โภชนาการเพื่อสุขภาพ

"You are what you eat" อาหารที่คุณรับประทาน มีความสำคัญอย่างมาก ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการเพื่อสุขภาพ อยู่มากมาย ดังนั้น การแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม

สมุนไพรลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะสารสกัดในสมุนไพรบางชนิดอาจช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เพื่อความปลอดภัยควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคทุกครั้ง [embed-health-tool-bmi] สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม ขมิ้นชัน สรรพคุณ สารเคอร์คูมิน (Curcumin) ในขมิ้นชัน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล มีสรรพคุณช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ระบบการเผาผลาญภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมุนไพรขมิ้นชันจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ผลข้างเคียง หากรับประทานขมิ้นชันในปริมาณสูงติดต่อกัน อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน  ขิง สรรพคุณ สารซิงเจอโรน (Zingerone) ในขิง เป็นสารประกอบที่มีรสชาติเผ็ดร้อน ดังนั้นจึงมีความสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมได้ อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้สามารถควบคุมปริมาณในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม ผลข้างเคียง ขิงเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้  แนะนำรับประทานไม่เกินวันละ 4 กรัม และในสตรีมีครรภ์ไม่เกินวันละ 1 กรัม  ส้มแขก สรรพคุณ หลายคนมักรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากส้มแขก เนื่องจากส้มแขกมีกรดมีกรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric Acid: HCA) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการเผาผลาญไขมันภายในร่างกาย และยังมีสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้รู้สึกหิวน้อยลง  ผลข้างเคียง เวียนศีรษะ ปากแห้ง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย  เม็ดแมงลัก […]

หมวดหมู่ โภชนาการเพื่อสุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ โภชนาการเพื่อสุขภาพ

ข้อมูลโภชนาการ

ประโยชน์ของสับปะรด และข้อควรระวังในการบริโภค

สับปะรดเป็นผลไม้เมืองร้อนที่มีรูปร่างของผลเป็นเอกลักษณ์ นิยมนำมารับประทานทั้งแบบสดและแบบประกอบอาหารหรือเครื่องดื่ม เช่น ข้าวผัดสับปะรด ซุปไก่สับปะรดขิง น้ำสับปะรด สับปะรดอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น วิตามินบี วิตามินซี แคลเซียม แมกนีเซียม ประโยชน์ของสับปะรด ต่อร่างกาย เช่น มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ อาจช่วยบรรเทาอาการปวดข้อเข่า ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ทั้งนี้ ควรบริโภคสับปะรดในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ คุณค่าโภชนาการของสับปะรด ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture หรือ USDA) ระบุว่า สับปะรด 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 50 กิโลแคลอรี่ มีน้ำเป็นส่วนประกอบ 86 กรัม และอุดมไปด้วยสารอาหาร  เช่น คาร์โบไฮเดรต 13.1 กรัม น้ำตาลซูโครส 5.99 กรัม โปรตีน 0.54 กรัม ไขมัน 0.12 […]


ข้อมูลโภชนาการ

แอปริคอต ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

แอปริคอต (Apricot) เป็นผลไม้สกุลพรุนที่อุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไฟเบอร์ วิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม โพแทสเซียม   ทั้งยังมีแคลอรี่ต่ำ การบริโภคแอปริคอตจึงอาจส่งผลดีต่อสุขภาพหลายด้าน เช่น ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับตับ ช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหาร เสริมสร้างระบบขับถ่าย ทั้งนี้ ควรบริโภคแอปริคอตในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ คุณค่าโภชนาการของ แอปริคอต ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture หรือ USDA) ระบุว่า แอปริคอตสด 100 กรัม ประกอบด้วยน้ำ 86.4 กรัม ให้พลังงานประมาณ 48 กิโลแคลอรี่ และอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ เช่น คาร์โบไฮเดรต ประมาณ 11 กรัม (แบ่งเป็นไฟเบอร์หรือใยอาหาร 2 กรัม และคาร์โบไฮเดรตชนิดอื่น ๆ เช่น น้ำตาล […]


ข้อมูลโภชนาการ

ข้าวสาลี ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

ข้าวสาลี (Wheat) เป็นธัญพืชที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย มักนำไปแปรรูปเป็นแป้งข้าวสาลี หรือที่เรียกว่า แป้งสาลี เพื่อใช้ประกอบอาหารหลากหลายชนิด เช่น ขนมปัง เค้ก เส้นบะหมี่ เส้นพาสต้า ข้าวสาลีเป็นอีกหนึ่งแหล่งคาร์โบไฮเดรตสำคัญ ทั้งยังอุดมไปด้วยสารอาหารอื่น ๆ ที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ไฟเบอร์ วิตามินเอ วิตามินบี  โพแทสเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ซีลีเนียม หากบริโภคข้าวสาลีในปริมาณที่เหมาะสม อาจเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของจุลินทรีย์ในลำไส้ ช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง ช่วยลดระดับความดันโลหิต เป็นต้น คุณค่าทางโภชนาการของ ข้าวสาลี ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture หรือ USDA) ระบุว่า แป้งข้าวสาลีไม่ขัดสี 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 370 กิโลแคลอรี่ และอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ เช่น คาร์โบไฮเดรต 71.2 กรัม โปรตีน 15.1 กรัม โพแทสเซียม 376 […]


ข้อมูลโภชนาการ

ขมิ้น ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

ขมิ้น เป็นพืชล้มลุกในตระกูลขิง มีเหง้าสีเหลืองสด จัดเป็นเครื่องเทศที่นิยมนำมาใช้ปรุงเป็นส่วนประกอบของเครื่องแกงชนิดต่าง ๆ รวมถึงเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้กันมาอย่างยาวนานโดยเฉพาะในแถบทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย ไทย จีน ญี่ปุ่น ตุรกี ทั้งสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย ผงขมิ้น อาหารเสริม ทั้งนี้ ขมิ้นประกอบไปด้วยสารอาหาร แร่ธาตุ และวิตามินที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น แมงกานีส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินซี โดยสารสำคัญในขมิ้นคือ เคอร์คิวมิน (Curcumin) ซึ่งมีงานวิจัยหลายชิ้นสนับสนุนว่า อาจมีคุณสมบัติช่วยต้านมะเร็ง ลดอาการอักเสบของร่างกาย และป้องกันโรคอัลไซเมอร์ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ ขมิ้น ขมิ้น 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 312 กิโลแคลอรี ประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 67.1 กรัม โปรตีน 9.68 กรัม ไขมัน 3.25 กรัม โพแทสเซียม 2,080 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 299 มิลลิกรัม […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

วิธีลดความอ้วน เพื่อสุขภาพที่ดี ทำได้อย่างไร

ความอ้วน คือ ภาวะร่างกายที่มีไขมันสะสมและมีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 23 ขึ้นไป ที่อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง ไขมันสูงและน้ำตาลสูง ซึ่งส่งผลให้น้ำหนักเพิ่ม และมีการสะสมของไขมัน ดังนั้น เพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ จึงควรศึกษา วิธีลดความอ้วน ที่ถูกต้องและดีต่อสุขภาพที่อาจทำได้โดยการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและการออกกำลังกาย [embed-health-tool-bmi] ทำไมถึงควรศึกษา วิธีลดความอ้วน การลดความอ้วนอาจช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต และมีสุขภาพที่ดีขึ้น เช่น ช่วยให้เคลื่อนไหวคล่องตัว ลดอาการเหนื่อยง่าย อีกทั้งยังอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้ โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นโรคที่อาจเกิดจากภาวะความดันโลหิตสูงหรือหลอดเลือดตีบตัน เนื่องจากไขมันอุดตันในหลอดเลือด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคอ้วนอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถจัดการกับระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเหมาะสม และอาจทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ ไขมันพอกตับ เป็นภาวะที่มีไขมันสะสมในตับมากจนเกินไป ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตับแข็ง ตับวาย หรือมะเร็งตับได้ โรคนิ่วถุงน้ำดี เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบในผู้ที่มีน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วน เนื่องจากถุงน้ำดีมีส่วนช่วยในการย่อยไขมัน จึงอาจทำให้ถุงน้ำดีมีคอเลสเตอรอลสะสมมากเกินไปที่ก่อให้เกิดการแข็งตัวนำไปสู่การเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้ โรคข้อเข่าเสื่อม น้ำหนักตัวที่มากเกินไปอาจทำให้ข้อต่อรับน้ำหนักไม่ไหว และเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ คือ ปัญหาในทางเดินหายใจที่อาจเกิดขึ้นระหว่างนอนหลับ ซึ่งเป็นภาวะที่รุนแรงนำไปสู่การเสียชีวิตระหว่างนอนหลับได้โดยไม่รู้ตัว และเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในผู้ที่มีน้ำหนักมากหรือผู้ที่เป็นโรคอ้วน นื่องจากมีไขมันสะสมบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ทางเดินหายใจแคบกว่าปกติส่งผลให้หายใจลำบาก เสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ โรคโควิด-19 […]


ข้อมูลโภชนาการ

อาหารลดความดันโลหิตสูง มีอะไรบ้าง

ความดันโลหิตสูง หมายถึง ค่าความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ขึ้นไป โดยถือเป็นปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดต่าง ๆ เช่น  โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะสมองเสื่อม ภาวะหัวใจล้มเหลว ทั้งนี้ ระดับความดันโลหิต สามารถควบคุมไม่ให้สูงเกินไปได้ ด้วยการออกกำลังกายให้มากขึ้น เลิกบุหรี่ รวมถึงรับประทาน อาหารลดความดันโลหิตสูง อย่างมะเขือเทศ เมล็ดเจีย หรือผักบุ้ง และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารโซเดียมสูง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว อาหารแปรรูป ซอสปรุงรส เพราะความเค็มจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ [embed-health-tool-bmi] ความดันโลหิตสูง คืออะไร ความดันโลหิตสูง หมายถึง ภาวะที่ค่าระดับความดันโลหิตสูงกว่าระดับที่เหมาะสม หรือตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ขึ้นไป โดยความดันโลหิตสูงเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ อายุ พันธุกรรม ความเครียด โรคอ้วน การไม่ออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การบริโภคเกลือ หรือโซเดียม ในปริมาณมากเกินไป การบริโภคอาหารที่มีโพแทสเซียมน้อยเกินไป การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป การเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น โรคไต ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ทั้งนี้ ความดันโลหิตสูง […]


ข้อมูลโภชนาการ

สมุนไพรไทย สรรพคุณ และข้อควรระวังในการบริโภค

ประเทศไทยเป็นประเทศเขตร้อนที่อุดมไปด้วยพืชพรรณนานาชนิด โดยเฉพาะพืช สมุนไพรไทย เช่น ว่านหางจระเข้ ขิง รางจืด ซึ่งนิยมใช้ยามาแต่โบราณเพราะเชื่อว่ามีสรรพคุณทางยา หากบริโภคเข้าสู่ร่างกายอาจช่วยบรรเทาหรือป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคเหงือกอักเสบ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากที่สนับสนุนคุณสมบัติต่าง ๆ ของสมุนไพรไทยหลายชนิด ประโยชน์ต่อสุขภาพของ สมุนไพรไทย สมุนไพรไทย ประกอบไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพของสมุนไพรไทย ดังนี้ ว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้ เป็นพืชเขตร้อนที่พบได้ทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย มีต้นกำเนิดมาจากคาบสมุทรอาหรับ ลักษณะทั่วไปของว่านหางจระเข้ คือ ลำต้นเป็นปล้อง ใบอวบหนา ขอบใบหยักและมีปลายแหลม ภายในใบมีเนื้อวุ้นและมีเมือกใส ๆ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น หมักผม ขัดผิว พอกหน้า รวมทั้งบริโภคเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ ว่านหางจระเข้มีสารกลุ่มแอนทราควิโนน (Anthraquinones) เช่น อีโมดิน (Emodin) กรดอโลอิติก (Aloetic Acid) อะโลอิน (Aloin) ซึ่งมีประสิทธิภาพต้านจุลชีพและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans) […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

การทํา IF กับประโยชน์และข้อควรระวังที่ควรรู้

การทํา IF หรือ Intermittent Fasting เป็นการจำกัดเวลารับประทานอาหารที่อาจช่วยควบคุมน้ำหนัก และระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม การทำ IF อาจส่งผลให้เกิดอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ นอนไม่หลับ และหิวบ่อย อีกทั้งยังอาจไม่เหมาะสำหรับบางคน จึงควรปรึกษาคุณหมอก่อนวางแผนการรับประทานอาหาร [embed-health-tool-bmr] ประโยชน์ของ การทํา IF การทำ IF อาจส่งผลดีต่อสุขภาพ ดังนี้ อาจช่วยลดน้ำหนัก และช่วยควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ อาจช่วยควบคุมระดับความดัน และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอ้วน อาจช่วยลดไขมันในร่างกาย หรือคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) รวมถึงไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ โรคอ้วน และโรคเบาหวาน อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันการติดเชื้อโรค เช่น ไวรัส แบคทีเรีย ที่นำไปสู่การเกิดโรค เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ อาจช่วยลดความเสียหายของเนื้อเยื่อจากการผ่าตัด และอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเซลล์ออโตฟาจี้ (Autophagy) ซึ่งเป็นกระบวนการฟื้นฟูและสร้างเซลล์ใหม่ ด้วยการกลืนกินเซลล์เก่าที่เสียหาย  […]


ข้อมูลโภชนาการ

ถั่วเขียว ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

ถั่วเขียว เป็นพืชล้มลุกที่เพาะปลูกกันมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย นิยมนำถั่วเขียวมาทำของหวาน เช่น ถั่วเขียวต้มน้ำตาล เต้าส่วน ลูกชุบ บัวลอย ขนมเปี๊ยะไส้ถั่ว ทั้งนี้ ถั่วเขียวจัดเป็นธัญพืชที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเพราะอุดมไปด้วยสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามินมากมาย ทั้งไฟเบอร์ แคลเซียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัส การบริโภคถั่วเขียว นับว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ เช่น ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด บรรเทาอาหารท้องผูก [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ ถั่วเขียว ถั่วเขียว 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 347 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 62.6 กรัม โปรตีน 23.9 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โพแทสเซียม 1,250 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 189 มิลลิกรัม แคลเซียม […]


โภชนาการพิเศษ

อาหาร gluten free คืออะไร ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

gluten free คือ อาหารที่ปราศจากกลูเตนซึ่งเป็นโปรตีนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มักพบในข้าวสาลีหรือธัญพืช และสามารถสกัดกลูเตนออกมาชเพื่อใช้เป็นสารเติมแต่งสำหรับเพิ่มปริมาณโปรตีน เพิ่มเนื้อสัมผัสและรสชาติในอาหาร รวมถึงอาจใช้เพื่อคงรูปร่างของอาหารแปรรูป โดยบางคนอาจจำเป็นต้องกินอาหารที่ปราศจากกลูเตน เนื่องจากปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวของกับการแพ้หรือการย่อยกลูเตนที่ผิดปกติ เช่น โรคเซลิแอค (Celiac Disease) อย่างไรก็ตาม โรคนี้พบได้ในชาวยุโรปมากกว่าชาวเอเชีย [embed-health-tool-bmr] gluten free คือ อะไร กลูเตน คือ โปรตีนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ พบในข้าวสาลีและธัญพืชอื่น ๆ ซึ่งมนุษย์สามารถสกัดออกมาใช้เติมในอาหารหลายชนิดเพื่อเพิ่มปริมาณโปรตีน เนื้อสัมผัสและรสชาติในอาหาร รวมถึงยังอาจทำหน้าที่เป็นสารยึดเกาะเพื่อให้อาหารแปรรูปคงรูปร่างได้นานขึ้น ปัจจุบันมีอาหารหลายชนิดที่ปราศจากกลูเตน หรือเรียกว่า gluten free (กลูเตนฟรี) ซึ่งเป็นอาหารที่ไม่มีข้าวสาลีหรือธัญพืชเป็นส่วนประกอบ รวมถึงอาหารตามธรรมชาติที่ไม่ผ่านการปรุงแต่งหรืออาหารแปรรูปที่ปราศจากการเสริมกลูเตน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ผักและผลไม้ ขนมปัง ซีเรียล เส้นพาสต้าที่ระบุว่าปราศจากกลูเตน บางคนอาจเข้าใจผิดว่า gluten free เป็นการกินอาหารที่ไม่มีคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบ จึงอาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่ใช้เป็นพลังงาน ซึ่งสารอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตนั้นมีหลายชนิดที่ไม่มีกลูเตนเป็นส่วนประกอบและผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงกลูเตนสามารถกินได้ เช่น ข้าวขาว หมี่ขาว เส้นขนมจีน วุ้นเส้น เส้นเล็ก เส้นใหญ่ ขนมปังจากแป้งข้าวเจ้า มันฝรั่ง มันเทศ เผือก […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน