การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

การรับประทานอาหารที่เหมาะสมถือเป็นส่วนสำคัญในการลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพและดีต่อสุขภาพ ดังนั้นทาง Hello คุณหมอจึงได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก มาให้ทุกคนได้อ่านกัน

เรื่องเด่นประจำหมวด

การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

อาหารว่างมื้อดึกสำหรับคนลดความอ้วน ที่กินเท่าไหร่ น้ำหนักก็ไม่เพิ่ม

เชื่อว่าหลาย ๆ คน ต้องมีความรู้สึกนี้กันบ้างที่อาการหิวในช่วงเวลากลางคืนของเรามักกำเริบ แต่ขณะเดียวกันหากเลือกรับประทานอาหารที่ไม่ดีตอนขณะหิวโหย ก็อาจส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นจนในที่สุดก็เสี่ยงเป็นโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอแนะนำ อาหารว่างมื้อดึกสำหรับคนลดความอ้วน มาฝากทุกคนให้ได้ลองเลือกไปรับประทานมาฝากกัน เพื่อกำจัดความหิวที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องกลัวหุ่นจะพัง กินอาหารมื้อดึกทำให้น้ำหนักเพิ่ม จริงหรือ นักวิจัยจาก Northwestern University  พบว่าการรับประทานอาหารในช่วงเวลากลางคืนสามารถทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าได้ โดยสิ่งที่กระตุ้นความหิวโหยนี้ อาจมาจากความเครียด รู้สึกเบื่อหน่าย ที่สำคัญหากคุณยิ่งรับประทานอาหารก่อนถึงเวลาเข้านอนมากเกินไป ก็จะทำให้คุณรู้สึกถึงอาหารไม่ย่อย จนรบกวนการนอนหลับได้อีกด้วย นอกจากนี้อาหารส่วนใหญ่ที่ผู้คนเลือกรับประทานในช่วงเวลากลางคืน มักเป็นอาหารที่มีไขมันทรานส์สูง เช่น คุ้กกี้ ลูกอม มันฝรั่งทอด ป็อปคอร์น ไอศกรีม พร้อมทั้งทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมด้วย จึงยิ่งส่งผลให้คุณเพลิดเพลิน และรับแคลอรีปริมาณมากเข้าไปโดยไม่รู้ตัว อาหารว่างมื้อดึกสำหรับคนลดความอ้วน มีอะไรบ้าง หากคุณกำลังอยู่นช่วงกำลังลดความอ้วน แต่ก็อดทนกับความหิวตอนกลางคืนไม่ไหว อาหารว่างต่าง ๆ เหล่านี้ อาจเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะช่วยทำให้คุณอิ่มท้อง โดยปราศจากไขมันสะสม และน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นได้ น้ำผลไม้ เพื่อจะให้ได้รับประโยชน์สูงสุดแก่สุขภาพ คุณควรเลือกน้ำผลไม้แท้ที่มีความเข้มข้นที่ประกอบด้วยน้ำตาลให้น้อยที่สุด โดยอ่านข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อ หรือทำการคั้นจากผลไม้ด้วยตนเอง ก็ย่อมด้ เพื่อความมั่นใจกังวล ธัญพืช หรือถั่ว ไม่ว่าจะเป็นถั่วชิกพี อัลมอนด์ […]

สำรวจ การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

กาแฟดํา ช่วยเผาผลาญ ได้จริงหรือไม่

คนส่วนใหญ่ดื่มกาแฟดำเพื่อช่วยให้ตื่นตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนง่วงนอน แต่บางคนก็อาจเลือกดื่มกาแฟดำเพื่อช่วยในการควบคุมน้ำหนัก แต่เคยสงสัยไหมว่า กาแฟดํา ช่วยเผาผลาญ ได้จริงหรือไม่ กาแฟดำไม่ใส่น้ำตาลเป็นเครื่องดื่มคาเฟอีนที่มีแคลอรีต่ำ และมีประโยชน์หลายประการ เช่น มีฤทธิ์ต้านอนมูลอิสระ กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต รวมถึงช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานหลังออกกำลังกายได้มากขึ้น การรับประทานกาแฟดำเป็นประจำจึงอาจเป็นผลดีกับผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำและต้องการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ทั้งนี้ ควรบริโภคกาแฟดำในปริมาณพอเหมาะ หรือไม่เกิน 400 มิลลิกรัม/วัน เพื่อป้องกันอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ความดันโลหิตสูง [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของกาแฟดำ ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture หรือ USDA) ระบุว่า กาแฟดำ 1 แก้ว ปริมาณ 240 กรัม ให้พลังงาน 2.4 กิโลแคลอรี่ และอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ เช่น โปรตีน 300 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 118 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 7.2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

1วันควรกินกี่แคล สำหรับผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก

1วันควรกินกี่แคล หมายถึง จำนวนพลังงานจากสารอาหารที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันซึ่งมีหน่วยวัดเป็นกิโลแคลอรี่หรือแคลอรี่ โดยจำนวนพลังงานที่ร่างกายของแต่ละคนควรได้รับใน 1 วันนั้น ขึ้นอยู่กับหลาปัจจัย อย่างเพศ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง หรือไลฟ์สไตล์ เช่น เพศชายอายุ 20 ปี ปกติแล้วมักต้องการพลังงานประมาณ 2,400-3,000 แคลอรี่/วัน ส่วนเพศหญิงในวัยเดียวกัน มักต้องการพลังงานน้อยกว่า หรือประมาณ 2,000-2,400 แคลอรี่/วัน อย่างไรก็ตาม หากเพศหญิงคนดังกล่าวเป็นนักกีฬา หรือทำงานที่ต้องออกแรงมาก พลังงานที่ต้องการภายใน 1 วัน อาจมากกว่านั้น หรืออยู่ในระดับเดียวกับเพศชายอายุ 20 ปี ทั้งนี้ จำนวนแคลอรี่ที่ควรได้รับในแต่ละวันควรเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ไม่มากหรือน้อยเกินไป เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ภาวะอ่อนเพลีย สมองเสื่อม [embed-health-tool-bmi] แคลอรี่ คืออะไร แคลอรี่ (Calorie) ย่อมาจากกิโลแคลอรี่ (Kilocalorie) เป็นหน่วยวัดของจำนวนพลังงานที่ร่างกายจะได้รับเมื่อบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มแต่ละชนิด หากได้รับปริมาณแคลอรี่เกินกว่าระดับที่ร่างกายต้องการใช้ จะทำให้เกิดการสะสมของพลังงานส่วนเกินในรูปแบบของไขมัน ซึ่งเป็นสาเหตุของการมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ลงพุง หรือเป็นโรคอ้วน โดยปกติบนบรรจุภัณฑ์ของอาหารหรือเครื่องดื่มมักมีฉลากบอกจำนวนพลังงานเป็นหน่วยแคลอรี่หรือกิโลแคลอรี่ แต่ในบางผลิตภัณฑ์อาจมีฉลากที่ใช้หน่วยวัดพลังงานเป็นกิโลจูล (Kilojoule หรือ KJ) […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

6 อาหารกินแล้วไม่อ้วน มีอะไรบ้าง

อาหารกินแล้วไม่อ้วน คืออาหารที่มีแคลอรี่ต่ำและทำให้อิ่มได้นาน เช่น อาหารประเภทผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี โปรตีน ไขมันดี แต่การรับประทานอาหารทุกชนิด ควรให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป เพราะอาจนำไปสู่โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคข้อเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือดได้ [embed-health-tool-bmi] ความอ้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร ความอ้วนมักเกิดจากการรับประทานอาหารมากเกินความต้องการในแต่ละวัน ส่งผลให้แคลอรี่ส่วนเกินกลายเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนี้ โรคข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากน้ำหนักตัวที่มากอาจทำให้มีอาการปวดข้อและกระดูกในข้อต่อเปราะบาง ระดับไขมันดีต่ำและระดับไขมันไม่ดีสูงขึ้น ร่วมกับมีไขมันสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จนทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นและมีไขมันอุดตันในหลอดเลือด  โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ โรคถุงน้ำดีในตับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคมะเร็ง ภาวะซึมเศร้า 6 อาหารกินแล้วไม่อ้วน มีอะไรบ้าง 6 อาหารกินแล้วไม่อ้วน มีดังนี้ 1. ข้าวโอ๊ต ข้าวโอ๊ตเป็นอาหารที่มีกากใยสูง ช่วยบำรุงสุขภาพลำไส้และสุขภาพหัวใจ ควบคุมน้ำตาลในเลือด และควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์จนนำไปสู่โรคอ้วน จากการศึกษาในวารสาร Nutrients เมื่อ ปี พ.ศ. 2559 ที่ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบระยะสั้นและระยะยาวของการรับประทานข้าวโอ๊ตต่อการควบคุมน้ำหนักและการเผาผลาญของกลูโคสในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีน้ำหนักเกิน จำนวน 298 […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

กาแฟลดน้ำหนัก ได้จริงหรือ

หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า กาแฟลดน้ำหนัก ได้จริงหรือไม่ การดื่มกาแฟอาจช่วยในเรื่องของการลดน้ำหนักได้ เนื่องจากกาแฟมีแคลอรี่ต่ำ อีกทั้งยังอุดมไปด้วยคาเฟอีนและสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ ที่อาจช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบการเผาผลาญรวมถึงระบบเมทาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และช่วยกระตุ้นการเผาผลาญไขมัน อย่างไรก็ตาม ควรเลือกดื่มกาแฟดำที่ไม่ใส่น้ำตาลและครีมเทียม อีกทั้งยังควรควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างเหมาะสมควบคู่กันไปด้วย เพื่อช่วยให้สามารถลดน้ำหนักได้อย่างยั่งยืนและดีต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของกาแฟ กาแฟแบบชง 1 แก้ว หรือ 240 มิลลิลิตร ไม่ใส่ครีมและน้ำตาล ให้พลังงานน้อยมาก และมีสารอาหารอื่น ๆ ดังนี้ โปรตีน 0.3 กรัม โพแทสเซียม 118 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 7.2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 7.1 มิลลิกรัม โคลีน (Choline)2 มิลลิกรัม โซเดียม 4.8 มิลลิกรัม โฟเลต 4.7 มิลลิกรัม กาแฟลดน้ำหนัก ได้จริงหรือ การดื่มกาแฟอาจช่วยลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักได้ เนื่องจากกาแฟมีสารอาหารมากมาย รวมถึงสารประกอบฟีนอล (Phenol) ที่พบได้ในพืชสามารถกระตุ้นการทำงานของระบบการเผาผลาญ รวมถึงระบบเมทาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และช่วยกระตุ้นการเผาผลาญไขมันได้ อย่างไรก็ตาม ควรเลือกดื่มเป็นกาแฟดำที่ไม่ใส่ครีมเทียมหรือน้ำตาลเพิ่มเติม เพราะอาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไป ทำให้สารอาหารเหล่านั้นถูกนำไปสะสมเป็นไขมันที่อาจเสี่ยงทำให้เป็นโรคอ้วนได้ นอกจากนี้ กาแฟยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอย่างกรดคลอโรจีนิก ที่อาจช่วยป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังต่าง […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

คีโตกินอะไรได้บ้าง และอะไรที่ควรหลีกเลี่ยง

การรับประทานอาหารแบบคีโต หรือ คีโตเจนิค (Ketogenic Diets) เป็นการรับประทานอาหารเพื่อลดน้ำหนัก โดยเน้นการบริโภคอาหารที่มีไขมันและโปรตีน โดยบริโภคคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่น้อยที่สุด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่เป็นพลังงาน และทำให้น้ำหนักตัวลดลง หากถามว่า คีโตกินอะไรได้บ้าง คำตอบคือ เนื้อสัตว์ อาหารทะเลต่าง ๆ ผักที่มีสัดส่วนคาร์โบไฮเดรตน้อย เครื่องดื่มที่ไม่เติมน้ำตาล ถั่วและเมล็ดพืชบางชนิด ขณะเดียวกัน ผู้ที่ต้องการรับประทานอาหารแบบคีโตควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตหรือมีน้ำตาลสูง เช่น ข้าว เส้นก๋วยเตี๋ยว มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ มะม่วง ส้ม ฟักทอง มันฝรั่ง มันเทศ น้ำผึ้ง [embed-health-tool-bmi] คีโต คืออะไร การรับประทานอาหารแบบคีโต หรือ คีโตเจนิค สามารถรับประทานไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตได้หลายรูปแบบ แต่หลักการ คือ จะเน้นบริโภคอาหารที่มีไขมันดี ในอัตราส่วน 75 เปอร์เซ็นต์ ตามด้วยโปรตีนอีก 20 เปอร์เซ็นต์ และคาร์โบไฮเดรตเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ การรับประทานอาหารแบบคีโต จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะคีโตซิส (Ketosis) ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายเผาผลาญไขมันเป็นพลังงาน ส่งผลให้มวลไขมันที่สะสมอยู่ลดลง และน้ำหนักตัวโดยรวมลดลงตามไปด้วย คีโตกินอะไรได้บ้าง การรับประทานอาหารแบบคีโต ควรเลือกรับประทานอาหารต่าง […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

Paleo diet คืออะไร ช่วยลดน้ำหนักได้หรือไม่

Paleo diet คือ การรับประทานอาหารแบบยุคหิน เป็นรูปแบบการรับประทานอาหารที่เน้นผัก ผลไม้ ถั่ว เนื้อสัตว์ คล้ายกับอาหารที่คนในยุคหินรับประทาน ซึ่งอาจช่วยควบคุมน้ำหนักได้ อีกทั้งยังอาจช่วยลดระดับความดันโลหิต ป้องกันโรคเบาหวาน และโรคหัวใจและหลอดเลือด อย่างไรก็ตาม หากรับประทานไม่ถูกต้องอาจส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหาร ท้องร่วง หรือท้องผูกได้ จึงควรปรึกษาคุณหมอเพื่อวางแผนการรับประทานอาหารให้เหมาะสมก่อน [embed-health-tool-bmi] Paleo diet คืออะไร Paleo diet คือ การรับประทานอาหารแบบมนุษย์ยุคหิน หรือเมื่อประมาณ 2 ล้านปีก่อน ที่เน้นการรับประทานผัก ผลไม้ ถั่ว เนื้อสัตว์ และเนื้อปลา เนื่องจากเป็นอาหารที่คนในยุคนั้นหารับประทานได้ง่าย หลีกเลี่ยงการรับประทานคาร์โบไฮเดรตแปรรูป ธัญพืชที่ผ่านการขัดสี น้ำตาล ผลิตภัณฑ์จากนม และน้ำมัน ตัวอย่างอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ น้ำมันต่าง ๆ ชีส มันฝรั่ง น้ำอัดลม กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ การรับประทานอาหารในรูปแบบ Paleo diet ยังอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบภูมิคุ้มกัน ลดความดันโลหิตที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่อาจช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้อีกด้วย ผู้ที่อาจเหมาะกับ […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

วิธีลดความอ้วน เพื่อสุขภาพที่ดี ทำได้อย่างไร

ความอ้วน คือ ภาวะร่างกายที่มีไขมันสะสมและมีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 23 ขึ้นไป ที่อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง ไขมันสูงและน้ำตาลสูง ซึ่งส่งผลให้น้ำหนักเพิ่ม และมีการสะสมของไขมัน ดังนั้น เพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ จึงควรศึกษา วิธีลดความอ้วน ที่ถูกต้องและดีต่อสุขภาพที่อาจทำได้โดยการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและการออกกำลังกาย [embed-health-tool-bmi] ทำไมถึงควรศึกษา วิธีลดความอ้วน การลดความอ้วนอาจช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต และมีสุขภาพที่ดีขึ้น เช่น ช่วยให้เคลื่อนไหวคล่องตัว ลดอาการเหนื่อยง่าย อีกทั้งยังอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้ โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นโรคที่อาจเกิดจากภาวะความดันโลหิตสูงหรือหลอดเลือดตีบตัน เนื่องจากไขมันอุดตันในหลอดเลือด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคอ้วนอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถจัดการกับระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเหมาะสม และอาจทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ ไขมันพอกตับ เป็นภาวะที่มีไขมันสะสมในตับมากจนเกินไป ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตับแข็ง ตับวาย หรือมะเร็งตับได้ โรคนิ่วถุงน้ำดี เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบในผู้ที่มีน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วน เนื่องจากถุงน้ำดีมีส่วนช่วยในการย่อยไขมัน จึงอาจทำให้ถุงน้ำดีมีคอเลสเตอรอลสะสมมากเกินไปที่ก่อให้เกิดการแข็งตัวนำไปสู่การเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้ โรคข้อเข่าเสื่อม น้ำหนักตัวที่มากเกินไปอาจทำให้ข้อต่อรับน้ำหนักไม่ไหว และเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ คือ ปัญหาในทางเดินหายใจที่อาจเกิดขึ้นระหว่างนอนหลับ ซึ่งเป็นภาวะที่รุนแรงนำไปสู่การเสียชีวิตระหว่างนอนหลับได้โดยไม่รู้ตัว และเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในผู้ที่มีน้ำหนักมากหรือผู้ที่เป็นโรคอ้วน นื่องจากมีไขมันสะสมบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ทางเดินหายใจแคบกว่าปกติส่งผลให้หายใจลำบาก เสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ โรคโควิด-19 […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

การทํา IF กับประโยชน์และข้อควรระวังที่ควรรู้

การทํา IF หรือ Intermittent Fasting เป็นการจำกัดเวลารับประทานอาหารที่อาจช่วยควบคุมน้ำหนัก และระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม การทำ IF อาจส่งผลให้เกิดอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ นอนไม่หลับ และหิวบ่อย อีกทั้งยังอาจไม่เหมาะสำหรับบางคน จึงควรปรึกษาคุณหมอก่อนวางแผนการรับประทานอาหาร [embed-health-tool-bmr] ประโยชน์ของ การทํา IF การทำ IF อาจส่งผลดีต่อสุขภาพ ดังนี้ อาจช่วยลดน้ำหนัก และช่วยควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ อาจช่วยควบคุมระดับความดัน และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอ้วน อาจช่วยลดไขมันในร่างกาย หรือคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) รวมถึงไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ โรคอ้วน และโรคเบาหวาน อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันการติดเชื้อโรค เช่น ไวรัส แบคทีเรีย ที่นำไปสู่การเกิดโรค เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ อาจช่วยลดความเสียหายของเนื้อเยื่อจากการผ่าตัด และอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเซลล์ออโตฟาจี้ (Autophagy) ซึ่งเป็นกระบวนการฟื้นฟูและสร้างเซลล์ใหม่ ด้วยการกลืนกินเซลล์เก่าที่เสียหาย  […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ขนมไม่อ้วน ควรเลือกอย่างไร เพื่อให้ดีต่อสุขภาพ

ขนมไม่อ้วน เป็นขนมที่แคลอรี่ต่ำ อุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุที่ให้พลังงานและดีต่อสุขภาพ สามารถกินในยามว่างเพื่อลดความหิวและช่วยควบคุมน้ำหนักได้ อย่างไรก็ตาม หากกินในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้อ้วนได้เช่นกัน ดังนั้น ควรอ่านฉลากที่อยู่บนบรรจุภัณฑ์ กินในปริมาณที่เหมาะสม และควรหลีกเลี่ยงขนมที่มีไขมันทรานส์ น้ำตาลและโซเดียมสูง รวมถึงควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพที่ดีและป้องกันความอ้วน [embed-health-tool-bmr] กินขนมไม่อ้วน ดีอย่างไร ขนมขบเคี้ยวถือเป็นอาหารว่างที่อาจช่วยควบคุมความหิวในระหว่างรอรับกินอาหารในมื้อต่อไป เพราะหากปล่อยให้ร่างกายรู้สึกหิวเป็นเวลานาน อาจทำให้ความอยากอาหารเพิ่มขึ้นและอาจส่งผลให้อยากกินอาหารมากขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การเลือกกินขนมก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เนื่องจากขนมบางชนิดมีไขมัน น้ำตาลและโซเดียมสูงที่อาจทำให้อ้วนได้ จึงต้องเลือกกินขนมไม่อ้วนที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่หลากหลาย เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร วิตามิน แร่ธาตุและไขมันต่ำ ซึ่งอาจช่วยควบคุมความหิวได้นานขึ้นและอาจไม่อ้วนอีกด้วย วิธีเลือก ขนมไม่อ้วน วิธีเลือกขนมไม่อ้วนที่ช่วยควบคุมความหิว มีสารอาหารครบถ้วน และดีต่อสุขภาพ อาจมีดังนี้ เลือกขนมที่อุดมไปด้วยธัญพืช เช่น ซีเรียล มัฟฟินธัญพืช คุกกี้ธัญพืช แครกเกอร์ไขมันต่ำ โฮลเกรน ข้าวโพดคั่วไม่ใส่เนย กาโนล่า ธัญพืชอบกรอบ ธัญพืชอัดแท่ง อัลมอนด์ ถั่วลิสง ถั่วเหลืองอบแห้งและถั่วอื่น ๆ ขนมเหล่านี้เป็นขนมไม่อ้วนที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต ใยอาหารและโปรตีนที่ให้พลังงาน ช่วยควบคุมความหิวและลดความอยากอาหาร ทั้งยังมีไขมันต่ำ จึงอาจเหมาะสำหรับเป็นอาหารว่างเพื่อสุขภาพ […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

low carb คืออะไร ช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือ

Low carb คือ รูปแบบการรับประทานอาหารที่จำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรต โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ รวมถึงอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต ซึ่งอาจส่งผลให้ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคอ้วน [embed-health-tool-bmi] Low carb คืออะไร Low carb ย่อมาจาก Low Carbohydrate คือ รูปแบบการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ โดยเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตในปริมาณไม่เกิน 20-57 กรัม/วัน และเน้นการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนและไขมันสูงแทน ตามคำแนะนำของสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า ในแต่ละวันร่างกายควรได้รับโปรตีน 10-35% ของแคลอรี่ หรือ 46 กรัม สำหรับผู้หญิง และ 56 กรัม สำหรับผู้ชาย เพื่อป้องกันร่างกายได้รับโปรตีนและไขมันสูงมากจนเกินไป ตัวอย่างอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ อาจมีดังนี้ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา ผักใบเขียว เช่น คะน้า ผักบุ้ง ตำลึง ผักโขม ผักกาด ผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำดอก บร็อคโคลี ผลไม้บางชนิด เช่น แอปเปิ้ล สตรอว์เบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ แตงโม กล้วย ส้ม […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน