โภชนาการเพื่อสุขภาพ

"You are what you eat" อาหารที่คุณรับประทาน มีความสำคัญอย่างมาก ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการเพื่อสุขภาพ อยู่มากมาย ดังนั้น การแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม

สมุนไพรลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะสารสกัดในสมุนไพรบางชนิดอาจช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เพื่อความปลอดภัยควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคทุกครั้ง [embed-health-tool-bmi] สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม ขมิ้นชัน สรรพคุณ สารเคอร์คูมิน (Curcumin) ในขมิ้นชัน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล มีสรรพคุณช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ระบบการเผาผลาญภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมุนไพรขมิ้นชันจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ผลข้างเคียง หากรับประทานขมิ้นชันในปริมาณสูงติดต่อกัน อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน  ขิง สรรพคุณ สารซิงเจอโรน (Zingerone) ในขิง เป็นสารประกอบที่มีรสชาติเผ็ดร้อน ดังนั้นจึงมีความสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมได้ อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้สามารถควบคุมปริมาณในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม ผลข้างเคียง ขิงเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้  แนะนำรับประทานไม่เกินวันละ 4 กรัม และในสตรีมีครรภ์ไม่เกินวันละ 1 กรัม  ส้มแขก สรรพคุณ หลายคนมักรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากส้มแขก เนื่องจากส้มแขกมีกรดมีกรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric Acid: HCA) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการเผาผลาญไขมันภายในร่างกาย และยังมีสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้รู้สึกหิวน้อยลง  ผลข้างเคียง เวียนศีรษะ ปากแห้ง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย  เม็ดแมงลัก […]

หมวดหมู่ โภชนาการเพื่อสุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ โภชนาการเพื่อสุขภาพ

ข้อมูลโภชนาการ

ประโยชน์ของคอลลาเจน และข้อควรระวังในการบริโภค

คอลลาเจน (Collagen) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งในร่างกาย โดยเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้กล้ามเนื้อ ผม เล็บ กระดูก ผิวหนัง แข็งแรงและสุขภาพดี ทั้งนี้ ร่างกายมนุษย์มักผลิตคอลลาเจนได้น้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น ส่งผลให้โครงสร้างของผม เล็บ กระดูก และผิวหนังเสื่อมโทรม เปราะบาง แตกหักง่าย โดยร่างกายสามารถเสริมสร้างคอลลาเจนได้ด้วยการบริโภคอาหารที่อุดมด้วยคอลลาเจน เช่น ปลา ไก่ ไข่ขาว ถั่วเหลือง มะเขือเทศ นอกจากนั้น ปัจจุบันมีการพัฒนาคอลลาเจนให้อยู่ในรูปแบบอาหารเสริม ซึ่งช่วยทดแทนจำนวนคอลลาเจนที่ไม่เพียงพอในร่างกายได้ ทั้งนี้ มีงานวิจัยหลายชิ้นที่สนับสนุนเกี่ยวกับ ประโยชน์ของคอลลาเจน เช่น อาจช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ ลดการสูญเสียมวลกระดูก ช่วยบำรุงผิวหนังให้แข็งแรงและสุขภาพดีอ่อนกว่าวัย [embed-health-tool-bmr] คอลลาเจน คืออะไร คอลลาเจน เป็นโปรตีนเส้นใยที่มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นสูงกว่าโปรตีนชนิดอื่น ๆ ในร่างกาย โดยเป็นองค์ประกอบหลักของผิวหนัง กระดูก กล้ามเนื้อ ข้อต่อ เส้นเอ็น เล็บ ขน ทำหน้าที่ช่วยยึดเกาะเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆ โดยมีไฟโบรบลาสต์ (Fibroblast) หรือเซลล์สร้างเส้นใย ทำหน้าที่สร้างและรักษาระดับคอลลาเจนในร่างกาย ทั้งนี้ เมื่ออายุมากขึ้น การทำงานของไฟโบรบลาสต์จะเสื่อมสภาพลง ส่งผลให้ผลิตคอลลาเจนได้ในปริมาณน้อยลง ร่างกายจึงเผชิญกับความเสื่อมโทรมและถดถอยในรูปแบบต่าง […]


ข้อมูลโภชนาการ

เห็ดหลินจือ ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

เห็ดหลินจือ หรือเห็ดหมื่นปี หรือ เห็ดจวักงู เป็นเห็ดชนิดหนึ่งที่ชาวจีนนิยมบริโภคเพื่อใช้บรรเทาอาการป่วย หรือใช้เป็นยาอายุวัฒนะมานานกว่า 4,000 ปี เติบโตได้ดีในประเทศที่มีสภาพอากาศร้อนชื้น เห็ดหลินจือประกอบไปด้วยสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุนานาชนิด เช่น โปรตีน วิตามินบีรวม วิตามินดี กรดอะมิโน สารต้านอนุมูลอิสระ ในปัจจุบัน มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นสนับสนุนว่า เห็ดหลินจือ อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ เช่น ช่วยต้านมะเร็ง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตาม การบริโภคเห็ดหลินจือในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น มึนงง ปากแห้ง ปวดท้อง คลื่นไส้ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ เห็ดหลินจือ เห็ดหลินจือ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 35 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ ใยอาหาร 3 กรัม โปรตีน 3 กรัม โพแทสเซียม 432 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 225 […]


ข้อมูลโภชนาการ

ชาหมัก คืออะไร พร้อมประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

ชาหมัก (Kombucha) เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่นิยมบริโภคอย่างแพร่หลาย หลายคนอาจเลือกบริโภคชาหมักแทนน้ำอัดลมและโซดาทั่วไป โดยชาหมักประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เช่น มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และอาจมีฤทธิ์ต้านจุลชีพได้ ทั้งนี้ แม้ชาหมักจะมีประโยชน์แต่ก็ควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมและควรบริโภคชาหมักที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน ไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค เนื่องจากการดื่มชาหมักที่ไม่มีคุณภาพอาจเสี่ยงเกิดอาการปวดท้อง หรือท้องเสียได้ [embed-health-tool-bmi] ชาหมัก คืออะไร ชาหมักเป็นชาที่ได้จากการนำชาดำหรือชาเขียวไปผสมกับเชื้อจุลินทรีย์ ยีสต์ และน้ำตาล แล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน กระบวนการหมักจะทำให้มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมากสะสมอยู่ในชา ทำให้ชามีฟอง ซ่าเล็กน้อย และมีรสเปรี้ยวอมหวาน ปัจจุบันการบริโภคชาหมักได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะเชื่อว่าเป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ มักดื่มเพื่อช่วยในการย่อยอาหาร ขับสารพิษออกจากร่างกาย ซึ่งเป็นสรรพคุณที่อาจมาจากโปรไบโอติก (Probiotics) หรือจุลินทรีย์ที่อยู่ในชาหมักที่เกิดจากการหมักชานั่นเอง คุณค่าทางโภชนาการของชาหมัก ชาหมักปริมาณ 355 มิลลิลิตร ให้พลังงานประมาณ 60 กิโลแคลอรี่ มีคาร์โบไฮเดรต 14 กรัม (แบ่งเป็นน้ำตาล 13 กรัม) และโซเดียม 3.6 กรัม อีกทั้งยังอุดมไปด้วยสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและช่วยต้านอนุมูลอิสระที่อาจทำลายเซลล์ในร่างกาย อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง และโรคอัลไซเมอร์ได้ ประโยชน์ต่อสุขภาพของ ชาหมัก ชาหมักอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพของชาหมัก ดังนี้ มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ในกระบวนการหมัก ยีสต์จะย่อยสลายน้ำตาลในชาและปล่อยแบคทีเรียโปรไบโอติกออกมา […]


โภชนาการพิเศษ

โรคตับอักเสบ ห้ามกินอะไร และวิธีดูแลตัวเองที่เหมาะสม

เมื่อป่วยเป็น โรคตับอักเสบ ห้ามกินอะไร อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย เนื่องจากโรคตับอักเสบเป็นโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบของตับ เนื้อเยื่อตับถูกทำลาย และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง ผู้ป่วยจึงควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่อาจเพิ่มการอักเสบของตับและทำให้ตับทำงานหนักขึ้น เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ อาหารที่มีน้ำตาลและเกลือสูง รวมทั้งอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุก โรคตับอักเสบ ห้ามกินอะไร ผู้ป่วยโรคตับอักเสบอาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการกินอาหารบางชนิดที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพตับ และอาจทำให้โรคตับอักเสบมีอาการที่รุนแรงขึ้น ดังนี้ อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ การกินอาหารที่มีไขมันสูงโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและอาจกลายเป็นโรคอ้วนได้ ซึ่งอาจทำให้ไขมันเข้าไปสะสมในเซลล์ตับมากขึ้นและทำให้ตับบวมจนกลายเป็นโรคไขมันพอกตับ เมื่อเวลาผ่านไปอาจส่งผลให้เนื้อเยื่อตับแข็งตัวและเป็นแผลเป็น ซึ่งอาจทำให้ภาวะตับอักเสบรุนแรงขึ้น จนนำไปสู่โรคตับแข็งได้ ตัวอย่างอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ ได้แก่ เนื้อสัตว์ติดมันและติดหนัง ครีมเทียม ขนมกรุบกรอบ อาหารทอด ขนมเบเกอรี่ต่าง ๆ อาหารแปรรูป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารปรุงสำเร็จแช่แข็ง อาหารที่มีน้ำตาลสูง การกินอาหารที่มีน้ำตาลสูงอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพตับ เนื่องจากร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลส่วนเกินไปเป็นไขมันซึ่งหากไปสะสมที่ตับมากเกินไปจะทำให้ตับอักเสบในที่สุด นอกจากนี้ การกินน้ำตาลในปริมาณมากยังอาจส่งผลให้ร่างกายเกิดการอักเสบเรื้อรัง และอาจก่อให้เกิดโรคอีกหลายชนิด เช่น โรคเบาหวานชนิดที่  2 โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนมเบเกอรี่ต่าง ๆ น้ำอัดลม น้ำหวาน นมหวาน น้ำผลไม้เติมน้ำตาล น้ำตาลทรายขาว น้ำเชื่อม อาหารที่มีเกลือสูง การกินเกลือในปริมาณมากนอกจากจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงแล้ว ยังอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพตับด้วย แม้จะยังไม่ทราบกลไกการเกิดภาวะตับอักเสบที่แน่ชัด […]


ข้อมูลโภชนาการ

น้อยหน่า ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

น้อยหน่า เป็นผลไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในแถบประเทศเขตร้อน ในประเทศไทยมักพบน้อยหน่าในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะจังหวัดนครราชสีมา เป็นแหล่งปลูกน้อยหน่าที่มีชื่อเสียง แบ่งเป็นพันธุ์เนื้อและพันธุ์หนัง ผลน้อยหน่ามีลักษณะเป็นทรงกลม ผิวขรุขระ เปลือกสีเขียว เป็นตา ๆ ส่วนเนื้อข้างในเป็นสีขาวให้รสหวานเมื่อสุก ขณะที่เมล็ดเป็นสีดำ น้อยหน่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพเพราะประกอบไปด้วยสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ เช่น ไฟเบอร์ วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 แมกนีเซียม โดยมีผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนว่า การบริโภคน้อยหน่าอาจมีประโยชน์ต่อร่างกายในหลาย ๆ ด้าน เช่น ช่วยบำรุงสายตา ต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาว ป้องกันโรคท้องผูก [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ น้อยหน่า น้อยหน่า 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 101 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 25.2 กรัม โปรตีน 1.7 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม โพแทสเซียม 382 มิลลิกรัม แคลเซียม 30 มิลลิกรัม […]


ข้อมูลโภชนาการ

ใบหม่อน ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

ต้นหม่อน (Mulberry) เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีใบขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม ขอบใบหยัก ซึ่งนอกจากจะเป็นแหล่งอาหารของตัวไหมแล้ว คนยังนิยมนำ ใบหม่อน มาตากแห้งและทำเป็นเครื่องดื่มแก้กระหายและบำรุงสุขภาพ รวมถึงนำใบหม่อนไปสกัดเป็นอาหารเสริม เนื่องจากอาจมีสรรพคุณในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต มีฤทธิ์ต้านการอักเสบของเซลล์ในร่างกาย และอาจช่วยเสริมสร้างสุขภาพหัวใจ ทั้งนี้ ควรบริโภคใบหม่อนในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น ท้องอืด ท้องเสีย อาการแพ้ ประโยชน์ต่อสุขภาพของ ใบหม่อน หม่อนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ทั้ง ใบ ราก ผล กิ่ง เมล็ด โดยเฉพาะ  มีทั้งสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น สารดีเอนเจ (DNJ) โพลีฟีนอล (Polyphenols) เควอซิติน (Quercetin) แคมพ์เฟอรอล (Kaempferol) รูติน (Rutin) ที่ช่วยในการต้านการอักเสบ ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จึงอาจป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพของ ใบหม่อน ดังนี้ อาจลดระดับน้ำตาลในเลือดและอินซูลินได้ ใบหม่อน มีสารกลุ่มอัลคาลอยด์ (Alkaloids) ได้แก่ สาร 1-ดีออกซีโนจิริไมซิน(1-deoxynojirimycin) หรือที่เรียกว่าสารดีเอนเจ  ที่มีกลไกยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อัลฟากลูโคซิเดส […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

เราควร ดื่มน้ำวันละกี่ลิตร และเคล็ดลับการดื่มน้ำให้มากขึ้น

ร่างกายมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 60% ของน้ำหนักตัวทั้งหมด น้ำช่วยในการนำสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ และช่วยให้ระบบภายในร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ จึงถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากต่อสุขภาพโดยรวมของทุกคน ทุกคนจึงควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงอาจเกิดคำถามว่า เราควร ดื่มน้ำวันละกี่ลิตร ซึ่งปริมาณน้ำที่แนะนำโดยทั่วไปอยู่ที่ 8-10 แก้ว/วัน และอาจมีปัจจัยบางประการที่ทำให้ต้องดื่มน้ำมากขึ้นหรือน้อยลง เช่น การออกกำลังกาย การตั้งครรภ์ การให้นมบุตร หากดื่มไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ภาวะช็อกจากการขาดน้ำ ที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต [embed-health-tool-bmi] เราควร ดื่มน้ำวันละกี่ลิตร ปริมาณในการบริโภคน้ำที่แนะนำสัมพันธ์กับความต้องการน้ำของร่างกาย โดยปริมาณน้ำที่ควรดื่มในแต่ละวัน (แก้วละ 200 มิลลิลิตร) สามารถแบ่งตามช่วงอายุได้ดังนี้ ทารกอายุ 0-5 เดือน ควรกินนมแม่เป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียว ทารกอายุ 6-11 เดือนควรดื่มน้ำหรือของเหลวอย่างน้อย 0.8-1.2 ลิตร หรือ 4-6 แก้ว เด็กอายุ 1-3 ปี ควรดื่มน้ำหรือของเหลวอย่างน้อย 1-1.5 ลิตร หรือ 5-8 แก้ว/วัน เด็กอายุ 4-5 ปีควรดื่มน้ำหรือของเหลวอย่างน้อย 1.3-1.95 ลิตร […]


ข้อมูลโภชนาการ

Omega 3 ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

Omega 3 (โอเมก้า 3) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนที่พบได้ในพืช น้ำมันพืช ปลาและสัตว์ทะเล ซึ่งกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นไขมันดีที่อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ อาจช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมอง ส่งเสริมสุขภาพผิว ป้องกันอาการของโรคหอบหืด ภาวะซึมเศร้า และอาจช่วยลดอาการตึงและปวดข้อได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmr] ประเภทของกรดไขมัน Omega 3 กรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้ กรดแอลฟาไลโนเลนิก (α-Linolenic Acid หรือ ALA) เป็นชนิดไขมันไม่อิ่มตัวที่พบได้ในพืชและน้ำมันพืช เช่น พืชตระกูลถั่วและเมล็ดพืชต่าง ๆ ธัญพืช วอลนัท เมล็ดเจีย น้ำมันคาโนล่า น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ อาจมีประโยชน์ในการพัฒนาสมองด้านการเรียนรู้และการจดจำ รวมถึงอาจช่วยพัฒนาจอประสาทตาของทารกและเด็กเล็ก กรดไอโคซาเพนตาอีโนอิกหรือกรดไขมันอีพีเอ (Eicosapentaenoic Acid หรือ EPA) เป็นไขมันไม่อิ่มตัวที่อาจพบได้ในปลาและสัตว์ทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน อาจมีประโยชน์ในการช่วยต้านการอักเสบ อาจช่วยบำรุงผิว ช่วยลดเลือนริ้วรอย […]


ข้อมูลโภชนาการ

Zinc ช่วยอะไร และมีผลข้างเคียงอย่างไร

หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า Zinc ช่วยอะไร Zinc (ซิงค์) หรือสังกะสี เป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย เพราะมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ซ่อมแซมเนื้อเยื่อและเซลล์ที่เสียหาย พัฒนาระบบประสาทสัมผัสในการรับรสและกลิ่น โดยสามารถพบแร่สังกะสีได้ในอาหารจำพวกอาหารทะเล เนื้อวัว เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และผักบางชนิด รวมถึงแร่สังกะสีในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อย่างไรก็ตาม การบริโภคแร่สังกะสีมากเกินไปอาจส่งผลข้างเคียง เช่น อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย [embed-health-tool-bmi] Zinc คืออะไร Zinc หรือสังกะสี คือ แร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ในการช่วยเสริมความแข็งแรงให้เซลล์เนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบภูมิคุ้มกัน โดยปกติร่างกายไม่สามารถกักเก็บแร่สังกะสีไว้ได้ และจำเป็นต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น หากร่างกายขาดแร่สังกะสี อาจส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ติดเชื้อได้ง่าย และอาจนำไปสู่การเจ็บป่วยบ่อย บางคนอาจมีอาการผมร่วง รู้สึกเบื่ออาหาร และมีปัญหาด้านการมองเห็น อาหารที่เป็นแหล่งของสังกะสีที่แนะนำให้รับประทาน มีดังต่อไปนี้ หอยนางรม เป็นอาหารที่มีสังกะสีในปริมาณสูง สำหรับหอยนางรมขนาดกลาง 6 ตัว อาจมีสังกะสีประมาณ 32 มิลลิกรัม เนื้อวัว มีสังกะสีสูงรองจากหอยนางรม โดยเนื้อวัว 100 กรัม อาจมีแร่สังกะสีประมาณ44 มิลลิกรัม ปู แบบปรุงสุก 1 ตัว […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

อาหารแคลน้อย ประโยชน์และข้อควรระวัง

อาหารแคลน้อย หรืออาหารแคลอรี่ต่ำ คือ อาหารที่ให้พลังงานน้อย การรับประทานอาหารรูปแบบนี้มักมีจุดประสงค์ในการลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนัก อีกทั้ง อาหารแคลน้อยยังอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคบางชนิด เช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด อย่างไรก็ตาม หากร่างกายได้รับเคลอรี่หรือพลังงานน้อยเกินไปเป็นเวลานานก็อาจทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการได้ อาหารแคลน้อย มีประโยชน์อย่างไร ประโยชน์ของการรับประทานอาหารแคลน้อยที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ อาจมีดังนี้ อาจช่วยลดน้ำหนัก การรับประทานอาหารแคลน้อย อาจช่วยในการลดน้ำหนัก เนื่องจากอาหารแคลน้อยเป็นอาหารที่ให้พลังงานต่ำ และร่างกายสามารถเผาผลาญอาหารเพื่อใช้เป็นพลังงานได้หมด โดยไม่สะสมเป็นไขมันส่วนเกิน เมื่อเทียบกับการรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่หรือพลังงานสูงและไขมันสูง แม้ว่าจะรับประทานในปริมาณที่เท่ากัน เช่น แฮมเบอร์เกอร์เนื้อ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 259 แคลอรี่ สลัดทูน่ากับผัก 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 194 แคลอรี่ จะเห็นได้ว่า ในปริมาณที่เท่ากันแต่กลับให้พลังงานที่แตกต่างกัน ซึ่งสลัดทูน่ากับผักเป็นอาหารแคลน้อยที่อุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมันดี ไฟเบอร์ โพแทสเซียม และอาจช่วยทำให้อิ่มนานขึ้น จึงอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการรับประทานอาหารแคลน้อยอาจช่วยลดน้ำหนักได้ แต่ก็ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม การจำกัดพลังงานมากเกินไปหรือนานเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคจากการขาดสารอาหาร ภาวะมวลกล้ามเนื้อลดลง (หากรับประทานโปรตีนไม่เพียงพอและไม่มีการออกกำลังกาย) ซึ่งการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อส่งผลต่อระบบการเผาผลาญพลังงาน ทำให้ลดน้ำหนักในระยะยาวได้ยากขึ้น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน