ข้อมูลโภชนาการ

สิ่งที่เรารับประทานเข้าไป มีผลโดยตรงต่อความรู้สึกและประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน การเรียนรู้เกี่ยวกับ ข้อมูลโภชนาการ จะช่วยให้เรารู้จักระมัดระวังมากขึ้นก่อนการรับประทานอาหาร และช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ข้อมูลโภชนาการ

หัวปลี สารอาหารสำคัญ สรรพคุณทางยา และประโยชน์ของหัวปลี

หัวปลี เป็นส่วนดอกของต้นกล้วย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปลีกล้วย คนไทยมักจะนำหัวปลีมาประกอบเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ ช่วยเสริมรสชาติให้กับเมนูอาหาร ทั้งยังอุดมด้วยคุณประโยชน์มากมาก และมีสรรพคุณทางยาที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย [embed-health-tool-bmi] สารอาหารสำคัญใน หัวปลี ปลีกล้วยหรือหัวปลี มีสารอาหารสำคัญ ดังนี้ แคลเซียม  ธาตุเหล็ก  ฟอสฟอรัส  แมกนีเซียม  โปรตีน  วิตามินซี  เบตาแคโรทีน ประโยชน์จากหัวปลี หัวปลีเป็นส่วนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทุกเพศทุกวัย เช่น  ปลีกล้วยมีสารซาโปนิน (Saponins) และแทนนิน(Tannins) ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรแลคติน ในทางการแพทย์แผนไทย  อุดมด้วยแคลเซียม ที่มากกว่ากล้วยสุกถึง 4 เท่า ดีต่อกระดูกและฟัน อาจช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ หัวปลีเป็นผักฤทธิ์เย็น ดีต่อสุขภาพในช่วงหน้าร้อน ปรับสมดุลร่างกายให้เย็นขึ้น ช่วยแก้อาการร้อนในได้ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ดีต่อผิวพรรณ ชะลอการเกิดริ้วรอย มีสารแมกนิเซียมที่ช่วยปรับสมดุลของสภาวะทางอารมณ์ ช่วยบรรเทาอาการเศร้า  มีสารเอทานอล ลดการอักเสบ มีฤทธิ์ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อโรคได้ ประโยชน์ที่สำคัญของหัวปลียังดีต่อแม่ตั้งครรภ์และแม่หลังคลอด ดังนี้  ช่วยในการบำรุงเลือด ป้องกันโลหิตจาง โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์หรือคุณแม่หลังคลอด มีสรรพคุณทางยา กระตุ้นต่อมน้ำนม ให้ร่างกายแม่ตั้งครรภ์สร้างน้ำนมหลังคลอด จึงควรรับประทานเมนูหัวปลีหลังคลอดเพื่อช่วยขับน้ำนม ตัวอย่างเมนูจากหัวปลี หัวปลีมีรสฝาด สามารถกินสด ๆ ได้ […]

สำรวจ ข้อมูลโภชนาการ

ข้อมูลโภชนาการ

ขัณฑสกร ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

ขัณฑสกร (Saccharin) เป็นสารให้ความหวานชนิดหนึ่งที่มีความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 300-700 เท่า มักถูกนำมาใช้ในการปรุงแต่งรสชาติอาหารหลายชนิด เช่น น้ำผลไม้ น้ำอัดลม ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม ลูกอม แยม เยลลี่ คุกกี้ โดยผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคอ้วน รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถบริโภคน้ำตาลได้ มักใช้ขัณฑสกรเพื่อทดแทนความหวานจากน้ำตาล เพราะมีรสชาติหวานติดลิ้น อย่างไรก็ตาม การรับประทานขันฑสกรมากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์และอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งได้ [embed-health-tool-bmi] ขัณฑสกร คืออะไร ขัณฑสกร คือ สารให้ความหวานสังเคราะห์ที่มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายน้ำได้ดี ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 300-700 เท่า มักถูกนำมาใช้ในการปรุงแต่งรสชาติและใช้เป็นสารให้ความหวานในอาหารหลายชนิด เช่น น้ำผลไม้ น้ำอัดลม ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม ลูกอม แยม เยลลี่ คุกกี้ โดยปริมาณที่แนะนำในการรับประทานขันฑสกร คือ ประมาณ 5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือไม่ควรเกิน 80-100 มิลลิกรัม/ลิตร/วัน เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ ประโยชน์ของขัณฑสกร ขัณฑสกรเป็นสารให้ความหวานที่อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุน ดังนี้ อาจช่วยลดน้ำหนัก ขัณฑสกรเป็นสารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการและแคลอรี่ต่ำ จึงอาจใช้ทดแทนความหวานของน้ำตาลได้ […]


ข้อมูลโภชนาการ

อัญชัน คุณค่าทางโภชนาการและข้อควรระวังต่อสุขภาพ

อัญชัน เป็นพืชพื้นเมืองตระกูลถั่วของทวีปเอเชีย มีดอกสีน้ำเงิน นิยมนำดอกมาใช้เป็นส่วนผสมของน้ำสมุนไพรและชาเนื่องจากอัญชันให้สีน้ำเงินที่สดใสแก่เครื่องดื่ม รวมทั้งรับประทานสดเป็นเครื่องเคียงในสำรับกับข้าว หรือตกแต่งจานและเมนูอาหารให้สวยงามแปลกตา อัญชันมีประโยชน์ต่อสุขภาพ อุดมไปด้วยสารแอนโทไซยยานิน (Anthocyanin) บำรุงสุขภาพผิวและผม ช่วยบรรเทาอาการอักเสบของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย  โดยมีผลการศึกษาที่สนับสนุนว่าการบริโภคอัญชันอาจช่วยบำรุงผิวและเส้นผม ต้านมะเร็ง ลดความเสี่ยงโรคอ้วน รวมถึงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ในกรณีของผู้ป่วยโรคเบาหวาน [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของอัญชัน อัญชันแห้ง 100 กรัม ให้พลังงาน 0 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารและแร่ธาตุต่าง ๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 50 กรัม ไฟเบอร์ 50 กรัม โพสแทสเซียม 2,500 มิลลิกรัม เหล็ก 10 มิลลิกรัม โปรตีน 0 กรัม ไขมัน 0 กรัม นอกจากนั้น อัญชัน ยังมีแร่ธาตุต่าง ๆ  ได้แก่ เหล็ก โพแทสเซียม รวมทั้งสารพฤกษเคมี ที่อาจมีประโยชน์เมื่อบริโภคเข้าสู่ร่างกาย เช่น แคมพ์เฟอรอล (Kaempferol) เทอร์นาทิน (Ternatin) ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบของเซลล์ ประโยชน์ของอัญชันต่อสุขภาพ อัญชัน ประกอบไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ […]


ข้อมูลโภชนาการ

มะลิ คุณประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการใช้

มะลิ เป็นพืชเขตร้อน พบได้มากในจีน ญี่ปุ่น และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย ลักษณะของลำต้นเป็นไม้พุ่มออกดอกสีขาวมีกลิ่นหอม นิยมนำดอกมะลิมาสกัดใช้เป็นยาบำรุงสุขภาพ แก้ปวดท้อง น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิช่วยให้ผ่อนคลาย ส่วนมะลิบางสายพันธุ์สามารถนำดอกมาทำเป็นชามะลิ  มะลิอาจช่วยแก้ปัญหาน้ำนมล้นเต้ามากเกินไป  ในกรณีของผู้หญิงให้นมบุตรหรือผู้ที่ต้องการหยุดน้ำนมหลังคลอด อีกทั้งยังมีสารแอโฟรดิซซิแอค (Aphrodisiac) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นอารมณ์ทางเพศตามธรรมชาติ นอกจากนั้น กลิ่นของมะลิอาจช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน และช่วยทำให้จิตใจสงบ ผ่อนคลายจากความเครียด [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของมะลิ ดอกมะลิแห้ง 100 กรัม ให้พลังงาน 0 กิโลแคลอรี่ โดยมีโซเดียมประมาณ 20 มิลลิกรัม นอกจากนั้น ยังนิยมนำดอกมะลิไปต้มร่วมกับใบชาได้เป็นชามะลิ โดยชามะลิ 1 ถ้วย ให้พลังงาน 0 กิโลแคลอรี่ และมีแร่ธาตุต่าง ๆ จากใบชา อาทิ เหล็ก สังกะสี โพแทสเซียม ทองแดง และสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ลดระดับคอเลสเตอรอล บำรุงสุขภาพ ประโยชน์ของมะลิต่อสุขภาพ มะลิ เป็นพืชที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลาย ๆ ด้าน โดยมีผลการศึกษาสนับสนุน ดังต่อไปนี้ 1.อาจช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน กลิ่นหอมของดอกมะลิ อาจมีสรรพคุณช่วยลดความรุนแรงของอาการปวดประจำเดือนได้ อ้างอิงจากการศึกษาชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับผลของการของสูดน้ำมันหอมระเหยจากมะลิ ต่ออาการปวดประจำเดือนในสตรีวัยรุ่น เผยแพร่ในวารสาร International […]


ข้อมูลโภชนาการ

กระเจี๊ยบเขียว สารอาหาร และข้อควรระวังในการบริโภค

กระเจี๊ยบเขียว เป็นผักที่มีมีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเอธิโอเปีย คนไทยนิยมบริโภคกระเจี๊ยบเขียวแบบดิบ หรือปรุงสุกด้วยการต้ม โดยมักรับประทานเป็นเครื่องเคียงในมื้ออาหารคู่กับน้ำพริก กระเจี๊ยบเขียวอุดมไปด้วยคุณค่าจากสารอาหาร แร่ธาตุ และวิตามินต่าง ๆ เช่น ไฟเบอร์ วิตามินซี วิตามินเค 1 โปรตีน มีผลการศึกษาหลายชิ้นระบุว่า การบริโภคกระเจี๊ยบ อาจช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง และอาจช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ กระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบเขียวสด 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 33 กิโลแคลอรี่ และมีสารอาหารรวมถึงแร่ธาตุต่าง ๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 7.45 กรัม โปรตีน 1.93 กรัม ไขมัน 0.19 กรัม โพแทสเซียม 299 มิลลิกรัม แคลเซียม 82 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 61 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 57 มิลลิกรัม โคลีน (Choline) 12.3 มิลลิกรัม […]


ข้อมูลโภชนาการ

หัวหอม ประโยชน์ต่อสุชภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

หัวหอม เป็นพืชตระกูลเดียวกับกระเทียม หอมแดง ได้รับความนิยมและปลูกกันทั่วโลกเพราะสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายทั้งต้ม ผัด ทอด หรือบริโภคสดในเมนูสลัดผัก หัวหอมอุดมไปด้วยสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามินต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น คาร์โบไฮเดรต โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซี วิตามินบี และอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งและโรคหัวใจและอาจช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ หัวหอม หัวหอมสด 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 38 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 8.61 กรัม โปรตีน 0.83 กรัม ไขมัน 0.05 กรัม โพแทสเซียม 182 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 34 มิลลิกรัม แคลเซียม 15 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 9 มิลลิกรัม วิตามินซี 8.2 มิลลิกรัม โซเดียม […]


ข้อมูลโภชนาการ

ว่านหางจระเข้ สรรพคุณ และข้อควรระวังในการบริโภค

ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นปล้อง ใบมีสีเขียวอุ้มน้ำได้ดี ปลายใบแหลม ขอบใบมีหนาม และมีวุ้นเมือกใสอยู่ภายในใบ ว่านหางจระเข้ สรรพคุณ ทางสุขภาพมีมากมาย เช่น นำวุ้นจากใบมาบรรเทาอาการจากแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ผิวไหม้แดด ช่วยสมานแผล และห้ามเลือด หรืออาจนำไปคั้นดื่ม หรือแปรรูปเป็นผง เพื่อช่วยรักษาสุขภาพช่องปาก ลดระดับความดันโลหิต บรรเทาอาการกรดไหลย้อน  ทั้งนี้ ควรศึกษาเกี่ยวกับข้อควรระวังก่อนนำมาบริโภค เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ คุณค่าโภชนาการของว่านหางจระเข้ ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture หรือ USDA) ที่เผยแพร่เมื่อเดือนตุลาคม ปีพ.ศ. 2563 ระบุว่า น้ำว่านหางจระเข้ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 15 กิโลแคลอรี่  และอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ เช่น น้ำ 96.2 กรัม แคลเซียม 8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.75 กรัม […]


ข้อมูลโภชนาการ

มะยม ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

มะยม เป็นผลไม้รสเปรี้ยว ฉ่ำน้ำ ผลอ่อนมีสีเขียว นิยมรับประทานเป็นของกินเล่น จิ้มหรือคลุกกับเครื่องปรุงต่าง ๆ และอาจใช้เป็นพืชสมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคข้อเข่าอักเสบ โรคทางเดินหายใจ การติดเชื้อ ปกป้องตับ รวมถึงยังมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ นอกจากนี้ มะยมยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยต้านการอักเสบ ต้านแบคทีเรีย ปกป้องตับและลดระดับน้ำตาลในเลือด [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของมะยม มะยม ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 16 กิโลแคลอรี่ และประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น น้ำ 91.9 กรัม ใยอาหาร 0.8 กรัม โปรตีน 0.155 กรัม ไขมัน 0.52 กรัม นอกจากนี้ มะยมยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก แคโรทีน (Carotene) วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 […]


ข้อมูลโภชนาการ

ผลส้ม คุณค่าทางโภชนาการและข้อควรระวังในการบริโภค

ผลส้ม เป็นผลไม้ในตระกูลซิตรัส (Citrus) มีรสเปรี้ยวอมหวาน ลักษณะของส้มที่คนไทยนิยมรับประทาน คือส้มลูกเล็กและเปลือกบาง เช่น ส้มเขียวหวาน ส้มเช้ง ส้มบางมด ส้มสายน้ำผึ้ง ซึ่งจัดเป็นส้มประเภท แทนเจอรีน (Tangerine) ทั้งนี้ ผลส้ม มีประโยชน์ต่อสุขภาพเพราะอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่าง ๆ มากมาย เช่น โพแทสเซียม วิตามินเอ วิตามินบี เบต้าแคโรทีน แต่ที่พบมากได้แก่ วิตามินซี ซึ่งมีประโยชน์หลายประการต่อสุขภาพ เช่น อาจช่วยบำรุงผิวพรรณ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง มีประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือด [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของผลส้ม ผลส้ม 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 53 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ น้ำ 85.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 13.3 กรัม น้ำตาล 10.6 กรัม ใยอาหาร 1.8 กรัม โปรตีน 0.81 […]


ข้อมูลโภชนาการ

ผักกาดขาว สารอาหารและข้อควรระวังในการบริโภคต่อสุขภาพ

ผักกาดขาว เป็นผักที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน  รับประทานง่าย คนไทยนิยมนำผักกาดขาวมาทำอาหาร โดยใช้เป็นส่วนประกอบของแกงจืด สุกี้ ผัดผัก ผักกาดขาวมีสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด เช่น แมงกานีส โฟเลต ไฟเบอร์ วิตามินเอ วิตามินเค ฟีนอล (Phenol)  การบริโภคผักกาดขาวจึงอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของผักกาดขาว ผักกาดขาวปรุงแล้ว 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 12 กิโลแคลอรี่ และมีสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 2.2 กรัม โปรตีน 1.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โพแทสเซียม 87 มิลลิกรัม โซเดียม 11 มิลลิกรัม นอกจากนี้ ในผักกาดขาวยังมีสารอาหารอื่น ๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 วิตามินซี วิตามินดี แคลเซียม เหล็ก […]


ข้อมูลโภชนาการ

แตงกวาดอง ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

แตงกวาดอง เป็นผักดองที่สามารถรับประทานเป็นผักเคียงหรือนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ผัดแตงกวาดองใส่กุ้ง ยำแตงกวาดอง แตงกวาดองผัดไข่ ผัดเปรี้ยวหวาน โดยแตงกวาดองอุดมไปด้วยสารอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระและโพรไบโอติก (Probiotics) ที่อาจมีส่วนช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรค เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ นอกจากนี้ ยังอาจช่วยบรรเทาอาการกล้ามเนื้อเป็นตะคริวและช่วยลดน้ำหนักได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของแตงกวาดอง แตงกวาดอง 100 กรัม ให้พลังงาน 10 กิโลแคลอรี่ และประกอบด้วยคุณค่าทางโภชนาการต่าง ๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต 2.3 กรัม ซึ่งประกอบด้วยไฟเบอร์ 1.2 กรัม และคาร์โบไฮเดรตชนิดอื่น เช่น น้ำตาล 1.1 กรัม โปรตีน 0.3 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม นอกจากนี้ แตงกวาดองยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส แคลเซียม ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม โซเดียม สังกะสี ทองแดง แมงกานีส วิตามินซี วิตามินบี […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน