โภชนาการเพื่อสุขภาพ

"You are what you eat" อาหารที่คุณรับประทาน มีความสำคัญอย่างมาก ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการเพื่อสุขภาพ อยู่มากมาย ดังนั้น การแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม

สมุนไพรลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะสารสกัดในสมุนไพรบางชนิดอาจช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เพื่อความปลอดภัยควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคทุกครั้ง [embed-health-tool-bmi] สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม ขมิ้นชัน สรรพคุณ สารเคอร์คูมิน (Curcumin) ในขมิ้นชัน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล มีสรรพคุณช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ระบบการเผาผลาญภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมุนไพรขมิ้นชันจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ผลข้างเคียง หากรับประทานขมิ้นชันในปริมาณสูงติดต่อกัน อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน  ขิง สรรพคุณ สารซิงเจอโรน (Zingerone) ในขิง เป็นสารประกอบที่มีรสชาติเผ็ดร้อน ดังนั้นจึงมีความสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมได้ อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้สามารถควบคุมปริมาณในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม ผลข้างเคียง ขิงเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้  แนะนำรับประทานไม่เกินวันละ 4 กรัม และในสตรีมีครรภ์ไม่เกินวันละ 1 กรัม  ส้มแขก สรรพคุณ หลายคนมักรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากส้มแขก เนื่องจากส้มแขกมีกรดมีกรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric Acid: HCA) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการเผาผลาญไขมันภายในร่างกาย และยังมีสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้รู้สึกหิวน้อยลง  ผลข้างเคียง เวียนศีรษะ ปากแห้ง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย  เม็ดแมงลัก […]

หมวดหมู่ โภชนาการเพื่อสุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ โภชนาการเพื่อสุขภาพ

โภชนาการพิเศษ

แม่หลังคลอดกินอะไรได้บ้าง และควรดูแลตัวเองอย่างไร

คนท้องใกล้คลอดอาจสงสัยว่า แม่หลังคลอดกินอะไรได้บ้าง และควรหลีกเลี่ยงอาหารแบบไหน โดยทั่วไปแล้ว แม่หลังคลอดสามารถกินอาหารทุกอย่างได้ตามปกติ แต่ควรเน้นอาหารที่มีสารอาหารหลากหลายและครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ และดื่มน้ำให้เพียงพอ และอาจต้องระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เช่น ปลาที่มีสารปรอทสูง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของตัวเองและทารกแรกเกิดที่กินนมแม่ได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] แม่หลังคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดควรกินอาหารที่หลากหลายและให้สารอาหารครบถ้วน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายหลังคลอด ช่วยซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ และช่วยให้ผลิตน้ำนมได้เพียงพอต่อความต้องการของทารกแรกเกิด โดยอาหารที่เหมาะสำหรับแม่หลังคลอด อาจมีดังนี้ โปรตีน เป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สึกหรอจากการคลอด และช่วยให้แผลคลอดหายไวขึ้น พบมากในพืชตระกูลถั่ว อาหารทะเล เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ถั่ว เมล็ดพืช ไข่ นม ปลา เต้าหู้ เป็นต้น แคลเซียม การกินอาหารที่มีแคลเซียมอาจช่วยรักษาระดับแคลเซียมในร่างกาย และเพิ่มระดับแคลเซียมในกระดูกของแม่หลังคลอดที่ถูกสลายไปใช้บำรุงทารกในครรภ์ในระหว่างตั้งครรภ์ อีกทั้งแคลเซียมยังช่วยเสริมสร้างการพัฒนากระดูกของทารกแรกเกิด และช่วยให้ระบบประสาท กล้ามเนื้อ และหัวใจของทารกทำงานได้ดีอีกด้วย แคลเซียมพบได้มากในนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว เช่น นมวัว โยเกิร์ตไขมันต่ำ ผักใบเขียวเข้ม เช่น บรอกโคลี กระหล่ำปลี ปวยเล้ง ธาตุเหล็ก เนื่องจากการคลอดลูกทำให้ร่างกายคุณแม่เสียเสียเลือดมากกว่าปกติ ร่างกายจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้นเพื่อผลิตฮีโมโกลบินที่ทำหน้าที่เก็บและลำเลียงออกซิเจนในเซลล์เม็ดเลือดแดง อาหารที่เป็นแหล่งธาตุเหล็ก เช่น เนื้อแดง […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

กินเหล้า มีประโยชน์ไหม และส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร

เหล้า เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้จากการกลั่นธัญพืชหรือผลไม้ที่หมักแล้ว โดยจัดเป็นเครื่องดื่มที่คนไทยนิยมบริโภคมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเหล้าขาว บรั่นดี วอดก้า วิสกี้ ทั้งนี้ ควรงดเว้น การ กินเหล้า เพราะเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพ เช่น โรคตับ โรคซึมเศร้า โรคความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยที่ระบุว่าหากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะอาจช่วยบำรุงสุขภาพได้ นิยามของเหล้า เหล้า (Liquor หรือ Spirit) เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทหนึ่ง เกิดจากการกลั่นธัญพืช ผลไม้ ผัก หรือน้ำตาล ที่ผ่านการหมักมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อพูดถึงการ กินเหล้า จึงหมายถึงการดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะเป็นเหล้าขาว เหล้าหวาน บรั่นดี วอดก้า วิสกี้ จิน รัม สาเก โชจู ทั้งนี้ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรืออาการบาดเจ็บต่าง ๆ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้าเป็นประจำ หรือหากต้องการดื่ม ผู้ชายไม่ควรดื่มเกิน 2 แก้วต่อวัน ส่วนผู้หญิงไม่ควรดื่มเกิน 1 แก้ว/วัน ประโยชน์ของการ กินเหล้า การกินเหล้ามักส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าส่งผลดี อย่างไรก็ตาม การกินเหล้าในปริมาณที่พอเหมาะอาจส่งผลดีต่อสุขภาพ โดยมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว ดังนี้ อาจช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด การ กินเหล้า […]


ข้อมูลโภชนาการ

อาหารที่มีโปรตีนสูง ประโยชน์และข้อควรระวังในการรับประทาน

การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ธัญพืช นม อาจช่วยเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ อีกทั้งยังช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ให้เป็นไปตามปกติ อย่างไรก็ตาม การรับประทานในปริมาณที่ไม่เหมาะสม หรือไม่รับประทานอาหารให้หลากหลายและมีสารอาหารครบถ้วนอาจส่งผลเสียกับสุขภาพได้ ดังนั้นจึงควรศึกษาการเลือกรับประทาน อาหารที่มีโปรตีนสูง อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ประโยชน์ของอาหารที่มีโปรตีนสูง อาหารที่มีโปรตีนสูง อาจช่วยเพิ่มพลังงานและช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ให้เป็นไปตามปกติ บำรุงกระดูก ควบคุมน้ำหนัก เสริมสร้างกล้ามเนื้อและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สึกหรอ ช่วยปรับปรุงการทำงานของตับ และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง จากการศึกษาหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients ปี พ.ศ. 2562 ที่ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ต่อสุขภาพของโปรตีนในอาหารต่อมวลกล้ามเนื้อ พบว่า การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงอย่างเพียงพออาจช่วยเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย ช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ และอาจเพิ่มมวลกล้ามเนื้อเมื่อมีการออกกำลังกายควบคู่กันไปด้วย อีกทั้งยังอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนได้ นอกจากนี้ ยังมีอีกการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Current Atherosclerosis Reports เมื่อปี พ.ศ. 2557 ที่ได้ทบทวนเกี่ยวกับบทบาทของโปรตีนจากอาหารในผู้ป่วยเบาหวาน พบว่า การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานและลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง รวมถึงอาจช่วยเพิ่มไขมันดี อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงในปริมาณที่เหมาะสมและควรเลือกรับประทานโปรตีนที่มาจากผัก ผลไม้ และธัญพืชไม่ขัดสีให้มากกว่าโปรตีนจากเนื้อสัตว์และอาหารแปรรูป เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้อาการเบาหวานแย่ลง […]


ข้อมูลโภชนาการ

สารอาหารมีกี่ประเภท และมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร

สารอาหารแต่ละชนิดมีบทบาทสำคัญต่อร่างกายแตกต่างกัน ซึ่งหากไม่ได้รับสารอาหารสำคัญให้ครบถ้วนอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาว่า สารอาหารมีกี่ประเภท รวมถึงเลือกรับประทานสารอาหารให้ครบถ้วนและเหมาะสม เพื่อช่วยดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดจากภาวะขาดสารอาหาร [embed-health-tool-bmi] ทำไมจึงร่างกายจึงควรได้รับสารอาหารให้ครบถ้วน สารอาหาร คือสิ่งที่ร่างกายนำไปใช้เพื่อการทำงานที่เป็นปกติ รวมถึงเพื่อช่วยบำรุงสุขภาพของอวัยวะและระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรตที่เป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย หรือแคลเซียมที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและฟัน การที่ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเหมาะสมอาจช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถทำงานได้ตามปกติ มีพลังงานมากพอต่อการใช้ชีวิตในแต่ละวัน ไม่รู้สึกอ่อนเพลียหรือเหนื่อยล้าง่ายในขณะที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างวัน รวมถึงอาจช่วยรักษาสมดุลของอุณหภูมิในร่างกายอีกด้วย หากร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสมอาจส่งผลให้รู้สึกอ่อนแรง เหนื่อยล้า ไม่มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมที่ทำ น้ำหนักลดลงต่ำกว่าเกณฑ์ ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคและส่งผลให้เจ็บป่วยบ่อย สารอาหารมีกี่ประเภท สารอาหารแบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลัก ดังนี้ 1.คาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารที่เป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย เพื่อใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างวัน อีกทั้งยังมีไฟเบอร์ที่อาจช่วยควบคุมน้ำหนัก และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยร่างกายควรได้รับคาร์โบไฮเดรตประมาณ 45-65% ของแคลอรี่ที่ได้รับจากอาหารในแต่ละวัน ยกตัวอย่าง หากร่างกายได้รับ 2,000 กิโลแคลอรี่/วัน ควรเป็นคาร์โบไฮเดรตประมาณ 900-1,300 กิโลแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรตแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว คือคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยน้ำตาลที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก เมื่อรับประทานเข้าไปร่างกายสามารถย่อยและดูดซึมไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

คีโตคือ อะไร ดีต่อสุขภาพหรือไม่และมีข้อควรระวังอะไรบ้าง

คีโตคือ รูปแบบการรับประทานอาหารที่เน้นอาหารที่มีไขมันสูงและลดคาร์โบไฮเดรต โดยมีจุดประสงค์ในการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาวิธีการกินคีโตอย่างถูกต้อง หรือปรึกษาคุณหมอเพื่อรับแผนการรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพ ป้องกันความเสี่ยงจากการกินคีโตอย่างไม่เหมาะสม เช่น อาการท้องผูก โรคไต โรคเกาต์ และประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง [embed-health-tool-bmi] คีโตคือ อะไร การกินคีโต คือ การรับประทานอาหารโดยเน้นอาหารที่มีไขมันสูง และลดการรับประทานคาร์โบไฮเดรตลง ให้น้อยกว่า 50 กรัม/วัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อควบคุมน้ำหนักหรือลดน้ำหนัก เมื่อรับประทานอาหารในรูปแบบคีโตอย่างต่อเนื่องอาจทำให้พลังงานลดน้อยลง ระดับอินซูลินลดลง นำไปสู่ภาวะคีโซซิส (Ketosis) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ร่างกายดึงไขมันนำมาใช้เป็นพลังงานหลักแทนน้ำตาล จึงส่งผลให้น้ำหนักลดลงหรือช่วยควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ อีกทั้งยังลดความเสี่ยงเป็นโรคอ้วน โรคหัวใจและโรคเบาหวานได้ อาหารที่ควรรับประทานสำหรับการกินคีโต มีดังนี้ ไขมันดี เช่น ไข่ ปลาแซลมอน ปลาทูน่า อะโวคาโด ลูกพรุน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง อัลมอนด์ น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน ข้าวโอ๊ต เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ไขมันไม่ดี เช่น เนย ชีส มาการีน ครีมเทียม เนื้อสัตว์ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับการกินคีโต มีดังนี้ ขนมปังขาว […]


ข้อมูลโภชนาการ

ถั่วแดง ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

ถั่วแดง เป็นถั่วชนิดหนึ่ง มีสีแดง และมีรูปร่างคล้ายไตของมนุษย์ ในภาษาอังกฤษจึงมีชื่อเรียกว่า Kidney Beans โดยทั่วไป นิยมนำถั่วแดงไปปรุงเป็นของหวาน เช่น ถั่วแดงต้มน้ำตาล ขนมปังไส้ถั่วแดง ถั่วแดงกวน ทั้งนี้ นอกจากรสชาติอร่อยแล้ว ถั่วแดงยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง และอาจมีประโยชน์ต่อร่างกายหลาย ๆ ด้าน เช่น อาจช่วยในการลดน้ำหนัก ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยลดความดันเลือด [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ ถั่วแดง ถั่วแดงดิบ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 333 กิโลแคลอรี และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 60 กรัม โปรตีน 23.6 กรัม ไขมัน 0.83 กรัม โพแทสเซียม 1,410 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 407 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 140 มิลลิกรัม แคลเซียม 143 มิลลิกรัม โซเดียม […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ทํา IF กิน อะไร ได้ บ้าง และมีประโยชน์อย่างไร

IF (Intermittent Fasting) เป็นวิธีลดน้ำหนักด้วยการอดอาหารเป็นบางวันหรือบางช่วงเวลาของวัน เพื่อกระตุ้นการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและไขมันภายในร่างกาย หากถามว่า ทํา IF กิน อะไร ได้ บ้าง คำตอบคือในช่วงที่รับประทานอาหารได้ ผู้ทำ IF สามารถบริโภคอาหารได้ทุกอย่าง แต่ควรเลือกอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างผัก ผลไม้ และธัญพืชเต็มเมล็ด ส่วนในช่วงอดอาหาร สามารถบริโภคได้เพียงน้ำเปล่า ชา หรือกาแฟเท่านั้น [embed-health-tool-bmi] ทำ IF คืออะไร IF หมายถึง การลดน้ำหนักด้วยการกินและอดอาหารเป็นเวลา เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานจากไขมันแทนคาร์โบไฮเดรต ซึ่งส่งผลให้มวลไขมันที่สะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง และอาจช่วยทำให้น้ำหนักตัวลดลงตามไปด้วย การทำ IF มีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น 16/8 คือการอดอาหารเป็นเวลา 16 ชั่วโมง/วัน และช่วงเวลาที่สามารถรับประทานอาหารได้คือ 8 ชั่วโมง/วัน เช่น รับประทานอาหารมื้อแรกเวลา 9.00 และมื้อต่อ ๆ ไปภายในเวลา 18.00 น. หลังจากนั้น งดรับประทานอาหาร 5:2 Fasting คือการรับประทานอาหารปกติ […]


ข้อมูลโภชนาการ

ชาเขียวมีคาเฟอีนไหม และบริโภคได้ปริมาณเท่าไหร่ในแต่ละวัน

ชาเขียว (Green tea) ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ จึงได้รับความนิยมแพร่หลายมาช้านาน หลายคนอาจสงสัยว่า ชาเขียวมีคาเฟอีนไหม คำตอบคือ ชาเขียวมีคาเฟอีน ซึ่งออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของสมองส่วนกลาง ช่วยให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า ไม่ง่วงนอน เหนื่อยช้าลง แต่คาเฟอีนในชาเขียวจะเข้มข้นของคาเฟอีนน้อยกว่าในกาแฟ นอกจากนี้ ชาเขียวยังมีสารพฤกษเคมีหลายชนิดที่ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค และอาจช่วยควบคุมน้ำหนักได้ด้วย ทั้งนี้ ควรจำกัดการบริโภคชาเขียวที่เป็นเครื่องดื่มคาเฟอีนให้ไม่เกิน 300 มิลลิกรัม/วัน เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับคาเฟอีนมากเกินไป [embed-health-tool-bmi] ชาเขียวมีคาเฟอีนไหม ชาเขียวมีคาเฟอีนเช่นเดียวกับชาชนิดอื่น ๆ โดยชาแต่ละชนิดจะมีปริมาณคาเฟอีนแตกต่างกันไป หากเปรียบเทียบปริมาณคาเฟอีนในชา 1 แก้ว (237 มิลลิลิตร) ชาที่มีคาเฟอีนมากที่สุด คือ ชาดำ มีคาเฟอีน 47 มิลลิกรัม รองลงมา คือ ชาอู่หลง มีคาเฟอีน 63 มิลลิกรัม ส่วนชาเขียวมีคาเฟอีนประมาณ 28 มิลลิกรัม นอกจากนี้ คาเฟอีนยังพบได้ในเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ ด้วย เช่น กาแฟ โกโก้ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง โดยทั่วไป […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารอ่อน หรือ Soft Diet คืออะไร เหมาะกับใคร

Soft diet คือ อาหารอ่อน หมายถึง อาหารที่มีเนื้อสัมผัสอ่อนนุ่ม เปื่อยยุ่ย มีใยอาหารต่ำ สามารถเคี้ยว กลืน และย่อยได้ง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งผ่านการผ่าตัดหรือมีภาวะสุขภาพบางประการที่ทำให้เกิดปัญหาด้านการเคี้ยวหรือย่อยอาหาร ผู้ที่ต้องรับประทานอาหารแบบ Soft diet ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ท้องอืดหรือเกิดแก๊ส และอาหารที่ย่อยได้ยาก เช่น อาหารรสเผ็ดจัด ของทอด ธัญพืชไม่ขัดสี ทั้งนี้ ควรปรึกษาคุณหมอหรือนักโภชนาการเกี่ยวกับการบริโภค soft diet เพื่อให้ได้รับสารอาหารต่าง ๆ ในปริมาณที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] Soft diet คือ อะไร Soft diet คือ อาหารอ่อนที่มีเนื้อสัมผัสนุ่ม มีใยอาหารหรือไฟเบอร์ต่ำ ใช้เวลาในการย่อยไม่นาน โดยทั่วไป คุณหมออาจแนะนำให้ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหรือผู้มีอาการอาหารไม่ย่อยรับประทานอาหารลักษณะนี้ตามระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับระยะการฟื้นตัวของระบบขับถ่าย หรือจนกว่าความอยากอาหารของผู้ป่วยจะกลับมาเหมือนเดิม ส่วนใหญ่ ผู้ป่วยจะค่อย ๆ เปลี่ยนมารับประทานอาหารที่มีใยอาหารมากขึ้นได้ และควรกลับมารับประทานอาหารตามปกติเมื่ออาการดีขึ้นแล้ว เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารเพียงพอ การรับประทานอาหารอ่อนอาจต้องจำกัดปริมาณใยอาหารที่บริโภคในแต่ละวันไม่ให้เกิน 1-2 กรัมต่ออาหาร 1 ส่วน จึงควรรับประทานผัก ผลไม้ พืชตระกูลถั่ว ธัญพืช หรืออาหารอื่น […]


ข้อมูลโภชนาการ

น้ำมันตับปลา ช่วยอะไร และข้อควรระวังการรับประทาน

น้ำมันตับปลา อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น วิตามินเอ วิตามินดี อย่างไรก็ตาม ก่อนรับประทานควรศึกษาให้ละเอียดว่า น้ำมันตับปลา ช่วยอะไร และมีข้อควรระวังอย่างไร รวมถึงปรึกษาคุณหมอก่อนรับประทานเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] น้ำมันตับปลา คืออะไร น้ำมันตับปลา คือ น้ำมันที่สกัดจากตับปลา โดยส่วนใหญ่มักสกัดมาจากปลาค็อด ที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 วิตามินเอและวิตามินดี ซึ่งแตกต่างจากน้ำมันปลาที่สกัดมาจากส่วนหนัง ส่วนหัวและส่วนหางของปลาทะเลน้ำลึก ที่อุดมไปด้วยกรดไขมันหรือดีเอชเอ (Docosahexaenoic Acid: DHA) ดังนั้น ก่อนเลือกรับประทาน “น้ำมันตับปลา หรือ น้ำมันปลา” จึงควรศึกษาให้ละเอียดว่า น้ำมันตับปลา ช่วยอะไรหรือขอคำแนะนำจากคุณหมอก่อนรับประทาน น้ำมันตับปลา ช่วยอะไร น้ำมันตับปลา อาจมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงจากปัญหาสุขภาพต่าง ๆ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของน้ำมันตับปลาในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด น้ำมันตับปลามีกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นกรดไขมันดีที่อาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งอาจช่วยป้องกันภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด จากการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Cureus ปี พ.ศ. 2564 ที่ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของน้ำมันตับปลาในการป้องกันภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งทำการศึกษาในผู้ป่วย 870 ราย ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2561 จนถึง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน