backup og meta

ไขมันสะสม ส่งผลให้โรคเรื้อรังอะไรบ้าง ที่ทำลายสุขภาพ

ไขมันสะสม ส่งผลให้โรคเรื้อรังอะไรบ้าง ที่ทำลายสุขภาพ

สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่เราไม่ควรละเลย โดยเฉพาะการปล่อยให้มี ไขมันสะสม จำนวนมากอยู่ตามจุดต่าง ๆ ภายใต้ผิวหนังของร่างกาย เนื่องจาก ดูผิวเผินร่างกายของคุณอาจไม่แสดงอาการใด ๆ แต่หากเวลาผ่านไป ไขมันสะสมนี้อาจแปรเปลี่ยน หรือนำพาโรคเรื้อรังต่าง ๆ มาสู่ร่างกายของคุณได้ แต่ไขมันสะสมนั้นจะส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังอะไรได้บ้าง แล้วมันทำลายสุขภาพอย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้ของ Hello คุณหมอ

ไขมันสะสม คืออะไร

ไขมันสะสม (Subcutaneous Fat) มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ไขมันใต้ผิวหนัง’ โดยเป็นไขมันที่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่ในปริมาณมาก และไม่ได้รับการเผาผลาญด้วยการออกกำลังกายเสียส่วนใหญ่ นอกจากนั้นผู้ที่มีภาวะดื้ออินซูลิน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ก็สามารถเกิดภาวะ ไขมันใต้ผิวหนัง ได้เช่นกัน เรื่องจากผู้ป่วยโรคนี่ร่างกายอาจทำหน้าที่สลายไขมันได้ยาก จนทำให้เกิดไขมันสะสมภายในช่องท้อง และนำไปสู่การเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา

ความเสี่ยงก่อให้เกิดโรคจากไขมันสะสม

หากร่างกายมี ไขมันใต้ผิวหนัง เป็นเวลานาน โดยไม่ได้รับการเผาผลาญและเปลี่ยนเป็นพลังงานเพื่อนำมาใช้ในแต่ละวัน เมื่อคุณอายุมากขึ้น หรือมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ก็สามารถส่งทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เหล่านี้ได้

บางกรณี อาจทำให้ร่างกายคุณได้รับโรคดังกล่าวโรคใดโรคหนึ่ง หรือสามารถเป็นพร้อมกันหลาย ๆ โรคได้ ดังนั้น หากคุณยังรักสุขภาพตนเอง และอยากเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง โปรดขอคำปรึกษาจากแพทย์ พร้อมตรวจร่างกายเพิ่มเติมเพื่อรับวิธีการดูแลอย่างถูกต้อง ก่อนเกิด ไขมันใต้ผิวหนัง จำนวนมาก

วิธีกำจัด ไขมันใต้ผิวหนัง ง่าย ๆ ที่คุณควรลอง

สำหรับวิธีการลดไขมันสะสม ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันบางอย่างให้มีระเบียบวินัยมากขึ้น เป็นวิธีที่คุณสามารถทำเองได้ง่าย ๆ ที่บ้าน โดยวิธีการกำจัดไขมันใต้ผิวหนัง สามารถทำได้ดังนี้

  • เลือกรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยโปรตีน ผัก ผลไม้ และหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้น้ำตาลสูง หากคุณต้องการสารให้ความหวาน ควรเลือกจากส่วนประกอบที่สกัดจากธรรมชาติแคลอรี่ต่ำ เช่น น้ำเชื่อมหญ้าหวาน เป็นต้น
  • การออกกำลังกายในรูปแบบแอโรบิค คาร์ดิโอ พร้อมกับฝึกฝนความแข็งแรงของมวลกล้ามเนื้อร่วม
  • ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ลดระดับความเครียดลง เพราะความเครียดและความวิตกกังวล จะส่งผลให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ออกมา

สำหรับบางคนที่ต้องการปรับเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหาร และออกกำลังกาย อาจจำเป็นต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ นักโภชนาการ หรือเทรนเนอร์เสียก่อน นอกจากนั้น อาจจะต้องมีการตรวจวินิจฉัยอาการที่คุณเป็นอยู่ร่วมด้วย เพื่อจะได้วางแผนการปรับรูปแบบวิธีการรับประทานอาหาร และออกกำลังกายให้เหมาะสมกับคุณ ไปพร้อม ๆ กับการมีสุขภาพที่แข็งแรง

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ways to lose subcutaneous fat. https://www.medicalnewstoday.com/articles/319236 Accessed April 09, 2021

Abdominal fat and what to do about it. (2019). health.harvard.edu/staying-healthy/abdominal-fat-and-what-to-do-about-it. Accessed April 09, 2021

Berber A, et al. (2001). Anthropometric indexes in the prediction of type 2 diabetes mellitus, hypertension and dyslipidaemia in a Mexican population. pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11781760. Accessed April 09, 2021

Bernstein SA, et al. (2017). Proposing using waist-to-height ratio as the initial metric for body fat assessment standards in the U.S. Army. academic.oup.com/milmed/article/182/suppl_1/304/4209360. Accessed April 09, 2021

Chang X, et al. (2015). Serum retinol binding protein 4 is associated with visceral fat in human with nonalcoholic fatty liver disease without known diabetes: A cross-sectional study. ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4419494. Accessed April 09, 2021

Chielle EO, et al. (2017). Influence of obesity on the serum concentration of retinol-binding protein 4 (RBP4) in young adults. scielo.br/scielo.php?script=sci_arttext&pid=S1676-24442017000200081. Accessed April 09, 2021

Foster MT, et al. (2012). Metabolic alterations following visceral fat removal and expansion: Beyond anatomic location. ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3609102. Accessed April 09, 2021

Parente EB, et al. (2020). Waist-height ratio and waist are the best estimators of visceral fat in type 1 diabetes. nature.com/articles/s41598-020-75667-5. Accessed April 09, 2021

Parker T. (n.d.). What’s the best way to measure body fat? bhf.org.uk/informationsupport/heart-matters-magazine/nutrition/weight/best-way-to-measure-body-fat. Accessed April 09, 2021

Patel P, et al. (2013). Body fat distribution and insulin resistance. ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3725490/. Accessed April 09, 2021

Shetty P, et al. (2008). Waist circumference and waist–hip ratio: Report of a WHO expert consultation. apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/44583/9789241501491_eng.pdf. Accessed April 09, 2021

Taking aim at belly fat. (2010). health.harvard.edu/staying-healthy/taking-aim-at-belly-fat. Accessed April 09, 2021

Waist size matters. (n.d.). hsph.harvard.edu/obesity-prevention-source/obesity-definition/abdominal-obesity. Accessed April 09, 2021

The Truth About Fat. https://www.webmd.com/diet/features/the-truth-about-fat#1 Accessed April 09, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/06/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nopnan Ariyawongmanee


บทความที่เกี่ยวข้อง

หน้าอ้วน เกิดจากอะไร และมีวิธีป้องกันอย่างไร

เผาผลาญไขมัน ช่วยลดน้ำหนัก มีวิธีไหนได้ผลบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 15/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา