พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

สาเหตุอะไรที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ พิษร้ายทำลายสุขภาพในระยะยาว

วัยรุ่นสูบบุหรี่ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองไม่ควรละเลย เพราะบุหรี่เป็นสิ่งอันตรายที่สามารถส่งผลเสียระยะยาวต่อร่างกายของวัยรุ่นได้ ในปัจจุบัน มีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่สูบบุหรี่และมีแนวโน้มว่าจำนวนของวัยรุ่นที่สูบบุหรี่จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย สาเหตุหนึ่งเพราะเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ หรือบางก็คนใช้เป็นเครื่องมือระบายความเครียด เพื่อจัดการกับปัญหาวัยรุ่นสูบหรี่ บทความนี้อาจช่วยให้คุณเข้าใจสาเหตุ และอันตรายของบุหรี่มากขึ้น เราไปหาคำตอบเรื่องนี้กันเลย สาเหตุที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นสูบบุหรี่มีด้วยกันหลายสาเหตุทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก มาดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง สภาพแวดล้อมทางสังคมและทางกายภาพ การโฆษณาจากสื่อโทรทัศน์อาจทำให้วัยรุ่นหนุ่มสาวรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ แนวโน้มการสูบบุหรี่จะเพิ่มขึ้น หากพวกเขาเห็นเพื่อนในวัยเดียวกันสูบบุหรี่ หากคนในครอบครัวสูบบุหรี่ ก็มีแนวโน้มว่าบุตรหลานอาจรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ตามไปด้วย ปัจจัยทางชีวภาพและพันธุกรรม วัยรุ่นบางคนอาจมีความรู้สึกไวต่อสารนิโคติน จึงทำให้รู้สึกอยากนิโคตินได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ ปัจจัยทางพันธุกรรมบางอย่างอาจทำให้การเลิกบุหรี่ในวัยรุ่นยากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่อาจส่งผลต่อลูก และอาจส่งผลให้เด็กสูบบุหรี่เป็นประจำในอนาคต สุขภาพจิต ปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่น เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด อาจทำให้วัยรุ่นต้องการสูบบุหรี่ ความรู้สึกส่วนตัว วัยรุ่นบางคนเริ่มสูบบุหรี่เพราะต้องการระบายความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าบุหรี่เป็นเพียงทางออกเดียวในการกำจัดความเครียด อิทธิพลอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อวันรุ่น ความเครียดจากเศรษฐกิจตกต่ำ หรือรายได้ลดลง ไม่รู้ว่าจะเลิกบุหรี่อย่างไร ครอบครัวไม่สนับสนุนหรือมีส่วนร่วมในการเลิกบุหรี่ วัยรุ่นยังสามารถเข้าถึงการซื้อบุหรี่ได้ อาจมีพฤติกรรมเกเร ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง มองว่าตัวเองต่ำต้อย เห็นจากโฆษณาผลิตภัณฑ์บุหรี่ในร้านค้า โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ภาพยนตร์ นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ วัยรุ่นสูบบุหรี่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ในบุหรี่มีสารเคมีหลายชนิดที่เป็นสารพิษและส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น นิโคติน ไซยาไนด์ ผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกมักมีอาการเจ็บหรือแสบร้อนในลำคอและปอด บางคนถึงกับอาเจียนได้ และเมื่อสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

การเติบโตและพัฒนาการ

พฤติกรรมที่ช่วย พัฒนาทักษะของลูก ได้ มาดูสิว่ามีอะไรบ้าง

ลูก ๆ อาจมีพฤติกรรมบางอย่างที่ชวนให้พ่อแม่สงสัย บางครั้งอาจเป็นการกระทำที่ดูน่ารำคาญ ขัดหูขัดตา หรือแปลกเกินไป แต่เราขอแนะนำว่าคุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งใจร้อน เพราะพฤติกรรมดังกล่าว อาจเป็นการกระทำที่ช่วย พัฒนาทักษะของลูก ได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ทักษะที่สำคัญสำหรับเด็ก มีอะไรบ้าง การพัฒนาทักษะของลูก สามารถทำได้ในหลายกรณี ผู้ปกครองไม่ควรบังคับ หรือกดดันให้ลูกทำในสิ่งที่คุณต้องการ แต่ควรให้คำแนะนำ หรือเลือกกิจกรรมที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะสำคัญที่จะเป็นประโยชน์สำหรับการใช้ชีวิต ดังนี้ ทักษะการแก้ไขปัญหา การสอนให้ลูกรู้จักกับชีวิตย่อมเป็นสิ่งที่ดี คุณไม่ควรปกป้องหรือโอ๋ลูกมากจนเกินไป ควรปล่อยให้ลูกได้เผชิญกับปัญหาและแก้ไขปัญหาเล็กน้อยด้วยตัวเองบ้าง เขาจะได้เรียนรู้และปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม หากคุณเห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นยากเกินความสามารถในการตัดสินใจของเด็ก ก็ควรแนะนำและช่วยเหลือเขาบ้าง อย่าปล่อยให้เขาแก้ปัญหาเองทุกเรื่อง การได้ทำในสิ่งที่ชอบ บางครั้งผู้ปกครองมักจะเข้มงวดกับกิจกรรมที่ลูก ๆ ชอบทำ และหากกิจกรรมดังกล่าวไม่ตรงตามความต้องการของตัวเอง พ่อแม่หลายคนก็อาจจะไม่ยอมให้ลูกได้ทำกิจกรรมนั้น ๆ คุณควรระลึกไว้ว่า ต่อให้เป็นกิจกรรมที่คุณไม่ชอบ แต่หากเป็นกิจกรรมโปรดของลูก และคุณดูแล้วไม่ได้ก่อผลเสียอะไร คุณก็ควรสนับสนุนเขาบ้าง เพราะการได้ทำกิจกรรมที่ชอบอาจส่งผลให้ลูกได้ใช้พรสวรรค์ของตัวเอง และพัฒนาต่อไปจนกลายเป็นความสามารถพิเศษของเขาต่อไปในอนาคต ความเห็นอกเห็นใจ การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เป็นอีกหนึ่งทักษะที่สำคัญของมนุษย์ พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างเรื่องการแบ่งปัน สอนให้ลูกรู้จักช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอกว่า และต้องการความช่วยเหลือ ความอดทน พ่อแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักอดทน เช่น เวลาซื้อขนม ก็ควรรู้จักรอคิว และอดทนรอจนกว่าจะถึงคิวของตัวเอง เด็กจะได้เรียนรู้ว่า ไม่มีอะไรได้มาง่าย ๆ แต่ละอย่างต้องใช้เวลา เราจำเป็นที่จะต้องรู้จักรอคอยและอดทนบ้างในบางครั้ง โดยเฉพาะเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 29 เดือน การเจริญเติบโต พัฒนาการ และวิธีดูแลที่ควรรู้

ลูกน้อยวัย 29 เดือน หรือประมาณ 2 ขวบกว่า ๆ เป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เด็กบางคนอาจยังไม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแบ่งปัน จึงยังคงมีความรู้สึกหวงของและแย่งชิงของเล่นอยู่เสมอ อีกทั้งเด็กบางคนก็อาจมีอาการดื้อและไม่เชื่อฟัง คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการที่เหมาะสมสำหรับลูกน้อยวัย 29 เดือน เพื่อให้สามารถดูแลลูกน้อยได้อย่างเหมาะสมกับวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ ลูกน้อยวัย 29 เดือน การต่อสู้เพื่อแย่งชิงของเล่น มักจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กในวัยนี้ เมื่อเด็ก 2 คนเล่นด้วยกัน การหวงของเล่นหรือการแบ่งปันของเล่น เป็นทักษะที่ยังไม่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของเด็กในวัยนี้ พัฒนาการเด่น ๆ ของเด็กในวัยนี้คือการทำอะไรซ้ำ ๆ เช่น ลูกน้อยอาจต้องการกินอะไรซ้ำแล้วซ้ำอีก สวมเสื้อผ้าแบบเดิม ทำอะไรแบบเดียวกัน นั่นแสดงว่าเขากำลังพยายามทำความเข้าใจกับโลกใบนี้ และรักษาบางสิ่งบางอย่างไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นั่นเป็นวิธีที่เขาใช้ฝึกการควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เด็กกำลังทำอะไรเพื่อให้ตนเองรู้สึกสบายใจ เด็กในช่วงวัยนี้ จะมีการพัฒนาวิธีการคิดที่เรียกว่า การแสดงเชิงพื้นที่หรือการคิดเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งก็หมายความว่าเด็กสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ภายในใจตนเองได้ เมื่อเด็กมีประสบการณ์หรือมีความเคยชิน ก็จะทำให้เกิดความเชื่อมโยงกับสมอง และสามารถมองเห็นภาพนั้นได้ชัดเจนขึ้น เช่น ตุ๊กตาหมีที่หายไปมีรูปร่างหน้าตายังไง จะไปบ้านคุณยายได้ยังไง อาหารที่กินไปเมื่อวานนี้เป็นยังไง ลูกน้อยควรเตรียมตัวอย่างไร เด็กในวัยนี้อาจมีการทะเลาะกัน หรือไม่เข้าใจกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างเด็ก ควรปฎิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างของการแบ่งปันและการให้ อาจใช้คำว่า […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 28 เดือน การเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ควรรู้

ลูกน้อยวัย 28 เดือน [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของลูกน้อยวัย 28 เดือน ลูกน้อยควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง ไม่ว่าลูกของคุณจะเป็นเด็กที่ชอบเข้าสังคมหรือเก็บตัวเงียบ เขาก็จะเริ่มแสดงความสนใจในเด็กคนอื่นเพิ่มมากขึ้น มิตรภาพครั้งแรกจะเป็นมิตรภาพที่แท้จริงสำหรับเด็ก และมีส่วนช่วยให้เด็กวัยก่อนเข้าเรียนได้ฝึกทักษะการเข้าสังคม และช่วยทำให้การเล่นของเขามีความหลากหลายขึ้นด้วย ถ้าลูกน้อยอยู่ในการดูแลของศูนย์รับเลี้ยงเด็กในช่วงกลางวัน เด็กอาจได้เล่นสนุกกับเพื่อนมากขึ้น เด็กก่อนวัยเรียนดูเหมือนจะเรียนรู้ได้เยอะและเร็ว แล้วถ้าลูกน้อยมีพรสวรรค์จะสังเกตเห็นในวัยนี้ไหม? ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้บอกว่า บางครั้งก็อาจเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเด็กสามารถเรียนรู้ได้เร็วกว่าเด็กในวัยเดียวกัน แต่ก็มีหลายคนที่ยังไม่ส่งสัญญาณว่ามีพรสวรรค์ออกมาจนกว่าจะเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษา ลูกน้อยสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ตอนนี้เขาสามารถเล่นกับข้าวของอันเล็กๆ ได้ง่าย และสามารถต่อบล็อคไม้เป็นหอคอยสูงๆ ได้โดยไม่ถล่มลงมา นอกจากนี้ยังมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานขึ้นถึง 20 นาที ลูกน้อยควรเตรียมตัวอย่างไร วิธีช่วยสร้างมิตรภาพให้กับเด็กๆ ได้แก่ จับกลุ่มเป็นกลุ่มเล็กๆ ถ้ามีเด็กมากเกินไปอาจทำให้เกิดความวุ่นวาย และชวนให้ทะเลาะกัน โดยเด็กๆ จะอยู่ร่วมกับเด็กในวัยเดียวกันได้เป็นอย่างดี ฉะนั้นเด็กในวัย 2 ขวบคือเพื่อนเล่นที่ดีที่สุดของลูกน้อย ให้เล่นในช่วงสั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเพื่อนใหม่ ไม่ควรให้เล่นด้วยกันนานเกิน 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการเล่นของเล่น ควรให้เด็กได้วิ่งเล่นนอกบ้าน และเล่นกับสิ่งของรอบตัว อย่างเช่น กล่องใบใหญ่ๆ จะช่วยส่งเสริมให้เด็กๆ มีปฎิสัมพันธ์กันโดยไม่มีการแสดงความเป็นเจ้าของมาเป็นชนวนให้เกิดการทะเลาะกัน ใช้คำว่า “เพื่อน” เมื่อพูดคุยกับลูกเกี่ยวกับเพื่อนๆ และลูกของคุณ สุขภาพและความปลอดภัย จะเกิดอะไรกับลูกน้อยเวลาไปพบคุณหมอ ถ้าคุณเห็นลูกน้อยสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง ก็ไม่ต้องตื่นตระหนกไปล่ะ การสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองเป็นเรื่องปกติมาก และไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกาย มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ หรือไม่ได้หมายความว่าลูกน้อยจะกลายเป็นคนบ้าเซ็กส์ […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 27 เดือน

ลูกน้อยวัย 27 เดือน เริ่มมีพัฒนาการทางสังคมแล้ว จากที่เคยเล่นคนเดียวมาตลอด ตอนนี้ลูกจะเริ่มสนใจเด็กคนอื่น ๆ บ้างแล้ว ถึงแม้พวกเด็ก ๆ จะไม่ได้ตอบโต้กันในระหว่างที่เล่น แต่พวกเขาจะรับรู้ได้ว่ามีกันและกันอยู่ตรงนั้นด้วย นอกจากนั้น พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กในวัยนี้จะโดดเด่นมาก คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมให้ถูกทาง [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ ลูกน้อยวัย 27 เดือน  ลูกน้อยควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง  ลูกน้อยวัย 27 เดือนสามารถเรียนรู้ภาษาได้ง่ายขึ้น เนื่องจากสมองของเด็กในช่วงอายุ 2-3 ขวบ มีการเชื่อมต่อเส้นประสาทใหม่ ๆ กันแบบเต็มพิกัด เด็กที่เติบโตในครอบครัวที่พูดกันสองภาษา ดูเหมือนจะรู้คำศัพท์น้อยกว่าในแต่ละภาษา แต่จำนวนคำศัพท์โดยรวมนั้นก็ใกล้เคียงกับเด็กที่พูดภาษาเดียว นอกจากนี้ การพูดสองภาษายังแสดงให้เห็นว่า จะได้รับประโยชน์ทางด้านสติปัญญาด้วย บางครั้งก็ดูเหมือนว่าลูกน้อยมีสมาธิที่แน่วแน่ และมีแววเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้ แต่ในความจริงแล้ว เด็กแค่มีพัฒนาการบางอย่าง เพื่อที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำแล้วซ้ำอีกเท่านั้นเอง นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเด็กถึงอดที่จะปีนป่ายไม่ได้ ทั้งๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ย้ำแล้วย้ำอีกว่าอย่าทำ ลูกน้อยควรเตรียมตัวอย่างไร ถ้าลูกน้อยเติบโตในครอบครัวที่พูดสองภาษา วิธีที่ดีที่สุดในการส่งเสริมให้ลูกน้อยเรียนภาษาก็คือ ให้ลูกน้อยได้พูดกับเจ้าของภาษาจริง ๆ การฝึกพูดตามเสียงเจ้าของภาษาในแผ่นซีดี หรือการเข้าคลาสเรียนภาษาสัปดาห์ละครั้งนั้นอาจไม่ค่อยได้ผลนัก สุขภาพและความปลอดภัย   จะเกิดอะไรกับลูกน้อยเวลาไปพบคุณหมอ ถ้า ลูกน้อยวัย 27 เดือน ยังมีพัฒนาการด้านการพูดไม่ถึงเกณฑ์ ผู้ปกครองไม่ต้องกังวลกับเหตุการณ์นี้ เพราะแม้แต่เด็กในวัยก่อนเข้าเรียนก็สามารถมีพัฒนาการช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกันได้ ตราบใดที่ลูกมีพัฒนาการทางด้านภาษาในทุก ๆ เดือน ก็ไม่มีอะไรที่ต้องเป็นห่วง อย่างไรก็ตาม หากรู้สึกเป็นกังวลกับความสามารถของลูกน้อย […]


เด็กทารก

การคลาน กับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรป้องกัน

การคลาน เป็นหนึ่งในการพัฒนาของทารก เมื่อทารกเริ่มคลายสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังและป้องกันนั่นคือ อุบัติเหตุจากสิ่งต่าง ๆ ภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ ประตู ไฟฟ้า สารเคมี ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงขั้นทำให้ทารกเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ การป้องกันร่างกายก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความใส่ใจ เพื่อช่วยลดแรงกระแทกที่อาจเกิดขึ้นเมื่อทารกคลานไปชนกับสิ่งต่าง ๆ [embed-health-tool-vaccination-tool] การคลาน กับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรป้องกัน สำหรับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวังและป้องกันเมื่อลูกเริ่มคลายได้ อาจมีดังนี้ ป้องกันร่างกาย การป้องกันร่างกายให้กับทารกที่กำลังฝึกคลาน อาจทำได้ด้วยการสวมเสื้อผ้าที่สามารถรองรับแรงกระแทกได้ เพราะถ้าหากว่าทารกคลานไปกระแทกกับบริเวณต่าง ๆ เสื้อผ้าอาจช่วยลดอาการเจ็บปวดได้พอสมควร นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจใช้แผ่นรองเข่า เพื่อช่วยป้องกันร่างกายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ป้องกันประตู การให้ทารกได้ฝึกคลานถือเป็นเรื่องที่ดี แต่เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นหากคลาดสายตาจากคุณพ่อคุณแม่ขณะที่ฝึกคลาน คือ คุณพ่อคุณแม่ควรจะทำคอกกั้นหรือทำการกั้นพื้นที่เพื่อให้ทารกได้ฝึกคลานในบริเวณที่เหมาะสม เพราะหากทารกคลานไปบริเวณรอบๆ  บ้าน ก็อาจมีโอกาสที่จะคลานไปยังห้องอื่น ๆ แล้วถูกขังเอาไว้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องอันตราย นอกจากนี้ หากเจ้าตัวเล็กฝึกคลานอยู่บริเวณชั้นบนของบ้านโดยไม่มีอะไรมากั้น ก็อาจจะทำให้ทารกคลายไปยังบริเวณใกล้ ๆ กับบันได จนอาจพลาดตกลงมาบาดเจ็บ หรืออาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ที่สำคัญที่สุด การทำคอกกั้นหรือทำการกั้นพื้นที่ไม่ควรให้อยู่ใกล้กับประตู เพราะหากคนด้านนอกเปิดประตูเข้ามาก็อาจจะกระแทกกับทารกที่กำลังคลานอยู่ได้ ป้องกันไฟฟ้า เมื่อทารกเล็กเริ่มคลานบางครั้งอาจจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องคลานไปบริเวณที่มีปลั๊กไฟ หรือรูสำหรับเสียบปลั๊กไฟ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องมีการถอดสายไฟทั้งหมดออก รวมถึงอาจจะต้องหาที่บังปลั๊กไฟและรูสำหรับเสียบปลั๊กไฟ เพื่อป้องกันทารกไปเล่นกับไฟฟ้านั่นเอง ป้องกันสารเคมี สารเคมีส่วนใหญ่ที่ทารกอาจไปเล่นได้โดยไม่รู้ตัว อาจเป็นพวกน้ำยาปรับผ้านุ่ม หรือสารเคมีต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น จึงไม่ควรที่จะเก็บเอาไว้ในตู้ที่อยู่ติดกับพื้น หรือบริเวณที่ต่ำ ๆ […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 26 เดือน

ลูกน้อยวัย 26 เดือน เป็นช่วงที่ลูกมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในช่วงนี้ลูกจะเริ่มใช้มือข้างใดข้างหนึ่งในการกินอาหาร เอื้อมมือหยิบของ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มสังเกตได้ว่าลูกถนัดมือซ้ายหรือมือขวา นอกจากนี้ ลูกจะเริ่มเรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรค่อย ๆ สอนคำศัพท์ใหม่ ๆ ให้ลูก เพื่อส่งเสริมด้านการเรียนรู้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ ลูกน้อยวัย 26 เดือน  ลูกน้อยควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง ในช่วงเวลานี้ คุณแม่อาจปวดศีรษะเนื่องจากลูกอาจจะชอบกัดเวลาที่โกรธหรือรู้สึกถูกคุกคาม ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นผลมาจากการที่เด็กมีปัญหาในการสื่อสารอารมณ์ ในปีที่ผ่านมา คุณแม่อาจสังเกตเห็นลูกน้อยเริ่มใช้มือข้างใดข้างหนึ่งในการทำสิ่งต่าง ๆ เช่น เวลากินอาหาร หรือเอื้อมหยิบอะไร (ทารกมักใช้มือทั้งสองข้างสลับกัน) ซึ่งในปีต่อไปหลังจากนี้ เด็กจะเริ่มมีการใช้มือข้างที่ถนัดมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงสามารถที่จะรู้ได้อย่างแน่นอนแล้วว่าลูกเป็นคนถนัดซ้ายหรือถนัดขวา ลูกน้อยควรเตรียมตัวอย่างไร ถึงแม้จะเข้าใจได้ว่าทำไมลูกถึงต้องกัด แต่การกัดก็ไม่ใช่พฤติกรรมที่ดีนัก ฉะนั้นจึงควรพูดให้ลูกน้อยรับรู้ว่า นั่นเป็นพฤติกรรมที่ไม่ควรทำ โดยพูดด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่นและสงบ เช่น “ห้ามกัด การกัดทำให้คนอื่นรู้สึกเจ็บนะ” จากนั้นก็หันไปปลอบโยนเด็กที่โดนกัด การดุด่าว่ากล่าวคนกัดในตอนนี้ ก็เหมือนเป็นการให้ท้ายว่าเขาไม่ควรทำการเรียกร้องความสนใจแบบนี้อีกในครั้งต่อไป ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กกล่าวว่า เด็กในวัย 2 ขวบนั้นเหมาะจะ “จับเข้ามุม” เพื่อเป็นการลงโทษได้แล้ว เนื่องจากเด็กโตพอที่จะสามารถเข้าใจถึงสาเหตุและผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งเคล็ดลับในการ “จับเข้ามุม” ให้สำเร็จนั้นก็ได้แก่… […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 33 เดือน มีพัฒนาการอย่างไรบ้าง

ลูกน้อยวัย 33 เดือน เป็นวัยที่สมองกำลังพัฒนาอย่างเต็มที่ เป็นช่วงวัยที่กำลังจะก้าวพ้นวัยเตาะแตะ ลูกน้อยจะมีเรื่องเล่าที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่ประหลาดใจอยู่เสมอ และอาจหยิบสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมาเล่าเรื่อง และเริ่มเรียนรู้ที่จะรู้จักสิ่งต่าง ๆ ความมืด ความกลัว สนใจอยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัวโดยเฉพาะเมื่ออยู่นอกบ้าน นอกจากนั้น ยังสามารถเริ่มเรียนรู้ด้านวิชาการ อ่าน เขียน นับเลข [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรม ลูกน้อยวัย 33 เดือน ควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง เด็กวัยนี้เริ่มมีจินตนาการแสนบรรเจิด ลูกน้อยจะมีเรื่องเล่าทั้งสัตว์ประหลาด มังกร ภูติผี หรือสิ่งลึกลับต่าง ๆ ทักษะการนับเลขจะเกิดขึ้นเมื่อลูกน้อยเริ่มนับก้าวเดินของตัวเอง แรกเริ่มเลยนั้นเด็กจะเริ่มจากหนึ่งและมากกว่าหนึ่ง (ไม่ว่าจะเป็น 2 หรือ 6 ก็ตาม) เด็กในวัย 2 ขวบจะนับได้แค่ 2 และจากนั้นเมื่ออายุสามขวบก็จะนับได้ถึง 3 แต่ถ้าลูกน้อยสามารถนับได้ถึง 10 เขาก็อาจจะยังไม่เข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร และอาจระบุจำนวนตามที่เขาตั้งชื่อเอาไว้ คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมตัวอย่างไร ลูกน้อยวัย 33 เดือน เป็นวัยที่พ่อแม่ควรให้ความใส่ใจและสนใจในเรื่องที่เขาพูด เพื่อทำให้เขารู้สึกว่าสิ่งที่เขาคิดค้นหรือค้นพบนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เป็นการส่งเสริมจินตนาการไปพร้อม ๆ กัน ได้แก่ หากลูกพูดถึงความกลัว คนในครอบครัวควรให้ความสนใจกับความกลัวนั้นอย่างจริงจัง อย่าทำเป็นเรื่องเล็กน้อย […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 32 เดือน การเจริญเติบโต พัฒนาการ และวิธีดูแล

ลูกน้อยวัย 32 เดือน เป็นช่วงวัยที่มีการเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เด็ก ๆ เริ่มที่จะสื่อสารและเข้าใจอารมณ์ต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนขึ้น สามารถเริ่มเล่นบทบาทสมมติ เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง และรู้จักคิดมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรหากิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนให้ลูกได้ฝึกพัฒนาตนเองในทุก ๆ วัน [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ ลูกน้อยวัย 32 เดือน  ลูกน้อยควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง เมื่อลูกน้อยมีอายุได้ 3 ขวบ พัฒนาการด้านภาษาโดยเฉพาะการพูด ฟัง อ่าน เขียน จะเริ่มชัดขึ้น โดยเริ่มสนใจการเล่นเป็นบทบาทสมมติ ตุ๊กตารูปสัตว์ต่าง ๆ จะไม่เพียงเป็นตุ๊กตาที่เอาไว้กอดอีกต่อไปแล้ว แต่จะเป็นของเล่นที่มีชีวิตจริง ๆ และมีชื่อ มีครอบครัว ต้องการอาหาร อาบน้ำ และไปร่วมปาร์ตี้น้ำชากับลูกน้อยด้วย ผ้าเช็ดตัวบนหลังลูกน้อยอาจทำให้กลายเป็นซุปเปอร์ฮีโร่ขึ้นมาทันที ซึ่งมีเรื่องราวในการเดินทางหรือการผจญภัยตามมาด้วย ลูกน้อยจะเริ่มบรรยายความคิดและจินตนาการขณะที่เล่นอยู่ด้วย และสามารถสร้างบทสนทนาและใช้คำพูดโต้ตอบได้เร็วขึ้น ควรช่วยส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยอย่างไร หนังสือบทกลอนหรือคำคล้องจอง วิธีที่จะช่วยเสริมพัฒนาการทางการใช้ภาษาก็คือการใช้บทกวี บทกลอน นิทานหรือเรื่องราวที่มีสัมผัสคล้องจอง และการเล่นคำ จะทำให้ลูกน้อยเข้าใจความแตกต่างของคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน และช่วยเพิ่มคำศัพท์ให้ลูกน้อย นอกจากนี้ ยังช่วยให้เกิดความจำจากการฟัง ช่วยเพิ่มทักษะการอ่านหนังสือ และช่วยสร้างพัฒนาการทางด้านจังหวะดนตรีด้วย รูปภาพของตัวอักษรบทกวีที่ได้ยินเป็นประจำ จะกลายเป็นภาพที่คุ้นเคยและสิ่งที่น่าหลงใหล นอกจากนั้น […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

เด็กอายุ 30 เดือน การเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ควรรู้

เด็กอายุ 30 เดือน มักมีพฤติกรรมที่คาดเดาได้ยาก เช่น กลายเป็นเด็กดื้อ ทั้งที่เคยเชื่อฟังคุณพ่อคุณแม่ แต่เด็กวัยนี้ก็เริ่มใช้นิ้วมือได้ชำนาญขึ้นแล้ว คุณพ่อคุณแม่จึงอาจฝึกกล้ามเนื้อมือไปพร้อม ๆ กับพัฒนาการทางความคิดและจินตนาการได้ด้วยการวาดรูป ทั้งนี้ หากสังเกตพบว่าเด็กอายุ 30 เดือนมีพัฒนาการผิดปกติ ควรรีบพาไปพบคุณหมอทันที การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ เด็กอายุ 30 เดือน ลูกน้อยควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง คุณคงคาดเดาพฤติกรรมของ ลูกน้อยวัย 30 เดือน ในเวลานี้ไม่ได้สักเท่าไหร่ เช่น เด็กน้อยที่เคยนอนกรนตลอดคืนจะเริ่มลุกขึ้นมาตอนตี 3 หรือลูกน้อยที่เคยเชื่อฟังมาตลอด ก็กลายเป็นเด็กที่ชอบเหวี่ยงวีน ดื้อ และไม่สามารถควบคุมได้ และจู่ ๆ ลูกน้อยที่เพิ่งถูกฝึกให้เข้าห้องน้ำก็ซุ่มซ่ามจนเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาเสียนี่ เด็กก่อนวัยเรียนมีตาและหูที่เก็บรายละเอียดได้อย่างเหลือเชื่อ เพราะมีสิ่งใหม่ ๆ ให้เขาต้องเรียนรู้มากมาย เขาถูกปรับให้เข้ากับเสียง สีสัน ขนาด และการเคลื่อนไหว ที่คุณอาจจะปรับแบบเขาไม่ได้ ฉะนั้นไม่ประหลาดใจล่ะถ้าได้ยินเขาอ้างถึง “แมวตัวนั้นที่ร้องเหมียว ๆ” หรือ “รองเท้าสีฟ้าของหนู” ในไม่ช้าคุณจะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านการขีดเขียน เมื่อเจ้าตัวเล็กเรียนรู้ที่จะทำเครื่องหมายบนกระดาษ (ในวัยประมาณ 12-15 เดือน) ซึ่งเขาสามารถคว้าสีเทียนไปขีดเป็นเส้นตรงและเส้นเกลียวได้ด้วยการตวัดข้อมือไปมา เมื่อถึงวัยประมาณ 2 ขวบครึ่ง นิ้วมือของเขาจะพัฒนาจนเกิดความชำนาญ […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 31 เดือน การเตรียมตัวและการดูแลสุขภาพ

ลูกน้อยวัย 31 เดือน หรือประมาณ 2 ปีกว่า ๆ เป็นช่วงวัยที่เด็กกำลังซนและพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบข้างอยู่เสมอ ในช่วงนี้เด็กอาจสามารถแสดงอารมณ์บางส่วน เช่น พูด หัวเราะ ยิ้ม ออกมา รวมถึงบางคนอาจมีท่าทีรุนแรงเมื่อไม่ได้ดั่งใจ ดังนั้น จึงควรดูแลแมวให้ดีเพราะบางคนอาจมีอาการแพ้ขนแมวได้เลย [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] การเจริญเติบโตและพฤติกรรม ลูกน้อยควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง จากคำศัพท์ทั้งหมดที่เขาเรียนรู้ในปีนี้ ดูเหมือนจะมีอยู่คำเดียวที่ชื่นชอบมาก นั่นก็คือคำว่า “ไม่” สาเหตุที่เด็กก่อนวัยเรียนพูดคำว่า “ไม่” เพราะกำลังค้นพบความเป็นอิสระในการแสดงความคิดเห็นของตัวเอง (บางครั้งเขาจะพูดว่า “ไม่” ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วลูกต้องการจะบอกว่า “ใช่”) บางครั้งลูกจะใช้คำว่า “ไม่” เพียงเพราะว่าเขารู้สึกโกรธ ผิดหวัง และดิ้นรนต่อสู้ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับ เด็กก่อนวัยเรียนอาจเรียนรู้ว่า หากลูกพูดให้ดังและฟังดูมีพลังได้มากพอ คุณพ่อคุณแม่ก็จะให้ความสนใจหรือให้ในสิ่งที่ลูกต้องการก็ได้ ลูกน้อยควรเตรียมตัวอย่างไร ให้ตัวเลือกแก่ลูกน้อยและฝึกเขาใช้ทางเลือกอื่น “อะไรคือคำตรงกันข้ามของคำว่า “ไม่?” “ใช่!” “ลูกอาจพูดว่า ‘ไม่’ หรืออาจพูดว่า ‘ใช่’ ก็ได้ หรือลองเดาซิว่าคำอะไรอยู่ระหว่างกลาง? ลูกอาจพูดว่า ‘อาจจะ’” นอกจากนี้ ก็ส่งเสริมให้เขาตอบด้วยเสียงเรียบ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน