi] สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม ขมิ้นชัน สรรพคุณ สารเคอร์คูมิน (Curcumin) ในขมิ้นชันมีสรรพคุณช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ระบบการเผาผลาญภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมุนไพรขมิ้นชันจึงเป็นอีกกนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ผลข้างเคียง หากรับประทานขมิ้นชันในปริมาณสูงติดต่อกัน อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน  ขิง สรรพคุณ สารซิงเจอโรน ((Zingerone) ในขิงเป็นสารประกอบที่มีรสชาติเผ็ดร้อน อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้สามารถควบคุมปริมาณในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม ผลข้างเคียง ขิงเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้  แนะนำรับประทานไม่เกินวันละ 4 กรัม และในสตรีมีครรภ์ไม่เกินวันละ 1 กรัม  ส้มแขก สรรพคุณ หลายคนมักรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากส้มแขก เนื่องจากส้มแขกมีกรดมีกรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric Acid: HCA) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการเผาผลาญไขมันภายในร่างกาย และยังมีสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้รู้สึกหิวน้อยลง  ผลข้างเคียง เวียนศีรษะ ปากแห้ง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย  เม็ดแมงลัก สรรพคุณ เม็ดแมงลักเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก […]

หมวดหมู่ โภชนาการเพื่อสุขภาพ เพิ่มเติม

สูตรอาหารเพื่อสุขภาพ

สำรวจ โภชนาการเพื่อสุขภาพ

โรคอ้วน

Cushing syndrome คืออะไร มีสาเหตุและอาการอะไรบ้าง

Cushing syndrome (กลุ่มอาการคุชชิง) คือ ภาวะที่เกิดจากการที่ร่างกายมีฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) มากเกินไป จนทำให้เกิดความบกพร่องในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการทำงานของระบบการเผาผลาญ จนอาจส่งผลให้มีน้ำหนักเพิ่ม มีไขมันสะสม และเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน หากสังเกตว่ามีอาการเหนื่อยล้า น้ำหนักขึ้นผิดปกติ มีไขมันสะสมในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ปวดศีรษะ อารมณ์แปรปรวน ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาทันที [embed-health-tool-bmi] Cushing syndrome คืออะไร  Cushing syndrome คือ ความผิดปกติของร่างกาย่ที่เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายมีระดับของฮอร์โมนคอร์ติซอลมากเกินไป โดยฮอร์โมนคอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนถูกสร้างขึ้นจากต่อมหมวกไต มีส่วนช่วยควบคุมความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด และการเผาผลาญไขมันในอาหารให้เป็นพลังงาน แต่หากมีปริมาณมากก็อาจทำให้ฮอร์โมนเสียสมดุล จนเสี่ยงก่อให้เกิดโรค Cushing syndrome ที่ส่งผลให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น อ้วนลงพุง มีไขมันสะสมบนใบหน้า อีกทั้งยังอาจเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และอาจสูญเสียมวลกล้ามเนื้อและกระดูกได้ สาเหตุของ Cushing syndrome สาเหตุของ Cushing syndrome มีดังนี้ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) เช่น เพรดนิโซน (Prednisone) เดกซาเมทาโซน (Dexamethasone) เมทิลเพรดนิโซโลน (Methylprednisolone) ที่นิยมใช้รักษาโรคหอบหืด โรคลูปัส (Systemic Lupus […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

เป็นริดสีดวงห้ามกินอะไร และอาหารแบบไหนที่ควรกิน

ริดสีดวงทวารหนัก คือ โรคที่เกิดจากหลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักขยายตัวจนเกิดเป็นติ่งเนื้อบริเวณขอบทวารหนัก หรืออาจเกิดจากเนื้อเยื่อภายในปากรูทวารหนักหย่อนยาน จนบวม แดง หรือแสบร้อน และบางครั้ง การเบ่งถ่ายอุจจาระก็อาจทำให้หลอดเลือดฉีกขาดจนมีเลือดออกได้ด้วย โรคนี้พบได้บ่อย และหลายคนอาจสงสัยว่า เป็นริดสีดวงห้ามกินอะไร โดยทั่วไป ผู้ที่เป็นริดสีดวงควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ทำให้ท้องผูก เพราะอาจไปกระตุ้นให้ริดสีดวงอักเสบ และควรกินอาหารที่มีใยอาหารสูงและย่อยง่าย ร่วมกับการออกกำลังกายเป็นประจำ ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดริดสีดวงและช่วยบรรเทาอาการริดสีดวงได้ เป็นริดสีดวงห้ามกินอะไร ริดสีดวงมักเกิดจากหลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักขยายตัวจนอักเสบและบวม พฤติกรรมการกินอาหารอาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กระตุ้นการอักเสบหรือทำให้อาการแย่ลงได้ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อเป็นโรคริดสีดวง มีดังนี้ ธัญพืชขัดสี ธัญพืชที่ผ่านการขัดสี เช่น ขนมปังขาว ข้าวขาว พาสต้า บะหมี่ มีใยอาหารน้อยและย่อยได้ยาก อาจทำให้ท้องผูกหรืออุจจาระไม่ออก จนเกิดริดสีดวงหรือกระตุ้นให้ริดสีดวงอักเสบได้ อาหารแปรรูป อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม แหนม มักมีไขมัน น้ำตาล และโซเดียมสูง ซึ่งอาจทำให้ท้องผูก และทำให้อาการของโรคริดสีดวงแย่ลงได้ แอลกอฮอล์และคาเฟอีน ผู้ที่เป็นริดสีดวงควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม เนื่องจากแอลกอฮอล์และคาเฟอีนกระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะบ่อย ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ ลำไส้ดูดน้ำจากอาหารที่ย่อยแล้วจนทำให้อุจจาระแห้งและแข็ง ส่งผลให้ขับของเสียออกจากร่างกายได้ยากขึ้น จนอาจเกิดอาการท้องผูกที่ทำให้อาการริดสีดวงแย่ลงได้ เนื้อแดง เนื้อแดง เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแกะ […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

คีโตกินอะไรได้บ้าง และอะไรที่ควรหลีกเลี่ยง

การรับประทานอาหารแบบคีโต หรือ คีโตเจนิค (Ketogenic Diets) เป็นการรับประทานอาหารเพื่อลดน้ำหนัก โดยเน้นการบริโภคอาหารที่มีไขมันและโปรตีน โดยบริโภคคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่น้อยที่สุด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่เป็นพลังงาน และทำให้น้ำหนักตัวลดลง หากถามว่า คีโตกินอะไรได้บ้าง คำตอบคือ เนื้อสัตว์ อาหารทะเลต่าง ๆ ผักที่มีสัดส่วนคาร์โบไฮเดรตน้อย เครื่องดื่มที่ไม่เติมน้ำตาล ถั่วและเมล็ดพืชบางชนิด ขณะเดียวกัน ผู้ที่ต้องการรับประทานอาหารแบบคีโตควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตหรือมีน้ำตาลสูง เช่น ข้าว เส้นก๋วยเตี๋ยว มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ มะม่วง ส้ม ฟักทอง มันฝรั่ง มันเทศ น้ำผึ้ง [embed-health-tool-bmi] คีโต คืออะไร การรับประทานอาหารแบบคีโต หรือ คีโตเจนิค สามารถรับประทานไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตได้หลายรูปแบบ แต่หลักการ คือ จะเน้นบริโภคอาหารที่มีไขมันดี ในอัตราส่วน 75 เปอร์เซ็นต์ ตามด้วยโปรตีนอีก 20 เปอร์เซ็นต์ และคาร์โบไฮเดรตเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ การรับประทานอาหารแบบคีโต จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะคีโตซิส (Ketosis) ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายเผาผลาญไขมันเป็นพลังงาน ส่งผลให้มวลไขมันที่สะสมอยู่ลดลง และน้ำหนักตัวโดยรวมลดลงตามไปด้วย คีโตกินอะไรได้บ้าง การรับประทานอาหารแบบคีโต ควรเลือกรับประทานอาหารต่าง […]


ข้อมูลโภชนาการ

มะกรูด ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

มะกรูด (Kaffir Lime) เป็นพืชตระกูลส้มชนิดหนึ่ง มีต้นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตอนใต้ของประเทศจีน มีเปลือกสีเขียวเข้ม ผิวขรุขระ ส่วนเนื้อเป็นสีเขียวอ่อน รสชาติเปรี้ยวเหมือนมะนาวแต่มีรสฝาดเล็กน้อย มะกรูดนิยมใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารไทยหลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะในเครื่องพริกแกง นอกจากนั้น น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดยังนิยมใช้เป็นส่วนประกอบของน้ำหอม มะกรูดประกอบด้วยสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ นานาชนิดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ มะกรูด มะกรูด 1 ผล หรือ 67 กรัม ให้พลังงานประมาณ 20 กิโลแคลอรี่ รวมถึงมีสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 7 กรัม วิตามินซี 28.8 มิลลิกรัม แคลเซียม 20 มิลลิกรัม โซเดียม 1 มิลลิกรัม นอกจากนี้ มะกรูดยังมีสารอาหารอื่น ๆ ด้วย คือ ใยอาหาร วิตามินเอ เหล็ก น้ำตาลกลูโคส ประโยชน์ต่อสุขภาพของ มะกรูด มะกรูด อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพของมะกรูด […]


ข้อมูลโภชนาการ

พริกหวาน ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

พริกหวาน หรือ พริกหยวก (Bell Peppers) จัดอยู่ในกลุ่มผลไม้ ที่มีสีเขียว เหลือง แดง และส้ม นิยมนำมาปรุงอาหารและรับประทานสด พริกหวานมีรสชาติหวานอ่อน ๆ และมีความเผ็ดน้อยกว่าพริกอื่น ๆ นอกจากนี้ พริกหวานยังมีสารอาหารสำคัญ เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินอี โพแทสเซียม ที่อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบทางเดินอาหารและอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของพริกหวาน พริกหวานหนึ่งถ้วย อาจให้พลังงาน 30 แคลอรี่ และมีคาร์โบไฮเดรต 7 กรัม ที่ประกอบด้วยน้ำตาล 3.5 กรัม ไฟเบอร์ 2.5 กรัม และสารอาหารอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินบี 6 โพแทสเซียม โฟเลต นอกจากนี้ พริกหวานยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ลูทีน (Lutein) แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

Paleo diet คืออะไร ช่วยลดน้ำหนักได้หรือไม่

Paleo diet คือ การรับประทานอาหารแบบยุคหิน เป็นรูปแบบการรับประทานอาหารที่เน้นผัก ผลไม้ ถั่ว เนื้อสัตว์ คล้ายกับอาหารที่คนในยุคหินรับประทาน ซึ่งอาจช่วยควบคุมน้ำหนักได้ อีกทั้งยังอาจช่วยลดระดับความดันโลหิต ป้องกันโรคเบาหวาน และโรคหัวใจและหลอดเลือด อย่างไรก็ตาม หากรับประทานไม่ถูกต้องอาจส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหาร ท้องร่วง หรือท้องผูกได้ จึงควรปรึกษาคุณหมอเพื่อวางแผนการรับประทานอาหารให้เหมาะสมก่อน [embed-health-tool-bmi] Paleo diet คืออะไร Paleo diet คือ การรับประทานอาหารแบบมนุษย์ยุคหิน หรือเมื่อประมาณ 2 ล้านปีก่อน ที่เน้นการรับประทานผัก ผลไม้ ถั่ว เนื้อสัตว์ และเนื้อปลา เนื่องจากเป็นอาหารที่คนในยุคนั้นหารับประทานได้ง่าย หลีกเลี่ยงการรับประทานคาร์โบไฮเดรตแปรรูป ธัญพืชที่ผ่านการขัดสี น้ำตาล ผลิตภัณฑ์จากนม และน้ำมัน ตัวอย่างอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ น้ำมันต่าง ๆ ชีส มันฝรั่ง น้ำอัดลม กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ การรับประทานอาหารในรูปแบบ Paleo diet ยังอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบภูมิคุ้มกัน ลดความดันโลหิตที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่อาจช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้อีกด้วย ผู้ที่อาจเหมาะกับ […]


ข้อมูลโภชนาการ

อาหารหลัก 5 หมู่และประโยชน์ของสารอาหาร

อาหารหลัก 5 หมู่ คือ กลุ่มอาหารที่ร่างกายควรได้รับอย่างครบถ้วนในแต่ละวัน ประกอบไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต แร่ธาตุ วิตามินและไขมัน ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย [embed-health-tool-bmi] ทำไมจึงควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวัน ช่วยทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อการทำงานตามปกติ อีกทั้งยังอาจช่วยเพิ่มพลังงาน ลดอาการเหนื่อยล้า ควบคุมน้ำหนัก ป้องกันภาวะทุพโภชนาการหรือโรคขาดสารอาหาร และอาจลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน อาหารหลัก 5 หมู่และประโยชน์ของสารอาหาร อาหารหลัก 5 หมู่และประโยชน์ของสารอาหาร มีดังนี้ หมู่ที่ 1 โปรตีน อาหารประเภทโปรตีน เช่น เนื้อปลา เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อไก่ พืชตระกูลถั่ว เต้าหู้ ไข่ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เป็นสารอาหารหลักที่ร่างกายต้องการเพื่อซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสื่อมสภาพในร่างกาย ช่วยสร้างกล้ามเนื้อ ช่วยนำส่งออกซิเจนที่อยู่ในเลือด ให้ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย และมีความสำคัญต่อการสร้างแอนติบอดี ที่ทำหน้าที่ในการต่อสู่กับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ป้องกันการติดเชื้อจนเจ็บป่วย หากร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ ก็อาจส่งผลให้เซลล์ประสาทเสียหาย […]


ข้อมูลโภชนาการ

แคนตาลูป ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

แคนตาลูป เป็นผลไม้ตระกูลเดียวกับแตงไทย มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกกลางและอินเดีย ในประเทศไทย แหล่งปลูกแคนตาลูปมากที่สุดอยู่ที่จังหวัดสระแก้ว ผลของแคนตาลูปมีลักษณะกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-15 เซนติเมตร เปลือกหนาและแข็งเป็นสีเขียวลายตาข่าย เนื้อในมีทั้งสีส้มอ่อน สีเหลือง หรือสีขาว ตามแต่สายพันธุ์ เมื่อสุกจะนิ่มและให้รสฉ่ำหวาน อุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินซี งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้น มีข้อสนับสนุนว่าการบริโภคแคนตาลูป อาจช่วยบำรุงสุขภาพตา ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง และบรรเทาอาการโรคหอบได้ อย่างไรก็ตาม แคนตาลูปอาจปนเปื้อนยาฆ่าแมลงอยู่มาก จึงควรล้างให้สะอาดเพื่อช่วยกำจัดสารพิษตกค้างก่อนบริโภค [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ แคนตาลูป แคนตาลูป 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 38 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 8.69 กรัม ไขมัน 0.18 กรัม โพแทสเซียม 157 มิลลิกรัม โซเดียม 30 มิลลิกรัม […]


ข้อมูลโภชนาการ

ลองกอง ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

ลองกอง เป็นผลไม้รสชาติอมเปรี้ยวอมหวาน ผลมีลักษณะและขนาดคล้ายไข่นกกระทา เปลือกสีเหลืองอมน้ำตาล เนื้อมีสีขาวขุ่น มีเมล็ดด้านในให้รสฝาด พบมากในแถบทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ลองกองเป็นผลไม้ที่ให้กากใยสูง และยังประกอบไปด้วยสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามินหลายชนิด เช่น แคลเซียม วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินเอ โดยมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นสนับสนุนว่า ลองกองอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ อาทิ ทำให้แผลหายไวขึ้น ช่วยต้านโรคมาลาเรีย ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของ ลองกอง ลองกอง 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 57 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 14.2 กรัม โปรตีน 1 กรัม ใยอาหาร 0.8 กรัม โพแทสเซียม 275 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 31 มิลลิกรัม แคลเซียม 19 มิลลิกรัม […]


ข้อมูลโภชนาการ

ใบกะเพรา ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

ใบกะเพรา เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่เชื่อกันว่ามีสรรพคุณทางยา นิยมนำมาใช้เพื่อบำรุงสุขภาพและบรรเทาอาการของโรคต่าง ๆ มาช้านานในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งนิยมนำมาบริโภค ใช้เป็นส่วนประกอบของเมนูอาหารไทย โดยเฉพาะเมนูผัด เนื่องจากมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ใบกะเพราประกอบไปด้วยสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุนานาชนิดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ ใบกะเพรา ใบกะเพรา ¼ ถ้วย ให้พลังงานประมาณ 1.38 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้ โปรตีน 0.189 กรัม คาร์โบไฮเดรต 0.159 กรัม ใยอาหาร 0.096 กรัม ไขมัน 0.038 กรัม น้ำตาล 0.018 กรัม นอกจากนี้ ใบกะเพรายังมีสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุอื่น ๆ อีกหลายชนิด เช่น แคลเซียม วิตามินเอ วิตามินเค แมงกานีส แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี โพแทสเซียม ประโยชน์ต่อสุขภาพของ ใบกะเพรา ใบกะเพราอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพของใบกะเพรา ดังนี้ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน